อปุฏฺโฐ ปณฺฑิโต เภรี, ปชฺชุนฺโน โหติ ปุจฺฉิโต;
พาโล ปุฏฺโฐ อปุฏฺโฐ จ, พหุํ วิกตฺถเต สทาฯ
“บัณฑิตเมื่อยังไม่ถูกถามย่อมเป็นดุจกลอง,
แต่ถ้าถูกถามแล้ว ย่อมเป็นดุจฝนห่าใหญ่;
คนพาลจะถูกถามหรือไม่ถูกถามก็ตาม,
ย่อมโอ้อวดคุณของตนได้ทุกเมื่อ.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๑๒ โลกนีติ ๑๒ มหารหนีติ ๕๓ ธัมมนีติ ๔๖)
..
ศัพท์น่ารู้ :
อปุฏฺโฐ (ไม่ถูกถาม) อปุฏฺฐ+สิ, หรือ น+ปุจฺฉ+ต+สิ แปลง แปลง ต ปัจจัยกับที่สุดธาตุเป็น ฏฺฐ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สาทิสนฺตปุจฺฉภนฺชหํสาทีหิ ฏฺโฐ. (รู ๖๒๖), แปลง น เป็น อ ในตัปปุริสสมาส ด้วยสูตรว่าว อตฺตํ นสฺส ตปฺปุริเส. (รู ๓๔๔)
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ
เภรี, เภริ (กลอง) เภรี+สิ
ปชฺชุนฺโน (เมฆฝน, ห่าฝน, ฝนตกใหญ่, เจ้าแห่งฝน) ปชฺชุนฺน+สิ
โหติ (ย่อมเป็น) หู+อ+ติ วุทธิ อุ เป็น โอ ด้วยสูตรว่า อญฺเญสุ จ. (รู ๔๓๔)
ปุจฺฉิโต (ถูกถาม, ถูกสัมภาษณ์) √ปุจฺฉ+อิ+ต > ปุจฺฉิต+สิ
พาโล (คนพาล, คนโง่) พาล+สิ
ปุฏฺโฐ (ถูกถาม) ปุจฺฉ+ต > ปุฏฺฐ+สิ
จ (ด้วย, และ, ก็ตาม, ส่วน) เป็นนิบาต
พหุํ (มาก, หลาย, เยอะ) พหุ+อํ
วิกตฺถเต ( กล่าว, พูด, บ่น, พ่น) วิ+√กตฺถ+อ+เต ภูวาทิ. กัตตุ.
สทา (ในกาลทั้งปวง, ทุกเมื่อ, ทุกเวลา, ตลอดกาล) สพฺพ+ทา ในเพราะ ทา ปัจจัย ให้แปลง สพฺพ เป็น ส ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สพฺพสฺส โส ทามฺหิ วา. (รู๒๗๗)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen