Mittwoch, 10. Februar 2021

๒๔๙. มิตร ๔ ที่ควรรู้

๒๔๙. มิตร  ที่ควรรู้


โอรสํ กตสมฺพนฺธํ, ตถา วํสกฺกมาคตํ;

รกฺขโก พฺยสเนหิ, มิตฺตํ เญยฺยํ จตุพฺพิธํฯ


"ปัญญาชนควรพึงทราบมิตร มี อย่าง คือ :

. มิตรที่เกิดจากอก (โอรส, บุตร, ลูก)

. มิตรที่ได้สร้างความสัมพันธ์กันมา,

. มิตรที่มาตามลำดับวงศ์สกุล และ

. มิตรที่ช่วยให้รอดจากเคราะห์ร้าย.“


(กวิทปฺปณนีติ ๒๔๙)


ศัพท์น่ารู้ :


โอรสํ: (โอรส, ผู้เกิดจากอก) โอรส+สิ, ศัพท์นี้ส่วนมากเป็น ปุงลิงค์ แต่ในที่คงจะขยายคำว่า มิตฺตํ (?) 

กตสมฺพนฺธํ: (ที่มีความสัมพันธ์กระทำแล้ว, ได้สร้างความผูกพันธ์กันมา) กตพนฺธน+สิ


ตถา: (เหมือนอย่างนั้น, เช่นกัน) นิบาต 

วํสกฺกมาคตํ: (ที่มาแล้วตามลำดับแห่งวงศ์) วํสกฺกมาคต+สิ, วํส (วงษ์, วงศ์) -กม (ลำดับ) -อาคต (มาแล้ว)


รกฺขโก: (ผู้รักษา, ปกป้อง, ป้องกัน) รกฺขก+สิ 

พฺยสเนหิ: (จากควมวอดวาย, โชคร้าย, เคราะห์กรรม .) พฺยสน+หิ 


มิตฺตํ: (มิตร, เพื่อน) มิตฺต+สิ เป็น นป. หรือ . ก็ได้ 

เญยฺยํ: (พึงทราบ, ควรรู้) เญยฺย+สิ หรือ ญา+ณฺย+สิ ปทรูปสิทธิท้ายสูตร ๕๕๖ กล่าวว่า ญา-อวโพธเน ญาธาตุในอรรถว่ารู้, วิเคราะห์ว่า อญฺญายิตฺถ ญายติ ญายิสฺสตีติ เญยฺยํ, ญาตพฺพํ, ญาเตยฺยํ ชานิตพฺพํ, วิชานนียํ หรือ วิชานียํ. (อันบุคคลแล้ว, ย่อมรู้, จักรู้ ชื่อว่า เญยฺยํ, ญาตพฺพํ …..วิชานนีย๊ํ.)


จตุพฺพิธํ: (สี่อย่าง, สี่ประการ) จตุพฺพิธ+สิ 


——


คาถานี้หากแปลใหม่ให้ถูกตามไวยากรณ์ น่าจะเป็น


โอรโส กตสมฺพนฺโธ,

ตถา วํสกฺกมาคโต;

รกฺขโก พฺยสเนหิ,

มิตฺโต เญยฺโย จตุพฺพิโธฯ


ว่าแต่ว่า..อาจจะถูกหลักไวยากรณ์ แต่คงจะผิดความประสงค์ อนึ่ง เสียงที่เปล่งจากการอ่านที่แปลง ค่อนข้าง ก็แข็งกระด้าง ไม่มีอรรถรส ไม่เหมือนของเก่า เสียงนุ่ม ไพเราะน่าฟังกว่า ทั้งดูจากอักษรที่ปรากฏรู้สึกรกตาเสียนี่กระไร เอาเป็นว่าของเก่าท่านดีที่สุดแล้วครับ อย่างเอาตามผมเลยนะครับ ผมเพียงแต่อยากเทียบเคียงให้ดูเท่านั้น ท่านผู้รู้และนักศึกษาจะว่าประการใด ขอเชิญตามอัธยาศัยเถิด.


..


 

Keine Kommentare: