๓๔. พึงเอาความอ่อนสยบความแข็ง
มุทุนาว ริปุํ เชติ, มุทุนา เชติ ทารุณํ;
โน น สิทฺธํ มุทุ กิญฺจิ, ตโต จ มุทุนา ชเย ฯ
“ด้วยความอ่อนโยนย่อมชนะข้าศึก,
ด้วยความอ่อนโยนย่อมชนะะความทารุณ,
ด้วยความอ่อนโยนไม่สิ่งใดที่ไม่สำเร็จ,
ฉะนั้น พึงเอาชนะด้วยความอ่อนโยนเถิด.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๓๔ มหารหนีติ ๘, ธัมมนีติ ๖๗)
..
ศัพท์น่ารู้ :
มุทุนาว ตัดบทเป็น มุทุนา+เอว (ความอ่อนโยนนั่นเทียว, ความอ่อนนุ่มเท่านั้น)
ริปุํ (ข้าศึก, ศัตรู, ริปู) ริปุ+อํ
เชติ (ย่อมชนะ) √ชิ+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. วัตตมานาวิภัตติ
มุทุนา (ความนุ่มนวล, อ่อนโยน, สุภาพ) มุทุ+นา
ทารุณํ (ทารุณ, ดุร้าย, หยาบคาย) ทารุณ+อํ
โน (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
สิทฺธํ (สำเร็จแล้ว) สิทฺธ+สิ กิตก์ บาทคาถานี้ มหาหรนีติ เป็น โนสิทฺธํ มุทุนา กิญฺจิ. ส่วนในธัมมนีติ เป็น นาสิทฺธิ มุทุนา กิญฺจิ.
กิญฺจิ (บางอย่าง), กึ ศัพท์ที่มี จิ อยู่ท้าย มีอรรถว่า “อปฺป = น้อย”, ถ้า ย อยู่หน้า มี จิ อยู่ท้าย มีอรรถว่า “สกล = ทั้งหมด”, ถ้า กึ ศัพท์ล้วน ๆ มีใช้ในอรรถ “ปุจฉา = การถาม”.
ตโต จ (ก็แต่นั้น, เพราะฉะนั้น) นิบาต ในมหารหนีติ เป็น ยตฺวโต มุทุนา ชเย. ส่วนในธัมมนีติเป็น ยโตโต มุทุนา ชเย. ตัดบทเป็น ยโต+อโต (แต่ใด แต่นั่น = ตามสมควร?) ย+โต = ยโต (แต่ใด), เอต+โต = อโต (แต่นั่น) แปลง เอต เป็น อ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สพฺพสฺเสตสฺสากาโร วา. (รู ๒๕๓)
ชเย (พึงชนะ) √ชิ+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. สัตตมีวิภัตติ.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen