๔๕. พูดแต่พอดีย่อมมีค่า
สตฺถกาปิ พหูวาจา, นาทรา พหุภาณิโน;
โสปการมุทาสินา, นนุ ทิฏฺฐํ นทีชลํฯ
„คนมักพูดมาก มีวาจายืดยาว
ถึงจะมีประโยชน์ ก็ไม่มีใครเอื้อเฟื้อ
เหมือนน้ำในแม่น้ำ แม้มีอุปการะมาก
คนไม่เอาใจใส่ จะเห็นได้อย่างไร?.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๔๕ มหารหนีติ ๑๑, ธัมมนีติ ๗๑)
..
ศัพท์น่ารู้ :
สตฺถกาปิ ตัดบทเป็น สตฺถกา+อปิ, สห+อตฺถก > สตฺถก+โย
พหุวาจา (วาจามาก) พหุ+วาจา > พหุวาจา+โย
นาทรา (ไม่เอื้อเฟื้อ, ไม่อาทร) น+อาทร > นาทร+โย
พหุภาณิโน (พูดมาก, พูดเก่ง) พหุ+ภาณี > พหุภาณี+โย
โสปการมุทาสินา ตัดบทเป็น โสปการํ+อุทาสีนา, โสปากรํ (มีอุปการะ) สห+อุปการ > โสปการ+สิ; อุทาสินา (วางเฉย, ไม่เอาใจใส่) อุทาสีน+? (ศัพท์ว่า อุทาสีน นี้พบใน พจนานุกรมบาลี-ไทย ของชวินร์ สระคำ และ รศ. ดร. จำลอง สารพัดนึก) ส่วนในธัมมนีติเป็น โสปการมฺปฺยุทาสีนํ. ในมหารหนีติ เป็น โสปการมุทาสีนํ
นนุ (มิใช่หรือ) นิบาตบอกคำถาม
ทิฏฺฐํ (เห็นแล้ว) √ทิส+ต > ทิฏฺฐ+สิ แปลง ต ปัจจัย เป็น ริฏฺฐ ด้วยสูตรว่า สาสทิสโต ตสฺส ริฏฺโฐ จ. (รู ๖๒๕), ลบ ร อนุพันธ์และที่สุดธาตุด้วยสูตรว่า รมฺหิ รนฺโต ราทิ โน. (รู ๕๕๘)
นทีชลํ (น้ำในแม่น้ำ) นที+ชล > นทีชล+สิ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen