Donnerstag, 18. Februar 2021

๒๕๕. สูญ เปล่า เหงา อาภัพ

๒๕๕. สูญ  เปล่า เหงา อาภัพ 


อปุตฺตกํ ฆรํ สุญฺญํ, รฏฺฐํ สุญฺญํ อราชกํ;

อสิปฺปสฺส มุขํ สุญฺญํ, สพฺพสุญฺญํ ทลิทฺทตฺตํฯ


"เรือนไม่มีบุตร คงจะดูหงอยเหงา,

ประเทศไม่มีเจ้า ดูไม่น่าเกรงขาม,

คำพูดของคนไร้การศึกษา ดูไม่มีทำตาม,

ความเป็นคนจนทรัพย์ ดูอาภัพอย่างสิ้นเชิง.“


(กวิทปฺปณนีติ ๒๕๕, โลกนีติ ๑๑๕, ธมฺมนีติ ๒๖๔)


..

ศัพท์น่ารู้ :


อปุตฺตกํ: (ที่ไม่มีบุตร) อปุตฺตก+สิ วิเสสนะของ ฆรํ 

ฆรํ: (เรือน, ที่อยู่) ฆร+สิ นป. วิ. คยฺหตีติ ฆรํ (สถานที่ถูกยึดเอา ชื่อว่า ฆร) คห-อุปาทาเน+ แปลง คห เป็น ฆร ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า คหสฺส ฆร เณ วา. (รู ๕๘๓)

สุญฺญํ: (เป็นของสูญ, (ศูนย์) เปล่า, ว่าง) สุญฺญ+สิ 

 

รฏฺฐํ: (รัฐ, เมือง, ประเทศ) รฏฺฐ+สิ นป.

สุญฺญํ: (สูญ, เปล่า, ว่าง) สุญฺญ+สิ 

อราชกํ: (ที่ปราศจากพระราชา) อราชก+สิ วิเสสนะของ รฏฺฐํ


อสิปฺปสฺส: (ของคนไม่มีความรู้, -การศึกษา, -ศิลปะ) อสิปฺป+ 

มุขํ: (หน้า, ปาก, มุข, คำอ้างอิง) มุข+สิ 

สุญฺญํ: (สูญ, เปล่า, ว่าง, ไม่น่าเชื่อถือ) สุญฺญ+สิ

 

สพฺพสุญฺญํ: (สูญทุกอย่าง, เปล่าทั้งหมด, ทุกอย่างย้ำแย่) สพฺพสุญฺญ+สิ 

ทลิทฺทตฺตํ: (ความเป็นคนจน, การเป็นคนไร้ทรัพย์) ทลิทฺทตฺต+สิ นป. 

..

ต่อไปนี้จะได้ยกคาถาเดียวกันนี้ มาเปรียบเทียบให้เห็นความเหมือนและความต่าง เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในอักษรยิ่ง ไป 


ในโลกนีติ (โลกนีติ ๑๑๕) มีบางศัพท์ต่างกันเฉพาะบาทสุดท้าย ดังนี้


อปุตฺตกํ ฆรํ สุญฺญํ,

รฏฺฐํ สุญฺญํ อราชกํ;

อสิปฺปสฺส มุขํ สุญฺญํ,

สพฺพสุญฺญํ ทลิทฺทกาฯ


ส่วนในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๒๖๔) มีการใช้ศัพท์ในบาทที่ และที่ ต่างกัน ดังนี้


อปุตฺตกํ ฆรํ สุญฺญํ, 

เทสํ สุญฺญํ อราชิกํ;

อปญฺญสฺส มุขํ สุญฺญํ, 

สพฺพสุญฺญํ ทลิทฺทกํฯ


——


 

Keine Kommentare: