๙๑. สิ่งที่คนฉลาดไม่พึงเปิดเผย
ธนนาสํ มโนตาปํ, ฆเร ทุจฺจริตานิ จ;
วญฺจนญฺจ อวมานํ, ปณฺฑิโต น ปกาสเย ฯ
“บัณฑิต ไม่พึงแสดงอาการเหล่านี้ให้เห็น คือ
การสูญเสียทรัพย์ ๑ ความเดือนร้อนใจ ๑
ความประพฤติไม่ดีไม่งามในเรือน ๑
การถูกหลอกลวง ๑ และการถูกดูหมิ่น ๑.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๙๑ โลกนีติ ๒๘, มหารหนีติ ๕๗, ธัมมนีติ ๕๕, จาณักยนีติ ๓๔)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ธนนาสํ (ความฉิบหายแห่งทรัพย์, การเสียทรัพย์) ธน+นาส > ธนนาส+อํ
มโนตาปํ (ซึ่งความร้อนใจ, ความหงุดหงิด) มน+ตาป > มโนตาป+อํ
ฆเร (ในเรือน) ฆร+สฺมึ แปลง สฺมึ เป็น เอ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สฺมาสฺมึนํ วา. (รู ๙๐)
ทุจฺจริตานิ (ความประพฤติชั่ว, ทุจริตกรรม ท.) ทุจฺจริต+โย แปลง โย เป็น นิ แปลง โย เป็น นิ หลัง อ การันต์ในนปุง. แน่นอน ด้วยสูตรว่า อโต นิจฺจํ. (รู ๑๙๖) = ทุจฺจริต+นิ, ทีฆะ ด้วยสูตรว่า โยสุ กตนิการโลเปสุ ทีฆํ. (รู ๑๔๗) = ทุจฺจริตา+นิ รวมสำเร็จรูปเป็น ทุจฺจริตานิ
จ (ด้วย, และ) เป็นนิบาตใช้ในอรรถรวบรวม (สมุจจยัตถะ)
วญฺจนญฺจ ตัดบทเป็น วญฺจนํ+จ (การหลอกลวง+ด้วย) วญฺจน+อํ
อวมานํ (การดูถูก, ดูหมิ่น) อวมาน+อํ
ปณฺฑิโต (คนฉลาด, ผู้มีปัญญา, บัณฑิต) ปณฺฑิต+สิ
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
ปกาสเย (ให้ประกาศ, ให้ปรากฏ, ออกอาการ) ป+√กาส+ณย+เอยฺย ภูวาทิคณะ เหตุกัตตุ. หรือ ป+กาส+ย+เอยฺย กิยาทิ. กัตตุ. (กาส ธาตุนี้ ในคัมภีร์ธาตวัตถสังคหะ ๕๓ แสดงไว้ว่า เป็นได้ทั้งภูวาทิคณะและทิวาทิคณะ)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen