Samstag, 24. Oktober 2020

๑๔๗. ถึงจะทุกข์ก็อย่าทิ้งธรรม


๑๔๗. ถึงจะทุกข์ก็อย่าทิ้งธรรม


สุกฺโขปิ จนฺทนตรุ ชหาติ คนฺธํ,

นาโค คโต นรมุเข ชหาติ ลีฬํ;

ยนฺตคโต มธุรสํ ชหาติ อุจฺฉุ,

ทุกฺโขปิ ปณฺฑิตชโน ชหาติ ธมฺมํฯ


ไม้จันทร์ ถึงจะแห้ง ก็ไม่ทิ้งกลิ่นหอม

ช้าง ไปสู่ที่ต่อหน้าชุมชน ย่อมไม่ทิ้งลีลา

อ้อย มาสู่หนีบยนต์ ย่อมไม่ทิ้งรสหวาน

บัณฑิตชน แม้จะตกทุกข์ ย่อมไม่ทิ้งธรรม.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๔๗ โลกนีติ ๔๕ ธัมมนีติ ๓๓๗)


..


ศัพท์น่ารู้ :


สุกฺโขปิ = สุกฺโข+อปิ, สุกฺโข (แห้ง, ซีด, ซุบซีด) มาจากสุส+ ปัจจัย แปลง ปัจจัยเป็น กฺข และ ลบที่สุดธาตุ ด้วยสูตรว่าสุส-ปจ-สกโต กฺจ-กฺกา . (รู. ๖๑๗)

จนฺทนตรุ (ต้นไม้จันทน์) จนฺทน+ตรุ > จนฺทนตรุ+สิ

(ไม่, หามิได้) นิบาต

ชหาติ (ทิ้ง, สละ) √หา++ติ ภูวาทิ. ชุโหตฺยาทินัย กัตตุ. ซ้อนธาตุ (เทฺวภาวะ)= หาหา ให้อักษรที่ซ้อนมาชื่อว่า อัพภาส, รัสสะ= หหา, แปลง อัพภาส เป็น ด้วยสูตรว่า หสฺส โช (รู ๕๐๔) = ชหา, ลบ ปัจจัย, = ชหาติ

คนฺธํ (ซึ่งกลิ่น) คนฺธ+อํ

นาโค (นาค, ช้าง) นาค+สิ

คโต (ไปแล้ว) √คมุ+ > คต+สิ

นรมุเข (ที่/ใกล้หน้าคน, -ชุมชน) นร+มุข > นรมุข+สฺมึ

ลีฬํ (ซึ่งลีฬา, ท่าทาง) ลีฬา+อํ

ยนฺตาคโต (มาแล้วสู่ยนต์, หีบอ้อย) ยนฺต+อาคต > ยนฺตาคต+สิ

มธุรสํ (ซึ่งรสหวาน, มธุรส) มธุ+รส > มธุรส+อํ

อุจฺฉุ (อ้อย) อุจฺฉุ+สิ

ทุกฺโขปิ (แม้มีทุกข์) ทุกฺโข+อปิ

ปณฺฑิตชโน (คนผู้เป็นบัณฑิต, คนมีปัญญา, บัณฑิตชน) ปณฺฑิต+ชน > ปณฺฑิตชน+สิ

ธมฺมํ (ซี่งธรรม) ธมฺม+อํ


..



 

Keine Kommentare: