Freitag, 21. August 2020

๘๔. ศิลป์และทรัพย์ที่ไร้ค่า


๘๔. ศิลป์และทรัพย์ที่ไร้ค่า

โปตฺถเกสุ ยํ สิปฺปํ, ปรหตฺเถสุ ยํ ธนํ;
ยถากิจฺเจ สมุปฺปนฺเน, ตํ สิปฺปํ ตํ ธนํ

มีความรู้ แต่อยู่ในตำรา,
มีทรัพย์ แต่ฝากไว้กับคนอื่น;
เมื่อมีกิจธุระจำเป็น เกิดขึ้นมา,
ความรู้และทรัพย์นั้น ก็ช่วยอะไรไม่ได้.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๘๔ โลกนีติ ๑๓, ธัมมนีติ ๓๖๔)

..


ศัพท์น่ารู้ :

โปตฺถเกสุ (ตำรา, หนังสือ .) โปตฺถก+สุ 
(ด้วย, และ, หรือ) เป็นนิบาติ 
ยํ (ใด) +สิ สัพพนามวิเสสนะใน สิปฺปํ (ศิลปะ, ความรู้) สิปฺป+สิ
ปรหตฺเถสุ (ในมือของผู้อื่น ) ปร+หตฺถ > ปรหตฺถ+สุ 
ยํ (ใด) +สิ สัพพนาม วิเสสนะใน ธนํ (ทรัพย์) ธน+สิ;
ยถากิจฺเจ (กิจที่ต้องการ, ธุรที่จำเป็น) ยถากิจฺจ+สฺมึ, (กวิทัปปณนีติและโลกนีติเป็น ยถากิจฺเจ เหมือนกัน ส่วนในธรรมนีติเป็น ยทา กิจฺเจ, ยถา แปลว่า โดยประการใด, ส่วน ยทา แปลว่า ในกาลใด ขอให้นักศึกษาพิจารณานำไปใช้ตามความเหมาะสมเถิด)
สมุปฺปนฺเน (เกิดขึ้นพร้อมแล้ว, เกิดมีโดยกระทันหัน) สมุปฺปนฺน+สฺมึ, สมุปฺปนฺน = สํ+อุ+√ปท+ แปลง เป็น อนฺน และลบที่สุดธาตุ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ภิทาทิโต อินฺนอนฺนอีณา วา. (รู ๖๓๑) = สํ+อุ++อนฺน, เพราะสระแปลง นิคคหิตเป็น ด้วยสูตรว่า มทา สเร. (รู ๕๒) = สม+อุ++นฺน, ซ้อน ปฺ ด้วยสูตรว่า ปร เทฺวภาโว ฐาเน. (รู ๔๐) = สม+อุ+ปฺป+อนฺน แยก ลบ รวมสำเร็จเป็น สมุปฺปนฺน, ลง สฺมึ สัตตมีวิภัตติ ด้วยสูตรว่า โอกาเส สตฺตมี (รู ๘๔) = สมุปฺปนฺน+สฺมึ, แปลง สฺมึ เป็น เอ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สฺมาสฺมึนํ วา. (รู ๙๐) = สมุปฺปนฺน+เอ แยก ลบ รวมสำเร็จรูปเป็น สมุปฺปนฺเน. 
ตํ สิปฺปํ (ศิลปะนั้น มีอยู่ หามิได้) 
ตํ ธนํ (ทรัพย์นั้น มีอยู่ หามิได้) 

..

Keine Kommentare: