Montag, 10. August 2020

๗๓. บัณฑิตในต่างแดน


๗๓. บัณฑิตในต่างแดน

ปโรปเทเส ปณฺฑิจฺจํ, สพฺเพสํ สุกรญฺหิ โข;
ธมฺเม สยมนุฏฺฐานํ, กสฺสจิ สุมหตฺตโน

ที่แท้ ความเป็นบัณฑิตในต่างถิ่น
เป็นสิ่งที่ดีงาม แก่ชนทั้งปวงแล,
ความขี้เกียจในธรรม ย่อมมีเอง
แก่คนผู้มีตนชอบสบายบางคน.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๗๓)

..


ศัพท์น่ารู้ :

ปโรปเทเส (ในประเทศอื่น, ในหลายประเทศ) ปโร (ข้างหน้า, ข้างหลัง, อื่น, มาก)+ปเทส (ประเทศ, เขตแดน, ถิ่น, บริเวณ, ส่วน) > ปโรปเทส+สฺมึ
ปณฺฑิจฺจํ (ความเป็นบัณฑิต, -คนฉลาด) ปณฺฑิต+ณฺย ปัจจัยในภาวตัทธิต > ปณฺฑิจฺจ+สิ. วิ. ปณฺฑิตสฺส ภาโว ปณฺฑิจฺจํ. (ความเป็นแห่งบัณฑิต ชื่อว่า ปัณฑิจจะ) ลบ ที่ , ลบ ณฺ อนุพันธ์, เป็น ปณฺฑิตฺ+ แปลง ตฺย เป็น , ซ้อน จฺ, รวมเป็น ปณฺฑิจฺจ+สิ = ปณฺฑิจฺจํ.
สพฺเพสํ (แก่..ทั้งปวง) สพฺพ+นํ, สัพพนาม 
สุกรญฺหิ โข ตัดบทเป็น สุกรํ+หิ โข, สุกรํ (กระทำได้ง่าย), หิ โข เป็นนิบาต
ธมฺเม (ในธรรม, ความดี) ธมฺม+สฺมึ
สยมนุฏฺฐานํ ตัดบทเป็น สยํ (เอง)+อนุฏฺฐานํ (การไม่ลุกขึ้น, ความขี้เกียจ) 
กสฺสจิ (แก่บางคน) กึ > ++จิ, กึศัพท์มี จิ ศัพท์ต่อท่าย มีอรรถว่า น้อย.
สุมหตฺตโน (?) ศัพท์นี้ก็ยังมองไม่ออกว่าเป็นมาอย่างไร? ส่วนในด้านบนนั้นผมแปลเดาเอาว่า ผู้มีตนชอบสบาย, ผู้มีตนเป็นใหญ่. ฉะนั้น จึงฝากผู้รู้ช่วยกันคิด มีข้อชี้แนะได้โปรดแจ้งเข้ามา จักเป็นพระคุณอย่างสูงครับผม.

..

Keine Kommentare: