Samstag, 27. Mai 2023

๑๙๐. คนขอย่อมไม่เป็นที่รัก

๑๙๐. คนขอย่อมไม่เป็นที่รัก


ยาจโก อปิโย โหติ, ยาจํ อททมปฺปิยํ;

ตสฺมา เสฎฺฐนโร โลเก, ธนํ สิปฺปํ ปริคฺคเห.


คนขอย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ

คนถูกขอเมื่อไม่ให้ ย่อมเป็นที่ชังของผู้ขอ

เหตุนั้น คนผู้ประเสริฐในโลก

ควรรวบรวมทรัพย์และศิลปะไว้.


(ธรรมนีติ ฆราวาสกถา ๑๙๐)


--


ศัพท์น่ารู้ :


ยาจโก (ผู้ขอ, ยาจก, ขอทาน) ยาจ+ณฺวุ > ยาจก+สิ แปลง ณฺวุ ปัจจัยเป็น อก § อนกา ยุณฺวูนํ. (รู ๕๗๐)

อปิโย, อปฺปิโย (ไม่เป็นที่รัก, ไม่น่ายินดี) +ปิย > อปิย+สิ

โหติ (มี, เป็น) √หู++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

ยาจํ (เมื่อขอ, ขออยู่) √ยาจ++อนฺต > ยาจนฺต+สิ = ยาจํ, ยาจนฺโต แจกเหมือน คจฺฉนฺต ศัพท์ เป็นต้น

อททมปฺปิยํ ตัดบทเป็น อททํ+อปฺปิยํ (เมื่อไม่ให้, ผู้ไม่ให้อยู่ + ไม่เป็นที่รัก, ไม่เป็นที่ชอบใจ) +ททนฺต (√ทา++อนฺต) > อททนฺต+สิ = อททํ, อททนฺโต แจกเหมือน คจฺฉนฺต ศัพท์เหมือนกัน, ส่วน อปฺปิยํ มาจาก +ปิย > อปฺปิย+สิ แต่ศัพท์นี้ไม่เป็น อปฺปิโย ก็น่าคิดอยู่.

ตสฺมา (เหตุนั้น) +สฺมา สัพพนาม

เสฎฺฐนโร (คนผู้ประเสริฐ) เสฏฺฐ+นร > เสฏฺฐนร+สิ

โลเก (ในโลก) โลก+สฺมึ

ธนํ (ทรัพย์,​ สมบัติ) ธน+อํ 

สิปฺปํ (ศิลปะ, ความรู้) สิปฺป+อํ 

ปริคฺคเห (ถือเอารอบ,​ รวบรวม, ศึกษา) ปริ+√คห++เอยฺย ภูวาทิ.​ กัตตุ.


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของผู้ให้ 

แต่เมื่อขอไม่ให้ก็ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้ขอ 

เหตุนั้น คนที่ประเสริฐในโลก 

จึงควรรวบรวมทรัพย์แลศิลปไว้.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ

ผู้ถูกขอเมื่อไม่ให้ ก็ไม่เป็นที่รักของผู้ขอ

เหตุนั้นคนที่ประเสริฐในโลก

จึงต้องรวบรวมทรัพย์และศิลปะไว้.


--



 

Keine Kommentare: