๒๑๐. พาลบัณฑิต-พาลขนานแท้
โย พาโล มญฺญติ พาลฺยํ, ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส;
พาโล จ ปณฺฑิตมานี, ส เว พาโลติ วุจฺจติฯ
"ผู้ใดย่อมสำคัญความที่ตนเป็นพาลได้,
ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นจัดเป็นบัณฑิตได้บ้าง;
ส่วนคนพาลใดที่ถือตนว่าเป็นบัณฑิต,
คนพาลเช่นนั้นแล เราเรียกว่าเป็นคนพาล.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดคนพาล ๒๑๐ โลกนีติ ๗๐ ขุ. ธ. ๒๕/๑๕ พาลวรรค)
..
ศัพท์น่ารู้:
โย: (..ใด) ย+สิ สัพพนาม
พาโล: (คนพาล, คนโง่) พาล+สิ
มญฺญติ: (ย่อมสำคัญ, ย่อมรู้) √มน-โพธเน+ย+ติ ทิวาทิคณะ กัตตุวาจก
พาลฺยํ: (ความเป็นแห่งคนพาล) พาลฺย+อํ, พาลฺย = พาล+ณฺย ปัจจัย ในภาวตัทธิต
วิ. พาลสฺส ภาโว พาลฺยํ (แปล) ความเป็นแห่งคนพาล ชื่อว่า พาลฺยํ
ลง ณฺย ปัจจัย ด้วยสูตรว่า ณฺยตฺตตา ภาเว ตุ. (รู ๓๘๗) หมายความว่า ลง ณฺย-ตฺต-ตา ปัจจัย หลังศัพท์มีฉัฏฺฐีวิภัตติเป็นที่สุด ในอรรถภาวะ (ตสฺส ภาโว).
ปณฺฑิโต: (บัณฑิต, ผู้รุ้, ผู้ฉลาด) ปณฺฑิต+สิ
วาปิ: (แม้บ้าง) เป็นสมูหนิบาต
เตน: (เพราะเหตุนั้น) ต+นา สัพพนาม
โส: (..นั้น) ต+สิ สัพพนาม
พาโล: (คนพาล, คนโง่) พาล+สิ
จ: (ด้วย, และ, ส่วน, อนึ่ง) เป็นนิบาต
ปณฺฑิตมานี: (คนที่ถือตนว่าเป็นบัณฑิต, ผู้ที่สำคัญตน..) ปณฺฑิต+มานี > ปณฺฑิตมานี+สิ, = ปณฺฑิต+มน-ธารเณ+ณี วิ.ปณฺฑิตํ อตฺตานํ มญฺญตีติ ปณฺฑิตมานี พาโล, (คนพาล คือคนที่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต) ลง ณี ปัจจัยแม้ในอรรถอัตตมานะ ด้วย จ ศัพท์ในสูตรว่า ตสฺสีลาทีสุ ณีตฺวาวี จ. (รู ๕๙๐)
ส: = โส (..นั้น) ต+สิ สัพพนาม
เว: (แล) เป็นนิบาตใช้ในอรรถปทปูรณะ (ทำบทให้เต็ม)
พาโลติ: (ว่าคนพาล) พาโล+อิติ
วุจฺจติ: (อัน..ย่อมกล่าว, ถูกกล่าว, ถูกเรียก) √วจ+ย+เต ภูวาทิคณะ กัมมวาจก แปลง อ ของ ว เป็น อุ ด้วย สูตรว่า วจวสวหาทีนมุกาโร วสฺส เย. (รู ๔๗๘) = วุจ+ยฺ+เต, แปลง ย กับทีสุดธาตุเป็น จ ด้วยสูตรว่า ตสฺส จวคฺค..ฯ. (รู ๔๔๗) วุ+จ+เต, ซ้อน จฺ ด้วยสูตรว่า ปร เทฺวภาโว ฐาเน (รู ๔๐) = วุ+จฺจ+เต, แปลง เต เป็น ติ ด้วยสูตรว่า อตฺตโนปทานิ ปรสฺสปทตฺตํ. (รู ๔๔๖) = วุ+จฺจ+เต, รวมเป็น วุจฺจเต
..……
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen