Dienstag, 16. Mai 2023

๑๘๐. ทาส ๔

๑๕. ทาสกถา - แถลงทาส


๑๘๐. ทาส


อนฺโตชาโต ธนกฺกีโต*, ทาสพฺโยปคโต สยํ;

ทาสา กรมรานีโต-* จฺเจวํ เต จตุธา สิยุํ.


ทาสมี จำพวก คือ 

. ทาสเกิดภายใน 

. ทาสที่ช่วยมาด้วยทรัพย์ 

. คนที่ยอมเป็นทาสเอง และ

. ทาสที่เขานำมาโดยเป็นเชลย.


(ธัมมนีติ ทาสกถา ๑๘๐, กวิทัปปณนีติ ๒๙๒, มหารหนีติ ๑๐๖, อภิธาน. ๕๑๕)


--


ศัพท์น่ารู้ :


อนฺโตชาโต (ผู้เกิดภายใน) อนโตชาต+สิ

ธนกฺกีโต* (ผู้ทีเขาซื้อมาด้วยทรัพย์) ธนกฺกีต+สิ, วิ. ธเนหิ กีโต ธนกฺกีโต, ปุริโส (บุรุษผู้ถูกซื้อด้วยทรัพย์ ชื่อว่า ธนกฺกีต) . ตัป. (เดิมเป็น ธนกฺกิโต แก้เป็น ธนกฺกีโต)


ทาสพฺโยปคโต (ผู้ที่เขาถึงความเป็นทาส) ทาสพฺย-อุปคต+สิ เป็นสมาส วิ. ทาสพฺยํ อุปคโต ทาสพฺโยปคโต, ปุริโส. (บุรุษผู้เข้าถึงความเป็นทาส ชือว่า ทาสพฺโยปคต) ทุ. ตัป.

สยํ (เอง, สมัครใจ) นิบาตใช้ในอรรถตติยาวิภัตติ


ทาสา (ทาส, คนรับใช้, ลูกจ้าง .) ทาส+โย

กรมรานีโตจฺเจวํ ตัดบทเป็น กรมรานีโต (ผู้ที่เขานำมาเป็นเชลย) + อิติ (คือ) + เอวํ (อย่างนี้แล), คำว่า กรมร แปลว่า ผู้ควรตายด้วยน้ำมือ (ของข้าศึก) ส่วน อานีโต (ถูกนำมาแล้ว) อา+√นี-นเย ในการนำไป+ ปัจจัย กิริยากิตก์, อิติ และ เอวํ เป็นนิบาตบท. (เดิมเป็น กรมรานิโต-แก้เป็น กรมรานีโต)


เต (เหล่านั้น) +โย วิเสสนะของ ทาสา

จตุธา (สี่อย่าง, สี่พวก) จตุ+ธา ปัจจัย เป็นอัพยยตัทธิต ลง ธา ปัจจัยหลังสังขยา ในอรรถจำแนก (วิภาคตฺเถ) ด้วยสูตรว่า วิภาเค ธา . (รู ๔๒๐)

สิยุํ (พึงมี, พึงเป็น) √อส++เอยฺยุํ ภูวาทิคณะ หูวาทินัย กัตตุวาจก


--


วันนี้เราขึ้นกัณฑ์ใหม่ ชื่อ ทาสกถา แปลว่า แถลงทาส ว่าด้วยลูกจ้าง, คนใช้

ศัพท์ว่า ทาส มีวิเคราะห์ว่า ทาสนฺติ เอตสฺสาติ ทาโส (ชื่อว่า ทาส เพราะเป็นที่ให้ของชน .) ทาสิ-ทาเน ในการให้+ ปัจจัย หรือ วิ. ทาตพฺโพติ ทาโส (ชื่อว่า ทาส เพราะเป็นผู้อันเขาพึงให้) √ทา-ทาเน+ ปัจจัย (อภิธาน-สูจิ)



คาถานี้มีปรากฏในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๕๑๕ ไม่แน่ใจว่า อภิธาน. นำมาจากนีติ หรือ นีตินำมาจากอภิธาน. ขอให้ท่านผู้รู้และนักศึกษาช่วยกันค้นหาหลักฐานต่อไปเถิด


ในอภิธานัปปทีปิกา คาถา ๕๑๕ มีดังนี้


อนฺโตชาโต ธนกฺกีโต, ทาสพฺโยปคโต สยํ;

ทาสา กรมรานีโต, จฺเจวํ เต จตุธา สิยุํ.


ทาสมี จำพวก คือ

. ทาสเกิดภายใน

. ทาสที่ช่วยมาด้วยทรัพย์

. ทาสที่ยอมเป็นทาสเอง และ

. ทาสที่เขานำมาเป็นเชลย.



ส่วนความโดยพิศดารปรากฏในพระวินัยปิฏก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ข้อ ๓๒, และอรรถกถาพระวินัย สมันตปสาทิกา ทาสวัตถุกถา (แถลงเรื่องทาส) 



--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



ทาสเกิดในเรือน ทาสช่วยมาด้วยทรัพย์ ทาส

ผู้ยอมตัวเป็นทาสเอง คนเชลยศึก เหล่านี้ร่วม

เป็นทาส จำพวก.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


ทานในเรือนเบี้ย ทาสสินไถ่

ทาสสมัครใจ ทานเชลย รวม พวก.


--


 

Keine Kommentare: