Donnerstag, 4. Juni 2020

๗. ลักษณะผู้มีความรู้ดี


. ลักษณะผู้มีความรู้ดี

พหุํ ลหุญฺจ คหณํ, สมฺมูปธารณมฺปิ ;
คหิต อสมฺมุสฺสนํ, เอตํ สุวิญฺญุลกฺขณํฯ

การคัดเลือกเอาแต่พอดี 
และการใคร่ครวญโดยชอบ
การยึดหลักไม่หลงประเด็น
นั่นเป็นลักษณะของผู้มีความรู้ดี.“


(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, )

..


ศัพท์น่ารู้ :

พหุํ (มาก, จำนวนมาก) พหุ+สิ
ลหุญฺจ (เบา, บาง, น้อย) ลหุ+สิ
คหณํ (จับ, ถือ, ยึด) √คห+ยุ > คหณ+สิ, แปลง ยุ เป็น อน,​ แปลง เป็น .
สมฺมูปธารณมฺปิ ตัดบทเป็น สมฺมูปธารณํ+อปิ (ภาชนะสำรองรับที่ชอบ, การไตร่ตรอง, การใคร่ครวญโดยชอบ + แม้ด้วย, แม้อนึ่ง) สมฺมา+อุปธารณ > สมฺมูปธารณ+สิ
คหิต (ถูกถือเอาแล้ว, ถูกจับแล้ว) √คห+อิ+ > คหิต+สิ
อสมฺมุสฺสนํ (การไม่หลงลืม, การไม่หลงประเด็น) สํ+√มุส-สมฺโมเส+ยุ > สมฺมุสฺสน+สิ
เอตํ (นั่น, ข้อนั้น) เอต+สิ สัพพนาม
สุวิญฺญุลกฺขณํ (ลักษณะของผู้มีความรู้ดี) สุวิญฺญู+ลกฺขณ > สุวิญฺญุลกฺขณ+สิ

..

Keine Kommentare: