Sonntag, 7. Oktober 2012

อาขยาตกัณฑ์ ๔ สฺวาทิคณะ วุธาตุ (สำรวม)



อาขยาตกัณฑ์_วิกรณปัจจัย_๔ สฺวาทิคณ_วุธาตุ

สวัสดีครับนักศึกษาที่รัก

วันนี้ขอทดลองใช้พื้นที่บล๊อกเกอร์ดูว่าจะมีผลเป็นอย่างไร? ถ้านำไวยากรณ์มาลงที่นี้ ถ้าผลออกมาดีก็มีความหวังว่า เราจะมีพี้นที่มั่นคงถาวรสำหรับงานที่เป็นประโยชน์เพื่อความรุ่งเรืองด้านการเผยแผ่พระปริยัติธรรมต่อไป

วุ – สํวรเณ (สำรวม,​ระวัง, รักษา, ร้อย, สอด, ทอ) มี อา อุปสัคเป็นบทหน้า แปลว่า ปิดกั้น เช่น อาวุณาติ (ย่อมปิดกั้น), มี สํ เป็นบทหน้ามีอรรถว่า สำรวม เช่น สํวุณาติ (ย่อมสำรวม)

ในคัมภีร์ธาตฺวัตถสังคหะคาถาที่ ๓๗๑ กล่าวอรรถของ วุ ธาตุไว้เพียงสั้น ๆ ดังนี้

วุ ภูสฺวา สํวเร (วุธาตุเป็นได้ทั้ง ภู-และ สฺวาทิคณะ มีอรรถว่า สำรวม)

คัมภีร์สัททนีติ ธาตุมาลา แสดงไว้ดังนี้ว่า

วุ สํวรเณ ฯ วุโณติ, วุณาติ, สํวุโณติ, สํวุณาติ ฯ ปณฺฑิโต สีลสํวุโต ฯ

(วุ ธาตุ...อรรถว่า สำรวม, ตัวอย่าง วุโณติ วุณาติ สํวุโณติ สํวุณาติ, บัณฑิต เป็นคนสำรวมในศีล)

ขัอควรสังเกต: สัททนีติ วุ ธาตุลงปัจจัย ๒ ตัว คือ ณุ ณา ส่วนปทรูปสิทธิ แสดงไว้เพียง อาวุณาติ ลงปัจจัยตัวเดียว

ตัวอย่างกริยาศัพท์ที่มาในปทรูปสิทธิ

อาวุณาติ (ย่อมปิดกั้น) อา+วุ+ณา+ติ กัตตุ.วัตตมานา
อาวุณาตุ (ย่อมปิดกั้น) อา+วุ+ณา+ตุ กัตตุ. ปัญจมี
อาวุเณยฺย (ได้ปิดกั้นแล้ว) อา+วุ+ณา+เอยฺย กัตตุ. สัตตมี
อาวุณิ (ปิดกั้นแล้ว) อา+วุ+ณา+อี กัตตุ. อัชชตนี
อาวุณิสฺสติ (จักปิดกั้น) อา+วุ+ณา+อิ+สฺสติ กัตตุ. ภวิสสันตี
อาวุณิสฺส (จักได้ปิดกั้นแล้ว) อา+วุ+ณา+อิ+สฺสา กัตตุ. กาลาติปัตติ

(ดูการทำตัวรูปประกอบด้านล่าง)



ตัวอย่างการแจกกริยา หิ ธาตุด้วยวิภัตติบางหมวดโดยสังเขปดังนี้


วัตตมานา : ปรัสสบท กัตตุวาจก

อัตตโนบท กัมมวาจก


เอก. พหู.

เอก. พหุ.
. อาวุณาติ อาวุณติ อาวุณนฺติ .



. อาวุณาสิ อาวุณาถ .



อุ. อาวุณามิ อาวุณาม อุ.





ปัญจมีวิภัตติ: อาวุณาตุ อาวุณนฺตุ ฯลฯ
สัตตมีวิภัตติ: อาวุเณยฺย อาวุเณยฺยุํ ฯลฯ


รูปในฝ่ายอัตตโนบท และ รูปกัมมวาจก ท่านมิได้แจกไว้จึงขออนุญาตข้ามไปก่อน ยังไม่ยากเดา เพราะเวลามีน้อย และอาจผิดได้ เอาไว้ให้มีเวลาค่อยมาวิจารณ์กันอีกที




อัชชตนี : ปรัสสบท กัตตุวาจก


อัตตโนบท กัมฺมวาจก


เอก. พหู.

เอก. พหุ.
. อาวุณิ ปาเหสิ อาวุณึสุ ปาเหสุํ .



. อาวุณิ อาวุณิตฺถ .



อุ. อาวุณึ อาวุณิมฺห อุ.






กฏทั่วไปในหมวดอัชชตนีวิภัตติ
. รัสสะ อี และ มฺหา ได้บ้าง
. แปลง โอ อา อํ เป็น อิ ตฺถ อ ตามลำดับได้บ้าง
. แปล อุํ เป็น เป็น อึสุ ได้บ้าง


ภวิสสันตี : ปรัสสบท กัตตุวาจก


อัตตโนบท กัมมวาจก


เอก. พหู.

เอก. พหุ.
. อาวุณิสฺสติ อาวุณิสฺสนฺติ .



. อาวุณิสฺสสิ อาวุณิสฺสถ .



อุ. อาวุณิสฺสามิ อาวุณิสฺสาม อุ.











กาลาติปัตติ : ปรัสสบท กัตตุวาจก


อัตตโนบท กัมมวาจก


เอก. พหู.

เอก. พหุ.
. อาวุณิสฺส-สา อาวุณิสฺสํสุ .



. อาวุณิสฺเส อาวุณิสฺสถ .



อุ. อาวุณิสฺสํ อาวุณิสฺสมฺห-สฺสามฺหา อุ.








กฏทั่วไปในหมวดกาลาติปัตติวิภัตติ
. รัสสะ สฺสา สฺสามฺหา เป็น สฺส สฺสมฺห ตามลำดับได้บ้าง
. แปลง สฺเส เป็น สฺส ได้บ้าง


การประกอบรูปศัพท์ อาวุณาติ (กัตตุวาจก)
ศัพท์เดิมเป็น อา+วุ+ณา+ติ
ตั้งชื่อธาตุ (วุ) - ภูวาทโย ธาตโว.
ลง ติ วัตตมานาวิภัตติ (วุ+ติ) - วัตตมานาฯ.
ลงในอรรถปัจจุบันกาล – วัตตมานา ปจฺจุปนฺเน.
ให้วิภัตติชื่อว่า ปรัสสบท – อถ ปุพฺพานิ ฯ.
ลงในอรรถกัตตวาจก – กตฺตริ ปรสฺสปทํ.
ให้ชื่อว่า มัชฌิมบุรุษ – เทฺว เทฺว ปฐม-.
ลงให้เหมาะกับนามศัพท์ที่ประกอบ – นามมฺหิ ฯ.
ลง ณา วิกรณปัจจัย (อา+วุ+ณา+ติ) - สฺวาทิโต ณุณาอุณา จ.
รวมสำเร็จรูปเป็น อาวุณาติ (ย่อมปิดกั้น)



ตัวอย่างการใช้ศัพท์ วุ-ธาตุที่มาในพระบาลีและอรรถกถา

อยมฺปิ คาถา ทุมฺเมธ อตฺตโน ยวํ ปริภุญฺชิตุํ
น ลภิสฺสสิ น เต อิทานิ นิลฺลชฺชสฺส ชีวิตํ ทสฺสามิ มาเรตฺวา
ขณฺฑาขณฺฑํ ฉินฺทิตฺวา สูเลเยว อาวุณาเปสฺสามีติ รญฺโญ
อชานนฺตสฺเสว กุมารํ สนฺตชฺชยมานา อิมมตฺถํ ทีเปติ ฯ

คาถาแม้นี้ก็ข่มขู่พระกุมาร แสงเนื้อความนี้ สำหรับพระราชาผู้ไม่รู้
นั้นแลว่า เจ้าคนโง่เจ้าจักไม่ได้บริโภคข้าวเหนียวของตน บัดนี้
เราจักไม่ให้ชีวิตแก่เจ้าผู้ไม่มีความละอาย เราจักฆ่าตัดให้เป็นท่อน
น้อยท่อนใหญ่ แล้วให้เสียบไว้บนหลาวนั่นแหละ.
(มูสิกชาตกวัณณนา ชา. . /๘๑๕ (. ๖๐๔))

อธิบายกริยาอาขยาตศัพท์

ทสฺสามิ (จักให้) ทา+อิ+สฺสามิ)
อาวุณาเปสฺสามิ (จักเสียบ) อา+วุ+ณา+ณาเป+สฺสามิ ลงการิตปัจจัย (ใช้ให้ทำ)
ทีเปติ (ย่อมแสดง) ทีป++ติ

ถ้าต้องการพูดเป็นบาลีว่า “พวกท่านจงสำรวมตน, พวกเราพึงสำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย” จะแต่งคำพูดว่าอย่างไร?

Keine Kommentare: