Dienstag, 23. Mai 2023

๑๘๖. ข่มคนที่ควรข่ม

๑๘๖. ข่มคนที่ควรข่ม


สยํ อายํ วยํ ชญฺญา, สยํ ชญฺญา กตากตํ;

นิคฺคณฺเห นิคฺคณฺหารหํ, ปคฺคณฺเห ปคฺคณฺหารหํ.


ผู้ครองเรือนที่ฉลาดควรทราบ

ความเจริญและความเสื่อมด้วยตนเอง,

ควรรู้กิจทีตนได้ทำแล้วและยังมิได้ทำ;

พึงข่มคนที่ควรข่ม, ยกย่องคนที่ควรยกย่อง.


(ธรรมนีติ ฆราวาสกถา ๑๘๖, โลกนีติ ๑๒๓, กวิทัปปณนีติ ๒๖๑, ขุ. ชา. ๒๗/๒๔๔๒ เตสกุณชาดก)


--


ศัพท์น่ารู้ :


อายํ (กำไร, รายได้, ผลประโยชน์, ความเจริญ) อาย+อํ .

ขยํ (ความสิ้นไป, ความเสื่อม, ขัย, ไขย, ขยะ) ขย+อํ . 

สยํ (เอง, ด้วยตนเอง) สย+อํ 

ชญฺญา (พึงทราบ, รู้) √ญา+นา+เอยฺย กิยาทิ. กัตตุ. แปลง ญา เป็น ชํ ได้บ้าง § ญาสฺส ชา-ชํ-นา. (รู ๕๑๔) = ชํ+นา+เอยฺย, แปลง เอยฺย เป็น ญา § เอยฺยสฺส ญาโต อิยา-ญา. (รู ๕๑๕) = ชํ+นา+ญา, ลบ นา ได้บ้าง § นาสฺส โลโป ยการตฺตํ.  (รู ๕๑๖) = ชํ+ญา, แปลง นิคคหิตเป็น สำเร็จรูปเป็น ชญฺญา.

กตากตํ (กิจที่ได้ทำและมิได้ทำ) กต+อกตา > กตากต+อํ ในโลกนีติบาทคาถาที่สองนี้ เป็น ราชา สยํ กตากตํ. ในกวิทัปปณนีติ เป็น กตากตํ สยํ ชญฺญา.

นิคฺคณฺเห (พึงข่ม, ตำหนิ) นิ+√คห+ณฺหา+เอยฺย คหาทิ. กัตตุ. ส่วนในโลกนีติและกวิทัปปณนีติเป็นนิคฺคเหเป็นภูวาทิคณะ กัตตุ. แยกเป็น นิ+คห++เอยฺย เพราะธาตฺวัตถสังคหะแสดงไว้ในคาถาที่ ๙๔ ว่า คโห อาทาเน คภูจุ, ทุพฺโพเธ ตุ จุราทิโกฯ แปลว่า คห ธาตุเป็นไปในอรรถว่า อาทาเน-ถือเอา, เป็น คหาทิ. ภูวาทิ. และ จุราทิคณะ ที่เป็นจุราทิคณะ เป็นไปในอรรถว่า ทุพฺโพเธ-รู้ได้อยาก.

นิคฺคณฺหารหํ (ผู้สมควรแก่การข่ม, ที่ควรข่ม, ที่ควรตำหนิ) นิคฺคณฺห+อรห > นิคฺคณฺหารห+อํ

ปคฺคณฺเห (พึงยกย่อง, ชมเชย) +√คห+ณฺหา+เอยฺย คหาทิคณะ กัตตุวาจก 

ปคฺคณฺหารหํ (ผู้สมควรแก่การยกย่อง, ที่ควรยกย่อง, ที่ควรชมเชย) ปคฺคณฺห+อรห > ปคฺคหารห+อํ


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



ตนเองต้องรู้ความเจริญแลความเสื่อม ตนเองต้อง

รู้สิ่งที่เขาทำกันแล้วและที่ไม่มีใครทำ พึงกำราบ

คนที่ควรกำราบ และพึงยกย่องคนที่ควรยกย่อง.



--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


ตนเองต้องรู้ความเจริญและความเสื่อม

ตนเองต้องรู้ว่าอะไรเขาทำแล้วและยังไม่ได้ทำ

ต้องกำหราบตนที่ต้องกำหราบ

ต้องยกย่องคนที่ควรยกย่อง.


--


 

Keine Kommentare: