Samstag, 11. Juli 2020

๔๓. คำสุภาษิตเย็นยิ่งกว่าจันทน์(ร์)


๔๓. คำสุภาษิตเย็นยิ่งกว่าจันทน์(ร์)

จนฺทนํ สีตลํ โลเก, จนฺทิกา สีตลา ตโต;
จนฺทนจนฺทิกาโตปิ, วากฺยํ สาธุสุภาสิตํฯ

ไม้จันทน์ เป็นของเย็นในโลก,
แสงจันทร์ เย็นกว่าไม้จันทน์นั้น, 
ส่วนคำสุภาษิตของนักปราชญ์ทั้งหลาย
เย็นยิ่งกว่าไม้จันทน์และแสงจันทร์นั้น.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๔๓ โลกนีติ ๔๘, มหารหนีติ , ธัมมนีติ ๖๘,)

..


ศัพท์น่ารู้ :

จนฺทนํ (ไม้จันทน์) จนฺทน+สิ, ., นป. มาจากจทิ+ยุ ปัจจัย ลงนิคคหิตอาคม แปลงนิคคหิตเป็น นฺ, แปลง ยุ เป็น อน. จนฺทน มีวิเคราะห์ว่า (วิ.) จนฺทยติ หิลาทยติ สีตคุณสมงฺคิตาย สตฺตานํ ปริฬาหํ วูปสเมนฺตํ สุขํ อุปฺปาเทตีติ จนฺทนํ.
(ที่ชื่อว่า จนฺทน เพราะอรรถว่า ช่วยให้เกิดความสุขที่ดับความเร่าร้อนของเหล่าสัตว์ได้ เพราะมีกลิ่นหอมที่พรั่งพร้อมไปด้วยความเย็น), ศัพท์ที่เป็นชื่อ ไม้จันทน์ มี ศัพท์ คือ: จนฺทน, คนฺธสาร, มลยช, สุวณฺณจนฺทน, หริจนฺทน, รตฺตจนฺทน, โคสีตจนฺทน. (อภิธาน. ๓๐๐-)
สีตลํ (เย็น, หนาว) สีตล+สิ นป.
โลเก (ในโลก) โลก+สฺมึ
จนฺทิกา (แสงจันทร์) จนฺทิกา+สิ อิต. ศัพท์ที่เป็นชื่อพระจันทร์ มี ๑๔  ศัพท์ คือ: อินฺทุ, จนฺท, นกฺขตฺตราช, โสม, นิสากร, โอสธีส, หิมรํสิ, สสงฺก, จนฺทิมนฺตุ, สสี, สีตรํสิ, นิสานาถ, อุฬุราช, มา. (อภิธาน. ๕๑)
สีตลา (เย็น, หนาว) สีตลา+สิ อิต.
ตโต (กว่า..นั้น) +โต ปัจจัย ใช้ในอรรถปัญจมีวิภัตติ. บาทคาถาที่สองนี้ ในโลกนีติ เป็น ตโต จนฺทํว สีตลํ;
จนฺทนจนฺทิกาโตปิ (แม้กว่าไม้จันทน์หอมและแสงจันทร์) จนฺทนจนฺทิกาโต+อปิ, ส่วนโลกนีติเป็นต้นเป็น จนฺทนจนฺทสีตมฺหา (แม้กว่าไม้จันทน์และพระจันทร์) จนฺทน+จนฺท+สีต > จนฺทนจนฺทสีต+สฺมา 
วากฺยํ (คำพูด, ถ้อยคำ, พากย์) วากฺย+สิ
สาธุสุภาสิตํ (คำที่กล่าวดีแล้วของคนดี, คำพูดของนักปราชญ์) สาธุ+สุภาสิต > สาธุสุภาสิต+สิ, ส่วนในโลกนีติ คาถาบาทสุดท้ายนี้ เป็น สาธุวากฺยํ สุภาสิตํฯ

สาธุ ศัพท์ย่อมใช้ในอรรถ อย่าง คือ :
) สุนฺทร (ดี, งาม), เช่น สาธุ ธมฺมจารี ราชาฯ สาธุ ปญฺญาณวา นโรฯ สาธุ มิตฺตานมทุพฺโภ, ปาปานํ อกรณํ สุขํฯ (พระราชาผู้มีปกติประพฤติธรรม เป็นพระราชาที่ดี., คนผู้ปัญญา เป็นคนดี., คนไม่ประทุษร้ายมิตรทั้งหลาย เป็นคนดี., การไม่ทำบาปทั้งหลาย เป็นความดี.)
) ทฬฺหีกมฺม (ทำให้มั่นคง),  เช่น สาธุกํ สุโณม มนสิกโรมฯ (เราทั้งหลาย จงฟัง จงกระทำไว้ในใจ ให้มั่น.)
) อาจายน (อ้อนวอน), เช่น สาธุ เม ภนฺเต ภควา สํขิตฺเตน ธมฺมํ เทเสตุฯ (ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด.)
) สมฺปฏิจฺฉน (รับคำ), เช่น สาธุ ภนฺเตติ โข เต ภิกฺขู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวาฯ (ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ชื่นชมยิ่งซึ่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า อนุโมนาแล้ว ด้วยคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ . ดีละ ดังนี้แล.)
) สชฺชน (คนดี, ความดี), เช่น  อสาธุํ สาธุนา ทเมฯ (พึงฝึกคนคนไม่ดี ด้วยความดี.)
) สมฺปหํสน (รื่นเริง, ยินดี), เช่น สาธุ สาธุ สารีปุตฺตฯ (แน่ะสารีบุตร . ดีแล้ว )
(ที่มา : อภิธาน-สูจิ หน้า ๘๗๕)

..

Keine Kommentare: