บาฬีไวยากรณ์เบื้องต้น
(ชุดที่ ๑) สำหรับนักศึกษาใหม่และผู้สนใจทั่วไป
บรรยายโดย พระอาจารย์มหาสมปอง มุทิโต
คณะ ๒๕ วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์
กรุงเทพมหานคร
# ขอบคุณเว็บไซต์ที่มาข้อมูล # http://www.thepathofpurity.com/
# ขอบคุณเว็บไซต์ที่มาข้อมูล # http://www.thepathofpurity.com/
บทนำ
ปาลิภาษา
ภาษาบาลี
ปาลิ แปลว่า รักษาไว้,
ภาสา แปลว่า ภาษาหรือถ้อยคำสำเนียง (ศัพท์และเสียง)
เมื่อรวม ๒
บทเข้าด้วยกันเป็น ปาลิภาสา จึงแปลว่า ภาษาที่รักษาไว้
รักษาอะไรไว้?
รักษาพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกไว้ ไม่ให้เสื่อมสลายไปดังมีวิเคราะห์ศัพท์ว่า
ติปิฏกํ พุทฺธวจนํ ปาเลตีติ ปาลิ (ปาฬิ).
ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก ชื่อว่า ปาลิ
การศึกษาภาษาบาลี หมายถึงการศึกษาภาษาในพระไตรปิฎกอันเป็นคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งคำสั่งสอนเหล่านั้น บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยอัตถะและพยัญชนะ
อัตถะ คือ เนื้อความ มี ๓ อย่าง
๑. โลกียัตถะ
เนื้อความที่เป็นโลกียธรรม
ได้แก่ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘
๒. โลกุตตรัตถะ เนื้อความที่เป็นโลกุตตรธรรม
ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน
๓. โวหารรัตถะ เนื้อความที่เป็นโวหารบัญญัติ
ได้แก่ มนุษย์ ภูเขา แม่น้ำ วัตถุ เป็นต้น
ผู้จะเข้าใจในอัตถะทั้ง ๓ นี้ได้อย่างถูกต้อง เพราะได้ศึกษาหลักพยัญชนะคืออักษรจนเข้าใจดีแล้ว หากไม่เข้าใจหลักพยัญชนะ จะเป็นเหตุให้เข้าใจอัตถะทั้ง ๓ นั้นผิดพลาด พระพุทธองค์จึงตรัสว่า
"เทฺวเม ภิกฺขเว ธมฺมา สทฺธมฺมสฺส สมฺโมสาย อนฺตรธานาย สํวตฺตนฺติ. กตเม เทฺว. ทุนฺนิกฺขิตฺตญฺจ ปทพฺยญฺชนํ อตฺโถ จ ทุนฺนีโต, ทุนฺนิกฺขิตฺตสฺส ภิกฺขเว ปทพฺยญฺชนสฺส อตฺโถปิ ทุนฺนโย โหติ.
เทฺวเม ภิกฺขเว ธมฺมา สทฺธมฺมสฺส ฐิติยา อสมฺโมสาย อนนฺตรธานาย สํวตฺตนฺติ. กตเม เทฺว. สุนิกฺขิตฺตญฺจ ปทพฺยญฺชนํ อตฺโถ จ สุนีโต, สุนิกฺขิตฺตสฺส ภิกฺขเว ปทพฺยญฺชนสฺส อตฺโถปิ สุนโย โหติ." (องฺ.ทุก. ๒๐/๒๐-๒๑/๕๘ มจร)
"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสลาย เพื่อความอันตรธานไปแห่งพระสัทธรรม ธรรม ๒ อย่างอะไรบ้าง คือ บทพยัญชนะที่นำมาไม่ถูกต้อง และเนื้อความที่เข้าใจไม่ถูกต้อง เมื่อบทพยัญชนะนำมาไม่ถูกต้อง แม้เนื้อความก็ย่อมเข้าใจไม่ถูกต้องเช่นกัน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่เสื่อมสลาย ไม่อันตรธานไปแห่งพระสัทธรรม ธรรม ๒ อย่างอะไรบ้าง คือ บทพยัญชนะที่นำมาถูกต้อง และเนื้อความที่เข้าใจถูกต้อง เมื่อบทพยัญชนะนำมาถูกต้อง แม้เนื้อความก็ย่อมเข้าใจถูกต้องเช่นกัน"
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงควรอย่างยิ่งที่ผู้ปรารถนารู้และเข้าใจเนื้อความอย่างถูกต้องครบถ้วนทั้ง อัตถะและพยัญชนะ ควรศึกษาให้เข้าใจในวิธีของพยัญชนะคือหลักของภาษาก่อน ในที่นี้หมายถึง อักขรวิธี คือ วิธีการจำแนก การอ่าน และการเขียน ซึ่งอักษรภาษาบาลีถูกต้อง นั่นเอง เมื่อเข้าใจหลักภาษาดีแล้ว ย่อมเข้าใจเนื้อความได้ดี และเมื่อมีความเข้าใจเนื้อความถูกต้องดี ย่อมสามารถปฏิบัติตามได้ถูกต้องจนถึงความสิ้นทุกข์ได้ หากแม้หลักภาษาบาลียังไม่เข้าใจ จักทำให้สงสัยในเนื้อความและข้อปฏิบัตินั้น ๆ ยิ่งผู้ปรารถนาจะศึกษาค้นคว้าพระบาลีคือพระไตรปิฎกอันเป็นหลักคำสั่งสอน ยิ่งมีความสงสัยแทบทุกบทไป ดังนั้น ท่านพระโมคคัลลานมหาเถระผู้ปรีชาชาญในหลักภาษาบาลี จึงได้กล่าวไว้เป็นคาถาว่า
โย นิรุตฺตึ น สิกฺเขยฺย สิกฺขนฺโต ปิฏกตฺตยํ
ปเท ปเท วิกงฺเขยฺย วเน อนฺธคโช ยถา.
(โมคฺคลฺลานปญฺจิกา)
บุคคลใดไม่ได้ศึกษาคัมภีร์นิรุตติอันเป็นหลักภาษาก่อน
บุคคลนั้น เมื่อศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก ย่อมสงสัย
ทุก ๆ บท ดุจช้างไตรตาบอดเที่ยวไปในป่า ฉันนั้น
นิรุตติบ่ขีดเขียน หวังเพียรเรียนพระไตร
ทุกทุกบทย่อมสงสัย ดุจช้างไพรไร้ดวงตา
ได้แก่ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘
๒. โลกุตตรัตถะ เนื้อความที่เป็นโลกุตตรธรรม
ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน
๓. โวหารรัตถะ เนื้อความที่เป็นโวหารบัญญัติ
ได้แก่ มนุษย์ ภูเขา แม่น้ำ วัตถุ เป็นต้น
ผู้จะเข้าใจในอัตถะทั้ง ๓ นี้ได้อย่างถูกต้อง เพราะได้ศึกษาหลักพยัญชนะคืออักษรจนเข้าใจดีแล้ว หากไม่เข้าใจหลักพยัญชนะ จะเป็นเหตุให้เข้าใจอัตถะทั้ง ๓ นั้นผิดพลาด พระพุทธองค์จึงตรัสว่า
"เทฺวเม ภิกฺขเว ธมฺมา สทฺธมฺมสฺส สมฺโมสาย อนฺตรธานาย สํวตฺตนฺติ. กตเม เทฺว. ทุนฺนิกฺขิตฺตญฺจ ปทพฺยญฺชนํ อตฺโถ จ ทุนฺนีโต, ทุนฺนิกฺขิตฺตสฺส ภิกฺขเว ปทพฺยญฺชนสฺส อตฺโถปิ ทุนฺนโย โหติ.
เทฺวเม ภิกฺขเว ธมฺมา สทฺธมฺมสฺส ฐิติยา อสมฺโมสาย อนนฺตรธานาย สํวตฺตนฺติ. กตเม เทฺว. สุนิกฺขิตฺตญฺจ ปทพฺยญฺชนํ อตฺโถ จ สุนีโต, สุนิกฺขิตฺตสฺส ภิกฺขเว ปทพฺยญฺชนสฺส อตฺโถปิ สุนโย โหติ." (องฺ.ทุก. ๒๐/๒๐-๒๑/๕๘ มจร)
"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสลาย เพื่อความอันตรธานไปแห่งพระสัทธรรม ธรรม ๒ อย่างอะไรบ้าง คือ บทพยัญชนะที่นำมาไม่ถูกต้อง และเนื้อความที่เข้าใจไม่ถูกต้อง เมื่อบทพยัญชนะนำมาไม่ถูกต้อง แม้เนื้อความก็ย่อมเข้าใจไม่ถูกต้องเช่นกัน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่เสื่อมสลาย ไม่อันตรธานไปแห่งพระสัทธรรม ธรรม ๒ อย่างอะไรบ้าง คือ บทพยัญชนะที่นำมาถูกต้อง และเนื้อความที่เข้าใจถูกต้อง เมื่อบทพยัญชนะนำมาถูกต้อง แม้เนื้อความก็ย่อมเข้าใจถูกต้องเช่นกัน"
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงควรอย่างยิ่งที่ผู้ปรารถนารู้และเข้าใจเนื้อความอย่างถูกต้องครบถ้วนทั้ง อัตถะและพยัญชนะ ควรศึกษาให้เข้าใจในวิธีของพยัญชนะคือหลักของภาษาก่อน ในที่นี้หมายถึง อักขรวิธี คือ วิธีการจำแนก การอ่าน และการเขียน ซึ่งอักษรภาษาบาลีถูกต้อง นั่นเอง เมื่อเข้าใจหลักภาษาดีแล้ว ย่อมเข้าใจเนื้อความได้ดี และเมื่อมีความเข้าใจเนื้อความถูกต้องดี ย่อมสามารถปฏิบัติตามได้ถูกต้องจนถึงความสิ้นทุกข์ได้ หากแม้หลักภาษาบาลียังไม่เข้าใจ จักทำให้สงสัยในเนื้อความและข้อปฏิบัตินั้น ๆ ยิ่งผู้ปรารถนาจะศึกษาค้นคว้าพระบาลีคือพระไตรปิฎกอันเป็นหลักคำสั่งสอน ยิ่งมีความสงสัยแทบทุกบทไป ดังนั้น ท่านพระโมคคัลลานมหาเถระผู้ปรีชาชาญในหลักภาษาบาลี จึงได้กล่าวไว้เป็นคาถาว่า
โย นิรุตฺตึ น สิกฺเขยฺย สิกฺขนฺโต ปิฏกตฺตยํ
ปเท ปเท วิกงฺเขยฺย วเน อนฺธคโช ยถา.
(โมคฺคลฺลานปญฺจิกา)
บุคคลใดไม่ได้ศึกษาคัมภีร์นิรุตติอันเป็นหลักภาษาก่อน
บุคคลนั้น เมื่อศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก ย่อมสงสัย
ทุก ๆ บท ดุจช้างไตรตาบอดเที่ยวไปในป่า ฉันนั้น
นิรุตติบ่ขีดเขียน หวังเพียรเรียนพระไตร
ทุกทุกบทย่อมสงสัย ดุจช้างไพรไร้ดวงตา
อักษรลักษณ์
ตารางจำแนกอักษรบาลี
๔๑ ตัว
โดยสระ พยัญชนะ ฐาน กรณ์ ปยตนะ โฆสะ อโฆสะ สิถิละ ธนิตะ วิมุตตะ
โดยสระ พยัญชนะ ฐาน กรณ์ ปยตนะ โฆสะ อโฆสะ สิถิละ ธนิตะ วิมุตตะ
บทที่ ๑
อักขรวิธี วิธีการเรียกชื่ออักษร
อักขระ คืออักษรภาษาบาลี ๔๑ ตัว ท่านเรียกว่า "อักขระ" เพราะไม่หมดสิ้นไป ดังมีวิเคราะห์ศัพท์ว่า
น ขรนฺตีติ อกฺขรา.
วัณณะที่ไม่หมดสิ้นไป ชื่อว่า อักขระ
ขรนฺติ วินสฺสนฺตีติ ขรา, น ขรา อกฺขรา.
วัณณะที่หมดสิ้นไป ชื่อว่า ขระ วัณณะที่ไม่หมดสิ้นไป ชื่อว่าอักขระ
อักษรภาษาบาลี แบ่งเป็น
สระ คืออักษรที่ออกเสียงเองได้และช่วยให้พยัญชนะออกเสียงได้ มี ๘ ตัว คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอพยัญชนะ คืออักษรที่ทำให้เนื้อความปรากฏ มี ๓๓ ตัว คือ
ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ ญ, ฏ ฐ ฑ ฒ ณ, ต ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม, ย ร ล ว ส ห ฬ อํ
สระ ๘ ตัว แบ่งเป็น
รัสสระ ออกเสียงสั้น ๓ ตัว คือ อ อิ อุทีฆสระ ออกเสียงยาว ๕ ตัว คือ อา อี อู เอ โอ
พยัญชนะ ๓๓ ตัว แบ่งเป็น
พยัญชนะวรรค จัดเข้าไว้ในพวกเดียวกันได้
มี ๒๕ ตัว แบ่งเป็น ๕ วรรค
วรรคละ ๕ ตัว ดังนี้
ก ข ค ฆ ง เรียกว่า กวรรค เพราะมี ก อักษรเป็นตัวแรก
จ ฉ ช ฌ ญ เรียกว่า จวรรค เพราะมี จ อักษรเป็นตัวแรก
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เรียกว่า ฏวรรค เพราะมี ฏ อักษรเป็นตัวแรก
ต ถ ท ธ น เรียกว่า ตวรรค เพราะมี ต อักษรเป็นตัวแรก
ป ผ พ ภ ม เรียกว่า ปวรรค เพราะมี ป อักษรเป็นตัวแรก
การจัดพยัญชนะไว้เป็นวรรคละ ๕ ตัวเช่นนี้ เพราะอักษรทุกตัวในวรรคนั้น ๆ มีการออกเสียงโดยอาศัยฐาน กรณ์ ปยตนะ อย่างเดียวกัน ซึ่งจะกล่าวต่อไปในบทที่ ๒
พยัญชนะอวรรค มี ๘ ตัว คือ ย ร ล ว ส ห ฬ อํ (นิคหิต) จัดเข้าไว้ในพวกเดียวกันไม่ได้ เพราะมีการออกเสียงโดยอาศัยฐานและกรณ์ต่างกัน
ก ข ค ฆ ง เรียกว่า กวรรค เพราะมี ก อักษรเป็นตัวแรก
จ ฉ ช ฌ ญ เรียกว่า จวรรค เพราะมี จ อักษรเป็นตัวแรก
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เรียกว่า ฏวรรค เพราะมี ฏ อักษรเป็นตัวแรก
ต ถ ท ธ น เรียกว่า ตวรรค เพราะมี ต อักษรเป็นตัวแรก
ป ผ พ ภ ม เรียกว่า ปวรรค เพราะมี ป อักษรเป็นตัวแรก
การจัดพยัญชนะไว้เป็นวรรคละ ๕ ตัวเช่นนี้ เพราะอักษรทุกตัวในวรรคนั้น ๆ มีการออกเสียงโดยอาศัยฐาน กรณ์ ปยตนะ อย่างเดียวกัน ซึ่งจะกล่าวต่อไปในบทที่ ๒
พยัญชนะอวรรค มี ๘ ตัว คือ ย ร ล ว ส ห ฬ อํ (นิคหิต) จัดเข้าไว้ในพวกเดียวกันไม่ได้ เพราะมีการออกเสียงโดยอาศัยฐานและกรณ์ต่างกัน
บทที่ ๒
ฐาน กรณ์ ปยตนะ
อักษรภาษาบาลีทั้ง ๔๑ ตัวเหล่านั้น จะเปล่งออกเสียงได้ ต้องอาศัย ฐาน กรณ์ และปยตนะ ดุจเสียงระฆัง จะดังขึ้นได้ต้องอาศัยฐานคือตัวระฆัง กรณ์คือลูกตุ้มสำหรับตี และปยตนะคือความพยายามของผู้ตีฐาน
ฐาน คือที่ตั้งของเสียงอักษร วิเคราะห์ว่า "ติฏฺฐนฺติ เอตฺถาติ ฐานํ กณฺฐาทิ ที่ตั้งของเสียงอักษร ชื่อว่าฐาน ได้แก่ กัณฐะ เป็นต้น" มี ๖ อย่าง คือ๑. กัณฐฐาน หลอดลำคอ เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
๒. ตาลุฐาน เพดานปาก เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
๓. มุทธฐาน ปุ่มเหงือกบน เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
๔. ทันตฐาน ฟัน เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
๕. โอฏฐฐาน ริมฝีปาก เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
๖. นาสิกาฐาน โพรงจมูก เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
จำแนกอักษร ๔๑ ตัว โดยฐาน ๖
อ อา
ก ข ค ฆ ง ห เกิดที่กัณฐฐาน
(หลอดลำคอ)
อิ อี จ ฉ ช ฌ ญ ย เกิดที่ตาลุฐาน (เพดานปาก)
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ฬ เกิดที่มุทธฐาน (ปุ่มเหงือกบน)
อุ อู ป ผ พ ภ ม
เกิดที่โอฏฐฐาน
(ริมฝีปาก)อิ อี จ ฉ ช ฌ ญ ย เกิดที่ตาลุฐาน (เพดานปาก)
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ฬ เกิดที่มุทธฐาน (ปุ่มเหงือกบน)
เอ เกิดที่กัณฐ+ตาลุฐาน (คอและเพดานปาก)
โอ เกิดที่กัณฐ+โอฏฐฐาน (คอและริมฝีปาก)
ว เกิดที่ทันต+โอฏฐฐาน (ฟันและริมฝีปาก)
อํ เกิดที่นาสิกาฐาน (โพรงจมูก)
ง ญ ณ น ม เกิดที่สก+นาสิกาฐาน (ฐานเดิมและโพรงจมูก)
อักษรบางตัวเกิดจากฐานเดียว เรียกว่า เอกชะ, บางตัวเกิดจาก ๒ ฐาน เรียกว่า ทวิชะ
กรณ์ ๔
กรณ์
คืออวัยวะที่ไปกระทบกับฐานทำให้เสียงเกิดขึ้น
วิเคราะห์ว่า "กรียนฺเต
อุจฺจารียนฺเต เอเตนาติ
กรณํ อวัยวะที่ทำให้สวดออกเสียงอักษรได้
ชื่อว่ากรณ์" มี
๔ อย่าง คือ
๑. ชิวหามัชฌกรณ์ กลางลิ้น ไปกระทบกับตาลุฐานทำให้เสียงเกิดขึ้น
๒. ชิวโหปัคคกรณ์ ใกล้ปลายลิ้น ไปกระทบกับมุทธฐานทำให้เสียงเกิดขึ้น
๓. ชิวหัคคกรณ์ ปลายลิ้น ไปกระทบกับทันตฐานทำให้เสียงเกิดขึ้น
๔. สกฐานกรณ์ ฐานของตน ไปกระทบกับฐานของตนทำให้เสียงเกิดขึ้น
๑. ชิวหามัชฌกรณ์ กลางลิ้น ไปกระทบกับตาลุฐานทำให้เสียงเกิดขึ้น
๒. ชิวโหปัคคกรณ์ ใกล้ปลายลิ้น ไปกระทบกับมุทธฐานทำให้เสียงเกิดขึ้น
๓. ชิวหัคคกรณ์ ปลายลิ้น ไปกระทบกับทันตฐานทำให้เสียงเกิดขึ้น
๔. สกฐานกรณ์ ฐานของตน ไปกระทบกับฐานของตนทำให้เสียงเกิดขึ้น
จำแนกอักษร ๔๑ ตัว โดยกรณ์ ๔
๑.
กลางลิ้น
ทำให้เกิดเสียง
อิ อี เอ จ ฉ ช ฌ ญ ย
๒. ใกล้ปลายลิ้น ทำให้เกิดเสียง ฏ ฐ ฏ ฑ ฒ ณ ร ฬ
๓. ปลายลิ้น ทำให้เกิดเสียง ต ถ ท ธ น ล ว ส
๔. ฐานของตน ทำให้เกิดเสียง อ อา อุ อู เอ โอ ก ข ค ฆ
ง ป ผ พ ภ ม ว ห อํ
๒. ใกล้ปลายลิ้น ทำให้เกิดเสียง ฏ ฐ ฏ ฑ ฒ ณ ร ฬ
๓. ปลายลิ้น ทำให้เกิดเสียง ต ถ ท ธ น ล ว ส
๔. ฐานของตน ทำให้เกิดเสียง อ อา อุ อู เอ โอ ก ข ค ฆ
ง ป ผ พ ภ ม ว ห อํ
นักศึกษาควรฝึกออกเสียงอักษรทุกตัว
โดยพยายามให้กรณ์ไปกระทบกับฐานของอักษรตัวนั้น
ๆ ตามที่จำแนกไว้นี้ให้ถูกต้องหรือใกล้เคียงมากที่สุด
ปยตนะ ๔
ปยตนะ คือความพยายามในการเปล่งออกเสียง
วิเคราะห์ว่า "อุจฺจารณตฺถํ
ปยตียเต ปยตนํ ความพยายามเพื่อการออกเสียงชื่อว่า
ปยตนะ" มี ๔ อย่าง
คือ
๑. สังวุตปยตนะ ความพยายามปิดฐานเปล่งเสียง
๒. วิวฏปยตนะ ความพยายามเปิดฐานเปล่งเสียง
๓. ผุฏฐปยตนะ ความพยายามกระทบฐานหนักเปล่งเสียง
๔. อีสังผุฏฐปยตนะ ความพยายามกระทบฐานเบาเปล่งเสียง
๑. สังวุตปยตนะ ความพยายามปิดฐานเปล่งเสียง
๒. วิวฏปยตนะ ความพยายามเปิดฐานเปล่งเสียง
๓. ผุฏฐปยตนะ ความพยายามกระทบฐานหนักเปล่งเสียง
๔. อีสังผุฏฐปยตนะ ความพยายามกระทบฐานเบาเปล่งเสียง
จำแนกอักษร ๔๑ ตัว โดยปยตนะ ๔
๑. ความพยายามปิดฐานเปล่งเสียง
อ ํ (อํ)
๒. ความพยายามเปิดฐานเปล่งเสียง อา อิ อี อุ อู เอ โอ ส ห ํ (อึ อุํ)
๓. ความพยายามกระทบฐานหนักเปล่งเสียงพยัญชนะวรรคทั้ง ๒๕ ตัว คือ ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ ญ, ฏ ฐ ฑ ฒ ณ, ต ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม
๔. ความพยายามกระทบฐานเบาเปล่งเสียง ย ร ล ว ฬ
๒. ความพยายามเปิดฐานเปล่งเสียง อา อิ อี อุ อู เอ โอ ส ห ํ (อึ อุํ)
๓. ความพยายามกระทบฐานหนักเปล่งเสียงพยัญชนะวรรคทั้ง ๒๕ ตัว คือ ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ ญ, ฏ ฐ ฑ ฒ ณ, ต ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม
๔. ความพยายามกระทบฐานเบาเปล่งเสียง ย ร ล ว ฬ
บทที่ ๓
สิถิละ ธนิตะ โฆสะ อโฆสะ วิมุตตะ
อักษรบาลี ๔๑ ตัวนั้น
เฉพาะพยัญชนะ ๓๓ ตัว
มีการออกเสียงที่แตกต่างกัน
บางตัวออกเสียงอ่อน
บางตัวออกเสียงแข็ง
บางตัวออกเสียงก้องกังวาล
บางตัวออกเสียงไม่ก้องกังวาล
บางตัวออกเสียงทั้งอ่อนทั้งกังวาล
เป็นต้น จำแนกได้ดังนี้
จำแนกพยัญชนะ ๓๓ ตัว โดยสิถิละ ธนิตะ วิมุตตะ
๑. สิถิละ พยัญชนะที่ออกเสียงอ่อน ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑ และ ๓ ของวรรคทั้ง ๕ คือ ก ค, จ ช, ฏ ฑ, ต ท, ป พ
๒. ธนิตะ พยัญชนะที่ออกเสียงแข็ง ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ ของวรรคทั้ง ๕ คือ ข ฆ, ฉ ฌ, ฐ ฒ, ถ ธ, ผ ภ ญ
๓. วิมุตตะ พยัญชนะที่ออกเสียงพ้นจากความเป็นสิถิละและธนิตะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๕ ของวรรคทั้ง ๕ และพยัญชนะอวรรค
ทั้งหมด คือ ง ญ ณ น ม, ย ร ล ว ส ห ฬ อํ
จำแนกพยัญชนะ ๓๓ ตัว โดยโฆสะ อโฆสะ วิมุตตะ
๑. โฆสะ พยัญชนะที่ออกเสียงกังวาล ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔ และ ๕ ของวรรคทั้ง ๕ คือ ค ฆ ง, ช ฌ ญ , ฑ ฒ ณ, ท ธ น, พ ภ ม และพยัญชนะอวรรค ๖ ตัว คือ ย ร ล ว ห ฬ
๒. อโฆสะ พยัญชนะที่ออกเสียงไม่กังวาล ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑ และ ๒ ของวรรคทั้ง ๕ คือ ก ข, จ ฉ, ฏ ฐ, ต ถ, ป ผ และ พยัญชนะอวรรค ๑ ตัว คือ ส
๓. วิมุตตะ พยัญชนะที่ออกเสียงพ้นจากความเป็นโฆสะและอโฆสะ ได้แก่ อํ (นิคหิต)
จำแนกพยัญชนะ ๓๓ ตัว โดยสิถิละ ธนิตะ วิมุตตะ
๑. สิถิละ พยัญชนะที่ออกเสียงอ่อน ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑ และ ๓ ของวรรคทั้ง ๕ คือ ก ค, จ ช, ฏ ฑ, ต ท, ป พ
๒. ธนิตะ พยัญชนะที่ออกเสียงแข็ง ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ ของวรรคทั้ง ๕ คือ ข ฆ, ฉ ฌ, ฐ ฒ, ถ ธ, ผ ภ ญ
๓. วิมุตตะ พยัญชนะที่ออกเสียงพ้นจากความเป็นสิถิละและธนิตะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๕ ของวรรคทั้ง ๕ และพยัญชนะอวรรค
ทั้งหมด คือ ง ญ ณ น ม, ย ร ล ว ส ห ฬ อํ
จำแนกพยัญชนะ ๓๓ ตัว โดยโฆสะ อโฆสะ วิมุตตะ
๑. โฆสะ พยัญชนะที่ออกเสียงกังวาล ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔ และ ๕ ของวรรคทั้ง ๕ คือ ค ฆ ง, ช ฌ ญ , ฑ ฒ ณ, ท ธ น, พ ภ ม และพยัญชนะอวรรค ๖ ตัว คือ ย ร ล ว ห ฬ
๒. อโฆสะ พยัญชนะที่ออกเสียงไม่กังวาล ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑ และ ๒ ของวรรคทั้ง ๕ คือ ก ข, จ ฉ, ฏ ฐ, ต ถ, ป ผ และ พยัญชนะอวรรค ๑ ตัว คือ ส
๓. วิมุตตะ พยัญชนะที่ออกเสียงพ้นจากความเป็นโฆสะและอโฆสะ ได้แก่ อํ (นิคหิต)
บทที่ ๔
การอ่าน การเขียน
การอ่าน อักษรบาลี
๔๑ ตัวนั้น สระ ๘ ตัว
อ่านออกเสียงเองได้เลยว่า อ
อา อิ อี อุ อู เอ โอ,
ส่วนพยัญชนะ ๓๓ ตัว
อ่านออกเสียงเองไม่ได้
ต้องอาศัยสระจึงอ่านออกเสียงได้ว่า
ก กา กิ กี กุ กู เก โก เป็นต้น,
เฉพาะ ํ (นิคหิค)
นั้น อาศัยรัสสระ อ
อิ อุ ๓ ตัวเท่านั้น
จึงอ่านออกเสียงได้ว่า อํ
อึ อุํ,
ถ้าพยัญชนะไม่มีสระจะมีจุดอยู่ข้างล่าง
ให้อ่านเป็นสะกด กล้ำ
หรือสะกดควบกล้ำ
ตามหลักพยัญชนะสังโยคในบทที่
๕ เช่น จกฺกํ (จักกัง)
ภิกฺขุ (ภิกขุ)
พฺรหฺมา (พฺระ-หฺมา)
ตสฺมา (ตัสฺมา)
การเขียน ภาษา บาลีเป็นภาษาที่เข้าได้กับทุกภาษา ประเทศใดรับเอาภาษาบาลีไปก็จะใช้อักษรของตนเขียนแทน โดยให้ออกเสียงเหมือนหรือใกล้เคียงภาษาบาลีมากที่สุด แม้ประเทศไทยเราก็เช่นกัน เมื่อรับเอาภาษาบาลีมา ก็ใช้อักษรไทยเขียนแทนอักษรบาลี จึงจำแนกการเขียนได้ดังนี้
การเขียน ภาษา บาลีเป็นภาษาที่เข้าได้กับทุกภาษา ประเทศใดรับเอาภาษาบาลีไปก็จะใช้อักษรของตนเขียนแทน โดยให้ออกเสียงเหมือนหรือใกล้เคียงภาษาบาลีมากที่สุด แม้ประเทศไทยเราก็เช่นกัน เมื่อรับเอาภาษาบาลีมา ก็ใช้อักษรไทยเขียนแทนอักษรบาลี จึงจำแนกการเขียนได้ดังนี้
สระเขียนได้ ๒ อย่างคือ
๑. สระลอย
สระล้วน ๆ ที่ยังไม่มีพยัญชนะประกอบ
คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
๒. สระจม สระที่ใช้ประกอบกับพยัญชนะ คือ - -า -ิ -ี -ุ -ู เ- โ-
๒. สระจม สระที่ใช้ประกอบกับพยัญชนะ คือ - -า -ิ -ี -ุ -ู เ- โ-
พยัญชนะเขียนได้ ๒ อย่าง คือ
๑. พยัญชนะล้วน ๆ ที่ยังไม่ได้ประกอบดับสระ ให้เติมจุด (ฺ) ข้างล่าง เขียนดังนี้ กฺ ขฺ คฺ ฆฺ งฺ เป็นต้น
๒. พยัญชนะที่ประกอบกับสระ เขียนดังนี้ ก กา กิ กี กุ กู เก โก เป็นต้น
บทที่ ๕
สัญโญคะ พยัญชนะสังโยคหรือซ้อน
พยัญชนะสังโยค เรียกอีกนัยหนึ่งว่า
ตัวสะกด กล้ำ และสะกดควบกล้ำ
หมายถึง พยัญชนะ ๒ หรือ ๓ ตัว
ซ้อนกันโดยไม่มีสระคั่นระหว่างกลาง
มีวิเคราะห์ว่า "สํยุชฺชตีติ
สญฺโญโค พยัญชนะที่ถูกประกอบเข้ากัน
ชื่อว่าสัญโญคะ" เช่น
กฺก กฺข จฺจ จฺฉ งฺขฺย
นฺทฺร (จกฺกํ
ภิกฺขุ ปจฺจโย มจฺฉา สงฺขฺยา
อินฺทฺริยํ)
มีหลักการซ้อนดังนี้
มีหลักการซ้อนดังนี้
พยัญชนะตัวที่ ๑
ในวรรคทั้ง ๕ ซ้อนหน้าพยัญชนะตัวที่
๑, ๒ ในวรรคของตน
(๑ ซ้อน ๑ ซ้อน ๒)
พยัญชนะตัวที่ ๓ ในวรรคทั้ง ๕ ซ้อนหน้าพยัญชนะตัวที่ ๓, ๔ ในวรรคของตน (๓ ซ้อน ๓ ซ้อน ๔)
พยัญชนะตัวที่ ๕ ในวรรคทั้ง ๕ เว้น ง ซ้อนหน้าพยัญชนะตัวที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ ในวรรคของตน (๕ ซ้อน ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ เว้น ง)
ส่วนพยัญชนะอวรรคนั้น ซ้อนตัวเองและตัวอื่นได้มี ๔ ตัว คือ ย ล ว ส ที่เหลือซ้อนกับตัวอื่นได้ทั่วไป เช่น อยฺโย มลฺโล นิพฺพานํ (นิวฺวานํ) อสฺส มยฺหํ กลฺยาณํ ชิวฺหา อสฺมิ
พยัญชนะตัวที่ ๓ ในวรรคทั้ง ๕ ซ้อนหน้าพยัญชนะตัวที่ ๓, ๔ ในวรรคของตน (๓ ซ้อน ๓ ซ้อน ๔)
พยัญชนะตัวที่ ๕ ในวรรคทั้ง ๕ เว้น ง ซ้อนหน้าพยัญชนะตัวที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ ในวรรคของตน (๕ ซ้อน ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ เว้น ง)
ส่วนพยัญชนะอวรรคนั้น ซ้อนตัวเองและตัวอื่นได้มี ๔ ตัว คือ ย ล ว ส ที่เหลือซ้อนกับตัวอื่นได้ทั่วไป เช่น อยฺโย มลฺโล นิพฺพานํ (นิวฺวานํ) อสฺส มยฺหํ กลฺยาณํ ชิวฺหา อสฺมิ
บทที่
๖
สนธิ
การต่ออักษรของบท
สนธิ คือการต่ออักษรของศัพท์ให้เนื่องกัน
เพื่อย่ออักษรให้น้อยลง
เป็นประโยชน์ต่อการแต่งฉันท์
และทำคำพูดให้สละสลวย
มีวิเคราะห์ว่า "ทฺวินฺนํ
ปทานํ อนฺตรํ อทสฺเสตฺวา
สมฺมา ธียตีติ
สนฺธิ บทที่ท่านทำให้ไม่เห็นช่องว่างระหว่างบททั้ง
๒ แล้วต่อเข้ากันอย่างดี
ชื่อว่าสนธิ"
สนธิ ๒
การนำศัพท์มาต่อกัน
มี ๒ อย่าง คือ
๑. ต่อศัพท์ที่มีวิภัตติกับศัพท์ที่มีวิภัตติ
เช่น จตฺตาโร อิเม ต่อเป็น จตฺตาโรเม
เทฺว อิเม ต่อเป็น เทฺวเม
๒. ต่อในศัพท์สมาส
เช่น นีล อุปฺปลํ ต่อเป็น นีลุปฺปลํ
เช่น โสต อาปนฺโน ต่อเป็น โสตาปนฺโน
๑. ต่อศัพท์ที่มีวิภัตติกับศัพท์ที่มีวิภัตติ
เช่น จตฺตาโร อิเม ต่อเป็น จตฺตาโรเม
เทฺว อิเม ต่อเป็น เทฺวเม
๒. ต่อในศัพท์สมาส
เช่น นีล อุปฺปลํ ต่อเป็น นีลุปฺปลํ
เช่น โสต อาปนฺโน ต่อเป็น โสตาปนฺโน
อักษรสนธิ ๓
อักษรของศัพท์ที่นำมาต่อกันมี
๓ อย่าง คือ
๑. สรสนธิ การต่อระหว่างสระกับสระ
๒. พยัญชนสนธิ การต่อระหว่างพยัญชนะกับสระหรือพยัญชนะ
๓. นิคคหีตสนธิ การต่อระหว่างนิคหิตกับสระหรือพยัญชนะ
๑. สรสนธิ การต่อระหว่างสระกับสระ
๒. พยัญชนสนธิ การต่อระหว่างพยัญชนะกับสระหรือพยัญชนะ
๓. นิคคหีตสนธิ การต่อระหว่างนิคหิตกับสระหรือพยัญชนะ
สนธิวิธาน ๘
โลปาเทโส
จ อาคโม วิกาโร
ปกตีปิ จ
ทีโฆ รสฺโส สญฺโญโคติ สนฺธิเภทา ปกาสิตา
สนธิวิธาน คือ วิธีการทำสนธิมี ๘ คือ (โล อา อา วิ ป ที ร สํ)
๑. โลปะ ลบอักษร
๒. อาเทสะ อาเทศ หรือแปลงอักษร
๓. อาคมะ ลงอาคม หรือลงอักษรใหม่
๔. วิการะ การวิการ หรือวิปริต หรือทำให้ต่างจากอักษรเดิม
๕. ปกติ ปรกติอักษรไว้ ไม่เปลี่ยนแปลง
๖. ทีฆะ ทำสระเสียงสั้นให้ยาว
๗. รัสสะ ทำสระเสียงยาวให้สั้น
๘. สัญฺโญคะ ซ้อนพยัญชนะ (ตามหลักสัญโญคะ)
ทีโฆ รสฺโส สญฺโญโคติ สนฺธิเภทา ปกาสิตา
สนธิวิธาน คือ วิธีการทำสนธิมี ๘ คือ (โล อา อา วิ ป ที ร สํ)
๑. โลปะ ลบอักษร
๒. อาเทสะ อาเทศ หรือแปลงอักษร
๓. อาคมะ ลงอาคม หรือลงอักษรใหม่
๔. วิการะ การวิการ หรือวิปริต หรือทำให้ต่างจากอักษรเดิม
๕. ปกติ ปรกติอักษรไว้ ไม่เปลี่ยนแปลง
๖. ทีฆะ ทำสระเสียงสั้นให้ยาว
๗. รัสสะ ทำสระเสียงยาวให้สั้น
๘. สัญฺโญคะ ซ้อนพยัญชนะ (ตามหลักสัญโญคะ)
๑. สรสนธิ
สรสนธิ มีวิธีการต่อ
๗ อย่าง คือ โลปะ อาเทสะ อาคมะ
วิการะ ปกติ ทีฆะ รัสสะ
โลปะ ลบสระ มี ๒ วิธี คือ
๑. ลบสระหน้า เช่น ยสฺส อินฺทฺริยานิ เป็น ยสฺสินฺทฺริยานิ
มาตุ อุปฏฺฐานํ เป็น มาตุปฏฺฐานํ
ปญฺญา อินฺทริยํ เป็น ปญฺญินฺทฺริยํ
๒. ลบสระหลัง เช่น อิติ อปิ โส เป็น อิติปิ โส
จกฺขุ อินฺทฺริยํ เป็น จกฺขุนฺทฺริยํ
จตฺตาโร อิเม เป็น จตฺตาโรเม
ภควา อิติ เป็น ภควาติ
อาเทสะ แปลงสระ มี ๒ วิธี คือ
๑. อาเทศสระหน้า คือเพราะสระข้างหลัง อาเทศ อิ เอ เป็น ย, อุ โอ เป็น ว
เช่น วุตฺติ อสฺส เป็น วุตฺยสฺส (อิ เป็น ย)
เต อสฺส เป็น ตฺยสฺส (เอ เป็น ย)
พหุ อาพาโธ เป็น พหฺวาพาโธ (อุ เป็น ว)
อถ โข อสฺส เป็น อถ ขฺวสฺส (โอ เป็น ว)
๒. วิการสระหลัง คือเมื่อลบสระข้างหน้าแล้ว วิการสระ อิ ข้างหลัง เป็น เอ, อุ เป็น โอ
เช่น พนฺธุสฺส อิว เป็น พนฺธุสฺเสว
ยถา อุทเก เป็น ยโถทเก
ปกติ ปรกติสระไว้ตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
เช่น โก อิมํ คงเป็น โก อิมํ
ทีฆะ ทำสระเสียงสั้นให้ยาว มี ๒ วิธี คือ
๑. ทีฆะสระหน้า คือเมื่อลบสระหลังแล้ว ทำทีฆะสระหน้าบ้าง
เช่น โลกสฺส อิติ เป็น โลกสฺสาติ
สาธุ อิติ เป็น สาธูติ
๒. ทีฆะสระหลัง คือเมื่อลบสระหน้าแล้ว ทำทีฆะสระหลังบ้าง
เช่น พุทฺธ อนุสฺสติ เป็น พุทฺธานุสฺสติ
อติ อิโต เป็น อตีโต
รัสสะ ทำสระเสียงยาวให้สั้น
มีหลักดังนี้ ถ้ามีพยัญชนะหรือ เอว ศัพท์อยู่หลัง ให้รัสสะสระหน้าบ้าง
เช่น โภวาที นาม เป็น โภวาทินาม
ยถา เอว เป็น ยถริว
โลปะ ลบสระ มี ๒ วิธี คือ
๑. ลบสระหน้า เช่น ยสฺส อินฺทฺริยานิ เป็น ยสฺสินฺทฺริยานิ
มาตุ อุปฏฺฐานํ เป็น มาตุปฏฺฐานํ
ปญฺญา อินฺทริยํ เป็น ปญฺญินฺทฺริยํ
๒. ลบสระหลัง เช่น อิติ อปิ โส เป็น อิติปิ โส
จกฺขุ อินฺทฺริยํ เป็น จกฺขุนฺทฺริยํ
จตฺตาโร อิเม เป็น จตฺตาโรเม
ภควา อิติ เป็น ภควาติ
อาเทสะ แปลงสระ มี ๒ วิธี คือ
๑. อาเทศสระหน้า คือเพราะสระข้างหลัง อาเทศ อิ เอ เป็น ย, อุ โอ เป็น ว
เช่น วุตฺติ อสฺส เป็น วุตฺยสฺส (อิ เป็น ย)
เต อสฺส เป็น ตฺยสฺส (เอ เป็น ย)
พหุ อาพาโธ เป็น พหฺวาพาโธ (อุ เป็น ว)
อถ โข อสฺส เป็น อถ ขฺวสฺส (โอ เป็น ว)
๒. วิการสระหลัง คือเมื่อลบสระข้างหน้าแล้ว วิการสระ อิ ข้างหลัง เป็น เอ, อุ เป็น โอ
เช่น พนฺธุสฺส อิว เป็น พนฺธุสฺเสว
ยถา อุทเก เป็น ยโถทเก
ปกติ ปรกติสระไว้ตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
เช่น โก อิมํ คงเป็น โก อิมํ
ทีฆะ ทำสระเสียงสั้นให้ยาว มี ๒ วิธี คือ
๑. ทีฆะสระหน้า คือเมื่อลบสระหลังแล้ว ทำทีฆะสระหน้าบ้าง
เช่น โลกสฺส อิติ เป็น โลกสฺสาติ
สาธุ อิติ เป็น สาธูติ
๒. ทีฆะสระหลัง คือเมื่อลบสระหน้าแล้ว ทำทีฆะสระหลังบ้าง
เช่น พุทฺธ อนุสฺสติ เป็น พุทฺธานุสฺสติ
อติ อิโต เป็น อตีโต
รัสสะ ทำสระเสียงยาวให้สั้น
มีหลักดังนี้ ถ้ามีพยัญชนะหรือ เอว ศัพท์อยู่หลัง ให้รัสสะสระหน้าบ้าง
เช่น โภวาที นาม เป็น โภวาทินาม
ยถา เอว เป็น ยถริว
๒. พยัญชนะสนธิ
พยัญชนสนธิ มีวิธีการต่อ
๕ อย่าง คือ โลปะ อาเทสะ อาคมะ
ปกติ สัญโญคะ
โลปะ ลบพยัญชนะ คือ
เมื่อลบสระหลังจากนิคหิตแล้ว ถ้ามีพยัญชนะเหมือนกันซ้อนกัน ๒ ตัว ให้ลบ ๑ ตัว
เช่น เอวํ อสฺส เป็น เอวํส
ปุปฺผํ อสฺสา เป็น ปุปฺผํสา
อาเทสะ อาเทศพยัญชนะ มี ๔ วิธี คือ
๑. เพราะสระข้างหลัง อาเทศ ติ เป็น จ แล้วซ้อน จฺ
เช่น อิติ เอวํ เป็น อิจฺเจวํ
อิติ อาทิ เป็น อิจฺจาทิ
อาเทศ อภิ เป็น อพฺภ
เช่น อภิ อุคฺคจฺฉติ เป็น อพฺภุคฺคจฺฉติ
อภิ อกฺขานํ เป็น อพฺภกฺขานํ
อาเทศ อธิ เป็น อชฺฌ
เช่น อธิ อคมา เป็น อชฺฌคมา
อธิ โอกาโส เป็น อชฺโฌกาโส
๒. อาเทศ ธ ของ อิธ ที่อยู่หลังจาก เอกํ เป็น ท
เช่น เอกํ อิธ อหํ เป็น เอกมิทาหํ
๓. เพราะสระหรือพยัญชนะข้างหลัง อาเทศพยัญชนะได้ไม่จำกัด
เช่น สาธุ ทสฺสนํ เป็น สาหุ ทสฺสนํ (ธ เป็น ห)
ทุกฺกตํ เป็น ทุกฺกฏํ (ต เป็น ฏ)
ปนีตํ เป็น ปณีตํ (น เป็น ณ)
๔. เพราะพยัญชนะข้างหลัง อาเทศ อว เป็น โอ
เช่น อวนทฺธา เป็น โอนทฺธา
อวกาโส เป็น โอกาโส
อาคมะ ลงพยัญชนะใหม่ ๙ ตัว คือ คฺ ยฺ วฺ มฺ ทฺ นฺ ตฺ รฺ ฬฺ (หรือ ลฺ)
คฺ อาคม เช่น ปา เอว เป็น ปเคว
ยฺ อาคม เช่น ยถา อิทํ เป็น ยถยิทํ
วฺ อาคม เช่น ติองฺคุลํ เป็น ติวงฺคุลํ
มฺ อาคม เช่น ลหุ เอสฺสติ เป็น ลหุเมสฺสติ
ทฺ อาคม เช่น อุ อคฺโค เป็น อุทคฺโค
นฺ อาคม เช่น อิโต อายติ เป็น อิโตนายติ
ตฺ อาคม เช่น ยสฺมา อิห เป็น ยสฺมาติห
รฺ อาคม เช่น นิ อนฺตรํ เป็น นิรนฺตรํ
ฬฺ อาคม เช่น ฉ อภิญฺญา เป็น ฉฬภิญฺญา
ปกติ ปรกติพยัญชนะไว้ตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
เช่น สาธุ คงเป็น สาธุ
สัญโญคะ ซ้อนพยัญชนะใหม่ มี ๒ วิธี คือ
๑. ซ้อนพยัญชนะเหมือนกันตามหลักพยัญชนะสังโยค (บทที่ ๕)
เช่น อิธ ปโมทติ เป็น อิธปฺปโมทติ
อปมาโท เป็น อปฺปมาโท
วิปยุตโต เป็น วิปฺปยุตฺโต
๒. ซ้อนพยัญชนะต่างกันตามหลักพยัญชนะสังโยค (บทที่ ๕)
เช่น ปฆรติ เป็น ปคฺฆรติ
ปฐมฌานํ เป็น ปฐมชฺฌานํ
ทุภิกฺขํ เป็น ทุพฺภิกฺขํ
โลปะ ลบพยัญชนะ คือ
เมื่อลบสระหลังจากนิคหิตแล้ว ถ้ามีพยัญชนะเหมือนกันซ้อนกัน ๒ ตัว ให้ลบ ๑ ตัว
เช่น เอวํ อสฺส เป็น เอวํส
ปุปฺผํ อสฺสา เป็น ปุปฺผํสา
อาเทสะ อาเทศพยัญชนะ มี ๔ วิธี คือ
๑. เพราะสระข้างหลัง อาเทศ ติ เป็น จ แล้วซ้อน จฺ
เช่น อิติ เอวํ เป็น อิจฺเจวํ
อิติ อาทิ เป็น อิจฺจาทิ
อาเทศ อภิ เป็น อพฺภ
เช่น อภิ อุคฺคจฺฉติ เป็น อพฺภุคฺคจฺฉติ
อภิ อกฺขานํ เป็น อพฺภกฺขานํ
อาเทศ อธิ เป็น อชฺฌ
เช่น อธิ อคมา เป็น อชฺฌคมา
อธิ โอกาโส เป็น อชฺโฌกาโส
๒. อาเทศ ธ ของ อิธ ที่อยู่หลังจาก เอกํ เป็น ท
เช่น เอกํ อิธ อหํ เป็น เอกมิทาหํ
๓. เพราะสระหรือพยัญชนะข้างหลัง อาเทศพยัญชนะได้ไม่จำกัด
เช่น สาธุ ทสฺสนํ เป็น สาหุ ทสฺสนํ (ธ เป็น ห)
ทุกฺกตํ เป็น ทุกฺกฏํ (ต เป็น ฏ)
ปนีตํ เป็น ปณีตํ (น เป็น ณ)
๔. เพราะพยัญชนะข้างหลัง อาเทศ อว เป็น โอ
เช่น อวนทฺธา เป็น โอนทฺธา
อวกาโส เป็น โอกาโส
อาคมะ ลงพยัญชนะใหม่ ๙ ตัว คือ คฺ ยฺ วฺ มฺ ทฺ นฺ ตฺ รฺ ฬฺ (หรือ ลฺ)
คฺ อาคม เช่น ปา เอว เป็น ปเคว
ยฺ อาคม เช่น ยถา อิทํ เป็น ยถยิทํ
วฺ อาคม เช่น ติองฺคุลํ เป็น ติวงฺคุลํ
มฺ อาคม เช่น ลหุ เอสฺสติ เป็น ลหุเมสฺสติ
ทฺ อาคม เช่น อุ อคฺโค เป็น อุทคฺโค
นฺ อาคม เช่น อิโต อายติ เป็น อิโตนายติ
ตฺ อาคม เช่น ยสฺมา อิห เป็น ยสฺมาติห
รฺ อาคม เช่น นิ อนฺตรํ เป็น นิรนฺตรํ
ฬฺ อาคม เช่น ฉ อภิญฺญา เป็น ฉฬภิญฺญา
ปกติ ปรกติพยัญชนะไว้ตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
เช่น สาธุ คงเป็น สาธุ
สัญโญคะ ซ้อนพยัญชนะใหม่ มี ๒ วิธี คือ
๑. ซ้อนพยัญชนะเหมือนกันตามหลักพยัญชนะสังโยค (บทที่ ๕)
เช่น อิธ ปโมทติ เป็น อิธปฺปโมทติ
อปมาโท เป็น อปฺปมาโท
วิปยุตโต เป็น วิปฺปยุตฺโต
๒. ซ้อนพยัญชนะต่างกันตามหลักพยัญชนะสังโยค (บทที่ ๕)
เช่น ปฆรติ เป็น ปคฺฆรติ
ปฐมฌานํ เป็น ปฐมชฺฌานํ
ทุภิกฺขํ เป็น ทุพฺภิกฺขํ
๓. นิคคหีตสนธิ
นิคคหีตสนธิ มีวิธีการต่อ
๔ อย่าง คือ โลปะ อาเทสะ อาคมะ
ปกติ
โลปะ ลบนิคหิต
เพราะสระหรือพยัญชนะข้างหลัง ให้ลบนิคหิตข้างหน้าบ้าง
เช่น ตาสํ อหํ เป็น ตาสาหํ
อริยสจฺจานํ ทสฺสนํ เป็น อริยสจฺจาน ทสฺสนํ
เอตํ พุทฺธานํ สาสนํ เป็น เอตํ พุทฺธาน สาสนํ
อาเทสะ อาเทศนิคหิต มี ๕ อย่าง คือ
๑. เพราะพยัญชนะวรรคข้างหลัง อาเทศนิคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคบ้าง
เช่น เอวํ โข เป็น เอวงฺโข
ตํ ชาตํ เป็น ตญฺชาตํ
ตํ ฐานํ เป็น ตณฺฐานํ
ตํ ตโนติ เป็น ตนฺตโนติ
ตํ ผลํ เป็น ตมฺผลํ
๒. เพราะ เอ หรือ ห ข้างหลัง อาเทศนิคหิตเป็น ญฺ
เข่น ตํ เอว เป็น ตญฺเญว
ตํ หิ เป็น ตญฺหิ
๓. เพราะ ย ข้างหลัง อาเทศนิคหิตกับ ย เป็น ญฺ แล้วซ้อน ญฺ
เช่น สํโยโค เป็น สญฺโญโค
สํโยชนํ เป็น สญฺโญชนํ
๔. เพราะ ล ข้างหลัง อาเทศนิคหิตเป็น ลฺ
เช่น ปุํลิงฺคํ เป็น ปุลฺลิงฺคํ
๕. เพราะสระข้างหลัง อาเทศนิคหิตเป็น มฺ และ ทฺ
เช่น ตํ อหํ เป็น ตมหํ
ยํ อนิจฺจํ เป็น ยทนิจฺจํ
อาคมะ ลงนิคหิตใหม่
เพราะสระหรือพยัญชนะข้างหลัง ลงนิคหิตอาคมได้บ้าง
เช่น จกฺขุ อุทปาทิ เป็น จกฺขุํ อุทปาทิ
อวสิโร เป็น อวํสิโร
ปกติ ปรกตินิคหิตไว้ตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
เช่น ธมฺมํ จเร คงเป็น ธมฺมํ จเร
โลปะ ลบนิคหิต
เพราะสระหรือพยัญชนะข้างหลัง ให้ลบนิคหิตข้างหน้าบ้าง
เช่น ตาสํ อหํ เป็น ตาสาหํ
อริยสจฺจานํ ทสฺสนํ เป็น อริยสจฺจาน ทสฺสนํ
เอตํ พุทฺธานํ สาสนํ เป็น เอตํ พุทฺธาน สาสนํ
อาเทสะ อาเทศนิคหิต มี ๕ อย่าง คือ
๑. เพราะพยัญชนะวรรคข้างหลัง อาเทศนิคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคบ้าง
เช่น เอวํ โข เป็น เอวงฺโข
ตํ ชาตํ เป็น ตญฺชาตํ
ตํ ฐานํ เป็น ตณฺฐานํ
ตํ ตโนติ เป็น ตนฺตโนติ
ตํ ผลํ เป็น ตมฺผลํ
๒. เพราะ เอ หรือ ห ข้างหลัง อาเทศนิคหิตเป็น ญฺ
เข่น ตํ เอว เป็น ตญฺเญว
ตํ หิ เป็น ตญฺหิ
๓. เพราะ ย ข้างหลัง อาเทศนิคหิตกับ ย เป็น ญฺ แล้วซ้อน ญฺ
เช่น สํโยโค เป็น สญฺโญโค
สํโยชนํ เป็น สญฺโญชนํ
๔. เพราะ ล ข้างหลัง อาเทศนิคหิตเป็น ลฺ
เช่น ปุํลิงฺคํ เป็น ปุลฺลิงฺคํ
๕. เพราะสระข้างหลัง อาเทศนิคหิตเป็น มฺ และ ทฺ
เช่น ตํ อหํ เป็น ตมหํ
ยํ อนิจฺจํ เป็น ยทนิจฺจํ
อาคมะ ลงนิคหิตใหม่
เพราะสระหรือพยัญชนะข้างหลัง ลงนิคหิตอาคมได้บ้าง
เช่น จกฺขุ อุทปาทิ เป็น จกฺขุํ อุทปาทิ
อวสิโร เป็น อวํสิโร
ปกติ ปรกตินิคหิตไว้ตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
เช่น ธมฺมํ จเร คงเป็น ธมฺมํ จเร
บทที่
๗
นาม
บทที่น้อมไปสู่ความหมาย
สุทธนาม
สุทธนาม คือนามล้วน ๆ เป็นชื่อของคน สัตว์ วัตถุสิ่งของ สถานที่ เป็นต้น แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง
๑.
สาธารณนาม
ชื่อทั่วไปไม่เจาะจงถึงคนใด
สิ่งใด หรือสถานที่ใด
เช่น
มนุสฺโส มนุษย์,
ธนํ ทรัพย์,
นครํ เมือง,
นที แม่น้ำ
๒.
อสาธารณนาม
ชื่อเฉพาะเจาะจงไม่ทั่วไปแก่คน
สิ่งของ หรือสถานที่อื่น
เช่น
สาริปุตฺโต พระสารีบุตร,
สุวณฺณํ ทองคำ,
สาวตฺถี
เมืองสาวัตถี
คุณนาม
๑.
คุณนามปกติ
คือคุณนามระดับธรรมดาไม่มีความพิเศษอะไร
เช่น
สุนฺทโร ดี งาม
อร่อย
ปาโป บาป
ชั่ว เลว ทราม
เช่น
สุนฺทรตโร, อติสุนฺทโร
ดียิ่ง งามยิ่ง อร่อยยิ่ง
ปาปตโร,
อติปาโป
บาปยิ่ง ชั่วยิ่ง เลวยิ่ง
เช่น
สุนฺทรตโม, อติวิย
สุนฺทโร ดี งาม อร่อยที่สุด
ปาปตโม,
อติวิย ปาโป บาป
ชั่ว เลวที่สุด
สัพพนาม
สัพพนาม คือคำที่ใช้แทนนามที่เป็นชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เป็นต้น มีวิเคราะห์ศัพท์ว่า "สพฺเพสํ อิตฺถิปุมนปุํสกานํ นามานิ สพฺสนามานิ คำนามที่ใช้แทน ของนามที่เป็นอิตถีลิงค์ ปุงลิงค์ และนปุงสกลิงค์ ชื่อว่าสัพพนาม" มี ๒๗ ตัว คือ สพฺพ กตร กตม อุภย อิตร อญฺญ อญฺญตร อญฺญตม ปุพฺพ ปร อปร ทกฺขิณ อุตฺตร อธร ย ต เอต อิม อมุ กึ เอก อุภ ทฺวิ ติ จตุ ตุมฺห อมฺห แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ ปุริสสัพพนาม วิเสสนสัพพนาม และสังขยาสัพพนาม
ปุริสสัพพนาม
ปุริสสัพพนาม คือสัพพนามที่เอ่ยถึงบุรุษในการสนทนา มี ๓ บุรุษ คือ
๑.
ปฐมบุรุษ ใช้
ต สัพพนามแปลว่า เขา
มัน เป็นต้น แทนชื่อคนหรือสิ่งที่เราเอ่ยถึง
เช่น
โส คามํ คจฺฉติ เขาไปบ้าน
๒.
มัชฌิมบุรุษ
ใช้ ตุมฺห ศัพท์แปลว่า
ท่าน เธอ คุณ เจ้า เป็นต้น
แทนชื่อคนที่เราพูดด้วย
เช่น
ตุมฺเห กุสลํ กโรธ
พวกท่านจงพากันทำกุศล
๓.
อุตตมบุรุษ
ใช้ อมฺห ศัพท์แปลว่า
ข้าพเจ้า ผม ดิฉัน เรา เป็นต้น
แทนชื่อเราเอง
เช่น
อหํ ปญฺจ สีลานิ สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานศีล ๕
วิเสสนสัพพนาม
วิเสสนสัพพนาม คือสัพพนามที่ใช้แทนและขยายนามคล้ายคุณนาม มี ๒ อย่าง คือ
๑.
อนิยมวิเสสนสัพพนาม
คือวิเสสนสัพพนามที่บอกความไม่แน่นอน
มี ๑๓ ศัพท์ คือ
สพฺพ ทั้งปวง,
กตร กตม คนไหน
อะไรบ้าง, อุภย
ทั้งสอง, อิตร
นอกจากนี้, อญฺญ
อื่น, อญฺญตร
อญฺญตม
คนใดคนหนึ่ง, ปร
อื่น, อปร
อื่นอีก, ย
ใด, เอก หนึ่ง
พวกหนึ่ง, กึ
ไหน ไร
๒.
นิยมวิเสสนสัพพนาม
คือวิเสสนสัพพนามที่บอกความแน่นอน
มี ๘ ศัพท์ คือ
ปุพฺพ ข้างหน้า,
ทกฺขิณ ด้านขวา,
อุตฺตร ด้านซ้าย
ด้านเหนือ, อธร
ด้านล่าง ภายใต้, ต
นั้น, เอต
นั่น, อิม
นี้, อมุ
โน้น
สังขยาสัพพนาม
สังขยาสัพพนาม คือสัพพนามที่ใช้นับจำนวนสุทธนาม มี ๕ ตัว คือ เอก หนึ่ง, อุภ ทั้งสอง, ทฺวิ สอง, ติ สาม, จตุ สี่
สุทธนาม คุณนาม และสัพพนาม ทั้ง ๓ นี้ ต้องประกอบด้วยลิงค์ วจนะ และวิภัตติ จึงสามารถนำไปประกอบในประโยคต่าง ๆ ได้ เช่น มนุสฺโส, สาริปุตฺโต, สุนฺทโร, โส, ตฺวํ, อหํ, สพฺโพ, โย เป็นต้น ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดเรื่องลิงค์ การันต์ วจนะ และวิภัตติ ต่อไป
บทที่ ๘
ลิงค์ การันต์
วจนะ วิภัตติ
ลิงค์
ลิงค์
คือ เพศของนาม มีวิเคราะห์ว่า
"ลิงฺคติ
อิตฺถี ปุริโสติ วิภาคํ
คจฺฉติ เอเตนาติ ลิงฺคํ
เพศที่ใช้จำแนกนามว่าเป็นหญิงหรือ
ชาย ชื่อว่าลิงค์" มี
๓ อย่าง คือ ปุงลิงค์
เพศชาย, อิตถีลิงค์
เพศหญิง, นปุงสกลิงค์
ไม่ใช่เพศชายเพศหญิง
หรือไม่มีเพศ
ลิงค์ ๒ พวก
คือ
๑.
ลิงค์โดยกำเนิด
คือ นามศัพท์ที่มีเพศตามกำเนิดของตัวจริง
เช่น
ปุริโส ชาย เป็นปุงลิงค์
อิตฺถี หญิง
เป็นอิตถีลิงค์
จิตฺตํ จิต
เป็นนปุงสกลิงค์
๒.
ลิงค์โดยสมมติ
คือนามศัพท์ที่มีเพศตามสมมุติขึ้น
ไม่ตรงตามตัวจริง
เช่น
ทาโร ภรรยา เป็นปุงลิงค์
ปฐวี แผ่นดิน
เป็นอิตถีลิงค์
จำแนกนาม
๓ โดยลิงค์
๑.
สุทธนาม
บางศัพท์เป็นปุงลิงค์
อิตถีลิงค์ หรือนปุงสกลิงค์อย่างเดียว
เช่น
ปุริโส ชาย
เป็นปุงลิงค์อย่างเดียว
อิตฺถี หญิง
เป็นอิตถีลิงค์อย่างเดียว
จิตฺตํ จิต
เป็นนปุงสกลิงค์อย่างเดียว
๒.
สุทธนาม
บางศัพท์เป็นได้ ๒ ลิงค์
เช่น
ราชา พระราชา
เป็นปุงลิงค์
ราชินี พระราชินี
เป็นอิตถีลิงค์
โพธิ โพธิกุมาร
เป็นปุงลิงค์
โพธิ โพธิญาณ
เป็นอิตถีลิงค์
ทิวโส ทิวสํ
วัน เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์
๓.
คุณนามและสัพพนาม
เป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์
เพราะต้องเปลี่ยนลิงค์ไปตามสุทธนามที่ตนขยายและใช้แทน
เช่น
กลฺยาโณ ปุริโส ชายดี
เป็นปุงลิงค์
กลฺยาณี อิตฺถี
หญิงดี เป็นอิตถีลิงค์
กลฺยาณํ จิตฺตํ
จิตดี เป็นนปุงสกลิงค์
โส ปุริโส
ชายคนนั้น เป็นปุงลิงค์
สา อตฺถี
หญิงคนนั้น เป็นอิตถีลิงค์
ตํ จิตฺตํ
จิตดวงนั้น เป็นนปุงสกลิงค์
การันต์
การันต์
คืออักษรสุดท้ายของลิงค์
วิเคราะห์ว่า "การานํ
อนฺตํ การนฺตํ อักษรสุดท้าย
ชื่อว่าการันตะ" มี
๗ คือ อ อา อิ อี อุ อู โอ
จำแนกลิงค์
๓ โดยการันต์ ๗
๑.
ปุงลิงค์
มีการันต์ ๗ คือ อ อา
อิ อี อุ อู โอ
เช่น
ปุริส ชาย
เป็นอการันต์
สา
สุนัข เป็นอาการันต์
อคฺคิ ไฟ
เป็นอิการันต์
ทณฺฑี ผู้มีไม้เท้า
เป็นอีการันต์
ภิกฺขุ
ภิกษุ เป็นอุการันต์
อภิภู
ผู้เป็นใหญ่ เป็นอูการันต์
โค
วัว
เป็นโอการันต์
๒.
อิตถีลิงค์
มีการันต์ ๕ คือ อา อิ
อี อุ อู
เช่น
กญฺญา สาวน้อย
เป็นอาการันต์
รตฺติ
กลางคืน เป็นอิการันต์
อิตฺถี
หญิง
เป็นอีการันต์
ยาคุ
ข้าวยาคู เป็นอุการันต์
ชมฺพู ต้นหว้า
เป็นอูการันต์
๓.
นปุงสกลิงค์
มีการันต์ ๗ คือ อ อา อิ
อี อุ อู โอ
เช่น
จิตฺต
จิต
เป็นอการันต์
อสฺสทฺทา
ไม่มีศรัทธา เป็นอาการันต์
อฏฺฐิ
กระดูก
เป็นอิการันต์
สุขการี
ทำให้มีสุข เป็นอีการันต์
อายุ
อายุ
เป็นอุการันต์
โคตฺรภู
ข้ามโคตร เป็นอูการันต์
จิตฺตโค
วัวด่าง
เป็นโอการันต์
วจนะหรือพจน์
วจนะหรือพจน์
คือคำที่บอกจำนวนของนามให้รู้ว่ามีน้อยหรือมาก
วิเคราะห์ว่า "เอกตฺตํ
วา พหุตฺตํ วาติ วจติ เอเตนาติ
วจนํ คำที่ใช้บอกจำนวนว่าหนึ่ง
หรือมากกว่าหนึ่ง ชื่อว่า
วจนะ" มี ๒ คือ
๑.
เอกวจนะหรือเอกพจน์
คำบอกจำนวนของนามว่ามีหนึ่ง
เช่น
ปุริโส ชายหนึ่งคน
อิตฺถี
หญิงหนึ่งคน
จิตฺตํ
จิตหนึ่งดวง
๒.
พหุวจนะหรือพหูพจน์
คำบอกจำนวนของนามว่ามีมาก
เช่น ปุริสา ชายหลายคน (หญิงทั้งหลาย)
อิตฺถิโย หญิงหลายคน (หญิงทั้งหลาย)
จิตฺตานิ จิตหลายดวง (หญิงทั้งหลาย)
วจนะทั้ง ๒ นี้ อยู่ที่วิภัตติ มีวิตติเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าเป็นเอกวจนะหรือพหุวจนะ
วิภัตติ
วิภัตติ
คือศัพท์สำหรับประกอบหลังคำนาม
จำแนกคำนามให้มีรูปและอรรถต่างกัน
เพื่อให้มีเนื้อความสัมพันธ์กับบทอื่นในประโยคได้
วิเคราะห์ว่า "กมฺมาทิวเสน
เอกตฺตาทิวเสน จ ลิงฺคตถํ
วิภชนฺตีติ วิภตฺติโย
ศัพท์ที่จำแนกอรรถของลิงค์
โดยกรรมและเอกพจน์เป็นต้น
ชื่อว่าวิภัตติ" มี
๑๔ ตัว เป็นเอกพจน์ ๗ พหูพจน์
๗ ดังนี้
นามวิภัตติ
๑๔ ตัว พร้อมคำแปล
ลำดับ
|
เอก.
|
พหุ.
|
คำแปล
|
ปฐมา (ที่ ๑) | สิ | โย | อันว่า (หรือไม่แปลวิภัตติ) |
อาลปนะ | สิ | โย | แน่ะ ดูก่อน ข้าแต่ นี่ (หรือไม่แปลวิภัตติ) |
ทุติยา (ที่ ๒) | อํ | โย | ซึ่ง สู่ ยัง สิ้น ตลอด กะ เฉพาะ |
ตติยา (ที่ ๓) | นา | หิ | ด้วย โดย อัน ตาม เพราะ มี ด้วยทั้ง |
จตุตถี (ที่ ๔) | ส | นํ | แก่ เพื่อ ต่อ สำหรับ |
ปัญจมี (ที่ ๕) | สฺมา | หิ | แต่ จาก กว่า เหตุ เพราะ |
ฉัฏฐี (ที่ ๖) | ส | นํ | แห่ง ของ เมื่อ |
สัตตมี (ที่ ๗) | สฺมึ | สุ | ใน ใกล้ ที่ ครั้นเมื่อ ในเพราะ เหนือ บน |
นามวิภัตติเหล่านี้มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง ควรจำให้ขึ้นใจ, ปฐมากับอาลปนะ ใช้วิภัตติตัวเดียวกัน, วิภัตติฝ่ายพหุพจน์ เพิ่มคำว่า "ทั้งหลาย" ในคำแปลด้วย
บทที่
๙
สัททปทมาลา
สัททปทมาลา
คือวิธีรวมการจำแนกนามศัพท์ด้วยวิภัตติ
๑๔ ตัว (ถ้านับอาลปนะด้วยเป็น
๑๖ ตัว)
มาไว้เพื่อให้เห็นรูปศัพท์และเนื้อความที่แตกต่างกัน
มีเป็นประโยชน์ต่อการสัมพันธ์เนื้อความเข้ากับศัพท์อื่น
โดยจะจำแนกไปตามลำดับลิงค์และการันต์
นามศัพท์ที่เป็นลิงค์และการันต์เดียวกัน
มีการจำแนกเป็นแบบเดียวกัน
ซึ่งจะง่ายต่อการกำหนดรู้
ศัพท์ที่สามารถนำมาจำแนกด้วยนามวิภัตติได้นั้น
มี ๗ ประเภท คือ สุทธนาม คุณนาม
สัพพนาม สังขยานาม สมาสนาม
ตัทธิตนาม และกิตกนาม
ส่วนศัพท์จำพวกอุปสัคและนิบาต
แม้จะประกอบอรรถของวิภัตติได้ก็ประกอบได้เฉพาะบางอรรถ
จึงจะไม่นำมาจำแนกให้เห็นเป็นตัวอย่าง
เมื่อเรียนไปถึงอุปสัคและนิบาต
ในบทที่ ๑๑ ก็จะสามารถเข้าใจได้โดยไม่ยาก
ต่อไปจะยกตัวอย่างการจำแนกนามศัพท์ทั้ง
๗ ประเภท โดยวิภัตติไป
ตามลำดับลิงค์และการันต์
ปุงลิงค์
(๑)
ปุงลิงค์ อการันต์
ปุริสสัททปทมาลา (บุรุษ,
ชาย)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจะ
|
ปฐมา
|
ปุริโส
|
ปุริสา
|
อาลปนะ
|
ปุริส
ปุริสา
|
ปุริสา
|
ทุติยา
|
ปุริสํ
|
ปุริเส
|
ตติยา
|
ปุริเสน
|
ปุริเสหิ
ปุริเสภิ
|
จตุตถี
|
ปุริสสฺส
(ปุริสาย ปุริสตฺถํ)*
|
ปุริสานํ
|
ปัญจมี
|
ปุริสา
ปุริสมฺหา ปุริสสฺมา
|
ปุริเสหิ
ปุริเสภิ
|
ฉัฏฐี
|
ปุริสสฺส
|
ปุริสานํ
|
สัตตมี
|
ปุริเส
ปุริสมฺหิ ปุริสสฺมึ
|
ปุริเสสุ
|
* รูปว่า
ปุริสาย ปุริสตฺถํ มีใช้ในอรรถ
ตุํ ปัจจัย แปลว่า "เพื่อ"
เท่านั้น
ศัพท์จำแนกตาม
พุทฺธ | พระพุทธเจ้า | ธมฺม | พระธรรม |
สํฆ (สงฺฆ) | พระสงฆ์ | โลก | โลก |
อาจริย | อาจารย์ | มนุสฺส | มนุษย์ |
นร | คน | สกุณ | นก |
ทารก | เด็กชาย | รุกฺข | ต้นไม้ |
ปมาท | ความประมาท | จาค | การสละ |
โลภ | ความโลภ | โทส | ความโกรธ |
โมห | ความหลง | คาม | หมู่บ้าน เป็นต้น |
(๒)
ปุงลิงค์ อการันต์
มนสัททปทมาลา (ใจ)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
มโน
|
มนา
|
อาลปนะ
|
มน
มนา
|
มนา
|
ทุติยา
|
มนํ
|
มเน
|
ตติยา
|
มนสา
มเนน
|
มเนหิ
มเนภิ
|
จตุตถี
|
มนโส
มนสฺส
|
มนานํ
|
ปัญจมี
|
มนา
มนมฺหา มนสฺมา
|
มเนหิ
มเนภิ
|
ฉัฏฐี
|
มนโส
มนสฺส
|
มนานํ
|
สัตตมี
|
มนสิ
มเน มนมฺหิ มนสฺมึ
|
มเนสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
มโน วโจ
วโย เตโช
ตโป เจโต ตโม ยโส
อโย ปโย
สิโร ฉนฺโท สโร
อุโร รโห อโห.
ใจ
วาจา วัย เดช
ตบะ ใจ ความมืด
ยศ
เหล็ก น้ำนม
ศีรษา ฉันท์
สระน้ำ อก ที่ลับ
วัน
(๓)
ปุงลิงค์ อการันต์
คจฺฉนฺตสัททปทมาลา
(ผู้ไปอยู่)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
คจฺฉํ
คจฺฉนฺโต
|
คจฺฉนฺโต
คจฺฉนฺตา
|
อาลปนะ
|
คจฺฉํ
คจฺฉ คจฺฉา
|
คจฺฉนฺโต
คจฺฉนฺตา
|
ทุติยา
|
คจฺฉนฺตํ
|
คจฺฉนฺเต
|
ตติยา
|
คจฺฉตา
คจฺฉนฺเตน
|
คจฺฉนฺเตหิ
คจฺฉนฺเตภิ
|
จตุตถี
|
คจฺฉโต
คจฺฉนฺตสฺส
|
คจฺฉตํ
คจฺฉนฺตานํ
|
ปัญจมี
|
คจฺฉตา คจฺฉนฺตา
คจฺฉนฺตมฺหา
คจฺฉนฺตสฺมา
|
คจฺฉนฺเตหิ
คจฺฉนฺเตภิ
|
ฉัฏฐี
|
คจฺฉโต
คจฺฉนฺตสฺส
|
คจฺฉตํ
คจฺฉนฺตานํ
|
สัตตมี
|
คจฺฉติ คจฺฉนฺเต
คจฺฉนฺตมฺหิ
คจฺฉนฺตสมึ
|
คจฺฉนฺเตสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
คจฺฉํ
มหํ จรํ
ติฏฺฐํ ททํ
ภุญฺชํ สุณํ
ปจํ
ชยํ
ชีรํ วจํ
มียํ
สรํ กุพฺพํ
ชปํ วชํ.
ผู้ไป ผู้ประเสริฐ
ผู้เที่ยวไป ผู้ยืน
ผู้ให้ ผู้บริโภค
ผู้ฟัง ผู้หุง
ผู้ชนะ ผู้ชรา
ผู้กล่าว ผู้ตาย
ผู้คิดถึง ผู้กระทำ
ผู้สวด ผู้ไป
(๔) ปุงลิงค์
อการันต์ ภวนฺตสัททปทมาลา
(ผู้เจริญ)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
หพุวจนะ
|
ปฐมา
|
ภวํ
|
โภนฺโต
ภวนฺโต ภวนฺตา
|
อาลปนะ
|
โภ
ภนฺเต โภนฺต โภนฺตา
|
โภนฺโต
ภวนฺโต ภวนฺตา
|
ทุติยา
|
ภวนฺตํ
|
โภนฺเต
ภวนฺเต
|
ตติยา
|
โภตา
ภวตา ภวนฺเตน
|
ภวนฺเตหิ
ภวนฺเตภิ
|
จตุตถี
|
โภโต
ภวโต ภวนฺตสฺส
|
ภวตํ
ภวนฺตานํ
|
ปัญจมี
|
ภวตา ภวนฺตา
ภวนฺตมฺหา
ภวนฺตสฺมา
|
ภวนฺเตหิ
ภวนฺเตภิ
|
ฉัฏฐี
|
โภโต
ภวโต ภวนฺตสฺส
|
ภวตํ
ภวนฺตานํ
|
สัตตมี
|
ภวนติ ภวนฺเต
ภวนฺตมฺหิ
ภวนฺตสฺมึ
|
ภวนฺเตสุ
|
(๕) ปุงลิงค์ อการันต์ ภทนฺตสัททปทมาลา (ผู้เจริญ)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
ภทนฺโต
|
ภทนฺตา
|
อาลปนะ
|
ภนฺเต ภทฺทนฺต
ภทฺทนฺเต
ภทนฺต
ภทนฺตา
|
ภนฺเต
ภทฺทนฺตา ภทนฺตา
|
ที่เหลือจำแนกเหมือน
ปุริส ศัพท์
|
(๖) ปุงลิงค์ อการันต์ สนฺตสัททปทมาลา (สัตบุรุษ)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
สํ
สนฺโต
|
สนฺโต
สนฺตา
|
อาลปนะ
|
สํ
ส สา
|
สนฺโต
สนฺตา
|
ทุติยา
|
สนฺตํ
|
สนฺเต
|
ตติยา
|
สตา
สนฺเตน
|
สนฺเตหิ
สพฺภิ
|
จตุตถี
|
สโต
สนฺตสฺส
|
สตํ
สนฺตานํ
|
ปัญจมี
|
สตา
สนฺตา สนฺตมฺหา สนฺตสฺมา
|
สนฺเตหิ
สพฺภิ
|
ฉัฏฐี
|
สโต
สนฺตสฺส
|
สตํ
สนฺตานํ
|
สัตตมี
|
สติ
สนฺเต สนฺตมฺหิ สนฺตสฺมึ
|
สนฺเตสุ
|
(๗) ปุงลิงค์ อการันต์ ราชสัททปทมาลา (พระราชา)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
ราชา
|
ราชาโน
|
อาลปนะ
|
ราช
|
ราชาโน
|
ทุติยา
|
ราชานํ
ราชํ
|
ราชาโน
|
ตติยา
|
รญฺญา
|
ราชูหิ
ราชูภิ ราเชหิ ราเชภิ
|
จตุตถี
|
รญฺโญ
ราชิโน
|
รญฺญํ
ราชูนํ ราชานํ
|
ปัญจมี
|
รญฺญา
|
ราชูหิ
ราชูภิ ราเชหิ ราเชภิ
|
ฉัฏฐี
|
รญฺโญ
ราชิโน
|
รญฺญํ
ราชูนํ ราชานํ
|
สัตตมี
|
รญฺเญ
ราชินิ
|
ราชูสุ
ราเชสุ
|
(๘) ปุงลิงค์ อการันต์ มหาราชสัททปทมาลา (พระมหาราชา)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
มหาราชา
|
มหาราชาโน
|
อาลปนะ
|
มหาราช
|
มหาราชาโน
|
ทุติยา
|
มหาราชํ
|
มหาราเช
|
ตติยา
|
มหาราเชน
|
มหาราเชหิ
มหาราเชภิ
|
จตุตถี
|
มหาราชสฺส
|
มหาราชานํ
|
ปัญจมี
|
มหาราชา มหาราชมฺหา
มหาราชสฺมา
|
มหาราเชหิ
มหาราเชภิ
|
ฉัฏฐี
|
มหาราชสฺส
|
มหาราชานํ
|
สัตตมี
|
มหาราชสฺมึ
|
มหาราเชสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
เทวราช เทวราช, เทพเจ้า นาคราช พญานาค
มิคราช พญาเนื้อ หํสราช พญาหงส์
สีหราช ราชสีห์
ศัพท์เหล่านี้สามารถจำแนกตาม ราช ศัพท์ได้ด้วย
(๙) ปุงลิงค์ อการันต์ อตฺตสัททปทมาลา (ตน)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
อตฺตา
|
อตฺตาโน
|
อาลปนะ
|
อตฺต
|
อตฺตาโน
|
ทุติยา
|
อตฺตานํ
อตฺตํ
|
อตฺตาโน
|
ตติยา
|
อตฺตนา
อตฺเตน
|
อตฺตเนหิ
อตฺตเนภิ
|
จตุตถี
|
อตฺตโน
|
อตฺตานํ
|
ปัญจมี
|
อตฺตนา
|
อตฺตเนหิ
อตฺตเนภิ
|
ฉัฏฐี
|
อตฺตโน
|
อตฺตานํ
|
สัตตมี
|
อตฺตนิ
|
อตฺเตสุ
|
อตฺต ศัพท์ที่ใช้ในรูปเอกวจนะเป็นส่วนมาก บางที่ท่านใช้เอกวจนะควบกัน ๒ ตัวเป็นพหุวจนะ เช่น อตฺตโน อตฺตโน ของตน ๆ เป็นต้น
(๑๐) ปุงลิงค์ อการันต์ พฺรหฺมสัททปทมาลา (พรหม)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
พฺรหฺมา
|
พฺรหฺมาโน
|
อาลปนะ
|
พฺรหฺเม
|
พฺรหฺมาโน
|
ทุติยา
|
พฺรหฺมานํ
|
พฺรหฺมาโน
|
ตติยา
|
พฺรหฺมุนา
|
พฺรหฺเมหิ
พฺรหฺเมภิ
|
จตุตถี
|
พฺรหฺมุโน
|
พฺรหมานํ
|
ปัญจมี
|
พฺรหฺมุนา
|
พฺรหฺเมหิ
พฺรหฺเมภิ
|
ฉัฏฐี
|
พฺรหฺมุโน
|
พฺรหฺมานํ
|
สัตตมี
|
พฺรหฺมนิ
|
พฺรหฺเมสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
มุนิ พระมุนี อิสิ ฤาษี
มณิ แก้วมณี นิธิ ขุมทรัพย์
สมาธิ สมาธิ คิริ ภูเขา
กวิ นักกวี สารถิ คนขับรถ
อญฺชลิ พนมมือ อหิ งู
อริ ข้าศึก วิธิ วิธีการ
ปติ ผู้ปกครอง อธิปติ ผู้เป็นใหญ่
คหปติ คฤหบดี, เจ้าของเรือน อสิ ดาบ
ปุงลิงค์ อีการันต์ ทณฺฑีสัททปทมาลา (ผู้มีไม้เท้า)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
ทณฺฑี
|
ทณฺฑี
ทณฺฑิโน
|
อาลปนะ
|
ทณฺฑิ
|
ทณฺฑี
ทณฺฑิโน
|
ทุติยา
|
ทณฺฑินํ
ทณฺฑึ
|
ทณฺฑี
ทณฺฑิโน
|
ตติยา
|
ทณฺฑินา
|
ทณฺฑีหิ
ทณฺฑีภิ
|
จตุตถี
|
ทณฺฑิโน
ทณฺฑิสฺส
|
ทณฺฑีนํ
|
ปัญจมี
|
ทณฺฑินา
ทณฺฑิมฺหา ทณฺฑิสฺมา
|
ทณฺฑีหิ
ทณฺฑีภิ
|
ฉัฏฐี
|
ทณฺฑิโน
ทณฺฑิสฺส
|
ทณฺฑีนํ
|
สัตตมี
|
ทณฺฑินิ
ทณฺฑิมฺหิ ทณฺฑิสฺมึ
|
ทณฺฑีสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
เมธาวี ผู้มีปัญญา ธมฺมี ผู้มีธรรม
หตฺถี ช้าง, หัตถี, ผู้มีงวง โยคี ผู้มีความเพียร
ญาณี ผู้มีญาณ จกฺกี ผู้มีจักร
ปกฺขี นก, ปักษี, ผู้มีปีก ทุกฺขี ผู้มีความทุกข์
ทาฐี ผู้มีเขี้ยว รฏฺฐี ผู้มีแว่นแคว้น
ฉตฺตี ผู้มีร่ม มาลี ผู้มีดอกไม้
ภาคี ผู้มีส่วน โภคี ผู้มีทรัพย์
สามี สามี, เจ้าของ สสี ดวงจันทร์
สุขี ผู้มีความสุข ธมฺมจารี ผู้ประพฤติธรรม
(๑) ปุงลิงค์ อุการันต์ ภิกฺขุสัททปทมาลา (ภิกษุ)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
ภิกฺขุ
|
ภิกฺขู
ภิกฺขโว
|
อาลปนะ
|
ภิกฺขุ
|
ภิกฺขู
ภิกฺขเว ภิกฺขโว
|
ทุติยา
|
ภิกฺขุํ
|
ภิกฺขู
ภิกฺขโว
|
ตติยา
|
ภิกฺขุนา
|
ภิกฺขูหิ
ภิกฺขูภิ ภิกฺขุหิ ภิกฺขุภิ
|
จตุตถี
|
ภิกฺขุโน
ภิกฺขุสฺส
|
ภิกฺขุนํ
ภิกฺขุนํ
|
ปัญจมี
|
ภิกฺขุนา
ภิกฺขุมฺหา ภิกฺขุสฺมา
|
ภิกฺขูหิ
ภิกฺขูภิ ภิกฺขุหิ ภิกฺขุภิ
|
ฉัฏฐี
|
ภิกฺขุโน
ภิกฺขุสฺส
|
ภิกฺขูนํ
ภิกฺขุนํ
|
สัตตมี
|
ภิกฺขุมฺหิ
ภิกฺขุสมึ
|
ภิกฺขูสุ
ภิกฺขุสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
ครุ ครู เหตุ เหตุ
ชนฺตุ สัตว์ เสตุ สะพาน
เกตุ เกตุ, ยอด ราหุ ราหู
ภานุ ดวงอาทิตย์, รัศมี เวฬุ ไม้ไผ่
มจฺจุ ความตาย พนฺธุ เครือญาติ
เนรุ, เมรุ ภูเขาพระสุเมรุ อุจฺฉุ อ้อย
สินฺธุ แม่น้ำสินธุ สตฺตุ ศัตรู
การุ นายช่าง รุรุ กวางรุรุ
ปงฺคุ คนเปลี้ย ปฏุ คนฉลาด
(๒) ปุงลิงค์ อุการันต์ สตฺถุสัททปทมาลา (พระศาสดา)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
สตฺถา
|
สตฺถาโร
|
อาลปนะ
|
สตฺถ
สตฺถา
|
สตฺถาโร
|
ทุติยา
|
สตฺถารํ
|
สตฺถาเร
สตฺถาโร
|
ตติยา
|
สตฺถารา
สตฺถุนา
|
สตฺถาเรหิ
สตฺถาเรภิ
|
จตุตถี
|
สตฺถุ
สตฺถุโน
|
สตฺถารานํ
สตฺถานํ
|
ปัญจมี
|
สตฺถารา
|
สตฺถาเรหิ
สตฺถาเรภิ
|
ฉัฏฐี
|
สตฺถุ
สตฺถุโน
|
สตฺถารานํ
สตฺถานํ
|
สัตตมี
|
สตฺถริ
|
สตฺถาเรสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
กตฺตุ ผู้กระทำ โสตุ ผู้ฟัง, ผู้เรียน
เนตุ ผู้นำไป ญาตุ ผู้รู้
ทาตุ ผู้ให้ ธาตุ ผู้ทรงไว้
นตฺตุ หลาน เภตฺตุ ผู้ทำลาย
เฉตฺตุ ผู้ตัด วตฺตุ ผู้กล่าว
ภตฺตุ ผู้เลี้ยง, สามี เชตุ ผู้ชนะ
โพทฺธุ ผู้รู้ วิญฺญาเปตุ ผู้ให้รู้
กาเรตุ ผู้ให้ทำ สาเวตุ ผู้ให้ฟัง, ผู้ประกาศ
(๓) ปุงลิงค์ อุการันต์ ปิตุสัททปทมาลา (บิดา)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
ปิตา
|
ปิตโร
|
อาลปนะ
|
ปิต
ปิตา
|
ปิตโร
|
ทุติยา
|
ปิตรํ
|
ปิตโร
|
ตติยา
|
ปิตรา
ปิตุนา
|
ปิตเรหิ
ปิตเรภิ ปิตูหิ ปิตูภิ
ปิตุหิ ปิตุภิ
|
จตุตถี
|
ปิตุ
ปิตุโน ปิตุสฺส
|
ปิตรานํ
ปิตานํ ปิตูนํ ปิตุนํ
|
ปัญจมี
|
ปิตรา
|
ปิตเรหิ
ปิตเรภิ ปิตูหิ ปิตูภิ
ปิตุหิ ปิตุภิ
|
ฉัฏฐี
|
ปิตุ
ปิตุโน ปิตุสฺส
|
ปิตรานํ
ปิตานํ ปิตูนํ ปิตุนํ
|
สัตตมี
|
ปิตริ
|
ปิตเรสุ
ปิตูสุ ปิตุสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
ภาตุ พี่น้องชาย
(๔) ปุงลิงค์ อุการันต์ คุณวนฺตุสัททปทมาลา (ผู้มีคุณ)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
คุณวา
|
คุณวนฺโต
คุณวนฺตา
|
อาลปนะ
|
คุณวํ
คุณว คุณวา
|
คุณวนฺโต
คุณวนฺตา
|
ทุติยา
|
คุณวนฺตํ
|
คุณวนฺเต
|
ตติยา
|
คุณวตา
คุณวนฺเตน
|
คุณวนฺเตหิ
คุณวนฺเตภิ
|
จตุตถี
|
คุณวโต
คุณวนฺตสฺส
|
คุณวตํ
คุณวนฺตานํ
|
ปัญจมี
|
คุณวตา คุณวนฺตา
คุณวนฺตมฺหา
คุณวนฺตสฺมา
|
คุณวนฺเตหิ
คุณวนฺเตภิ
|
ฉัฏฐี
|
คุณวโต
คุณวนฺตสฺส
|
คุณวตํ
คุณวนฺตานํ
|
สัตตมี
|
คุณวติ คุณวนฺเต
คุณวนฺตมฺหิ
คุณวนฺตสฺมึ
|
คุณวนฺเตสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
คณวนฺตุ ผู้มีคณะ กุลวนฺตุ ผู้มีตระกูลดี
ผลวนฺตุ ต้นไม้มีผล ยสวนฺตุ ผู้มียศ
ธนวนฺตุ ผู้มีทรัพย์ สุตวนฺตุ ผู้มีการศีกษา
ภควนฺตุ พระพุทธเจ้า, ผู้มีโชค หิมวนฺตุ ภูเขาหิมาลัย
พลวนฺตุ ผู้มีกำลัง สีลวนฺตุ ผู้มีศีล
ปญฺญวนฺตุ ผู้มีปัญญา สติมนฺตุ ผู้มีสติ
ฐิติมนฺตุ ผู้มีความมั่นคง คติมนฺตุ ผู้มีปัญญา
มติมนฺตุ ผู้มีปัญญา มุติมนฺตุ ผู้มีปัญญา
มุตติมนฺตุ ผู้มีความหลุดพ้น ชุติมนฺตุ ผู้มีรัศมี
สิริมนฺตุ ผู้มีสิริ กลิมนฺตุ ผู้มีโทษ
หิริมนฺตุ ผู้มีความละอาย ถุติมนฺตุ ผู้ได้รับยกย่อง
ยติมนฺตุ ผู้มีความเพียร สุจิมนฺตุ ผู้สะอาด
พลิมนฺตุ ผู้มีพลีกรรม กสิมนฺตุ ชาวนา
รุจิมนฺตุ ผู้มีความยินดี จกฺขุมนฺตุ ผู้มีจักษุ
(๑) ปุงลิงค์ อูการันต์ อภิภูสัททปทมาลา (ผู้เป็นใหญ่)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
อภิภู
|
อภิภู
อภิภุโว
|
อาลปนะ
|
อภิภุ
|
อภิภู
อภิภุโว
|
ทุติยา
|
อภิภุํ
|
อภิภู
อภิภุโว
|
ตติยา
|
อภิภุนา
|
อภิภูหิ
อภิภูภิ
|
จตุตถี
|
อภิภุโน
อภิภุสฺส
|
อภิภูนํ
|
ปัญจมี
|
อภิภุนา
อภิภุมฺหา อภิภุสฺมา
|
อภิภูหิ
อภิภูภิ
|
ฉัฏฐี
|
อภิภุโน
อภิภุสฺส
|
อภิภูนํ
|
สัตตมี
|
อภิภุมฺหิ
อภิภุสฺมึ
|
อภิภูสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
สยมฺภู พระสยัมภู, ผู้ตรัสรู้เอง ปราภิภู ผู้ปกครองผู้อื่น
เวสฺสภู พระเวสสภูพุทธเจ้า
(๒) ปุงลิงค์ อูการันต์ สพฺพญฺญูปทมาลา (ผู้รู้ทุกสิ่ง)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
สพฺพญฺญู
|
สพฺพญฺญู
สพฺพญฺญุโน
|
อาลปนะ
|
สพฺพญฺญุ
|
สพฺพญฺญู
สพฺพญฺญุโน
|
ทุติยา
|
สพฺพญฺญุ
|
สพฺพญฺญู
สพฺพญฺญุโน
|
ที่เหลือแจกตาม
อภิภู ศัพท์
|
ศัพท์จำแนกตาม
กตญฺญู ผู้กตัญญู ปารคู ผู้ถึงฝั่ง
ธมฺมญฺญู ผู้รู้ธรรม มคฺคญฺญู ผู้รู้ทาง
อตฺถญฺญู ผู้รู้ประโยชน์ กาลญฺญู ผู้รู้กาลเวลา
รตฺตญฺญู ผู้รู้ราตรี มตฺตญฺญู ผู้รู้ประมาณ
วิญฺญู ผู้รู้ ตถญฺญู ผู้รู้ความจริง
โลกวิทู ผู้รู้แจ้งโลก อนฺตคู ผู้ถึงที่สุด
ปุงลิงค์ โอการันต์ โคสัททปทมาลา (วัว, โค)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
โค
|
คาโว
คโว
|
อาลปนะ
|
โค
|
คาโว
คโว
|
ทุติยา
|
คาวุํ
คาวํ ควํ
|
คาโว
คโว
|
ตติยา
|
คาเวน
คเวน
|
โคหิ
โคภิ
|
จตุตถี
|
คาวสฺส
ควสฺส
|
ควํ
คุนฺนํ โคนํ
|
ปัญจมี
|
คาวา คาวมฺหา
คาวสฺมา
ควา
ควมฺหา ควสฺมา
|
โคหิ
โคภิ
|
ฉัฏฐี
|
คาวสฺส
ควสฺส
|
ควํ
คุนฺนํ โคนํ
|
สัตตมี
|
คาเว คาวมฺหิ
คาวสฺมึ
คเว
ควมฺหิ ควสฺมึ
|
คาเวสุ
คเวสุ โคสุ
|
อิตถีลิงค์
อิตถีลิงค์ อาการันต์ กญฺญาสัททปทมาลา (สาวน้อย)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
กญฺญา
|
กญฺญา
กญฺญาโย
|
อาลปนะ
|
กญฺเญ
|
กญฺญา
กญฺญาโย
|
ทุติยา
|
กญฺญํ
|
กญฺญา
กญฺญาโย
|
ตติยา
|
กญฺญาย
|
กญฺญาหิ
กญฺญาภิ
|
จตุตถี
|
กญฺญาย
|
กญฺญานํ
|
ปัญจมี
|
กญฺญาย
|
กญฺญาหิ
กญฺญาภิ
|
ฉัฏฐี
|
กญฺญาย
|
กญฺญานํ
|
สัตตมี
|
กญฺญาย
กญฺญายํ
|
กญฺญาสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
สทฺธา ความเชื่อ เมธา ปัญญา
ปญฺญา ปัญญา วิชฺชา ความรู้
จินฺตา ความคิด มนฺตา ความคิด
ตณฺหา ตัณหา, ความอยาก วีณา พิณ
อิจฺฉา ความปรารถนา มายา มารยา
เมตฺตา เมตตา มตฺตา มาตรา, ประมาณ
สิกฺขา ข้อควรศึกษา ภิกฺขา ข้าว
คีวา คอ ชิวฺหา ลิ้น
วาจา คำพูด ฉายา ร่มเงา
คงฺคา แม่น้ำ นาวา เรือ
คาถา คาถา เลขา รอยเขียน
สาลา ศาลา มาลา พวงดอกไม้
เวลา เวลา ปูชา การบูชา
เวทนา เวทนา สญฺญา สัญญา
เจตนา เจตนา ปชา หมู่สัตว์
เทวตา เทวดา ปริสา บริษัท
วิสาชา นางวิสาขา, ชื่อดาว สาขา กิ่งไม้
ชฎา ชฎา กรุณา กรุณา
กถา ถ้อยคำ ปปา ศาลาน้ำดื่ม
ปภา รัศมี, แสงสว่าง สีมา ขอบเขต
ขมา ความอดทน ชายา ภรรยา
สุรา เหล้า, สุรา ตุลา ตราชั่ง
สิลา ก้อนหิน ลีลา ท่าทาง
กลา ส่วน (เสี้ยว) วสุธา แผ่นดิน
อจฺฉรา นางอัปสร คุหา ถ้ำ
ลสิกา ไขข้อ ชุณฺหา แสงจันทร์
อีหา ความพยายาม นาสา จมูก
ทิสา ทิศ มญฺชุสา หีบ
ลาลา น้ำลาย มูสา เบ้า
โทลา ชิงช้า ขตฺติยา กษัตรี
วาสนา วาสนา สุธา อาหารทิพย์
นิทฺทา การหลับ ลตา เถาวัลย์
วิสิขา ถนน, ซอย สิขา ยอด
สภา ที่ประชุม โคธา เหี้ย
อิตถีลิงค์ อิการันต์ รตฺติสัททปทมาลา (ราตรี)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
รตฺติ
|
รตฺตี
รตฺติโย รตฺโย
|
อาลปนะ
|
รตฺติ
|
รตฺตี
รตฺติโย
|
ทุติยา
|
รตฺตึ
|
รตฺตี
รตฺติโย
|
ตติยา
|
รตฺติยา
|
รตฺตีหิ
รตฺตีภิ รตฺติหิ รตฺติภิ
|
จตุตถี
|
รตฺติยา
|
รตฺตีนํ
รตฺตินํ
|
ปัญจมี
|
รตฺติยา
รตฺยา
|
รตฺตีหิ
รตฺตีภิ รตฺติหิ รตฺติภิ
|
ฉัฏฐี
|
รตฺติยา
|
รตฺตีนํ
รตฺตินํ
|
สัตตมี
|
รตฺยํ รตฺติยํ
รตฺยา
รตฺติยา
รตฺตึ รตฺโต
|
รตฺตีสุ
รตฺติสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
ศัพท์จำแนกตามต่อไปนี้ให้เว้นรูปว่า รตฺโย (ปฐมาพหุ) รตฺยา (ปัญจมี-สัตตมีเอกะ) รตฺยํ รตฺตึ รตฺโต (สัตตมีเอกะ)
ปตฺติ ทหารบก ยุตฺติ ความสมควร
วุตฺติ คำอธิบาย กิตฺติ เกียรติ, ชื่อเสียง
มุตฺติ ความหลุดพ้น ขนฺติ ความอดทน
กนฺติ ความชอบใจ สนฺติ ความสงบ
ตนฺติ แบบแผน สิทฺธิ ความสำเร็จ
สุทฺธิ ความบริสุทธิ์ อิทฺธิ ความสำเร็จ
วุทฺธิ ความเจริญ พุทฺธิ ปัญญา
โพธิ โพธิญาณ ภูมิ แผ่นดิน
ชาติ ชาติ, การเกิด ปีติ ปิติ
สูติ การเกิด สาณิ ผ้าม่าน
นนฺทิ ความเพลิดเพลิน ทิฏฺฐิ ความเห็น
วุฑฺฒิ ความเจริญ ปาฬิ บาลี
ตุฏฺฐิ ความยินดี นาฬิ ทะนาน, กระดอง
เกฬิ กีฬา, การเล่น สติ ความระลึก
มติ ความรู้ คติ การไป
จุติ ความตาย ธิติ ความเพียร
ยุวติ ผู้หญิง รติ ความพอใจ
รุจิ, รสฺมิ รัศมี อสนิ สายฟ้าผ่า
ธูลิ ธุลี, ฝุ่น องฺคุลิ นิ้ว
อิตถีลิงค์ อีการันต์ อิตฺถีสัททปทมาลา (หญิง, สตรี)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
อิตฺถี
|
อิตฺถี
อิตฺถิโย
|
อาลปนะ
|
อิตฺถิ
|
อิตฺถี
อิตฺถิโย
|
ทุติยา
|
อิตฺถิยํ
อิตฺถึ
|
อิตฺถี
อิตฺถิโย
|
ตติยา
|
อิตฺถิยา
|
อิตฺถีหิ
อิตฺถีภิ
|
จตุตถี
|
อิตฺถิยา
|
อิตฺถีนํ
|
ปัญจมี
|
อิตฺถิยา
|
อิตฺถีหิ
อิตฺถีภิ
|
ฉัฏฐี
|
อิตฺถิยา
|
อิตฺถีนํ
|
สัตตมี
|
อิตฺถิยา
อิตฺถิยํ
|
อิตฺถีสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
มหี แผ่นดิน วาปี สระน้ำ
ปาฏลี ต้นแคฝอย กทลี ต้นกล้วย
ฆฏี หม้อน้ำ นารี ผู้หญิง
กุมารี เด็กหญิง ตรุณี หญิงสาว
พฺราหฺมณี นางพราหมณี สขี เพื่อนหญิง
กินฺนรี กินนรี นาคี นางนาค
เทวี เทพธิดา, มเหสี ยกฺขี นางยักษ์
กากี อีกา กุกฺกุฏี แม่ไก่
ปุถวี, ปถวี แผ่นดิน คาวี แม่โค
คุณวตี หญิงมีคุณ สีลวตี หญิงมีศีล
กุลวตี หญิงมีตระกูล ยสวตี หญิงมียศ
รูปวตี หญิงรูปงาม สติมตี หญิงมีสติ
โคตมี นางโคตมี ภิกฺขุนี ภิกษุณี
คหปตานี แม่บ้าน ยกฺขินี นางยักษ์
เมธาวินี หญิงมีปัญญา ปิยภาณินี หญิงพูดจาไพเราะ
ธมฺมจารินี หญิงผู้ประพฤติธรรม ภูตวานี หญิงผู้กล่าวตามจริง
อตฺถวาทินี หญิงผู้บอกประโยชน์ ธมฺมวาทินี หญิงผู้บอกธรรม
(๑) อิตถีลิงค์ อุการันต์ ยาคุสัททปทมาลา (ข้าวต้ม)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
ยาคุ
|
ยาคู
ยาคุโย
|
อาลปนะ
|
ยาคุ
|
ยาคู
ยาคุโย
|
ทุติยา
|
ยาคุํ
|
ยาคู
ยาคุโย
|
ตติยา
|
ยาคุยา
|
ยาคูหิ
ยาคูภิ ยาคุหิ ยาคุภิ
|
จตุตถี
|
ยาคุยา
|
ยาคูนํ
ยาคุนํ
|
ปัญจมี
|
ยาคุยา
|
ยาคูหิ
ยาคูภิ ยาคุหิ ยาคุภิ
|
ฉัฏฐี
|
ยาคุยา
|
ยาคูนํ
ยาคุนํ
|
สัตตมี
|
ยาคุยา
ยาคุยํ
|
ยาคูสุ
ยาคุสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
กาสุ รู, ช่อง, หลุม, บ่อ ธาตุ ธาตุ
เธนุ แม่โคนม ททฺทุ โรคกลาก
กณฺฑุ โรคเกลื้อน กเรณุ ช้างพัง
รชฺชุ เชือก สสฺสุ แม่ยาย
(๒) อิตถีลิงค์ อุการันต์ มาตุสัททปทมาลา (มารดา)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
มาตา
|
มาตโร
|
อาลปนะ
|
มาต
มาตา
|
มาตโร
|
ทุติยา
|
มาตรํ
|
มาตเร
มาตโร
|
ตติยา
|
มาตรา
มาตุยา มตฺยา
|
มาตเรหิ มาตเรภิ
มาตูหิ มาตูภิ
มาตุหิ
มาตุภิ
|
จตุตถี
|
มาตุ
มาตุสฺส มาตุยา
|
มาตรานํ
มาตานํ มาตูนํ มาตุนํ
|
ปัญจมี
|
มาตรา
มาตุยา
|
มาตเรหิ มาตเรภิ
มาตูหิ มาตูภิ
มาตุหิ
มาตุภิ
|
ฉัฏฐี
|
มาตุ
มาตุสฺส มาตุยา
|
มาตรานํ
มาตานํ มาตูนํ มาตุนํ
|
สัตตมี
|
มาตริ
|
มาตเรสุ
มาตูสุ มาตุสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
ธีตุ, ทุหิตุ ลูกสาว
อิตถีลิงค์ อูการันต์ ชมฺพูสัททปทมาลา (ต้นหว้า)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
ชมฺพู
|
ชมฺพู
ชมฺพุโย
|
อาลปนะ
|
ชมฺพุ
|
ชมฺพู
ชมฺพุโย
|
ทุติยา
|
ชมฺพุํ
|
ชมฺพู
ชมฺพุโย
|
ตติยา
|
ชมฺพุยา
|
ชมฺพูหิ
ชมฺพูภิ
|
จตุตถี
|
ชมฺพุยา
|
ชมฺพูนํ
|
ปัญจมี
|
ชมฺพุยา
|
ชมฺพูหิ
ชมฺพูภิ
|
ฉัฏฐี
|
ชมฺพุยา
|
ชมฺพูนํ
|
สัตตมี
|
ชมฺพุยา
ชมฺพุยํ
|
ชมฺพูสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
วธู หญิงสาว สรภู แม่น้ำสรภู
สรพู ตุ๊กแก, จิ้งจก จมู ทหารราบ
สุตนู หญิงร่างกายงาม วามูรู หญิงขางาม
กจฺฉู โรคหิต สุภู หญิงคิ้วงาม
นาคนาสูรู หญิงขางามเหมือนงวงช้าง
ภู แผ่นดิน
นปุงสกลิงค์
(๑) นปุงสกลิงค์ อการันต์ จิตฺตสัททปทมาลา (จิต)
(๑) นปุงสกลิงค์ อการันต์ จิตฺตสัททปทมาลา (จิต)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
จิตฺตํ
|
จิตฺตา
จิตฺตานิ
|
อาลปนะ
|
จิตฺต
|
จิตฺตา
จิตตานิ
|
ทุติยา
|
จิตฺตํ
|
จิตฺเต
จิตฺตานิ
|
ตติยา
|
จิตฺเตน
|
จิตฺเตหิ
จิตฺเตภิ
|
จตุตถี
|
จิตฺตสฺส
|
จิตฺตานํ
|
ปัญจมี
|
จิตฺตา
จิตฺตมฺหา จิตฺตสฺมา
|
จิตฺเตหิ
จิตฺเตภิ
|
ฉัฏฐี
|
จิตฺตสฺส
|
จิตฺตานํ
|
สัตตมี
|
จิตฺเต
จิตฺตมฺหิ จิตฺตสฺมึ
|
จิตฺเตสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
ปุญฺญ | บุญ, กุศล | บาป | บาป, อกุศล |
ผล | ผล, ผลไม้ | รูป | รูป, รูปร่าง |
สาธน | ความสำเร็จ | โสต | หู, เครื่องฟัง |
ฆาน | จมูก | สุข | ความสุข |
ทุกฺข | ความทุกข์ | การณ | เหตุ |
ทาน | การให้ | สีล | ศีล |
ธน | ทรัพย์ | ฌาน | ฌาน |
มูล | มูล, ราก, ราคา | พล | กำลัง |
ชาล | ข่าย, แห | มงฺคล | มงคล |
นฬิน | ดอกบัว | ลิงฺค | ลิงค์, เพศ |
มุข | หน้า, ปาก | องฺค | อวัยวะ, องค์ |
อมฺพุช | ดอกบัว | ปุลิน | ทราย |
ธญฺญ | ข้าวเปลือก | ชล | น้ำ |
ปท | บท, นิพพาน | หิรญฺญ | เงิน |
อมต | นิพพาน | ปทุม | ดอกบัว |
ปณฺณ | ใบไม้, หนังสือ | สุสาน | สุสาน |
วน | ป่า | อาวุธ | อาวุธ |
หทย | หัวใจ, หทัยวัตถุ | จีวร | ผ้าจีวร |
วตฺถ | ผ้านุ่งห่ม | กุล | ตระกูล |
อินฺทฺริย | อินทรีย์ | นยน | นัยน์ตา |
วทน | หน้า | ยาน | ยานพาหนะ |
อุทาน | อุทาน | ปาน | น้ำดื่ม |
โลห | เหล็ก | รตน | แก้ว |
ปีฐ | เก้าอี้ | อณฺฑ | ไข่ |
มรณ | ความตาย | ภตฺต | ข้าวสวย, อาหาร |
ญาณ | ญาณ, ปัญญา | อารมฺมณ | อารมณ์ |
อรญฺญ | ป่า | ตาณ | นิพพาน |
นคร | เมือง | ตีร | ฝั่งน้ำ |
ฉตฺต | ฉัตร, ร่ม, เห็ด | อุทก | น้ำ |
(๒) นปุงสกลิงค์ อการันต์ กมฺมสัททปทมาลา (กรรม)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
กมฺมํ
|
กมฺมา
กมฺมานิ
|
อาลปนะ
|
กมฺม
|
กมฺมา
กมฺมานิ
|
ทุติยา
|
กมฺมํ
|
กมฺเม
กมฺมานิ
|
ตติยา
|
กมฺมุนา
กมฺมนา กมฺเมน
|
กมฺเมหิ
กมฺเมภิ
|
จตุตถี
|
กมฺมุโน
กมฺมสฺส
|
กมฺมานํ
|
ปัญจมี
|
กมฺมุนา กมฺมา
กมฺมมฺหา
กมฺมสฺมา
|
กมฺเมหิ
กมฺเมภิ
|
ฉัฏฐี
|
กมฺมสฺส
|
กมฺมานํ
|
สัตตมี
|
กมฺมนิ กมฺเม
กมฺมมฺหิ
กมฺมสฺมึ
|
กมฺเมสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
ถาม กำลัง อทฺธ ทางไกล
นปุงสกลิงค์ อาการันต์ อสฺสทฺธาสัททปทมาลา (ไม่มีศรัทธา)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
อสฺสทฺธํ
|
อสฺสทฺธา
อสฺสทฺธานิ
|
ที่เหลือจำแนกเหมือน
จิตฺต ศัพท์
|
นปุงสกลิงค์ อิการันต์ อฏฺฐิสัททปทมาลา (กระดูก, เมล็ด)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
อฏฺฐิ
|
อฏฺฐี
อฏฺฐีนิ
|
อาลปนะ
|
อฏฺฐิ
|
อฏฺฐี
อฏฺฐีนิ
|
ทุติยา
|
อฏฺฐึ
|
อฏฺฐี
อฏฺฐีนิ
|
ตติยา
|
อฏฺฐินา
|
อฏฺฐีหิ
อฏฺฐีภิ อฏฺฐิหิ อฏฺฐิภิ
|
จตุตถี
|
อฏฺฐิโน
อฏฺฐิสฺส
|
อฏฺฐีนํ
อฏฺฐินํ
|
ปัญจมี
|
อฏฺฐินา
อฏฺฐิมฺหา อฏฺฐิสฺมา
|
อฏฺฐีหิ
อฏฺฐีภิ อฏฺฐิหิ อฏฺฐิภิ
|
ฉัฏฐี
|
อฏฺฐิโน
อฏฺฐิสฺส
|
อฏฺฐีนํ
อฏฺฐินํ
|
สัตตมี
|
อฏฺฐิมฺหิ
อฏฺฐิสฺมึ
|
อฏฺฐีสุ
อฏฺฐิสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
สตฺถิ ขาอ่อน ทธิ นมส้ม
วาริ น้ำ สปฺปิ เนยใส
อกฺขิ, อจฺฉิ นัยน์ตา อจฺจิ เปลวไฟ
นปุงสกลิงค์ อีการันต์ สุขการีสัททปทมาลา (ทำให้มีความสุข)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
สุขการิ
|
สุขการี
สุขการีนิ
|
อาลปนะ
|
สุขการิ
|
สุขการี
สุขการีนิ
|
ทุติยา
|
สุขการึ
|
สุขการี
สุขการีนิ
|
ที่เหลือจำแนกเหมือน
ทณฺฑี ศัพท์
|
นปุงสกลิงค์ อุการันต์ อายุสัททปทมาลา (อายุ)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
อายุ
|
อายู
อายูนิ
|
อาลปนะ
|
อายุ
|
อายู
อายูนิ
|
ทุติยา
|
อายุํ
|
อายู
อายูนิ
|
ตติยา
|
อายุสา
อายุนา
|
อายูหิ
อายูภิ อายุหิ อายุภิ
|
จตุตถี
|
อายุโน
อายุสฺส
|
อายูนํ
อายุนํ
|
ปัญจมี
|
อายุนา
อายุมฺหา อายุสฺมา
|
อายูหิ
อายูภิ อายุหิ อายุภิ
|
ฉัฏฐี
|
อายุโน
อายุสฺส
|
อายูนํ
อายุนํ
|
สัตตมี
|
อายุมฺหิ
อายุสฺมึ
|
อายูสุ
อายุสุ
|
ศัพท์จำแนกตาม
จกฺขุ นัยน์ตา ทารุ ท่อนไม้
มธุ น้ำผึ้ง พินฺทุ จุด, หยดน้ำ
อมฺพุ น้ำ ติปุ ดีบุก
มตฺถุ เนยเหลว วตฺถุ วัตถุ, เรื่อง
ชตุ ครั่ง อสฺสุ น้ำตา
นปุงสกลิงค์ อูการันต์ โคตฺรภูสัททปทมาลา (จิตข้ามโคตร)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
โคตฺรภุ
|
โคตฺรภู
โคตฺรภูนิ
|
ที่เหลือจำแนกเหมือน
อภิภู ศัพท์
|
นปุงสกลิงค์ โอการันต์ จิตฺตโคสัททปทมาลา (วัวด่าง)
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
จิตฺตคุ
|
จิตฺตคู
จิตฺตคูนิ
|
ที่เหลือจำแนกเหมือน
อายุ ศัพท์
|
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen