๑๔๖. ผู้ควรนับเข้าในหมู่นักกวี
โย สทฺทสตฺถกุสโล กุสโล นิฆณฺฑุ,
ฉนฺโท อลงฺกติสุ นิจฺจกตาภิโยโค;
โส ยํ กวิตฺตวิกโลปิ กวีสุ สงฺขฺยํ,
โมคฺคยฺห วินฺทติ หิ กิตฺติ’มมนฺทรูปํฯ
„ชนผู้ฉลาดในคัมภีร์ไวยากรณ์
ฉลาดในนิฆัณฑุศาสตร์ฉันทศาสตร์
และอลังการศาสตร์ กระทำความเพียรเป็นนิจศีล
แม้เขาจะบกพร่องจากความเป็นกวี ก็ยังหยั่งลงสู่
การนับเข้าในหมู่กวี ย่อมจะได้รับเกียรติคุณหาน้อยไม่.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๔๖ สุโพธาลังการ ๑๖๓ ปริจเฉทที่ ๓)
..
ศัพท์น่ารู้ :
โย (ใด, ชนใด) ย+สิ สัพพนาม
สทฺทสตฺถกุสโล (ผู้ฉลาดในสัทศาสตร์, คัมภีร์ไวยากรณ์) สทฺท+สตฺถ > สทฺทสตฺถ+กุสล > สทฺทสตฺถกุสล+สิ
กุสโล (ผู้ฉลาด) กุสล+สิ
นิฆณฺฑุฉนฺโทอลงฺกติสุ (นิฆัณฑุศาสตร์ฉันทศาสตร์และอลังการศาสตร์ ท.) นิฆณฺฑุ+ฉนฺท+อลงฺกติ > นิฆณฺฑุฉนฺโทอลงฺกติ+สุ
นิจฺจกตาภิโยโค (ผูมีความเพียรอันตนกระทำแล้วเป็นนิจ, ผู้เพียรพยายมอย่างสม่ำเสมอ) นิจฺจ+กต+อภิโยค > นิจฺจกตาภิโยค+สิ
โสยํ ตัดบทเป็น โส+อยํ (นั้น+นี้, คนนี้นั้น, คนนั้น) ต+สิ = โส, อิม+สิ = อยํ
กวิตฺตวิกโลปิ = กวิตฺตวิกโล+อปิ (แม้วิกล-, แม้บกพร่องด้วยความเป็นแห่งนักกวี) กวิตฺต+วิกล > กวิตฺตวิกล+สิ
กวีสุ (ในกวี ท., หมู่นักกวี) กวิ+สุ
สงฺขยํ (การนับ, สังขยา) สงฺขย+อํ
โมคฺคยฺห (หยั่งลงแล้ว) อว+คห+ตฺวา > โอคฺคยฺห+สิ ลบ สิ เพราะจัดเป็น นิบาตบท, ม เป็นอักษรอาคม, ในสุโพธาลังการ ฉบับวัดท่ามะโอ เป็น สงฺขยโมคฺคยฺห เป็นสนธิ ตัดบทเป็น สงฺขยํ+โอคฺคยฺห.
วินฺทติ (ย่อมประสบ, ย่อมได้) วิท+ย+ติ ทิวาทิ. กัตตุ.
หิ (จริงอยู่, ที่แท้) นิบาต
กิตฺติมมนฺทรูปํ ตัดบทเป็น กิตฺตึ+อมนฺทรูปํ
คัมภีร์พื้นฐานอันเป็นดุจประตูสู่พระไตรปิฏก มี ๔ อย่าง คือ
๑. ไวยากรณ์ ตำราว่าด้วยแบบแผนของภาษา
๒. นิฆัณฑุศาสตร์ ตำราว่าด้วยชื่อและลิงค์ (เพศทางไวยากรณ์)
๓. ฉันทศาสตร์ ตำราว่าด้วยการวางครุลหุในกวีนิพนธ์
๔. อลังการศาสตร์ ตำราว่าด้วยการประดับคำให้ไพเราะสละสลวย เหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมาย
หมายเหตุ : คำแปลนี้ นำมาจาก สุโพธาลังการมัญชรี จัดพิมพ์โดยวิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen