Dienstag, 16. Februar 2021

๒๕๓. ทศพิธราชธรรม

๒๕๓. ทศพิธราชธรรม 


ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํ,  อชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ;

อกฺโกธํ อวิหึสญฺจ,  ขนฺตี อวิโรธนํ;

ทเสเต ธมฺเม ราชาโน,  อปฺปมตฺเตน ธารยฺยุํฯ


พระราชาควรพึงรักษาธรรรม ๑๐ ประการ- 

เหล่านี้ ด้วยความไม่ประมาท คือ

ทาน ศีล การบริจาค

ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร

ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ,

ความอดทน และความไม่พิโรธ ;



(กวิทปฺปณนีติ ๒๕๓, ธมฺมนีติ ๒๖๖, นรทกฺขทีปนี ๒๒๑, ขุ. ชา. ๒๘/๒๔๐)



ศัพท์น่ารู้ :


ทานํ: (ทาน, การให้) ทาน+อํ นป.

สีลํ: (ศีล) สีล+อํ นป.

ปริจฺจาคํ: (การบริจาค) ปริจฺจาค+อํ .


อชฺชวํ: (ความซื่อตรง) อชฺชว+อํ นป. วิ. อุชุโน ภาโว อชฺชวํ (ความชื่อตรง ชื่อว่า อชฺชว) อุชุ+ ภาวตัทธิต

มทฺทวํ: (ความอ่อนโยน) มทฺทว+อํ นป. วิ. มุทุโน ภาโว มทฺทวํ (ความอ่อนโยน ชื่อว่า มทฺทว) มุทุ+ ภาวตัทธิต ลง ปัจจัจ ด้วยสูตรว่า วิสมาทีหิ. (รู ๓๘๘)

ตปํ: (ความเพียร) ตป+อํ .


อกฺโกธํ: (ความไม่โกรธ) อกฺโกธ+อํ .

อวิหึสญฺจ: = อวิหึสํ+ (ความไม่เบียดเบียนด้วย) อวิหึสา+อํ อิต. ?


ขนฺตี: = ขนฺตึ (ความอดทน) ขนฺติ(ขนฺตี)+อํ อิต.

: (ด้วย, และ) นิบาตในอรรถปทสมุจจยะ

อวิโรธนํ: (ความไม่พิโรธ, ไม่เคือง) อวิโรธน+อํ นป./.


ทเสเต: = ทส+เอเต (๑๐ เหล่านั้น) ทส+โย, เอต+โย วิเสสนะของ ธมฺเม

ธมฺเม: (ซึ่งธรรม .) ธมฺม+โย 

ราชาโน: (ราชา .) ราช+โย แปลง โย เป็น อาโน ด้วยสูตรว่า โยนมาโน. (รู ๑๑๔)


อปฺปมตฺเตน: (ด้วยความไม่ประมาท) อปฺปมตฺต+นา 

ธารยฺยุํ: = ธาเรยฺยุํ (ทรงไว้, ธำรงไว้) ธร+เณ+เอยฺยุํ จุราทิคณะ กัตตุวาจก


..


ส่วนในพระบาฬีชาดก (ขุ. ชา. ๒๘/๒๔๐) และนรทักขทีปนี (นรทกฺขทีปนี ๒๒๑)  สองบาทคาถาสุดท้าย มีข้อความดังนี้


ทานํ  สีลํ  ปริจฺจาคํ, อชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ;

อกฺโกธํ อวิหึสญฺจ, ขนฺติญฺจ อวิโรธนํฯ


อิจฺเจเต กุสเล ธมฺเม, ฐิเต ปสฺสามิ อตฺตนิ;

ตโต เม ชายเต ปีติ, โสมนสฺสญฺจนปฺปกํฯ


(แปล)

"เราเห็นกุศลธรรมที่ดำรงอยู่ในตนเหล่านี้ 

คือทาน ศีล การบริจาค ความซื่อตรง

ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ 

ความไม่เบียดเบียน ความอดทนและความไม่พิโรธ 

แต่นั้นปีติและโสมนัสไม่ใช่น้อย ย่อมเกิดแก่เรา"



 

Keine Kommentare: