๔๔. พูดแต่น้อยให้ถูกกาลย่อมมีค่า
ปตฺตกาโลทิตํ อปฺปํ, วากฺยํ สุภาสิตํ ภเว;
ขุทิตสฺส กทนฺนมฺปิ, ภุตฺตํ สาทุรสํ สิยา ฯ
“คำพูดถึงจะน้อย หากกล่าวถูกกาล,
ก็จัดเป็น “คำสุภาษิต“ ได้เช่นกัน;
เหมือนข้าวถึงแม้จะบูดเน่า,
ก็เป็นของมีรสอร่อยสำหรับคนหิว.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๔๔ มหารหนีติ ๑๐, ธัมมนีติ ๗๐)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ปตฺตกาโลทิตํ (ที่กล่าวตามกาล) ปตฺต (ถึงแล้ว) +กาล (เวลา, กาล)+อุทิต (กล่าวแล้ว, พูดแล้ว) > ปตฺตกาโลทิต+สิ,
อปฺปํ (น้อย, นิดหน่อย, สั้น, กะทัดรัด) อปฺป+สิ
วากฺยํ (วากยะ, พากย์, คำพูด, ประโยค) วากฺย+สิ
สุภาสิตํ (ที่กล่าวดีแล้ว, สุภาษิต) สุภาสิต+อํ, สุ+ภาส+อิ+ต
ภเว (เป็น, มี) √ภู+อ+เอยฺย, ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง อู เป็น โอ ด้วยสูตรว่า อญฺเญสุ จ. (รู ๔๓๔) = ภฺ โอ+อ+เอยฺย, แปลง โอ เป็น อว ด้วยสูตรว่า โอ อว สเร. (รู ๔๓๕) = ภฺ อว+อ+เอยฺย,
แปลง เอยฺย เป็น เอ ได้บ้าง ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘) = ภฺ อว+อ+เอ, แยก ลบ รวมสำเร็จรูปเป็น ภเว (พึงเป็น).
ขุทิตสฺส (ที่หิว, กระหาย) ขุทิต+ส วิภัตติ ลง สฺ อาคมด้วยสูตรว่า สาคโม เส. (รู ๘๖)
กทนฺนมฺปิ = กทนฺนํ+อปิ (ข้าวน้อย, ข้าวเสีย, ข้าวบูด+แม้) มาจาก กุ+อนฺน > กทนฺน+สิ ในเพราะสระแปลง กุ นิบาตเป็น กทฺ ด้วยสูตรว่า กทฺ กุสฺส. (รู ๓๔๖) วิ. กุจฺฉิตํ อนฺนนฺติ กทนฺนํ (ข้าวน่าเกลียด ชื่อว่า กทันนะ) เป็นกุบุพพบทกัมมธารยสมาส
ภุตฺตํ (กินแล้ว) √ภุช+ต > ภุตฺต+สิ
สาทุรสํ (รสดี, รสอร่อย) สาทุ+รส > สาทุรส+สิ, สาทุ (อร่อย, ชื่นใจ), รส (รส)
สิยา (พึงมี พึงเป็น) √อส+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. ลบอักษรต้นแห่งอสธาตุได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สพฺพตฺถาสสฺสาทิ โลโป จ. (รู ๔๙๖), แปลง เอยฺย เป็น อิยา ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen