Montag, 22. Mai 2023

๑๘๕. โอวาทเศรษฐี

๑๘๕. โอวาทเศรษฐี


อญฺชนานํ ขยํ ทิสฺวา, วมฺมิกานญฺจ สญฺจยํ;

มธูนญฺจ สมาหารํ, ปณฺฑิโต ฆรมาวเส.


บัณฑิตเห็นความสิ้นไปแห่งยาหยอดตา

ความพอกพูนแห่งจอมปลวก

และความเพิ่มพูนแห่งน้ำผึ้งทั้งหลายแล้ว

พึงอยู่ครองเรือนเถิด.


(ธรรมนีติ ฆราวาสกถา ๑๘๕ นรทักขทีปนี ๑๗๙ ธัมมปทัฏฐกถา พาลวรรค อานันทเสฏฐิวัตถุ)


--


ศัพท์น่ารู้ :


อญฺชนานํ (ยาหยอด,​ ยาหยอดตา) อญฺชน+นํ

ขยํ (สิ้น, สิ้น, มด, ร่อยหรอ) ขย+อํ

ทิสฺวา (เห็นแล้ว) √ทิส+ตฺวา > ทิสฺวา+สิ จัดเป็นกิริยากิตก์ หรือ นิบาตก็ได้ 

วมฺมิกานญฺจ ตัดบทเป็น วมฺมิกานํ+ (จอมปลวก . + ด้วย) วมฺมิก+นํ =วมฺมิกานํ, วมฺมิก (จอมปลวก) . ถ้า อุปจิกา (ตัวปลวก) อิต.

สญฺจยํ (การสะสม, พูกพูน, เพิ่มพูน,​ ก่อ) สญฺจย+อํ

มธูนญฺจ ตัดบทเป็น มธูนํ+ (น้ำผึ้ง . ด้วย, และน้ำผึ้ง .)  มธุ+นํ = มธูนํ, ส่วน ศัพท์เป็นนิบาตบท

สมาหารํ (การน้ำมาพร้อม, การสะสม, รวมตัวกัน) สํ+อา+√รห+ > สมาหาร+อํ

ปณฺฑิโต (คนฉลาด, บัณฑิต) ปณฺฑิต+สิ

ฆรมาวเส ตัดบทเป็น ฆรํ+อาวเส (ซึ่งเรือน + พึงอยู่ครอง = พึงอยู่ครองซึ่งเรือน, ควรอยู่ครองเรือน) ฆร+อํ = ฆรํ, ส่วน อาวเส มาจาก อา+√วส++เอยฺย ภูวาทิ.​ กัตตุ. 



--


คาถานี้ที่ได้ชื่อว่าโอวาทเศรษฐีเพาะเป็นคาถาที่ท่านนำมาจาก พระธรรมบทอัฏฐกถา พาลวรรค อานันทเสฏฐิวัตถุ คื่อ เรื่องของอานันทเศรษฐี ได้ให้โอวาทแก่บุตรของท่านเป็นปกติประจำวันว่า...


อญฺชนานํ ขยํ ทิสฺวา, อุปจิกานญฺจ อาจยํ;

มธูนญฺจ สมาหารํ, ปณฺฑิตฺโต ฆรมาวเส.



บุคคลผู้ฉลาด พึงเห็นความสิ้นแห่งยาสำหรับหยอด(ตา)

ความก่อขึ้นแห่งตัวปลวกทั้งหลาย และการประมวลมาแห่ง

ตัวผึ้งทั้งหลาย พึงอยู่ครองเรือน. 


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้


บัณฑิตเห็นความสิ้นไปแห่งยาหยอดตา แลความ

พอกพูนแห่งจอมปลวก และความเพิ่มพูนแห่งน้ำผึ้ง

ฉะนี้แล้ว จึ่งควรจะอยู่ครองเรือน.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


บัณฑิตมองเห็นความสิ้นไปของยาหยอดตา

และความพอกพูนของจอมปลวก

และความเพิ่มพูนแห่งน้ำผึ้ง 

ฉะนี้แล้วจึงควรจะอยู่ครองเรือน.


--


 

Keine Kommentare: