บาฬีไวยากรณ์เบื้องต้น
(ชุดที่ ๓) สำหรับนักศึกษาใหม่และผู้สนใจทั่วไป
บรรยายโดย
พระอาจารย์มหาสมปอง มุทิโต
คณะ ๒๕ วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์
กรุงเทพมหานคร
# ขอบคุณเว็บไซต์ที่มาข้อมูล # http://www.thepathofpurity.com/
# ขอบคุณเว็บไซต์ที่มาข้อมูล # http://www.thepathofpurity.com/
บทที่ ๑๒
สมาส คือการย่อนามศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไป เข้าเป็นบทเดียวกัน วิเคราะห์ว่า "สมสฺสเต สงฺขิปียเตติ สมาโส การย่อหรือบทที่ถูกย่อ ชื่อว่าสมาส" ว่าโดยวิธีทำมี ๒ อย่าง คือ
๑. ลุตฺตสมาส สมาสที่ลบวิภัตติของศัพท์หน้า
เช่น กฐินสฺส ทุสฺสํ กฐินทุสฺสํ
ผ้าเพื่อกฐิน ชื่อว่า กฐินทุสฺเส
๒. อลุตฺตสมาส สมาสที่ไม่ลบวิภัตติของศัพท์หน้า
เช่น ปรสฺส ปทํ ปรสฺสปทํ
บทเพื่อผู้อื่น ชื่อว่า ปรสฺสปท
ลักษณะของสมาส ๓ อย่าง
๑. ประกอบเข้าเป็นบทเดียวกัน
๒. สวดให้เป็นบทเดียวกัน (ไม่เว้นวรรคกลางสมาส)
๓. มีวิภัตติตัวเดียวกัน
สมาส ๖
สมาสว่าโดยชื่อมี ๖ คือ อัพยยีภาวะ กัมมธารยะ ทิคุ ตัปปุริสะ พหุพพีหิ และทวันทะ
๑. อัพยยีภาวสมาส
อัพยยีภาวสมาส คือสมาสที่มีอุปสัคหรือนิบาตเป็นบทหน้าและเป็นประธาน บทสำเร็จเป็นนปุงสกลิงค์เอกพจน์มี ๒ คือ
๑. อุปสัคคปุพพกะ มีอุปสัคเป็นบทหน้าและเป็นประธาน
เช่น นครสฺส สมีปํ อุปนครํ
ที่ใกล้แห่งเมือง ชื่อว่า อุปนคร
๒. นิปาตปุพพกะ มีนิบาตเป็นบทหน้าและเป็นประธาน
เช่น วุฑฺฒานํ ปฏิปาฏิ ยถาวุฑฺฒํ
ลำดับผู้เจริญ ชื่อว่า ยถาวุฑฺฒ
๒. กัมมธารยสมาส
กัมมธารยสมาส คือสมาสที่ย่อสุทธนามกับสุทธนา สุทธนามกับคุณนาม หรือคุณนามกับคุณนาม ที่มีวิภัตติและวจนะเหมือนกันเข้าด้วยกัน แบ่งออกเป็น ๙ อย่าง คือ
๑. วิเสสนปุพพปทะ มีบทวิเสสนะอยู่หน้า
เช่น มหนฺโต จ โส ปุริโส จาติ มหาปุริโส.
บุรุษผู้ประเสริฐ ชื่อว่า มหาปุริส
๒. วิเสสนุตตรปทะ มีบทวิเสสนะอยู่หลัง
เช่น สาริปุตฺโต จ โส เถโร จาติ สาริปุตฺตตฺเถโร
พระสารีบุตรผู้เถระ ชื่อว่า สาริปุตฺตตฺเถร
๓. วิเสสโนภยปทะ มีบททั้ง ๒ เป็นวิเสสนะ
เช่น สีตํ จ อุณฺหํ จาติ สีตุณหํ.
เย็นและร้อน ชื่อว่า สีตุณฺห
๔. อุปมานุตตรปทะ มีบทหลังเป็นอุปมา
เช่น มุนิ จ โส สีโห จาติ มุนิสีโห.
พระมุนีเพียงดังสีหะ ชื่อว่า มุนิสีห
๕. สัมภาวนาปุพพปทะ มีบทหน้าประกอบด้วย อิติ ศัพท์ในอรรถยกขึ้นแสดง
เช่น ธมฺโม อิติ พุทฺธิ ธมฺมพุทฺธิ.
ความรู้ว่าธรรม ชื่อว่า ธมฺมพุทฺธิ
๖. อวธารณปุพพปทะ มีบทหน้าประกอบด้วย เอว ศัพท์เพื่อห้ามเนื้อความอื่น
เช่น สทฺธา เอว ธนํ สทฺธานํ
ศรัทธาเท่านั้นเป็นทรัพย์ ชื่อว่า สทฺธาธน
๗. นนิปาตปุพพปทะ มี น นิบาตเป็นบทหน้าเพื่อห้ามหรือปฏิเสธ
เช่น น มนุสฺโส อมนุสฺโส.
ไม่ใช่มนุษย์ ชื่อว่า อมนุสฺส
๘. กุปุพพปทะ มี กุ นิบาตเป็นบทหน้าในอรรถน่ารังเกียจ
เช่น กุจฺฉิโต ปุริโส กาปุริโส.
บุรุษผู้น่ารังเกียจ ชื่อว่า กาปุริส
๙. ปาทิปุพพปทะ มี ป อุปสัคเป็นต้นเป็นบทหน้า
เช่น ปธานํ วจนํ ปาวจนํ.
คำที่เป็นประธาน ชื่อว่า ปาวจน
อโสภณํ กตํ ทุกฺกฏํ
กรรมที่ทำไม่ดี ชื่อว่า ทุกฺกฏ
๓. ทิคุสมาส
ทิคุสมาส คือกัมมธารยสมาสที่มีสังขยาเป็นบทหน้า แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ
๑. สมาหารทิคุ ทิคุสมาสที่ย่อนามศัพท์กับสังขยาในลิงค์ต่าง ๆ ที่เป็นพหุวจนะ ทำให้เป็นนปุงสกลิงค์เอกวจนะ
เช่น ตโย โลกา ติโลกํ.
โลกทั้ง ๓ ชื่อว่า ติโลก
๒. อสมาหารทิคุ ทิคุสมาสที่ย่อนามศัพท์กับสังขยา ทำให้เป็นลิงค์และวจนะตามเดิม
เช่น จตสฺโส ทิสา จตุทฺทิสา.
ทิศทั้ง ๔ ชื่อว่า จตุทฺทิสา
๔. ตัปปุริสสมาส
ตัปปุริสสมาส คือสมาสที่ย่อนาม ๒ บทที่มีวิภัตติต่างกัน เข้าเป็นบทเดียวกัน แบ่งออกเป็น ๖ อย่าง ตามลำดับตั้งแต่ทุติยาวิภัตติถึงสัตตมีวิภัตติ ดังนี้
๑. ทุติยาตัปปุริสะ บทหน้าประกอบด้วยทุติยาวิภัตติ
เช่น สรณํ คโต สรณคโต
ผู้ถึง (ซึ่งพระพุทธเจ้า) ว่าเป็นสรณะ ชื่อว่า สรณคต
๒. ตติยาตัปปุริสะ บทหน้าประกอบด้วยตติยาวิภัตติ
เช่น พุทฺเธน ภาสิโต พุทฺธภาสิโต
(พระธรรม) อันพระพุทธเจ้าทรงภาษิตแล้ว ชื่อว่า พุทฺธภาสิต
๓. จตุตถีตัปปุริสะ บทหน้าประกอบด้วยจตุตถีวิภัตติ
เช่น กฐินสฺส ทุสฺสํ กฐินทุสฺสํ.
ผ้าเพื่อกฐิน ชื่อว่า กฐินทุสฺส
๔. ปัญจมีตัปปุริสะ บทหน้าประกอบด้วยปัญจมีวิภัตติ
เช่น โจรมฺหา ภยํ โจรภยํ.
ภัยจากโจร ชื่อว่า โจรภย
๕. ฉัฏฐีตัปปุริสะ บทหน้าประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ
เช่น พุทฺธสฺส สาวโก พุทฺธสาวโก.
สาวกของพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทฺธสาวก
๖. สัตตมีตัปปุริสะ บทหน้าประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติ
เช่น วเน ปุปฺผํ วนปุปฺผํ
ดอกไม้ในป่า ชื่อว่า วนปุปฺผ
๕. พหุพพีหิสมาส
พหุพพีหิสมาส คือสมาสที่มีบทอื่นเป็นประธาน แบ่งออกเป็น ๙ อย่าง คือ
๑. ทวิปทตุลยาธิกรณะ บททั้ง ๒ มีเนื้อความเข้าเป็นอันเดียวกันในอรรถวิภัตติทั้ง ๖ มีทุติยาวิภัตติ เป็นต้น
เช่น อาคตา สมณา อิมํ สํฆารามนฺติ อาคตสมโณ. (สํฆาราโม)
สมณะมาสู่อารามนี้ ฉะนั้น อารามนี้จึงชื่อว่า อาคตสมณ
ทิฏฺฐา ธมฺมา เยน สมเณน โสยํ ทิฏฺฐธมฺโม. (สมโณ)
ธรรมอันสมณะใดเห็นแล้ว สมณะนั้นชื่อว่า ทิฏฺฐธมฺม
ทินฺโน สุงฺโก ยสฺส รญฺโญ โสยํ ทินฺนสุงฺโก. (ราชา)
ภาษีอันเขาให้แล้วแก่พระราชาใด พระราชานั้นชื่อว่า ทินฺนสุงฺก
นิคฺคตา ชนา อสฺมา คามา โสยํ นิคฺคตชโน. (คาโม)
คนออกไปแล้วจากหมู่บ้านนั้น หมู่บ้านนั้นชื่อว่า นิคฺคตชน
ขีณา อาสวา ยสฺส ภิกฺขุสฺส โสยํ ขีณาสโว. (ภิกฺขุ)
อาสวะของภิกษุใดสิ้นแล้ว ภิกษุนั้นชื่อว่า ขีณาสว
สมฺปนฺนานิ สสฺสานิ ยสฺมึ ชนปเท โสยํ สมฺปนฺนสสฺโส.
ข้าวกล้าในชนบทใดอุดมสมบูรณ์ ชนบทนั้นชื่อว่า สมฺปนฺนสสฺส
๒. ทวิปทภินนาธิกรณะ บททั้ง ๒ มีเนื้อความของวิภัตติต่างกัน
เช่น ฉตฺตํ ปาณิมฺหิ อสฺสาติ ฉตฺตปาณิ. (ปุริโส)
บุรุษผู้มีร่มในมือ ชื่อว่า ฉตฺตปาณิ
๓. ติปทะ บททั้ง ๓ มีเนื้อความวิภัตติเดียวกัน
เช่น มตฺตา พหโว มาตงฺคา อสฺมินฺติ มตฺตพหุมาตงฺคํ (วนํ)
ป่าที่มีช้างตกมันมาก ชื่อว่า มตฺตพหุมาตงฺค
๔. นนิปาตปุพพปทะ บทหน้าเป็น น นิบาตปฏิเสธ
เช่น นตฺถิ เอตสฺส สโมติ อสโม. (ภควา)
พระพุทธเจ้าไม่มีผู้เสมอ ชื่อว่า อสม
๕. สหปุพพปทะ บทหน้าเป็น สห นิบาต
เช่น สห เหตุนา โย วตฺตเตติ สเหตุโก. (ธมฺโม)
ธรรมที่เป็นไปพร้อมด้วยเหตุ ชื่อว่า สเหตุก
๖. อุปมาปุพพปทะ บทหน้าเป็นข้ออุปมา
เช่น กาโก วิย สูโร อยนฺติ กากสูโร. (ปุริโส)
บุรุษผู้กล้าเหมือนกา ชื่อว่า กากสูร
๗. สังขโยภยปทะ บททั้ง ๒ เป็นสังขยา
เช่น ฉ วา ปญฺจ วา วาจา ฉปฺปญฺจวาจา.
วาจา ๕-๖ คำ ชื่อว่า ฉปฺปญฺจวาจา
๘. ทิสันตราฬัตถะ ได้เนื้อความระหว่างทิศ หรือทิศเฉียง
เช่น ปุพฺพสฺสา จ ทกฺขิณสฺสา จ ทิสาย ยทนฺตราฬํ สายํ
ปุพฺพทกฺขิณา. (วิทิสา)
ระหว่างทิศตะวันออกกับทิศใต้ ชื่อว่า ปุพฺพทกฺขิณา
๙. พยติหารลักขณะ ได้ลักษณะทำกิริยาต่อสู้ (ฝ่ายตรงข้าม)
เช่น เกเสสุ จ เกเสสุ จ คเหตฺวา อิทํ ยุทฺธํ ปวตฺตตีติ เกสาเกสิ.
การดึงที่ผมต่อสู้กันไป ชื่อว่า เกสาเกสิ
๖. ทวันทสมาส
ทวันทสมาส คือสมาสที่ย่อบทที่มีวิภัตติเหมือนกัน ตั้งแต่ ๒ บทขึ้นไป เข้าเป็นบทเดียวกัน แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ
๑. สมาหาระ ย่อนามที่มีลิงค์และวจนะต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้าง มีรูปสำเร็จเป็นนปุงสกลิงค์เอกวจนะ
เช่น ปตฺโต จ จีวรํ จ ปตฺตจีวรํ
บาตรและจีวร ชื่อว่า ปตฺตจีวร
สมโถ จ วิปสฺสนา จ สมถวิปสฺสนํ.
สมถะและวิปัสสนา ชื่อว่า สมถวิปสฺสน
๒. อสมาหาระ ย่อนามที่มีวจนะเหมือนกัน สำเร็จแล้วมีลิงค์ ตามบทหลัง และเป็นพหุวจนะ
เช่น มาตา จ ปิตา จ มาตาปิตโร.
มารดาและบิดา ชื่อว่า มาตาปิตุ
สุโร จ อสุโร จ นโร จ อุรโค จ นาโค จ ยกฺโข จ สุราสุรนโรรคนาคยกฺขา.
เทวดา อสูร คน งู นาคและยักษ์ ชื่อว่า สุราสุรนโรรคนาคยกฺข
ตัทธิต คือนามศัพท์ที่ประกอบด้วยปัจจัยหมู่หนึ่งซึ่งใช้แทนศัพท์ เพื่อย่อคำพูดให้สั้นลง วิเคราะห์ว่า "ตสฺมา ติวิธลิงฺคโต ปรํ หุตฺวา หิตา สหิตาติ ตทฺธิตา ปัจจัยที่ประกอบอยู่หลังจากลิงค์ ๓ อย่าง (คือสุทธินามลิงค์ สมาสนามลิงค์ และตัทธิตนามลิงค์) ชื่อว่าตัทธิต" แบ่งเป็น ๗ อย่าง คือ อปัจจตัทธิต อเนกัตถตัทธิต ภาวตัทธิต วิเสสตัทธิต อัสสัตถิตัทธิต สังขยาตัทธิต และ อัพยยตัทธิต
อปัจจตัทธิต (หรือโคตตตัทธิต) อเนกัตทธิต อัสสัตถิตัทธิต และสังขยาตัทธิต ทั้ง ๔ นี้ รวมกันเรียกว่า "สามัญญตัทธิต" ใช้เป็นบทวิเสสนะ
๑. อปัจจตัทธิต
อปัจจตัทธิต หรือ โคตตตัทธิต ใช้ปัจจัย ๙ ตัว คือ ณ ณายน ณาน เณยฺย ณิ ณิก ณฺย ณว เณร แทน อปจฺจ ศัพท์ หรือ โคตฺต ศัพท์ หรือ ปุตฺต ศัพท์ แปลว่า "เหล่ากอ, โคตร, ลูก, หลาน"
เช่น วสิฏฺฐสฺส อปจฺจํ วาสิฏฺโฐ. (ณ)
เหล่ากอของวสิฏฐะ ชื่อว่า วาสิฏฺฐ
กจฺจสฺส อปจฺจํ กจฺจายโน, กจฺจาโน. (ณายน, ณาน)
เหล่ากอของกัจจะ ชื่อว่า กจฺจายน, กจฺจาน
กตฺติกาย ปุตฺโต กตฺติเกยฺโย. (เณยฺย)
ลูกของนางกัตติกา ชื่อว่า กตฺติเกยฺย
สกฺยปุตฺตสฺส อปจฺจํ สกฺยปุตฺติ. (ณิ)
ลูกหลานของสักยบุตร ชื่อว่า สกฺยปุตฺติ
สกฺยปุตฺตสฺส อปจฺจํ สกฺยปุตติโก. (ณิก)
ลูกหลานของศักยบุตร ชื่อว่า สกฺยปุตฺติก
อทิติยา อปจฺจํ อาทิจฺโจ. (ณฺย)
ลูกหลานของนางอทิติ ชื่อว่า อาทิจฺจ
มนุโน อปจฺจํ มานโว. (ณว)
ลูกหลานของนายมนุ ชื่อว่า มานว
สมณสฺส อปจฺจํ สามเณโร. (เณร)
ลูกหลานของสมณะ ชื่อว่า สามเณร
๒. อเนกัตถตัทธิต
อเนกัตถตัทธิต ใช้ปัจจัย ๑๔ ตัว คือ ณิก ณ เณยฺย อิม อิย กิย ย ณฺย กณฺ ตา อายิตตฺต ล อาลุ มย แทน "สํสฏฺฐ ผสม, ตรติ ข้าม, จรติ เที่ยวไป, วหติ นำไป" เป็นต้น
เช่น ติเลน สํสฏฺฐํ เตลิกํ. (ณิก)
ข้าวผสมงา ชื่อว่า เตลิก
นาวาย ตรตีติ นาวิโก. (ณิก)
ผู้ข้ามด้วยเรือ ชื่อว่า นาวิก
ปาเทน จรตีติ ปาทิโก. (ณิก)
ผู้เที่ยวไปด้วยเท้า ชื่อว่า ปาทิก
อํเสน วหตีติ อํสิโก. (ณิก)
ผู้นำไปด้วยบ่า ชื่อว่า อํสิก
กสาเวน รตฺตํ กาสาวํ, กาสายํ. (ณ)
ผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด ชื่อว่า กาสาว, กาสาย
วเน ชาตํ วาเนยฺยํ. (เณยฺย)
ดอกไม้เกิดในป่า ชื่อว่า วาเนยฺย
ปจฺฉา ชาโต ปจฺฉิโม. (อิม)
ผู้เกิดภายหลัง ชื่อว่า ปจฺฉิม
มนุสฺสชาติยา ชาโต มนุสฺสชาติโย. (อิย)
ผู้เกิดด้วยชาติมนุษย์ ชื่อว่า มนุสฺสชาติย
ชาติยา นิยุตฺโต ชาติกิโย. (กิย)
ประกอบด้วยชาติ ชื่อว่า ชาติกิย
สภายํ สาธุ สพฺภํ. (ย)
ดีในสภา ชื่อว่า สพฺภ
สมณานํ หิตา สามญฺญา. (ณฺย)
ผู้เกื้อกูลสมณะ ชื่อว่า สามญฺญ
ราชปุตฺตานํ สมูโห ราชปุตฺตโก. (กณฺ)
หมู่แห่งราชบุตร ชื่อว่า ราชปุตฺตก
คามานํ สมูโห คามตา. (ตา)
หมู่แห่งชาวบ้าน ชื่อว่า คามตา
ธูโม วิย ทิสฺสตีติ ธูมายิตตฺตํ. (อายิตตฺต)
ปรากฏเหมือนควันไฟ ชื่อว่า ธูมายิตตฺต
ทุฏฺฐุ ฐานํ ทุฏฺฐุลฺลํ. (ล)
ที่ไม่ดี ชื่อว่า ทุฏฺฐุลฺล
อภิชฺฌา อสฺส ปกตีติ อภิชฺฌาลุ. (อาลุ)
ผู้มีอภิชฌาเป็นปกติ ชื่อว่า อภิชฺฌาลุ
สุวณฺเณน ปกตนฺติ สุวณฺณมโย. (มย)
ทำด้วยทอง ชื่อว่า สุวณฺณมย
๓. ภาวตัทธิต
ภาวตัทธิต ใช้ปัจจัย ๗ ตัว คือ ณฺย ตฺต ตา ตฺตน เณยฺย ณ กณฺ แทน "ภาว ความมี ความเป็น"
เช่น อโรคสฺส ภาโว อาโรคฺยํ. (ณฺย)
ความเป็นผู้ไม่มีโรค ชื่อว่า อาโรคฺย
ปํสุกูลิกสฺส ภาโว ปํสุกูลิกตฺตํ, ปํสุกูลิกตา. (ตตฺ, ตา)
เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ชื่อว่า ปํสุกูลิกตฺต, ปํสุกูลิกตา
ปุถุชฺชนสฺส ภาโว ปุถุชฺชนตฺตนํ. (ตฺตน)
ความเป็นปุถุชน ชื่อว่า ปุถุชฺชนตฺตน
อธิปติสฺส ภาโว อธิปเตยฺยํ. (เณยฺย)
ความเป็นใหญ่ ชื่อว่า อาธิปเตยฺย
วิสมสฺส ภาโว เวสมํ. (ณ)
ความเป็นที่ไม่สม่ำเสมอ ชื่อว่า เวสม
รมณียสฺส ภาโว รามณียกํ. (กณฺ)
ความเป็นที่น่ายินดี ชื่อว่า รามณียก
๔. วิเสสตัทธิต
วิเสสตัทธิต ใช้ปัจจัย ๕ ตัว คือ ตร ตม อิสิก อิย อิฏฺฐ แทน "วิเสส พิเศษ, มากกว่า"
เช่น สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปาโปติ ปาปตโร. (ตร)
คนเหล่านี้ทั้งหมดเป็นคนเลว, บุคคลนี้เป็นคนเลวมากกว่า
คนเหล่านี้ ชื่อว่า ปาปตร
ตโตปิ อธิโก ปาปตโม, ปาปิสิโก, ปาปิโย ปาปิฏฺโฐ.
(อิสิก, อิย, อิฏฺฐ)
คนบาปยิ่งกว่าคนนั้นอีก ชื่อว่า ปาปตม, ปาปิสิก, ปาปิย, ปาปิฏฺฐ
สพฺเพ อิเม วุฑฺฒา, อยมิเมสํ วิเสเสน วุฑฺโฒติ เชยฺโย, เชฏฺโฐ. (อิย, อิฏฺฐ)
คนเหล่านี้ทั้งหมดเป็นผู้เจริญ, คนนี้เป็นผู้เจริญพิเศษกว่า
คนเหล่านี้ ชื่อว่า เชยฺย, เชฏฺฐ
๕. อัสสัตถิตัทธิต
อัสสัตถิตัทธิต ใช้ปัจจัย ๑๒ ตัว คือ วี โส อิล ว อาล สี อิก อี ร วนฺตุ มนฺตุ ณ แทน "อสฺส อตฺถิ ของเขามีอยู่, ผู้มี"
เช่น เมธา อสฺส อตฺถีติ เมธาวี. (วี)
ผู้มีปัญญา ชื่อว่า เมธาวี
สุเมธา อสฺส อตฺถีติ สุเมธโส. (โส)
ผู้มีปัญญาดี ชื่อว่า สุเมธโส
ชฏา อสฺส อตฺถีติ ชฏิโล. (อิล)
ผู้มีชฎา ชื่่อว่า ชฎิล
เกสา อสฺส อตฺถีติ เกสโว. (ว)
ผู้มีผมดกดำ ชื่อว่า เกสว
วาจา อสฺส อตฺถีติ วาจาโล. (อาล)
ผู้มีวาจาไพเราะ ชื่อว่า วาจาล
ตโป อสฺส อตฺถีติ ตปสฺสี. (สี)
ผู้มีตบะ ชื่อว่า ตปสฺสี
ทณฺโฑ อสฺส อตฺถีติ ทณฺฑิโก, ทณฺฑี. (อิก,อี)
ผู้มีไม้เท้า ชื่อว่า ทณฺฑิก, ทณฺฑี
มธุ อสฺส อตฺถีติ มธุโร. (ร)
ผู้มีความหวาน ชื่อว่า มธุร
คุโร อสฺส อตฺถีติ คุณวา. (วนฺตุ)
ผู้มีคุณ ชื่อว่า คุณวนฺตุ
สติ อสฺส อตฺถีติ สติมา. (มนฺตุ)
ผู้มีสติ ชื่อว่า สติมนฺตุ
สทฺธา อสฺส อตฺถีติ สทฺโธ. (ณ)
ผู้มีศรัทธา ชื่อว่า สทฺธ
๖. สังขยาตัทธิต
สังขยาตัทธิต ใช้ปัจจัย ๖ ตัว คือ ติย ถ ม ฐ อี ก แทน "ปูรณ เต็ม, ที่" เป็นต้น
เช่น ทฺวินฺนํ ปูรโณ ทุติโย. (ติย)
เต็มแห่ง ๒ ชื่อว่า ทุติย (ที่ ๒)
ติณฺณํ ปูรโณ ตติโย. (ติย)
เต็มแห่ง ๓ ชื่อว่า ตติย (ที่ ๓)
จตุนฺนํ ปูรโณ จตุตฺโถ. (ถ)
เต็มแห่ง ๔ ชื่อว่า จตุตฺถ (ที่ ๔)
ปญฺจนฺนํ ปูรโณ ปญฺจโม. (ม)
เต็มแห่ง ๕ ชื่อว่า ปญฺจม (ที่ ๕)
ฉนฺนํ ปูรโณ ฉฏฺโฐ. (โฐ)
เต็มแห่ง ๖ ชื่อว่า ฉฏฺฐ (ที่ ๖)
เอกาทสนฺนํ ปูรณี เอกาทสี. (อี)
เต็มแห่ง ๑๑ ชื่อว่า เอกาทสี (ที่ ๑๑)
เทฺว ปริมาณานิ เอตสฺสาติ ทฺวิโก. (ก)
กองมีปริมาณ ๒ ชื่อว่า ทฺวิก (กอง ๒)
๗. อัพยยตัทธิต
อัพยยตัทธิต ใช้ปัจจัย ๕ ตัว คือ กฺขตฺตุํ ธา โส ถา ถํ แทน "วาร ครั้ง, วิภาค แบ่ง, ปการ ประการ"
เช่น เอกสฺมึ วาเร ภุญฺชตีติ เอกกฺขตฺตุํ. (กฺขตฺตุํ)
กินครั้งเดียว ชื่อว่า เอกกฺขตฺตุํ
ทฺวีหิ วิภาเคหิ ทฺวิธา. (ธา)
โดยแบ่ง ๒ ส่วน ชื่อว่า ทฺวิธา
อุปาเยน วิภาเคน อุปายโส. (โส)
โดยจำแนกด้วยอุบาย ชื่อว่า อุปายโส
โส ปกาโร ตถา. (ถา)
ประการนั้น ชื่อว่า ตถา
โก ปกาโร กถํ. (ถํ)
ประการไร ชื่อว่า กถํ
อาขยาต คือกิริยาศัพท์ที่กล่าวถึงกิริยาอาการ ทำ พูด คิด ยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม กิน เป็นต้น วิเคราะห์ "กิริยํ อาจิกฺขตีติ อาขฺยาตํ บทที่กล่าวกิริยา ชื่อว่าอาขยาต"
อาขยาต มีส่วนประกอบใหญ่ ๆ ๓ อย่าง คือ ธาตุ ปัจจัย และ วิภัตติ
ธาตุ
ธาตุ คือศัพท์ที่เป็นรากเหง้าของอาขยาต มีอยู่เป็นจำนวนมาก แบ่งออกเป็นหมวด ๆ ตามที่ประกอบปัจจัยเหมือนกัน มี ๘ หมวด คือ
๑. ภูวาทิคณธาตุ ลง อ ปัจจัย
ภู สตฺตายํ | ในความมี ความเป็น | เช่น | ภวติ | ย่อมมี ย่อมเป็น |
หู สตฺตายํ | ในความมี ความเป็น | เช่น | โหติ | ย่อมมี ย่อมเป็น |
สิ สเย | ในการนอน | เช่น | เสติ สยติ | ย่อมนอน |
มร มรเณ | ในความตาย | เช่น | มรติ | ย่อมตาย |
ปจ ปาเก | ในการหุง ต้ม แกง | เช่น | ปจติ | ย่อมหุง ย่อมต้ม |
ลภ ลาเภ | ในการได้ | เช่น | ลภติ | ย่อมได้ |
คมุ คติมฺหิ | ในการไป | เช่น | คจฺฉติ | ย่อมไป |
วจ วิยตฺติยํ วาจายํ | ในการพูดชัดเจน | เช่น | วจติ | ย่อมกล่าว |
วส นิวาเส | ในการอยู่ | เช่น | วสติ | ย่อมอยู่ |
๒. รุธาทิคณธาตุ ลงนิคหิตอาคมที่สระต้นธาตุ และ อ เอ ปัจจัย
รุธ อาวรเณ | ในการปิดกั้น | เช่น | รุนฺธติ รุนฺเธติ | ย่อมปิด-กั้น |
มุจ โมจเน | ในการปล่อย | เช่น | มุญฺจติ | ย่อมปล่อย |
ภุช พฺยวหรเณ | ในการกิน | เช่น | ภุญฺชติ | ย่อมกิน ย่อมบริโภค |
ภิทิ วิทารเณ | ในการผ่า ทำลาย | เช่น | ภินฺทติ | ย่อมผ่า ย่อมทำลาย |
ฉิทิ ทฺวิธากรเณ | ในการตัด | เช่น | ฉินฺทติ | ย่อมตัด |
ยุช โยเค | ในการประกอบ | เช่น | ยุญฺชติ | ย่อมประกอบ |
๓. ทิวาทิคณธาตุ ลง ย ปัจจัย
ทิวุ กีฬายํ | ในการเล่น | เช่น | ทิพฺพติ | ย่อมเล่น |
ปท คติมฺหิ | ในการไป | เช่น | อุปปชฺชติ | ย่อมเข้าไป |
พุธ อวคมเน | ในการตรัสรู้ | เช่น | พุชฺฌติ | ย่อมตรัสรู้ |
กุธ โกเป | ในความโกรธ | เช่น | กุชฺฌติ | ย่อมโกรธ |
มน ญาเณ | ในความรู้ | เช่น | มญฺญติ | ย่อมรู้ |
สมุ อุปสเม | ในความสงบ | เช่น | สมฺมติ | ย่อมสงบ |
ชน ชนเน | ในการเกิด | เช่น | ชายติ | ย่อมเกิด |
๔. สฺวาทิคณธาตุ ลง ณุ ณา อุณา ปัจจัย
สุ สวเน | ในการฟัง | เช่น | สุโณติ สุณาติ | ย่อมฟัง |
หิ คติมฺหิ | ในการไป | เช่น | ปหิณาติ | ย่อมส่งไป |
อป ปาปุณเน | ในการถึง บรรลุ | เช่น | ปาปุณาติ | ย่อมถึง บรรลุ |
สก สตฺติมฺหิ | ในความสามารถ | เช่น | สกฺกุณาติ | ย่อมสามารถ |
๕. กิยาทิคณธาตุ ลง นา ปัจจัย
กี ทพฺพวินิมเย | ในการซื้อ-ขาย | เช่น | กิณาติ | ย่อมซื้อ |
วิกฺกิณาติ | ย่อมขาย | |||
ชิ ชเย | ในการชนะ | เช่น | ชินาติ | ย่อมชนะ |
จิ จเย | ในการสะสม | เช่น | จินาติ | ย่อมสะสม |
ญา อวโพธเน | ในความรู้ | เช่น | ชานาติ | ย่อมรู้ |
ลู เฉทเน | ในการตัด | เช่น | ลุนาติ | ย่อมตัด |
๖. คหาทิคณธาตุ ลง ปฺป ณฺหา ปัจจัย
คห อุปาทาเน | ในการถือเอา | เช่น | เฆปฺปติ | ย่อมถือเอา |
คณฺหาติ | ย่อมถือเอา |
๗. ตนาทิคณธาตุ ลง โอ ยิร ปัจจัย
ตนุ วิตฺถาเร | ในความแผ่ไป | เช่น | ตโนติ | ย่อมแผ่ไป |
กร กรเณ | ในการกระทำ | เช่น | กโรติ กยิรติ | ย่อมกระทำ |
สก สตฺติมฺหิ | ในความสามารถ | เช่น | สกฺโกติ | ย่อมสามารถ |
อป ปาปุณเน | ในการถึง บรรลุ | เช่น | ปปฺโปติ | ย่อมถึง บรรลุ |
๘. จุราทิคณธาตุ ลง เณ ณย ปัจจัย
จุร เถยฺเย | ในการลัก ขโมย | เช่น | โจเรติ โจรยติ | ย่อมลัก ขโมย |
มนฺต คุตฺตภาสเน | ในการปรึกษา | เช่น | มนฺเตติ มนฺตยติ | ย่อมปรึกษา |
ปาล รกฺขเน | ในการดูแล รักษา | เช่น | ปาเลติ ปาลยติ | ย่อมดูแลรักษา |
ฆฏ ฆฏเน | ในการสืบต่อ | เช่น | ฆาเฏติ ฆาฏยติ | ย่อมสืบต่อ |
วิท ญาเณ | ในความรู้ | เช่น | เวเทติ เวทยติ | ย่อมรู้ |
คณ สงฺขฺยาเน | ในการนับ | เช่น | คเณติ คณยติ | ย่อมนับ |
ตกฺก จินฺตายํ | ในความคิด | เช่น | ตกฺเกติ ตกฺกยติ | ย่อมคิด ตรึก |
จินฺต จินฺตายํ | ในความคิด | เช่น | จินฺเตติ จินฺตยติ | ย่อมคิด |
สกัมมกธาตุและอกัมมกธาตุ
ธาตุทั้ง ๘ หมวดนี้ เมื่อย่อลงแล้ว ได้ ๒ ประเภท คือ
๑. สกัมมกธาตุ ธาตุที่มีกรรม (มองหากรรม คือ ทุติยาวิภัตติ)
เช่น ปุริโส กมฺมํ กโรติ บุรุษกำลังทำซึ่งงาน
โส คามํ คจฺฉติ เขาไปสู่บ้าน
๒. อกัมมกธาตุ ธาตุที่ไม่มีกรรม (ไม่มองหากรรม)
เช่น ภิกฺขุ สยเน เสติ ภิกษุนอนบนที่นอน
โส เคเห วสติ เขาอยู่ในบ้าน
จำไว้อย่างนี้ว่า ธาตุตัวใดแปลเข้ากับคำว่า "ซึ่ง สู่" ได้ดี ธาตุนั้นเป็นสกัมมกธาตุ, ธาตุตัวใดแปลเข้ากับคำว่า "ซึ่ง สู่" ไม่ได้ ธาตุนั้นเป็นอกัมมกธาตุ
ปัจจัย
ปัจจัย คือศัพท์สำหรับประกอบหลังธาตุ เป็นเครื่องหมายของวาจก แบ่งออกเป็น ๕ หมวด คือ
๑. ปัจจัย ๑๓ ตัว คือ อ เอ ย ณุ ณา อุณา นา ปฺป ณฺหา โอ ยิร เณ ณย (ปัจจัยประจำหมวดธาตุทั้ง ๘ หมวด) เป็นเครื่องหมายกัตตุวาจก
๒. ย ปัจจัยและ อิ อี อาคมหน้า ย (อิย, อีย) เป็นเครื่องหมายกัมมวาจก
๓. ย ปัจจัยและวิภัตติฝ่ายอัตตโนบท ปฐมบุรุษ เอกวจนะ (เต ตํ เอถ ตฺถ อา สฺสเต สฺสถ) เป็นเครื่องหมายภาววาจก
๔. ปัจจัย ๔ ตัว คือ เณ ณย ณาเป ณาปย เป็นเครื่องหมาย เหตุกัตตุวาจก
๕. ปัจจัย ๔ ตัวนั้น และ ย ปัจจัยกับ อิ อี อาคมหน้า ย (ณีย, ณยีย, ณาปีย, ณาปยีย) เป็นเครื่องหมายเหตุกัมมวาจก
ธาตุปัจจัย
ธาตุปัจจัย คือปัจจัยพิเศษใช้ประกอบกับธาตุเหมือนเป็นธาตุไปด้วย มี ๓ หมวด คือ
๑. ปัจจัย ๓ ตัว คือ ข ฉ ส ประกอบหลัง ติช คุป กิต มานธาตุ
เช่น ติติกฺขติ ย่อมอดทน
ชิคุจฺฉติ ย่อมตำหนิ
ติกิจฺฉติ ย่อมเยียวยา
วีมํสติ ย่อมทดลอง
๒. ปัจจัย ๓ ตัวนั้น ประกอบหลัง ภุช ฆส หร สุ ปาธาตุเป็นต้น ในอรรถปรารถนา
เช่น พภุกฺขติ ย่อมปรารถนาจะกิน (หิว)
ชิฆจฺฉติ ย่อมปรารถนาจะกิน (กระหาย)
ชิคีสติ ย่อมปรารถนาจะนำไป (อยากนำไป)
สุสฺสูสติ ย่อมปรารถนาจะฟัง (อยากฟัง)
ปิวาสติ ย่อมปรารถนาจะดื่ม (อยากดื่ม)
๓. ปัจจัย ๒ ตัว คือ อาย อิย ประกอบหลังธาตุ ในอรรถประพฤติเหมือน
เช่น จิรายติ ย่อมประพฤติเหมือนช้าอยู่
ปุตฺติยติ ย่อมประพฤติเพียงดังบุตร
วิภัตติ
วิภัตติ คือศัพท์สำหรับประกอบหลังธาตุต่อจากปัจจัย จำแนกอาขยาตให้มีรูปและความหมายต่างกันโดย กาล บท บุรุษ วจนะ อาขยาตวิภัตตินี้มี ๙๖ ตัว แบ่งเป็น ๘ หมวด ๆ ละ ๑๒ ตัว คือ
๑. วัตตมานา :- ติ อนฺติ สิ ถ มิ ม, เต อนฺเต เส วฺเห เอ มฺเห (อยู่, ย่อม, จะ, กำลัง)
๒. ปัญจมี :- ตุ อนฺตุ หิ ถ มิ ม, ตํ อนฺตํ สฺสุ วฺโห เอ อามเส (จง, กรุณา, โปรด, ช่วย)
๓. สัตตมี :- เอยฺย เอยฺยุํ เอยฺยาสิ เอยฺยาถ เอยฺยามิ เอยฺยาม, เอถ เอรํ เอโถ เอยฺยาวฺโห เอยฺยํ เอยฺยามฺเห (พึง, ควร)
๔. ปโรกขา :- อ อุ เอ ตฺถ อํ มฺห, ตฺถ เร ตฺโถ วฺโห อึ มฺเห (แล้ว)
๕. หียยัตตนี :- อา อู โอ ตฺถ อํ มฺหา, ตฺถ ตฺถุํ เส วฺหํ อึ มฺหเส (แล้ว, ได้...แล้ว)
๖. อัชชตนี :- อี อุํ โอ ตฺถ อึ มฺหา, อา อู เส วฺหํ อํ มฺเห (แล้ว, ได้...แล้ว)
๗. ภวิสสันตี :- สฺสติ สฺสนฺติ สฺสสิ สฺสถ สฺสามิ สฺสาม, สฺสเต สฺสนฺเต สฺสเส สฺสวฺเห สฺสํ สฺสามฺเห (จัก, จะ)
๘. กาลาติปัตติ :- สฺสา สฺสํสุ สฺเส สฺสถ สฺสํ สฺสามฺหา, สฺสถ สฺสิสุ สฺสเส สฺสวฺเห สฺสึ สฺสามฺหเส (จัก...แล้ว, จักได้...แล้ว)
จำแนกวิภัตติ ๘ หมวด โดยกาล ๓
กาล มี ๓ คือ อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต วิภัตติทั้ง ๘ หมวดนั้น แบ่งออกเป็นกาล ดังนี้
วัตตมานา เป็น ปัจจุบันกาล
ปัญจมี เป็น ปัจจุบันกาล
สัตตมี เป็น ปัจจุบันกาล
ปโรกขา เป็น อดีตกาล
หียยัตนี เป็น อดีตกาล
อัชชตนี เป็น อดีตกาล
ภวิสสันตี เป็น อนาคตกาล
กาลาติปัตติ เป็น อนาคตกาล
ปัจจุบันกาล ๓
๑. ปัจจุบันแท้ ใช้วัตตมานาวิภัตติ แปลว่า "อยู่, กำลัง", ปัญจมี แปลว่า "จง, เชิญ, กรุณา, โปรด", สัตตมี แปลว่า "พึง, ควร"
เช่น ภิกฺขุ ธมฺมํ เทเสติ
ภิกษุแสดงอยู่ซึ่งธรรม, ภิกษุกำลังแสดงธรรม
ตฺวํ ปุญฺญํ กโรหิ
ท่านจงทำซึ่งบุญ, เชิญท่านทำบุญ
ตฺวํ สมาธึ ภาเวยฺยาสิ
ท่านพึงเจริญสมาธิ, ท่านควรเจริญสมาธิ
๒. ปัจจุบันใกล้อดีต ใช้วัตตมานาวิภัตติ แปลว่า "ย่อม" (หรือไม่แปล)
เช่น กุโต นุ ตฺวํ อาคจฺฉสิ
ท่านย่อมมาจากที่ไหนหนอ
เทวมหานครโต อาคจฺฉามิ
มาจากกรุงเทพมหานคร
๓. ปัจจุบันใกล้อนาคต ใช้วัตตมานาวิภัตติ แปลว่า "จะ"
เช่น กุหึ คจฺฉสิ
ท่านจะไปที่ไหน
เชียงใหม่นครํ คจฺฉามิ
ผมจะไปเมืองเชียงใหม่
อดีตกาล ๓
๑. อดีตที่ล่วงไปแล้วไม่มีกำหนด ใช้ปโรกขาวิภัตติ แปลว่า "แล้ว"
เช่น โส กิร ราชา พภูว
ได้ยินว่า เขาเป็นพระราชาแล้ว
เตนาห ภควา
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสแล้ว
๒. อดีตที่ล่วงไปเมื่อวาน ใช้หียยัตตนีวิภัตติ แปลว่า "แล้ว", ถ้ามี อ อาคมนำหน้า แปลว่า "ได้...แล้ว"
เช่น โส โอทนํ ปจา
เขาหุงข้าวแล้ว
โส คามํ อคจฺฉา
เขาได้ไปบ้านแล้ว
๓. อดีตที่ล่วงไปในวันนี้ ใช้อัชชตนีวิภัตติ แปลว่า "แล้ว", ถ้ามี อ อาคมนำหน้า แปลว่า "ได้...แล้ว"
เช่น มยํ ทานาทีนิ ปุญฺญานิ กริมฺหา
พวกเราทำแล้วซึ่งบุญมีทานเป็นต้น
ภิกฺขุ ปิณฺฑาย คามํ ปาวิสิ
ภิกษุได้เข้าไปแล้วสู่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต
อนาคตกาล ๒
๑. อนาคตของปัจจุบัน ใช้ภวิสสันตีวิภัตติ แปลว่า "จัก, จะ"
เช่น มยํ ธมฺมํ สุณิสฺสาม
พวกเราจักฟังธรรม
กทา ปญฺจ สีลานิ สมาทิยิสฺสถ
เมื่อไรพวกท่านจักสมาทานศีล ๕
๒. อนาคตของอดีต ใช้กาลาติปัตติภัตติ แปลว่า "จัก...แล้ว", ถ้ามี อ อาคมนำหน้าแปลว่า "จักได้...แล้ว"
เช่น โส เจ ปฐมวเย ปพฺพชฺชํ อลภิสฺสา, อรหา ภวิสฺสา
หากว่าเขาจักได้บวชในปฐมวัยแล้วไซร้,
จักเป็นพระอรหันต์แล้ว
ตารางแสดง วิภัตติ กาล บท บุรุษ วจนะ โยคะ
วัตตมานา เป็นปัจจุบัน แปลว่า อยู่, ย่อม, จะ, กำลัง
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
||||
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐมบุรุษ
|
ติ
|
อนฺติ
|
เต
|
อนฺเต
|
นามโยคะ
|
มัชฌิมบุรุษ
|
สิ
|
ถ
|
เส
|
วฺเห
|
ตุมฺหโยคะ
|
อุตตมบุรุษ
|
มิ
|
ม
|
เอ
|
มฺเห
|
อมฺหโยคะ
|
ปรัสสบทนิยมใช้ในกัตตุรูป
อัตตโนบทนิยมใช้ในกัมมรูป
กิริยาที่เป็นปฐมบุรุษ ใช้ สุทธนาม เป็นประธาน
กิริยาที่เป็นมัชฺฌิมบุรุษ ใช้ ตุมฺห ศัพท์เป็นประธาน
กิริยาที่เป็นอุตตมบุรุษ ใช้ อมฺห ศัพท์เป็นประธาน
ส่วนวิภัตติที่เหลือ นักศึกษาสามารถจำแนกได้ด้วยวิธีเดียวกันนี้
กิริยาที่เป็นปฐมบุรุษ ใช้ สุทธนาม เป็นประธาน
กิริยาที่เป็นมัชฺฌิมบุรุษ ใช้ ตุมฺห ศัพท์เป็นประธาน
กิริยาที่เป็นอุตตมบุรุษ ใช้ อมฺห ศัพท์เป็นประธาน
ส่วนวิภัตติที่เหลือ นักศึกษาสามารถจำแนกได้ด้วยวิธีเดียวกันนี้
ตัวอย่าง สัททปทมาลา
วัตตมานาวิภัตติ
ภูธาตุ กัตตุ (ย่อมมี ย่อมเป็น)
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
||||
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐมบุรุษ
|
ภวติ
|
ภวนฺติ
|
ภวเต
|
ภวนฺเต
|
นามโยคะ
|
มัชฌิมบุรุษ
|
ภวสิ
|
ภวถ
|
ภวเส
|
ภววฺเห
|
ตุมฺหโยคะ
|
อุตตมบุรุษ
|
ภวามิ
|
ภวาม
|
ภเว
|
ภวามฺเห
|
อมฺหโยคะ
|
ภูธาตุ
เหตุกัตตุ (ให้มี
ให้เป็น เจริญ)
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
||||
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
ภาเวติ
|
ภาเวนฺติ
|
ภาวยติ
|
ภาวยนฺติ
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
ภาเวสิ
|
ภาเวถ
|
ภาวยสิ
|
ภาวยถ
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
ภาเวมิ
|
ภาเวม
|
ภาวยามิ
|
ภาวยาม
|
อมฺห.
|
ภูธาตุ
กัมมะ (เสวย)
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
||||
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
อนุภูยติ
|
อนุภูยนฺติ
|
อนุภูยเต
|
อนุภูยนฺเต
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
อนุภูยสิ
|
อนุภูยถ
|
อนุภูยเส
|
อนุภูยวฺเห
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
อนุภูยาม
|
อนุภูยาม
|
อนุภูเย
|
อนุภูยามฺเห
|
อมฺห.
|
ภูธาตุ
เหตุกัมมะ (ให้มี
ให้เป็น ให้เจริญ)
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
||||
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
ภาวียติ
|
ภาวียนฺติ
|
ภาวียเต
|
ภาวียนฺเต
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
ภาวียสิ
|
ภาวียถ
|
ภาวียเส
|
ภาวียวฺเห
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
ภาวียามิ
|
ภาวียาม
|
ภาวีเย
|
ภาวียามฺเห
|
อมฺห.
|
อุทาหรณ์
๑. โส ปณฺฑิโต ภวติ, เต ปณฺฑิตา ภวนฺติ.
๒. ตฺวํ ปณฺฑิโต ภวสิ, ตุมฺเห ปณฺฑิตา ภวถ.
๓. อหํ ปณฺฑิโต ภวามิ, มยํ ปณฺฑิตา ภวาม.
๔. โส สมาธึ ภาเวติ, เต สมาธึ ภาเวนฺติ.
๕. ตฺวํ สทฺธํ ภาเวสิ, ตุมฺเห ปญฺญ ภาเวถ.
๖. อหํ กุสลํ ภาเวมิ, มยํ เมตฺตํ ภาเวม.
๗. เตน เวทนา อนุภูยติ, เตน เวทนาโย อนุภูยนฺติ.
๘. ตยา ทุกฺขํ อนุภูยติ, ตุมฺเหหิ โสมนสฺสา อนุภูยนฺติ.
๙. มยา สุขํ อนุภูยติ, อมฺเหหิ โทมนสฺสเวทนาโย อนุภูยนฺติ
๑๐. ปุคฺคเลน ปุริสํ สมาธิ ภาวียติ,
ปุคฺคเลน ปุริสํ สมาธโย ภาวียนฺติ
๑๑. ตยา มํ สมาธิ ภาวียติ,
ตุมฺเหหิ อุปาสกํ สมาธโย ภาวียนฺติ
๑๒. มยา ตวํ สมาธิ ภาวียติ,
อมฺเหหิ มนุสฺเส สมาธโย ภาวียนฺติ.
ปัญจมีวิภัตติ
ปจธาตุ กัตตุ (จงหุง จงต้ม)
๑. โส ปณฺฑิโต ภวติ, เต ปณฺฑิตา ภวนฺติ.
๒. ตฺวํ ปณฺฑิโต ภวสิ, ตุมฺเห ปณฺฑิตา ภวถ.
๓. อหํ ปณฺฑิโต ภวามิ, มยํ ปณฺฑิตา ภวาม.
๔. โส สมาธึ ภาเวติ, เต สมาธึ ภาเวนฺติ.
๕. ตฺวํ สทฺธํ ภาเวสิ, ตุมฺเห ปญฺญ ภาเวถ.
๖. อหํ กุสลํ ภาเวมิ, มยํ เมตฺตํ ภาเวม.
๗. เตน เวทนา อนุภูยติ, เตน เวทนาโย อนุภูยนฺติ.
๘. ตยา ทุกฺขํ อนุภูยติ, ตุมฺเหหิ โสมนสฺสา อนุภูยนฺติ.
๙. มยา สุขํ อนุภูยติ, อมฺเหหิ โทมนสฺสเวทนาโย อนุภูยนฺติ
๑๐. ปุคฺคเลน ปุริสํ สมาธิ ภาวียติ,
ปุคฺคเลน ปุริสํ สมาธโย ภาวียนฺติ
๑๑. ตยา มํ สมาธิ ภาวียติ,
ตุมฺเหหิ อุปาสกํ สมาธโย ภาวียนฺติ
๑๒. มยา ตวํ สมาธิ ภาวียติ,
อมฺเหหิ มนุสฺเส สมาธโย ภาวียนฺติ.
ปัญจมีวิภัตติ
ปจธาตุ กัตตุ (จงหุง จงต้ม)
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
||||
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
ปจตุ
|
ปจนฺตุ
|
ปจตํ
|
ปจนฺตํ
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
ปจ
ปจาหิ
|
ปจถ
|
ปจสฺสุ
|
ปจวฺโห
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
ปจามิ
|
ปจาม
|
ปเจ
|
ปจามเส
|
อมฺห.
|
ปจธาตุ เหตุกัตตุ
(จงให้หุง จงให้ต้ม)
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
||||
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
ปาเจตุ
|
ปาเจนฺตุ
|
ปาจยตุ
|
ปาจยนฺตุ
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
ปาเจหิ
|
ปาเจถ
|
ปาจยาหิ
|
ปาจยถ
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
ปาเจมิ
|
ปาเจม
|
ปาจยามิ
|
ปาจยาม
|
อมฺห.
|
ปจธาตุ กัมมะ
(จงหุง จงต้ม)
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
||||
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
ปจฺจตุ
|
ปจฺจนฺตุ
|
ปจียตุ
|
ปจียนฺตุ
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
ปจฺจ
ปจฺจาหิ
|
ปจฺจถ
|
ปจีย
ปจียาห
|
ปจียถ
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
ปจฺจามิ
|
ปจฺจาม
|
ปจียามิ
|
ปจียาม
|
อมฺห.
|
ปจธาตุ เหตุกัมมะ
(จงให้หุง จงให้ต้ม)
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
||||
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
ปาจียตุ
|
ปาจียนฺตุ
|
ปาจียตํ
|
ปาจียนฺตํ
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
ปาจียาหิ
|
ปาจียถ
|
ปาจียสฺสุ
|
ปาจียวฺโห
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
ปาจียามิ
|
ปาจียาม
|
ปาจีเย
|
ปาจียามเส
|
อมฺห.
|
อุทาหรณ์
๑. สูโท โอทนํ ปจตุ, ปจตํ. สูทกา โอทนํ ปจนฺตุ, ปจนฺตํ.
๒. ตฺวํ โอทนํ ปจ, ปจาหิ, ปจสฺสุ. ตุมฺเห โอทนํ ปจถ, ปจวฺโห.
๓. อหํ โอทนํ ปจามิ, ปเจ. มยํ โอทนํ ปจาม, ปจามเส.
๔. อิมสฺมึ ทิเน เช ตฺวํ มุทุกํ โอทนํ ปจ.
๕. ตฺวํ เสฺว เตสํ ภตฺตํ ปจาหิ.
๖. สาธุ ภนฺเต อธิวาเสถ, ยาคุํ เต ปาจาเปมิ.
๗. มยํ โอทนญฺจ พฺยญฺชนญฺจ สูปญฺจ เอกโตว ปาจาปยาม.
๘. ทายกา อารามิกภิกฺขุสฺส อาคนฺตุกภิกฺขุสฺส จ ภิกฺขํ ปาจยนฺตุ.
๙. สูเทน โอทโน ปจียตุ, ยาคุ สูทิกาย ปจฺจตํ.
๑๐. สามิเกน สูทํ ปหูโต โอทโน ปาจาปียตุ.
๑๑. น ปจามิ น ปาเจมิ น ฉินฺทามิ น เฉทเย
ตํ มํ อกิญฺจนํ ญตฺวา สพฺพปาเปหิ อารตํ
(ขุ. ชา. ๒๗/๒๘๕/๓๒๔)
สัตตมีวิภัตติ
คมุธาตุ กัตตุ (พึงไป ควรไป)
ปรัสบท
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
คจฺเฉ
คจฺเฉยฺย
|
คจฺฉุํ
คจฺเฉยฺยุํ
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
คจฺเฉ
คจฺเฉยฺยาสิ
|
คจฺเฉยฺยาถ
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
คจฺเฉ
คจฺเฉยฺยามิ
|
คจฺเฉยฺยาม
|
อมฺห.
|
อัตตโนบท
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
คจฺเฉถ
|
คจฺเฉรํ
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
คจฺเฉโถ
|
คจฺเฉยฺยาวฺโห
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
คจฺเฉ
คจฺเฉยฺยํ
|
คจฺเฉยฺยามฺเห
|
อมฺห.
|
คมุธาตุ เหตุกัตตุ (พึงให้ไป ควรให้ไป)
ปรัสสบท
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
คจฺฉาเปยฺย
|
คจฺฉาเปยฺยุํ
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
คจฺฉาเปยฺยาสิ
|
คจฺฉาเปยฺยาถ
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
คจฺฉาเปยฺยามิ
|
คจฺฉาเปยฺยาม
|
อมฺห.
|
คมุธาตุ กัมมะ (พึงไป ควรไป)
ปรัสสบท
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
คจฺฉีเยถ
|
คจฺฉีเยรํ
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
คจฺฉีเยโถ
|
คจฺฉีเยยฺยาวฺโห
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
คจฺฉีเยยฺยํ
|
คจฺฉีเยยฺยามฺเห
|
อมฺห.
|
คมุธาตุ เหตุกัมมะ (พึงให้ไป ควรให้ไป)
ปรัสสบท
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
คจฺฉาปีเยยฺย
|
คจฺฉาปีเยยฺยุํ
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
คจฺฉาปีเยยฺยาสิ
|
คจฺฉาปีเยยฺยาถ
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
คจฺฉาปีเยยฺยามิ
|
คจฺฉาปีเยยฺยาม
|
อมฺห.
|
อุทาหรณ์
๑. โส คามํ คจฺเฉยฺเย, เต คามํ คจฺเฉยฺยุํ.
๒. ตฺวํ อตฺตโน คามํ คจฺเฉยฺยาสิ, ตุมฺเห ... คจฺเฉยฺยาถ.
๓. อหํ อรญฺญํ วา นทึ วา คจฺเฉยฺยามิ, มยํ ... คจฺเฉยฺยาม.
๔. น หิ เอเตหิ ยาเนหิ คจฺเฉยฺย อคตํ ทิสํ
ยถาตฺตนา สุทนฺเตน ทนฺโต ทนฺเตน คจฺฉติ.
(ขุ.ธ. ๒๕/๓๒๓/๗๒)
หิยยัตตนีวิภัตติ
วจธาตุ กัตตุ ปรัสสบท (กล่าวแล้ว, พูดแล้ว)
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
อวจา
|
อวจู
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
อวจ
อวโจ
|
อวจุตฺถ
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
อวจ
อวจํ
|
อวจมฺหา
|
อมฺห.
|
หิยยัตตนีวิภัตตินี้
มีใช้น้อย จึงแสดงไว้เท่านี้
ปโรกขาวิภัตติ
พรูธาตุ กัตตุ ปรัสสบท (กล่าวแล้ว, พูดแล้ว)
ปโรกขาวิภัตติ
พรูธาตุ กัตตุ ปรัสสบท (กล่าวแล้ว, พูดแล้ว)
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
อาห
|
อาหุ
อาหํสุ
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
อาเห
|
อาหิตฺถ
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
อาหํ
|
อาหิมฺห
|
อมฺห.
|
ปโรกขาวิภัตตินี้
มีใช้น้อย จึงแสดงไว้เท่านี้
อุทาหรณ์
เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต อาห
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ.
(ขุ.อป. ๓๒/๒๘๖/๓๖)
อัชชตนีวิภัตติ
กรธาตุ กัตตุ (ทำแล้ว ได้ทำแล้ว)
อุทาหรณ์
เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต อาห
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ.
(ขุ.อป. ๓๒/๒๘๖/๓๖)
อัชชตนีวิภัตติ
กรธาตุ กัตตุ (ทำแล้ว ได้ทำแล้ว)
ปรัสสบท
|
ปรัสสบท
|
||||
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
อกาสิ
|
อกาสุํ
|
อกริ
|
อกรึสุ
อกํสุ อกรุํ
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
อกาสิ
|
อกาสิตฺถ
|
อกริ
|
อกริตฺถ
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
อกาสึ
|
อกาสิมฺห
|
อกรึ
|
อกริมฺห
|
อมฺห.
|
กรธาตุ
กัมมะ (ทำแล้ว,
ได้ทำแล้ว)
ปรัสสบท
ปรัสสบท
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
อกรียิ
|
อกรียึสุ
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
อกรียิ
|
อกรียิตฺถ
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
อกรียึ
|
อกรียิมฺห
|
อมฺห.
|
อุทาหรณ์
๑. โส โรทิตฺวา ปริเทวิตฺวา ปิตุ สรีรกิจฺจํ อกาสิ.
๒. ปณฺฑิตา จิตฺตมตฺตโน อุชุกํ อกํสุ.
๓. อกาสึ สตฺถุ วจนํ ยถา มํ โอวที ชิโน.
(ขุ.เถร. ๒๖/๖๒๖/๓๕๙)
ภวิสสันตีวิภัตติ
สุธาตุ กัตตุ (จักฟัง)
๑. โส โรทิตฺวา ปริเทวิตฺวา ปิตุ สรีรกิจฺจํ อกาสิ.
๒. ปณฺฑิตา จิตฺตมตฺตโน อุชุกํ อกํสุ.
๓. อกาสึ สตฺถุ วจนํ ยถา มํ โอวที ชิโน.
(ขุ.เถร. ๒๖/๖๒๖/๓๕๙)
ภวิสสันตีวิภัตติ
สุธาตุ กัตตุ (จักฟัง)
ปรัสสบท
|
ปรัสสบท
|
||||
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
สุณิสฺสติ
|
สุณิสฺสนฺติ
|
สุณิสฺสเต
|
สุณิสฺสนฺเต
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
สุณิสฺสสิ
|
สุณิสฺสถ
|
สุณิสฺสเส
|
สุณิสฺสวฺเห
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
สุณิสฺสามิ
|
สุณิสฺสาม
|
สุณิสฺสํ
|
สุณิสฺสามฺเห
|
อมฺห.
|
กาลาติปัตติวิภัตติ
กรธาตุ กัตตุ (จักได้ทำแล้ว)
ปรัสสบท
|
ปรัสสบท
|
||||
บุรุษ
|
เอก.
|
พหุ.
|
เอก.
|
พหุ.
|
โยคะ
|
ปฐม.
|
อกริสฺส
|
อกริสฺสํสุ
|
อกริสฺสถ
|
อกริสฺสิสุ
|
นาม.
|
มัชฌิม.
|
อกริสฺเส
|
อกริสฺสถ
|
อกริสฺสเส
|
อกริสฺสวฺเห
|
ตุมฺห.
|
อุตตม.
|
อกริสฺสํ
|
อกริสฺสามฺห
|
อกริสฺสึ
|
อกริสฺสามฺหเส
|
อมฺห.
|
อุทาหรณ์
๑. สทฺทํ อนิทสฺสนํ สปฺปฏิฆํ สุณิ วา สุณาติ วา สุณิสฺสติ วา.
๒. โส เจ หิยฺโย กมฺมนฺตํ อกริสฺส, อชฺช กหาปณานิ อลภิสฺส.
๓. สเจ อิทานิ อเนสนํ กริสฺสํ, อายติมฺปิ ทุลฺลภสุโข ภวิสฺสามิ.
ธาตุคณะอื่น นักศึกษาสามารถจำแนกตามวิธีเช่นนี้ จะต่างกันบ้าง เพียงการลงปัจจัยประจำหมวดธาตุแต่ละหมวด และการเปลี่ยนแปลงรูปของธาตุตัวนั้น ๆ เท่านั้น
ตัวอย่างกิริยาอาขยาตที่มีใช้มาก
ภูวาทิคณะ
|
|||
ภวติ ภวนฺติ | ย่อมมี-เป็น | พฺรูหิ พฺรูถ | จงบอก-กล่าว |
โหติ โหนฺติ | ย่อมมี-เป็น | อิจฺเฉติ เอสติ | ย่อมปรารถนา |
ภวตุ ภวนฺตุ | จงมี-เป็น | สญฺญมติ | ย่อมสำรวม |
โหตุ โหนฺตุ | จงมี-เป็น | อจฺฉติ อุปาสติ | ย่อมเข้าอยู่ |
อโหสิ อเหสุํ | ได้มี-เป็นแล้ว | อนุโภติ | ย่อมเสวย |
ภเว ภเวยฺย | พึงมี-เป็น | ลภติ ลภนฺติ | ย่อมได้ |
สิยา สิยุํ | พึงมี-เป็น | อภลิ อลภึสุ | ย่อมได้ |
ลภิสฺสติ | จักได้ | วจติ วจนฺติ | ย่อมกล่าว |
วุจฺจติ วุจฺจเต | ย่อมถูกกล่าว | อโวจ | ได้กล่าวแล้ว |
วสติ วสนฺติ | ย่อมอยู่ | วจฺฉติ วจฺฉามิ | ย่อมอยู่ |
โรทติ โรทนฺติ | ย่อมร้องไห้ | คจฉติ คจฺฉนฺติ | ย่อมไป |
คจฺฉ คจฺฉาหิ | จงไป | วหติ วหนฺติ | ย่อมนำไป |
อคมาสิ | ได้ไปแล้ว | อชฺฌคา | บรรลุแล้ว |
ชีรติ ชีรนฺติ | ย่อมแก่ | อกฺโกสติ | ย่อมด่า |
อกฺโกจฺฉิ | ได้ด่าแล้ว | อกฺโกสิ | ได้ด่าแล้ว |
อธิวาเสตุ | จงรับ | มรติ มียฺยติ | ย่อมตาย |
เทเสตุ | จงแสดง | ปสฺสติ ปสฺสนฺติ | ย่อมดู-เห็น |
นิสีทติ | ย่อมนั่ง | ทกฺขติ ทกฺขนฺติ | ย่อมดู-เห็น |
นิสีทิ นิสีทึสุ | นั่งแล้ว | ยชติ ยชนฺติ | ย่อมบูชา |
วชฺเชติ วชฺชติ | ย่อมกล่าว | วเทติ วทติ | ย่อมกล่าว |
วเทมิ วทามิ | ย่อมกล่าว | จลติ จญฺจลติ | ย่อมหวั่นไหว |
ตุทติ ตุทนฺติ | ย่อมทิ่มแทง | ฌายติ ฌายนฺติ | ย่อมคิด-เพ่ง |
อุทฺทิสติ | ย่อมสวด | ปวิสติ ปวิสนฺติ | ย่อมเข้าไป |
ลิขติ ลิขนฺติ | ย่อมขีดเขียน | ผุสติ ผุสนฺติ | ย่อมสัมผัส |
เสติ เสนฺติ | ย่อมนอน | สยติ สยนฺติ | ย่อมนอน |
ปิวติ ปิวนฺติ | ย่อมดื่ม | ติฏฺฐติ ติฏฺฐนฺติ | ย่อมตั้งไว้ |
อตฺถิ สนฺติ | ย่อมมี | อตฺถุ สนฺตุ | จงมี |
อสฺส อสฺสุ | พึงมี-เป็น | หนฺติ หนติ | ย่อมเบียดเบียน |
อาห อาหุ | กล่าวแล้ว | หญฺญติ | ย่อมถูกฆ่า |
ชหาติ ชหนฺติ | ย่อมสละ | ททาติ ททนฺติ | ย่อมให้ |
เทติ เทนฺติ | ย่อมให้ | ทชฺชา ทชฺชํ | พึงให้ ควรให้ |
อทาสิ อทํสุ | ได้ให้แล้ว | นิเธติ นิเธนฺติ | ย่อมฝังไว้ |
รุธาทิคณะ
|
|||
รุนฺธติ รุนฺธนฺติ | ย่อมปิด-กั้น | ฉินฺทติ ฉินฺทนฺติ | ย่อมตัด |
ยุญฺชติ ยุญฺชนฺติ | ย่อมประกอบ | ภุญฺชติ ภุญฺชนฺติ | ย่อมกิน |
มุญฺจติ มุญฺจนฺติ | ย่อมปล่อย-พ้น | ||
ทิวาทิคณะ
|
|||
ทิพฺพติ ทิพฺพนฺติ | ย่อมรุ่งเรือง | สิพฺพติ สิพฺพนฺติ | ย่อมเย็บ |
อุปฺปชฺชติ | ย่อมอุบัติ-เกิด | พุชฺฌติ พุชฺฌนฺติ | ย่อมตรัสรู้ |
ยุชฺฌติ ยุชฺฌนฺติ | ย่อมต่อสู้ | กุชฺฌติ กุชฺฌนฺติ | ย่อมโกรธ |
สนฺนยฺหติ | ย่อมผูกรัด | มญฺยติ มญฺญนฺติ | ย่อมรู้ |
สมาทิยติ | ย่อมสมาทาน | สมฺมติ สมฺมนฺติ | ย่อมสงบ |
กุปฺปติ กุปฺปนฺติ | ย่อมโกรธ | ชายติ ชายนฺติ | ย่อมเกิด |
สฺวาทิคณะ
|
|||
สุณาติ สุโณติ | ย่อมฟัง | ปหิณาติ | ย่อมส่งไป |
อาวุณาติ | ย่อมสำรวม | มิโนติ มินนฺติ | ย่อมใส่ไว้ |
ปาปุณาติ | ย่อมบรรลุ | ||
กิยาทิคณะ
|
|||
วิกฺกิณาติ | ย่อมขาย | ชินาติ ชินนฺติ | ย่อมชนะ |
จินาติ จินนฺติ | ย่อมก่อ-สะสม | ชานาติ ชานนฺติ | ย่อมรู้ |
วิชานาติ | ย่อมรู้แจ้ง | วิชานิยา วิชญฺญา | พึงรู้แจ้ง |
สมชานิ สญฺชานิ | รู้ดีแล้ว | อญฺญาสิ | ได้รู้แล้ว |
มินาติ มินนฺติ | ย่อมนับถือ | ลุนาติ ลุนนฺติ | ย่อมตัด-เด็ด |
ธุนาติ ธุนนฺติ | ย่อมหวั่นไหว | คณฺหติ คณฺหาติ | ย่อมถือเอา |
คยฺหติ คยฺหนฺติ | ย่อมถูกถือเอา | คณฺหิ คณฺหึสุ | ถือเอาแล้ว |
อคฺคเหสิ | ได้ถือเอาแล้ว | อุคฺคณฺหาติ | ย่อมถือเอา |
ตนาทิคณะ
|
|||
ตโนติ ตโนนฺติ | ย่อมแผ่ไป | กโรติ กโรนฺติ | ย่อมทำ |
กุพฺพนฺติ | ย่อมทำ | กุรุเต | ย่อมทำ |
กเร กเรยฺย | พึงทำ ควรทำ | กยิรา กยิรุํ | พึงทำ ควรทำ |
อกาสิ อกาสุํ | ได้ทำแล้ว | อกริ อกรึสุ | ได้ทำแล้ว |
กรึสุ อกํสุ | ได้ทำแล้ว | กาหติ กาหนฺติ | จักทำ |
กริสฺสติ กริสฺสํ | จักทำ | อภิสงฺขโรติ | ย่อมปรุงแต่ง |
ปปฺโปติ ปปฺโปนฺติ | ย่อมบรรลุ | สกฺโกติ สกฺโกนฺติ | ย่อมสามารถ |
จุราทิคณะ
|
|||
โจเรติ โจเรนฺติ | ย่อมลัก-ขโมย | โจรยติ โจรยนฺติ | ย่อมลัก-ขโมย |
จินฺเตติ จินฺตยติ | ย่อมคิด | จินฺเตสิ จินฺตยิ | คิดแล้ว |
มนฺเตติ มนฺตยติ | ย่อมปรึกษา | ปาเลติ ปาลยติ | ย่อมรักษาไว้ |
ฆาเฏติ ฆาฏยติ | ย่อมสืบต่อ | เวเทติ เวทยติ | ย่อมรู้ |
คเณติ คณยติ | ย่อมนับ | ||
ธาตุปัจจยันตคณะ
|
|||
ติติกฺขติ | ย่อมอดกลั้น | ชิคุจฺฉติ | ย่อมคุ้นครอง |
ติกิจฺฉติ | ย่อมเยียวยา | วิจิกิจฺฉติ | ย่อมเยียวยา |
วีมํสติ | ย่อมทดลอง | พุภุกฺขติ | ย่อมหิว |
ชิฆจฺฉติ | ย่อมหิว | ชิคีสติ | ย่อมหิว |
สุสฺสูสติ | ย่อมฟัง | ปิวาสติ | ย่อมกระหาย |
วิชิคีสติ | ย่อมอยากชนะ | ||
นามปัจจยันตคณะ
|
|||
สมุทฺทายติ | ทำตัวดุจสมุทร | ปพฺพตายติ | ทำตัวเช่นภูเขา |
ธูมายติ | ทำเหมือนควัน | ฉตฺตียติ | ทำเหมือนร่ม |
ปุตฺตียติ | ทำเหมือนบุตร | ปตฺตียติ | ต้องการบาตร |
วตฺถียติ | ต้องการผ้า | ปริกฺขารียติ | ต้องการบริขาร |
จีวรียติ | ต้องการจีวร | ปฏียติ | ต้องการผ้า |
ธนียติ | ต้องการทรัพย์ | ปุตฺตียติ | ต้องการบุตร |
คำแปลภาษาไทยนั้น นักศึกษาสามารถใช้สำนวนการแปลได้หลายนัย ซึ่งจะได้ความหมายเดียวกันนี้ เวลาแปลพระไตรปิฎกจะได้ไม่ติดอยู่เพียงสำนวนเดียว
กิริยาบทอื่น ๆ นอกจากนี้ สามารถหาอุทาหรณ์ได้จากหนังสือว่าด้วยเรื่องธาตุและกิริยาทั่วไป เช่น คัมภีร์ธาตวัตถสังคหะ หนังสือรวมบทกิริยาอาขยาต และอาขยาตกัณฑ์ในไวยากรณ์อื่น ๆ เป็นต้น
โปรดจำไว้ว่า บทกิริยาอาขยาตในประโยคบาลี จะมี บุรุษ และ วจนะ ตรงกับบทประธานที่เป็น นามศัพท์ ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์เสมอ
บทที่ ๑๕
กิตก์ คือชื่อของศัพท์ที่ประกอบด้วยธาตุและปัจจัย วิเคราะห์ว่า "สิสฺสานํ กงฺขํ กิรติ อปเนตีติ กิตํ, กิตํเยว กิตโก บทที่นำเอาความสงสัยของศิษย์ออกไป ชื่อว่ากิตะ, กิตะนั่นแหละ ชื่อว่ากิตกะ" มี ๒ อย่าง คือ นามกิตก์ และกิริยากิตก์
นามกิตก์ คือ ธาตุ ปัจจัย และวิภัตติ ประกอบกันเข้าแล้วสำเร็จรูปเป็นสุทธนามก็มี เป็นคุณนามก็มี นามกิตก์นี้ท่านทำให้สำเร็จด้วยสาธณะ ๗ อย่าง คือ กัตตุสาธนะ กัมมสาธนะ ภาวสาธนะ กรณสาธนะ สัมปทานสาธนะ อปาทานสาธนะ และอธิกรณสาธนะ
สาธนะ ๗
๑. กัตตุสาธนะ รูปสำเร็จโดยเป็นผู้กระทำกิริยา แปลว่า "ผู้, อัน, ที่"
เช่น พุชฺฌตีติ พุทฺโธ ผู้ตรัสรู้ ชื่อว่า พุทฺธ (ผู้ตรัสรู้)
ททตีติ ทายโก ผู้ให้ ชื่อว่า ทายก (ผู้ให้)
๒. กัมมสาธนะ รูปสำเร็จโดยเป็นผู้ถูกกิริยากระทำ แปลว่า "ผู้ถูก, ผู้เป็นที่, ผู้อันเขา, ผู้ที่เขา, อันเขา"
เช่น มาตาปิตูหิ ธรียตีติ ธีตา
ธิดาที่มารดาบิดาคุ้มครอง ชื่อว่า ธีตุ (ผู้ถูกคุ้มครอง)
ปิยายติ ตนฺติ ปิโย
ผู้เป็นที่รัก ชื่อว่า ปิย (ผู้เป็นที่รัก)
๓. ภาวสาธนะ รูปสำเร็จโดยเป็นภาวะ แปลว่า "การ, ความ"
เช่น กรณํ กรณํ การกระทำ ชื่อว่า กรณ
คมนํ คมนํ การไป ชื่อว่า คมน
จินฺตนํ จินฺตนํ ความคิด ชื่อว่า จินฺตน
๔. กรณสาธนะ รูปสำเร็จโดยเป็นเครื่องช่วยในการทำกิริยา แปลว่า "เป็นเครื่อง, เป็นเหตุ"
เช่น วิเนติ เอเตนาติ วินโย
ธรรมเป็นเครื่องแนะนำ ชื่อว่า วินย
ปชฺชเต อเนนาติ ปาโท
เท้าเป็นเครื่องช่วยไป ชื่อว่า ปาท
๕. สัมปทานสาธนะ รูปสำเร็จโดยเป็นผู้รับ แปลว่า "ผู้ที่เขามอบให้, ผู้รับ"
เช่น สมฺปเทติ อสฺสาติ สมฺปทานํ
ผู้รับสิ่งที่เขามอบให้ ชื่อว่า สมฺปทาน (ผู้รับ)
ทาตพฺโพ อสฺสาติ ทานีโย
ผู้รับของที่เขาถวาย ชื่อว่า ทานีย (ผู้ควรรับ)
๖. อปาทานสาธนะ รูปสำเร็จโดยเป็นเขตแดนที่ออกไป แปลว่า "เป็นที่, เป็นเขต"
เช่น ปภวติ เอตสฺมาติ ปภโว
สถานที่เริ่มต้น ชื่อว่า ปภว (เป็นที่เริ่มต้น)
๗. อธิกรณสาธนะ รูปสำเร็จโดยเป็นสถานที่หรือเวลากระทำกิริยา แปลว่า "เป็นที่, เป็นที่อันเขา, เป็นเวลาที่เขา"
เช่น สยติ เอตฺถาติ สยนํ
นอนบนที่นั้น ฉะนั้น ที่นั้นชื่อว่า สยน (เป็นที่นอน)
สงฺคมฺม ภาสนฺติ เอตฺถาติ สภา
บัณฑิตไปพร้อมกันแล้วประชุมในที่นั้น ฉะนั้น ที่นั้นชื่อว่า สภา (เป็นที่อันเขาพร้อมกันประชุม)
ธาตุ
ธาตุในนามกิตก์นี้ คือธาตุทั้ง ๘ หมวด เหมือนธาตุในอาขยาต (กรุณาย้อมกลับไปดูในบทที่ ๑๔ หน้า ๑๒๙-๑๓๒)
ปัจจัย
นามกิตก์มีปัจจัย ๒๖ ตัว เป็นกิจจปัจจัย ๒ ตัว คือ ณฺย ริจฺจ, กิตกปัจจัย ๒๔ ตัว คือ ณ อ ณฺวุ ตุ อาวี รตฺถุ ริตุ ราตุ กฺวิ รมฺม ณี ยุ รู ณุก ร อิ ติ ริริย ต อิน ข ตุก อิก การ
เช่น
สิสฺโส | (สาส+ณฺย+สิ) | ศิษย์ |
กิจฺจํ | (กร+ริจฺจ+สิ) | กิจ |
มาลากาโร | (มาลา+กร+ณ+สิ) | นายมาลาการ |
ธมฺมธโร | (ธมฺม+ธร+อ+สิ) | ผู้ทรงธรรม |
การโก | (กร+ณฺวุ+สิ) | ผู้กระทำ, นายช่าง |
กตฺตา | (กร+ตุ+สิ) | ผู้กระทำ |
ภยทสฺสาวี | (ภย+ทิส+อาวี+สิ) | ผู้เห็นภัย |
สตฺถา | (สาส+รตฺถุ+สิ) | พระศาสดา |
ปิตา | (ปา+ริตุ+สิ) | บิดา |
มาตา | (มาน+ราตุ+สิ) | มารดา |
สยมฺภู | (สยํ+ภู+กฺวิ+สิ) | พระสยัมภู |
ธมฺโม | (ธร+รมฺม+สิ) | ธรรมะ |
พฺรหฺมจารี | (พฺรหฺม+จร+ณี+สิ) | ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ |
โฆสนา | (ฆุส+ยุ+อา+สิ) | การประกาศ |
ภวปารคู | (ภวปาร+คมุ+รู+สิ) | ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ |
ภีรุโก | (ภี+รฺอาคม+ณุก+สิ) | ผู้ขลาดกลัว |
สํโฆ | (สํ+หน+ร+สิ) | พระสงฆ์, ผู้พร้อมเพรียงกัน |
อุทธิ | (อุ+ธา+อิ+สิ) | มหาสมุทร |
สุติ | (สุ+ติ+สิ) | การฟัง, เสียง |
กิริยา | (กร+ริริย+อา+สิ) | กิริยา, อาการที่ควรทำ |
ชิโน | (ชิ+อิน+สิ) | ผู้ชนะ |
ทุกฺกรํ | (ทุ+กร+ข+สิ) | ที่ทำได้ยาก |
พุทฺโธ | (พุธ+ต+สิ) | ผู้ตรัสรู้ |
อาคนฺตุโก | (อา+คมุ+ตุก+สิ) | อาคันตุกะ, ผู้มาเยือน |
คมิโก | (คมุ+อิก+สิ) | ผู้ควรไป, คนเดินทาง |
อกาโร | (อ+การ+สิ) | ออักษร |
วิภัตติ
วิภัตติในนามกิตก์ คือวิภัตติ ๑๔ ตัว เหมือนกับวิภัตติในนาม
กิริยากิตก์ คือกิตก์ที่ใช้เป็นกิริยา ประกอบด้วยธาตุ ปัจจัย กาล วิภัตติ วจนะ และวาจก
ธาตุ
ธาตุในกิริยากิตก์นี้ คือธาตุทั้ง ๘ หมวด เหมือนธาตุในอาขยาตและนามกิตก์
ปัจจัย
ปัจจัยในกิริยากิตก์มี ๑๒ ตัว เป็นกิจจปัจจัย ๓ ตัว คือ ตพฺพ อนีย เตยฺย, เป็นกิตกปัจจัย ๙ คือ ต ตวนฺตุ ตาวี ตเว ตุน ตฺวาน ตฺวา มาน อนฺต
เช่น
ทาตพฺพํ | (ทา+ตพฺพ+สิ) | พึงให้, ควรให้ |
ทานียํ | (ทา+อนีย+สิ) | พึงให้, ควรให้ |
ญาเตยฺยํ | (ญา+เตยฺย+สิ) | พึงรู้, ควรรู้ |
คโต | (คมุ+ต+สิ) | ไปแล้ว |
หุตวา | (หุ+ตวนฺตุ+สิ) | บูชาแล้ว |
หุตาวี | (หุ+ตาวี+สิ) | บูชาแล้ว |
กาตเว | (กร+ตเว+สิ) | เพื่อทำ |
กาตุน | (กร+ตุน+สิ) | เพื่อทำ |
กตฺวาน | (กร+ตฺวาน+สิ) | ทำแล้ว |
กตฺวา | (กร+ตฺวา+สิ) | ทำแล้ว |
คจฺฉมาโน | (คมุ+มาน+สิ) | ไปอยู่ |
คจฺฉนฺโต | (คมุ+อนฺต+สิ) | ไปอยู่ |
กาล วจนะ และ วาจก เหมือนในอาขยาต
(กรุณาย้อนกลับไปดูในบทที่ ๑๔ หน้า ๑๓๖-๑๓๙)
ตัวอย่างกิตก์ที่มีใช้มาก
เตกาลิกะ กิจจคณะ
ภวิตพฺพํ | พึงมี-เป็น | ภวนียํ | พึงมี-เป็น |
อภิภวิตพฺโพ | พึงครอบงำ | อภิภวนีโย | พึงครอบงำ |
อาสิตพฺพํ | พึงเข้าไป | อาสนียํ | พึงเข้าไป |
สยิตพฺพํ | พึงนอน | สยนียํ | พึงนอน |
อติสยิตพฺโพ | ควรนอนให้มาก | อติสยนีโย | พึงนอนให้มาก |
ปฏิปชฺชิตพฺโพ | พึงปฏิบัติ | ปฏิปชฺชนีโย | พึงปฏิบัติ |
พุชฺฌิตพฺโพ | พึงตรัสรู้ | พุชฺฌนีโย | พึงตรัสรู้ |
โสตพฺโพ สุณิตพฺโพ | พึงฟัง | สวณีโย | พึงฟัง |
กตฺตพฺพํ กาตพฺพํ | พึงทำ | กรณีโย กรณียํ | พึงทำ |
ภริตพฺโพ | พึงเลี้ยง | ภรณีโย | พึงเลี้ยง |
คเหตพฺโพ | พึงถือเอา | คหณีโย | พึงถือเอา |
รมิตพฺโพ | น่ารื่นรมย์ | รมณีโย | น่ารื่นรมย์ |
ปตฺตพฺโพ | พึงบรรลุ | ปาปณีโย | พึงบรรลุ |
คนฺตพฺโพ | พึงไป | คมนียํ | ควรไป |
หนฺตพฺพํ | พึงเบียดเบียน | หนนียํ | พึงเบียดเบียน |
มนฺตพฺโพ | พึงรู้ | มญฺญนียํ | พึงรู้ |
ปูชยิตพฺโพ | พึงบูชา | ปูชนีโย | พึงบูชา |
หริตพฺพํ | พึงนำไป | หาริยํ | พึงนำไป |
ลภิตพฺพํ ลพฺภํ | พึงได้ | สาสิตพฺโพ | พึงพร่ำสอน |
วจนียํ วากฺยํ | พึงกล่าว | ภชนียํ ภาคฺยํ | พึงคบหา |
เนตพฺพํ เนยฺโย | พึงนำไป | ภวิตพฺโพ ภพฺโพ | พึงมี-เป็น |
วชฺชํ วทนียํ | พึงกล่าว | มชฺชํ มทนียํ | พึงมัวเมา |
คนฺตพฺพํ คมฺมํ | พึงไป | โยคฺคํ | พึงประกอบ |
คารยฺโห ครหณียํ | พึงตำหนิ | คชฺชํ คทนียํ | พึงกล่าว |
ปชฺชํ ปชฺชนียํ | พึงถึง | ขชฺชํ ขาทนียํ | ควรขบเคี้ยว |
ทมฺโม ทมนีโย | ควรฝึก | โภคฺคํ โภชฺชํ | ควรบริโภค |
คยฺหํ คเหตพฺพํ | ควรถือเอา | เทยฺยํ ทาตพฺพํ | ควรให้ |
เปยฺยํ ปานียํ | ควรดื่ม | เหยฺยํ หานียํ | ควรสละ |
เญยฺยํ ญาตพฺพํ | ควรรู้ | ชานิตพฺพํ วิชานนียํ | ควรทราบ |
สงฺเขฺยยฺยํ | ควรนับ | กตฺตพฺพํ กรณียํ | ควรทำ |
ภจฺโจ | ควรเลี้ยงดู | ทฏฺฐพฺพํ | ควรทราบ |
โภชฺชํ โภชนียํ | ควรกิน | ภุญฺชิตพฺพํ | ควรกิน |
อชฺเฌยฺยํ | ควรบรรลุ | ภาเวตพฺโพ | ควรให้เจริญ |
เตกาลิกะ กิตกคณะ
กุมฺภกาโร | ช่างหม้อ | มาลากาโร | ช่างดอกไม้ |
รถกาโร | ช่างรถ | สุวณฺณกาโร | ช่างทอง |
สุตฺตกาโร | ช่างทอหูก | ปตฺตคฺคาโห | ผู้ถือบาตร |
รสฺมิคฺคาโห | ผู้ถือเอาเชือก | รชฺชุคฺคาโห | ผู้ถือเอาเชือก |
ตุนฺนวาโย | ผู้ทอผ้า | ธญฺญมาโย | ผู้ตวงข้าว |
ทานทาโย | ผู้ให้ทาน | ธมฺมกาโม | ผู้ใคร่ธรรม |
อตฺถกาโม | ผู้ใคร่ประโยชน์ | ธมฺมปาโล | ผู้รักษาธรรม |
สุขกาโม | ผู้ใคร่ความสุข | อรินฺทโม | ผู้ข่มศัตรู |
เวสฺสนฺตโร | ผู้ข้ามทางค้าขาย | ตณฺหงฺกโร | ผู้สร้างตัณหา |
เมธงฺกโร | ผู้สร้างปัญญา | สรณงฺกโร | ผู้สร้างที่พึ่ง |
ทีปงฺกโร | ผู้สร้างที่พึ่ง | ปุรินฺทโท | ผู้เคยให้ทาน |
ธมฺมธโร | ผู้ทรงธรรม | วินยธโร | ผู้ทรงวินัย |
ทินกโร ทิวากโร ผู้ทำกลางวัน (ดวงอาทิตย์) | |||
สพฺพทโท | ผู้ให้ทุกสิ่ง | อนฺนโท | ผู้ให้ข้าว |
ธนโท | ผู้ให้ทรัพย์ | สจฺจสนฺโธ | ผู้ยึดมั่นคำสัจ |
โคตฺตํ | ผู้รักษาชื่อเสียง | นยนํ | เครื่องนำทาง |
วินโย | เครื่องแนะนำ | นิสฺสโย | ผู้อาศัย |
อนุสโย | ธรรมที่นอนเนื่อง | วินิจฺฉโย | การวินิจฉัย |
ปจฺจโย | ธรรมที่ให้ผลอาศัยเป็นไป (เหตุ, ปัจจัย) | ||
อุจฺจโย สญฺจโย | การสะสม | ธมฺมวิจโย | ผู้วิจัยธรรม |
ขโย | ความสิ้นไป | วิชโย ชโย | การชนะ |
กโย วิกฺกโย | การซื้อ-ขาย | อาลโย ลโย | ที่อาศัย อาลัย |
อาสโว | อาสวะ | รโว | เสียงร้อง |
ปภโว | ที่เกิด | นิคฺคโห | การข่ม |
ปคฺคโห | การยกย่อง | สงฺคโห | การรวบรวม |
สํวโร | การสำรวม | อาทโร | ความเอื้อเฟื้อ |
อาคโม | การมา อาคม | สปฺโป | งู |
เทโว | เทวดา, ฝน | วนจโร | นักท่องไพร, พราน |
กามาวจโร | กามาวจร | โคจโร | โคจร |
ปาทโป | ต้นไม้ | กจฺฉโป | เต่า |
สิโรรุโห | เส้นผม | คุหาสยํ | จิต |
โอสธํ | ยาสมุนไพร | เคหํ คหํ | เรือน |
โลกนายโก | ผู้แนะนำชาวโลก | วินายโก | ผู้แนะนำสัตว์ |
การโก | ผู้ทำ ช่าง | ทายโก | ผู้ให้ ทายก |
สาวโก | ผู้เชื่อฟัง สาวก | อุปาสโก | ผู้นั่งใกล้ |
ปาจโก | ผู้หุง พ่อครัว | ชนโก ชนิกา | ผู้ให้กำเนิด |
สมโก | ผู้สงบ | วธโก | นักฆ่า |
ฆาตโก | นักฆ่า | กายโก | นักขาย |
ชานนโก | ผู้รู้ | การาปโก | ผู้ใช้ให้ทำ |
ภตฺตา | ผู้เลี้ยงดู สามี | ทาตา | ผู้ให้ |
วตฺตา | ผู้กล่าว | พุชฺฌิตา | ผู้ตรัสรู้ |
ญาตา | ผู้รู้ | โสตา | ผู้ฟัง |
สริตา | ผู้ระลึกถึง | มนฺตา | ผู้รู้ |
ภยทสฺสาวี | ผู้เห็นภัย | สตฺถา | พระศาสดา |
ปิตา | ผู้รักษาบุตร | ธีตา | ผู้มารดาบิดาดูแล |
มาตา | ผู้ยกย่องเทิดทูนบุตรโดยธรรม | ||
ราโค | เครื่องกำหนัด | ปาโท | เครื่องช่วยไป เท้า |
โภโค | โภคทรัพย์ | ลาโภ | สิ่งที่ควรได้ |
โวหาโร | โวหาร | วิหาโร | ที่อยู่สงบ |
อาราโม | ที่น่ารื่นรมย์ | โสโก | ความเศร้าโศก |
จาโค | การสละ | ปริฬาโห | ความร้อนรุ่ม |
สงฺขาโร | สังขาร ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง | ||
ปริกฺขาโร | บริขาร | โลโภ | ความโลภ |
โทโส | ธรรมประทุษร้ายจิต | โมโห | ธรรมที่จิตหลง |
สมฺภู สยมฺภู | ผู้เป็นเอง | วิภู อภิภู | ผู้เป็นใหญ่ |
วิภา ปภา | แสงสว่าง | สภา | ที่ประชุม |
กุญฺชโร | ช้าง ผู้ชอบหุบเขา | กมฺมโช | เกิดจากกรรม |
จิตฺตชํ | เกิดจากจิต | อุตุชํ | เกิดจากอุตุ |
อาหารชํ | เกิดจากอาหาร | อตฺตโช | เกิดจากตน |
ทฺวิโช | เกิดสองครั้ง | อนุโช | เกิดภายหลัง |
อตีตคณะ
ภูโต | เป็นแล้ว ภูต | หุโต หุตวา | บูชาแล้ว |
วุตฺโถ | จำพรรษาแล้ว | อุสิโต วุสิโต | อยู่แล้ว |
ภุตฺโต | กินแล้ว | ยุตฺโต | ประกอบแล้ว |
วิวิตฺโต | สงัดแล้ว | มุตฺโต | พ้นแล้ว |
วิมุตฺติ | ความหลุดพ้น | กุทฺโธ | โกรธแล้ว |
อารทฺโธ | เริ่มขึ้นแล้ว | สิทฺโธ | สำเร็จแล้ว |
วุฑฺโฒ | เจริญแล้ว | พุทฺธิ | การตรัสรู้ |
สํปุณฺโณ | สมบูรณ์แล้ว | สนฺโต | สงบแล้ว |
คีติ | คำที่สวด | นจฺจํ นฏฺฏํ | การฟ้อนรำ |
หสิตํ | การยิ้มแย้ม | ภาสิโต | ภาสิตแล้ว |
เทสิโต | แสดงแล้ว | วุตฺตํ | กล่าวแล้ว |
ปูชิโต | บูชาแล้ว | มานิโต | นับถือแล้ว |
วนฺทิโต | ไหว้แล้ว | สกฺการิโต | สักการะแล้ว |
ตเวตุนาทิคณะ
กาตเว กาตุํ | เพื่อทำ | กาตุน กตฺวา กตฺวาน กริตฺวา | ทำแล้ว |
โสตเว โสตุํ | เพื่อฟัง | สุณิตฺวา สุตฺวา สุตฺวาน | ฟังแล้ว |
คนฺตุํ | เพื่อไป | คนฺตฺวา | ไปแล้ว |
ปสฺสิตุํ | เพื่อดู | ปสฺสิย ปสฺสิตฺวา ทิสฺวา | เห็นแล้ว |
สยิตุํ | เพื่อนอน | สยิตฺวา สยิตฺวาน | นอนแล้ว |
ภุญฺชิตุ | เพื่อกิน | ภุญฺชิตฺวา ภุญฺชิตฺวาน | กินแล้ว |
ทาตุํ | เพื่อให้ | ทตฺวา ทตฺวาน | ให้แล้ว |
อภิวนฺทิย | ไหว้แล้ว | อภิวนฺทิตฺวา | ไหว้แล้ว |
นิสฺสาย | อาศัยแล้ว | วิภชฺช วิภชิย | จำแนกแล้ว |
วัตตมานกาลิกคณะ
คจฺฉํ คจฺฉนฺโต คจฺฉมาโน | ไปอยู่ |
มหํ มหนฺโต มหมาโน | บูชาอยู่ |
จรํ จรมาโน | เที่ยวไปอยู่ |
ภวํ ภวนฺโต อภิภวมาโน | เจริญอยู่ |
ลภํ ลภมาโน ลพฺภมาโน | ได้อยู่ |
อิจฺฉํ อิจฺฉมาโน | ปรารถนาอยู่ |
ปสฺสํ ปสฺสมาโน | เห็นอยู่ ดูอยู่ |
ททํ ททมาโน | ให้อยู่ |
ภุญฺชํ ภุญฺชมาโน | บริโภคอยู่ |
กุพฺพํ กุพฺพนฺโต กโรนฺโต กุรุมาโน | กระทำอยู่ |
อุณาทิกคณะ
การุ | นายช่าง | วายุ | ลม |
สาทุ | ของหวาน | สาธุ | ยินดี ขอบคุณ |
พนฺธุ | เผ่าพันธุ์ | อายุ | อายุ |
ทารุ | ฟืน ท่อนไม้ | ราหุ | อสุรินทราหู |
กรุณา | ความสงสาร | วาโต | ลม |
ภูมิ | ภาคพื้น | เขโม | ความสิ้น-เสื่อม |
อตฺตา | ตัวตน ตน | สมโถ | ธรรมสงบกิเลส |
สปโถ | สบถ สาปแช่ง | อาวสโถ | ที่อยู่ |
ศัทพ์กิตก์นี้ สามารถนำไปจำแนกเนื้อความด้วยนามวิภัตติได้ เพราะจัดเป็นนามศัพท์ ยกเว้นตเวตุนาทิคณะที่จำแนกวิภัตติไม่ได้
นักศึกษาควรหาศัพท์อื่น ๆ ได้จากพจนานุกรมบาลีไทยทั่วไป
การแปลบาลีเป็นไทยนั้น ให้ถือหลักการแปลตามคำศัพท์ต่อไปนี้
๑. อาลปนะ เช่น ภิกฺขเว, ปุริส, ภนฺเต, อาวุโส, โภ, ภทฺเท, เช
๒. นิบาตต้นข้อความ เช่น จ, ปน, หิ ตุ, อถวา
๓. นิบาตบอกข่าวลือ เช่น กิร, ขลุ, สุทํ
๔. กาลสัตตมี เช่น อตีเต, อถ, เอกํ สมยํ, ปาโต, สายํ
๕. ประธานในประโยค (วิเสสยะ) เช่น พุทฺโธ, ปุริโส, อิตฺถี, จิตฺตํ
๖. บทขยายประธาน (วิเสสนะ) เช่น มหาการุณิโก, โส, สา, ตํ
๗. กิริยาในระหว่าง หรือประโยคแทรก เช่น กตฺวา, ตสฺมึ คจฺฉนฺเต
๘. บทขยายกิริยาในระหว่าง เช่น อตฺตโน กมฺมนฺตํ กตฺวา
๙. กิริยาคุมพากย์หรือกิริยาอาขยาต เช่น คจฺฉติ, ปจติ, ปสฺสติ
๑๐. บทขยายกิริยาคุมพากย์ เช่น ทุกฺกรํ, ทุกฺกฏํ, สุขํ, น, โน, มา
๑๑. นิบาตคำถาม เช่น กึ, นุ, กินฺนุ, วา
หลักการแปลทั้ง ๑๑ ข้อนี้ หากข้อใดไม่มีอยู่ในประโยคบาลีให้เว้นไป แล้วดูข้อต่อ ๆ ไป
ตัวอย่างประโยคบาลี
ให้นักศึกษาอ่านประโยคบาลีต่อไปนี้แล้ว ดูว่าศัพท์ไหนเป็นอาลปนะ นิบาต ประธาน หรือกิริยาเป็นต้นแล้ว ทดลองแปลโดยถือตามหลักการแปล ๑๑ ข้อข้างต้นนั้น (ดูคำแปลหน้าถัดไป)
๑. พุทฺโธ ธมฺมํ เทเสติ.
๒. ภิกฺขู ธมฺมํ สุณนฺติ.
๓. ตฺวํ ปาเทหิ สิปฺปาคารํ อาคจฺฉสิ.
๔. ตุมฺเห รเถน คามํ คจฺฉถ.
๕. อหํ ยาจกสฺส เอกกหาปณํ ททามิ.
๖. มยํ ภิกฺขุสํฆสฺส ทานํ เทม.
๗. มนุสฺสา ปาณาติปาตา วิรมนฺตุ.
๘. อุปาสกา คามา นิคฺคตา.
๙. มยํ อตฺตโน สนฺตกํ ปริจฺจชาม.
๑๐. อิโต อมฺหากํ คาโม อวิทูเร โหติ.
๑๑. โลเก มหาการุณิโก พุทฺโธ เทวมนุสฺสานํ หิตาย สุขาย อุปฺปชฺชติ.
๑๒. อตีเต กิร พหู มนุสฺสา ธมฺมสฺสวนาย วิหารํ อคจฺฉึสุ.
๑๓. เอกโกว ภนฺเต ตฺวํ ปิณฺฑาย อปฺปสทฺธิกานํ อมฺหากํ เคหํ ปวิสาหิ.
๑๔. เสฺว ภนฺเต นวหิ ภิกฺขูหิ สทฺธึ ภุญฺชนตฺถาย อมฺหากํ ฆรํ อาคเมถ.
๑๕. อเถกทิวสํ สตฺถา ปจฺจูสกาเล โลกํ โวโลเกนฺโต ตํ พฺราหฺมณํ ทิสฺวา "กินฺนุ โข"ติ อุปธาเรนฺโต "อรหา ภวิสฺสตี"ติ ญตฺวา สายญฺหสมเย วิหารจาริกํ จรนฺโต วิย พฺราหฺมณสฺส สนฺติกํ คนฺตฺวา "พฺราหฺมณ กึ กโรนฺโต วิจรสี"ติ อาห.
๑๖. โส พฺราหฺมโณ "ภิกฺขูนํ วตฺตปฺปฏิวตฺตํ กโรมิ ภนฺเต"ติ อาห. "ลภสิ เตสํ สนฺติกา สงฺคห"นฺติ. "อาม ภนฺเต, อาหารมตฺตํ ลภามิ, น ปน มํ ปพฺพาเชนฺตี"ติ.
๑๗. สตฺถา เอตสฺมึ นิทาเน ภิกฺขุสํฆํ สนฺนิปาตาเปตฺวา ตมตฺถํ ปุจฺฉิตฺวา "ภิกฺขเว อตฺถิ โกจิ อิมสฺส พฺราหฺมณสฺส อธิการํ สรนฺโต"ติ ปุจฺฉิ. สาริปุตฺตตฺเถโร "อหํ ภนฺเต สรามิ, อยํ เม ราชคเห ปิณฺฑาย จรนฺตสฺส อตฺตโน อภิหฏํ กฏจฺฉุภิกฺขํ ทาเปสิ, อิมสฺสาหํ อธิการํ สรามิ, สาธุ ภนเต, ปพฺพาเชสฺสามี"ติ อาห.
๑๘. นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ
นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช
ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย.
(ขุ.ธ. ๒๕/๗๖/๓๐)
คำแปล
๑. พระพุทธองค์ ทรงแสดง ซึ่งธรรม
๒. ภิกษุทั้งหลาย กำลังฟัง ซึ่งธรรม
๓. เธอ มา สู่โรงเรียน ด้วยเท้า (เธอเดินมาโรงเรียน)
๔. พวกเธอ ไป สู่บ้าน ด้วยรถ (พวกเธอนั่งรถกลับบ้าน)
๕. ข้าพเจ้า ให้ เงิน ๑ บาท แก่ขอทาน
๖. พวกข้าพเจ้า ถวาย ทาน แก่ภิกษุสงฆ์
๗. มนุษย์ทั้งหลาย จงพากันเว้น จากการเบียดเบียนสัตว์
๘. อุบาสกและอุบาสิกา ออกไปแล้ว จากบ้าน
๙. พวกข้าพเจ้า พากันบริจาค ซึ่งทรัพย์ ของตน
๑๐. หมู่บ้านของพวกข้าพเจ้า มีอยู่ ไม่ไกล จาก(โรงเรียน)นี้
๑๑. พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระมหากรุณา เสด็จอุบัติขึ้น ในโลก เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
๑๒. ได้ยินว่า ในอดีตกาล มนุษย์เป็นอันมาก ได้พากันไปแล้ว สู่วิหารเพื่อฟังธรรม
๑๓. ท่านครับ ท่านผู้เดียวเท่านั้น นิมนต์เข้าไป สู่เรือน ของพวกกระผม ผู้มีศรัทธาน้อย เพื่อรับบิณฑบาต
๑๔. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในวันพรุ่งนี้ นิมนต์ท่าน มาสู่บ้าน ของพวกข้าพเจ้า เพื่อฉันภัตตาหาร พร้อมด้วยภิกษุ ๙ รูป
๑๕. ครั้งนั้น วันหนึ่ง พระศาสดา ทรงตรวจดูสัตว์โลก ในเวลาใกล้รุ่ง ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์นั้นแล้ว ทรงใคร่ครวญอยู่ว่า "เหตุไรหนอ" ดังนี้แล้ว ทรงทราบว่า "ราธพราหมณ์จักเป็นพระอรหันต์" ในเวลาเย็น ทรงเป็นเหมือนเสด็จเที่ยวไปในวิหาร เสด็จไปสู่ที่อยู่ของพราหมณ์แล้วตรัสว่า "พราหมณ์ เธอเที่ยวทำอะไรอยู่"
๑๖. พราหมณ์นั้นกราบทูลว่า "ข้าพระพุทธองค์ทำวัตรและปฏิวัตรแก่ภิกษุทั้งหลายอยู่ พระพุทธเจ้าข้า" "เธอได้การสงเคราะห์จากสำนักของภิกษุเหล่านั้นหรือ" "ได้พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธองค์ได้แต่เพียงอาหาร แต่ท่านไม่ให้ข้าพระพุทธองค์บวช"
๑๗. พระศาสดารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเรื่องนั้นแล้ว ตรัสถามความนั้นแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย ใคร ๆ ระลึกถึงคุณของพราหมณ์นี้ได้ มีอยู่บ้างหรือ" พระสารีบุตรเถระกราบทูลว่า "พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธองค์ระลึกได้ เมื่อข้าพระพุทธองค์เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกรุงราชคฤหฺ พราหมณ์นี้ให้คน ถวายภิกษาทัพพีหนึ่งที่เขานำมาเพื่อตน ข้าพระพุทธองค์ระลึกถึงคุณของพราหมณ์นี้ได้ ดีแล้วพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธองค์จักให้บวช"
๑๘. บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญา ซึ่งเป็นผู้กล่าวชี้โทษ ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้ พึงคบผู้มีปัญญาซึ่งเป็นบัณฑิตเช่นนั้น เมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น มีแต่คุณอย่างประเสริฐ ไม่มีโทษอันเลวทรามเลย
คำทักทายด้วยภาษาบาลีง่าย ๆ
๑. สุปภาตํ ภนฺเต.
สุปภาตํ อาวุโส.
๒. กจฺจิ ขมนียํ ยาปนียํ ภนฺเต.
ขมนียํ อาวุโส, ตวํ ปน.
๓. กินฺนาโมสิ ตฺวํ. (กินฺนามาสิ ตฺวํ)
มุนี นาม ภนฺเต. (สิริมา นาม ภนฺเต)
๔. กุโต อาคจฺฉสิ ภนฺเต.
คามโต อาคจฺฉามิ, ตวํ ปน.
ลาดพร้าวนิคมโต อาคจฺฉามิ.
๕. กุหึ คจฺฉถ ตุมฺเห.
อาปเณ คจฺฉาม, ตุมฺเห ปน.
เชียงใหม่นครํ คจฺฉาม.
๖. กํ สิปฺปํ สิกฺขถ ตุมฺเห
ปาลิพฺยากรณํ สิกฺขาม, ตุมฺเห ปน.
ติปิฏกํ อุคฺคณฺหาม.
๑. คนกับโค
อสนํ เมถุนํ นิทฺทา โคเณ โปเสปิ วิชฺชติ
วิชฺชา วิเสโส โปสสฺส หีโน โคณสโม ภเว.
อาหารการหลับทั้ง เสพกาม
มีแก่ชายโคนาม นับผู้
ชายไววิทยางาม เห็นแปลก โคแฮ
แม้บ่มีศิลป์รู้ เสื่อมร้าย ราวโค
๒. โลภเรียน
โย สิสฺโส สิปฺปโลเภน พหุํ คณฺหาติ ตํ สิปฺปํ
มูโคว สุปินํ ปสฺสํ กเถตุมฺปิ น อุสฺสเห.
ศิษย์เสพศิลป์มากล้น เหลือจำ
ครรไลหลงงึมงำ อัดอั้น
บ่อาจต่อตอบคำ นานนิ่ง
ดูดุจใบ้ลิ้นสั้น ไป่แก้สุบิน
๓. ช้าเป็นประโยชน์
สิเน สิปฺปํ สิเน ธนํ สิเน ปพฺพตมารุหํ
สิเน กามสฺส โกธสฺส อิเม ปญฺจ สิเน สิเน.
เรียนศิลป์แสวงทรัพย์ด้อม เดินไศล
สามสิ่งอย่าเร็วไว ชอบช้า
เสพกามหนึ่งคือใจ มักโกรธ
สองประการนี้ถ้า ผ่อนน้อยเป็นคุณ
๔. เส้นทางบัณฑิต
สุจิปุภาวิลิมุตฺโต น หิ โส ปณฺฑิโต ภเว
สุจิปุภาวิลิคาโห ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ.
เว้นวิจารณ์ว่างเว้น สดับฟัง
เว้นที่ถามอันยัง ไป่รู้
เว้นเล่าลิขิตสัง เกตว่าง เว้นนา
เว้นดั่งกล่าวว่าผู้ ปราชญ์ได้ฤามี
สุ = สุตนํ สนใจฟัง จิ = จินฺตนํ คิดพิจารณา
ปุ = ปุจฺฉนํ ถามข้อสงสัย ภา = ภาสนํ ท่องบ่นสาธยาย
วิ = วิสชฺชนํ อธิบายความได้ ลิ = ลิขนํ บันทึกจดจำ
๕. ศิลป์กับทรัพย์
โปตฺถเกสุ จ ยํ สิปฺปํ ปรหตฺเถสุ ยํ ธนํ
ยทา กิจฺเจ สมุปฺปนฺเน น ตํ สิปฺปํ น ตํ ธนํ.
บ่จำความรู้ไว้ ใบลาน
ทรัพย์ฝากท่านสาธารณ์ ป่นปี้
คาบใดกิจบันดาล ดลเกิด บ้างแฮ
ทรัพย์แลความรู้นี้ ห่อนได้เป็นคุณ
๖. เกียจคร้านผลาญบุญ
อลสสฺส กุโต สิปฺปํ อสิปฺปสฺส กุโต ธนํ
อธนสฺส กุโต มิตฺตํ อมิตฺตสฺส กุโต สุขํ
อสุขสฺส กุโต ปุญฺญํ อปุญฺญสฺส กุโต วรํ.
มักคร้านฤารอบรู้ วิทยา
ศิลปศาสตร์เสื่อมสินหา ไป่ได้
ไร้ทรัพย์อับผู้มา เป็นเพื่อน
เว้นมิตรสุขบุญไซร้ เลิศล้ำแรมโรย
๗. มนต์กับมลทิน
อสชฺฌาย มลา มนฺตา อนุทฺธาน มลา ฆรา
มลํ วณฺณสฺส โกสชฺช ปมาโท รกฺขโต มลํ.
เจ็ดวันเว้นว่างซ้อม ดนตรี
ห้าวันอักขระหนี เนิ่นช้า
สามวันจากนารี เป็นอื่น
วันเดียวบ่ล้างหน้า อับเศร้าศรีหมอง
๘. ศิลป์จตุรภาค
อาจริยา ปาทมาทตฺเต ปาทํ สิสฺโส สชานนา
ปาทํ สพฺรหฺมจารีหิ ปาทํ กาลกฺกเมน จ.
ส่วนหนึ่งจากครูผู้ สอนสั่ง
ส่วนสองปัญญาหลั่ง รอบรู้
ส่วนสามจากเพื่อนนั่ง เคียงคู่ ตนแฮ
ส่วนสี่คืนวันสู้ ศาสตร์ได้สมถวิล
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen