Dienstag, 25. August 2015

พจนานุกรมกริยาอาขตยาต (ฉบับธรรมเจดีย์)

พจนานุกรมธาตุ เรียงตามหมวดธาตุ


๑ หมวด ภู ธาตุ

อกฺ คติยํ
ไป เดิน เดินไป ดำเนิน ดำเนินไป ถึง บรรลุ อกติ. น. อกฺข (ปุ.) คะแนน เกวียน กลุ่ม,ดุม,เพลา,เพลารถ. อกฺข อกฺขก (ปุ) ไหปลาร้า,รากขวัญ,กระดูกคร่อมต้นคอ.

อกฺ กุฎิลคติยํ
คด โค้งโกง งอ บิด บิดเป็นเกลียว ก. อกติ น. อกฺข (ปุ.) ลูกบาสก์ ลูกสกา,ลูกขลุบ,ลูกเต๋า,การพนัน.

อกฺขฺ ทสฺสเน
เห็น ดู แล แลดู มอง. ก. อกฺขติ. น. อกฺข. น. อกฺข. (ปุ.) ศาล (สถานที่ตัดสินคดี). อกฺข (นปุ) ตา,ดวงตา,อินทรีย์.

อกฺขฺ อพฺยตฺตทสฺสเน
เห็นแจ้ง เห็นแจ่มแจ้ง ฯลฯ ก. อกฺขติ. น. อกฺข (ปุ.) ศาล. อกฺขิ (นปุ) ตา.ดวงตา,นัยน์ตา (หมายเอาลูกตาที่กลอกไปมา)



อกฺข สงฺฆาเต
เบียดกัน ติดต่อกัน รวมกัน คละ คละกัน ระคน ปนกัน ก. อกฺขติ น.  อกฺขน (นปุ) การเบียดกัน ฯลฯ

อกิ อํกฺ อฺงฺกฺ ลกฺขเน ปริจเฉเท วา
กำหนด หมาย เครื่องหมาย คุณภาพ ก. อํกติ องฺกติ. น. อํก องฺก (ปุ.) เครื่องหมาย,รอย,สาย,แถว,แนว,รายเรื่อง,ส่วน,องก์ (เรื่อง ฉาก หนึ่งๆของละคร).

อกิ อํกฺ องฺกฺ คมเน
ไป เดิน เดินไป ดำเนิน ฯลฯ ก. อํกติ องฺกติ. น.  อํก องฺก (ปุ.) ตัก,พก,เอว,สะเอว,ข้าง,สีข้าง,บั้น,บั้นเอว,แขน,ไหล่,คบไม้,ที่,ตรา,หน้า (หน้าหนึ่งๆของหนังสือ).

อคฺ กุฎิลคติยํ
คด, ฯลฯ,ลำเอียง , ไม่เที่ยงธรรม. ก. อคติ. น. อคติ (อิต.) ความลำเอียง, ความไม่เที่ยงธรรม, ความไม่ยุติธรรม, ความไม่ชอบธรรม.

อคฺค กุฎิลคติยํ
คด, ฯลฯ. ก. อคฺคติ. น. อคฺคล อคฺคฬ (นปุ) ผ้าปะ,ผ้าดาม,ลิ่ม,สลัก,กลอน,กลอนประตู. อคฺคิ อคฺคินิ (ปุ.) ไฟ,เปลวไป.

อคฺค ทาเน
สละให้ บริจาค ก. อคฺคติ. น. อคฺคน (นปุ.) การสละ,ฯลฯ.

อคฺฆฺ อคฺฆเน
ค่า มีค่า มีราคา ก. อคฺฆติ. น. อคฺฆ อคฺฆิย (ปุ.,นปุ.) ค่า,ราคา.

อคฺฆฺ ปูชายํ
เคารพ ยกย่อง นับถือ บูชา. ก. อคฺฆติ. น. อคฺฆ อคฺฆนิย (ปุ.,นปุ,) เครื่องบูชา, เครื่องต้อนรับแขก, ของรับแขก.

อคิ องฺคฺ คติยํ
ไป เดิน เดินไป ฯลฯ. ก. องฺคติ. น. องฺค. (นปุ.) ส่วน,ชั้น,พื้น , เหตุ,เหตุการณ์ , ตัว , สรีระ , อวัยวะ , อาการ , อินทรีย์ , องค์ . องคณ (นปุ.) กิเลสชาตเป็นเครื่องยังสัตว์ให้ถึงภพน้อยภพใหญ่, กิเลสเพียงดังเนิน, กิเลสยวนใจ, กิเลสเครื่องยียวน, มลทิน , เปลือกตม , เนิน , ลาน , ลานข้าว, ที่ว่าง, ที่โล่งแจ้ง, ภูมิภาค. องฺคุลิ องฺคุลี (อิต) นิ้ว,นิ้วมือ

อํหฺ คติยํ
ไป ฯลฯ เลื้อย เลื้อยไป ก. อํหติ. น. อหิ (ปุ.) งู.

อจฺจ ปูชายํ
เคารพ ยกย่อง ฯลฯ ก. อจฺจติ น. อจฺจน (นปุ.) อจฺจนา (อิต.) การเซ่น,การสรวง,การบูชา,การยกย่อง,ความนับถือ. อจฺจิ (อิต.) ไฟ,เปลวไฟ,รัศมี,แสง,แสงสว่าง,แสงไฟ.

อจฺฉฺ ทสฺสเน
เห็น ดู แล แลดู มองดู ก. อจฺฉติ น. อจฺฉิ (นปุ.) ตา,นัยน์ตา.

อจฺฉฺ ปสวเน พฺยาปเน วา
เอิบอาบ, ซาบซ่าน, ซาบซึม ไหลไป. ก. อจฺฉติ. อจฺฉิ (นปุ.)ไฟ,เปลวไป,แสง,แสงไฟ,รัศมี.

อชฺ คติยํ
ไป ฯลฯ ก. อชติ. น. อช (ปุ.) แกะ, แพะ. อชิน (นปุ.) หนัง, หนังสัตว์รองนั่งของนักพรต.อาชิ (อิต.) สงคราม. ปาชิตุ (ปุ.) คนขับ,คนขับรถ,สารถี. สคฺค (ปุ.) สวรรค์. สมาช (นปุ.) การประชุม. ที่เป็นที่ประชุม, ที่ประชุม,สมาคม. สมชฺชา (อิต.) ภูมิที่ประชุม, บริษัท.

อชฺ ขิปเน
ซัดไป, ขว้างไป พุ่งไป ยิงไป เหวี่ยงไป. ก. อชติ. น. ปาจน (นปุ.) ปฏัก,ประตัก.

อชุชฺ ปติสชฺชเน
ตระเตรียม จัดแจง ตกแต่ง ตบแต่ง ประดับ. ก.  อชฺชติ. น. อชฺชน (นปุ.) การตระเตรียม, ฯลฯ.

อฉิ อายาเม
ฉุด ชัก ฉุดมา ชักมา. ก. อญฺฉติ. น. อญฺฉน (นปุ.) การฉุด ฯลฯ.

อญฺจ พฺยยคติยํ
ฉิบหาย เปลี่ยนแปลง พินาศ. ก. อญฺจติ.

คญฺจิ อญฺจุ คติยํ
ไป, ฯลฯ. ก. อญฺจติ. น. อญฺจน (นปุ.) การไป, การถึง, การเป็นไป.

อญฺจฺ อญฺจุ ปูชเน
เคารพ ฯลฯ. ก. อญฺจติ อญฺจน (นปุ.) การเคารพ, ฯลฯ. ไป ฯลฯ. ก. อญฺชติ. น. พฺยญฺชน วฺยญฺชน (นปุ.) กับ, กับข้าว, แกง. สมชฺชา (อิต.) ภูมิที่ประชุม,บริษัท.

อญฺช วินาสปรินาเมสุ
ฉิบหาย, พินาศ ,เปลี่ยนแปลง. ก. อญฺชติ.

อญฺชฺ วฺยตฺติยํ
แจ้ง, แจ่มแจ้ง , แจ้งชัด , ชัดแจ้ง , เฉียบแหลม. ก. อญฺชติ.

อญฺชุ ปกาสณ
ประกาศ, ป่าวร้อง , ปรากฏ ก. อญฺชติ.

อญฺชฺ มกฺขเน
ทา ไล้ หยอด. ก. อญฺชติ. น. อญชน (นปุ.) ยาสำหรับหยอดตา, ยาหยอดตา , ยาทาตา, ยาล้างตา , ยาตา, เครื่องหยอดตา.

อญฺชฺ คติกนฺตีสุ
ไป, ฯลฯ, รัก, ฯลฯ. ก. อญฺชติ.

อญฺช อายาเม
ฉุด, ชัก, ฯลฯ. ก. อญฺชติ. น. อญฺชน (นปุ.) การชัก ฯลฯ, เครื่องกลึง.

อฏฺ คติยํ
ไป,ฯลฯ. ก. อฏติ. น. อฏวี (อิต.) ป่า, ดง, พง, ป่าใหญ่. อฏนี อฏฺฎนิ อฏฺฎนี (อิต.) แม่แคร่, แม่แคร่เตียง. นิสาฏ (ปุ.) ยักษ์ร้าย, ผีเสื้อน้ำ, รากษส.

อฏฺ หายเน
เสื่อม,สิ้น, ฯลฯ. ก. อฏติ. น. อฏน (นปุ.) อฏนา (อิต.) ความเสื่อม,ความสิ้น,ความเลว,ความทราม,ความทรุดโทรม,การเสื่อม, ฯลฯ.

อฏฺฏฺ อนาทเร
ไม่เอื้อ, ฯลฯ. ก. อฏฺฎติ. น. อฏฺฎิ (อิต.) ความไม่เอื้อ,ความไม่เอื้อเฟื้อ,ความไม่เอาใจใส่,ความเบื่อหน่าย, ฯลฯ, ความเบียดเบียน, ความบีบคั้น, ความเจ็บไข้,โรค,แผล.

อฐิ คมเน
ไป,ฯลฯ. ก. อณฺฐติ. น. อณฺฐน (นปุ.) อันไป, ฯลฯ, การไป, ฯลฯ.

อฑฺฑฺ อภิโยเค
แต่งขึ้น, ปรุงขึ้น, ประกอบให้เหมาะสม. ก. อฑฺฑติ. น.  อฑฺฑร (นปุ.) การแต่งขึ้น.

อณฺ สทฺเท
ออกเสียง, ฯลฯ. ก. อณติ. น. อณ อณก (ปุ.) การออกเสียง,การอ่าน,การท่อง,การสวด,การสาธยาย.

อฑิ อณฺฑฺ อณฺฑิ อณฺฑตฺเถ
ออกไข่.ก. อณฺฑติ. น. อณฺฑ (นปุ.) ไข่,ฟอง,ฝัก,อัณฑะ (ไข่ของชาย),กระโปก.

อตฺ สาตจฺจคมเน
เป็นไปติดต่อ,ติดต่อ,ติดต่อกัน, ฯลฯ. ก. อตติ. น. อตสี (อิต.) ฝ้าย.

อติ พนฺธเน
ผูก,พัน , มัด , รัด. ก. อนฺตติ. น.  อนฺตร (นปุ.) ระยะ,ระหว่าง, ระแวก.

อทฺ ภกฺขเณ
กิน, เคี้ยว, ฯลฯ. ก. อทติ น. อทน (นปุ.) การกิน, ฯลฯ, เครื่องกิน, ของกิน, ของบริโภค.

อทฺ คติยํ
ไป, ฯลฯ. ก. อทติ.อทน (นปุ.) การไป,การถึง, การเป็นไป, ความเป็นไป.

อทฺ ยาจเน
ขอ , ร้องขอ, วิงวอน.  ก. อทติ. น. อทน (นปุ.) การขอ,ฯลฯ.

อนฺ ปาณเน
หายใจ เป็นอยู่ มีชีวิต. ก. อนติ. น. อาน (นปุ.) ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ก็แปล อุ. อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก.

อพฺพฺ คุมฺเพ
เป็นพุ่ม, เป็นกลุ่ม, เป็นก้อน.  ก. อพฺพติ. น. อพฺพน (นปุ.) ความเป็นพุ่ม, ฯลฯ.

อพฺพฺ หึสาคตีสุ
เบียดเบียน, ฯลฯ, ไป, ฯลฯ. ก. อพฺพติ. น. นิรพฺพุท (นปุ.) นิรัพพุทะ ชื่อมาตรนับ คือเลข ๑ มีสูญตามหลัง ๖๓ สูญ.

อพฺภฺ คติยํ
ไป, ฯลฯ. ก. อพฺภติ. น. อพฺภ (ไตรลิงค์) เมฆ, หมอก, อากาศ, ท้องฟ้า.

อมฺ คมเน
ไป, ฯลฯ. ก. อมติ. น. อมตฺต (นปุ.) ภาชนะ, ภาชนะสามัญ. อมฺภ (ปุ.) หิน,ก้อน,ศิลา . อมร (ปุ.) อมรา (อิต.) ปลาไหล. อมฺพ (ปุ.) มะม่วง. วายาม (ปุ.) ความขยัน, ฯลฯ.

อมฺ ปูชายํ
เคารพ ยกย่อง นับถือ บูชา. ก. อมติ, น. อมฺพา (อิต.) แม่.

อพิ อมฺพฺ สทฺเท
ออกเสียง, ฯลฯ. ก. อมฺพติ. น. อมฺพ (นปุ.) น้ำ. อมฺพร (นปุ.) อากาศ, กลางหาว.

อพิ อมฺพฺ ตุฏฺฐิยํ
ชื่นชม แช่มชื่น พอใจ ฯลฯ. ก. อมฺพติ. น. อมฺพา (อิต.) แม่.

อพิ อมฺพฺ ปาลเน
เลี้ยง ระวัง ฯลฯ, ก. อมฺพติ. น. อมฺพา (อิต.) แม่. อมฺพร (นปุ.) ผ้า,ผ้านุ่ง.

อยฺ คมเน พฺยตฺตเย วา
ไป ฯลฯ. ก. อยติ. น. ปาย (ปุ.) การไป, ฯลฯ. วิปริยาย (ปุ.) ความแปรปรวน, ความตรงกันข้าม. สมย (ปุ.) ขณะ, ครั้งครา, คราว, หน, กาล, เวลา,ฤดู, โอกาส, การได้,การถึง, ความพร้อมเพรียงแห่งเหตุ, การณะ,เหตุ, การประชุม, หมวด, หมู่, กอง, คณะ. สมฺปราย (ปุ.) โลกอันสัตว์พึงถึงในภายหน้า,โลกหน้า , ภพหน้า.

อยฺ ญาเณ
รู้ ฯลฯ. ก. อยติ. น. สมย (ปุ.) ความรู้,มติ.

อยฺ วทฺธเน
เจริญ ฯลฯ ก. อยติ. น. อย (ปุ.,นปุ.) อยน (นปุ.) ความเจริญ,ความดี,ความสุข,ความสบาย.

อรฺ คติยํ
ไป ฯลฯ ก. อรติ. น. อร (ปุ.,นปุ.) ดอกบัว,ซี่,ซี่จักร,กำ (ซี่ของล้อรถหรือเกวียน), ส่วนเวลา, เครื่องเล่น.

อรฺ วินาเส
ฉิบหาย ฯลฯ. ก. อรติ. น. อริ (ปุ.) ข้าศึก (ศัตรูของบ้านเมือง), ศัตรู.

อรหฺ ปูชายํ
เคารพ ฯลฯ. ก. อรหติ. น. อรห (วิ.) ควร,สมควร,เคารพ, นับถือ,บูชา.

อลฺ ภูสเน
ตกแต่ง, ตบแต่ง, ประดับ. ก. อลติ. น. อล (นปุ.) การตกแต่ง, ฯลฯ, ความตกแต่ง.

อลฺ กลิเล
กัน กั้น ทึบ ตัน ไม่ทะลุ รก ชัฏ. ก. อลติ. น. พฺยาล (ปุ.) สัตว์ร้าย.

อลฺ อลิ พนฺธเน
ผูก ฯลฯ. ก. อลติ. น. อลฺล (นปุ.) การผูก , การพัน, การมัด, การรัด, ความพัน.

อลฺ อลุลฺ พฺยาปเน
อาบ ซาบ ซึม ชื้น ฯลฯ ก. อลฺลติ. น. อลฺล (วิ.) อาบ,ฯลฯ, ดิบ, สด ,ใหม่.

อลฺลฺ กลิเล
กัน กั้น ฯลฯ. ก. อลฺลติ. น. อลฺล (นปุ.) การกัน, ฯลฯ.

อวฺ รกฺขเณ
เลี้ยง ระวัง ดูแล ฯลฯ ก. อวติ. น. อวน (นปุ.) การเลี้ยง,ฯลฯ, ปกครอง, ดูแล, รักษา. วาฏ (ปุ.) ขุม,หลุม,บ่อ.

อสฺ สํขิปเน
ย่อ ย่อเข้า. ก. อสติ. น. สมาส (ปุ) การย่อ, การย่อเข้า.

อสฺ ภวเน
มี เป็น มีอยู่ เป็นอยู่ อสติ. น. สตฺต (ปุ.) ความมี, ความเป็น, ความมีอยู่, ความเป็น.  สนฺต (วิ.) มีอยู่,เป็นอยู่,จริง,แท้,จริงแท้. สนฺตก (วิ.) มีอยู่,เป็นอยู่,อันเป็นของมีอยู่.

อสฺ คติทิตฺยาทาเนสุ
ไป ฯลฯ รุ่งเรือง ฯลฯ ถือเอา ฯลฯ ก. อสติ. น. อส (ปุ.) บ่า, ไหล่, ภาค, ส่วน, แนว, คอต่อ.

อหี คติยํ
ไป ถึง เป็นไป ดำเนิน ดำเนินไป. ก. อหติ. น. อห (ปุ.,นปุ.) วัน.

อฬฺ อุคฺคเม
ไปสูง ไปข้างบน ขึ้นไป. ก. อฬติ. น. อฬน (นปุ.) การไปสูง, ฯลฯ.

อาณุ เปสนอาณาสุ
ส่ง ส่งไป บังคับ ก. อาณติ. น. อาณา (อิต.) การบังคับ,คำสั่ง,คำสั่งบังคับ,อำนาจ , อำนาจปกครอง, อาชญา , อาญา.

อาสฺ อุเปสเน
ยับยั้ง นั่ง. ก. อาสติ. น. อาสน (นปุ.) การยับยั้ง, การนั่ง, ที่เป็นที่นั่ง, ที่นั่ง, เครื่องปูรองนั่ง.

อิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. อิติ, เอติ, อยติ. น. เอณ (ปุ.) เนื้อทราย, ระมั่ง, เลียงผา, ปารมี (อิต.) คุณสมบัติเป็นเครื่องถึงซึ่งฝั่ง, ปฏิปทาเป็นเครื่องถึงซึ่งฝั่ง, ปฏิปทาอันยังผู้ปฏิบัติให้ถึงซึ่งฝั่ง.เปต (ปุ.) สัตว์ผู้ไปสู่โลกอื่น, สัตว์ผู้ไปสู่โลกหน้า, สัตว์ผู้ไปสู่กำเนิดแห่งเปรต. สมย (ปุ.) ขณะ, ครั้ง, คราว, หน, การ เวลา, ฤดู, โอกาส, สมัย.

อิ อชฺฌายเน
ศึกษา เล่าเรียน ท่อง ฯลฯ. ก. อิติ,เอติ,อยติ. น.  อชฺฌเยน อชฺฌายน (นปุ.) การศึกษา, ฯลฯ.

อิกฺขฺ อิกฺขุ ทสฺสเน
เห็น ดู เพ่ง พินิจ. ก. อิกฺขติ. น. อิกฺขณ อิกฺขน (นปุ.) กางเห็น, ฯลฯ. เวกฺขณ (นปุ.) การเห็นชัด, การตรวจดู, การพิจารณา, ความเห็นชัด, ฯลฯ. ภิกฺขุ (ปุ.) ภิกษุ (ผู้เห็นภัยในสังขาร ผู้เห็นถีบในสังสารวัฏ).

อิกฺขฺ อิกฺขุ องฺกเน
กำหนด หมาย สังเกต. ก. อิกฺขติ. น. อิกฺขณ อิกฺขน (นปุ.) การกำหนด, การสังเกต, ความกำหนด, ความสังเกต, เครื่องหมาย.

อิขิ อิงฺขฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก.  อิงฺขติ. น. อิงฺขน (นปุ.) การไป, การเป็นไป, การถึง, การบรรลุ.

อึคฺ อิคิ อิงฺคฺ คติยํ
ไป, ฯลฯ. ก. อึคติ, อิงฺคติ. น. อิงฺค (ปุ.) อาการ, ท่าทาง, การเคลื่อนไหว, ความอัศจรรย์, ความรู้. มุติงฺค (ปุ.) กลองสองหน้า, ตะโพน.

อิญฺชฺ กมฺปเน
ไหว สั่น รัว ฯลฯ. ก. อิญฺชติ น. อิญฺชน (นปุ.) อิญฺชนา อิชฺชา (อิต.) ความไหว, ฯลฯ. สมฺมิญฺชิต (นปุ.) การคู้เข้า.

อิฏฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. อิฏติ อิเฏติ เอฏติ. น. อิฏน เอฏน (นปุ.) การไป,ฯลฯ.

อิทิ อิสฺสริเย
เป็นใหญ่ เป็นใหญ่ยิ่ง ยอดเยี่ยม ก. อินฺทติ. น. อินฺท (ปุ.) พระอินทร์.

อินฺธ วุฑฺฒิยํ
เจริญ ฯลฯ. ก. อินฺทติ. น. อินฺธน (นปุ.) ความเจริญ, ฯลฯ.

อิริยฺ วตฺตเน
เป็นไป เป็นอยู่ ประพฤติ. ก. อิริยติ. น. อิริยนา อิริยา (อิต.) ความเป็นไป, ฯลฯ, กิริยา, ท่าทาง

อิลฺ กมฺปณ
ไหว ฯลฯ. ก. อิลติ. น. เวลฺลิต (วิ.) ไหว,สั่น,รัว ,เขย่า.

อิลฺ คติยํ
ไป ฯลฯ ก. อิลติ. น. อีลี (ปุ.) ไม้ตะบอง, ไม้เท้า, อีลน (นปุ.) การไป, ฯลฯ.

อิสฺ อีสฺ คติคหณหึสาสุ
ไป ฯลฯ จับ ฯลฯ เบียดเบียน ฯลฯ. ก. อิสติ, อีสติ. น. อิส (ปุ.) หมี, ค่าง, แรด. อิสิร (ปุ.) ไฟ อิสุ (ปุ.,อิต.) ศร,ลูกศร.

อิสฺ กนฺติยํ
รัก รักใคร่ ชอบ ฯลฯ. ก. เอสติ. น. เอสน (นปุ.) ความรัก, ฯลฯ.

อิสฺ อญฺเฉ ปริเยสเน วา
ขวนขวาย ฯลฯ. ก. เอสจิ. น. เอส (ปุ.) เอสน (นปุ.) เอฏฺฐิ เอสา (อิต.) การขวนขวาย, การค้นหา, การเสาะหา, การแสวงหา, ความขวนขวาย, ฯลฯ.

อิสฺ ปตฺถนายํ
ปรารถนา, ฯลฯ. ก. เอสติ, อิสสติ. น. เอสิกา (อิต.) เสาระเนียด.

อิสฺสฺ อิสฺสายํ
เกลียดกัน ชิงชัง หึงหวง ริษยา ก. อิสฺสติ. น. อิสฺสา (อิตฺ) ความเกลียดกัน, ฯลฯ.

อีชฺ คติยํ
ไป ฯลฯ ก.  อีชติ. อีชน (นปุ.) อันไป,การไป ฯลฯ.

อีรฺ วจนคตีสุ
กล่าว ฯลฯ ไป ฯลฯ. ก. อีรติ. น. อีรณ. (นปุ.) การกล่าว,ฯลฯ. การไป, การถึง, ฯลฯ.

อีรฺ กมฺปเน
ไหว สั่น สะเทือน กระดิก ก. อีรติ. น. อีรณ (วิ.) ไหว,เคลื่อนไหว, ฯลฯ.

อีรฺ เขปเน
ซัด ขว้าง โยน ทิ้ง ก. อีรติ. น. อีรณ (วิ.) ซัด, ฯลฯ

อีสฺ คเวสเน
ค้นหา แสวงหา ฯลฯ ก. อีสติ. น. เอส (ปุ.) เอสน (นปุ.) เอสนา (อิต.) การค้น ฯลฯ.

อีสฺ อิสฺสริเย
ใหญ่ ยิ่ง จอม เป็นใหญ่ เป็นเจ้า ก. อีสติ. น. อีส (ปุ.) คนเป็นใหญ่, ฯลฯ.

อีหฺ เจตายํ
คิด ดำริ รู้ จงใจ ตั้งใจ ใส่ใจ หมั่น ฯลฯ. ก. อีหติ. น. อีหา (อิต.) ความคิด, ฯลฯ.

อีหฺ วฑฺฒเน
เจริญ ฯลฯ. ก. อีหติ. น. อีสาน (นปุ.) ความเจริญ, ความจำเริญ, ความงอกงาม, ฯลฯ.

อีหฺ วตฺตเน
เป็นไป เป็นอยู่ ประพฤติ ก. อีหติ. น. อีหน (นปุ.) ความเป็นไป, ฯลฯ.

อุกฺข เสจเน
รด ราด พรม ประพรม โปรย ล้าง. ก. อุกขติ. น. อุกฺขา (อิต.) หม้อ, หม้อข้าว.

อุขฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. อุขคติ. น. อุขา (อิต.) หม้อ, หม้อข้าว, กระถาง.

อุฉิ ตณฺหายํ
กระหาย อยาก อยากได้. ก. อุฉติ. อุเฉติ, อุจฺเฉติ. ซ้อน จ. น. อุจฺเฉน (นปุ.) ความกระหาย, ฯลฯ.

อุฉิ อุญฺฉฺ คเวสเน
ค้น ค้นหา เสาะ ฯลฯ. ก. อุญฺฉติ. น. อุญฺฉน (นปุ.) อุญฺฉนา (อิต.) การค้น, ฯลฯ.

อุชฺ อชฺชเว
ตรง ซื่อ ซื่อตรง สัตย์ซื่อ ก. โอชติ. น. โอช (ปุ., นปุ.) กำลัง.

อุชฺ โอชฺ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง สว่าง ฯลฯ. ก. โอชติ. น. โอช (ปุ.,นปุ.) ความรุ่งเรือง, ฯลฯ.

อุชฺฌฺ อุสฺสคฺเค
ปล่อย ละ ละทิ้ง สละ ฯลฯ. ก. อุชฺฌติ. น. อุชฺณน (นปุ.) การปล่อย, ฯลฯ.

อุฐฺ อุปฆเต
กระทบ ทำร้าย เบียดเบียน ฆ่า. ก. โอฐติ น. โอฐน (นปุ.) การกระทบ, ฯลฯ.

อุทฺ โมชฺเช
ชื่นชม ยินดี ปลื้มใจ บันเทิง ร่าเริง. ก. อุทติ. น. อุทน (นปุ.) ความชื่นชม,ฯลฯ.

อุทฺ อุทิ ปสเว
ไหล ชุ่ม เปียก.  ก. อุทฺทติ.ซ้อน ทฺ. น. อุท อุทก (นปุ.) น้ำ.

อุทฺรภฺ โภชเน
กิน บริโภค. ก. อุทฺรภติ. น. อุทฺรภิ (ปุ) ทะเล,พระอาทิตย์.

อุพฺพ ธารเณ
ทรง ทรงไว้. ก. อุพฺพติ. น. อุพฺพี (อิตฺ) แผ่นดิน.

อุพฺพิ หึสายํ
กำจัด เบียดเบียน ฯลฯ. ก. อุพฺพติ. อุพฺพน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

อุพฺภฺ อุภฺ ปูรเณ
เต็ม เปี่ยม บริบูรณ์. ก. อุพฺภติ อุภติ. น. อุพฺภนา (อิต.) โอภ (ปุ.) ความเต็ม, ฯลฯ.

อุมฺภฺ ปูรเณ
เต็ม ฯลฯ. ก. อุมฺภติ. น. อุมฺภนา (อิต.) ความเต็ม, ฯลฯ.

อุยิ ตนฺตุสนฺตาเน
ทอ ทอผ้า. ก. อุยติ. น. อุยน (นปุ.) อุยนา (อิต.) การทอ, การทอผ้า.

อุลฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. อุลติ. น.  สทฺทูล (ปุ.) เสือโคร่ง,เสือเหลือง.

อุสฺ อูสฺ รุชายํ
กำจัด ขจัด เสียดแทง เจ็บไข้. ก. อุสติ อูสติ. น. ปจฺจุส ปจฺจูส (ปุ.) กาลอันขจัดเฉพาะ, กาลอันกำจัดซึ่งมืดเฉพาะ, กาลเป็นที่กำจัดซึ่งมืดเฉพาะ, กาลกำจัดเฉพาะซึ่งมืด, เช้า, เช้าตรู่, ใกล้รุ่ง, เวลาใกล้รุ่ง.

อุสฺ อุสุ ฑาเห ทาเห วา
เบียดเบียน ร้อน เร่าร้อน กระวนกระวาย ไหม้.แผดเผา. ก. อุสติ โอสติ. น. อุสุม (ปุ.) อุสุมา (อิต.) ไอ, ไอน้ำ, ไออุ่น, ไอชุ่ม , ไออบ, ความร้อน, ฤดูร้อน, อรสุม.

อุสูยฺ โทสาวิกรเณ
ขึ้งเคียด ชัง ชิงชัง ริษยา. ก. อุสูยติ. น. อุสฺสุยนา อุสฺสูยนา (อิต.) กิริยาขึ้งเคียด,กิริยาที่ชิงชัง,ความขึ้งเคียด, ฯลฯ.

อูหฺ วิตกฺเก
นึก คิด ดำริ ตริ ฯลฯ. ก. อูหติ. น. อูห (ปุ.) ข้อความ, เหตุ, เหตุการณ์. อูหน (นปุ.) อูหา (อิต.) ความนึก, ฯลฯ.

อูห ปวตฺติยํ
เป็นไป ไหลไป. ก. อูหติ น. ปจฺจูห (ปุ.) ภาระอันเป็นไปด้วยสามารถแห่งความเป็นปฏิปักษ์ , ความขัดข้อง, อันตราย.

อูหฺ สมฺปิณฺฑเน
ประมวล รวบรวม. ก. อูหติ. น. พยุห พยูห (ปุ.) กระบวน,ขบวน, กระบวนทัพ, กองทัพ, ฝูง, หมวด, หมู่, พวก, ประชุม, กอง, คณะ.

เอชฺ จลเน
ไหว หวั่นไหว สั่น.  ก. เอชติ. น. เอชน (นปุ.) เอชา (อิต.) ความไหว, ฯลฯ.

เอชฺ ทิตติยํ
รุ่งเรือง สว่าง กระจ่าง ขาว สวยงาม. ก. เอชติ. น. เอชน (นปุ.) เอชนา (อิต.) ความรุ่งเรือง, ฯลฯ.

เอฐุ วิพาธายํ
กำจัด ขจัด เบียดเบียน รบกวน.  ก. เอฐติ. น. เอฐน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

เอธฺ วุฑฺฒิยํ
เจริญ ฯลฯ. ก. เอธติ. น. เอธ (ปุ.) เชื้อไฟ,ฟืน.


เอรฑิ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. เอรณฺฑติ. น. เอรณฺฑ เอรณฺฑก (ปุ.) ระหุ่ง, เทพทาโร (กำจัดโรค).

เอสฺ เอสุ ตติยํ
ไป ฯลฯ. ก. เอสติ เอสฺสติ. กิริยาหลังซ้อน สฺ. น. เอสน เอสฺสน (นปุ.) การไป, ฯลฯ.

เอสฺ พุทฺธิยํ
รู้ บรรลุ. ก. เอสติ. น. เอสน (นปุ.) การรู้, การบรรลุ , ความรู้.

เอสฺ มคฺคเน อิจฺฉายญฺเจ
ค้น ฯลฯ ปรารถนา อยากได้ ฯลฯ. ก. เอสจิ. น. เอส (ปุ.) เอสน (นปุ.) เอสนา (อิต.) ความค้น, ความค้นคว้า, ฯลฯ, ความปรารถนา, ฯลฯ.

โอขฺ โสสนปฏิเสเธสุ
ผาก หมาด แห้ง ฯลฯ ห้าม ฯลฯ. ก.  โอขติ. โอขน (นปุ.) ความผาก, ฯลฯ.

โอณฺ อปนยเน
นำปราศ นำไปปราศ นำไปเสีย เอาไปเสีย. ก. โอณติ. น. โอณน (นปุ.) การนำ ฯลฯ, ความนำปราศ ฯลฯ.

โอปฺ นิฏฺฐุภเน
บ้วน ถ่ม. ก. โอปติ. โอปน (นปุ.) การบ้วน,การถ่ม.

โอปุชิ วิลิมฺปเน
ฉาบ ทา ไล้. ก. โอปุญฺชติ. น. โอปุญฺชน (นปุ.) การฉาบ,การทา,การไล้.

โอมา สามตฺติเย
อาจ องอาจ ควร สมควร. ก. โอมาติ. น. โอมาน (นปุ.) ความอาจ, ฯลฯ.

โอหฺ จาเค
สละ ให้ ให้ปัน บริจาค. ก. โอหติ. น. โอหน (นปุ.) การสละ, ฯลฯ, ความสละ, ฯลฯ.



ก อักษร

กกฺ โลลิเย
เหลาะแหละ เหลวไหล เลวทราม. ก. กกติ. น. กกน (นปุ.) ความเหลาะแหละ, ฯลฯ.

กกฺขฺ หสเน
รื่นเริง ร่าเริง สรวลเส เสสรวล หัวเราะ ก. กกฺขติ. น. กกุขน (นปุ.) การรื่นเริง, ฯลฯ.

กข หสเน
รื่นเริง ฯลฯ, ก. กขติ. น. กขน (นปุ.) ความรื่นเริง, ฯลฯ.

กํก.  กกิ คติยํ
ไป ฯลฯ, ก. กํกติ กงํกติ. น. กํกฏ กงฺกฏ (ปุ.) เกราะ,เสื้อเกราะ.

กํกฺ กงฺกฺ โลลิเย
เหลาะแหละ ฯลฯ. ก. กํกติ กงฺกติ. น. กํก กงฺก (ปุ.) นกอีลุ้ม, นกเหยี่ยวแดง, นกกระสา.

กขิ กํขฺ กงฺขฺ กงฺขายํ
กินแหนง แคลงใจ ไม่แน่ใจ ฯลฯ. ก. กํขติ กงฺขติ. น. กํข กงฺข (นปุ.) กํขา กงฺขา (อิต.) ความกินแหนง, ฯลฯ, ความลังเล, ความสงสัย, ความสนเท่ห์.

กขิ กํขฺ กงฺขฺ อิจุฉายํ
จำนง ประสงค์ หวัง มุ่งหวัง ตั้งใจ ปรารถนา ฯลฯ ก. กํขติ กงฺขติ. น. ปาฏิกงฺขา (อิต.) ความจำนงเฉพาะ, ฯลฯ.

กจฺ พนฺธเน
ผูก พัน มัด รัด. ก. กจติ. น. วิกจ (วิ.) แย้ม, บาน, ขยายออก, คลี่ออก.

กชฺชฺ วิพาธายํ
กำจัด เบียดเบียน ฯลฯ. ก. กชฺชติ. น. กชฺชล (นปุ.) ยาตา, ยาทาตา, ยาหยอดตา.

กฏฺ วสฺสาวรเณ
ห้ามฝน เข้าหน้าหนาว. ก. กฏติ. น. กฎ (ปุ.) แก้มช้าง.

กฏฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. กฏติ. น. กฎ (ปุ., นปุ.) ไหล่ภูเขา, ทองปลายแขน, กำไลมือ. กฎ (ปุ.) เสื่อ, สาด, ลำเพน, นิมิตรของหญิง.

กฏฺ ฉฑฺฑนมทฺทเนสุ
ทิ้ง ฯลฯ ย่ำ เหยียบ ฯลฯ. ก. กฏติ. น. สกฏ (ปุ.) ขยะ, มูลฝอย, หยากเยื่อ.

กฐฺ กิจฺฉชีวเน
ลำบาก ฝืดเคือง ขัดสน ยากจน.   ก. กฐติ. กฐล (ปุ.) ลูกนิ่ว.

กฑิ กณุฑฺ เภทเน
แตก ทำลาย ฯลฯ. ก. กณฺฑติ. น. กณฺฑ (ปุ.) ลูกปืน, ลูกศร, ลูกธนู.

กฑฺฒฺ อากฑฺฒเน
ฉุด คร่า รั้ง ราก.  ก. กฑฺฒติ. น. อากฑฒน (นปุ.) การฉุด, ฯลฯ.

กณฺ สทฺเท
ออกเสียง เรียก ร้องเรียก กล่าว เปล่ง. ก. กณติ. น. กณย (ปุ) ฉมวก, หอก.  กํกณ กงฺกณ (นปุ.) กำไลมือ.

กณฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. กณติ. น. กํกณ กงฺกณ (นปุ) กำไลมือ. กณิกา (อิต.) คนทีสอ, ภังคี.

กณฺฑุ กณฺฑุว กณฺฑู กณฺฑุวเน
คัน เกา. ก. กณฺฑวติ กณฺฑุวติ กณฺฑูวติ. น. กณฺฑู (อิต.) ความคัน, โรคคัน, หิด, หิดด้าน, หิดเปลื่อย.

กติ สุตฺตชนเน
กรอ ปั่น กรอด้าย ปั่นด้าย. น. กนฺตติ. น. กนฺตน (นปุ.) การกรอ, ฯลฯ.

กติ กนฺตฺ  เฉทเน
ตัด บั่น ทอน เฉือน ผ่า ฯลฯ ควัก.  ก. กนฺตติ น. กนฺตน (นปุ.) การตัด, ฯลฯ.

กตฺถฺ สิลาฆายํ
ชม ชมเชย ยกย่อง สรรเสริญ อวด. ก. กตฺถติ.น.  กตฺถนา (อิต.) ความชม, ฯลฯ.

กถฺ หึสายํ
กำจัด ขจัด ฯลฯ. ก. กถติ.น. กถลา (อิต.) กระเบื้อง (กำจัดความร้อน).

กถฺ ปาเก
หุง ต้ม ปิ้ง ย่าง ฯลฯ. ก. กถติ. น. กถลา (อิต.) กถลิก (นปุ.) กระเบื้อง (ของสุก).

กถิ โกฏิลฺเล
คด โค้ง ฯลฯ. ก. กนฺถติ. น. กนฺถน (นปุ.) การคด, ฯลฯ.

กทฺ สทฺเท
ออกเสียง เรียก ฯลฯ. ก. กทติ. น. กทน (นปุ.) การออกเสียง, ฯลฯ.

กทฺ มทฺทเน
ย่ำ  เหยียบ ฯลฯ. ก. กทติ. น. กทล (นปุ.) กระเบื้อง,กทฺทม (ปุ.,นปุ.) ตม,เปลือกตม.

กทิ เวลมฺเพ
ห้อยย้อย ชักช้า ฯลฯ. ก. กนฺทติ. น. กนฺทน (นปุ.) การห้อยย้อย, ฯลฯ.

กทิ กนฺทฺ อวฺหาเน
เรียก ร้องเรียก.  ก. กนฺทติ. น. กนฺท (ปุ.) เหง้า,หัวในดิน,หัวมัน.

กทิ กนฺทฺ โรทเน
หลั่งน้ำตา ร้องไห้ คร่ำครวญ ก. กนฺทติ. น. กนฺทนา (อิต.) การหลั่งน้ำตา, ฯลฯ.

กนฺ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง สวยงาม ฯลฯ. ก. กนติ. น. กนก (นปุ.) ทอง,ทองคำ.กนก.

กนฺ กนฺติยํ
ชอบ ชอบใจ ยินดี รัก ฯลฯ. ก. กนติ. น. กนก (นปุ.) ทอง,ฯลฯ.

กนฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. กนติ. น. นิกฺข (ปุ.,นปุ.) ลิ่ม,แท่ง. นิบท หน้า แปลง น เป็น ข

กนุยิ กนุยี สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. กนุยติ. น. กนุยน (นปุ.) กนุยนา (อิต.) ถ้อยคำ,คำพูด, ฯลฯ.

กปฺ กรุณายํ
อุดหนุน ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ ฯลฯ. ก. กปติ. น. กปณ (ปุ.) คนเข็ญใจ, คนยากไร้, คนกำพร้า, ควรที่ควรอุดหนุน, ฯลฯ.

กปฺ อจฺฉาทเน
บัง กำบัง ปิด ปกปิด. ก. กปติ. น. กปลฺล (นปุ.) กระเบื้อง. กโปล (ปุ.) แก้ม.

กปฺ กมฺป จลเน
กระดิก ไหว ฯลฯ. ก. กปติ, กมฺปติ. กปิ (ปุ.) ลิง. กปิลา (อิต.) หนาด,ต้นหนาด.

กปฺ สชฺชเน
ตระเตรียม ฯลฯ ติด ขัด ฯลฯ. ก. กปติ. น. กปฺป (ปุ.) กปฺปน (นปุ.) การตระเตรียม.

กปุ หึสายํ
กำจัด เบียดเบียน ฯลฯ. ก. กปฺปติ. ป เป็น ปฺป. น. กปฺปร (ปุ.) ศอก,ข้อศอก.

กปุ ตกฺกคนฺเธ
หอมดุจกระวาน หอมเจือเผ็ด. ก. กปฺปติ. น. กปฺปน (นปุ.) ความหอมฉุน, หอมฉุน.

กปฺ สมตฺเถ
อาจ องอาจ สามารถ. ก. กปฺปติ. น. กปฺป (ปุ.) กปฺปน (นปุ.) ความอาจ, ฯลฯ.

กปฺ อรหเน
ควร สมควร. ก. กปฺบติ. น. กปฺปพินฺทุ (นปุ.) จุดอันสมควร.

กปฺปฺ สามตฺถิเย
อาจ ฯลฯ. ก. กปฺบติ. น. กปฺป (ปุ.) กปฺปน (นปุ.) ความอาจ,ฯลฯ. กปฺปร (ปุ.) กระโหลกศีรษะ.

กปฺปฺ เฉทเน
ตัด ขอด กัน โกน.  ก. กปฺปติ. น. กปฺปก (ปุ.) ช่างตัดผม,ฯลฯ.

กปฺปฺ วิตกฺเก
คิด นึก ตริ ฯลฯ. ก. กปฺปติ. น. กปฺปนา (อิต.) ความตริ. สํกปฺป (ปุ.) ความดำริ, ฯลฯ.

กปฺปฺ ปริจฺเฉเท
กำหนด หมาย. ก. กปฺปติ. น. กปฺป (ปุ.) กาลอันบัณฑิตกำหนด, กัป, กัลป์.

กปฺปฺ สมิทฺเธ
ถือ บรรลุ เสร็จ สำเร็จ ฯลฯ. ก. กปฺปติ. น. กปฺปนา (อิต.) กัลปนา ส่วนบุญที่อุทิศให้ผู้ตาย.

กปิ กมฺปฺ จลเน
ไหว สั่น สะเทือน กระดิก ฯลฯ, กมฺปติ. น. กมฺปนา (อิต.) ภกมฺปิ (นปุ.) ความไหว, ฯลฯ.

กพฺพฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. กพฺพติ. น. กพฺพน (นปุ.) การไป, การถึง, การดำเนินไป, ความเป็นไป.

กพฺพฺ อหํกาเร
หยิ่ง จองหอง ฯลฯ. ก. กพฺพติ. น. กพฺพนา (อิต.) ความหยิ่ง, ฯลฯ.

กพิ กมฺพฺ สํวรเณ
สำรวม ระวัง ฯลฯ. ก. กมฺพติ. น. กมฺพล (นปุ.) ผ้าทอด้วยขนสัตว์, ผ้ากัมพล.

กมุ อิจฉายํ
จำนง ประสงค์ หวัง ฯลฯ. ก. กมติ. กม (ปุ.) กระบวน, แบบ, ลำดับ.

กมุ กนฺติยํ
ชอบใจ พอใจ ยินดี ฯลฯ. ก. กมติ. น. กาม (ปุ.,นปุ.) ความชอบใจ, ฯลฯ.

กมฺ กมุ ปทวิกฺเขเป
ย่างไป ก้าวไป เดิน ฯลฯ. ก. กมติ. น. กม (ปุ.) การย่างไป, ฯลฯ. จงกมฺ (ปุ.) ที่จงกรม.

กรฑิ กรณฺฑิ วิภตฺติยํ
แจก จำแนก ฯลฯ. ก. กรณุฑติ. น. กรณฺฑน (นปุ.) การแจก ฯลฯ.

กรณฺฑิ ภาชนตฺเถ
เป็นภาชนะ. ก. กรณฺฑติ. น. กรณฺฑ (ปุ.,นปุ.) หม้อ, หม้อน้ำ, ภาชนะน้ำ, ภาชนะมีฝาปิด, กะทอ, ตะกร้า, เข่ง, หีบ, ตลับ, ผอบ (ผอบ), ขวด, กระติก, คราบ,เตียบ,ครอบ.

กลฺ คติยํ
ไป ฯลฯ, ก. กลติ. น. วิกล (นปุ.) ความไม่ปกติ, ความผิดปกติ, ความบกพร่อง, ความไม่สมประกอบ, ความไม่สมบูรณ์ , ความแปลกไป.

กลฺ สงฺขฺยาเน
คำนวณ นับ. ก. กลติ. น. กล (ปุ.) กลฺย กลฺล (นปุ.) อันนับ, การนับ, ฯลฯ. กลฺยาณ (วิ.) ดี, งาม, พะงา (งาม สวย), ชอบ, เป็นที่ชอบใจ, ไพเราะ, อ่อนหวาน.

กลฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. กลติ. น. กลา (อิต.) เสียง,ถ้อยคำ,ภาษา.

กลฺ อพฺยตตสทฺเท
ออกเสียงไม่ชัด. ก. กลติ. น. กล (ปุ.) เสียงไม่ชัด (แต่เป็นที่ชอบใจ), เสียงอ่อน, เสียงวังเวง (ดนตรี), อภิฯ เป็นไตรลิงค์.

กลฺ สํวรเณ
ระวัง ป้องกัน ฯลฯ. ก. กลติ. น. กลิส (ปุ., นปุ) กุลิส (ปุ.,นปุ.) กุลิสะ ชื่ออาวุธพระอินทร์, ขวานฟ้า, แก้ววิเชียร.

กลทิ อวฺหาเณ
เรียก ร้องเรียก.  ก. กลนฺทติ. น. กลนฺทก (ปุ.) กระรอก, กระแต.

กลทิ โรทเน
ร้องไห้. ก. กลนฺทติ. น. กลนฺทก (นปุ.) การร้องไห้.

กลหฺ กุจฺฉเน
ทะเลาะ ติเตียน โต้เถียง. ก. กลหติ. น. กลห (ปุ.) วาทะเป็นที่ทะเลาะ, ฯลฯ.

กลฺลฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. กลฺลติ, น. กลฺโลล (ปุ.) ระลอก,คลื่น.

กลิทิ ปริเวทเน
คร่ำครวญ บ่อเพล้อ รำพัน ฯลฯ. ก. กลินฺทติ. น. กลินฺทน (นปุ.) การคร่ำครวญ, ฯลฯ.

กวฺ กวิ วณฺเณ
ย้อม ย้อมสี งาม. ก. กวติ. น. กวิ (ปุ.) คนมีปัญญา, คนมีปัญญาดี, นักปราชญ์.

กสฺ วิเลขเน
ทำให้เป็นรอย เสือกไป ไส่ไป ไถ ถาก ตาย. ก. กสติ กสฺสติ. น. กสก (ปุ.) ชาวนา. กสน (นปุ.) การไถ, ฯลฯ. กาสุ (อิต.) ขุม (หลุม), หลุม, บ่อ.

กสฺ วเธ
เบียดเบียน ฯลฯ. ก. กสติ. น. กสา (อิต.) แซ่,แซ่ม้า. กสาย (ปุ.) ยางไม้,รสฝาด.

กสฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. กสติ. น.  วิกส (วิ.) แย้ม , คลี่ , เผย , บาน , เบิกบาน.  กสา (อิต.) แซ่, หวาย.


กสฺ กสี สาสเน
สั่ง, สั่งสอน.  ก. กสติ. น. กสน (นปุ.) การสั่งสอน.

กสฺสฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. กสฺสติ. น. กาสุ (อิต.) พวก, หมวด, หมู่, ประชุม, กอง, คณะ.

กฬฺ มทฺทารุเณสุ
ฟั่นเฟือน เมา หยาบช้า ทารุณ. ก. กฬติ. น. กฬน (นปุ.) ความฟั่นเฟือน, ฯลฯ.

กฬฺ คณเสจเนสุ
คำนวณ นับ รด ราย โปรย ฯลฯ. ก. กฬติ. น. กฬน (นปุ.) การคำนวณ, ฯลฯ.

กา สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. กาติ. น. กาก (ปุ.) กา,นกกา,อีกา (ภาษาพูด). กํกณ กงฺกณ (นปุ.) กำไลมือ กุ (อิต.) ดิน,แผ่นดิน, คำ, ถ้อยคำ, วาจา.

กาสฺ สทฺทกุจฺฉายํ
ไอ กระแอม. ก. กาสติ. น. กาส (ปุ.) การไอ, การจาม, โรคไอ.

กาสฺ จยเน
ก่อ สะสม สั่งสม. ก. กาสติ. น. กาสน (นปุ.) การก่อ, ฯลฯ.

กาสฺ กาสุ ปกาสเน
ประกาศ ปรากฏ ป่าวร้อง ชี้แจง โฆษณา. ก. กาสติ. น. ปกาส (ปุ.) การประกาศ,ฯลฯ.

กาสฺ กาสุ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง, ฯลฯ. ก. กาสจิ. น. กาสุ (อิต.) ขุม (หลุม), หลุม, บ่อ.วิกาส (ปุ.) ความรุ่งเรือง, ฯลฯ.

กิ เวลมฺเพ
หน่วง หน่วงไว้ ยึดหน่วง ชักช้า ฯลฯ. ก. กิติ เกติ. น. กิ (วิ.) เช่นกัน, เช่นกับ, คล้าย, เสมอ,เหมือน

กิฎฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. กิฏติ เกฏติ. น. เกฏุภ (นปุ.) เกฏุภศาสตร์.

กิตฺ นิวาเส
อยู่ อาศัย ฯลฯ. ก. กิตติ เกตติ. น. นิเกต (ปุ.) นิเกตน (นปุ.) การอยู่, การอาศัย, ที่อยู่, ที่อาศัย , บ้าน, เรือน.

กิตฺ ญาเณ
รู้ หมาย มุ่ง กะ กำหนด หมายไหว้ ตราไว้. ก. กิตติ เกตติ. น. เกตน (นปุ.) การหมาย, ฯลฯ.

กิตฺ สํเกตเน
กำหนด หมาย ฯลฯ. ก. กิตติ เกตติ. น. สงฺเกต (ปุ.,นปุ.) การกำหนด, การหมาย, การรู้, การใส่ใจ, การนัด ,การนัดแนะ, การสังเกต, ความกำหนด, ฯลฯ.

กิตฺ โรคาปยเน
บำบัดโรค รักษาโรค ฯลฯ. ก. กิตติ. น. กิตน (นปุ.) การบำบัดโรค, ฯลฯ.


กิรุ วิกิรเณ
โรย โปรย เรี่ยราย เกลื่อน, เกลื่อนกลาด, ดาษดา, กระจาย, ฯลฯ. ก. กิรติ. น. กิรณ (นปุ.) การโรย, ฯลฯ.

กิรฺ หึสายํ
กำจัด, ฯลฯ. ก. กิรติ. น. ปกิริย (ปุ.) กระพังโหม, เอนกคุณซ ใช้ทำยากำจัดโรค.

กิรฺ ปสารเณ
คลี่ออก ขยายออก แผ่ออก เหยียดออก.  ก. กิริติ. น. กิรณ (นปุ.) การคลี่ออก, ฯลฯ, รัศมี.

กิตฺ กิลมเน
ลำบาก เหน็จเหนื่อย ชอกช้ำ ก. กิตติ กิจฺฉติ. น. วิจิกิจฺฉา (อิต.) ธรรมชาติเป็นเครื่องลำบากแห่งบุคคลผู้ค้นอยู่, ความเคลือบแคลง, ความลังเล, ความสงสัย.

กิลฺ พนฺธเน
ผูก ฯลฯ. ก. กิลติ. น. กิล (ปุ.) กิลน (นปุ.) การผูก, ฯลฯ. กิโลม กิโลมก (นปุ.) พังผืด.

กิลมฺ กิลมคิลาเนสุ
ลำบาก เหน็จเหนื่อย ชอกช้ำ เจ็บ ไข้ เจ็บไข้ ไม่สบาย. ก. กิลมติ.  น. กิลมถ (ปุ.) ความลำบาก, ฯลฯ, ความเจ็บ, ความไข้, ฯลฯ.

กิลิทิ ปริเวทเน
ร้องไห้ ร่ำไร รำพัน.  ก. กิลิทิติ กิลินฺทิติ. น. กิลินฺทน (นปุ.) การร้องไห้, ฯลฯ.

กิลิสฺ วิพาธเน
กำจัด ขจัดฯลฯ. ก. กิลสสติ. น. กิเลส เกลส (ปุ.) กิเลส เกลส (ทำให้เร่าร้อน).

กิลิสฺ สํกิเลเส
เศร้าหมอง หม่นหมอง ฯลฯ. ก. กิลิสติ. น. กิเลส เกลส (ปุ.) ความเศร้าหมอง, ฯลฯ.

กิโลตฺ อทฺทภาเว
ชุ่ม ชื้น อาบ ซึม เปียก แฉะ. ก. กิโลตติ. น. กิโลตน (นปุ.) ความชุ่ม, ฯลฯ.

กิสฺ ตนุกรเณ
ซูบ ผอม บาง เบา. ก. กิสติ. น. กิส กิสล กีส (วิ.) ซูบ, ฯลฯ.

กิฬฺ กีฬฺ กีลฺ กีฬเน
ร่าเริง รื่นเริง เล่น เพลิน ฯลฯ. ก. กิฬติ กีฬติ กีลติ. น. กิฬน กีฬน กีลน (นปุ.) การเล่น, ฯลฯ.


กีลฺ ปิติยํ
อิ่มใจ เบิกบาน เบิกบานใจ ชื่นชม ยินดี. ก. กีลติ กีฬติ. แปลง ล เป็น ฬ.

กุ กุจฺฉายํ
ติเตียน นินทา ชั่ว เลว บาป. ก. กวติ. น. กุ (นปุ.) คำติเตียน, คำนินทา, ความชั่ว.

กุ เก สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. โกติ กายติ. น. กายน (นปุ.) การออกเสียง ,การร้อง,เสียงร้อง. มยฺหงฺก มยฺหก (ปุ.) นกเขา.

กุจฺ ปาเก
หุง ต้ม ปิ้ง ฯลฯ. ก. กุจติ, น. กุจติ, น. กุจน (นปุ.) สงฺโกจ (ปุ.) การหุง, ฯลฯ.

กุจฺ โกฎิลฺเล
คด โค้ง โกง งอ ฯลฯ. ก. กุจติ. น. โกจฺฉ (นปุ.) เก้าอี้, ราชอาสน์.

กุจฺ ปฏิกฺกเม
ถอยหลัง ถอยกลับ. ก. กุจติ. น. โกจฺฉ (นปุ.) แปรง, หวี.

กุจฺ สงฺโกจเน
หดเข้า สั้นเข้า หดหู่ ห่อเหี่ยว ท้อแท้ ไม่เบิกบาน.  ก. กุจติ. น. สงฺโกจ (ปุ.) สงฺโกจน (นปุ.) การหด,การหดเข้า, ฯลฯ.

กุจฺ วิเลขเน
ขีด ขูด เขียน.  ก. กุจติ. น. กุจน โกจน (นปุ.) การขีด ฯลฯ. การทำให้เป็นรอย.

กุจฺ สทฺทตาเร
ร้องดัง ร้องดังก้อง ร้องกึกก้อง เสียงสูงยิ่ง. ก. โกจติ. น. โกญฺจ (ปุ.) นกกระเรียน, นกกาเรียน.

กุจฺฉฺ อวกฺเขเป
ขว้างลง ขว้างลงไป ซัดลง ซัดลงไป ฯลฯ ติเตียน ฯลฯ. ก. กุจฺฉติ. น. กุจฺฉา (อิต.) การคว่ำ, การคว่ำลง, ฯลฯ, การติเตียน, ความติเตียน, ฯลฯ.

กุชุ เถยฺเย
ลัก ฯลฯ. ก. โกชติ. น. โกชน (นปุ.) การลัก, ฯลฯ.

กุชฺชฺ อโธมุขีภาเว
ค่อม คว่ำ คว่ำลง. ก. กุชฺชติ. น. กุชฺช (วิ.) ค่อม, คว่ำ, คว่ำลง.


กุญฺจฺ กุญฺจิเต
คด โค้ง ฯลฯ แนบแน่น สนิท ลั่นกุญแจ. กุญฺจติ. น. กุญฺจิต (วิ.) คด, ฯลฯ. กุญฺจิกา (อิต.) กุญแจ.

กุชิ กุญฺชฺ สทฺเท
ออกเสียง, ฯลฯ. ก. กุญฺชติ. น. กุญฺช (ปุ.) กุญฺชา (อิต.) คาง.

กุชิ กุญฺชฺ อพฺยตุตสทเท
ออกเสียงไม่ชัด ฯลฯ. ก. กุญฺชติ. น. กุญฺช กุญฺชนิ (ปุ.,นปุ.) ท้องแห่งภูเขา,หุบเขา.

กุฏฺ โกฎิลฺเล
คด ฯลฯ. ก. กุฏติ. น. กุฏ (ปุ.) ยอด, จะงอย. กุฏ (ปุ.,นุป.) หม้อ, หม้อน้ำ, ไห, ช่อฟ้า, เหล็ก, พะเนิน.

กุฏฺ ฉฑฺฑเน
เท ทิ้ง. ก. กุฏติ. น. สงฺกฏีร (นปุ.) ที่เทหยากเยื่อ, กองหยากเยื่อ, กองแห่งมูลฝอย, กองแห่งกุมฝอย.

กุฏฺ มทฺเท
ย่ำ เหยียบ นวด ฯลฯ. ก. กุฏติ. น. สงฺกฏีร (นปุ.) ที่เทหยากเยื่อ, ฯลฯ.

กุฏฺ อาโกฏเน
ตอก ตี ทุบ เคาะ อัด. ก. กุฏติ. น. อาโกฏน อาโกฏฺฏน (นปุ.) การตอก.

กุฏมฺ วตฺตเน
เป็นไป ฯลฯ. ก. กุฏมติ. น. กุฏุมฺพ (นปุ.) ทรัพย์ (นา สวน เป็นต้น).

กุฐิ อาลเสย
เกียจคร้าน เฉื่อยชา เงื่องหงอย. ก. กุณฺฐติ. น. กุณฺฐ (วิ.) เกียจคร้าน, ฯลฯ.

กุฐิ คติปฏิฆาเต
ร่อย เหี้ยน กระจอก เขยก.  ก. กุณฺฐติ. น. กุณฺฐ (วิ.) ร่อย, ฯลฯ.

กุฑิ ฑหนตาเปสุ
เผา ไหม้ ร้อน เร่าร้อน.  ก. กุณฺฑติ. น. กุณฺฑ (ปุ.) หม้อ, หม้อข้าว.

กุฑิ ปาลเน
เลี้ยง ฯลฯ. ก. กุณฺฑติ. กุณฺฑก (ปุ.) รำ,รำข้าว.

กุฑิ เวทเน
เบียน เบียดเบียน ฯลฯ. ก. กุณฺฑติ. น. กุณฺฑล (นปุ.) ตุ้มหู (เบียดเบียนใบหู).

กุณฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. กุณติ โกณติ. น. กุณาล (ปุ.) นกกระเหว่า, นกกาเหว่า.


กุณฺ สงฺโกจเน
หดเข้า สั้นเข้า งอ หงิก ง่อย. ก. กุณติ. น. กุณป กุนป (ปุ.,นปุ.) ศพ.

กุถฺ ปากปูติ กิเลเสสุ
หุง ฯลฯ เปื่อย ฯลฯ เศร้า หมอง เศร้าหมอง ฯลฯ. ก. กุถติ. น. กุถน (นปุ.) การหุง ฯลฯ, ความบูด, ฯลฯ, ความหมอง, ฯลฯ.

กุถฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. โกถติ น. โกถน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, การเบียดเบียน.

กุถิ หึสายํ
เบียน เบียดเบียน ฯลฯ. ก. กุนฺถติ. น. กุนฺถน (นปุ.) มด, มดดำ.

กุทฺ กีฬเน
เล่น ฯลฯ. สนุก.  ก. กุทติ. น. กุทน (นปุ.) การเล่น, ฯลฯ.

กุพฺพิ อุคฺคเม
ขึ้นไป ไปสูง ไปในเบื้องบน บิน บินไป. ก. กุพฺพติ. น. กุพฺพน (นปุ.) การขึ้นไป, ฯลฯ.

กุพิ อจฺฉาทเน
ปกปิด นุ่งห่ม แต่งตัว, ก. กุพฺพติ. น. กุพฺพน (นปุ.) การปกปิด, ฯลฯ.

กุมารฺ กีฬเน
เล่น ฯลฯ. สนุก.  ก. กุมารติ. น. กุมาร (ปุ.) ลูก,ลูกน้อย,เด็ก,เด็กชาย.

กุรฺ โภชเน
กิน, ฯลฯ. ก. กุรติ. น. กุรณ (นปุ.) การกิน, ฯลฯ.

กุรฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. กุรติ. น. กุร (ป.) นก.  กุรุร (ปุ.) นกเขา.

กุรฺ อกฺโกเส
แช่ง ด่า บริภาษ. ก. กุริติ. น. กุรณ (นปุ.) การแช่ง, ฯลฯ.

กุลฺ อาหรเณ
นำมา ถือเอา. ก. โกลติ. น. ทุกูล (นปุ.) ผ้าทำด้วยเปลือกไม้, ผ้าเปลือกไม้.

กุลฺ คเณ
นับ คำนวณ. ก. โกลติ. น. กุล (นปุ.) การนับ, การคำนวณ, ฝูง, หมวด ,หมู่, พวก, ประชุม, กอง, คณะ, ที่อยู่, เรือน, สำนัก,ฝั่ง.

กุลฺ สนฺตานพนฺธูสุ
สืบเนื่องกัน เป็นเชื้อสาย. ก. โกลติ. น. กุล (นปุ.) เครือ,แซ่, ตระกูล, สกุล, วงศ์, พงษ์พันธุ์, เชื้อสาย

กุสฺ เฉทเน
ตัด บั่น ฯลฯ. ก. กุสติ. น. กุส (ปุ.) คา, หญ้าคา. กุสน (นปุ.ป การตัด, ฯลฯ.


กุสฺ ปูรเณ
เต็ม ให้เต็ม เปี่ยม. ก. กุสติ. น. กุสน (นปุ.) ความเต็ม, ฯลฯ.

กุสฺ อวฺหาเณ
เรียก ร้องเรียก.  ก. กุสติ. น. กุสุม (ปุ.) โรคประจำเดือนของผู้หญิง, ประจำเดือนของหญิง, ประจำเดือน (ระดูของหญิง) , ระดูของหญิง, อภิฯเป็น (นปุ.) กุสุม (นปุ.) ดอก,ดอกไม้, กุสุม, โกสุม.

กุสฺ ปคพฺเภ
องอาจ ฉลาด คล่องแคล่ว ว่องไว กล้า กล้าหาญ. ก. กุสติ. น. กุส (นปุ.) ความรู้, ความองอาจ, ฯลฯ. กุสล (วิ.) องอาจ, ฯลฯ.

กุสฺ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. กุสติ. น. กุสล (วิ.) มั่งคั่ง, งาม, ดี.

กุสฺ ภวนปาสทาเนสุ
มีอยู่ เป็นอยู่ ประกาศ ฯลฯ ให้ ฯลฯ ก. กุสติ. น. กุสน (นปุ.) ความมี , ความมีอยู่, ฯลฯ.

กุสฺ ปริภาสเน
กล่าวโทษ ตัดพ้อ ต่อว่า ติเตียน ด่า. ก. กุสติ โกสติ. น. ปโกฏฺฐ (ปุ.) มือ.

กุสฺ สิเลสเน
กอด กอดรัด สวมกอด รวมกัน ติดต่อ ติดต่อกัน ข้อง ข้องอยู่ เกี่ยวข้อง เป็นยาง เป็นยางเหนียว. ก. กุสติ. น. กุสูล (ปุ.) คลัง, ฉาง, ยุ้ง.

กุสุ นเย
นำ นำไป. ก. กุสติ. น. ปุกฺกุส (ปุ.) คนเทดอกไม้, คนเทหยากเหยื่อ, คนเทขยะ.

กุฬฺ อทเน
กิน ฯลฯ. ก. กุฬติ. น. กุฬ (ปุ.) ครุฑ พญานกที่เป็นพาหนะของพระนารายณ์.

กูปฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. กูปติ น. กูปก (ปุ.) เสากระโดง.

กูลฺ อาวรเณ
กัน กั้น ฯลฯ. ก. กูลติ. น. กูล (นปุ.) โคก, เนิน, ทำนบ, ขอบ ,ฝั่ง,ตลิ่ง,บ่อ สระ.

เก สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. กายติ. น. ปิก (ปุ.) นกกระเหว่า, นกกาเหว่า.

เกลุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. เกลติ. น. เกลน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป, ความเป็นไป.

กฺลิทฺ เกลทฺ อลฺลภาเว
ชื้น ชุ่ม ซึม อาบ เยิ้ม เปียก.  ก. เกลทติ. น. เกลทน (นปุ.) ความชื้น, ฯลฯ.

เกเล ปิยเน
รัก ฯลฯ. ก. เกลายติ. น. เกลายน (นปุ.) ความพึงพอใจ, ความพอใจ, ความชอบใจ, ฯลฯ.

เกวฺ เกวุ เสวเน
คบ คบหา รับใช้ ปฏิบัติ ศึกษา. ก. เกวติ. น. เกวน (นปุ.) การคบ, ฯลฯ.

เกวฺ ชนเน
เกิด ฯลฯ. ก. เกวติ. น. เกวล (วิ.) เดียว, อย่างเดียว, ทั้งปวง,ทั้งมวล, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, สิ้นเชิง ,มาก, ส่วนมาก, จำนวนมาก, ไม่ระคน , ล้วน, ล้วน ๆ, แข็งแรง, มั่นคง, โดยมาก, ทั่วไป, ไกวัล (ทั่วไป).

โกญฺจฺ โกฏิลฺเล
คด ฯลฯ. ก. โกญฺจติ. น. โกญฺจา (อิต.) นกกาเรียน.

โกฏฺฏฺ เฉทเน
ตัด ฯลฯ. ก. โกฏฺฏติ. น. โกฏฺฏ (ปุ.) ที่มั่น, ป้อม.

ข อักษร

ขคฺค ขณฺฑเภเท
ทำลายให้เป็นท่อน แตกเป็นท่อน ก. ขคฺคติ. น. ขคฺค (ปุ.) กระบี่, ดาบ, พระขรรค์.

ขจฺ พนฺธเน
ผูก ฯลฯ. ก. ขจติ. น. ขจน (นปุ.) การผูก, การพัน, การรัด, การมัด.

ขชฺ มนฺเถ
คน กวน ฯลฯ. ก. ขชติ. น. ขช (นปุ.) ช้อนใหญ่,ทัพพี.

ขชิ ขญฺช เวกลฺเล
กระจอก กระเผลก เขยก ง่อย. ก. ขญฺชติ. น. ขญฺช (ปุ.) คนกระจอก, ฯลฯ. ปงฺคล ปงฺคุ ปงฺคุล ปงฺคุฬ (ปุ.) คนเปลี้ย. ขญฺชน (นปุ.) ความกระจอก, ฯลฯ.

ขชิ ทานคตีสุ
ให้ ฯลฯ ไป ฯลฯ. ก. ขญฺชติ. น. ขญฺชน (นปุ.) การให้, การสละ, ฯลฯ, การไป ฯลฯ.

ขชฺชฺ มชฺชเน
ขยำ ย่ำ ทำให้สะอาด ทำให้หมดจด. ก. ขชฺชติ. น. ขชฺชน (นปุ.) การขยำ, ฯลฯ.

ขชฺชฺ พฺยถเน
รบกวน ลำบาก เป็นทุกข์ หวาด สะดุ้ง ไหว สั่น ฯลฯ. ก. ขชฺชติ. น. ขชฺชุ (อิต.) กลาก, โรคกลาก, ขี้กลาก, หิด, โรคหิด.


ขชฺช ภกฺขเณ
กิน ฯลฯ. ก. ขชฺชติ. น. ขชฺชูร (ป.) อินทผลัม, ต้นแป้ง ก็ว่า.

ขชฺชฺ เถยฺเย
ลัก ฯลฯ. ก. ขชฺชติ. น. ขชฺชน (นปุ.) การลัก, ฯลฯ.

ขฏฺ อิจฺฉายํ
จำนง ประสงค์ หวัง ฯลฯ. ก. ขฏติ. น. ขฏก (ปุ.) กำ (ของที่มัดรวมกัน), กำ (มือที่กำ) , กำมือ , ขฏ (ป.) หญ้า, หญ้าหอม, แฝกหอม (รากมีกลิ่นหอมใช้ทำยาไทย) ,กร , มือ , กระพุ่มมือ, ความจำนง, ฯลฯ.

ขฑิ ขณฺฑเฉทเน
เป็นท่อน เป็นตอน เป็นหมวด. ก. ขณฺฑติ. น. ขณฺฑ (ปุ.,นปุ.) กึ่ง,ครึ่ง,แผนก,ส่วน,ก้อน,ท่อน,ตอน,ภาค,หมวด,หมู่ ,ชิ้น, กระทง, ขัณฑ์.

ขฑิ มนฺถเน
คน กวน คลุกเคล้า คลุกเคล้ากัน ฯลฯ. ก. ขณฺฑติ, น. ขณฺฑ. (ปุ.) น้ำอ้อยก้อน, น้ำอ้อยงบ, ลูกกรวด.

ขณฺ หึสายํ
เบียดเบียน ฯลฯ. ก. ขทติ. ก. ขณติ. น. ขณ (ปุ.) ครู่, ครั้ง, คราว, สมัย, เมื่อ (ครั้งคราว) , นาที, ขณะ, กณณะ

ขทฺ หึสายํ
เบียดเบียน ฯลฯ. ก. ขทติ. น. ขทิร (ปุ.) สะเดา, ใบสะเดา, ไม้ตะเคียน ,พะยอม.

ขทฺ ธิติยํ
ตั้งมั่น หนักแน่น มั่นคง. ก. ขทติ. น. ขทิร (ปุ.) ไม้ตะเคียน ,ไม้พยอม, ไม้สะเดา แปลว่า ไม้สะแก, ไม้สีเสียด ก็มี.

ขทฺทฺ ทํสเน
กัด ขบ ต่อย. ก. ขทฺทติ. น. ขทฺทน (นปุ.) การกัด, ฯลฯ.

ขนฺ ขนุ อวทารเณ
ขุด เจาะ ไช ฯลฯ. ก. ขนติ. ขนก (วิ.) ผู้ขุด ฯลฯ. (ปุ.) คนขุด, ฯลฯ.

ขทิ ชวนปสเวสุ
วิ่ง เล่น ไหล ไหลไป. ก. ขนฺทติ. น. ขนฺทน (นปุ.) การวิ่ง, ฯลฯ.

ขทิ ขนฺทฺ หึสายํ
กำจัด, ฯลฯ. ก. ขนุทติ. น. ขนฺทน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, การเบียดเบียน.

ขนฺทฺ คติโสสเนสุ
ไป, ฯลฯ ผาก แห้ง เหี่ยว. ก. ขนฺทติ. น. ขนฺทน (นปุ.) การไป, ฯลฯ , ความผาก, ฯลฯ.


ขพฺพฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ขพฺพติ. น. ขพฺพน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป, ความเป็นไป.

ขพฺพฺ อหํกาเร
ถือตัว ทะนงตัว ไว้ตัว ไว้ยศ หยิ่ง เย่อหยิ่ง จองหอง อหังการ. ก. ขพฺพติ น. ขพฺพน (นปุ.) การถือตัว, ฯลฯ .

ขภิ ขมฺภเน
ข่ม ข่มไว้ เหนียวไว้ เหนี่ยวรั้ง. ก. ขมฺภน (นปุ.) ความข่ม, ฯลฯ.

ขมฺ ขมุ ขนฺติยํ
ทน อดทน อดกลั้น ฯลฯ. ก. ขมติ. น. ขม (ปุ.) ขมา (อิต.) ขมน (นปุ.) ความทน ฯลฯ.

ขมายฺ วิถมฺปเน
สลัด สะบัด สั่น ฯลฯ. ก. ขมายติ. น. ขมายน (นปุ.) การสลัด, ฯลฯ.

ขฺยา ขา ปกถเน
กล่าว ประกาศ แสดง ชี้แจง อธิบาย เทศนา. ก. ขฺยาติ ขาติ. น. อาขฺยาน (นปุ.) การกล่าว , การท่อง , ฯลฯ. ขฺยาต (วิ.) ปรากฏ, รู้ , ชำนาญ, เฉลียวฉลาด, เฉียบแหลม, มีชื่อเสียง.

ขฺยา คณเน
นับ คำนวณ ก. ขฺยาติ. น. ขฺย สงฺขฺย (ปุ.) ขฺยา สํขฺยา สงฺขฺยา (อิต.) สงฺเขยฺย (นปุ.) การนับ.

ขา คณเน
นับ คำนวณ. ก. ขาติ. น. สงฺเขยฺย (นปุ.) การนับ, การคำนวณ.

ขรฺ ขเย
เสื่อม สิ้น สูญ. ก. ขรติ. น. ขรณ (นปุ.) ความเสื่อม, ความสิ้น, ความสูญ.

ขรฺ วินาเส
ฉิบหาย พินาศ วินาศ สูญหาย . ก. ขรติ. น. ขาร (ปุ.) เถ้า, ถ่าน , กรด, น้ำกรด, ด่าง, น้ำด่าง.

ขลฺ สญฺจินเน
รวบ รวบรวม สะสม สั่งสม. ก. ขลติ. น. ขล (ปุ.) ขล ขฬ (นปุ.) ลาน , ลานนวดข้าว.

ขลฺ โสธเน
ทำให้สะอาด ชำระ ล้าง. ก. ขลติ. ขล (วิ.) ชำระ, ล้าง, สะอาด. ขลน (นปุ.)การชำระ. ฯลฯ.

ขลฺ จลเน
กระดิก ไหว ฯลฯ เคลื่อน ฯลฯ . ก.  ขลติ. น. ขล (ปุ.) หม้อ,ไห, กระถาง ,แป้งเปียก, คนชั่ว, คนเลว ,คนต่ำ, คนผิด , คนโกง, คนร้าย, ทรชน ,ทุรชน.  ขล (วิ.) ไหว, พลาด, ผิด, ต่ำ , ต่ำช้า , เลว , เลวทราม , ชั่ว ,หย่อน , หยาบ, หยาบคาย , กระด้าง. ฉล (นปุ.) การโกง , การล่อลวง, การพลั้งพลาด.


ขาทฺ ภกฺขเณ
กิน เคี้ยว ฯลฯ. ก. ขาทติ. น. ขาทน (นปุ.) การกัด, การกิน, การกัดกิน,การเคี้ยว, การเคี้ยวกิน, การบริโภค. ฉาต (วิ.) อยาก, อยากข้าว, หิว,อ่อนเพลีย , อิดโรย.

ขิชฺ อพฺยตฺตสทฺเท
ออกเสียงร้อง ออกเสียงไม่ชัด ฯลฯ. ก. ขิชติ. น. ขิชน (นปุ.) การออกเสียงดัง, ฯลฯ.

ขิฏฺ อุตฺตาเส
หวาด หวาดเสียง สะดุ้ง กลัว สะดุ้งกลัว ตกใจ ฯลฯ. ก. เขฏติ. น. เขฏ (ปุ.) ความหวาด ฯลฯ.

ขิฑฺ กีฬเน
เล่น ฯลฯ. ก. ขิฑติ. น. ขิฑา ขิฑฺฑา (อิต.) การเล่น, การร่าเริง, ความเพลิดเพลิน , ความสนุก.

ขิทิ อวยเว
เป็นส่วน แยกส่วน เป็นส่วน ๆ แยกเป็นส่วน ๆ . ก. ขินฺทติ. น. ขินฺทน (นปุ.) ความเป็นส่วน, ฯลฯ.

ขิทิ ทีนิเย
ตกยาก ลำบาก ยากจน เข็ญใจ. ก. ขินฺทติ. น. ขิทิร (วิ.) ตกยาก, ฯลฯ. (ปุ.) คนตกยาก ,ฯลฯ. เขท (ปุ.) ความตกยาก, ฯลฯ.

ขิปฺ อพฺยตฺตสทฺเท
ออกเสียงไม่ชัด ไอ จาม. ก. ขิปติ. น. ขิป (วิ) ไอ,จาม.

ขิปฺ ขิปเน
ขว้างไป ซัดไป เหวี่ยงไป โยนไป พุ่งไป ยิง ยิงไป. ก. ขิปติ. น. ขิปน เขป เขปน (นปุ.) การขว้างไป. ฯลฯ. การทิ้ง.

ขิปฺ เปรเณ
บด ป่น ขยี้ ย่ำ. ก. เขปติ. น. ขปฺป (ปุ.) น้ำตา, เขตฺต (นปุ.) สรีระ , ตน, แดน, แคว้น ,นา , ไร่, ไร่นา, ที่, ที่ดิน, ทุ่ง, ทุ่งนา, เชต.

ขิปฺ พีชนิกฺเขปเน
หว่าน เพาะ ปลูก.  ก. เขปติ. น. เขป เขปน (นปุ.) การหว่าน, ฯลฯ.


ขิปิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ขิมฺปติ. น. ขิมฺปน (นปุ.) การไป, การถึง, ความเป็นไป. นิกเขปปท (นปุ.) บทตั้ง, นิเขปบท (หัวเรื่อง ความย่อ).

ขิวุ นิทสฺสเน
แสดงออก อ้าง อ้างอิง เป็นตัวอย่าง. ก.  เขวติ. น. เขวน (นปุ.) การแสดงออก, ฯลฯ.

ขี ขเย
สิ้น สิ้นไป ฯลฯ. ก. ขยติ ขิยฺยติ , น. ขย (ปุ.) ความสิ้น, ความสิ้นไป, ความเสื่อมไป, ความฉิบหาย, โรคผอมแห้ง, ขัย, กษัย ชื่อโรคชนิดหนึ่ง. ขีร (นปุ.) นม (น้ำที่รีดมาจากเต้านม) , นมสด , น้ำนม , กษีร , เกษียร. กิริยาเป็น ขียติ โดยลง ยฺ อาคม ก็มี.

ขี นิวาเส
อยู่ ฯลฯ. ก. ขิยฺยติ. น. ข ขย ขยน (นปุ.) ที่เป็นที่อยู่, ที่อยู่, ที่อาศัย.

ขีลฺ อุปถมฺเภ
ค้ำ ค้ำจุน อุดหนุน ช่วยเหลือ ส่งเสริม อนุเคราะห์. ก. ขีลติ. น. ขีล (ปุ.) เสาเข็ม,หลัก.

ขีวุ มเท
เมา ฯลฯ. ก. ขีวติ. น. ขีว (ปุ.) ความเมา, ความมัวเมา, ความฟั่นเฟือน.

ขีฬฺ กีฬเน
เล่น ฯลฯ ก. ขีฬติ. น. ขีฬน (นปุ.) การเล่น, ฯลฯ, ความสนุก.

ขุ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. ขวติ โขติ. น. ขุทฺท (นปุ.) น้ำผึ้ง, ง้วนผึ้ง.

ขุชฺ คชฺชเน
ร้อง คำรน คำราม กระหึม กระหึ่ม. ก. โขชติ. น. โขชน (นปุ.) ความคำรน, ความคำราม, ฯลฯ.

ขุชฺ เถยฺเย
ลัก ขโมย. ก. โขชติ. น. โขชน (นปุ.) การลัก, การขโมย.

ขุทฺ กีฬเน
เล่น ฯลฯ สนุก.  ก. โขทติ. น. โขทน (นปุ.) การเล่น , ฯลฯ, ความสนุก, ความสนุกสนาน.

ขุทฺ ปฏิฆาเต
กำจัด ฯลฯ. ก. โขทติ. น. โขทน (นปุ.) การกำจัด, การขจัด, ฯลฯ, การตี, การประหาร.


ขุทฺ ชิฆจฺฉายํ
หิว กระหาย อยากกิน ต้องการกิน ต้องการจะกิน ฯลฯ. ก. ขุทติ. น. ขุทา ขุทฺทา (อิต.) ความหิว, ความกระหาย , ความอยากข้าว, ความอยากกิน, ความอยากจะกิน, ฯลฯ.

ขุทิ อาปวเน
ทำให้สะอาด ฯลฯ. ชำระ สะสาง. ก. ขุนฺทติ. น. ขุนฺทน (นปุ.) การทำให้สะอาด ฯลฯ.

ขุภ. สญฺจลเน
กำเริบ ปั่นป่วน.  ก. ขุภติ โขภตี. น. โขภ (ปุ.) โขภน (นปุ.) ความกำเริบ, ความปั่นป่วน.

ขุรฺ เฉทเน
โกน ตัด แบ่ง บั่น ทอน เฉือน ฯลฯ. ก. ขุรติ. น. ขุร (นปุ.) มีดโกน , คม (ส่วนที่บางสามารถบาดได้). ขุร (ปุ.,นปุ.) กีบ,กีบเท้าสัตว์ , กีบม้า. ขุลฺล ขุลฺลก (วิ.) เล็ก, น้อย, เลว.

ขุรฺ วิเลขเน
ทำให้เป็นรอย ขีด เขียน.  ก. ขุรติ. น. ขุรน (นปุ.) การขีด,การเขียน.

ขุฬฺ โมหโภชเน
เขลา โง่ กิน ฯลฯ ก. ขุฬติ. น. ขุฬน (นปุ.) ความเขลา ฯลฯ, การกิน , ฯลฯ.

เขลฺ เขลุ คติยํ
ไป, ฯลฯ บ้วน ถ่ม. ก. เขลติ. น. เขล เขฬ (ปุ.) น้ำลาย.

เขลฺ เขลุ กมฺปเน
ไหว ฯลฯ. ก. เขลติ. น. เขลน (นปุ.) ความไหว, ฯลฯ.

เขวุ เสวเน
คบ เสพ รับใช้ ปฏิบัติ. ก. เขวติ. น. เขวน (นปุ.) การคบ, ฯลฯ.

เขฬฺ คติยํ
ไป ฯลฯ บ้วน ถ่ม. ก. เขฬติ. น. เขฬ (ปุ.) น้ำลาย, การบ้วน, การถ่ม.

โขณฺฑฺ คติเวกลฺเล
กระจอก เขยก เป็นง่อย. ก. โขณฺฑติ. น. โขณฺฑ (วิ.) กระจอก , ฯลฯ. (ปุ.) คนกระจอก, ฯลฯ.

โขทฺ ปฏิฆาเต
กำจัด ขจัด เบียดเบียน มุ่งร้าย ทำลาย ฆ่า ประหาร. ก. โขทติ. น. โขทน (นปุ.) การกำจัด.

โขลฺ คติปฏิฆาเต
กำจัดการไป หยุด อยู่ หยุดอยู่ นิ่ง พัก.  ก. โขลติ. น. โขร โขล (วิ.) กระจอก, ฯลฯ.


ค อักษร

คชฺ สทฺทคชฺชเนสุ
ออกเสียง ร้อง ร้องกึกก้อง กระหึม กระหึ่ม คำรณ คำราม. ก. คชติ. น. คช (ปุ.) ช้าง, ช้างพลาย. คิญฺชกา (อิต.) อิฐ,กระเบื้อง.

คชฺชฺ สทฺทสชฺชเนสุ
ออกเสียง ร้อง ฯลฯ. ก. คชฺชติ. น. คชฺชน (นปุ.) การร้อง, ฯลฯ การคำราม, เสียงฟ้า, ฟ้าร้อง.

คฑิ สนฺนิจเย
สะสม สั่งสม รวบรวม นูน นูนขึ้น บวม พอง. ก. คณฺฑติ. น. คณฺฑ (ปุ.) แผล,ฝี. คณฺฑุ (ปุ.) หลัก.

คฑิ ปมาเท
เมา มัวเมา เมามัว หลงระเริง ประมาท. ก. คณฺฑติ. น. คณฺฑน (ปุ.) ความเมา, ฯลฯ.

คฑิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. คณฺฑติ. น. คณุฑุล (ปุ.) คนค่อม, คนเตี้ย, คนแคระ.

คฑิ นินทายํ
ติเตียน ยกโทษขึ้นพูด นินทา (ติเตียนลับหลัง). ก. คณฺฑติ. น. คณฺฑลุ (ปุ.) คนค่อม, ฯลฯ.

คณฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. คณติ. น. คณ (ปุ.) หมวด,หมู่ , ฝูง (ผู้ไปในที่เดียวกัน).

คเณจุ เถยฺเย
ลัก ฯลฯ. ก. คโณจติ. แปลง เอ เป็น โอ. น. คโณจก (ปุ.) โจร, ขโมย, คนลัก, ขโมย.

คทฺ วิยตฺติยํ วาจายํ
กล่าว กล่าวชัดเจน.  ก. คทติ. น. คชฺชฺ (นปุ.) คำอันบุคคลพึงกล่าว, คำอันบุคคลพึงกล่าวชัดเจน, คำชัดเจน, ถ้อยคำชัดเจน.

คทฺทฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. คทฺทติ. น. คทฺทล (นปุ.) โซ่ (โลหะที่เกี่ยวกันเป็นข้อ ๆ ).

คพฺพฺ ปีฬเน
เบียดเบียน บีบคั้น เคี่ยวเข็ญ. ก. คพฺพติ. น. คพฺพน (นปุ.) การเบียดเบียน, ฯลฯ.

คพฺพฺ มาเน
ถือตัว ไว้ตัว หยิ่ง เย่อหยิ่ง จองหอง อหังการ์. ก. คพฺพติ. น. คพพฺพน (นปุ.) ความถือตัว, ฯลฯ.


คพฺภฺ ธารเณ
ทรง ทรงไว้ รับไว้. ก. คพฺภติ. น. คพฺภ (ปุ.) ห้อง, ห้องไว้ของ , หลืบ (ของที่เป็นชั้น ๆ), ท้อง ชื่อส่วนของร่างกายด้านหน้า ตั้งแต่ลิ้นปี่ลงไปถึงบริเวณต้นขา.

คพฺภฺ ปคพุเภ
กล้า กล้าหาญ แกว่นกล้า องอาจ ว่องไว จำได้ไว ฉลาด. ก. คพฺภติ. น. ปคพฺภ. (ปุ.) ความกล้า, ฯลฯ.

คมฺ คมุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. คจฺฉติ คมติ คเมติ ฆมฺมติ. น. ค (วิ.) ไปถึง เป็นไป นำไป. (ปุ.) ภาวะอันยังสัตว์ให้ถึงซึ่งอบาย, สภาวะผู้ยังสัตว์ให้ถึงซึ่งอบาย, สภาพผู้ยังสัตว์ให้ถึงอบาย. คภีร คมฺภีร (วิ.) ลึก, ลึกซึ้ง, สุขุม. คมฺภีร (ปุ.) ตำรับ,ตำรา, คม (ปุ.) คมน (นปุ.) การไป, ฯลฯ. คาม (ปุ.) อันไป, อันถึง,อันบรรลุ,อันเป็นไป, การไป, ฯลฯ. คจฺฉ (ปุ.) กอ (กลุ่ม), กอไม้ ,กลุ่มไม้, กอผัก, ต้นไม้. โค (ปุ.) วัว,โคผู้. โค (ปุ.,อิต.) แผ่นดิน.

ครฺ เสจเน
รด ราด พรม ประพรม โปรย. ก. ครติ. น. ครุ (ปุ.) บุคคลผู้โปรยความรักแก่ศิษย์, บุคคลผู้โปรยความรักในศิษย์, บุคคลผู้สั่งสอน, ครู.

ครฺ นิคิรเน
คาย ไหลออก แผ่ แผ่ออก.  ก. ครติ. ครุ (ป.) ปีก เช่น ปีกนก.  คร (ปุ.,นปุ.) พิษ เช่น พิษงู. ครุ (ปุ.) บุคคลผู้ถ่ายทอดความรู้และความดีงามแก่ศิษย์, ครู.

ครฺ อุคฺคเม
ไปในเบื้องบน ขึ้นไป ไปสูง อยู่สูง. ก. ครติ. น. ครุ (ปุ.) บุคคลผู้อัน. ..พึงยกขึ้นในเบื้องบน, บุคคลผู้ไปสูงคืออยู่เบื้องสูง (มีบิดามารดา เป็นต้น).

ครฺ อทเน
กิน ฯลฯ. ก. ครติ. น. ครฬ (นปุ.) พิษ เช่น พิษงู (กินชีวิตสัตว์อื่น).

ครหฺ กุจฺฉเน
เกลียด ชัง น่าเกลียด น่าชัง ติเตียน นินทา. ก. ครหิติ. น. ครห (วิ.) เกลียด, ฯลฯ. ครห (ปุ.) ครหา (อิต.) ความเกลียด, ฯลฯ.


คลฺ อชฺโฉหรเณ
กิน กลืน กลืนกิน.  ก. คลติ. น.  คล (ปุ.) คอ, ลำคอ. ปุคฺคล (ปุ.) อัตตะ (ตน) , คน, บุคคล (กินของเปื่อยเน่า), บุทคล. คาฬว (ปุ.) โลท, ต้นโลท.

คลฺ สชฺชนเสจนปตเนสุ
ข้อง เกี่ยวข้อง รด ราด พลัด เคลื่อน ตก หล่ร. ก. คลติ. น. คลน (นปุ.) การข้อง, ฯลฯ.

คเวสฺ มคฺคเน
ค้น ค้นหา เสาะหา แสวงหา ตามหา. ก. คเวสติ. น.  คเวสน (นปุ.) คเวสนา (อิต.) การค้น ,ฯลฯ.

คสฺ คสุ อชฺโฌหรเน
กิน กลืนกิน.  ก. คสติ. น. คาม (ปุ.) บ้าน,ชาวบ้าน, หมู่, หมู่บ้าน.

คหฺ คหเน อุปาทาเนจ
ถือ จับ จับไว้ ยึด กุม. ก. คหติ. น. คห (นปุ.) เรือน, เหย้า, ถ้ำ , ป่า. คหณ คหน (นปุ.) การจับ, ฯลฯ. คาฬฺห (วิ.) มั่น, แน่น, แน่นอน.  เคห (ปุ.,นปุ.) บ้าน, เรือน, ที่อยู่, ทับ, เหย้า. สงฺคห (ปุ.) การถือตาม, การรวม, การรวบรวม, การย่อ, การย่อเข้า, ความย่อ, ความย่อเข้า, การสังเขป, การอุดหนุน, การเอื้อเฟื้อ, การเผื่อแผ่, การช่วยเหลือ, การเกื้อกูล, การสังเคราะห์ , ความอุดหนุน, ฯลฯ. ฆร (นปุ.) กล่อง,เรือน.

คฬฺ รกฺขเณ
ปกครอง ป้องกัน ระวัง รักษา. ก. คฬติ. น. คฬุล (ปุ.) เครื่องผูกสุนัข, โซ่ผูกสุนัข, บ่วงสุนัข.

คา สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. คาติ. น. คาถา (อิต.) ลัททชาติอันบัณฑิตกล่าว, กลอน, บทกลอน, ลำนำ (บทเพลงที่เป็นทำนอง), คาถา ชื่อ คำประพันธ์ร้อยกรองทางภาษามคธ เรียกคำฉันท์ภาษามคธ ๔ บาทว่าคาถา. เคยฺย (นปุ.) เคยยะ ชื่อองค์ที่ ๒ ของนวังคสัตถุศาสน์. คาน (นปุ.) การขับ การขับกล่อม, การขับร้อง, การร้องเพลง.

คา คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. คาติ. น. คาน (ปุ.) การไป, การถึง, การเป็นไป, ความเป็นไป.


คาธฺ คาธุ ปติฏฺเฐ
ตั้งขึ้น แต่งขึ้น แต่งตั้ง สร้างขึ้น จัดทำขึ้น ประดิษฐ์. ก. คาธติ. น. คาธ (ปุ.) การตั้งขึ้น, การแต่งตั้ง, ฯลฯ.

คาธฺ คาธุ นิสสเย
เป็นที่พึ่ง เป็นที่พักพิง เป็นที่อาศัย เป็นที่อาศัยอยู่. ก. คาธติ. น. คาธ (ปุ.) ความเป็นที่พึ่ง, ฯลฯ.

คาธฺ คาธุ โอคธเน
นับเข้า รวมเข้า หยั่งลง ถึงที่สุด. ก. คาธติ. น. คาธ (ปุ.) การนับเข้า, ฯลฯ, ความนับเข้า, ฯลฯ.

คาธฺ คาธุ คนฺเถ
แต่ง ร้อยกรอง เรียบเรียง ประพันธ์. ก. คาธติ. น. คาธ (ปุ.) การแต่ง, ฯลฯ.

คาหุ วิโลฬเน
กวน คน รบกวน ปั่นป่วน ขุ่นมัว. ก. คาหติ. น. คาห (ปุ.) การกวน, ฯลฯ. คาฬฺห (วิ.) กวน, ฯลฯ.

คิรฺ นิคิรเณ
คาย ไหลออก อาเจียน รด ราด โปรย กระจาย. ก. คิรติ. น. ครฬ (นปุ.) พิษ เช่น พิษงู . คิริ (ปุ.) ภูเขา, ภูเขาชื่อคิริ.

คิลฺ อชฺโฌหรเณ
กิน เคี้ยว กลืนกิน.  ก. คิลติ. น. คิลิ คิลิต (วิ.) กิน, เคี้ยว, เคี้ยวกิน, กลืนกิน.

คิลา คิเล หาสกฺขเย
สิ้นความสำราญ หมดความสำราญ เจ็บ ไข้ เจ็บไข้ ป่วย ป่วยไข้ ไม่สบาย. ก. คิลยติ. คิลายติ. น. คิลาน (ปุ.) ไข้ (นามนาม), ความเจ็บ, ความไข้, ฯลฯ, คนเจ็บ, คนไข้, ฯลฯ.

คิเลวุ เสวเน
คบ คบหา รับใช้ ปฏิบัติ. ก. คิเลวติ. น. คิเลวน (นปุ.) การคบ,ฯลฯ.

คิเลสุ อนุวิจฺฉายํ
อยากบ่อย ๆ อยากร่ำไป ต้องการมาก ปรารถนามาก.  ก. คิเลสติ คิเลเสติ. น. คิเลสน (นปุ.) ความอยากบ่อย ๆ , ฯลฯ.

คุ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. ควติ. น. คว (นปุ.) การออกเสียง, การเปล่งเสียง, การกล่าว, การพูด, คำ, คำพูด. คุนฺทา (อิต) กะเม็ง, ต้นกะเม็ง, หญ้ากะเม็ง. ใช้ทำยาเด็ก.

คุ อุคฺคเม
ขึ้นไป ไปสูง สูงขึ้น ปรากฏ. ก. ควติ. น. คว (นปุ.) การขึ้นไป, ฯลฯ, การปรากฏ.


คุ กรีสุสสคฺเค
ถ่ายอุจจาระ ขี้ (ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก). ก. ควติ. น. คูถ (ปุ.,นปุ.) อุจจาระ, ขี้.

คุจฺ คุจุ เถยฺเย
ลัก ฯลฯ. ก. โคจติ. น. โคจน (นปุ.) การลัก, ฯลฯ. โคจก (ปุ.) คนลักของ, ขโมย.

คุชิ อพฺยตฺตสทฺเท
ร้องดัง ฯลฯ. ก. คุญฺชติ. น. คุญฺชา (อิต.) มะกล่ำ, มะกล่ำตาหนู.

คุทฺ กีฬเน
เล่น ฯลฯ. ก. โคทติ. น. โคทน (นปุ.) การเล่น, ฯลฯ, ความสนุก.

คุธฺ ปริเวธเน
เจาะ แทง เบียดเบียน ทำลาย. ก. โคธติ น. โคธุม (ปุ.) โคธุมะ ชื่อข้าวอย่างที่ ๔ ใน ๗ อย่าง.

คุธฺ โรเส
โกรธ ขึ้งเคียด แค้น เคือง จำนงภัย. ก. โคธติ. น. โคธา (อิต.) เหี้ย ชื่อสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกคล้ายจะกวด.

คุปฺ รกฺขเณ
คุ้มครอง ฯลฯ. ก. โคปติ. น. โคป (ปุ.) โคปน (นปุ.) การคุ้มครอง, การป้องกัน, การระวัง, การดูแล, การรักษา , ความคุ้มครอง, ฯลฯ. โคปก.  (ปุ.) คนผู้คุ้มครอง, ฯลฯ โคปฺผ โคปฺผก (ปุ.) ข้อเท้า, ตาตุ่ม. โคตฺต โคตฺร (นปุ.) แซ่, เผ่า, พันธุ์, เหง้า (ต้นวงศ์), เหล่ากอ, เชื้อ, เชื้อสาย,สกุล, วงศ์, โคตร. คุมฺพ (ปุ.) กอ, กอไม้, พง, พุ่ม ,พุ่มไม้, ซุ้มไม้,สุมทุม, หมู่, พวก, ฝูง, กอง, คณะ, กลุ่มก้อน, กองทหาร,กระบวนทัพ, ขบวนทัพ, เสา.

คุผฺ คนฺเถ
แต่ง เรียบเรียง ร้อยกรอง. ก. โคผติ. น. โคผน (นปุ.) การแต่ง, ฯลฯ.

คุมฺพฺ คุมฺพเน
เป็นกอ เป็นกอง เป็นกลุ่ม เป็นพวก เป็นหมู่ เป็นคณะ. ก. คุมฺพติ. น. คุมพ (ปุ.) กอ,กอไม้, พง, พุ่ม, พุ่มไม้, ซุ้มไม้, สุมทุม, หมู่, พวก, ฝูง, ประชุม, กอง, คณะ, กลุ่ม, ก้อน, กลุ่มก้อน, กองทหาร, ขบวนทัพ,เสา.

คุหฺ คุหุ สํวรเณ
ปิด บัง มุง ระวัง ป้องกัน เหนี่ยวรั้ง สงวน สำรวม. ก. คุหติ คูหติ. น. คุหา คูหา (อิต.) ที่บัง, ที่ปิดบัง, ที่กำบัง.

คุหุ สํวรเณ
ปิด ฯลฯ สำรวม. ก. คุยฺหติ. แปลง อุ เป็น ย แปร ย ไว้หน้า ห. น. คุยฺห (วิ.) ลับ, ซ่อน, ซ่อนเร้น, ปกปิด, ปิดบัง. คุยฺห (นปุ.) อวัยวะอันบุคคลพึงปิด, อวัยวะที่ลับ, ของลับ, องคชาติ (อวัยวะสิบพันธุ์ทั้งชายและหญิง), ความลับ, ข้อลี้ลับ, ฯลฯ. คุยฺหก (ปุ.) ความปกปิด, ความลับ. คุยหกะ ชื่อกำเนิดเทวดาอย่างที่ ๔ ใน ๘ อย่าง. คุหา (อิต.) ถ้ำ. คุฬฺห (วิ.) ปกปิด, ลับ, ซ่อน, สอดแนม.

คุฬฺ รกฺขเณ
คุ้มครอง ฯลฯ ระวัง, รักษา. ก. คุฬติ. น. คุล คุฬ (นปุ.) น้ำอ้อย, น้ำอ้อยงบ, น้ำตาล ,น้ำตาลกรวด, ลูกกลม ๆ , ก้อน, ก้อนข้าว, ช่อ, พวง, มัด, กลุ่ม, ขลุบ (ลุกคลีสำหรับแข่งขันกัน).

คุฬฺ ปริวตฺตเน
เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนไป แปรไป หมุนเวียน แลกกัน แลกเปลี่ยน. ก. คุฬติ. น. วิงฺคุลิก วิงฺคุฬิก (ปุ.) ตุ๊กตาล้มลุก.

คุฬฺ โมจเน
แก้ ปล่อย ปลด เปลื้อง หลุด พ้น.  ก. คุฬติ. น. คุฬน (นปุ.) การแก้, ฯลฯ.

เค สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. คายติ. น. คาน (ปุ.) การขับ, การขับกล่อม, การขับร้อง ,การร้องเพลง. คายก (ปุ.) คนขับ, ฯลฯ. คายน (นปุ.) การขับ, ฯลฯ, การร้องเพลง, เพลงขับ. ฌ (ปุ.) การขับ, การขับร้อง, คนขับร้อง,คนร้องเพลง. เค+อ ปัจ. เป็น ค แปลง ค เป็น ช แปลง ช เป็น ฌ.

โคตฺถฺ วํเส
ตั้งวงศ์ ดำรงวงศ์. ก. โคตฺถติ. น. โคตฺถุ (นปุ.) วงศ์,สกุล, การตั้งวงศ์สกุล.

ฆ อักษร

ฆ อสหเน
ไม่ทน ไม่อดทน ไม่อดกลั้น อดทนไม่ได้ อดกลั้นไม่ได้. ก. ฆายติ. แปลง อ ปัจ. เป็น อาย. ฆ (ปุ.) คันไถ, คู่แห่งคันไถ, ระฆัง, ระฆังใหญ่.

ฆํสฺ ฆํสเน
ขัด สี เช็ด ถู บด สึก (ของที่ถูกสี). ก. ฆํสติ. น. ฆํสน (นปุ.) การขัด, ฯลฯ, การสึก.

ฆฏฺ จลเน
กระดิก ไหว เคลื่อน เคลื่อนไหว สั่น.  ก. ฆฏติ. น. ฆฏ (ปุ.) ฆฏา (อิต.) หม้อ,หม้อน้ำ,ตุ่ม,กระออม, กะออม, กะละออม, กัลออม, เปรียง, แนว, ราว. เป็น ฆฏี (อิต.) บ้าง.

ฆฏฺ สงฺฆาเต
ติดต่อกัน สืบต่อ รวมกัน เชื่อม เบียดกัน เบียดเสียดกัน คละกัน ปนกัน ระคนกัน.  ก. ฆฏติ. ฆฏ (วิ.) ติดต่อกัน,ฯลฯ, ฆฏน (นปุ.) ฆฏนา ฆฏา (อิต.) การติดต่อกัน, ฯลฯ. ฆฏา (อิต.) ฝูง, หมู่, พวก, ประชุม, กอง, คณะ. สงฺฆฏน (นปุ.) ที่ติดต่อกัน, ฯลฯ.

ฆฏฺ วายาเม
หมั่น ขยัน เพียร พยายาม. ก. ฆฏติ. น. ฆฏน (นปุ.) ฆฏนา (อิต.) ความหมั่น, ฯลฯ.

ฆฏฺ จินฺตาย
คิด รู้. ก. ฆฏติ. น. ฆฏน (นปุ.) ฆฏนา (อิต.) ความคิด, ความรู้.

ฆฏ หนเน
กำจัด ขจัด เบียดเบียน กระทบ ตี ฆ่า ทำลาย ประหาร. ก. ฆฏติ. น. ฆฏน (นปุ.) ฆฏนา (อิต.) การกำจัด ฯลฯ. ฆาฏ (ปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

ฆฑิ มณฺฑ ฆฏเน
ตี เคาะ กระทบ. ก. ฆณฺฑติ. น. ฆณฺฑ (ปุ.) ฆณฺฑิ (อิต.) กระดิ่ง,ฆ้อง, ระฆัง. ฆณฺฑก.  (ปุ.) คนสั่นกระดิ่ง, คนตีระฆัง, คนเคาะระฆัง.

ฆฑิ มณฺฑ จลเน
กระดิก ไหว เคลื่อนไหว สั่น รัว. ก. ฆณฺฑติ. น. ฆณฺฑก (ปุ.) คนสั่นกระดิ่ง คนรัวกระดิ่ง.

ฆรฺ เสจเน
พรม ประพรม รด ราด. ก. ฆรติ. น. ฆร (นปุ.) กล่อง, เรือน.

ฆสฺ อทเน
กิน ฯลฯ. ก. ฆสติ น. ฆส (วิ.) กิน เคี้ยว เคี้ยวกิน กลืน กลืนกิน,บริโภค. ฆสฺมร (ปุ.) คนโลภอาหาร, คนตะกละ.

ฆสุ ฆุสุ สํหรเณ
รวบรวม เก็บ ยึดไว้ ถือไว้ ยึดถือ. ก. ฆสฺสติ. น. ฆสฺสน (นปุ.) การรวบรวม.

ฆสุ ฆุสุ สํหนเน
กระทบ กระทบกระทั่ง ตี เบียดเบียน ทำลาย ประหาร. ก. ฆสฺสติ น. ฆสฺสน (นปุ.) การกระทบ, ฯลฯ.

ฆุ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. ฆวติ โฆติ. น. ฆวน (นปุ.) ฆุ โฆ (ปุ.) การประกาศ, การป่าวร้อง.

ฆุฏฺ ฆาตเน
เฆี่ยน ตี ทำลาย ฆ่า ประหาร. ก. ฆุฏติ.  น. โฆฏำ (ปุ.) ม้ากระจอก,ม้าวิ่งไม่เรียบ.

ฆุฏฺ โฆสปวตฺตเน
ประกาศ ป่าวร้อง เป็นไป ฯลฯ. ก. ฆุฏติ โฆฏติ. น.  ฆุฏน โฆฏน (นปุ.) การประกาศ, ฯลฯ.

ฆุณฺ ฆุณฺณ คมเน
ไป ฯลฯ. ก. ฆุณติ โฆณติ ฆุณฺณติ. น. ฆุณน โฆณน ฆุณฺณน (นปุ.) การไป, ฯลฯ.

ฆุณิ คหเน
จับ รับ ยึด ถือ ถือเอา กุม. ก. ฆุณฺณติ. น. ฆุณฺณน (นปุ.) การจับ ฯลฯ.

ฆุรฺ อุพฺเพคภเยสุ
หวาด หวาดหวั่น หวาดเสียว ตกใจ กลัว. ก. ฆุรติ. น. โฆร (วิ.) พิลึก หวาด ฯลฯ ตกใจ, กลัว.

ฆุรฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. ฆุรติ. น. โฆร (วิ.) กึกก้อง,ร้อง,กล่าว.

ฆุสฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. ฆุสติ โฆสติ. น. โฆส (ปุ.) โฆสา (อิต.) ความกึกก้อง, เสียงกึกร้อง, เสียงสนั่น.

ฆุสฺ ปกาสเน
ประกาศน์ ป่าวร้อง แจ้งให้ทราบ บอกให้รู้. ก. ฆุสติ โฆสติ. น. โฆสก (ปุ.) คนผู้ประกาศน์, ฯลฯ. โฆสน (นปุ.) โฆสนา (อิต.) การแถลงข่าว,การประกาศ , ฯลฯ.

ฆุสี กนฺติยํ
รัก รักใคร่ ชอบใจ พอใจ ยินดี ปรารถนา อยากได้ ต้องการ. ก. ฆุสติ. น. โฆส (ปุ.) หมู่บ้าน, คนเลี้ยงโค, คอก, คอกวัว.

โฆรฺ คติปฏิฆาเต
กำจัดการไป ช้า ช้าลง อ่อน อ่อนลง หยุด. ก. โฆรติ. น. โฆรณ โฆรน (นปุ.) การช้า, ฯลฯ.


จ อักษร

จกฺ ติตฺติปฏิฆาเตสุ
อิ่ม พอ เต็ม หายหิว แช่มชื่น เบิกบาน กำจัด ขจัด เบียดเบียน ฯลฯ. ก. จกติ

จกฺ ปริวตฺตเน
หมุนไป ฯลฯ. ก. จกติ. น. จโกร (ปุ.) นก,นกกด (มีหลายชนิด), นกเขา, นกเขาไฟ. จกฺก (นปุ.) วัตถุอันหมุนไป, ล้อ, ล้อรถ.

จกฺขฺ วิยตฺติยํ วาจายํ
กล่าว บอก.  ก. จกฺขติ. น. วิจกฺขณ (ปุ.) คนผู้กล่าวอรรถอันประเสริฐ, ฯลฯ.

จกฺขฺ ทสฺสเน
เห็น ดู. ก. จกฺขติ. น. จกฺขุ (นปุ.) ตา,นัยน์ตา (โดยมากหมายเอาแววตา ประสาทตา), วิจกฺขณ (ปุ.) คนผู้เห็นอรรถโดยวิเศษ, คนผู้มีปัญญาเป็นเครื่องเห็นแจ้ง, คนผู้มีปัญญา, คนมีปัญญา, คนฉลาด, นักปราชญ์.

จกฺขฺ กนฺติยํ
รัก รักใคร่ ชอบ พอใจ ฯลฯ. ก. จกฺขติ. น. จกฺขน (นปุ.) ความรัก, ฯลฯ, ความต้องการ.

จกิ ปรามสเน
ต้อง (ถูก) ถูก โดน จับต้อง คลำ ลูกคลำ. ก. จงฺกติ. น. จงฺกน (นปุ.) การต้อง,ฯลฯ.

จจฺจ ปริภาสปหาเนสุ
ตัดพ้อ ต่อว่า กล่าวโทษ ติเตียน ด่า สละ ละเว้น ปล่อยวาง ทิ้ง. ก. จจฺจติ. น. จจฺจน (นปถ.) การตัดพ้อ, ฯลฯ.

จชฺ จาคมุจจเน
สละ ให้ ให้ปัน หลุด พ้น ปล่อย วาง ละ ละทิ้ง. ก. จชติ. น. จช จชน (นปุ.) ความเสื่อม, ฯลฯ.

จญฺจุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. จญฺจติ. น. จญฺจล (ปุ.) คนเดินทาง, คนเที่ยว,คนเที่ยวไป.

จฏฺ ปริภาสเภทเน
ตัดพ้อ ฯลฯ เจาะ ทำลาย ฯลฯ. ก. จฏติ. น. จฏก (ปุ.) นกกระจอก.

จณฺ ทาเน
สละ ให้ ให้ปัน.  ก. จณติ. น. จณก (ปุ.) ถั่วดำ,ถั่วราชมาษ.

จฑิ จณฺฑฺ โกเป
ดุ ร้าย ดุร้าย ร้ายกาจ เหี้ยม โหด โหดเหี้ยม โกรธ. ก. จณฺฑติ. น. จณฺฑ จณฺฑาล (วิ.) ดุ ฯลฯ, โกรธ. จณฺฑาล (ปุ.) คนดุ, ฯลฯ, คนโกรธ.

จฑิ จณฺฑฺ หีเน
ชั่ว ชั่วช้า ต่ำ ต่ำช้า ต่ำต้อย ชั้นต่ำ หยาบ หยาบช้า เลว ทราม เลวทราม. ก. จณฺฑติ. น. จณฺฑาล (วิ.) ชั่ว,ฯลฯ จณฺฑาล (ปุ.) คนชั่ว, ฯลฯ, คนเลวทราม.

จตฺ ยาจเน
ขอ ขอร้อง ร้องขอ วิงวอน.  ก. จตติ. น. จตุร (วิ.) มีฝีมือ, ฉลาด, ชำนาญ.

จตฺ หึสาคนฺเถสุ
กำจัด ขจัด ฯลฯ แต่ง เรียบเรียง ร้อยกรอง. ก. จตติ. น. จตน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, การแต่ง, ฯลฯ.

จทฺ ยาจเน
ขอ ร้องขอ ขอร้อง วอน อ้อนวอน วิงวอน.  ก. จทติ. น. จทน (นปุ.) การขอ, ฯลฯ.

จทิ ปตฺถนายํ
มุ่งหมาย ต้องการ ฯลฯ ก. จนฺทติ. น. จนฺทน (ปุ.,นปุ.) ต้นจันทน์, ไม้จันทน์, แก่นจันทน์.

จทิ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. จนฺทติ. น. จนฺท (ปุ.) พระจันทร์, ดวงจันทร์, เดือน, ดวงเดือน.  จนฺทก (ปุ.) แววหางนกยูง.

จทิ หิลาทเน
สบาย สำราญ. ก. จนฺทติ. น. จนฺท (ปุ.) พระจันทร์, ฯลฯ. จนฺทน (ปุ.,นปุ.) ต้นจันทน์ ฯลฯ. จนฺท จนฺทน (นปุ.) ความสบาย, ความสำราญ, ความสุข, ความสบายใจ, ฯลฯ.

จปฺ ปโลภเน
เกลี้ยกล่อม ประโลม เล้าโลม ปลอบ เอาใจ. ก. จปติ. น. จปน (นปุ.) การเกลี้ยกล่อม ฯลฯ.

จปฺ หนเน
กำจัด ฯลฯ. ก. จปติ. น. จาป (ปุ.) หน้าไม้, ศร, ธนู, แล่งธนู, ลูกเสือ, ลูกหมี, ลูกสัตว์ร้าย, หมายถึง ลูกนก ลูกเนื้อก็มี. จาปก (ปุ.) นายขมังธนู, พรานธนู ฯลฯ.

จปฺ กกฺกเน
ขัด (ถูให้เกลี้ยง) , ขัดสี, ถู , กวาด. ก. จปติ. น.  จเปฏ (ปุ.) แปรง, ไม้กวาด.

จพฺพฺ คติปริโภเคสุ
ไป ฯลฯ กิน ฯลฯ. ก. จพฺพติ. น. จพฺพ จพฺพน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, การกิน, ฯลฯ.

จมุ คติยํ
ไป ยก เคลื่อน ดำเนิน ฯลฯ. ก. จมติ. น. จมุ จมู (อิต.) เสนา, กองทหาร , กองทัพ. จมร (ปุ.) จมร จมรี, จามรี, จามจุรี ชื่อสัตว์จำพวกเนื้อทราย ขนละเอียด หางยาวเป็นพู่.

จมฺพฺ อทเน
กิน ฯลฯ. ก. จมฺพติ. น. จมฺพน (นปุ.) การกิน, การเคี้ยว, การเคี้ยวกิน, การบริโภค.

จยฺ คติยํ
ไป, ฯลฯ. ก. จยติ. น. นิจฺฉย (ปุ.) นิจฺฉยน (นปุ.) การชี้ขาด, การตัดสิน , ความหนักเบา , ความรู้สึกหนักแน่น, การตัดโดยไม่เหลือ, ความประสงค์อันบุคคลตัดโดยไม่เหลือ, ความแน่ใจ, ความแน่นอน.  วินิจฺฉย (ปุ.) วินิจฺฉยน (นปุ.) การตัดโดยวิเศษ, การใคร่ครวญ, การไตร่ตรอง, การตัดสิน,การตัดสินใจ,การชี้ขาด, ความตัดโดยวิเศษ, ฯลฯ.

จรฺ จรเณ
ไป ดำเนิน ดำเนินไป เที่ยวไป ประพฤติ. ก. จรติ. น. จร (วิ.) ไป ฯลฯ. จร จาร (ปุ.) คนเที่ยวไป, คนสอดแนม, จารบุรุษ , ไส้ศึก, แนวที่ห้า. จรณ (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความประพฤติ. จริต (นปุ.) การเที่ยวไปของจิต, ความประพฤติ, เรื่องราว, นิสัย ,พื้นเพ, พื้นเพของจิต, จริต (พื้นเพของจิต ของแต่ละบุคคลที่จะหนักไปในทางใดทางหนึ่งในหกทาง) (ดูจริตหกในหลักธรรม). วิจรณ (นปุ.) การเที่ยวไป, ที่เป็นที่เที่ยวไป. จริย (นปุ.) จริยา (อิต.) การเที่ยวไป, ความประพฤติ.

จรฺ คติยํ
ไป, ถึง, บรรลุ, เป็นไป ดำเนินไป เคลื่อน เคลื่อนที่ไป. ก. จรติ. น. จร (วิ.) ไป, ฯลฯ. จรณ (ปุ.,นปุ.) ตีน,เท้า. จรณ (นปุ.) การไป, ฯลฯ. จจฺจร (นปุ.) ทางสี่แพร่ง, สนาม, ลาน.  วิจารณ (นปุ.) การกะ (กะผ้าที่จะเย็บ เป็นต้น). จราจร (ปุ.,นปุ.) การไปและการมา, การไปมา. จราจร (ปุ.) จราจร ชื่อของคนที่มีหน้าทีดูแลความเรียบร้อยและอำนวยความสะดวกแก่คน พาหนะหรือสัตว์ที่ไปมาตามทาง.

จรฺ ภกฺขเณ
กิน ฯลฯ. ก. จรติ. น. จรุ (ปุ.) ภาชนะเครื่องเซ่นสังเวย, เครื่องเซ่นสังเวย.

จรฺ จลจชอุกฺขิปเน
ไหว หวั่นไหว เคลื่อน เคลื่อนไหว สั่น รัว กระดิก สละ ละ ทิ้ง ยกขึ้นโยนขึ้น กลับกลอก.  ก. จรติ. จรณ (นปุ.) ความไหว, ฯลฯ.

จลฺ กมฺปเน
ไหว หวั่นไหว เคลื่อน เคลื่อนไหว สั่นรัว กระดิก โคลง กลิ้ง. ก. จลติ. น. จญฺจล (วิ.) ไหว, ฯลฯ, จล จลน (นปุ.) การไหว, ฯลฯ.

จสฺ ภกฺขเณ
กิน ฯลฯ. ก. จสติ. น. จสก (ปุ.) ขัน,จอก,กระบวย, แก้วน้ำ.

จหฺ ปริสกฺกเน
ตะเกียกตะกาย กระเสือกกระสน ขวนขวาย พยายาม. ก. จหติ. น. จห (ปุ.) จหน (นปุ.) การตะเกียกตะกาย, ฯลฯ, ความตะเกียกตะกาย, ฯลฯ.

จหฺ กตฺถนายํ
ชม ชมเชย ยกย่อง พรรณนา สรรเสริญ. ก. จหติ. น. จห (ปุ.) จหน (นปุ.) การชม, ฯลฯ ความชม, ฯลฯ.

จายุ บูชานิสามเนสุ
เคารพ ฯลฯ ใคร่ครวญ พินิจ เล่าเรียน สังเกต. ก. จายติ. น. จายน (นปุ.) เคารพ, ฯลฯ.

จิกฺขฺ วจเน
กล่าว ฯลฯ. ก. จิกฺขติ, น. จิกฺจลฺล (นปุ.) เปือกตม (เลนตมที่ละเอียด), โคลน.

จิฏฺ อุตฺราเส
หวาด หวาดเสียว สะดุ้ง ตกใจ ตกใจกลัว. ก. จิฏติ. น. จิฏน (นปุ.) ความหวาด, ฯลฯ.

จิฏฺ เจฏฺ เปสเน
ส่งไป ใช้ไป บังคับ. ก. เจฏติ. น. เจฏ เจฏก (ปุ.) คนใช้ (นายใช้ไป), ทาส, บ่าว. เจตก (ปุ.) สัตว์อันเขาส่งไป, สัตว์สำหรับต่อ (สัตว์พวกเดียวกัน) , สัตว์ต่อ.

จิตฺ สญฺญาเณ
รู้ รู้พร้อม หมายรู้. ก. จิตติ. น. เจตน (นปุ.) เจตนา (อิต.) ความรู้, ความรู้พร้อม, ฯลฯ.

จิตฺ จินฺตายํ
คิด นึก ตริ ดำริ รู้. ก. จิตติ. น. เจตส (ปุ.) ความคิด, ฯลฯ. ใจ.

จิตฺ สํเจตเน
คิด นึก ตริ ดำริ จงใจ ตั้งใจ. ก. จิตติ. น. เจต (วิ.) คิด,ฯลฯ. เจต (ปุ.) ใจ. เจตนา (อิต.) ธรรมชาติผู้คิด, ความคิด, ความคิดอ่าน, ความนึก, ฯลฯ, ความมุ่งหมาย, ความพอใจ. สญฺเจตนา (อิต.) ความจงใจ, ความตั้งใจ. เจตา (อิต.) ความคิด, ฯลฯ.

จิตฺ คารวจยเนสุ
เคารพ นบนอบ นับถือ ยกย่อง บูชา ก่อ สะสม สั่งสม รวบรวม. ก. จิตติ. น. เจติย (ปุ.) เทวาลัย, ถูป (เจดีย์), สตูป, สถูป (แปลง ต เป็น ถ)

จิตฺ เปสเน
ส่งไป ใช้ไป บังคับ. ก. เจตติ. เจตก (ปุ.) สัตว์อันเขาส่งไป, สัตว์สำหรับต่อ, สัตว์ต่อ.

จิตี ปริจฺเฉเท
กำหนด ฯลฯ. ก. เจตติ. น. เจตน (นปุ.) การกำหนด, ข้อความที่จัดเป็นตอนๆ , ข้อความที่จัดเป็นหมวดๆ.

จิเน มญฺญนายํ
หยิ่ง เย่อหยิ่ง ถือตัว สำคัญ เข้าใจ ดูหมิ่น.  ก. จินายติ. แปลง เอ เป็น อาย. น. จินายน (นปุ.) ความหยิ่ง,ฯลฯ.

จิพุ เวลมฺเพ
หน่วงไว้ ยึดหน่วง ห้อย ห้อยย้อย อืดอาด ยืดยาด. ก. จิพวติ. น. จิพวน (นปุ.) การหน่วงไว้,ฯลฯ.

จิลฺ วสเน
อยู่ อาศัย ฯลฯ. ก. จิลติ. น. โจล โจฬ (นปุ.) ผ้า, แผ่นผ้า, ท่อนผ้า.

จิลฺลฺ เสถิลฺเล
หย่อน พร่อง ย่อหย่อน อ่อนแอ อ่อนกำลัง. ก. จิลฺลติ. น. จิลฺลน (นปุ.) ความหย่อน, ฯลฯ.

จิวุ อาทานสํวรเณสุ
ถือ จับ ถือไว้ จับไว้ ยึดไว้ กุม สำรวม ฯลฯ. ก. จิวติ เจวติ. น. จิวน เจวน (นปุ.) การจับ, ฯลฯ.

จิหฺ ลกฺขเณ
กำหนด หมาย เป็นเครื่องหมาย. ก. จิหติ. น. จิหน (นปุ.) ลักษณะ, เครื่องหมาย, เป้า, รอย, ตรา,แกงได (รอยกากบาท หรือรอยขีดเขียน ซึ่งคนไม่รู้หนังสือเขียนไว้เป็นสำคัญ).

จุ จวเน
เคลื่อน ตาย แตกดับ. ก. จวติ. น. จวน (นปุ.) จุติ (อิต.) การเคลื่อน, ฯลฯ, ความเคลื่อน, ฯลฯ. โจล โจฬ (นปุ.) ผ้า,แผ่นผ้า,ท่อนผ้า. โจลก (นปุ.) ผ้า,ฯลฯ, เปลือกไม้, โล่, ดาบ, ทับทรวง.

จุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. จวติ. น. โจลก โจฬก (นปุ.) ผ้า,แผ่นผ้า,ท่อนผ้า,เปลือกไม้,โล่,ดาบ, ทับทรวง (ชื่อเครื่องประดับที่คอหรืออก).

จุฏฺ อปฺปภาเว
น้อย น้อยลง ลดลง. ก. โจฏติ. น. โจฏน (นปุ.) ความน้อย, ความน้อยลง,ฯลฯ.

จุณฺ เฉทเน
โกน ตัด บั่น แบ่ง ผ่า ทอน เฉือน แขวะ ควัก ขาด ทะลุ แตก ทำลาย สลาย. ก. โจณติ. น. โจณน (นปุ.) การโกน, ฯลฯ.

จุตฺ อาเสจนขรเณสุ
รด ราด สาด เท พรม ประพรม ฯลฯ เสื่อม สิ้น สูญ ฯลฯ. ก. โจตติ. น. โจตน (นปุ.) การรด, ฯลฯ.

จุปฺ จลเน
ไหว สั่น ฯลฯ. ก. โจปติ. น. จปล (วิ.) กลับกลอก, โยก, โคลง, ไหว, หวั่นไหว, ไม่แน่นอน, พลิกแพลง, รวดเร็ว. จปลนา (อิต.) ความกลับกลอก, ฯลฯ.

จุปฺ มนฺทคติยํ
ค่อย ๆ ไป ไปช้า ๆ เฉื่อย เฉื่อย ๆ เฉื่อยชา อืดอาด. ก. โจปติ. น. โจปน (นปุ.) การค่อยไป, การไปค่อย ๆ, ฯลฯ.

จุลฺ มชฺชเน
ขยำ ย่ำ ย่ำยี ย่ำเหยียบ หมดจด สะอาด. ก. จุลติ. น. จุลน (นปุ.) การขยำ, ฯลฯ.

จุลฺลฺ หาวกรเณ
ย่างเยื้อง เยื้องกราย กรายกร ฟ้อนรำ. จุลฺลติ. น. จุลฺลน (นปุ.) การย่างเยื้อง, ฯลฯ.

จุลฺลฺ ภาเว
มี เป็น เกิด ปรากฏ. ก. จุลฺลติ. น. จุลฺล (นปุ.) เตา,เตาไฟ, เชิงกราน, หม้อดิน.

จุสฺ ปาเน
ดื่ม กิน ดื่มน้ำ. ก. จุสติ. น. จุสน (นปุ.) การดื่ม, ฯลฯ, น้ำสำหรับดื่ม, น้ำดื่ม.

จุฬฺ เปรเณ
บด ขยี้ ขยำ. ก. จุฬติ. น. จุฬ (ปุ.) มวยผม, ผมจุก, มกุฏ, มงกุฎ, จอม, บอด, หัว.

จูฬฺ ภาวสุจิอคฺเคสุ
มี เป็น เกิด ปรากฏ สะอาด ยอด เลิศ. ก. จูฬติ. จูฬ (วิ.) ยอด เยี่ยม ยอดเยี่ยม เลิศ. จูฬา (อิต.) หงอน, หงอนนกยูง, จุก, ผมจุก, ปิ่น, จอม, ยอด, มกุฎ , มงกุฎ, หัว.

เจฎฺ เปสเน
ส่งไป ใช้ไป บังคับ. ก. เจฏติ. น. เจฏ เจฏก (ปุ.) คนใช้ (นายใช้ไป เขาใช้ไป), ทาส, บ่าว. เจฏี (อิต.) หญิงคนใช้, หญิงรับใช้, บ่าวผู้หญิง, ทาสี.

เจลฺ เจลุ กมฺปณ
ไหว หวั่นไหว เคลื่อน เคลื่อนไหว สั่น กระดิก.  ก. เจลติ. น. เจลน (นปุ.) การไหว, ฯลฯ.

เจวิ เจตุเลย
ชั่งใจ คิดให้แน่ใจ. ก. เจวติ. น. เจวน (นปุ.) การชั่งใจ, การคิดให้แน่ใจก่อนตัดสินใจ.

ฉ อักษร

ฉทฺ อปวาเท
กล่าวโทษ ยกโทษ โพนทะนา ติเตียน.  ก. ฉิทติ. น. ฉทน (นปุ.) การกล่าวโทษ, ฯลฯ.

ฉทฺ สํวรเณ
บิด บัง มุง ระวัง ป้องกัน เหนี่ยวรั้ง สงวน สำรวม. ก. ฉทติ น. ฉท (ปุ.) ใบ, ใบไม้, ปีก, ปีกนก, ฝัก, ดอกตูม, หลังคา. ฉทน (นปุ.) การปิด, การบัง, การมุง, ที่เป็นที่มุง, หลังคา, ใบ, ใบไม้. ฉทิ (ปุ.) หลังคา,เพดาน.  ฉทฺท (นปุ.) หลังคา, หลังคาบ้าน.  ฉทฺทน (นปุ.) เครื่องมุงหลังคา, หลังคา. ฉวิ (อิต.) ผิว.

ฉมฺ คติยํ
ไป ฯลฯ, ก. ฉมติ. น. ฉมา (อิต.) แผ่นดิน, พื้นดิน, ปจฺฉ (ปุ.) ทาง, หนทาง.

ฉมุ อทเน
กิน ฯลฯ. ก. ฉมติ. น. ฉม (นปุ.) การกิน, การเคี้ยว, การเคี้ยวกิน, การบริโภค.

ฉมุ อวมาเน
ดูถูก ดูหมิ่น ดูแคลน ไม่เห็นแก่กัน ติ ตำหนิ. ก. ฉมติ. น. ฉมน (นปุ.) การดูถูก, ฯลฯ.



ฉภิ อุตฺราเส
หวาด หวั่น หวาดหวั่น หวาดเสียว ครั่นคร้าม สะดุ้ง หวาดสะดุ้ง ตกใจ กลัว. ก. ฉมฺภติ. น. ฉมฺภี (วิ.) หวาด, ฯลฯ.

ฉรุ เฉทนสทฺเทสุ
ตัด บั่น ฯลฯ. ออกเสียง ฯลฯ. ก. ฉรติ. น. ฉรณ (นปุ.) การตัด, ฯลฯ, การออกเสียง, ฯลฯ.

ฉวฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ฉวติ น. ฉว (ปุ.,นปุ.) ศพ,ซากศพ, ผี (คนที่ตายแล้ว). ฉวก (ปุ.) ศพ,  ซากศพ, ผี.

ฉา ฉิ เฉทเน
ตัด ฯลฯ ก. เฉติ. น. ฉายา (อิต.) เค้า (สิ่งที่เป็นเครื่องกำหนด สิ่งที่เป็นเครื่องแสดงให้รู้ว่ามีลักษณะเหมือนสิ่งอื่น), เงา, ร่ม (บริเวณที่ไม่ถูกแดด), รูป, รูปเปรียบ,แสงสว่าง. (คำเหล่านี้เป็นเครื่องตัดความสงสัย). ฉณ (ปุ.) มหรสพ (ตัดความแห้งเหี่ยว) วินิจฺฉย (ปุ.) การใคร่ครวญ, การตัดสิน, การชี้ขาด.

ฉา ชิฆจฺฉายํ
หิว อยาก หิวข้าว อยากข้าว อยากน้ำ. ก. ฉาติ เฉติ. น. ฉาต (วิ.) หิว,อยาก, อยากข้าว, อยากน้ำ,อ่อนเพลีย, อิดโรย.

ฉิ ทิตฺติยํ
งาม รุ่งเรือง เปล่งปลั่ง ผ่องใส แจ่มใส สุกใส. ก. เฉติ. ฉวิ (วิ.) งาม, ฯลฯ. ฉวิ (อิต.) ความงาม,ฯลฯ.

ฉิ ปฏิจฺฉทเน
ปิด ปกปิด บัง กำบัง. ก. เฉติ.  น. ฉวิ (อิต.) ผิว (สิ่งที่หุ้มห่อนอกสุดของหนัง และเปลือกไม้.)

ฉิทฺ ฉิทิ เทวธากรเณ
ตัด โกน บั่น แบ่ง ผ่า ทอน เฉือน เชือด แขวะ ควัก ขาด ทะลุ แตก ทำลาย สลาย. ก. ฉิทติ. ฉินฺทติ. น. ฉิทฺท (วิ.) ตัด, ฯลฯ. เฉก (วิ.) มีฝีมือ, ฉลาด, ชำนาญ ,เฉียบแหลม, แปลว่า โง่ ,เชื่อง, เขลา. ก็มี. เฉก (ปุ.) ความดี, ความมีฝีมือ, ฯลฯ. เฉท (ปุ.) เฉทน (นปุ.) การตัด, ฯลฯ, ความสลาย, ความหาย.

ฉุ ปคฺฆเร
ไหล หลั่ง คาย ชื้น ชุ่ม เยิ้ม รด ราด เท. ก. ฉวติ โฉติ. ฉว (ปุ.,นปุ.) ฉวก (ปุ.) ศพ, ซากศพ, ผี (คนที่ตายแล้ว). ฉว (วิ.) ชื้น, ชุ่ม, เปียก, เยิ้ม.

ฉุ เฉทเน
ตัด บั่น ฯลฯ. ก. ฉวติ โฉติ. น. ฉว (วิ.) ตัด, บั่น, แบ่ง, ผ่า, ทอน, เฉือน, ฯลฯ.

ฉุ หีเน
ชั่ว ชั่วช้า ลามก เลว ถ่อย ร้าย โหด โหดร้าย เสื่อม. ก. ฉวติ โฉติ. น. ฉว (วิ.) ชั่ว, ฯลฯ.

ฉุฏฺ เฉทเน
ตัด บั่น ฯลฯ. ก. ฉุฏติ. น. ฉุฏน (นปุ.) การตัด, ฯลฯ.

ฉุปฺ สมฺผสฺเส
กระทบ โดน ถูก ต้อง ถูกต้อง. ก. ฉุปติ. น. ฉาป ฉาปก (ปุ.) ลูกน้อย, ฉุป (ปุ.) ฉุปน (นปุ.) การกระทบ, ฯลฯ.

ฉุภฺ นิกฺเขปนินเย
ทิ้ง ขว้าง โยน โยนทิ้ง โยนไป นำออก ขับไล่. ก. ฉุภติ. น. ฉุภน (นปุ.ป การทิ้ง, ฯลฯ.

ฉุรฺ เฉทเน
ตัด บั่น ฯลฯ. ก. ฉุรติ. น. ฉูริกา (อิต.) มีด.

โฉ เฉทเน
ตัด บั่น ฯลฯ. ก. โฉติ. น. โฉนน (นปุ.) การตัด, การบั่น, การแบ่ง, การผ่า, การทอน, ฯลฯ.

ช อักษร

ชกฺขฺ หสนภกฺขเณ
หัวเราะ ร่าเริง รื่นเริง สรวล กิน เคี้ยว ฯลฯ. ก. ชกฺขติ. น. ชกฺขน (นปุ.) การหัวเราะ, ฯลฯ.

ชคฺค ชาคเร
ตื่น หมั่น ขยัน เพียร พยายาม. ก. ชคฺคติ. น. ชคฺคน (นปุ.) การตื่น, ความหมั่น, ฯลฯ.

ชคฺฆฺ หสเน
หัวเราะ ร่าเริง รื่นเริง สรวล. ก. ชคฺฆติ. น. ชคฺฆ ชคฺฆิ (ปุ.) การหัวเราะ, ฯลฯ.

ชจฺจฺ ปริภาสตชฺชเนสุ
ด่า ตัดพ้อ ต่อว่า ติเตียน ขู่ ข่มขู่ คุกคาม เบียดเบียน.  ก. ชจฺจติ. น. ชจฺจน (นปุ.) การด่า ฯลฯ, คำด่า,ฯลฯ.

ชชฺ ชชิ ชญฺชฺ ยุทฺเธ
ต่อ ต่อสู้ ต่อสู้กัน รบ รบกัน รบพรุ่ง. ก. ชชติ ชญฺชติ. น. ชชน ชญฺชน (นปุ.) การต่อสู้, ฯลฯ.

ชฏฺ สงฺฆฏเน
เบียดกัน ติดต่อกัน คละกัน ปนกัน รวมกัน ระคน ระคนกัน รุงรัง รกรุงรัง. ก. ชฏติ. น. ชฏ (ปุ.) ฝัก, ฝักดาบ. ชฏา (อิต.) ผมเกล้า, ผมที่เกล้า, มวยผม, เทริด, เชิง, ความเบียดกัน, ฯลฯ, ชัฏ (ป่ารก ป่าทึบเชิง), ชฎา ชื่อเครื่องสวมศีรษะ. ชฎุล (ปุ.) ขี้แมลงวัน (จุดดำเล็ก ที่ขึ้นตามผิวหนัง), ไฝ, กระ (จุดดำเล็ก ๆ มีสีต่าง ๆ กัน).


ชนฺ สทฺเท
ออกเสียง กล่าว เปล่งเสียง พูด ร้องเรียก ท่อง สาธยาย. ก. ชนติ. น. ชนน (นปุ.) การออกเสียง, ฯลฯ.

ชนฺ ปาตุภาเว
เกิด กำเนิด เป็นขึ้น มีขึ้น ปรากฏ. ก. ชนติ. น. ชฐ (ปุ.) ท้อง, พุง, ปอด, ปม. ชณฺณุ ชณฺณุก ชนฺนุ ชนฺนุก (นปุ.) เข่า,หัวเข่า. ชตุ (นปุ.) ครั่ง, ยางไม้. ชน(ปุ.) สัตว์ , ชน, คน (ผู้ยังกุศลและอกุศลให้เกิด). ชนก (ปุ.) ชายผู้ให้ลูกเกิด, พ่อ, พ่อผู้บังเกิดเกล้า, ชนก.  ชนน (วิ.) อันยัง...ให้เกิด. ชนน (นปุ.) ความเกิด, การเกิด. ชนนี (อิต.) หญิงผู้ให้ลูกเกิด, แม่, แม่ผู้บังเกิดเกล้า, ชนนี, ชนฺตุ (ปุ.) สัตว์,สัตว์เกิด. ชาติ (อิต.) การเกิด, ฯลฯ.

ชปฺ เภทเน
ทำให้แตกกัน ทำลาย. ก. ชปติ. น. ชปน (นปุ.) การทำให้แตกกัน, การทำลาย.

ชปฺ วจเน
กล่าว ฯลฯ. ก. ชปติ. น. ชปน (นปุ.) การกล่าว, การร่าย, การกระซิบ. ชปา (อิต.) กุหลาบ, ชบา, สะอิ้ง, สะเอ้ง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง.

ชปฺ มานเส
กำหนัด ยินดี ชอบ ถูกใจ พอใจ. ก. ชปติ. น. ชปน (นปุ.) ความกำหนัด, ฯลฯ ความปรารถนา.

ชปฺปฺ วจเน
กล่าว ฯลฯ. ก. ชปฺปติ. น. ชปฺป (ปุ.) คำพูด, คำ, ถ้อยคำ. ชปฺปน (นปุ.) การกล่าว, การร่าย (ว่า), การกระซิบ. ชปฺปนา (อิต.) ความให้สัตว์เหนี่ยวรั้ง. ชปฺปา (อิต.) ความเหนี่ยวรั้ง.

ชปฺปฺ มานเส
กำหนัด ยินดี ฯลฯ. ก. ชปฺบติ. น. ชปฺปน (นปุ.) ความกำหนัด, ฯลฯ, ความปรารถนา. ชปฺปา (อิต.) ความกำหนัด, ฯลฯ, ความปรารถนา, ชัปปา ชื่อของตัณหา,ตัณหา


ชภฺ ชภิ ชมฺภฺ คตฺตวิมาเน
เหยียดกาย เหยียด. ก. ชภติ ชมฺภติ. น. ชมฺภนา (อิต.) การเหยียด (ทำสิ่งที่งอให้ตรง), การเหยียดกาย, การบิดกาย, การหาวนอน.

ชภิ นาสเน
กำจัด ทำลาย พินาศ ย่อยยับ ป่นปี้ ฆ่า. ก. ชมฺภติ. น. ชมฺภาริ (ปุ.,อิต.) อาวุธพระอินทร์, ไฟ, แสงไฟ (กำจัดความมืด).

ชมฺ ชมุ อทเน
กิน ฯลฯ. ก. ชมติ. น. ชมฺพู (ปุ.) ต้นชมพู่,ต้นหว้า. ชมฺพุก (ปุ.) หมาจิ้งจอก.  ชมฺภ ชมฺภีร ชมฺภุล (ปุ.) ต้นมะนาว, ส้ม, ต้นส้ม. ชมฺพีร ชมฺภีร (ปุ.) มะกรูด, ต้นมะกรูด. ชมฺม (ปุ.) คนต่ำ, คนเลว, คนถ่อย, คนทราม, คนลามก.  ชมฺม (นปุ.) ความต่ำ, ฯลฯ, ชมฺมร (ปุ.) ต้นมะกรูด, ต้นมะนาว.

ชรฺ วโยหานิโรเคสุ
เสื่อมแห่งวัย แก่ คร่ำคร่า ชำรุด ทรุดโทรม เจ็บ ป่วย เข็บไข้ เป็นไข้ เป็นโรค. ก. ชรติ น. ชร (วิ.) แก่, ฯลฯ, เป็นโรค. ชร (ปุ.) ความแก่, ฯลฯ, ความเจ็บไข้, โรค, โรคผอม, โรคชรา. แปลว่า ไข้เชื่อม, ไข้ซึม ก็มี. ชรณ (นปุ.) ชรา (อิต.) ความแก่, ฯลฯ, ความเป็นโรค.

ชลฺ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. ชลติ. น. ชล (วิ.) รุ่งเรือง, สวยงาม, สว่าง, ส่องสว่าง, กระจ่าง, ขาว, โพลง, ลุกโพลง, แหลม, คม. ชนฺตา (อิต.) เรือนไฟ. ชลน (นปุ.) ความรุ่งเรือง, ฯลฯ.

ชลฺ ธญฺเญ
เจริญ ดี มั่งคั่ง มั่งมี ร่าเริง รุ่งเรือง สำราญ. ก. ชลติ. น. ชล (วิ.) เจริญ, ฯลฯ. ชล (นปุ.) ความเจริญ, ฯลฯ, ความสำราญ, ความเป็นสิริ, ความเป็นมงคล. ชล (นปุ.) น้ำ.

ชลฺ อปวารเณ
ไม่ห้าม ไม่ป้องกัน.  ก. ชลติ. น. ชล (ปุ.) คนเขลา, คนพาล, คนเกเร.

ชลฺ สนฺทเน
ไหล ไหลไป ไหลออก.  ก. ชลติ. น. ชล (นปุ.) ชลน (นปุ.) การไหล, ฯลฯ.


ชสฺ หึสายํ
กำจัด ขจัด ฯลฯ. ก. ชสติ. น. ชส (ปุ.) ความไม่ดี, ความชั่ว, ความผิด, โทษ.

ชาครฺ นิทฺทกฺขเย
สิ้นความหลับ ตื่น ขยัน หมั่น เพียร. ก. ชาครติ. น. ชาคร (ปุ.,นปุ.) ชาครณ (นปุ.) ความตื่น, ความตื่นจากหลับ, ความขยัน, ฯลฯ. ชาคริย (ปุ.) ชาคริยา (อิต.) ความตื่น, ฯลฯ.

ชิ ชเย
ชนะ ไม่แพ้ มีชัย. ก. ชยติ เชติ. น. ชย (ปุ.,นปุ.) ความชนะ. วิชย (ปุ.) วิชยน (นปุ.) ชัยชนะ. วิชิต (นปุ.) แว่นแคว้น, ดินแดน, อาณาจักร.

ชิ อภิสเว
ครอบงำ บังคับ ผจญ. ก. ชยติ เชติ. น. ชย (ปุ.,นปุ.) การครอบงำ, ฯลฯ, ความครอบงำ, ฯลฯ.

ชิมฺ อทเน
กิน ฯลฯ. ก. เชมติ. น. เชม เชมน (นปุ.) การกิน, การเคี้ยว, การเคี้ยวกิน, การบริโภค.

ชิสฺ เสจเน
รด ราด โปรย พรม ประพรม อาบ สรง ล้าง. ก. เชสติ. เชสน (นปุ.) การรด, ฯลฯ.

ชีรฺ วโยหานิโรเคสุ
เสื่อมแห่งวัย แก่ คร่ำคร่า ฯลฯ. ก. ชีรติ. น. ชีรณ (นปุ.) ความแก่, ความคร่ำคร่า, ความชำรุด, ความทรุดโทรม.

ชีรฺ พฺรหเณ
เจริญ เจริญขึ้น เพิ่ม เพิ่มขึ้น.  ก. ชีรติ. น. ชีร (นปุ.) ผักชี, ยี่ร่า, เทียนขาว, เทียนเยาวพาณี.

ชีวฺ ปาณเน
หายใจ เป็น เป็นอยู่ มีชีวิต มีชีวิตอยู่. ก. ชีวติ. น. ชีว (วิ.) เป็น, ฯลฯ. (ปุ.) ความเป็น ฯลฯ, อาตมะ, อาตมัน, พระพฤหัสบดี, สัตว์, ชน, คน.  (นปุ.) ชีวิต,จิต. ชีวี (ปุ.) ความเป็นอยู่, ฯลฯ.

ชุ ชวเน
รีบ เร่ง เร็ว ด่วน ไว แล่น แล่นไป แคล่วคล่อง ว่องไว ไปเร็ว. ก. ชวติ. น. ชว (วิ.) รีบ, ฯลฯ. ชว (ปุ.,นปุ.) ความรีบ, ฯลฯ. ชวน (ปุ.) ม้าวิ่งเร็ว, ม้าเดินเร็ว, ม้าเร็ว, ม้าฝีเท้า. ชูต (ปุ.,นปุ.) การพนัน.


ชุ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. โชติ. น. ชุ (วิ.) รุ่งเรือง, สว่าง, ส่องสว่าง, กระจ่าง, ขาว, งาม, ใส, สุกใส, บริสุทธิ์. ชุณฺห (วิ.) รุ่งเรือง, ฯลฯ. วิจิน (ปุ.) ความรุ่งเรือง, ฯลฯ, ความบริสุทธิ์, รัศมี, แสง.

ชุคิ หาเน
ละเว้น วาง ปล่อย. ก. ชุงฺคติ. น. ชุงฺคน (นปุ.) การละ, ฯลฯ.

ชิสุ เชสุ คติยํ
ไป, ฯลฯ. ก. เชสติ เชสฺสติ. ซ้อน สฺ. เชสน เชสฺสน (นปุ.) การไป, ฯลฯ.

ชุตฺ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. โชตติ โชตลติ. กิริยาหลังลงอลปัจ. น. ชุณฺห (วิ.) รุ่งเรือง,ฯลฯ. ชุต (นปุ.) ความรุ่งเรือง, ฯลฯ ข้างขึ้น.  ชุติ (อิต.) รัศมี, แสง, แสงสว่าง, ความรุ่งเรือง, ฯลฯ. โชต (วิ.) รุ่งเรือง, ฯลฯ. โชตก (วิ.) ผู้รุ่งเรือง, ฯลฯ. โชติ (นปุ.) ดาว, ความรุ่งเรือง, ฯลฯ. โชติก (วิ.) ผู้มีความรุ่งเรือง ฯลฯ, วิชฺชุตา (อิต.) สายฟ้า.

ชุตฺ วจเน
กล่าว ฯลฯ, ก. โชตติ. น. โชตน (นปุ.) การกล่าว, การพูด, การเจรจา, คำกล่าว, ฯลฯ.

ชุสิ ปิติเสวเนสุ
อิ่มใจ ฯลฯ คบ คบหา รับใช้ ปฏิบัติ. ก. โชสติ. น. ชุณฺห (วิ.) อิ่มใจ, เบิกบาน, เบิกบานใจ, ปลื้ม, ปลื้มใจ.

ชุฬฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ชุฬติ โชฬติ. น. ชุฬน โชฬน (นปุ.) การไป, การถึง, การบรรลุ, ฯลฯ.

เช ขเย
สิ้น สิ้นไป เสื่อม เสื่อมไป เสียไป ค่อยหมดไป. ก. ชายติ. แปลง เอ เป็น อาย. ฌ (ปุ.) ความสิ้น, ฯลฯ, ความหมดไป, ความฉิบหาย, ความพินาศ.

ฌ อักษร

ฌชฺฌฺ ปริภาสตชฺชเนสุ
ด่า ฯลฯ ข่มขู่ คุกคาม ฯลฯ. ก. ฌชฺฌติ. น. ฌชฺฌรี (อิต.) มะรุม,ผักไห่ ,ผักปลัง.

ฌฏฺ สงฺฆาฏหึสเย
รวม รวมกัน ฯลฯ กำจัด ขจัด ฯลฯ. ก. ฌฏติ. น. ฌาฏล (ปุ.) ไม้มวกใหญ่. (ใช้ทำยา), ไม้สะคร้อ (ตะคร้อ ก็เรียก),โตนด (ตาล ต้นตาล).


ฌปฺ ฑาเห
เบียดเบียน เร่าร้อน กระวนกระวาย เผา ไหม้ ก. ฌปติ. น. ฌาน (นปุ.) ฌาน (เผานิวรณ์).

ฌมฺ ฌมุ อทเน
กิน ฯลฯ ก. ฌมติ. น. ฌร (ปุ.) ประเทศมีน้ำ, แม่น้ำ. ฌร (นปุ.) น้ำ.

ฌมฺ ฌมุ ทาเห
เผา, ไหม้. ก. ฌมติ. น. ฌาม (ปุ.) การเผา, การไหม้. ฌามก (นปุ.) เตาเผา, ข้าวไหม้, ข้าวคั่ว, ข้าวตัง.

ฌลฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. ฌลติ. น. ฌลฺลิก (นปุ.) ฉิ่ง, ฉาบ. ฌลฺลิกา (อิต.) จักจั่น, เรไร, จิ้งหรีด.

ฌสฺ หึสายํ
กำจัด ขจัด ฯลฯ. ก. ฌสติ. น. ฌส (ปุ.) สัตว์อัน. ..เบียดเบียน, ปลา. ฌสา (อิต.) แตงหนู, มะกอก, ครอบ ชื่อของโถหรือโลหะสัมฤทธิ์มีฝาครอบ สำหรับใช้ทำน้ำมนต์.

เฌ ฌาเน
เพ่ง จ้องดู. ก. ฌายติ. น. ฌาน ฌายน (นปุ.) การเพ่ง, การพินิจ, การจ้องดู,ความเพ่ง, ฯลฯ. ฌายี (ปุ.) คนผู้มีความเพ่ง, ฯลฯ.

เฌ จินฺตายํ
คิด นึก ดำริ. ก. ฌายติ. น. ฌาน (นปุ.) การคิด, การนึก, การดำริ, ความคิด, ฯลฯ. ธี (อิต.) ปรีชา, ปัญญา. สชฺฌา (อิต.) เวลาเย็น, เย็น (เวลาใกล้ค่ำ)

เฌ ทิตติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ ก. เฌติ ฌายติ. น. ฌายน (นปุ.) ความรุ่งเรือง, ฯลฯ. ฌายี (ปุ.) คนผู้มีความรุ่งเรือง, ฯลฯ.

เฌ สิกฺขเณ
ศึกษา ฯลฯ. ก. เฌติ. น. สชฺฌาย (ปุ.) สชฺฌายน (นปุ.) การศึกษา, การท่อง, การท่องบ่น, การท่องจำ, การสวด, การสาธยาย, การสังวัธยาย.

ญ อักษร

ญมุ อทเน
กิน ฯลฯ ก. ญมติ. น. ญมน (นปุ.) การกิน, การเคี้ยว, การเคี้ยวกิน, การบริโภค.

ญา อวโพธเน
รู้ บรรลุ. ก. ญาติ. น. ญา (อิต.) ญาณ (ปุ.,นปุ.) ความรู้, ปรีชา, ปัญญา. ญาติ (ปุ.) พี่น้อง, ญาติ (รู้ว่าพวกของเรา). ญตฺติ (อิต.) วาจาเป็นเครื่องยังสงฆ์ให้รู้, คำประกาศให้สงฆ์ทราบ (เพื่อทำกิจขงสงฆ์ร่วมกัน) , การบอกให้รู้, การประกาศ (บอกให้รู้ให้เข้าใจ), ญัตติ (คำเสนอให้พิจารณา ข้อเสนอให้พิจารณา เพื่อลงมติ). ญาย (วิ.) ควร, สมควร, ถูก, ถูกต้อง, ชอบ. ญาย (ปุ.) ธรรมที่ควร, ธรรมที่ควรรู้, ฯลฯ, ความควร, ฯลฯ. ญญู (ปุ.) คนผู้รู้, นักปราชญ์, บัณฑิต.


ญา มารณโตสนนิสาเนสุ
ให้ตาย ฆ่า ยินดี พอใจ แช่มชื่น ลับ อาน.  ก. ญตฺติ. รัสสะ อา เป็น อ ซ้อน ตฺ.

ฏ อักษร

ฏํกฺ ฏกิ ฏงฺกฺ วิทารเณ
เจาะ เซาะ ผ่า ตัด ทอน ฉีก แบ่ง แยก ทำลาย. ก. ฏํกติ ฏงฺกติ. น. ฏํก ฏงฺก (ปุ.) สิ่ว,เหล็กสกัดศิลา , เครื่องมือทำลายหิน, เครื่องมือขุดดิน, ขวาน, ขวานเล็ก ๆ ,ดาบ.

ฏํกฺ ฏกิ ฏงฺกฺ พนฺธเน
ผูก พัน มัด รัด ฯลฯ. ก. ฏํกติ ฏงฺกติ. น. ฏํก ฏงฺก (ปุ.) ฝักดาบ, เขา, ข้างเขา, ต้นแอปเปิ้ล, สตางค์, สตางค์แดง (๑๐๐ สตางค์เป็น ๑ บาท สตางค์นั้นทำด้วยทองแดงจึงเรียกสตางค์แดง ปัจจุบันไม่มีใช้ หาดูได้ในพิพิธภัณฑ์เงิน).

ฏํกฺ ฏกิ ฏงฺกฺ วสนคตีสุ
อยู่ อาศัย ฯลฯ ไปฯลฯ. ก. ฏํกติ ฏงฺกติ. น. วิฏงฺก (ปุ.) วิฏงฺกา (อิต.)  ที่อยู่ของนก, รังนก.

ฏลฺ เวลมฺเพ
ชักช้า ยืดยาด ฯลฯ ตลก.  ก. ฏลติ. น. ฏฏฺฏรี (ปุ.) คนตลก, คนตลกคะนอง, จำอวด (การแสดงเป็นหมู่ โดยใช้ถ้อยคำชวนให้ขบขัน).

ฏิกฺ เฏกฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. เฏกติ. น. ฏีกา (อิต.) ฎีกา ชื่อของหนังสือที่อาจารย์แต่งแก้อรรถถา บางตอนแก้บาลีด้วย เป็นคัมภีร์ชั้นที่สาม ชื่อของหนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์ ชื่อของคำร้องทุกข์ที่ถวายพระเจ้าแผ่นดิน ชื่อของคำคัดค้านที่ยื่นต่อศาลสูงสุด ชื่อของศาลสำหรับตัดสิน ความชั้นสูงสุด.


ฏิ ฏี อจฺฉาทเน
ปิด บัง กำบัง ปกปิด. ก. เฏติ. น. ฏ (ปุ.) การปิด, ฯลฯ, การปกปิด, เครื่องปกปิด. (นปุ.) วัตถุสำหรับปิด. ฏาร (ปุ.,นปุ.) เรือน.

ฏิ ฏี อากาสคมเน
ไปในอากาศ, บิน, บินไป. ก. เฏติ. น. เฏปน (นปุ.) การขว้าง, ฯลฯ.

ฏี ปกฺขนฺทเน
แล่นไป วิ่งไป ไปเร็ว ฯลฯ. ก. เฏติ. น. ฏ (ปุ.) เสียง, สำเนียง, เสียงร้อง.

ฏี ขนฺติวายเมสุ
ทน อดทน หมั่น ขยัน เพียร พยายาม, ก. เฏติ. น. เฏน (นปุ.) ความฉลาด, ฯลฯ.

ฏี พฺยตเต
ฉลาด เฉียบแหลม แจ้ง แจ่มแจ้ง. ก. เฏติ. น. เฏน (นปุ.) ความฉลาด, ฯลฯ.

ฏุ อภิเปฬเน
บดยิ่ง ละเอียดยิ่ง กำจัด เบียดเบียน บีบคั้น.  ก. ฏวติ. น. ฏ (ปุ.) การบด, การบดข้าว, ความกำจัด, ฯลฯ. ฏิย (วิ.) ถ่อย, ง่อย. เฏร เฏรก (วิ.) เหล่.

ฏุ คติอุคฺคตีสุ
ไป ฯลฯ ไปในเบื้องบน ขึ้นไป ไปสูง. ก. ฏวติ. น. ฏวน (นปุ.) การไปในเบื้องบน, ฯลฯ.

ฏุ วิรูหเน
งอก งอกงาม เจริญ เจริญขึ้น.  ฏวติ. น. ฏ (นปุ.) แผ่นดิน.

ฏุลฺ เวลมฺเพ
อืดอาด ชักช้า ยืดยาว หน่วงไว้ ฯลฯ ตลก.  ก. ฏุลติ. น. ฏุลน (นปุ.) การอืดอาด, ฯลฯ, การตลก.

ฐ อักษร

ฐปฺ ถปเน
ตั้ง วาง เก็บ ตั้งไว้ ฯลฯ. ก. ฐปติ. น. ฐปน (นปุ.) การตั้ง, ฯลฯ.

ฐา คตินิวตฺติยํ
หยุดการไป หยุด ยืน ตั้ง หยุดอยู่ ฯลฯ. ก. ฐาติ ติฏฺฐติ ติฏฺฐาติ ฐหติ. น. ฐ (วิ.) หยุด, อยู่, หยุดอยู่, ยืน, ยืนอยู่, ตั้ง ตั้งอยู่, ดำรงอยู่. ฐาน (วิ.) เป็นที่ตั้ง, เป็นที่อันเขาตั้ง, เป็นที่ยืน, เป็นที่อันเขายืน, ฯลฯ. ฐาน (นปุ.) อันหยุด, ฯลฯ, การหยุด, ฯลฯ. หน้าที่, ตำแหน่ง, ที่,ที่ทาง, ที่ตั้ง, ที่เป็นที่ตั้ง, ที่เกิด, ที่ยืน, แท่น, ที่รอง, เหตุ, มูลเหตุ, หลักแหล่ง, อิสระ (ความเป็นใหญ่คือตำแหน่ง), โอกาส (ช่องทาง เวลาที่เหมาะ จังหวะ), ขณะ, ครู่เดียว, ครู่หนึ่ง, ประการ, อย่าง, ความเป็นไปได้. วุฏฺฐาน (นปุ.) อันออก, การออก, ความอก.  สนฺนิฏฺฐาน (นปุ.) การตกลง, การตกลงใจ, ความตกลง, ความตกลงใจ, สันนิษฐาน (ลงความเห็นเป็นการคาดคะเนไว้ก่อน). ฐายิ (วิ.) หยุด, ฯลฯ. ฐิต (นปุ.) ฐิติ (อิต.) การหยุด, การหยุดอยู่, ฯลฯ, ความอดทน, ความทนทาน, ความมั่นคง, ความแน่นอน.  ฐิติกา (อิต.) ลำดับ.


ฐุภฺ นิฏฺฐุภเน
บ้วน ถ่ม. ก. ฐุภติ. น. ฐุภน (นปุ.) อันบ้วน, อันถ่ม, การบ้วน, การถ่ม.

เฐ เวฐเน
พัน โพก ผูก.  ก. ฐายติ. น. ฐายน (นปุ.) ฐายนา (อิต.) การพัน, การโพก, การผูก.

เฐ สทฺทปหรณสงฺคเม
ออกเสียง ฯลฯ ตี ฯลฯ รวมกัน.  ก. ฐิยตี ฐียติ. แปลง เอ เป็น อิย,อีย. น. ฐิยน ฐียน (นปุ.) การออกเสียง, ฯลฯ.

ฑ อักษร

ฑํสุ ขาทเน ฑํสเน วา
กัด ขบ ต่อย คาบ เคี้ยว กิน.  ก. ฑํสติ. น. ฑํส ฑํสาจ (ปุ.) เหลือบ. ฆํสน (นปุ.) การกัด ฯลฯ. สณฺฑาส (ปุ.) คีม, แหนบ. ฑาก (ปุ.) ผัก(สำหรับดองหรืแกงหรือกินดิบ), ผักดอง, เมี่ยง. ณปัจ. ลบ นิคคหิตและสฺ ลง ก สกัด.

ฑหฺ ฑยฺหเณ
เผา ร้อน.  ก. ฑหติ. น. ฑห (ปุ.) โรคพิษ, โรคร้อน, โรคร้อนใน, ความร้อน.  ฑาห (ปุ.) ความร้อน, ความเดือนร้อน, ไฟ, ไข้พิษ, โรคพิษ.


ฑิ ปวตฺตนปเวสเนสุ
เป็นไป ไหลไป เข้าไป. ก. เฑติ. น. ฑาก (ปุ.) ผัก (ดองหรือแกงหรือกินดิบ) , ผักดอง, เมี่ยง.

ฑิ คหุปาทาเนสุ
ถือ ถือเอา ถือมั่น ยึด ยึดถือ. ก. เฑติ. น. ฑายน (นปุ.) การถือ, การถือเอา, การถือมั่น, การยึด, การยึดถือ. แปลง อิ เป็น เอ แปลง เอ เป็น อาย.

ฑิ คติอากาสคมเนสุ
ไป ฯลฯ ไปในอากาศ บิน บินไป เหาะ เหาะไป. ก. ฑยติ เฑติ. น. ฑย (ปุ.) ฟ้า, ท้องฟ้า, อากาศ.

ฑิ ขิปนุปหนเนสุ
ขว้าง ขว้างไป ปาไป โยนไป ฯลฯ เสียดสี เยาะเย้ย กำจัด เบียดเบียน.  ก. ฑยติ เฑติ. น. ฑยน (นปุ.) การขว้าง, การขว้างไป, ฯลฯ, การเสียดสี, ฯลฯ.

ฒ อักษร

ฒิ มุเยห
หลง เขลา โง่. ก. ฒยติ. น. ฒ (ปุ.) ศัพท์, เสียง (ทำให้ผู้ฟังหลง) , งู.


ต อักษร

ตกฺ หสเน
ร่าเริง รื่นเริง หัวเราะ สรวล. ก. ตกติ. น. ตกน (นปุ.) ความร่าเริง, ฯลฯ.

ตกิ กิจฺฉชีวเน
เป็นอยู่ลำบาก ฝืดเคือง เจ็บไข้ ไม่สบาย. ก. ตงฺกติ. น. ตงฺก (ปุ.) ตงฺกน (นปุ.) ความเป็นอยู่ลำบาก, ฯลฯ.

ตคฺ สํวรเณ
ระวัง ป้องกัน ฯลฯ. ก. ตคติ. น. ตคน (นปุ.) การระวัง, ฯลฯ.

ตคิ ตคิยํ
ไป ฯลฯ. ก. ตงฺคติ. น. ตคร ตคฺคร (นปุ.) กฤษณา, สะค้าน.

ตคฺฆฺ ปาลเน
เลี้ยง เลี้ยงดู ดูแล ปกครอง รักษา. ก. ตคฺฆติ. ตคฺฆ (วิ.) เลี้ยง, ฯลฯ.

ตจฺ สํวรเณ
ระวัง ป้องกัน ฯลฯ. ก. ตจติ. น. ตจ (ปุ.) หนัง, เปลือก, เปลือกไม้.


ตจฺจฺ ปีฬเน
เบียดเบียน บีบคั้น เคี่ยวเข็ญ. ก. ตจฺจติ. น. ตจฺจน (นปุ.) ความเบียดเบียน, ฯลฯ.

ตจฺฉฺ ตนุกรเณ
ทำให้บาง เฉือน ถาก ไส. ก. ตจฺฉติ. น. ตจฺฉก (ปุ.) ช่างไม้, ช่างถาก, ช่างไส. ตจฺฉน (นปุ.) การทำให้บาง, ฯลฯ. ตจฺฉนี (อิต.) ขวาน, ขวานขนาดเล็ก, ผึ่ง รูปร่างคล้ายจอบ เหล็กหนากว่าจอบ ปลายโน้มมาทางผู้มือมีรูตรงกลาง ใส่ด้ามยาว เกือบเท่าด้ามจอบ, พร้า (มีดขนาดใหญ่), มีด.

ตชฺชฺ ปตนวจเนสุ
ตก หล่น ตกไป หล่นไป กล่าวพูด เจรจา. ก. ตชฺชติ. น. ตชฺชน (นปุ.) การตก, ฯลฯ.

ตชฺชฺ โรจเน
เรือง รุ่งเรือง สว่าง ส่องสว่าง สุกใส งาม จรูญ จำรูญ. ก. ตชฺชติ. น. ตชฺชน (นปุ.) ความรุ่งเรือง, ฯลฯ.

ตญฺจฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ตญฺจติ. น. ตญฺจน (นปุ.) การไป, การถึง, การบรรลุ, การเป็นไป, ความเป็นไป.

ตฏฺ อุสฺสเย
สูงขึ้น ชัน ตรงขึ้น ตั้งตรง. ก. ตฏติ. น. ตฏ (ปุ.) เหว, หน้าผา. ตฏ (ไตรลิงค์) ตฏี (อิต.) ฝั่ง, ตลิ่ง, ตลิ่งชัน, ท่า, ริม, เหว, ริมเหว, ปากเหว, เขาขาด. ตาฏ (ปุ.) หู. ตาฏงฺก (ปุ.) เครื่องประดับหู, ตุ้มหู, ตุ้มหูใหญ่.

ตฑิ ตาฬเน
ตี เคาะ ไหว สั่น.  ก. ตณฺฑติ. น. ตณฺฑิล (นปุ.) แผ่นดิน ตณฺฑุล (นปุ.) ข้าวสาร. วิตณฺฑ (ปุ.) วิตณฺฑา (อิต.) คำพูดเคาะเล่น, การพูดเล่น, การพูดเล่นสนุก ๆ ,คำพูดไม่มีประโยชน์.

ตทฺทฺ หึสายํ
กำจัด ขจัด ฯลฯ. ก. ตทฺทติ. น. ตทฺทน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ.

ตทิ เจตายํ
คิด รู้ จงใจ ตั้งใจ หมายใจ. ก. ตนฺทติ. น. ตนฺทน (นปุ.) การคิด, ฯลฯ, ความคิด, ฯลฯ.

ตป ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. ตปติ. น. ตปน (ปุ.) พระอาทิตย์. ตปุ (ปุ.) ไฟ, พระอาทิตย์.


ตปฺ ทาเห
เบียดเบียน ร้อน เร่าร้อน ฯลฯ เผา ไหม้. ก. ตปติ. น. ตป (ปุ.) ความเพียรเครื่องเผากิเลส. ตปน (นปุ.) การเบียดเบียน, ฯลฯ. ตาปส (ปุ.) บรรพชิต ผู้มีธรรมเป็นเครื่องยังกิเลสให้ร้อน (ย่างกิเลสให้แห้ง) , ดาบส, พระดาบส.

ตปฺ อุพฺเพเค
หวาด สะดุ้ง ตกใจ. ก. ตปติ. น. ตปน (นปุ.) ความหวาด, ฯลฯ.

ตผฺ ปีณเน
อิ่ม อิ่มหนำ อิ่มเอม อิ่มเอิบ อิ่มใจ ชุ่มชื่น ยินดี รัก รักใคร่. ก. ตผติ. น. ตผน (นปุ.) ความอิ่ม, ฯลฯ.

ตมฺ กํขายํ
เคลือบแคลง สงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ. ก. ตมติ. ตม (วิ.) โง่, เขลา, โง่เขลา. ตมาล (ปุ.) เต่าร้าง, หมาก, คูน.

ตมฺ ภูสเน
ประดับ แต่ง ตกแต่ง ตบแต่ง. ก. ตมติ. น. ตามฺพูล (ปุ.) ตามฺพูลี (อิต.) พลู.

ตยฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ตยติ. ตยน (นปุ.) การไป, การถึง, การบรรลุ, การดำเนินไป, การเป็นไป, ความเป็นไป.

ตรฺ ปฺลวเน
ลอย ลอยไป ปลิว ปลิวไป แล่น แล่นไป วิ่ง วิ่งไป. ก. ตรติ. น. ตรล (วิ.) ลอย ลอยไป, ปลิว,ฯลฯ.

ตรฺ สมฺภเม
หมุน หมุนรอบตัว กลิ้ง กลิ้งไป โคลง ไหว หวั่นไหว. ก. ตรติ. ตรล (วิ.) หมุน, ฯลฯ.

ตรฺ ตรเณ
ข้าม ข้ามไป. ก. ตรติ. น. ตร (ปุ.) แพ. ตร ตรณ (นปุ.) เรือ. ตรณ (นปุ.) อันข้าม, อันข้ามไป. ตรี (ปุ.) กระจาด, จอก, ขัน, ตะวัน, ดวงตะวัน, พระอาทิตย์. ตรจฺฉ (ปุ.) เสือดาว, หมาป่า, หมาใน.  ตรุณ (ปุ.) เด็กรุ่น, ชายหนุ่ม. ตรุณี (อิต.) หญิงรุ่น, หญิงสาว.

ตรฺ ธารเณ
ตั้ง ตั้งอยู่ ตั้งอยู่ได้ ตั้งไว้ ทรง ทรงไว้ จำ ทรงจำ รับ รับไว้ วาง วางไว้ สะสม รวบรวม. ก. ตรต. น. ตร (ปุ.) แพ, ความสะสม, ความรวบรวม, หมวด, หมู่, ประชุม, กอง, คณะ, ผ้า, เครื่องนุ่งห่ม (นปุ.) เรือ. ตรี (ปุ.,อิต.) เครื่องนุ่งห่ม, ทางเดิน.


ตรสฺ อุพฺเพเค
หวาด หวาดหวั่น หวาดเสียว สะดุ้ง ตกใจ. ก. ตรสติ. น. ตรสน (นปุ.) ความหวาด, ฯลฯ.

ตสฺ อุพฺเพเค
หวาด ฯลฯ. ก. ตสติ. น. ตส (วิ.) หวาด, ฯลฯ, ตกใจ.

ตสฺ จลเน
ไหว หวั่นไหว เคลื่อน เคลื่อนไหว สั่น รัว กระดิก โยก โยกโคลง กลับกลอก.  ก. ตสติ. น. ตส (วิ.) ไหว,ฯลฯ.

ตา เต ปาลเน
ดูแล เลี้ยง ปกครอง ระวัง ป้องกัน รักษา. ก. ตายติ. น. ตาต (ปุ.) พ่อ (พ่อผู้ให้กำเนิดลูก). ตีร (นปุ.) ท่าน้ำ, ฝั่ง, ตลิ่ง, เดียร. โตย (นปุ.) น้ำ.

ตายุ สนฺตาเน
สืบต่อ ติดต่อ สืบสาย. ก. ตายติ. น. ตายน (นปุ.) การสืบต่อ, ฯลฯ, ความสืบต่อ, ฯลฯ.

ตายุ ปาลเน
ดูแล เลี้ยง ฯลฯ. ก. ตายติ. น. ตายน (นปุ.) การดูแล, ฯลฯ, ความดูแล, ฯลฯ.

ติกฺ คติยํ
ไป, ฯลฯ. ก. เตกติ. น. เตกน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความไป, ฯลฯ.

ติชฺ ขนฺติยํ
ทน อดทน อดกลั้น.  ก. เตชติ เตเชติ. น. เตช (ปุ.,นปุ.) กำลัง, เรี่ยวแรง, เดช, อำนาจ, ความสามารถ, ความรุ่งเรือง.

ติชฺ นิสาเน
ลับ อาน (ทำให้คม) คม. ก. เตชติ เตเชติ. น. ติชิล (ปุ.) ดวงจันท์ พระจันท์. ติณ (นปุ.) หญ้า. ติตฺต ติตฺตก (ปุ.) รสขม, รสเบื่อเมา. ติตฺติ (อิต.) ความขม, ความเบื่อเมา.

ติณฺ อทเน
กิน เคี้ยว เคี้ยวกิน บริโภค. ก. ติณติ. น. ติณ (นปุ.) หญ้า.

ติทิ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ ก.  ตินฺทติ. น. ตินฺทน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ.

ติปฺ ปีฬเน
บีบ บีบคั้น เบียดเบียน รบกวน.  ก. ติปติ. น. ติปุ (ปุ.) กาฬโลหะ, ดีบุก, ตะกั่วนิ่ม, เหล็กวิลาส. ติปุก (ปุ.) ดีบุก, จิงจ้อ, จิงจ้อหลวง. ติปุส (ปุ.) ตะกั่ว, ตะกั่วขาว.

ติปฺ ปิณเน
อิ่ม อิ่มใจ พอใจ อิ่มหนำ อิ่มเอม ยินดี รัก รักใคร่. ก. ติปติ. ติตฺต ติตฺตก (วิ.) ชม,อิ่ม, ฯลฯ. ติตฺติ (อิต.) คำชม ความชม, ความอิ่ม, ฯลฯ. ติปุส (ปุ.) แตงโม, แตงกวา, แตงอุลิด. ติปุสผล (นปุ.) แตงโม , แตงกวา (หมายเอาผล) , ผลแตงโม,ผลแตงกวา. ตีว (วิ.) อ้วน,  ใหญ่.


ติมฺ ติมุ อทฺทภาเว
ชื้น ชุ่ม เปียก แฉะ เยิ้ม อาบ ซึม. ก. เตมติ. น. ติม (ปุ.) ปลา, ติมะ ชื่อปลาชนิดหนึ่ง. ติมิ (ปุ.) ติมิ ชื่อปลาใหญ่, ปลาติมิ. เตมน (นปุ.) ความชื้น, ฯลฯ.

ติรฺ อโธคติยํ
ไปต่ำ ต่ำ ต่ำต้อย ต่ำทราม. ก. ติรติ. น. ติร (วิ.) ต่ำ,ฯลฯ, ต่ำทราม.

ติลฺ สิเนหเน
เป็นยาง เป็นน้ำมัน อิ่มใจ พอใจ เยื่อใย รัก รักใคร่. ก. ติลติ. น. ติล (ปุ.) กกงา, กองา, ต้นงา, พืชงา. ติล ติลก (นปุ.) เมล็ดงา. เตล (นปุ.) น้ำมัน, น้ำมันงา. แปลว่า สำลี, นุ่น , ฝ้าย ก็มี.

ติลฺ คมเน
ไป ฯลฯ. ก. ติลติ. น. ติลก (วิ.) ตกกระ, เฉลิม, ยอด ,เยี่ยม, ยอดเยี่ยม, เลิศ. (ปุ.) กระ (จุดเล็กๆ มีสีต่างๆ), ไฝ,ขี้แมลงวัน, หมากเม่าควาย,หมากหอมควาย. (ปุ.,นปุ.) กระ,รอยเจิม,รอยเจิมที่หน้าผาก.

ติวฺ ถูลิเย
อ้วน อวบ โต ใหญ่. ก. ติวติ. ตีว (วิ.) อ้วน, ฯลฯ, ใหญ่. ตีวร (ปุ.) ทะเล, สมุทร.

ติสฺ ติตฺติยํ
อิ่ม, อิ่มหนำ เต็ม พอ บริบูรณ์. ก. ติสติ. น. ติสน (นปุ.) ความอิ่ม, ฯลฯ. ติสฺส (ปุ.) ตินสะ ชื่อคน พระเถระ.

ตุจฺ วินาเส
กำจัด, ฯลฯ. ก. ตุจติ. น. ตุจฺฉิ (วิ.) ว่าง, เปล่า, ว่างเปล่า, ไม่มีแก่น, หาแก่นมิได้ ไร้ประโยชน์, ไม่มีประโยชน์ ตุจฺฉา (อิต.) ความว่าง, ฯลฯ.

ตุชฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. โตชติ. น. โตชน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

ตุชิ หึสาสหเณสุ
กำจัด ฯลฯ อาจ สามารถ ฯลฯ. ก. ตุญฺชติ. น. ตุงฺค (วิ.) สูง. ตุงฺคี (ปุ.) เงื้อม, งะเงื้อม (สิ่งที่สูงง้ำออกมา), เชิงผา, กลางคืน, ขมิ้น.


ตุฏฺ กลหเน
โต้ เถียง ทุ่มเถียง โต้เถียง ทะเลาะ วิวาท. ก. ตุฏติ. น. ตุฏุม (ปุ.) หนู.

ตุฑิ โตฑเน
บีบ คีบ จิก.  ก. ตุณฺฑติ. น. ตุณฺฑ (นปุ.) ปาก, หน้า, จะงอย, จะงอยปาก.  โตฑน (นปุ.) การบีบ, การคีบ, การจิก.

ตุณฺ โกฏิลฺเล
คด โค้ง ฯลฯ. ก. โตณติ. น. โตณน (นปุ.) การคด, ฯลฯ, ความคด, ฯลฯ.

ตุทฺ พฺยถเน
เป็นทุกข์ ลำบาก เจาะ ทิ่มแทง รบกวน เบียดเบียน หวาด สะดุ้ง กลัว ไหว สั่น รัว สั่นรัว. ก. ตุทติ น. โตทน (นปุ.) การเป็นทุกข์, ฯลฯ, ความเจ็บ, ความเป็นทุกข์, ฯลฯ. ปฏัก.  โตมร (ปุ.) หอก (แทงตีนช้าง), หอกซัด, อาวุธสำหรับซัด, โตมร (สามง่ามที่มีปลอกรูปใบโพธิ์สวมอยู่). ตุนฺน (นปุ.) การชุน, การเย็บ, การด้น, ปฏัก, ประตัก.  ตุหิน (นปุ.) น้ำค้าง.

ตุปฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ ก. ตุปฺปติ โตปติ. กิริยาต้น แปลง ป เป็น ปฺป กิริยาหลัง พฤทธิ อุ เป็น โอ น. ตุปฺปน โตปน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

ตุผฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. โตผติ น. โตผน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ.

ตุพฺพฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ตุพฺพติ. น. ตุพฺพน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ.

ตุภฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ตุภติ. น. ตุภน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ.

ตุพิ อทฺทเน
ชื้น ชุ่ม เปียก แฉะ เยิ้ม ฯลฯ. ก. ตุมฺพติ. น. ตุมฺพ (ปุ.) น้ำเต้า, น้ำเต้างวงช้าง.

ตุมฺพฺ อทเน
กิน เคี้ยว เคี้ยวกิน บริโภค. ก. ตุมพติ. น. ตุมฺพี (อิต.) น้ำเต้า.


ตุมฺพฺ กมฺปเน
ไหว ฯลฯ. ก. ตุมฺพติ. น. ตุมฺพ (ปุ.) คนโทน้ำ, หม้อน้ำ, เต้าน้ำ ชื่อภาชนะดินรูปคล้ายน้ำเต้า ใช้ใส่น้ำเดินทาง. ตุมฺภ (ปุ.,นปุ.) คนโทน้ำ, หม้อน้ำ.

ตุลฺ อุมฺมาเณ
ชั่ง ชั่งน้ำหนัก วัด สอบขนาด. ก. ตุลติ. น. ตุล (วิ.) เสมอ, เสมอกัน, เท่า, เท่ากัน, คล้าย, เช่นกัน.  ตุลน (นปุ.) การชั่ง, การวัด, การเทียบเคียง, ตราชู, ตราชั่ง, คันชั่ง, เครื่องชั่ง. ตุลา (อิต.) ตราชู. ตราชั่ง,คั่นชั่ง, เครื่องชั่ง, คันโพง, ชื่อเสาขื่อ, ไม้ขื่อ, รอด, เสาดั้ง. ตุลิย (ปุ.) นกเค้าแมว, บ่าง, ค่าง. ตุลฺย (วิ.) เสมอ, เสมอกัน, เท่ากัน, เหมือนกัน, คล้าย, คล้ายกัน, เช่นกัน, เช่นเดียวกัน.

ตุลฺ ปติฏฺฐายํ
ตั้ง ตั้งไว้ ตั้งอยู่ ตั้งมั่น มั่นคง ดำรงอยู่ ยืน ยืนอยู่. ก. ตุลติ. น. ตุลา (อิต.) ขื่อ, ไม้ขื่อ, รอด, เสาดั้ง.

ตุสฺ ตุฏฺฐิยํ
ชื่นชม ยินดี พอใจ ร่าเริง รื่นเริง. ก. ตุสติ. น. ตุฏฺฐิ (อิต.) ตุสน (นปุ.) ความชื่นชม, ฯลฯ. ตุส (ปุ.) ทรัพย์, สมบัติ, ทรัพย์สมบัติ.

ตุสฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. ตุสติ. น. ตุสน (นปุ.) การกล่าว, การพูด, คำ , ถ้อยคำ, คำพูด.

ตุหฺ ตุหิ อทฺทเน
กำจัด ขจัด ทำร้าย ทำอันตราย เบียดเบียน.  ก. ตุหติ โตหติ. น. ตุหิน (นปุ.) น้ำค้าง.

ตุฬฺ อุมฺมเณ
ชั่ง ชั่งน้ำหนัก วัด สอบขนาด. ก. ตุฬติ ตูฬติ. กิริยาหลังทีฆะ อุ เป็น อู. น. ตุฬน ตูฬน (นปุ.) การชั่ง, ฯลฯ.

ตูณฺ ปูรเณ
เต็ม เปี่ยม ฯลฯ. ก. ตูณติ. น. ตูณ ตูณีร (ปุ.) ตูณี (อิต.) แล่งธนู, แล่งศร, แล่งปืน.

ตูลฺ นิกฺกรีเส
ไม่มีกาก เบา. ก. ตูลติ. น. ตุล ตูล (ปุ.,นปุ.) นุ่น, สำลี,ฝ้าย.


ถ อักษร

ถกฺ สํวรเณ
สำรวม ระวัง ฯลฯ. ก. ถกติ. น. ถก (ปุ.) ถกน (นปุ.) การสำรวม, ฯลฯ. ถกฺก (ปุ.) พระเจ้า. ถมฺภ (ปุ.) กอ, กอไม้.

ถนฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. ถนติ. น. ถน (ปุ.) นม, เต้านม, ถัน.  ถนิต (นปุ.) ฟ้าร้อง. ถิติ (อิต.) อันกล่าว, การกล่าว, การพูด, คำกล่าว,คำพูด, วาจาเป็นเครื่องกล่าว.

ถปฺ ถปเน
ตั้ง ตั้งไว้ ฯลฯ. ก. ถปติ. น. ถปน (นปุ.) การตั้ง, การตั้งไว้, การวาง, การวางไว้, การเก็บ, การเก็บไว้. ถปติ (ปุ.) ช่างไม้.

ถภิ ถมฺภฺ ปติพนฺธเน
ดื้อ ดื้อด้าน ดื้อดึง กระด้าง แข็ง แข็งกระด้าง ขัดแข็ง แน่น แน่นหนา มั่นคง ค้ำ ยัน จุน ค้ำไว้ ยันไว้ จุนไว้. ก. ถมฺภติ. น. ถมฺภ (ปุ.) ความโง่, ความเซ่อ, ความเซอะ, ความดื้อ, ฯลฯ, พง, เสา, เสาตะลุง. ถทฺธ (วิ.) ดื้อ, ฯลฯ, ตระหนี่ ,หยิ่ง, เย่อหยิ่ง. (ปุ.) ก้อน, แท่ง, งบ. สนฺถมฺภน (นปุ.) การแต่ง, การเรียบเรียง, การร้อยกรอง.

ถมฺ เวลมุเพ
ชักช้า อืดอาด ฯลฯ. ก. ถมติ. น. ถมน (นปุ.) การชักช้า, ความอืดอาด, ความยืดยาด, ความช้า.

ถรฺ สนฺถรเณ
ลาด ปู. ก. ถรติ น. ถรณ (นปุ.) การลาด, การปู, ลาน, ลานตากผ้า, ลานนวดข้าว. สนฺถร สนฺถรณ (นปุ.) การลาด, การปู, เครื่องลาด, เครื่องปู, เสื่อ, ที่นอน.

ถลฺ ฐาเน
ตั้ง ตั้งอยู่ ยืน ยืนอยู่ ดำรง ดำรงอยู่. ก. ถลติ. น. ถล (นปุ.) ถลี (อิต.) บก, ดอน, ที่บก, ที่ดอน.  ถลิ (อิต.) หม้อ, หม้อข้าว, บาตร, ถ้วย. ถาลิก (ปุ.) ถาลิ ถาลิกา ถาลี (อิต.) หม้อ, หม้อข้าว, กระถาง.

ถวฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ถวติ. น. ถวิกา (อิต.) ถุง, ถลก, ถลกบาตร.

ถหฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ถหติ. น. ถหน (นปุ.) ถหนา (อิต.) การกำจัด, ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ.

ถา คตินิวตฺติยํ
ตั้ง ตั้งอยู่ หยุด หยุดอยู่ คง คงอยู่ ดำรง ดำรงอยู่. ก. ถาติ. น. ถาน (นปุ.) การตั้ง, ฯลฯ, ที่ตั้ง, เหตุเป็นที่ตั้ง, เหตุเป็นที่ตั้งแห่งผล, ตำแหน่ง, หน้าที่, หน้าที่การงาน.  ถาวร (ปุ.) การตั้งอยู่, ฯลฯ, ความตั้งอยู่, ฯลฯ. ถิร เถร (ปุ.) คนผู้มั่น, ฯลฯ.

ถิมฺ สงฺฆฏเนหึสาสุ
เบียดเสียด ฯลฯ กำจัด ฯลฯ. ก. ถิมติ. ถิมน (นปุ.) การเบียดเสียด, ฯลฯ, การกำจัด, ฯลฯ.

ถิวุ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. เถวติ. น. เถวน (นปุ.) ความรุ่งเรือง, ฯลฯ.

ถีนฺ หึสายํ
กำจัด, ฯลฯ. ก. ถีนติ. น. ถีนน (นปุ.) การกำจัด, ความกำจัด, ฯลฯ.

ถีนฺ สงฺฆฏเน
เบียดกัน ฯลฯ. ก. ถีนติ. น. ถีน (นปุ.) ความหดหู่, ความง่วงงุน, ความง่วงเหงา, ความเซื่องซึม, ความท้อแท้, ความท้อแท้ของใจ, ความคร้านกาย.

ถุ อภิตฺถเว
ชม ชมเชย ยกย่อง สรรเสริญ. ก. ถวติ. น. ถวน (นปุ.) ถวนา ถุติ (อิต.) การชม, ฯลฯ, ความชม, ฯลฯ. ถพก (ปุ.) ช่อ, พวง. ถูณ (ปุ.) เสา, หลักที่ใช้บูชายัญ. ถูป (ปุ.) สถูป, เจดีย์.

ถุ ถิเร
มั่น คง ทน มั่นคง คงที่ ตั้งมั่น ยั่งยืน แข็ง แข็งแรง ก. ถวติ. น. ถ (ปุ.) ภูเขา, ความเจริญ , ความรุ่งเรือง, ความต้านภัย, ความเป็นมงคล, มงคล.

ถุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ถวติ. น. ถุร (ปุ.) แกลบ, เปลือก.

ถุจฺ ปสาเท
เลื่อมใส ยินดี ชอบ ชอบใจ. ก. ถุจติ โถจติ. น. โถจน (นปุ.) ความเลื่อมใส, ฯลฯ.

ถุพฺพฺ ถุพฺพิ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ถุพฺพติ. น. ถุพฺพน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ.

ถุสฺ ตนุกรเณ
ทำให้บาง เล็ก เล็กน้อย น้อยนิด. ก. ถุสติ. น. ถุสน (นปุ.) ความบาง ฯลฯ.


ถูณฺ ปูรเณ
เต็ม เปี่ยม บูรณ์. ก. ถูณติ. น. ถูณ (ปุ.) ถูณะ ชื่อเมือง, เมืองถูณะ.

ถูปฺ สมุจฺจเย
ก่อ ก่อขึ้น ทำให้เป็นรูป สร้าง ก่อสร้าง ปลูกสร้าง. ก. ถูปติ. น. ถูป (ปุ.) สถูป, เจดีย์.

ถูลฺ วิเลขกรเณ
ทำให้เป็นรอย เสือกไป ไสไป ไถ. ก. ถูลติ. น. ถูลน (นปุ.) การเสือกไป, ฯลฯ, การไถ.

ถูฬฺ สํวรเณ
สังวร ฯลฯ. ก. ถูฬติ. น. ถูฬน (นปุ.) ความสังวร, ความระวัง, ความป้องกัน, ความรักษา.

ท อักษร

ทกฺขุ ทิตฺติยํ
เจริญ รุ่งเรือง สว่าง กระจ่าง ขาว สวยงาม ฯลฯ, ก. ทกฺขติ. น. ทกฺข (วิ) เจริญ ฯลฯ มีฝีมือ, ฉลาด, สามารถ. ทกฺขิณา (อิต) ทักขิณา ชื่อทานสมบัติอันเจริญซึ่งทายกทายิกา อุทิศผลให้ผู้ล่วงลับ.

ทกฺขฺ ทีฆเฉกวายเมสุ
เร็ว ว่องไว ฉลาด เพียร หมั่น ขยัน พยายาม. ก. ทกฺขติ. น. ทกฺข (วิ) เร็ว, ว่องไว, แคล่วคล่อง, ฉลาด, ชำนาญ, เหมาะ, สันทัด, เพียร ฯลฯ.

ทกฺขฺ หึสาคตีสุ
กำจัด ฯลฯ ไป ฯลฯ ก. ทกฺขติ น. ทกฺขน (นปุ) การกำจัด, การขจัด, ฯลฯ การไป, ฯลฯ.

ทกฺขฺ มุณฺฑิเย
เป็นคนโล้น บวช ก. ทกฺขติ น. ทกฺขิต (วิ) ผู้บวช, ผู้ประพฤติพรต.

ทขิ โฆรวาสิตกงฺขาสุ
อบรมน่ากลัว แคลง เคลือบแคลง ไม่แน่ใจ ลังเล สงสัย ก. ทงฺขติ. น. ทงุข (วิ) แคลง ฯลฯ.

ทํสุ ขาทเน
กัด ขบ เคี้ยว ตอด ต่อย ก. ทํสติ. น. ทํสน (นปุ) การกัด, ฯลฯ, ฟัน (กระดูกเป็นซี่ ๆ อยู่ในปาก) ทาฐา ทาฒา (อิต) เขี้ยว, งา, งาช้าง.

ทฑิ ทณฺฑฺ อาณาย
ลงอาญา ทำโทษ เฆี่ยน ตี ฯลฯ ก. ทณฺฑติ น. ทณฺฑ (ปุ) อาญา, อาชญา, การลงโทษ, โทษ.


ททฺ ทาเน
ให้ ยกให้ ถวาย ก. ททติ น. ทท (ปุ) บุคคลผู้ให้ ทท (ปุ) ททน (นปุ) การให้, การยกให้, การบริจาค, การถวาย. ททฺทุ (อิต.) หิด, หิดเปลือย, หิดด้าน (ให้ทุกขเวทนา) ททฺทุ (ปุ.) กบ.

ทธฺ ธารเณ
ตั้ง ทรง รับ วาง ฯลฯ ก. ทธติ. น. ทธิ (นปุ.ป นมส้ม , นมเปรี้ยว. ทห (ปุ.) สระ, บึง.

ทธิ อสีฆจาเร
ช้า เนือย เขลา โง่ เงื่อง เฉื่อย เฉื่อยชา เฉื่อยช้า ก. ทนฺธติ. น. ทนฺธ (วิ) ช้า, ฯลฯ.

ทผฺ คติยํ
ไป ฯลฯ ก. ทผติ. น. ทผน (นปุ.) การไป, การดำเนินไป, การถึง, การบรรลุ, ความเป็นไป.

ทผิ ตติยํ
ไป ฯลฯ ก. ทปฺผติ. น. ทปฺผน (นปุ.) การไป, ฯลฯ.

ทพิ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ ก. ทมฺพติ. น. ทมฺพน (นปุ.) เสียง, คำพูด, ถ้อยคำ, วาจา.

ทภิ ทมฺภิ คนฺถเน
แต่ง เรียบเรียง ร้อยกรอง ก. ทมฺภติ ทมฺภติ. น. สนฺทพฺภ (วิ.) ร้องดัง, ร้องลั่น, ร้องสนั่น (ปุ.) เสียงดัง, เสียงลั่น, เสียงดังลั่น, เสียงสนั่น.

ทภิ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. ทพฺภติ ทมฺภติ. น. สนฺทพฺภ (วิ.) ร้องดัง, ร้องลั่น, ร้องสนั่น (ปุ.) เสียงดัง, เสียงลั่น, เสียงดังลั่น, เสียงสนั่น.

ทภิ พฺยาเช
ไปแปลก โลภ โกง ก. ทพฺภติ ทมฺภติ. น. ทพฺภ ทมฺภ (ปุ) คนโลภ, คนโกง.

ทมฺ คติยํ
ไป ฯลฯ ก. ทมติ น. ทมน (นปุ.) การไป, การเดิน, การดำเนิน, การดำเนินไป, การถึง, ฯลฯ.

ทมฺ ทมุ ทมเน
ทรมาน ฝึก ฝึกฝน ฝึกหัด ข่ม ข่มใจ ปราบ. ก. ทมติ. น. ทม ทมถ (ปุ.) ทมน (นปุ.) ทนฺติ (อิต.) การทรมาน, ฯลฯ. ทมก (ปุ.) คนผู้ทรมาน, ฯลฯ ทุทฺทม (วิ.) ผู้อัน. ..ทรมานได้โดยยาก, ฯลฯ. ทม (ปุ.) อาชญา, การปรับไหม, ความรอบรู้, ปัญญา.


ทมฺ อุปสเม
อบรม สำรวม จำศีล สงบ ระงับ. ก. ทมติ. ทม (ปุ.) การอบรม, ฯลฯ ความอบรม, ฯลฯ.

ทยฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ทยติ. น. ทย (ปุ.) ฟ้า, ท้องฟ้า, อากาศ ทยน (นปุ.) การไป, การดำเนิน, ฯลฯ.

ทยฺ ทาเน
ให้ ฯลฯ. ก. ทยติ. น. ทยา (อิต.) การให้ คือให้ ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ ความรัก ความกรุณาแก่สรรพสัตว์.

ทยฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ ก. ทยติ. น. ทยา (อิต.ป การกำจัด คือ กำจัดทุกข์ของสัตว์ผู้อื่น หรือรบเร้าจิต เตือนจิตให้ช่วยเหลือสัตว์อื่นผู้อื่น.

ทยฺ อาทาเน
ถือเอา รับไว้ ก. ทยติ. น. ทยา (อิต.) การถือเอา, การรับรองทุกข์ของสัตว์อื่นผู้อื่นเหมือนของตนแล้วบำบัดตามความสามารถของตน ที่ช่วยไม่ได้ก็ปฏิบัติตามอุเบกขาธรรม.

ทยฺ รกฺขเณ
ระวัง ประครอง ป้องกัน รักษา ก. ทยติ. น. ทยา (อิต.) การระวังจิต, ฯลฯ ให้อยู่ในหลักธรรม.

ทรฺ ภเย
หวาด สะดุ้ง กลัว ก. ทรติ. น. ทร ทรถ (ปุ.) ความหวาด, ฯลฯ.

ทรฺ วิทารเณ
ฉีก ตัด ทอน ผ่า แบ่ง แตก แยก ทำลาย. ทรติ. น. ทร ทรก (ปุ.) การฉีก, ฯลฯ. ทาพฺพี (อิต.) ขมิ้น (ทำลายความสกปรก). ทาร (ปุ.) ภริยา, ภรรยา (ทำลายหรือแบ่งความทุกข์ของสามีและลูก). ทารก (ปุ.) เด็ก, เด็กชาย, ทารก คือเด็กที่ยังไม่เดียงสา. ทารี (ปุ.) ผัว, ภัสดา , ภรรดา, ภารดา, สามี (ทำลายหรือแบ่งความทุกข์ของภรรยา). ทารุ (นปุ.) ไม้, เปลือกไม้, ท่อนไม้, ชิ้นไม้, ไม้แห้ง, ฟืน.  ศัพท์นี้ ถ้ามาคู่กับไม้ไม่มีแก่น แปล ทารุว่าไม้จริง, ไม้มีแก่น.  ทาร (ปุ.) ทารณ (นปุ.) การฉีก, ฯลฯ. ทารุณ (วิ.) หยาบร้าย, ดุร้าย, โหดร้าย, ร้ายกาจ, น่ากลัว.


ทรฺ ทาเห
เผา ไหม้ ร้อน เร่าร้อน กระวนกระวาย. ก. ทรติ. น. ทร ทรถ (ปุ.) การเผา, ฯลฯ.

ทร อาทเร
เอื้อ เอาใจใส่ พะวง มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ อุดหนุน จุนเจือ เจือจาน ก. ทรติ. น. อาทร (ปุ.) การเอื้อ, ฯลฯ การเคารพ การนอบน้อม, การยำเกรง, ความเอื้อ, ฯลฯ, ความเคารพ, ความยำเกรง. สุนฺทร สุนฺทรี (วิ.) สวย, งาม, ดี, ดีนัก, ชอบใจ, เป็นที่ชอบใจ, เพราะ, ไพเราะ, น่าฟัง, จรูญ , จำรูญ, รุ่งเรือง.

ทลฺ ทุคฺคเต
จน ยากจน เข็ญใจ ยากไร้ ไร้ทรัพย์ ขัดสน ตกยาก.  ก. ทลติ น. ทลิทฺท ทลิทฺทก ทฬิทฺท (วิ.) จน, ฯลฯ. (ปุ.) ความจน, ฯลฯ, คนจน, ฯลฯ.

ทลฺ ทิตฺติยํ
เจริญ รุ่งเรือง สว่าง ส่องสว่าง กระจ่าง ขาว สวย สวยงาม เบิกบาน แช่มชื่น สดชื่น สดใส. ก. ทลติ. น. ทล (วิ) เจริญ, ฯลฯ, (ปุ.) ความเจริญ , ฯลฯ ทลป (นปุ.) ทอง, ทองคำ

ทลฺ วิกสเน
แย้ม บาน เบิกบาน แช่มชื่น สดชื่น สดใส. ก. ทลติ. น. ทล (วิ) แย้ม, ฯลฯ. (ปุ.) ความแย้ม, ฯลฯ, ความสดชื่น.

ทลิทฺทฺ ทฬิทฺทฺ ทุคฺคติยํ
จน ยากจน ฯลฯ ก. ทลิทฺทติ ทฬิทฺทติ. น. ทลิทฺท ทลิทฺทก ทฬิทฺท (วิ.) จน,ฯลฯ. (ปุ.) ความจน, ฯลฯ, คนจน, ฯลฯ.

ทวฺ ทาเห
เผา ฯลฯ. ก. ทวติ. น. ทวตุ (ปุ.) ทวน (นปุ.) ความร้อน, ความร้อนใน, ความกระหาย, ความกระหายน้ำ. ทาว (ปุ.) ความร้อน, ไฟ, เปลวไฟ.

ทวฺ เฉทเน
ผ่า ตัด ฯลฯ. ก. ทวติ. น. ทาว (ปุ.) ป่า, ฟืน.  ทาวน (นปุ.) การผ่า, การตัด, ฯลฯ.

ทวฺ สรเณ
ระลึก คิดถึง นึกถึง. ก. ทวติ. น. ทวน (นปุ.) ความระลึก, ฯลฯ.


ทวฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ทวติ. น. ทว (ปุ.) ต้นไม้, หมู่ไม้, ป่า (กำจัดความร้อน).

ทวฺ กีฬเน
เล่น รื่นเริง ร่าเริง บันเทิง สนุก.  ก. ทวติ. น. ทว (ปุ.) การเล่น.  ฯลฯ, การบันเทิง, ความรื่นเริง, ความสนุก.

ทฺวารฺ สํวรเณ
ระวัง ฯลฯ. ก. ทฺวารติ. น. ทฺวาร (นปุ.) ประตู, ปาก, ช่อง, อุบาย, ทาง.

ทสิ ภาสายํ
กล่าว พูด. ก. ทํสติ. น. วิทฺทสุ (ปุ.) บุคคลผู้กล่าวด้วยความรู้แจ้ง.

ทหฺ ทหิ วุทฺชิยํ
เจริญ ฯลฯ. ก. ทหติ. น. ทหร (วิ.) เยาว์, เล็ก , น้อย, หนุ่ม. (ปุ.) เด็ก, เด็กหนุ่ม, คนหนุ่ม.

ทหฺ ภสฺมิกรเณ
ทำให้เป็นเถ้า เผา ไหม้ ฯลฯ. ก. ทหติ. น. ทห (ปุ.) ทหณ ทหน (นปุ.) การเผา , ความร้อน, ไหม้.

ทห ธารเณ
ทรง ทรงไว้ ตั้ง ตั้งไว้ รับ รับไว้ วาง วางไว้. ก. ทหติ. น. ทห (ปุ.) สระ, บึง.

ทฬฺ เภทเน
แตก แยก ทำลาย ฯลฯ. ก. ทฬติ. น. ทาฬิม ทาลิม (ปุ.) ทับทิม, ต้นทับทิม.

ทา กุจฺฉิตคมเน
ไปน่าเกลียด เขลา โง่ ฯลฯ. ก. ทาติ. น. ทตฺตุ ทพฺพ (วิ.) เขลา, โง่, ไม่ฉลาด, ไม่เฉียบแหลม, ขาดไหวพริบ. ทตฺตุ (ปุ.) คนเขลา, ฯลฯ. ทพฺพ (ปุ.,นปุ.) ความเขลา.

ทา ลวเน เฉทเน วา อวขณฺฑเน วา
ตัด เก็บ เกี่ยว ฯลฯ. ก. ทาติ. น. ทสา (อิต.) ชายผ้า, ชายครุย. ทาตฺต (นปุ.) เคียว. ทาตุ (ปุ.) คนผู้ตัด, ฯลฯ. สรท (วิ.) ไม่แกล้วกล้า, ไม่กล้าหาญ, ไม่องอาจ, ไม่ว่องไว, ครั่นคร้าม. ทาน (นปุ.)ความขาด , ความทะลุ, ความเป็นท่อน.  ทาย (ปุ.) ป่า, หมู่ไม้, กอหญ้า.

ทา ทาเน
ให้ ฯลฯ. ก. ททาติ ทาติ เทติ. น. ทาตุ (วิ.) ให้, ยกให้, ถวาย. (ปุ.) คนผู้ให้, ฯลฯ. ทตฺตก (ปุ.) ลูกอันเขาให้, ลูกบุญธรรม, ลูกเลี้ยง. ทิตฺติ (อิต.) อันให้, การให้, ฯลฯ, เครื่องบูชา. ทท (ปุ.) การให้. ฯลฯ, บุคคลผู้ให้, ฯลฯ. ทาน (นปุ.) วัตถุอัน. ..พึงให้, ของอัน. ..พึงให้, ฯลฯ, ที่เป็นที่ให้, ที่เป็นที่ให้แห่ง..., ฯลฯ, การให้, ฯลฯ. ทิน (นปุ.) วัน, กลางวัน.  ทาส (ปุ.) บ่าว, คนรับใช้, คนใช้, ทาส.


ทา อาทาเน
ถือ ถือเอา ฉวยเอา คว้าเอา ยึด ยึดถือ. ก. ททาติ. น. มริยาท (ปุ.) อาจาระ, ความประพฤติ, ความประพฤติดี, จรรยา, มรรยาท, มารยาท, กฎ. มริยาทา (อิต.) เขตแดน, คันนา. ทายาท (ปุ.) คนผู้รับทรัพย์มรดก, คนสืบสกุล, เผ่าพันธุ์, เชื้อสาย.

ทา โสธเน
ชำระ ล้าง สะอาด หมดจด บริสุทธิ์. ก. ทาติ. น. ทาน (นปุ.) การชำระ, ฯลฯ, ความชำระ, ฯลฯ.

ทา พนฺธเน
พัน ผูก มัด รัด. ก. ททาติ. น. ทาม (นปุ.) เชือก, พวน, พวง. สนฺทาน (นปุ.) เครื่องผูก, สายป่าน, เชือก, เชือกผูก.

ทาขฺ โสสปฏิเสเธสุ
แห้ง ผาก ห้าม ปฏิเสธ. ก. ทาขติ. น. ทาขน (นปุ.) ความแห้ง, ฯลฯ.

ทาฆฺ สมตฺถอายาเสสุ
อาจ สามารถ ลำบาก ยากแค้น เหน็ดเหนื่อย. ก. ทาฆติ. ทาฆน (นปุ.) ความอาจ, ฯลฯ.

ทานฺ อวขณฺฑเน
เป็นท่อน ขาด ฯลฯ. ก. ทานติ. น. ทานน (นปุ.) ทานนา (อิต.) การขาด, ความเป็นท่อน.

ทาสิ ทาสุ ทาเน
ให้ ยกให้ ถวาย. ก. ทาสติ. น. ทาส (ปุ.) บ่าว, คนรับใช้, คนใช้, ทาส.

ทาหฺ ทาหุ นิทฺทกฺขเย
สิ้นความหลับ ตื่น ก. ทาหติ. น. ทาหก (ปุ.) คนตื่น, คนไม่หลับ.

ทาฬฺ เภทเน
แตก แตกออก แยก แยกออก ทำลาย. ก. ทาฬติ. น. ทาฬก (วิ.) แตก, ฯลฯ.

ทิกฺขฺ เนกฺขมฺเม
ออกจากกาม บวช ออกบวช ประพฤติพรต. ก. ทิกฺขติ. น. ทิกฺขน (นปุ.) การออกจากกาม ฯลฯ.

ทิกฺขฺ ปูชายํ
บูชา เซ่นสรวง, ก. ทิกฺขติ. น. ทิกฺขา (อิต.) การบูชา, การเซ่นสรวง.


ทิจฺ ถุติยํ
ชม เชย ฯลฯ. ก. ทิจติ. น. ทิจน (นปุ.) ความชม, ความชมเชย, ความยกย่อง, ความสรรเสริญ.

ทิผฺ กถนยุทฺธนินฺทาหึสาทาเนสุ
กล่าว พูด รบ ติเตียน นินทา กำจัด เบียดเบียน ยึดถือ. ก. เทผติ. น. เทผ (ปุ.) อันกล่าว, การกล่าว, การพูด, การรบ, การติเตียน, การนินทา, คำติเตียน, คำนินทา, การกำจัด, การเบียดเบียน, การรังแก, การถือเอา, การยึดถือ, การถือมั่น.

ทิสฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ทิสติ. น. ทิฏฺฐ (ปุ.) ข้าศึก, ศัตรู, ลูกศร ดื่มยาพิษ. วิเทสี เทสฺสี (ปุ.) คนผู้เบียดเบียนโดยประการต่าง ๆ , ข้าศึก, ศัตรู.

ทิสฺ อติสชฺชเน
ตระเตรียม จัดแจง แต่ง ตกแต่ง ตบแต่ง ประดับ. ก. ทิสติ. น. เทส (ปุ.) ประเทศ, บ้านเมือง, ภาค, ส่วน, ถิ่น, ที่, ถิ่นที่, ท้องที่, ตำบล, จังหวัด, ชาวเมือง.

ทิสฺ  เปกฺขเณ
พบ เห็น ดู เพ่ง มอง ฯลฯ. ก. ทิสฺสติ ปสฺสติ. น. ทิส (ปุ.) โจรผู้ปรากฏ, โจร ,โจรโจก (โจรหัวหน้า), คนมอง (เพื่อหาช่างลัก). ทิสา (อิต.) ด้าน, ข้าว, ทิศ. ทสฺสน (นปุ.) การพบ การเห็น, การดู, การแลดู, ฯลฯ, การเฝ้า, ความเห็น, ฯลฯ. ทิฏฺฐิ (อิต.) ความเห็น, นัยน์ตา, ลัทธิ, ทฤษฎี.

ทิสฺ อาทานเสวเนสุ
ถือเอา ถือมั่น ยึดถือ ฯลฯ คบ เสพ ฯลฯ. ก. ทิสฺสติ. น. ทิสฺสน (นปุ.) การถือเอา, ฯลฯ.

ทิสฺ อปฺปีติยํ
ไม่แช่มชื่น ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ไม่พึงใจ ไม่แช่มชื่น ชัง เกลียดชัง. ก. ทิสติ. เทสฺสติ. น. ทิฏฺฐ ทิส (ปุ.) ข้าศึก, ศัตรู. วิทฺเทส (ปุ.) วิทฺเทสน (นปุ.) ความขึ้งเคลียด, ความเกลียด, ความเกลียดชัง, ความจำนงภัย.

ทิหฺ อุปจเย
สะสม สั่งสม ก่อ ก่อสร้าง. ก. เทหติ. น. เทห (ปุ.,นปุ.) ตัว, เนื้อตัว, กาย, ร่างกาย, รูป, รูปร่าง, อัตภาพ, ก้อน.  สนฺเทห (ปุ.) ความฉงน, ความไม่แน่ใจ, ความสงสัย, สนเท่ห์.

ทิหฺ อุปเลเป
ฉาบ ทา ไล้ ฯลฯ. เทหติ. น. ทิทฺธ (วิ.) ฉาบ, ฯลฯ. (ปุ.) ลูกศรกำซาบยาพิษ, ลูกศรทายาพิษ.

ทีธฺ ทีธิ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. ทีธติ ทีธิติ ทีธยติ. น. ที (ปุง) ความรุ่งเรือง, ความสวยงาม, ความกระจ่าง, ฯลฯ, ไฟ, รัศมี, แสง, แสงสว่าง. ทีธีติ (อิต.) ความรุ่งเรือง, ฯลฯ, รัศมี,แสง, แสงสว่าง.

ทีธฺ ทีธิ กีฬเน
เล่น ฯลฯ สนุก.  ก. ทีธติ ทีธิติ ทีธยติ. น. ทีธน ทีธิน (นปุ.) การเล่น,ฯลฯ.

ทุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ทวติ. น. ทูต (ปุ.) บุคคลผู้อัน. ..ส่งไป, คนนำข่าว, ทูต (ผู้เจรจาแทน).

ทุ ปีฬเน
บีบ บีบคั้น เบียดเบียน ทำลาย. ก. ทวติ. น. โทล (วิ.) บีบ, ฯลฯ. ทว (ปุ.) ป่า, หมู่ไม้, ต้นไม้ (เบียดเบียนความทุกข์).

ทุ ปริตาเป
เดือดร้อน เร่าร้อน กระวนกระวาย. ก. ทวติ. น. โทลา โทลี (อิต.) ชิงช้า, คานหาม, เปล. ทว ทวถุ (ปุ.) ความร้อน, ฯลฯ, ความกระหาย , ความกระหายน้ำ.

ทุ ปูรเณ
เต็ม เปี่ยม บูรณ์. ก. ทวติ. ทวน (นปุ.) ความเต็ม, ฯลฯ.

ทุ วุฑฺฒิยํ
เจริญ รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. ทวติ. น. ทว (ป.) ป่า, หมู่ไม้,ต้นไม้. โทล (นปุ.) น้ำนม.

ทุกฺขฺ ตกฺกิริยายํ
ยาก ลำบาก เดือดร้อน เป็นทุกข์ เจ็บ เจ็บไข้ ไม่สบาย. ก. ทุกฺขติ. น. ทุกฺข (วิ.) ชั่ว, ฯลฯ. (นปุ.) ความยาก, ฯลฯ, ความไม่สบาย, ความไม่สบายกายและความไม่สบายใจ, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ.

ทุณฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ทุณติ. น. โทณี (อิต.) ทุ่น, แพ, เรือ, เรือชะล่า (นำไปสู่ที่หมาย), เรือโกลน.

ทุณฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ทุณติ. น. โทณี (อิต.) ทุ่น, ฯลฯ (กำจัดทุกข์).


ทุผฺ เกลเส
เปรอะเปื้อน เศร้าหมอง.ก. ทุผติ โทผติ. น. ทุผน (นปุ.) ความเปรอะเปื้อน, ฯลฯ.

ทุพฺพฺ ทุพฺพิ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ทุพฺพติ. น. ทุพฺพา (อิต.) หญ้าแพรก (กำจัดอวมงคล).

ทุภฺ นยิจฺฉาโลเภสุ
ปรารถนาจะนำไป ต้องการนำไป ต้องการเอาไป อยาก อยากได้ ลโมภ. ก. ทุภติ. น. ทุภน โทภน (นปุ.) ความปรารถนาจะนำไป, ฯลฯ, ความละโมภ.

ทุหฺ ปูรณปปูรเณสุ
เต็ม ฯลฯ ทำให้เต็ม รีด รีดนม. ก. ทุหติ โทหติ. น. ทุหณ ทหน (นปุ.) โทห (ปุ.) ความเต็ม, ความให้เต็ม, การรีด, การรีดนม. ทุทฺธ (นปุ.) นม, นมสด. สนฺโทห (ปุ.) ฝูง , หมวด, หมู่, พวก, ประชุม, กอง, คณะ.

ทุหฺ ทุหิ อทฺทเน
ทำร้าย ทำอันตราย เบียดเบียน.  ก. ทุหติ. น. ทุหน (นปุ.) ทุหนา (อิต.) การทำร้าย, ฯลฯ.

เท โสธเน
ทำให้สะอาด ชำระ ล้าง สะอาด หมดจด. ก. ทายติ. แปลง เอ เป็น อาย. น. โวทาน (นปุ.) การทำให้สะอาด, ฯลฯ, ความหมดจด, ความบริสุทธิ์, ความผ่องแผ้ว, ความผ่องใส.

เท ปาลเน
รักษา ฯลฯ. ก. ทายติ. ก. ทายติ. น. ทายน (นปุ.) ป่าอันบุคคลพึงรักษา, ทรัพย์อันเจ้าของพึงรักษา.

เทกฺ สทฺทุสฺสาเหสุ
ออกเสียง ฯลฯ หมั่น, ฯลฯ. ก. เทกติ. น. เทกน (นปุ.) การกล่าว, คำ, ถ้อยคำ, คำพูด.

เทฏุ ปริภาสเน
ด่า ฯลฯ. ก. เทฏติ. น. เทฏน (นปุ.) คำด่า, คำปริภาษ.

เทภฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. เทภติ. น. เทภน (นปุ.) การกล่าว, คำ, ถ้อยคำ, คำพูด.

เทวฺ เทวุ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. เทวติ. น. เทวน (นปุ.) การกล่าว, การพูด, คำกล่าว, คำพูด.

เทวุ ปลุตคติยํ
ลอยไป ปลิวไป. ก. เทวติ. น. เทว (ปุ.) เมฆ.


เทสุ อพฺยตฺตสฺทฺเท
ร้องดัง ฯลฯ. ก. เทสติ. น. เทสน.  (นปุ.) การร้องดัง, ฯลฯ, เสียงร้องดัง, ฯลฯ.

ธ อักษร

ธกฺ ธํกฺ คติปฏิฆาเตสุ
ไป ฯลฯ กำจัด ฯลฯ. ก. ธกติ ธํกติ ธงฺกติ. น. ธก ธงฺก (ปุ.) นกเหยี่ยว.

ธกฺ ธํกฺ โฆรวาสิเต
ร้องดัง ส่งเสียงดัง. ก. ธกติ ธํกติ ธงฺกติ. น. ธก ธงฺก (ปุ.) กา อีกา นกกา, ยาง, นกยาง, กระยาง, นกกระยาง.

ธขิ ภยสทฺเท
ร้องน่ากลัว หอมน่ากลัว. ก. ธงฺขติ. ธงฺข (ปุ.) เสียงน่ากลัว.

ธขิ กงฺขายํ
ระแวง สงสัย ฯลฯ. ก. ธงฺขติ. น. ธฺงฺขน (นปุ.) ความระแวง, ฯลฯ.

ธํสฺ ธํสุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ธํสติ. น. ธํสน (นปุ.) การไป, การเดิน, การดำเนิน, ฯลฯ.

ธชฺ ธชิ คติยํ
ไป ฯลฯ ก. ธชติ ธญฺชติ. น. ธช (ปุ.) ธง, ธงชัย, ธงชาย, ธงแผ่นผ้า, ธวัช (ธง), เครื่องหมาย, ลอยตรา, ลักษณะ, สัญลักษณ์. ธญฺชน (นปุ.) การป, ฯลฯ, ความไป, ฯลฯ.

ธนฺ ธญฺเญ
มีสิริ เป็นสิริ มีโชค มีลาภ มีบุญ มีปัญญา เป็นมงคล เจริญ จำเริญ งอกงาม เปล่ง ฯลฯ. ก. ธนติ ธนฺติ. กิริยาหลังลบ  อ ปัจ. น. ธญฺญ (วิ.) มีสิริ, ฯลฯ. (นปุ.) สิริ ฯลฯ. ธน (นปุ.) เงิน, ทรัพย์, สิน, สมบัติ.

ธนฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. ธนติ. น. ธนิ (ปุ.) เสียง. ธนุ (นปุ.) ธนู.

ธนฺ อิจฺฉายํ
ปรารถนา ฯลฯ. ก. ธนติ. น. ธน (นปุ.) เงิน, ทรัพย์ , สิน, สมบัติ.

ธมฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. ธมติ. น. ธมน (ปุ.) ไม้อ้อ, ไม้เลา (มีดอกสีขาวมอ ๆ)

ธมฺ อคฺคิสํโยเค
ก่อ เป่า ก่อไฟ เป่าไฟ. ก. ธมติ. น. ธม (ปุ.) คนก่อไฟ, ฯลฯ.


ธรฺ ปริจฺเฉเท
กำหนด หมาย หมายไว้ ตราไว้ ฯลฯ. ก. ธรติ. ธรณ (นปุ.) ธรณะ ชื่อมนตรา นับ หนัก ๕ อักขระ.

ธรฺ ธารเณ
ทรง จำ ทรงจำ ทรงไว้ ตั้ง ตั้งไว้ รับ รับไว้ วาง วางไว้. ก. ธรติ. น. ธมฺม (ปุ.) สภาพผู้ทรงไว้, ฯลฯ, ความทรงไว้, ฯลฯ. ธร (ปุ.) ธรณ (นปุ.) การทรงไว้, ฯลฯ ความทรงไว้, ฯลฯ. ธรา ธรณี (อิต.) ดิน, แผ่นดิน, โลก.  ธีตุ (อิต.) ลูกหญิง, ลูกสาว, ธิดา. ธุร (ปุ.) แอก,หน้าที่,กิจการ,การงาน, ความเพียร.

ธรฺ อวิทฺธํสเน
ไม่กระจัดกระจาย ไม่ขจัดขจาย ไม่สลาย ไม่ฉิบหาย มีอยู่ คงอยู่ คงที่. ก. ธรติ. น. ถมฺภ (ปุ.) เสา.

ธา ธารเณ
ทรง จำ ทรงจำ ทรงไว้ ตั้ง ตั้งไว้ รับ รับไว้ วาง วางไว้. ก. ทธาติ ทหติ เธติ นิเธติ. น. ทธิ (นปุ.) นมส้ม, นมเปรี้ยว. ธย ธาย (ปุ.) เจ้าหนี้. ธาติ ธาตี (อิต.) พี่เลี้ยง, นางนม, แม่นม. ธาติ (อิต.) การทรง, การทรงไว้, ฯลฯ. ความทรง, ความทรงไว้, ฯลฯ. ธาตุ (วิ.) ผู้ทรงไว้, ฯลฯ. ธาตุ (ปุ.,อิต.) แร่ แร่ต่าง ๆ , กระดูก , ธาตุ (ธาด). ธิติ (อิต.) ความทรงไว้, ปัญญาเป็นเครื่องทรง, ปัญญา.ธี (อิต.) ปรีชา, ปัญญา. สนฺธิ (ปุ.) ที่ติดต่อกัน, ที่ต่อ, ชุมทาง. สนฺธิ (อิต.) การต่อ, การติดต่อ, การสืบต่อ, การเชื่อม, การประจวบ, การรวมกัน, การเกิด (ต่อจากภพเก่า). ธานี (อิต.) ธานิย (นปุ.) เมือง, ธานี, ธานิน.  สทฺธา (อิต.) ความเชื่อ, ความเลื่อมใส. ธา อาวรเณ กันกั้น ปิด ฯลฯ. ก. ธาติ. ทหติ. น. ปิทหน (นปุ.) อันกัน, อันกั้น, ฯลฯ, การกั้น ฯลฯ, ความกั้น, ฯลฯ. ปิธาน (นปุ.) การกั้น, การปิด, การกำบัง, วัตถุเป็นเครื่องปิด, ฝา, ฝาละมี.

ธายฺ โสกปฏิเสเธสุ
แห้ง ผาก ห้าม ปฏิเสธ. ก. ธายติ. น. ธายน (นปุ.) ความแห้ง, ฯลฯ, ความปฏิเสธ.


ธาวฺ ธาวุ สีฆคมเน
วิ่งไป เล่นไป. ก. ธาวติ. น. ธาวก (ปุ.) การวิ่งไป, การเล่นไป, คนผู้วิ่งไป , ฯลฯ. ธาวน (นปุ.) การแล่นไป, ฯลฯ.

ธาวฺ ธาวุ ทิตฺติยํ
เจริญ, รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. ธาวติ. น. ธาวก (ปุ.) ความเจริญ ฯลฯ, คนผู้เจริญ, ฯลฯ. ธาวน (นปุ.) ความเจริญ, ฯลฯ.

ธาวฺ ธาวุ โสธเน
ชำระ ล้าง สะอาด หมดจด. ก. ธาวติ. น. ธาวน (นปุ.) การชำระ, การล้าง ,ฯลฯ.

ธาฬฺ เภทเน
แตก แยก แตกแยก ทำลาย. ก. ธาฬติ. น. ธาฬน (นปุ.) การแตก, ฯลฯ.

ธิกฺขฺ ทีปนชีวเกลเสสุ
แสดง เป็นอยู่ เศร้า หมอง เศร้าหมอง ขุ่น มัว. ก. ธิกฺขติ. น. ธิกฺขน (นปุ.) การแสดง, ฯลฯ.

ธิมฺหฺ ธิมฺหิ นิฏฺฐุภเน
ถ่ม บ้วน.  ก. ธิมฺหติ ธิเมหติ. น. ธิมฺหน (นปุ.) การถ่ม, การบ้วน.

ธิวฺ ธิวุ นิทสฺสเน
แสดงออก อ้าง แสดงอ้าง เป็นตัวอย่าง. ก. เธวติ. น. เธวน (นปุ.) การแสดงออก, ฯลฯ.

ธิสฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. ธิสติ. น. ธิสน (นปุ.) การเปล่งเสียง, การกล่าว, การพูด, คำกล่าว, ฯลฯ.

ธุ กมฺปเน
ไหว สั่น หวั่นไหว รัว. ก. ธวติ. น. ธว (ปุ.) ต้นไม้. สนฺธุ (ปุ.) ความหวั่นไหว, ความสั่นไหว. ธุวร (นปุ.) กำไลมือ.

ธุ โธวเน
ชำระ ล้าง ซัก ฟอก.  ก. ธวติ. น. ธวล (ปุ.) ขาว, เผิอก, สีขาว, สีเผือก.

ธุ เถริเย
มั่น คง มั่นคง ยั่งยืน.  ก. ธวติ. น. ธว (ปุ.) ต้นไม้. ธุว (วิ.) เที่ยง, คงที่, มั่น, มั่นคง, ยั่งยืน, ยืนที่, แน่วแน่, แน่นอน, ถาวร, ประจำ, ทุกเมื่อ, เป็นนิตย์, เนือง, เนือง ๆ , บ่อย ๆ.

ธุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ธวติ. น. ธวน (นปุ.) การไป, การถึง, การบรรลุ, การเป็นไป, ความไป, ฯลฯ.

ธุกฺขฺ ทีปนชีวเกลเสสุ
แสดง เป็นอยู่ เศร้า หมอง เศร้าหมอง. ธุกฺขติ. น. ธุกขน (นปุ.) การแสดง, ฯลฯ.


ธุปฺ ทหเน
เผา ร้อน เร่าร้อน กระวนกระวาย. ก. ธุปติ. น. ธุปน (นปุ.) การเผา, ความร้อน, ฯลฯ.

ธุพฺพฺ ธุพิพิ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ธุพฺพติ. น. ธุพฺพน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, ความเบียดเบียน.

ธุมฺ สงฺฆาเต
เบียดกัน เบียดเสียด ติดต่อ ติดต่อกัน รวมกัน คละ คละกัน ฯลฯ. ก. ธุมติ. น. ธุม (ปุ.) ควัน, ควันไฟ.

ธุรฺ หุจฺฉเน
คด โค้ง โกง งอ บิด. ก. ธุรติ. น. นิธุร (ปุ.) ทองปลายแขน, กำไรมือ.

ธู วิธูนเน
สลัด สะบัด. ก. ธุวติ ธูวติ. ลงวฺอาคม กิริยาต้น รัสสะ อู เป็น อุ. น. นิธูน นิธูนน (นปุ.) การสลัด, การสะบัด, การสลัดมือ, ฯลฯ.

ธูปฺ สนฺตาเป
เผา เผาไหม้ อบ อบควัน.  ก. ธูปติ. น. ธูป (ปุ.,นปุ.) ธูป เครื่องหอมสำหรับจุดเอาควันลม เครื่องหอมทำเป็นเล่มสำหรับจุดบูชา. ธูปน (นปุ.) การอบ, การรม, การอบควัน, เครื่องหอม, เครื่องฉุน, เครื่องเทศ.

เธ ปาเน
กิน ดื่ม ดื่มนม. ก. ธยติ ธายติ ธิยติ ธียติ. น. เธนุ (อิต.) นม (นม เต้านม ที่มีน้ำนม) , โคมนม ,แม่โคนม. สุธา (อิต.) สุธาโภชน์ (โภชนะเทวดา).

เธกฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. เธกติ. น. เธกน (นปุ.) การเปล่งเสียง, การกล่าว, ฯลฯ, คำ,คำพูด, ฯลฯ.

เธกฺ อุสฺสาเห
หมั่น ขยัน ฯลฯ. ก. เธกติ. น. เธกน (นปุ.) การหมั่น, ฯลฯ, ความหมั่น, ฯลฯ.

เธวุ วาทเน
ตี บรรเลง ประโคม ดีด. ก. เธวติ. น. เธวน (นปุ.) การตี, ฯลฯ.

โธรฺ พฺยตฺติยํ
ฉลาด แจ่มแจ้ง แจ้งชัด ชัดแจ้ง. ก. โธรติ. น. โธน (วิ.) ผู้มีปัญญา, ผู้ฉลาด. (ปุ.) บุคคลผู้มีปรีชา, ฯลฯ.

โธวุ โธวเน
ชำระ ล้าง ซัก ฟอก.  ก. โธวติ. น. โธวน (นปุ.) การชำระ, ฯลฯ, การชำระล้าง, การซักฟอก.


น อักษร


นกฺกฺ นาสเน
เสื่อม ฉิบหาย ป่นปี้ พินาศ ย่อยยับ ทำลาย.  ก. นกฺกติ. น. นกฺก (ปุ.) จระเข้. นกุล (ปุ.) พังพอน.

นกฺขฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. นกฺขติ. น. นกฺข (ปุ.) นกฺขน (นปุ.) การไป, การดำเนินไป, การถึง, ความเป็นไป. นกฺขตฺต (นปุ.) ดาว, ดวงดาว, ดาวฤกษ์, ฤกษ์.

นกฺขฺ สมฺพนฺเธ
ผูกพัน ติดต่อ ติดต่อกัน เกี่ยวเนื่อง เกี่ยวเนื่องกัน.  ก. นกฺขติ. น. นกฺข (ปุ.) นกฺขน (นปุ.) ความผูกพัน, นลฯ.

นขฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. นขติ. น. นขน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความเป็นไป.

นฏฺ นตฺยมฺหิ
เต้น รำ ฟ้อน.  ก. นฏติ. น. นฏ นฏก นฏฺฏ นฏฺฏก (ปุ.) คนเต้น, คนรำ, คนฟ้อน, คนเต้นรำ, คนฟ้อนรำ, การเต้น, ฯลฯ. นฏฺฏกี (อิต.) หญิงเต้น, ฯลฯ. นฏน นฏฺฏ (นปุ.) การเต้น, ฯลฯ.

นตฺ คตฺตวิมาเน
น้อมกายไปต่าง ๆ เต้น รำ ฟ้อน.  ก. นตติ. นตฺย (นปุ.) นตฺติ (อิต.) การเต้น, ฯลฯ, การเต้นรำ, การฟ้อนรำ.

นทฺ อพฺยตฺตสทฺเท
ร้อง บันลือ แผดเสียง. ก. นทติ. น. นท (ปุ.) บุคคลผู้บันลือ, ฯลฯ, แม่น้ำ, ลำน้ำ. นที (อิต.) แม่น้ำ, ลำน้ำ. นาท (ปุ.) การบันลือ ฯลฯ, ความบันลือ, ฯลฯ. เสียง, เสียงร้อง, เสียงบันลือ, เสียงก้อง, เสียงดังก้อง.

นทฺทฺ สทฺเท
ออกเสียง เปล่ง เปล่งเสียง. ก. นทฺทติ. น. นทฺทน (นปุ.) การออกเสียง, ฯลฯ.

นนฺทฺ นนฺทิยํ
เพลิน เพลิดเพลิน ยินดี รื่นรมย์ ชอบใจ พอใจ. ก. นนฺทติ. น. นนฺทน (นปุ.) นนฺทิ นนฺที (อิต.) ความเพลิน, ฯลฯ.

นนฺทฺ สิทธิยํ
เสร็จ สำเร็จ. ก. นนฺทติ. น. นนฺท (ปุ.) นนฺทน (นปุ.) นนฺทิ นนฺที (อิต.) ความสำเร็จ.


นนฺธฺ พนฺธเน
ผูก ฯลฯ. ก. นนฺธติ. นนฺธี (อิต.) เชือกหนัง, สายเชือก, สายรองเท้า. สมุนฺนนฺธ (วิ.) ผูกแน่น, พันแน่น, มัดแน่น, รัดแน่น.

นภฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. นภติ. น. นภน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ.

นมฺ นมุ นมเน
น้อม นอบน้อม เคารพ ไหว้ กราบไหว้. ก. นมติ. น. นม (ปุ.) นมน (นปุ.) การน้อม, ฯลฯ, ความน้อม, ฯลฯ. นมสฺสา (อิต.) การน้อม, ฯลฯ. ลง สฺส ปัจฺ อา อิต.

นมฺ อพฺยตฺตสทเท
ร้องดัง ร้องเสียงสูง ส่งเสียงดัง ส่งเสียงสูง. ก. นมติ. น. นมน (นปุ.) การร้องดัง, ฯลฯ.

นมุ เฉทเน
ตัด ฯลฯ. นมติ นมยนฺติ. อนฺติ วิภัตติ ยฺ อาคม. น. นม (นปุ.) การตัด, ฯลฯ.

นมุ พนฺธเน
ผูก พัน มัด รัด. ก. นมติ. น. นมน (นปุ.) การผูก, ฯลฯ.

นมสฺส วนฺทนมเน
น้อมไหว้ นอบน้อม กราบไหว้ นมัสการ. ก. นมสฺสติ. น. นมสฺสน (นปุ.) นมสฺสา (อิต.) การน้อมไหว้, ฯลฯ.

นยฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. นยติ. น. นย (ปุ.) นยน (นปุ.) การไป, การเดินไป, การดำเนินไป, การถึง, การบรรลุ, การเป็นไป.

นยฺ นยเน
นำ นำไป แนะนำ. ก. นยติ. น. นย (ปุ.) นยน (นปุ.) การนำ, ฯลฯ, ความควร , ความสมควร, ความชอบ, ความถูกต้อง, ความสมเหตุสมผล, ความสมเหตุผล, ความคาดคะเน, อาการ, อุบาย ,เล่ห์เหลี่ยม, วิธี, ทาง, แบบ, แบบอย่าง, นัย (ข้อความ ข้อเค้า เค้าความ แบบ แบบอย่าง).

นยฺ รกฺขเณ
เฝ้า ระวัง ป้องกัน ฯลฯ. ก. นยติ. น. นยน (นปุ.) การเฝ้า, ฯลฯ.

นรฺ นยเน
นำ นำไป. ก. นรติ. น. นร (ปุ.) คน ,บุคคล, มนุษย์, สัตว์โลก, บุรุษ, ชาย, นระ, นรชน.  นรี (อิต.) คนผู้หญิง, ผู้หญิง, หญิง, นาง.


นลฺ คนฺเธ
มีกลิ่น มีกลิ่นหอม หอม. ก. นลติ. น. นลาฏ นลาต (ปุ.) หน้าผาก.  นลิน นฬิน นฬีน (นปุ.) บัว, บัวหลวง, ดอกบัว, ปทุม. นาล (ปุ.) กลิ่น.

นสฺ โกฏิลฺเล
คด โค้ง โกง งอ บิด. ก. นสติ. น. นส (ปุ.) เล็บ.

นาถฺ ปติฏฺฐิสฺสริเยสุ
เป็นที่พึ่ง เป็นใหญ่. ก. นาถติ. น. นาถ (วิ.) เป็นที่พึ่ง, เป็นใหญ่. นาถ (ปุ.) ที่พึ่ง, พระนาถะ พระนามของพระพุทธเจ้าทั้งปวง.

นาธฺ ยาจโนปตาปิสฺสริยาสึสาสุ
ขอ เร่าร้อน เป็นใหญ่ หวัง. ก. นาธติ. น. นาธน (นปุ.) การขอ ,ความเร่าร้อน, ความเป็นใหญ่ , ความหวัง.

นาสฺ นาสุ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. นาสติ. น. นตฺถุ (อิต.) จมูก.  นาสา (อิต.) จมูก, งวง.

นิ นี นเย
นำ นำไป แนะนำ. ก. นยติ เนติ. น. นย (ปุ.) ภาวะเป็นเครื่องนำไป, ภาวะอัน. ..ย่อนำไป, การนำ, การนำไป, การสั่ง, คำสั่ง, ความควร,ความสมควร, ความชอบ, ความถูกต้อง, ความสมเหตุผล, อาการ, อุบาย, เล่ห์เหลี่ยม, วิธี, ทาง ,แบบ, แบบอย่าง, นัย (ข้อความ เค้าความ ใจความ เนื้อความ). นายก (วิ.) ผู้นำ, ผู้เป็นหัวหน้า, บุคคลผู้เป็นประธาน, นายก ชื่อของบุคคลผู้เป็นหัวหน้ารัฐบาลในการปกครองระบอบประชาธิปไตย. นร (ปุ.) คน, บุคคล, ฯลฯ. วินย (ปุ.) สภาพอันนำไปวิเศษซึ่งกายและวาจา, สภาพอันนำไปวิเศษคือฝึกกายและวาจา, สภาพเครื่องฝึกกายและวาจา ให้เรียบร้อย, ภาวะฝึกกายและวาจา, ภาวะกำจัดโทษทางกายและวาจา, อุบายเป็นเครื่องแนะนำของบัณฑิต. ความนำไปวิเศษ, ข้อบังคับ, กฎ, กฎหมาย, วินัย. นิติ (อิต.) แบบ, แบบแผน, กฎหมาย.


นิ นี ปาปุณเน
ถึง บรรลุ ได้ ประสบ. นยติ เนติ. น. นายก (ปุ.) พระนายก พระนามของพระพุทธเจ้าทั้งปวง. นยน (นปุ.) การถึง, ฯลฯ, การประสบ, ตา, ดวงตา, นัยน์ ,นัยน์ตา. นิยติ (อิต.) โชคดีโชคร้าย, เคราะห์กรรม.

นิ นีปทเน
ไป ถึง ดำเนินไป. ก. นยติ เนติ. น. นยน (นปุ.) การไป, การถึง, การดำเนินไป.

นิกฺขฺ จุมฺภเน
จุม จุมพิต จูบ. ก. นิกฺขติ. น. นิกฺข (ปุ.,นปุ.) การจุบ, การจุมพิต, การจูบ.

นิชิ อพฺยตฺตสทฺเท
ออกเสียงไม่ชัด เสียงดัง. ก. นิญฺชติ น. นิญฺชน (ปุ.) เสียงไม่ชัด, เสียงดัง.

นิชิ นิญฺช นิญฺชิ สุทฺธิยํ
หมดจด สะอาด บริสุทธิ์. ก. นิญฺชติ. น. นิญฺชน (นปุ.) ความหมดจด, ฯลฯ.

นิตมิ คิลมเน
ลำบาก เหน็ดเหนื่อย. ก. นิตมฺมติ นิตฺตมฺมติ. น. นิตมฺมน (นปุ.) ความลำบาก, ฯลฯ.

นิทฺ กุจฺฉายํ
ติเตียน นินทา. ก. นินฺทติ. น. นินฺทา (อิต.) การติเตียน, การกล่าวโทษ, การยกโทษขึ้นพูด, การนินทา, คำติเตียน, คำนินทา.

นิทปิ นิทมฺปเน
เก็บ เก็บเอา แกะ แคะ เด็ด ปลิด. ก. นิทมฺปติ. น. นิทิมฺปน (นปุ.) การเก็บ, ฯลฯ.

นิวฺ ถูลิเย
อวบ อ้วน เจริญ. ก. นิวติ. น. นิวก (ปุ.) คนอวบ, ฯลฯ.

นิสฺ พทฺธเน
ข้อง ติด ผูก พัน.  ก. นิสติ. น. นิสน (นปุ.) การข้อง, ฯลฯ, ความข้อง, ฯลฯ.

นิสฺ จุมฺพเน
จุม จุมพิต. ก. นิสติ. น. นิสน (นปุ.) การจุบ, การจุมพิต.

นิสฺ ปติฏฺฐายํ
ตั้งไว้ ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ ตั้งมั่น มั่นคง แน่วแน่ (เกี่ยวกับจิต). ก. นิสติ เนสติ. น. เนสน (นปุ.) การตั้งอยู่, ฯลฯ, ความแน่วแน่.


นิสฺ เสจเน
รด ราย โปรย ฯลฯ. ก. เนสติ. น. เนสน (นปุ.) การรด, ฯลฯ.

นุ ถุติยํ
ชม ชมเชย ยกย่อง สรรเสริญ ก. นุติ โนติ. น. นว (วิ.) ใหม่, สด, หนุ่ม. นวก (วิ.) ต้น, แรก, ใหม่, สด, หนุ่ม. นวก (ปุ.) พระบวชใหม่, ภิกษุใหม่, พระนวกะ.

นุทฺ นุทนปรเณสุ
กำจัด บรรเทา บด ขยี้ ย่ำ. ก. นุทติ. น. นุทน (นปุ.) การกำจัด, การบรรเทา, การบด, ฯลฯ.

เนทฺ กุจฉายํ
ติเตียน นินทา. ก. เนทติ. น. เนทน (นปุ.) การติเตียน, การนินทา.

เนสฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. เนสติ เนสฺสนฺติ. น. เนสน (ปุ.) เนสนา (อิต.) การไป, ฯลฯ.


ป อักษร

ปกฺกฺ นิจคติยํ
ไปต่ำ เลว ทราม. ก. ปกฺกติ. น. ปกฺกน (นปุ.) ความเลว, ความทราม.

ปงฺคฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ปงฺคติ. น. ปงฺค (ปุ.) ปงฺคน (นปุ.) การไป, ฯลฯ.

ปํสฺ ปํสุ อวสํสนฺทเน นาสเน จ
ตก หล่น คลุกเคล้า เสื่อม ฉิบหาย ทำลาย ฯลฯ. ก. ปํสติ. น. ปํสุ (ปุ.) ฝุ่น, ผง , ละออง, ชุลี, ดินปุ๋ย, ดินปืน.

ปจฺ ปาเก
หุง ต้ม ปิ้ง ย่าง ทอด สุก ไหม้. ก. ปจติ. น. ปจน (นปุ.) ปจา (อิต.) ปาก (ปุ.) การหุง, ฯลฯ. วิปจริต (วิ.) ทำให้สุก, ปรุง, ปรุงแต่ง, อธิบาย. วิปาก (ปุ.) ผล, วิบาก (เผล็ดผลของกรรม).

ปจฺ พฺยนฺติกรเณ
ทำให้สิ้นสุด จบ เสร็จ. ก. ปจติ. น. ปจน (นปุ.) การทำให้สิ้นสุด, ฯลฯ.

ปญฺห ปุจฺฉิจฺฉาสุ
ถาม มุ่งหวัง ต้องการ ฯลฯ. ก. ปญฺหติ. น. ปญฺห ปญฺห (ไตรลิงค์) อันถาม, การถาม, คำถาม เนื้อความอันบุคคลพึงถาม, อรรถอันบุคคลอยากจะรู้.


ปฏฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ปฏติ. น. ปฏ (ปุ.,นปุ.) ผ้า, ผืนผ้า, แผ่น, แผ่นผ้า. ปาฏลิ ปาฏลี (อิต.) แคฝอย. ปาฏิกา (อิต.) อัฒจันทร์ศิลา คือศิลาครึ่งซีกที่เชิงบันได, ฝัก.  สปฏฺฏ (ปุ.) ประเทศเป็นที่ข้าม. สุปฏฺฏน (นปุ.) ท่าเป็นที่ข้าม. ปฏห (ปุ.) กลอง, กลองสงคราม.

ปฏฺ วิภาชเน
แบ่ง แยก แจก.  ก. ปฏติ. ปาฏล ปาฏลี (ปุ.) แดงจาง, ชมพู, สีแดงเรื่อ ๆ , สีบัวโรย.

ปฐฺ อาขฺยาเณ
กล่าว พูด อธิบาย แสดง ชี้แจง เทศนา. ก. ปฐติ. ปาฐ (ปุ.) อรรถอันบัณฑิตกล่าว, การอ่าน, การกล่าว, การอธิบาย, การชี้แจง, เรื่องราว, บาลี. ปาฐก (ปุ.) คนผู้กล่าว, ฯลฯ.

ปฑิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ปณฺฑติ. น. ปณฺฑุ (วิ.) ขาว, เผือก, เหลือง, เหลืองอ่อน, เหลืองแก่, แดง, แดงอ่อน, ซีด, แดงซีด.

ปณฺ สงฺขาเต
ปรุง ปรุงแต่ง. ก. ปณติ. น. ปณก (ปุ.) จอก, แหน.

ปณฺ พฺยวหาเร
แลกเปลี่ยน ค้าขาย ซื้อขาย. ก. ปณติ. น. ปณิย (ไตรลิงค์) การขายของ.

ปณฺ ถุติยํ
ชม ชมเชย ยกย่อง สรรเสริญ. ก. ปณติ. น. ปณ (ปุ.) ราคา, ค่าเช่า, ค่าจ้าง, บำเหน็จ, ทรัพย์อันเป็นต้นทุน, การค้าขาย, ของตั้งพนัน, เงินเดิมพัน, เครื่องอุปโภค, เรือน, ทรัพย์, มือ, ฝ่ามือ.

ปตฺ คมเน
ไป ฯลฯ. ก. ปตติ. น. ปกฺข (ปุ.) มือ, ปีก, ปีกนก, หางธนู, ฝ่าย, ฝักฝ่าย, พวก, ข้าง, พล, กองพล, ปักษ์. ๑๔ วันหรือ ๑๕ วัน ทางจันจารคติ เป็น ๑ ปักษ์. ปาต (ปุ.) การไป, การก้าวไป, การถึง, ความเป็นไป, น้ำ.

ปตฺ อโธคติปตเนสุ
ไปในเบื้องต่ำ ตก หล่น ล้ม. ก. ปตติ. น. ปาต (ปุ.) ปาตน (นปุ.) การตก, การตกไป, ฯลฯ. ปาตาล (นปุ.) พื้นใต้ดิน, โลกของนาค, นาคพิภพ, ไฟใต้ทะเล, ไฟใต้น้ำ, พื้นต่ำที่สุด, นรก, บาดาล. วินิปาต (ปุ.) ภพที่สัตว์ต้องโทษ, ภพที่สัตว์รับทุกข์, สถานที่ตกต่ำ, การทำลาย, การฆ่า. สมฺปาต (ปุ.) ฝนตกหนัก, ห่าฝน.


ปถฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ปถติ. น. ปถ (ปุ.) ทาง, หน, หนทาง, คลอง, แถว, แนว, รอย, ถิ่น.  ปถน (นปุ.) การไป, การถึง, การบรรลุ, การดำเนินไป, การเป็นไป, ความเป็นไป.

ปถฺ วิตฺถาเร
แผ่ ขยาย กว้างขวาง แพร่หลาย พิสดาร ขึง ดาด. ก. ปถติ น. ปถน (นปุ.) การแผ่, ฯลฯ.

ปนฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. ปนติ. น. ปนน (นปุ.) คำ, คำพูด, ถ้อยคำ, คำกล่าว.

ปปฺปฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ปปฺปติ. น. ปปฺปน (นปุ.) การไป, ฯลฯ.

ปพฺพฺ ปูรเณ
เต็ม ให้เต็ม ครบ ถ้วน ครบถ้วน บริบูรณ์. ก. ปพฺพติ. น. ปพฺพ (นปุ.) ข้อ, หัวข้อ, ข้อไม้, ปล้อง, ภาค, ส่วน, หมู่, ตอน, เล่ม, ปม.

ปยฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ปยติ. น. ปยน (นปุ.) การไป, การเดิน, การดำเนิน, การถึง, ฯลฯ.

ปยฺ เป วุฑฺฒิยํ
เจริญ ฯลฯ ก. ปยติ. น. ปยน (นปุ.) ความเจริญ, ความงอกงาม, ความรุ่งเรือง, ฯลฯ.

ปรฺ ปาลเน
ปกครอง เลี้ยง รักษา ดูแล. ก. ปรติ. น. ปรน (นปุ.) การปกครอง, ฯลฯ.

ปรฺ ปูรเณ
เต็ม ให้เต็ม ฯลฯ. ก. ปรติ. น. ปรณ (นปุ.) ความเต็ม, ฯลฯ.

ปลฺ คติยํ
ไป แล่นไป วิ่งไป. ก. ปลติ. น. ปลว (ปุ.) นกเค้า, นกกระทุง, ราชสีห์, การแล่นไป, การวิ่งไป. ปลว (ปุ.) ปลวา (อิต.) เรือ, แพ. ปลาล (นปุ.) ฟาง, ใบไม้. ปิลก ปิลฺลก (ปุ.) ลูก, ลูกน้อย.

ปลุ ปลวฺ ปลเว
ไป ลอยไป แล่นไป วิ่งไป. ก. ปลวติ. น. ปลว (ปุ.) ปลวา (อิต.) เรือ,แพ.


ปลณฺฑฺ คนฺธเน
ฟุ้งไป ลอยไป ตลบไป. ก. ปลณฺฑติ. น. ปลณฺฑุ (ปุ.) หอมแดง, หัวหอม.

ปลฺลฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ปลฺลติ. น. ปลฺล (ปุ.) กระจาดใหญ่, พ้อมใส่ข้าว, หมู่บ้าน, อำเภอ, เมือง, เครือเขา, สุนัขจิ้งจอก.

ปลฺลฺ นินฺเน
ลุ่ม ต่ำ. ก. ปลฺลติ. ปลฺล (นปุ.) ที่ลุ่ม, ที่ต่ำ.

ปสฺ ผุสเน
กระทบ ถูก ถูกต้อง. ก. ปสติ. น. ปาสก (ปุ.) ลูกเต๋า, ลูกสกา, ลูกบาสก์.

ปสฺ พนฺธเน
ผูก พัน ฯลฯ. ก. ปสติ. ปาสก (ปุ.) ลูกเต๋า, ฯลฯ, ลูกบาสก์, คะแนน, ห่วง, ห่วงดุม, รังดุม. ปสท (ปุ.) ฟาน, เนื้อฟาน.  พจนาฯ ว่า ฟาน คือ อีเก้ง. ปสิม (ปุ.) สาหร่าย. ปสุ (ปุ.) สัตว์ของเลี้ยง.

ปสฺ ทสฺสเน
ดู เห็น ฯลฯ. ก. ปสติ. น. ปสน (นปุ.) การดู, การมองดู, ฯลฯ.

ปสฺ วิตฺถาเร
แผ่ ขยาย กว้างขวางฯลฯ. ก. ปสติ. น. ปสูร (วิ.) แผ่, ฯลฯ, พิสดาร.

ปสณฺ สมฺภตฺติยํ
คบ คบกัน.  ก. ปสณฺติ. น. ปสณ (ปุ., นปุ.) การคบ, ฯลฯ, การสมาคม.

ปา ปูรเณ
เต็ม ให้เต็ม บูรณ์. ก. ปาติ. น. วิปฺป (ปุ.) พราหมณ์ (ผู้ให้เวทย์เต็ม).

ปา ปาเน
ดื่ม กิน.  ก. ปาต ปิพติ ปิวติ. น. ปาน (นปุ.) น้ำ, น้ำอัน. ..พึงดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม, เครื่องดื่ม, การดื่ม, การกิน.  ป ปก (นปุ.) น้ำ. ปาย (วิ.) ดื่ม, กิน.  มณฺฑป (ปุ., นปุ.) โรงดื่มซึ่งรัศมีคือแสงแห่งพระอาทิตย์. มาตุ (อิต.) หญิงผู้ดูดดื่มคือซาบซึ้งในลูก, แม่, มารดา

ปา รกฺขเน
เลี้ยง คุ้มครอง ป้องกัน ระวัง ดูแล รักษา. ก. ปาติ. น. ปาฏิ ปาฏี (อิต.) อ่าง, ขวด, ภาชนะ. ปาติ ปาตี (อิต.) บาตร, ถาด, ภาชนะ. ปาน (นปุ.) การเลี้ยง, ฯลฯ. ปาส (ปุ.) มวยผม. มณฺฑป (ปุ., นปุ.) โรงอันรักษาไว้ซึ่งรัศมีคือแสงแห่งพระอาทิตย์. มาตุ (อิต.) หญิงผู้คุ้มครองลูกไว้ด้วยชีวิต, แม่, มารดา.


ปา โสสเน
ผาก แห้ง เหี่ยว แห้งเหี่ยว เหี่ยวแห้ง. ก. ปาติ. น. ปานน (นปุ.) ความผาก, ฯลฯ.

ปายิ วุฑฺฒิยํ
เจริญ รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. ปายติ. น. ปาย (ปุ.) ความเจริญ, ความรุ่งเรือง, ความงอกงาม, ฯลฯ.

ปารฺ ปูรเณ
เต็ม ให้เต็ม บูรณ์. ก. ปารติ. น. ปารณ (นปุ.) ความเต็ม, ฯลฯ.

ปิฏฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. เปฏติ. น. เปฏน (นปุ.) การกล่าว, การพูด, คำกล่าว, ฯลฯ.

ปิฏฺ สงฺฆาเต
ติดต่อ ติดต่อกัน รวบรวม รวมกัน คละกัน ฯลฯ. ก. เปฏติ. น. ปิฏก (ปุ.) กระบุง, กระเชอ, กระเช้า, กระจาด, ตะกร้า,ภาชนะ, หมวด (แห่งคำสอนนพระพุทธศาสนา), ตำรา. ปิฏฺฐิ (วิ.) ยาว, ดาด, ปิดเบื้องบน, ลาด, ลาดพื้น.

ปิฐฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. เปฐติ. น. ปิฏฺฐิ (อิต. นปุ.) กระเดื่อง ชื่อเครื่องตำข้าวชนิดหนึ่ง.

ปิฐฺ สํกิเลเส
เปรอะเปื้อน เศร้าหมอง. ก. เปฐติ. น. ปิฐร (ปุ.) หม้อ, กระถาง, บาตร, ตะกร้า, กระทะ.

ปิฑิ ปิณฺฑฺ สงฺฆาเต
ติดต่อ ติดต่อกัน รวบรวม ฯลฯ. ก. ปิณฺฑติ. น. ปิณฺฑ (ปุ.) เครื่องเลี้ยงชีพ, ของเลี้ยงชีพ, สิ่งของเลี้ยงชีพ, อาหาร, ก้อน, ก้อนข้าว, คำข้าว, ดิน, ก้อนดิน, ลูกกลม ๆ , มัด, ฟ่อน, ร่างกาย, กลุ่ม, ฝูง, หมวด, หมู่, พวก, ประชุม, กอง, คณะ. ปิณฺฑน (นปุ.) อันประมวล, การประมวล, ของสำหรับเลี้ยงชีวิต, ก้อนข้าว, การเลี้ยงชีวิต. สมฺปีณฺฑน (นปุ.) การรวบรวม, การประมวล, ความประมวล.


ปิลฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ปิลติ. น. ปิลน (นปุ.) การไป, การเดิน, การเดินไป, การดำเนิน, ฯลฯ.

ปิลฺ คหเน
จับ ถือ ฯลฯ. ก. ปิลติ. น. ปิลน (นปุ.) การจับ, การถือ, ฯลฯ.

ปิลฺ วตฺตเน
เป็นไป เป็นอยู่ ประพฤติ. ก. ปิลติ. น. ปิลน (นปุ.) ความเป็นไป, ความเป็นอยู่, ฯลฯ, เปลว (วิ.) ละมุนละอ่อม, ละเอียด.

ปิลธิ ปิลนฺธฺ อลงฺกาเร
ประดับ ตกแต่ง ฯลฯ. ก. ปิลนฺธติ. น. ปิลนฺทน ปิลนฺธน (นปุ.) การประดับ, ฯลฯ, วัตถุเป็นเครื่องประดับ, ฯลฯ, เครื่องอาภรณ์.

ปิลหิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ปิลหติ. น. ปิลหน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความเป็นไป.

ปิวฺ ถูลิเย
อวบ อ้วน ใหญ่. ก. ปิวติ. น. ปิวร (วิ.) อวบ, ฯลฯ. (ปุ.) เต่า.

ปิสฺ ปิสิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ปิสติ เปเสติ. น. เปสน (นปุ.) การไป, การเดิน, การเดินไป, ฯลฯ.

ปิสฺ ปิสิ เปสเน
ส่งไป ใช้ไป. ก. ปิสติ เปสติ. น. เปส (ปุ.) เปสน (นปุ.) การส่งไป, การใช้ไป, ฯลฯ, การพุ่ง, การพุ่งไป. เปสการ (ปุ.) คนผู้ทำการพุ่ง, ช่างทอ, ช่างหูก, ช่างทอหูก.

ปิสฺ จุณฺณเน
ละเอียด ป่น.  ก. ปิสติ เปสติ. น. ปิฏฺฐ (นปุ.) ปิฏฐก (ปุ.) แป้ง. ปิส (ปุ.) ปิสน (นปุ.) การบด, การทำให้ละเอียด, ของที่บด, แป้ง. เปรณ (นปุ.) การบด, การขยี้, ฯลฯ.

ปิสิ ปิสุ อวยเว
เป็นชิ้น เป็นส่วน เป็นตอน.  ก. ปิสติ. เปสติ. น. ปิสุณ (ปุ.) คนส่อเสียด.

ปิสฺ พลทาเน
ให้กำลัง เพิ่มกำลัง. ก. ปิสติ เปสติ. น. เปสล (วิ.) มีฝีมือ, เก่ง, ฉลาด, เชี่ยวชาญ, ชำนาญ, หมั่น, ขยัน.

ปิสุ อุปทาเห
เผา ไหม้ ฯลฯ. ก. เปสติ. น. เปสน (นปุ.) การเผา, ฯลฯ, ความร้อน,ไฟ ฯลฯ.


ปิสุ สํจุณฺณเน
ยุแยง ยุแหย่ ส่อเสียด เสียดแทง. ก. ปิสติ. น. ปิสุณ (ปุ.) คนยุแยง, คนยุแหย่, คนส่อเสียด.

ปีฐฺ วิพาธายํ
กำจัด ขจัด เบียดเบียน.  ก. ปีฐติ. น. ปีฐ (นปุ.) ตั่ง, โต๊ะ, เก้าอี้, ที่นั่ง, ม้า, ม้านั่ง, เขียงเท้า (กำจัดความทุกข์ให้).

ปีฐฺ ธารเณ
ทรง ทรงไว้ ฯลฯ. ก. ปีฐติ. น. ปีฐ (นปุ.) ตั่ง, โต๊ะ, ฯลฯ.

ปีฐฺ กิเลสเน
เปรอะเปื้อน เศร้าหมอง. ก. ปีฐติ. ปีฐ (นปุ.) ตั่งโต๊ะ, ฯลฯ.

ปีณฺ ปูรเณ
เต็ม เปี่ยม บูรณ์. ก. ปีณติ. น. ปีณน ปีนน (วิ.) เต็ม, ฯลฯ.

ปุ โอนิเต
เอียง เอียงไป น้อม น้อมไป โน้ม โน้มไป. ก. ปวติ. น. โปณ (วิ.) เอียง, ฯลฯ, โน้มไป, ลาด,ลุ่ม, ลึก, เงื้อม, หวั่นไหว, หลบหลีก.

ปุ ปาลเน
เลี้ยง ปกครอง ดูแล พิทักษ์ รักษา พิทักษ์รักษา. ก. ปวติ. น. ปวน (นปุ.) การเลี้ยง, ฯลฯ.

ปุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ปวติ. น. ปาวา (อิต.) ปาวา ชื่อเมืองของอินเดียโบราณ อยู่ในแคว้นมัลละ ปุต (ปุ.) หมู่, ชุมนุม, ไม้หมาก.  โปต (ปุ.) เรือ, สัดจอง, เรือเล็กของกำปั่น,ลูก, ลูกน้อย.

ปุ ปวเน
ฝัด ชำระ ล้าง สะอาด หมดจด บริสุทธิ์. ก. ปวติ. น. ปาวก (ปุ.) ไฟ,ไฟผู้ชำระ, ไฟผู้เผาผลาญ, ไฟป่า. ปาวน (นปุ.) อันฝัด, อันชำระ, อันล้าง, การฝัด, ฯลฯ, ความสะอาด, ฯลฯ, ปุ (ปุ.) กาย, ร่างกาย, กรีษ, กรีส, ขี้ ,คูถ, อุจจาระ (ควรชำระ). ปุตฺต ปุตฺร (ปุ.) ลูก, ลูกชาย, บุตร (ทำสกุลให้บริสุทธิ์). ปุม (ปุ.) ชาย, คน,คนผู้ชาย, บุรุษ. ปูติ (อิต.) ความชำระ, ฯลฯ.

ปุขฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ปุขติ เปขติ. น. เปขุณ (นปุ.) ปีก, ปีกนก.

ปุจฺฉฺ ปุจฺฉเน
ถาม (พูดเพื่อรับคำตอบ). ก. ปุจฺฉติ. น. ปุจฺฉก (ปุ.) คนผู้ถาม, อาจารย์ผู้ถาม. ปุจฺฉน (นปุ.) ปุจฺฉา (อิต.) อันถาม, การถาม, คำถาม.


ปุจฺฉฺ ปมาเณ
นับ คำนวณ. ก. ปุจฺฉติ. น. ปุจฺฉ (ปุ.,นปุ.) หาง, หางช้าง, หางม้า.

ปุญฺฉฺ ปุญฺฉเน
เช็ด ถู ฯลฯ. ก. ปุญฺฉติ. น. ปุญฺฉน (นปุ.) การเช็ด, การถู, การทำให้สะอาด, การลบ, ผ้าสำหรับเช็ด, ฯลฯ.

ปุฏฺ วิเภทเน
เจาะวิเศษ ฉลาด แจ่มแจ้ง เฉียบแหลม. กุ ปุฏติ. น. ปุฏ (วิ.) ฉลาด, แจ่มแจ้ง, ฯลฯ.

ปุฏฺ สงฺกิเลเส
เปรอะเปื้อน เศร้าหมอง สกปรก.  ก. ปุฏติ. น. โปฏ (ปุ.) ฝี, ต่อม, พุพอง. สมฺปุฏ (ปุ.) หีบ, ผอบ, ตลับ, ตะกร้า, กล่อง, กล่องข้าว, ลุ้ง, สมุก.

ปุฏฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ปุฏฺติ. โปฏ (ปุ.) ฝี, ต่อม, พุพอง.

ปุฑิ ปุณฺฑฺ ปุณฺฑเน
ขาว สะอาด ประดับ สวยงาม. ก. ปุณฺฑติ. น. ปุณฺฑน (นปุ.) ความขาว, ฯลฯ.

ปุฑิ ปุณฺฑฺ ขณฺฑเน
ตัด แบ่ง ปัน เป็นชิ้น เป็นท่อน เป็นก้อน เป็นส่วน เป็นตอน.  ก. ปุณฺฑติ. น. ปุณฺฑรีก (ปุ.) มะม่วงอย่างเล็กมีรสหวาน, มะม่วงป่า, สวายสอ ชื่อมะม่วงชนิดหนึ่ง.

ปุณฺ นิปุเณ
ชำระ ล้าง ละเอียด สุขุม. ก. ปุณติ. น. ปุณ (วิ.) ละเอียด, ละเอียดอ่อน, นิ่มนวล, นุ่มนวล, ซึ้ง, ประณีต, สุขุม.

ปุณฺ สุภกริเย
งาม งอกงาม เจริญ. ก. ปุณติ. น. ปุณ (วิ.) งาม, ฯลฯ. ปุณน (นปุ.) ความงาม, ฯลฯ.

ปุถฺ หึสาเกลเสสุ
กำจัด ฯลฯ เศร้าหมอง ฯลฯ. ก. ปุถติ. น. ปุถภาว (ปุ.) ความกำจัด, ฯลฯ.

ปุถฺ วิตฺถาเร
แผ่ ขยาย กว้างขวาง ฯลฯ. ก. โปถติ. น. ปุถ ปุถุ (วิ.) หนา, ใหญ่ ,อ้วน, พี, มาก, กว้าง, กว้างขวาง, แพร่หลาย, ดัง, หนัก.  ปุถวี (ปุ.) ดิน, แผ่นดิน.

ปุถิ หึสาเกลเสสุ
กำจัด ฯลฯ เศร้าหมอง ฯลฯ. ก. ปุนฺถติ ปุนฺเถติ. น. ปุนฺถน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

ปุปฺผฺ วิกสเน
ขยายออก คลี่ คลี่ออก งอก งอกออก ผลิต ผลิตออก เผล็ดออก เผยออก บาน.  ก. ปุปฺผติ. น. ปุปฺผ (นปุ.) ดอก ส่วนหนึ่งของพรรณไม้ที่ผลิออกจากต้นหรือกิ่ง, ดอกไม้, บุปผา, บุษบา, บุษบัน, ผกา, บุหงัน, บุหงา, ระดู, ระดูของหญิง


ปุพฺพฺ ปูรเณ
เต็ม เปี่ยม บูรณ์. ก. ปุพฺพติ. น. ปุพฺพ (วิ.) ก่อน, แรก, ต้น, เบื้องต้น, สุด, หลัง, เสร็จ, อดีต, ล่วงหน้า, เคย, ได้, เดิมที . (ปุ.) ต้น เช่น ต้นขา, ข้อความ, เนื้อความ, ข้างต้น,เบื้องต้น, ข้างหน้า, เบื้องหน้า, ทิศตะวันออก, ทิศบูรพา, หนิง (เลือดเสียสีขาวข้น), น้ำหนอง, น้ำเหลือง, กาลก่อน, ศัพท์หน้า, บทหน้า.

ปุมฺ ธมเน
เป่า ก่อ ก่อไฟ. ก. ปุมติ. น. ปุมน (นปุ.) การเป่า, ฯลฯ.

ปุรฺ อคฺคคมเน
ไปข้างหน้า เป็นประธาน เป็นหัวหน้า. ก. ปุรติ. น. ปุร (วิ.) สูง, หน้า, ข้าง, ข้างหน้า, เบื้องหน้า, เป็นประธาน,เป็นหัวหน้า. ปุร (นปุ.) วัง, เมือง, เมืองหลวง, นคร, พระนคร. ปุริม (วิ.) เกิดแล้วในก่อน, มีในก่อน, มีในเบื้องหน้า.

ปุรฺ ปาลเน
ปกครอง เลี้ยง รักษา ดูแล. ก. ปุรติ น. ปุร (นปุ.) เรือน, ป้อม, หอ, วัง, เมือง, เมืองหลวง, นคร, พระนคร.

ปุรฺ ปูรเณ
เต็ม ให้เต็ม เปี่ยม บูรณ์. ก. ปุรติ. น. ปุริส (ปุ.) ชาย, ผู้ชาย (ชาย), บุรุษ (ยังหทัยของมารดาและบิดาให้เต็ม), คน, อาตมะ, อาตมัน, มานพ. โปส (ปุ.) สัตว์, มนุษย์, บุคคล, บุทคล, คน, ฯลฯ.

ปุลฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ปุลติ. น. ปุลว ปุฬว (ปุ.) หนอน, แมลง.

ปุลฺ สงฺฆาฏเน
รวมกัน ติดต่อ ติดต่อกัน ฯลฯ. ก. ปุลติ. น. ปุลิน ปุฬิน (นปุ.) ทราย, เนินทราย, หาดทราย.

ปุลฺ มหตฺเต
ใหญ่ โต เจริญ เจริญขึ้น.  ก. ปุลติ. น. ปุล (วิ.) ใหญ่,ฯลฯ. ปุลิน ปุลิน (นปุ.) ทราย, เนินทราย, หาดทราย. ปุลฺล (วิ.) พอง, ป่อง. วิปุล (วิ.) เต็ม, เปี่ยม, เต็มเปี่ยม, เต็มที่, เต็มพร้อม, มาก, มากมาย, ใหญ่, ใหญ่ยิ่ง, ใหญ่โต ,กว้างขวาง, ไพบูล.


ปุลุสุ อุปทาเห
เผา ไหม้ เร่าร้อน ฯลฯ. ก. ปุลุสติ ปุโลสติ. น. ปุลสก (ปุ.) ก้อนเส้า.

ปุสฺ ปุสุ อุปทาเห
เผา ไหม้ เร่าร้อน ฯลฯ. โปสติ. น. ปุจ (ปุ.,นปุ.) โรคเรื้อน.  แปลง ส เป็น จ.

ปุสฺ อดิมทฺทเน
ข่ม ข่มขี่ กดขี่ ข่มเหง ย่ำยี เหยียบย่ำ. ก. ปุสติ. น. ปุสน (นปุ.) การข่ม, ฯลฯ.

ปุสฺ โปสเน
เลี้ยง เลี้ยงดู ปรนปรือ ปรนเปรอ. ก. โปสติ. น. โปส (ปุ.) สัตว์, มนุษย์, บุคคล, บุทคล, คน, บุรุษ, ชาย, ผู้ชาย. ปุจฺฉ (ปุ.,นปุ.) หาง, หางช้าง,หางม้า.

ปุสฺ ปสเว
ไหล ไหลออก ไหลไป. ก. ปุสติ. น. ปุสน (นปุ.) การไหล, การไหลออก, การไหลไป.

ปุสฺ วุทฺธิยํ
เจริญ งาม งอกงาม ทวีขึ้น เพิ่มขึ้น รุ่งเรือง. ก. ปุสติ. น. ปุสฺส (วิ.) ขาว, สะอาด, เจริญ, ฯลฯ. โปสน (นปุ.) ความเจริญ, ฯลฯ.

ปุฬฺ สุเข
เป็นสุข สบาย สุขสบาย สำราญ. ก. ปุฬติ. น. ปุฬน (นปุ.) ความสุข, ฯลฯ.

ปุฬฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ปุฬติ. น. ปุฬูว ปุฬูวก (ปุ.) หนอน, แมลง.

ปุฬฺ สิงฆาฏเน
รวมกัน ติดต่อ ติดต่อกัน ฯลฯ. ปุฬติ. น. ปุฬน (นปุ.) การรวม, การรวมกัน, ฯลฯ.

ปู ปูรเณ
เต็ม ให้เต็ม บูรณ์ เปี่ยม. ก. ปูติ. น. ปาตุ (วิ.) เกิด, ปรากฏ, แจ้ง, ชัด, เป็นชัด. ปาตุ (นปุ.) ความเต็ม, ความเกิด, ฯลฯ, ความแจ้งชัด, ความเป็นชัด.

ปูยิ ปูยี วิสรเณ
แผ่ กระจายออก ขยายออก แผ่ไป ซ่านไป กระจายไป. ก. ปูยติ. น. ปูย (ปุ.) ปูยน (นปุ.) หนอง, น้ำหนอง, น้ำเหลือง. ปียุ (ปุ.) พระอาทิตย์, ไฟ, เวลา.

ปูยิ ปูยี ทุคฺคนฺเธ
เน่า, เหม็น ฯลฯ. ก. ปูยติ. น. ปูย (ปุ.) ปูยน (นปุ.) หนอง, ฯลฯ. ปูติ ปูติก (วิ.) บูด, เน่า, เปื่อย , เปื่อยเน่า, เหม็น.


ปูรฺ ปูรเณ
เต็ม ให้เต็ม เปี่ยม ปรากฏ แจ้งชัด. ก. ปูรติ. น. ปุตฺต ปุตร (ปุ.) โอรส, ลูก, บุตร (ผู้ยังหทัยของพ่อแม่ให้เต็ม). ปุรณ (วิ.) เต็ม, เปี่ยม, เป็นที่เต็ม, ซ่อมแซม, บูรณะ. ปุริส (ปุ.) ชาย, ผู้ชาย, บุรุษ, คน, อาตมะ, อาตมัน, มานพ. (ผู้ยังหทัยของพ่อแม่ให้เต็ม).

เป คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. เปติ. น. ปาย (ปุ.) การไป, การถึง, การบรรลุ, การเป็นไป, ฯลฯ เอา เอ เป็น อาย.

เป วุทธิยํ
เจริญ ฯลฯ. ก. เปติ. น. ปาย (ปุ.) ความเจริญ, ความงาม, ความงอกงาม, ความทวีขึ้น, ความเพิ่มขึ้น, ความรุ่งเรือง.

เป โสสเน
เหี่ยว แห้ง ผาก แห้งสนิท. ก. ปายติ. น. ปายน (นปุ.) ปายนา (อิต.) ความเหี่ยว, ฯลฯ.

เปลฺ เปลิ เปลุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. เปลติ. น. เปลก (ปุ.) กระต่าย.

เปสฺ เปสุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. เปสติ. น. เปส (ปุ.) เปสน (นปุ.) การไป, ฯลฯ.

เปฬฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. เปฬติ. น. เปฬา (อิต.) กระโปรง, ลุ้ง, หีบ, ช้อง, ตะกร้า, เขียง.

โปถฺ ปริยาปเน
บด ขยี้ ทุบ. ก. โปถติ. น. โปถน (นปุ.) การบด, การขยี้, การทุบ.

โปถฺ ปหรเณ
เฆี่ยน, ตี, โบย. ก. โปถติ. น. โปถน (นปุ.) การเฆี่ยน, การตี, การโบย, การซ้อม, การทุบ.

โปสฺ โปสเน
เลี้ยง เลี้ยงดู ปรนปรือ. ก. โปสติ. น. โปสน (นปุ.) การเลี้ยง, การเลี้ยงดู, การปรนปรือ.


ผ อักษร

ผณฺ วิสรเณ
แผ่ ขยาย กว้าง แผ่ไป ซ่าน ซ่านไป. ก. ผณติ. น. ผณ (นปุ.) แง่ง, แผ่น, แม่เบี้ย, พังพาน.  ผณก (นปุ.) หวี.

ผทิ ผนฺทฺ กิญฺจิจลเน
ไหว สั่น สะเทือน เคลื่อน เคลื่อนไหว โยกโคลง เขม่น เต้นตุบ ๆ. ก. ผนฺทติ. น. ผนฺทน (นปุ.) ความไหว, ฯลฯ.


ผร วิสรเณ
แผ่ ขยาย ฯลฯ. ก. ผรติ. น. ผรณ (นปุ.) ผรณา (อิต.) การแผ่, การแผ่ไป, ฯลฯ, ความแผ่, ความแผ่ไป, ฯลฯ.

ผลฺ วิสรเณ
แผ่ ขยาย ฯลฯ. ก. ผลติ. น. ผลก (นปุ.) โล่, กระดาน, แผ่น, แผ่นกระดาน.

ผลฺ วิทารเณ
ฉีก ผ่า ตัด ทอน แบ่ง แยก แตก ทำลาย. ก. ผลติ. น. ผาลน (นปุ.) การฉีก, ฯลฯ.

ผลฺ นิปฺผตฺติยํ
งอก งอกออก ผลิ ผลิออก เผล็ด เผล็ดผล สำเร็จ. ก. ผลติ. น. ผล (นปุ.ป สิ่งอันเหตุทำแล้ว (เหตุกต), ผล, ผลไม้, ปลีกล้วย, ขุย, ขุยไผ่, ฝัก, เมล็ดธัญชาต, ผลสุก,ประโยชน์, ประโยชน์ที่ได้, กำไร, ดอกเบี้ย, ความเจริญ, ความงอกงาม.

ผสฺสฺ สินิเยห
รัก รักใคร่ ชอบใจ พอใจ เยื่อใย อาลัย อิ่มใจ ยินดี สำราญ สบาย เป็นสุข. ก. ผสฺสติ. น. ผาสุ (ปุ.) ผาสุ (นปุ.) ผาสุก (ปุ.) ความอิ่มใจ, ความพอใจ, ความยินดี, ความสำราญ, ความสุข, ความสบาย.

ผฬฺ วิทารเณ
ฉีก ผ่า ตัด ทอน ฯลฯ. ก. ผฬติ. น. ผาฬน (นปุ.) การฉีก, การผ่า, ฯลฯ.

ผา เฉทเน
ตัด ผ่า ฉีก แหก บั่น ทอน เฉือน เชือด ทำลาย. ก. ผาติ. น. สมฺผ (นปุ.) คำอันตัดซึ่งประโยชน์, ฯลฯ, คำอันทำลายซึ่งประโยชน์, คำอันยังประโยชน์ให้พินาศ, คำอันยังประโยชน์สุขให้พินาศ.

ผา ทิตฺติยํ
เจริญ ฯลฯ. ก. ผาติ. น. ผาติ (อิต.) ความเจริญ , ความเจริญขึ้น, ความเพิ่ม, ความเพิ่มขึ้น, ฯลฯ.

ผาณฺ ผรเณ
แผ่ ขยาย ฯลฯ. ก. ผาณติ. น. ผาณิต (นปุ.) น้ำอ้อย, น้ำอ้อยงบ, น้ำตาล.

ผายฺ ผายิ วุทฺธิยํ
เจริญ ฯลฯ. ก. ผายติ. น. ผาติ (อิต.) ความเจริญ, ฯลฯ. โสผ (ปุ.) ความบวม.

ผารฺ โสเผ
นูน บวม. ก. ผารติ. น. ผารณ (นปุ.) ความนูน, ความบวม.


ผาลฺ วิเลขเน
ขีด ผ่า แหวะ. ก. ผาลติ. น. ผาล (ปุ.) ผาล ชื่อเหล็กสำหรับหัวหมูเป็นเครื่องไถ.

ผุฉฺ วิสรเณ
แผ่ ขยาย กว้าง แผ่ไป ซ่านไป. ก. ผุฉติ. ผุฉ ผุฉน (นปุ.) การแผ่, ฯลฯ, ความแผ่ ฯลฯ.

ผุฏ วิกสเน
แย้ม บาน เผยออก คลี่ออก ขยายออก เปิดออก ปรากฏ. ก. ผุฏติ. น. ผุฏ ผุฏน (นปุ.) อันแย้ม, อันบาน, อันเปิดออก, อันปรากฏ, การแย้ม, ฯลฯ, ความแย้ม, ฯลฯ.

ผุฏฺ วิเภเท
แตก ทำลาย สลาย. ก. ผุฏติ. น. ผุฏ ผุฏน (นปุ.) อันแตก, ฯลฯ, การแตก, ฯลฯ.

ผุณฺ วิกิรเณ
เกลื่อนกล่น เกลื่อนกลาด เรี่ยราย กระจาย กระจัดกระจาย ดาษดา. ก. ผุณติ. น. ผุณ ผุณน (นปุ.) การเกลื่อนกล่น, ฯลฯ, ความเกลื่อนกล่น, ฯลฯ.

ผุณฺ วิธุนเน
กำจัด ขจัด ทำลาย. ก. ผุณติ. น. ผุณน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ.

ผุรฺ จลเน
ไหว เคลื่อน เคลื่อนไหว สั่น รัว กระดิก โยก โคลง โยกโคลง กลับกลอก.  ก. ผุรติ. น. ผุรณ (นปุ.) การไหว,ฯลฯ, ความไหว, ฯลฯ.

ผุรฺ ทิตฺติยํ
เจริญ งอกงาม รุ่งเรือง. ก. ผุรติ. น. ผุรณ (นปุ.) การเจริญ, ฯลฯ, ความเจริญ, ฯลฯ.

ผุลฺ สนฺนิจเย
รวบรวม สะสม สั่งสม. ก. ผุลติ. น. ผุล ผุลน (นปุ.) การรวบรวม, ฯลฯ, ความรวบรวม.

ผุล ผรเณ
แผ่ แผ่ไป ขยาย ขยายไป ซ่าน ซ่านไป ซาบซ่าน.  ก. ผุลติ. ผุล ผุลน (นปุ.) การแผ่, ฯลฯ, ความแผ่, ฯลฯ.

ผุลฺลฺ วิกสเน
แย้ม บาน เผยออก คลี่ออก ขยายออก เปิดออก ปรากฏ. ก. ผุลฺลติ. น. ผุลฺล (ไตรลิงค์) การแย้ม, ฯลฯ, ความแย้ม, ฯลฯ.

ผุลฺลฺ เภทเน
ต่อย แตก หัก พัง ทำลาย สลาย. ก. ผุลฺลติ. น. ผุลฺล (ไตรลิงค์) การต่อย, ฯลฯ, ฯลฯ.

ผุสฺ สมฺผสฺเส
กระทบ กระทบกัน ต้อง (ถูก) ถูก (โดน) ถูกต้อง (กระทบกัน) โดน สัมผัส. ก. ผุสติ. น. ผุสน (นปุ.) ผุสนา (อิต.) การกระทบ, ฯลฯ, ความกระทบ, ฯลฯ ผสฺส (ปุ.) ผสฺสน (นปุ.) การกระทบ, ฯลฯ. โผฏฺฐพฺพ (นปุ.) อารมณ์อันบุคคลพึงถูกต้อง, อารมณ์ที่มาถูกต้องกาย, สิ่งที่มาถูกต้องกาย. สิ่ง ท.เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ละเอียด หยาบ ทั้งสิ้น ซึ่งมากระทบผิวาย เรียกว่า โผฏฐัพพะ ทั้งสิ้น.

เผณฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. เผณติ. น. เผณ (ปุ.,นปุ.) เผณก (ปุ.) ฟอง, ฟ้องน้ำ, หินฟองน้ำ.

พ อักษร

พกฺ อาทาเน
จับเอา ถือเอา ฉวยเอา คว้าเอา ยึด ยึดถือ, ก. พกติ. พก (ปุ.) นกยาง, นกยางโทน.

พทฺ เถริเย
มั่น คง มั่นคง คงนี่ แข็งแรง ตั้งมั่น ยั่งยืน.  ก. พทติ. น. พทร (ปุ.) พุทรา, ไม้ปรู จิงจ้อ, สะเดา, สลอด, กระเบา, มะดูก.  พทร (นปุ.) ผลพุทรา. พทรา พทรี (อิต.) ฝ้าย, พุทรา, กระเบา.

พทฺธฺ สํหรเณ
อยู่ในอำนาจ เป็นทาส. ก. พทฺธติ. น. พทฺธน (นปุ.) การอยู่ในอำนาจ, ความเป็นทาส.

พธฺ พนฺธเน
ผูก พัน หุ้ม จำ จองจำ มัด รัด. ก. พธติ. น. พธก (วิ.) ผู้ผูก ,ฯลฯ (ปุ.) คนผู้ผูก, ฯลฯ, การผูก, ฯลฯ. วธู (อิต.) หญิง, ผู้หญิง, หญิงสาว. พธิร (ปุ.) คนหนวก.  พีภจฺฉา (อิต.) ความเกี่ยวเนื่อง, ความเกี่ยวเนื่องกัน, ความผูกพัน, ความคิดกัน.


พนฺธฺ พนฺธเน
ผูก ฯลฯ. ก. พนฺธติ. น. พทฺธ พนฺธ (ปุ.) บ่วง, บ่วงผูก.  พทฺธ พนฺธ พนฺธน (นปุ.) อันผูก, ฯลฯ, การผูก, ฯลฯ, การตรึง, การจำ, เครื่องผูก, ฯลฯ ปงฺก (ปุ.) ความเกี่ยวพัน, ความติดพัน, ความผูกพัน.

พพฺพฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. พพฺพติ. น. พพฺพุ (ปุ.) เสือปลา, แมว, พังพอน.

พฺยญฺชฺ ปกาสเน
ประกาศ ปรากฏ แจ้งชัด. ก. พฺยญฺชติ พฺยญฺเชติ. น. พฺยญฺชน (นปุ.) บท (คือคำที่แจกด้วยวิภัติแล้ว), ลักษณะ, เครื่องหมาย, นิมิต (เครื่องหมาย), นิมิต ของบุรุษสตรี, ลายของเท้า, ลายเท้า, พยัญชนะ คือ ตัวหนังสือที่มิใช่สระ.

พฺยา อุมฺมิลเน
ลืมตา. ก. พฺยติ พฺยาติ. น. พฺยน พฺยาน (นปุ.) การลืมตา, การมอง, การมองดู, การมองเห็น.

พฺยถฺ ทุกฺเข
เป็นทุกข์ ไม่สบาย ลำบาก.  ก. พฺยถติ. น. พฺยถน (นปุ.) ความเป็นทุกข์, ฯลฯ.

พฺยถฺ ภยจลเนสุ
หวาด สะดุ้ง กลัว ไหว สั่น รัว เคลื่อน กระดิก โยก โยกโคลง. ก. พฺยถติ. น. พฺยถน (นปุ.) การหวาด, ฯลฯ, ความหวาด, ฯลฯ.

พฺยธฺ ปหรเณ
ตี ฟัน โขก โขลก ซ้อม ทุบ. ก. พฺยธติ. น. พฺยธ (ปุ.) พฺยธน (นปุ.) การตี, ฯลฯ.

พฺยยฺ ปริจาเค
ให้ ให้ปัน สละ สละให้ เสียสละ บริจาค. ก. พฺยยติ. น. พฺยยน (นปุ.) การให้, ฯลฯ.

พฺยาจฺ คุหเณ
หลอกลวง แกล้งทำ แสร้งทำ. ก. พฺยาจติ. น. พฺยาจน (นปุ.) การหลอกลวง, ฯลฯ.

พฺรหฺ วุทฺธิยํ
เจริญ เจริญขึ้น จำเริญ ฯลฯ. ก. พฺรหติ. น. พฺรห (วิ.) เจริญ เจริญขึ้น จำเริญ งอกงาม, ฯลฯ. พฺรหฺม (วิ.) เลิศ,ประเสริฐ, ประเสริฐสุด.


พฺรหฺ อุคฺคเม
สูง ใหญ่ โต. ก. พฺรหติ. น. พฺรห (วิ.) สูง,สูงขึ้น,ใหญ่,โต.

พลฺ อภิภวเน
อาจ สามารถ ครอบงำ. ก. พลติ. พล (วิ.) อาจ, ฯลฯ. (นปุ.) เสนา, กองทัพ.

พลฺ ปาณเน
เป็นอยู่ หายใจ. ก. พลติ. น. พล (นปุ.) กำลัง, แรง, พลิ (ปุ.) ภาษี, อากร. พิลาล วิลาล (ปุ.) เสือปลา, แมว.

พลฺ สํวรเณ
ระวัง ป้องกัน รักษา. ก. พลติ. น. พล (นปุ.) เสนา, กองทัพ. พลิส พฬิส (ปุ.) เบ็ด.

พลฺ ปูชายํ
เคารพ ฯลฯ. ก. พลติ. น. พลิ. น. พลิ (ปุ.) การบูชา, การนับถือ, การบวงสรวง, การเซ่นสรวง, เครื่องบูชา, เครื่องเซ่น, เครื่องเซ่นสรวง, พลี.

พหฺ พหุ ทิตฺติยํ
เจริญ ฯลฯ. ก. พหติ. น. พหล (วิ.) เจริญ, รุ่งเรือง, สว่าง, กระจ่าง, มาก, ใหญ่, หนา, ทึบ, ล่ำ, กล้า. (ปุ.) กองทัพใหญ่. พหุ (วิ.) เจริญ, นักหนา, หนักหนา, ยาก, ยิ่ง, หลาย, ใหญ่, ใหญ่โต, อะโข, อักโข.

พหิ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. พหติ. น. พหฬ (ปุ.) ค้อน, ไม้ค้อน.

พหุ สํขฺยาเณ
คำนวณ นับ. ก. พหติ. น. พหุ (วิ.) มาก, หลาย.

พาธฺ วิโลลเน
เบียดเบียน กวน รบกวน ขุ่น มัว. ก. พาธติ. น. พาธ พาธิ (ปุ.) พาธน (นปุ.) พาธา (อิต.) การเบียดเบียน, ฯลฯ, ความเบียดเบียน, ฯลฯ, ความยาก, ความลำบาก, ความทุกข์. พทฺธา (อิต.) การตี, การทำให้ปั่นป่วน, การเบียดเบียน, ฯลฯ.

พิทิ อวยเว
เป็นชิ้น เป็นส่วน เป็นตอน.  ก. พินฺทติ. น. พินฺทุ (นปุ.) หยาด, หยาดน้ำ, จุด ชื่อเครื่องหมายที่ใส่ไว้ใต้ตัวอักษร.

พิลฺ เภทเน
แตก ฯลฯ. ก. พิลติ. น. พิล วิล (นปุ.) ปล่อง, ช่อง, โพรง, รู, ส่วน, ชิ้น.  พิลาล วิลาล (ปุ.) เสือปลา, แมว. เพลุว (ปุ.) มะตูม.

พิลฺ นิสฺสเย
เป็นที่พึ่ง เป็นที่พักพิง เป็นที่อยู่ เป็นที่อาศัย. ก. พิลติ. น. พิล วิล (ปุ.) ปล่อง, ช่อง รู, โพรง, ส่วน, ชิ้น.


พิลุ ปติฏฺฐมฺเภ
ค้ำจุน.  ก. พิลติ. น. พิลว (ปุ.) นกนางนวล, นกกระทุง, นกกระลิง.

พิฬฺ อกฺโกเส
ด่า ฯลฯ. ก. เพฬติ. น. เพฬน (นปุ.) การด่า การแช่ง, คำด่า, คำแช่ง, คำมุ่งร้าย.

พุกฺกฺ ภสฺสเน
เห่า หอน ร้อง. ก. พุกฺกติ. น. พุกฺก (ปุ.) หมา, สุนัข. พุกฺกน (นปุ.) การเห่า, ฯลฯ, เสียงเห่า, ฯลฯ.

พุธฺ ญาเณ
รู้ ฯลฯ. ก. โพธติ. น. พุธ (วิ.) ผู้รู้ ผู้มีปรีชา, ผู้มีปัญญา (ปุ.) คนผู้รู้, ฯลฯ.

พุนฺทิ นิสาเน
ลับ อาน.  ก. พุนฺทติ. น. พุนฺทน (นปุ.) การลับ, การลับมีด, การทำให้คม.

พฺรู วจเน
กล่าว เปล่งเสียง พูด. ก. พฺรูติ พฺรูวีติ. น. อาหน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ. แปลง พรู เป็น อาห.

พฺรูหฺ วุทฺธิยํ
เจริญ ฯลฯ. ก. พฺรูหติ. น. วีหิ (ปุ.) ข้าว, ข้าวเจ้า, ข้าวเปลือก.

พุฬฺ โภชเน
กิน ฯลฯ บริโภค. พูฬติ. น. พูฬน (นปุ.) การกิน, ของกิน, ของบริโภค.

พูฬฺ โมเห
เขลา โง่ หลง. ก. พูฬติ. น. พูฬน (นปุ.) ความเขลา, ความโง่, ความหลง.

เพย ปวตฺติยํ
เป็นไป เป็นอยู่. ก. เพยติ. น. เพยนก (วิ.) เป็นไป, เป็นอยู่. (นปุ.) ความเป็นไป, ฯลฯ. สหพฺย (ปุ.) มิตร, สหาย, เพื่อน.  สหพฺยตา (อิต.) ความเป็นแห่งมิตร, ฯลฯ.

เพย สํวรเณ
สังวร ฯลฯ. ก. พฺยยติ. แปลง เอ เป็น ย. น. พฺยยร (นปุ.) พฺยยนา (อิต.) การสังวร, ฯลฯ.

เพลุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. เพลติ. น. เพลก (ปุ.) กระต่าย. เพลน (นปุ.) การไป, การถึง, การดำเนินไป, การบรรลุ, การเป็นไป, การบรรลุ, ความเป็นไป.


ภ อักษร


ภกฺขฺ อทเน
กิน กัดกิน เคี้ยว เคี้ยวกิน, บริโภค. ก. ภกฺขติ. น. ภกฺข (ปุ.,นปุ.) ภกฺขา (อิต.) การกิน, ฯลฯ, ของกิน, ของบริโภค, อาหาร, ภักษ์, ภักษา, ภกฺขณ ภกฺขน (นปุ.) การกิน, ฯลฯ

ภคณฺฑฺ ภคนฺมฺ เสจเน
รด ราด โรย โปรย. ก. ภคณฺฑติ ภคนฺทติ. น. ภคณฺฑ ภคนฺท (วิ.) รด,ราด, ฯลฯ. ภคณฺฑล ภคนฺทล (นปุ.) ภคณฺฑลา ภคนฺทลา (อิต.) ริดสีดวง, ริดสีดวงทวาร, บานทะโรค.

ภํสฺ ภํสุ ปตเน
ตก ตกไป หล่น หล่นไป. ก. ภํสติ. น. ภํสน (นปุ.) การตก, ฯลฯ.

ภชฺ เสวายํ
คบ คบหา รับใช้ ปฏิบัติ. ก. ภชติ. น. ภชก (ปุ.) คนผู้คบ, ฯลฯ, คนรับจ้าง. ภชน (นปุ.) การคบ, ฯลฯ.

ภชฺ วิสฺสาเส
คุ้น คุ้นเคย สนิท สนิทสนม ไว้ใจ ไว้วางใจ. ก. ภชติ. น. ภชภ (ปุ.) คนผู้ค้นเคย, ฯลฯ. ภชน (นปุ.) ความคุ้นเคย, ฯลฯ. ภตฺติ (อิต.) การคุ้น, การชิดชม, การจงรัก, การภักดี, ความคุ้น, ฯลฯ, ความภักดี.

ภชฺ ฐาเน
ตั้ง ตั้งอยู่ ทรง ทรงอยู่ ทรงไว้ ดำรง ดำรงอยู่ ดำรงไว้. ก. ภชติ. น. ภาชน (นปุ.) เครื่องใช้, เครื่องใช้สำหรับใส่ของ.

ภชฺ ภาชเน
แจก จำแนก แจกออ แบ่ง แบ่งออก ปัน แยก แยกออก.  ก. ภชติ วิภชติ. น. วิภช (ปุ.) วิภตฺติ (อิต.) การแจก, ฯลฯ. วิภาค (ปุ.) วิภาขน (นปุ.) การแจก, ฯลฯ.

ภชฺ ปาเก
หุง ต้ม ปิ้ง ย่าง ฯลฯ. ก. ภชติ ภชฺชติ. กิริยาหลัง แปลง ช เป็น ชฺช หรือ ช้อน ชฺ.

ภชิ ภญฺชเน
คั่ว คนไปคนมา. ก. ภญฺชติ. น. ภญฺชน (นปุ.) การคั่ว, การคนไปคนมา (เอาของใส่ภาชนะตั้งไฟแล้วคนไปคนมาจนของสุก)


ภญฺชุ เภทเน
แตก หัก ยับเยิน ทำลาย สลาย. ก. ภญฺชติ. น. ภญฺชน (นปุ.) การแตก, ฯลฯ, ของที่แตก, ของแตก, ฯลฯ. ภงฺค (ปุ.) ระลอก, คลื่น.  ภงฺค (ปุ.,นปุ.) การแตก, ฯลฯ.

ภฏฺ อุปถฺมฺเภ ภตฺยํ วา
บำรุง อุดหนุน เลี้ยง เลี้ยงดู. ก. ภฏติ. น. ภฏ (ปุ.) คนที่เขาเลี้ยง คนอันท่านเลี้ยง, บ่าว, ไพร่, พลรบ, นักรบ, อำมาตย์.

ภฎฺ ปริภาสเน
ด่า ด่าว่า กล่าวโทษ ติเตียน ฯลฯ. ก. ภฏติ. น. ภฏ (ปุ.) บ่าว ไพร่.

ภฑิ ปริภาสเน
ด่า ด่าว่า ฯลฯ. ก. ภณฺฑติ. น. ภณฺฑุ (วิ.) ล้าน, โล้น.  ภณฺฑน (นปุ.) การทะเลาะ, การทะเลาะกัน, การทุ่มเถียง, การบาดหมาง, การแก่งแย่ง, การหมายมั่น, การด่า, การบริภาษ.

ภณฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. ภณติ. น. ภณ ภน (ปุ.) ภณน (นปุ.) ภาณ (ปุ.) การกล่าว, การบอก, การพูด, การสวด. ภาณก (วิ.) ผู้กล่าว, ฯลฯ (ปุ.) คนผู้กล่าว, ฯลฯ. ภาณก (ปุ.,นปุ.) โอ่ง, อ่าง, ไห, ขวด, หม้อ, หม้อน้ำ.

ภทิ กลฺยาณสุเข
ดี งาม สวยงาม เป็นสุข สบาย. ก. ภนฺทติ. น. ภทฺท ภทฺร (วิ.) งาม, ดี, ดีนัก, เป็นที่ชอบใจ, เจริญ , จำเริญ, เรือง, รุ่งเรือง, ผุดผ่อง, ประเสริฐ, น่ารัก, น่าชม, หล่อ, เป็นสุข, สบาย, สำราญ, สวัสดี, เป็นมงคล (ปุ.) คนงาม, ฯลฯ.

ภพฺพฺ ปีฬเน
เบียดเบียน บีบคั้น รบกวน ฯลฯ. ก. ภพฺพติ. น. ภพฺพน (นปุ.) การเบียดเบียน ,ฯลฯ.

ภมฺ ภมุ อนวฏฺฐาเน
หมุน หัน ไหล ไหลไป ปั่น เวียน เวียนไป แล่นไป. ก. ภมติ. น. ภนฺติ (อิต.) ความไม่ตั้งลง, การหมุน, ฯลฯ, ความไม่ตั้งลง, ฯลฯ. ภม (ปุ.) ทางน้ำไหล, ท่อ, ท่อน้ำ, เครื่องกลึง. ภมน (นปุ.) การไม่ตั้งลง, การหมุน, ฯลฯ, ความหมุน, ฯลฯ. ภมร (ปุ.) ผึ้ง, แมลงผึ้ง, แมลงภู่, ภมร ,ภมริน, ภูมริน.  ภมุ ภมุก (ปุ.) ภมุกา ภู (อิต.) คิ้ว. ภิงฺค (ปุ.) แมลงภู่, เขียด, กบ, แปลง ภม เป็น ภิงฺค.


ภรฺ โปสเน
เลี้ยง ฯลฯ ค้ำจุน.  ก. ภรติ. น. ภจฺจ (ปุ.) สัตว์อันบุคคลพึงเลี้ยง, บ่าว, ไพร่, บ่าวไพร่, ข้าใช้, คนรับใช้, คนใช้, อำมาตย์. ภิงฺก (ปุ.) ช้างรุ่น.  แปลง ภร เป็น ภิงฺก.  ภติ (อิต.) การเลี้ยง, การเลี้ยงดู, ค่าจ้าง, บำเหน็จ. ภติก (ปุ.) กรรมกร, คนรับใช้, คนใช้. ภตฺต ภตฺตุ (ปุ.) ผัว, สามี , ภัสดา, ภัศดา, ภรรดา. ภริยา (อิต.) หญิงผู้อันบุรุษพึงเลี้ยง, ภรรยา. ภรุ (ปุ.) ชายผู้เลี้ยง, ผัว.

ภรฺ ธารเณ
ทรง ทรงไว้ ตั้ง ตั้งไว้ รับ รับไว้ วาง วางไว้. ก. ภรติ. ภร (ปุ.) หาบ, ของแบกหาม. ภาร (ปุ.) หน้าที่, หน้าที่ที่ต้องรับทำ, ภาระ (หน้าที่ที่ต้องรับเอาและทำ).

ภลฺ ภลฺลฺ ปริภาสเน
ด่า ฯลฯ. ก. ภลฺลติ. น. ภลน ภลฺลน (นปุ.) การด่า, ฯลฯ, คำด่า, ฯลฯ.

ภลฺ ภลฺลฺ ทาเน
ให้ สละ ฯลฯ. ก. ภลติ ภลฺลติ. น. ภลน ภลฺลน (นปุ.) การให้, ฯลฯ.

ภสฺ ภสฺมีกรเณ
เป็นเถ้า เผา ไหม้ แหลก ละเอียด. ก. ภสติ. น. ภสฺม (วิ.) แหลก, ละเอียด. (นปุ.) ภสฺมา (อิต.) เถ้า,ถ่านเย็น, มูลเถ้า ,ขี้เถ้า, ธุลี, ฝ้า.

ภสฺ จลยปตเนสุ
เคลื่อน พัด ตก หล่น.  ก. ภสติ. น. ภฏฺฐ (วิ.) เคลื่อน, ฯลฯ, (ปุ,นปุ.) การเคลื่อน, ฯลฯ, ความเคลื่อน, ฯลฯ.

ภสฺ ทิตฺติยํ
เจริญ รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. ภสติ. น. ภสฺสน (นปุ.) ความเจริญ, ความรุ่งเรือง , ฯลฯ.

ภสฺ วิปุลเน
เต็ม เปี่ยม เต็มเปี่ยม มาก มากมาย ยิ่ง อย่างยิ่ง กว้างขวาง ไพบูลย์. ก. ภสติ. น. ภุส (วิ.) กล้า มีกำลัง ล้ำ ยิ่ง ฯลฯ เลิศ ประเสริฐ.


ภสฺสฺ วจเน
กล่าว ฯลฯ. ก. ภสฺสติ. น. ภสฺส ภสฺสน (นปุ.) การกล่าว, การพูด, การเจรจา, คำ, ถ้อยคำ, คำกล่าว, คำพูด, คำเจรจา.

ภสฺสฺ ทิตฺติยํ
เจริญ รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. ภสฺสติ. น. ภสฺสน (นปุ.) ความเจริญ, ความรุ่งเรือง, ความสว่าง, ความส่องสว่าง, ความสวยงาม, ความกระจ่าง, ความแจ่มใส, ความผ่อง, ความผ่องใส.

ภสฺสฺ วจนปตเนสุ
เคลื่อน พัด ตก หล่น ฯลฯ. ก. ภสฺสติ. น. ภสฺสน (นปุ.) การเคลื่อน, ฯลฯ, การล้ม, การหัก.

ภา ทิตฺติยํ
เจริญ รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. ภาติ. น. ภ (นปุ.) ดาว. ภา (อิต.) ความรุ่งเรือง, ความสว่าง, ความสวยงาม, แสง, แสงสว่าง,รัศมี. ภสฺสร (วิ.) แจ่ม, แจ่มกระจ่าง, แจ่มใส, ไม่มัวหมอง, ไม่ขุ่นมัว, ผ่อง, ผ่องใส, ผุดผ่อง, เปล่งปลั่ง, รุ่งเรือง, สุกใส, บริสุทธิ์. ภาณุ ภานุ (ปุ.) พระอาทิตย์. (ปุ.,อิต.) รัศมี, แสง, แสงสว่าง. รมฺภา (อิต.) นางอัปสร, นางฟ้า.

ภาชฺ ทิตฺติยํ
เจริญ รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. ภาชติ. รมฺภา (อิต.) นางอัปสร, นางฟ้า.

ภามฺ โกเธ
ดุร้าย โหดเหี้ยม ขึ้งเคียด โกรธ เคือง. ก. ภามติ. น. ภามน (นปุ.) ความดุร้าย, ฯลฯ.

ภาสฺ วจเน
กล่าว ฯลฯ. ก. ภาสติ. น. ภาส (ปุ.) ภาสน (นปุ.) อันกล่าว, การกล่าว, การบอก, การพูด, คำกล่าว, ฯลฯ. ภาสา (อิต.) วาจราอันตนกล่าว, วาจาเป็นเครื่องกล่าว, คำกล่าว, ถ้อยคำ, คำพูด, ภาสา ภาษา (เสียง หรือ กิริยาอาการซึ่งทำความเข้าใจกันได้). ภาตุ (วิ.) ผู้เป็นพี่น้องกัน.

ภาสฺ ภาสุ ทิตติยํ
เจริญ รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. ภาสติ ภาสุติ. คงอุไว้. น. ภาส (วิ.) งาม, แจ้ม, สว่าง, เจริญ, รุ่งเรือง, ฯลฯ. (นปุ.) ความงาม, ความสว่าง, ความรุ่งเรือง, แสงสว่าง. ภสฺตา ภสฺตฺรา (อิต.) กะทอ, ถุงหนัง, สูบ, เครื่องสูบ, เครื่องสูบลม, ลูกโป่ง, ย่าม.


ภิ ภี ภเย
กลัว ไม่กล้า ขยาด ขลาด หวาด สะดุ้ง. ก. ภายติ. น. ภย (นปุ.) วัตถุอันบุคคลพึงกลัว, สิ่งอันบุคคลพึงกลัว, อารมณ์อันบุคคลพึงกลัว, ของที่น่ากลัว, สิ่งที่น่ากลัว, ความกลัว, ฯลฯ, ภัย. ภิ (นปุ.) ธรรมชาติอันบุคคลพึงกลัว, ฯลฯ, ของที่น่ากลัว, ฯลฯ.

ภิกฺขฺ ยาจเน
ขอ. ก. ภิกฺขติ. ภิกฺขน (นปุ.) ภิกฺขา (อิต.) อันขอ, การขอ, ของที่ขอ. ภิกฺขุ (ปุ.) ภิกษุ ชื่อของบรรพชิตผู้ยังชีพโดยภิกขาจาร ทางพระพุทธศาสนาเป็นบริษัทที่ ๑ ในบริษัท ๔.

ภิกฺขฺ อทเน
กิน เคี้ยว ฯลฯ. ก. ภิกฺขติ. น. ภิกฺขน (นปุ.) การกิน, การเคี้ยว, การเคี้ยวกิน, การบริโภค. ภิกฺขา (อิต.) ของกิน, ข้าว , ข้าวสุก, ข้าวสวย,จังหัน, อาหาร, โภชนะ, เครื่องกิน, เครื่องบริโภค. ภิกษา.

ภุชฺ อชฺโฌหรเณ
กิน เคี้ยว ฯลฯ. ก. ภุชติ. โภค (ปุ.) คนผู้กิน, ฯลฯ, การกิน, การกลืนกิน, การบริโภค, สมบัติ, ทรัพย์ , สิน, ทรัพย์สิน, คุณอันบุคคลพึงบริโภค, โภคะ (ของกินของใช้ทั้งปวง). โภชน (นปุ.) ของอันบุคคลพึงกิน, สิ่งอันบุคคลพึงกิน, การกิน, การฉัน, การบริโภค ข้าว, อาหาร, ของกิน, ของบริโภค, เครื่องบริโภค. โภคี (ปุ.) คนมีทรัพย์.

ภุชฺ โกฏิลฺเล
ขด คด โค้ง โกง งอ. ก. ภุชติ. น. ภุช (ปุ.) ขนด, ขนดหาง. โภค (ปุ.) การขด, ฯลฯ, การม้วน, ขนด, ขนดงู, แม่เบี้ย, แม่เบี้ยงู. โภคี (ปุ.) งู, นาค.

ภุชฺ ปาลเน
ปกป้อง คุ้มครอง ป้องกัน ดูแล ระวัง รักษา. ก. ภุชติ. น. ภุช (ปุ.) มือ, ข้อมือ, งวง, งวงช้าง. (ปุ.,อิต.) แขน.  โภค (ปุ.) สมบัติ, ทรัพย์ ,สิน, ทรัพย์สิน.  โภคี (ปุ.) คนมีทรัพย์.


ภุฑิ สงฺฆาเต
กำจัด ขจัด ฆ่า เบียดเบียน ฯลฯ. ก. ภุณฺฑติ. น. ภุณฺฑน (นปุ.) การกำจัด,ฯลฯ.

ภุฑิ สงฺฆาเต
เบียดกัน เบียดเสียด ยัดเยียด ติดต่อ ติดต่อกัน คละกัน ระคน ระคนกัน ปนกัน.  ก. ภุณฺฑติ. น. ภุณฺฑน (นปุ.) การเบียดกัน, ฯลฯ.

ภู สตฺตายํ
มี เป็น มีอยู่ เป็นอยู่ เกิด. ก. ภวติ โภติ. น. ภว (ปุ.) ความมี, ความเป็น, ความเจริญ, ความเกิด, การเกิด, การถึง, ที่เกิด, ประเทศที่เกิด, โลก ,แผ่นดิน, ภพ. ภาว (วิ.) มี, เป็น, เจริญ, สรรเสริญ, เกิด, ปรากฏ. (ปุ.) ความ, ความมี, ฯลฯ, ความปรากฏ, ความมุ่งหมาย, ความจริง, การเยื้องกราย, ความจริง, กิริยา, ส่วน, ชั้น, คุณ, ธรรมชาต, สภาวะ, ภาวะ, ภาพ คือรูปที่ปรากฏเห็น สิ่งที่วาดเขียนขึ้นให้เป็นรูป. ภาวน (นปุ.) คุณชาต เป็นเครื่องยัง...ให้เกิด, คุณชาต เป็นเครื่องยัง...ให้เจริญ, ความมี,ฯลฯ, ภาวนา (อิต.) คุณชาติเป็นเครื่องยัง...ให้เกิด, คุณชาติเป็นเครื่องยัง...ให้เจริญ, ความมี, ฯลฯ, การสำรวมใจทำดี (กุศล) ให้มีเกิดขึ้นเจริญขึ้นในสันดาน.  ภู (อิต.) ดิน, แผ่นดิน, นา, ที่นา, เขา, ภูเขา, ความดี, ความเจริญ. ภูมิ (อิต.) แผ่นดิน, ที่ดิน, พื้น, พื้นดิน, พื้นเพ, ภาคพื้น, ขอบเขต, แดน, ชั้น, ลำดับ, ที่เกิด, ปัญญา. ภูมี (ปุ.) พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน.  ภูริ ภูรี (วิ.) มาก, เจริญ ,แข็งแรง, หนา, นักหนา, หนักหนา. (อิต.) ปัญญา, ปรีชา, ญาณ , ความรู้, ความฉลาด,แผ่นดิน, ที่ดิน.  ภูริ (ปุ.) คนมีปัญญา, ฯลฯ.

ภู วุทฺธิยํ
เจริญ ฯลฯ. ก. ภวติ โภติ. ภว ภาว (ปุ.) ความเจริญ, ฯลฯ. ภาวนา (อิต.) คุณชาติเป็นเครื่องยังกุศลให้เจริญ. ภู ภูติ (อิต.) ความเจริญ, ความรุ่งเรือง, ความมั่งคั่ง, ความสำเร็จ. โภต โภตี (วิ.) ผู้เจริญ, ฯลฯ.


ภู ปตฺติยํ
ถึง บรรลุ รู้. ก. ภวติ. น. วิภาวี (วิ.) รู้แจ้ง, รู้แจ่มแจ้ง, รู้ชัด, มีปัญญา. (ปุ.) คนผู้รู้แจ้ง, ฯลฯ, คน มีปัญญา, นักปราชญ์.

ภูสฺ อลงฺกาเร
ประดับ ตกแต่ง ฯลฯ. ก. ภูสติ. น. ภูสน (นปุ.) อันประดับ, การประดับ, การตกแต่ง, การตบแต่ง, เครื่องประดับ, เครื่องอาภรณ์. ภูสา (อิต.) เครื่องประดับ, เครื่องแต่งตัว, เครื่องอาภรณ์, เครื่องนุ่งห่ม, ผ้านุ่ง, ผ้าห่ม, ผ้าทรง. วิภูสน (นปุ.) วิภูสา (อิต.) เครื่องประดับ, เครื่องแต่ง, ฯลฯ.

เภชฺ ทิตฺติยํ
รุ่ง รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. เภชติ. น. เภชน (นปุ.) ความรุ่ง, ความรุ่งเรือง, ความงาม, ความสวยงาม, ฯลฯ.

เภสฺ เภสุ จลเน
กระดิก สั่น ไหว หวั่นไหว เคลื่อน เคลื่อนไหว โคลง โยก โยกโคลง กลับกลอก.  ก. เภสติ. น. เภสน (นปุ.) การกระดิก, ฯลฯ.

ม อักษร

มกฺ ปาเน
ดื่ม กิน.  ก. มกติ. น. มกส (ปุ.) ริ้น, ยุง, บุ้ง, ร่าน.

มกฺขฺ มกฺขเน
กลบเกลื่อน ลบหลู่ ดูหมิ่น เหยียดหยาม. ก. มกฺขติ. น. มกฺข (ปุ.) ความกล้าแข็ง, ความกลบเกลื่อน, ฯลฯ, ความเหยียดหยาม, ความหักหลัง.

มกิ จลเน
กระดิก สั่น ไหว ฯลฯ. ก. มกติ มกฺกติ. น. มกฏ มกฺกฏ (ปุ.) ลิง , เสน.

มกิ มณฺฑเน
ประดับ ตกแต่ง ตบแต่ง. ก. มงฺกติ. น. มกุฏ (วิ.) สูงสุด, ยอดเยี่ยม. (ปุ.,นปุ.) เทริด, มงกุฎ ชื่อเครื่องสวมพระเศียรพระเจ้าแผ่นดิน มียอดแหลมสูง.


มกฺขฺ สงฺฆาเต
เกลือกกลั้ว คลุกคลี ระคน.  ก. มกฺขติ. น. มกฺขิกา (อิต.) แมลงวัน, ผึ้ง, ผึ้งขนาดเล็ก.

มกฺขฺ เสวเน
คบ คบหา เสพ. ก. มกฺขติ. น. มกฺขิกา (อิต.) แมลงวัน, ผึ้ง, ผึ้งขนาดเล็ก.

มขฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. มขติ. น. มขน (นปุ.) การไป, การถึง, การบรรลุ, ความเป็นไป.

มขิ กํขายํ
กังขา เคลือบแคลง สงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ. ก. มงฺขติ. น. มงฺขน (นปุ.) ความกังขา, ฯลฯ.

มคิ มงฺคฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. มงฺคติ. มงฺคล (นปุ.) เหตุเป็นเครื่องถึงซึ่งความดี, เหตุเป็นเครื่องถึงซึ่งความเจริญ , เหตุให้ถึงความดี, เหตุให้ถึงความเจริญ, ความดี, ความเจริญ, ความเป็นสิริ, ความเป็นมงคล, มงคล (สิ่งที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญ สิ่งที่นำความสุขความเจริญมา).

มฆิ อุคฺคมกุหเนสุ
กระโดด โกง. ก. มงฺฆติ. น. มงฺฆน (นปุ.) การกระโดด, การโกง.

มจฺ กกฺกเน
ขัดสี ถูตัว. ก. มจติ. น. เมจก (วิ.) ดำ, เขียว, เขียวคราม (ปุ.) ดำ, ฯลฯ เขียวคราม, สีดำ, ฯลฯ, สีเขียวคราม.

มจฺ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง สว่าง กระจ่าง ขาว สวยงาม. ก. มจติ. น. เมจก (ปุ.) แวว, แววหางนกยูง.

มจฺ เถยฺเย
ลัก ขโมย. ก. มจติ. น. มจล (ปุ.) คนลักทรัพย์, ขโมย, โจร.

มจิ ธารเณ
ตั้ง ทรง รับ วาง ตั้งไว้ ทรงไว้ รับไว้ วางไว้. ก. มญฺจติ. น. มญฺจ มญฺจก (ปุ.) แท่น, แคร่, เตียง, ที่นอน.  มญฺจน (นปุ.) การตั้งไว้ ,ฯลฯ.

มจิ ปูชายํ
เคารพ นับถือ บูชา ฯลฯ. ก. มญฺจติ. น. มญฺจน (นปุ.) การเคารพ, ฯลฯ.

มจิ กรีสุสฺสคฺเค
ถ่าย ถ่ายอุจจาระ ขี้ (ถ่ายอาหารหนัก). ก. มญฺจติ. น. มญฺจน (นปุ.) การถ่ายอุจจาระ, การขี้.


มชฺชฺ สํสิทฺธิยํ โสเจยฺเย วา
สะอาด หมดจด ก. มชฺชติ. น. มชฺชน (นปุ.) การทำให้สะอาด, การกวาด, การเช็ดถู, ความสะอาด, ความหมดจด. สมฺมชฺชน (นปุ.) สมชฺชา (อิต.) การทำให้สะอาด, การทำความสะอาด, การชำระ, การกวาด, การเช็ด, การถู, การเช็ดถู.

มญฺจุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. มญฺจติ น. มญฺจ (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความเป็นไป.

มฐฺ นิวาเส
อยู่ อาศัย อาศัยอยู่. ก. มฐติ. น. มฐน (นปุ.) การอยู่, ฯลฯ, ความอยู่, ฯลฯ.

มฐฺ โสเก
แห้ง ไม่แจ่มใส เศร้า โศก.  ก. มฐติ. น. มฐน (นปุ.) ความแห้ง, ฯลฯ, ความโศก.

มฑิ โสเจยฺเย
สะอาด หมดจด. ก. มณฺฑติ. น. มณฺฑน (นปุ.) การทำให้สะอาด, การกวาด, การเช็ด, การถู, ความสะอาด, ความหมดจด, ความใส, ความผ่องใส

มฑิ เวฐเน
พัน ผูก โพก โอบ. ก. มณฺฑติ. น. มณฺฑน (นปุ.) การพัน,ฯลฯ, การโอบ, การโอบอ้อม, การห้อม, การโอบล้อม.

มณฺ สทฺทจาเคสุ
ออกเสียง ฯลฯ สละ ละ ฯลฯ. ก. มณติ. มณนา (อิต.) การออกเสียง, ฯลฯ, การสละ. เวรมณี (อิต.) เจตนาเป็นเครื่องละเวร, เจตนาเป็นเครื่องเว้นเวร.

มตฺถฺ วิโลฬเน
กวน คน (ทำให้เข้ากัน) รบกวน วุ่นวาย. ก. มตฺถติ. มตฺถ (นปุ.) การกวน, การคน, การคนให้เข้ากัน, ฯลฯ, เครื่องกวน.

มถฺ วิโลฬเน
กวน คน ฯลฯ. ก. มถติ. น. มถน (นปุ.) การกวน.  มถิต (วิ.) กวน, ฯลฯ, เขย่า, (นปุ.) เปรียง. มลฺล มลฺลก (ปุ.) นักมวย, มวยปล้ำ, คนปล้ำ.

มถฺ หึสายํ
กำจัด ขจัด ฯลฯ. ก. มถติ. น. มิถิลา (อิต.) มิถิลา ชื่อนครพิเศษของอินเดียโบราณ ๑ ใน ๒๑ นคร.


มทฺทฺ มทฺทเน
บด บีบ นวด ขยำ ย่ำยี ฯลฯ. ก. มทฺทติ. น. มทฺทน (นปุ.) การบด, ฯลฯ, การทำลาย. ปุจมนฺท ปุจิมนฺท (ปุ.) สะเดา (ย่ำยีโรคเรื้อน).

มธุ เกลทเน
ชุ่ม ชื้น เยิ้ม ซึม ฯลฯ. ก. มธติ. น. มธุ (วิ.) หวาน, อร่อย, อันพึงใจ, เป็นที่ชอบใจ, เป็นที่รัก, ไพเราะ, ดี. (ปุ.) ผึ้ง, ชะเอม, ชะเอมต้น.  (นปุ.) น้ำผึ้ง, น้ำอ้อย, น้ำหวาน, รสองุ่น, รสหวานแห่งดอกไม้.

มนฺ อพฺภาเส
ซ้ำกัน ซ้อนกัน.  ก. มนติ. น. มนน (นปุ.) การซ้ำกัน, การซ้อนกัน.

มนฺ ญาเณ
รู้ ฯลฯ. ก. มนติ. น. มน (ปุ.,นปุ.) สภาพผู้รู้, สภาพรู้, ธรรมชาตรู้, ใจ. มานุส (ปุ.) สัตว์ผู้รู้, มนุษย์. มานุสี (อิต.) มนุษย์หญิง. หญิงมนุษย์. มนุ (ปุ.) พระมนู (ผู้สร้างและปกครอง).

มนฺถฺ วิโลฬเน
กวน คน รบกวน วุ่นวาย ฯลฯ. ก. มนฺถติ. น. มนฺถ (ปุ.) ขนมผบ, สัตตุผง, ข้าวสัตตุผง. มนฺถน (นปุ.) การกวน, การทำให้คลุกเคล้ากัน, ฯลฯ.

มทิ มนฺทฺ ถุติยํ
ชม ชมเชย ยกย่อง สรรเสริญ. ก. มนฺทติ. น. มนฺทน (นปุ.) มนฺทนา (อิต.) ความชม, ฯลฯ.

มทิ มนฺท มทสุปิเนสุ
เมา มัวเมา หลับ. ก. มนฺทติ. น. มนฺท (วิ.) เกียจคร้าน, ขี้เกียจ, ค่อย ๆ ,เงื่องหงอย, ช้า, เฉื่อย, ไม่มีบุญ, ไม่มีโชค, หย่อน, น้อย, เล็ก, เล็กน้อย.

มทิ มนฺทฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. มนฺทติ. น. มนฺทน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความเป็นไป.

มนฺทฺ ชฬตฺเต
เขลา โง่ ฯลฯ. ก. มนฺทติ. น. มนฺท (วิ.) เขลา, โง่, พาล (อ่อน), อ่อน, อ่อนแอ, เพลีย, มัว, ราง ๆ.


มนฺทฺ อสีฆจาเร
ช้า ฯลฯ. ก. มนฺทติ. น. มนฺท (วิ.) เกียจคร้าน, ขี้เกียจ, ฯลฯ, เล็ก, เล็กน้อย.

มพฺพฺ มพฺภฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. มพฺพติ มพฺภติ. น. มพฺพน มพฺภน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความเป็นไป.

มยฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. มยติ. น. มยุข มยูข (ปุ.) รัศมี, แสง, แสงสว่าง. มยุร มยูร (ปุ.) นกยูง. มายุ (ปุ.) ดี, น้ำดี.

มรฺ ปาณจาเค
ละชีพ สละชีพ ดับชีพ แตกดับ ตาย. ก. มรติ มิยฺยติ มียฺยติ มียติ. น. มร (ปุ.) มรณ (นปุ.) การตาย, ความตาย. มรุ (ปุ.) เทวดา. (นปุ.) ทราย. มาร (ปุ.) สภาพผู้ฆ่า, สภาพผู้ทำลาย (ความดี) , มาร, มารคือกามเทพ. มารณ (นปุ.) การยัง...ให้ตาย, การฆ่า ,การฆ่าฟัน.  มจฺจ (ปุ.) สัตว์ผู้มีอันจะพึงตายเป็นสภาพ, ชาย, บุคคล, คน, สัตว์. มจฺจุ (ปุ.) ความตาย. มรีจิ (ปุ.,อิต.) รัศมี, แสง, แสงสว่าง, แสงแดด.

มริสฺ สหเณ
อด (กลั้น ทน) ทน (อดกลั้นได้). อดทน อดกลั้น ก. มริสติ. น. มริสน (นปุ.) การทน, การอดทน, การอดกลั้น, ความทน, ฯลฯ.

มริสฺ เสจเน
รด, ราย, โรย, ฯลฯ. ก. มริสติ. น. มริสน (นปุ.) การรด, การราด, ฯลฯ.

มลฺ จลเน
ไหว สั่น กลิ้ง โครง เคลื่อน.  ก. มลติ. น. มล (นปุ.) ธรรมชาตเป็นเครื่องเศร้าหมองของใจ, ความมัวหมอง, ความหม่นหมอง, ความเศร้าหมอง, ความไม่บริสุทธิ์, ความสกปรก, เครื่องเศร้าหมอง, เครื่องเศร้าหมองของใจ, ฯลฯ.

มลฺ กิเลสเน
เปรอะเปื้อน เศร้าหมอง หม่นหมอง. ก. มลติ. น. มล (นปุ.) ความเปรอะเปื้อน, ฯลฯ.

มลฺ ธารเณ
ทรงไว้ ตั้งไว้ ฯลฯ. ก. มลติ. น. มาลา (อิต.) ระเบียบ, แถว, แนว, ถ่องแถว, โครง, แผน, หมวด, สาขา, สร้อยคอ, สาย, ดอก, ดอกไม้, พวง , พวงดอกไม้.


มลฺลฺ ธารเณ
ทรงไว้ ฯลฯ. ก. มลฺลติ น. มลฺลก (ปุ.) จาน, ถ้วย, ชาม, ขัน, ขันน้ำ, แก้วน้ำ.

มสฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. มสติ. น. มสก (ปุ.) ริ้น, ยุง, บุ้ง, ร่าน.

มสฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. มสติ. น. มสก (ปุ.) ริ้น, ยุง, บุ้ง, ร่าน.

มสฺ อามสเน
จับ จับต้อง ถูกต้อง ลูบ คลำ ลูบคลำ. ก. มสติ. น. มสิ (นปุ.) เขม่า, หมึก, น้ำหมึก.  มสูร (ปุ.) ข้าวเปลือกวิเสส, เบาะ, แก้วมณี, ถั่วราชา. มสูรก (ปุ.) เบาะ, แก้วมณี, แก้วมรกต. มสฺสุ (นปุ.) หนวด. อามส อามาส (ปุ.) อามสนา (อิต.) การจับ, ฯลฯ. มาสก (ปุ.) มาสก ชื่อมาตรานับเงิน.

มสฺ โรเส
แค้น เคือง ขึ้งเคียด จำนงภัย โกรธ. ก. มสติ. น. มสน (นปุ.) ความแค้น, ฯลฯ.

มสฺ อุปาทาเน
ยึดมั่น ถือมั่น ยึดถือ. ก. มสติ. น. อามส อามาส (ปุ.) อามสนา (อิต.) การยึดมั่น, ฯลฯ, ความยึดมั่น, ฯลฯ.

มสิ ปริมาเณ
นับ คำนวณ. ก. มสติ. น. มาส (ปุ.,นปุ.) เดือน (ระยะเวลาวันทางจันทติ). มาส (ปุ.) เดือน, ดวงจันทร์, พระจันทร์.

มหฺ วุทฺธิยํ
เจริญ งอกงาม รุ่งเรือง ทวีขึ้น เพิ่มขึ้น.  ก. มหติ. น. มห (วิ.) เจริญ, ฯลฯ, ใหญ่ ,ยิ่ง, มาก, นัก.  มหนฺต (วิ.) ใหญ่, ยิ่ง, มาก, นัก, โต, ผู้ใหญ่.

มหฺ ปูชายํ
เคารพ ยกย่อง นับถือ บูชา. ก. มหติ. น. มหนฺต (วิ.) เคารพ, ฯลฯ, เลิศ, ประเสริฐ. มห (ปุ.) มหน (นปุ.) การเคารพ, ฯลฯ, การบูชา, การฉลอง, การสมโภช, มหรสพ (ฉลองสมโภช)

มา สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. มาติ. มา (ปุ.) ผึ้ง, แมลงผึ้ง, แมลงภู่, ภมร.

มา ปริมาเณ
นับ คำนวณ. ก. มาติ. น. มา (ปุ.) เดือน, ดวงเดือน, พระจันทร์, ดวงจันทร์. มาน (นปุ.) การนับ, การวัด, เครื่องนับ, เครื่องวัด, เครื่องชั่ง, เครื่องตวง, สัด, ถัง.


มา มาเน
เคารพ นับถือ เชื่อถือ ยกย่อง บูชา. ก. มาติ. น. มาน (นปุ.) การเคารพ, ฯลฯ, การบูชา.

มาหุ มาเน
เคารพ นับถือ เชื่อถือ ยกย่อง นับ วัด. ก. มาหติ. น. มาห (ปุ.) การเคารพ. ฯลฯ, การวัด, ผี, ยักษ์.

มิ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. เมติ. น. เมส (ปุ.) เนื้อทราย, กวาง, แพะ, แกะ (ถูกเบียดเบียนเนื้อ).

มิ ปกฺเขปเน
สอด สอดเข้า เสือกเข้า แทรก ไส่ ไส่เข้า. ก. เมติ. น. มิตฺต (ปุ.) คนผู้ใส่ใจกัน, เพื่อน, มิตร.

มิขฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. มิขติ. น. มิขน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความเป็นไป.

มิณฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. มิณฺฑติ. น. มิณฺฑน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ.

มิถฺ สํคเม
รวมกัน ร่วมกัน เกี่ยวข้อง คบกัน ฯลฯ. ก. มิถติ. น. มิถุ (นปุ.) การรวมกัน, การมารวมกัน, ฯลฯ. มิถุน (นปุ.) เมถุน ชื่อกลุ่มดาวราศีที่ ๓ ชื่อคู่แห่งหญิงและชาย.

มิทฺ การิยกฺขมเน
โงกง่วง หาวนอน.  ก. มิทติ. น. มิทฺธ (นปุ.) ความท้อแท้, ความเฉื่อยชา, ความเชื่อมซึม, ความง่วง, ความโงกง่วง, ความง่วงงุน, ความง่วงโงก, สภาวะคร้านกายชื่อว่ามิทธะ. มิทฺธี (ปุ.) คนมีความท้อแท้, คนท้อแท้, ฯลฯ.

มิทฺ พนฺธเน
ผูก พัน ฯลฯ. ก. มิทติ. น. มิตฺต (ปุ.) คนที่ผูกคนอื่นไว้ในตน, คนที่ผูกพันกัน, เพื่อน, มิตร.

มิทฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. มิทติ. น. มิตฺต (ปุ.) คนผู้กำจัดความไม่ดีของตน, เพื่อน, มิตร.

มิมฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. มิมติ. น. มิมน (ปุ.) มิมนา (อิต.) การไป, ฯลฯ, ความเป็นไป.


มิลฺ อาทาเน
จับ ถือ ถือเอา ฯลฯ. ก. มิลติ. น. เมลก (ปุ.) การกอด, การกอดรัก, การเกี่ยวข้อง, ความคุ้นเคย. เมลน (นปุ.) การกอด, ฯลฯ.

มิลฺ สิเนหเน
เป็นน้ำมัน ชอบใจ พอใจ ติดพัน เยื่อใย รัก รักใคร่. ก. มิลติ. น. เมลก (ปุ.) เมลน (นปุ.) ความชอบใจ, ฯลฯ, ความรักใคร่.

มิลฺ มีลฺ นิมิลเน
กระพริบตา หลับตา. ก. มิลติ มีลติ. น. นิมิลน นิมฺมีลน (นปุ.) การกระพริบตา, ฯลฯ. มิฬฺห มีฬฺห (นปุ.) อุจจาระ, ขี้. มุลาล มุฬาล (ปุ.,นปุ.) รากแหง้า.

มิลกฺขฺ อพฺยตฺตสทฺเท
ออกเสียงดัง ร้องเสียงดัง. ก. มิลกฺขติ. น. มิลกฺข มิลกฺขุ (ปุ.) คนป่า, คนป่าเถื่อน, ชาวป่า, คนร้าย.

มิเล โสเก
เหี่ยว เหี่ยวแห้ง ฯลฯ. ก. มิลายติ. น. มิลายน (นปุ.) ความเหี่ยว, ฯลฯ, ความยู่ยี่.

มิเล คตฺตวิมาเน
เต้น รำ เต้นรำ ฟ้อน ฟ้อนรำ. มิลายติ. น. มิลายน (นปุ.) การเต้น, ฯลฯ.

มิเลฉฺ วิยตฺติยํ วาจายํ
พูดไม่ชัด พูดอย่างเสียงสัตว์ร้อง. มิเลฉติ มิลจฺฉติ. แปลง เอ เป็น อ ซ้อน จฺ. น. มิเลฉน (นปุ.) การออกเสียงไม่ชัด, การพูดไม่ชัด, ฯลฯ, เสียงไม่ชัด, คำไม่ชัด, ฯลฯ.

มิเลฏุ อุมฺมาเท
เมา มัวเมา บ้า. ก. มิเลฏติ. น. มิเลฏน (นปุ.) ความมัวเมา, ความบ้า.

มิเลวุ เสวเน
คบ คบหา ฯลฯ. ก. มิเลวติ. น. มิเลวน (นปุ.) การคบ, การคบหา, การรับใช้, การปฏิบัติ.

มิวฺ ถูลิเย
อวบ อ้วน ล่ำ ใหญ่ อ้วนใหญ่. ก. มิวติ. น. มิวน (นปุ.) ความอวบ, ฯลฯ.

มิสฺ มิสุ เสจเน
รด ราย โรย โปรย ประพรม. ก. มิสติ เมสติ. น. เมสน (นปุ.) การรด, ฯลฯ.


มิสฺ สทฺทโรเสสุ
ออกเสียง, โกรธ แค้น เคือง ขึ้งเคียด. มิสติ เมสติ. น. เมสน (นปุ.) คำ, คำพูด, ถ้อยคำ, ฯลฯ, ความโกรธ, ความแค้น, ฯลฯ.

มิหฺ เสจเน
รด ราด ฯลฯ. ก. มิหติ. น. เมห (ปุ.) ป้าง, นิ่ว, โรคป้อง, โรคนิ่ว, มูตร ,น้ำมูตร, เยี่ยว, น้ำเยี่ยว, น้ำเบา, น้ำปัสสาวะ. เมห (นปุ.) อวัยวะสำหรับหลั่งปัสสาวะ. นิมิตรสำหรับหลั่งน้ำเบาของบุรุษและสตรี. มิฬฺห มีฬฺห (นปุ.) อุจจาระ, ขี้.

มิหฺ อีสหสเน
แย้ม ยิ้ม ยิ้มพราย. ก. มิหติ. น. สิต (นปุ.) การแย้ม, ฯลฯ. ลง ตปัล. แปลง มิห เป็น สิ.

มุขฺ ปวตฺติยํ
เป็นไป เป็นอยู่. ก. มุขติ. น. มุข (นปุ.) ปาก, หน้า, ช่อง, ทาง, อุบาย, เหตุ, ทีแรก, เบื้องต้น, หัวข้อ. (ปุ.) หัวหน้า, ประธาน.  (วิ.) เป็นใหญ่, เป็นประธาน, เป็นประมุข, เป็นหัวหน้า, เป็นประถม.

มุจฺ โมจเน
ปลด เปลื้อง แก้ ปล่อย หลุด พ้น วาง. ก. มุจติ. น. มุจฺจน โมจน (นปุ.) การปลด, ฯลฯ.

มุจิ วิโสธเน
ขัดสี ถู. ก. มุญฺจติ. น. มุญฺจน (นปุ.) การขัดสี, การถู, การถูตัว.

มุจลฺ สงฺฆาเต
กำจัด, ฯลฯ เบียดเบียน.  ก. มุจลติ. น. มุจลินฺท มุจฺจลินฺท (ปุ.) ต้นจิก.

มุจฺฉฺ โมเห
เขลา โง่ หลง. ก. มุจฺฉติ. น. มุจฺฉา (อิต.) ความเขลา , ฯลฯ.

มุจฺฉฺ มุจฺฉายํ
งงงวย งวยงง เคลิบเคลิ้ม วิงเวียน สลบ แน่นิง. ก. มุจฺฉติ. น. มุจฺฉา (อิต.) ความงงงวย, ฯลฯ.

มุชิ มุญฺชฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. มุญฺชติ. น. มุญฺช (ปุ.) ปลาค้าว, หญ้าปล้อง. (นปุ.) หญ้ามุงกระต่าย.

มุชฺชฺ โอสีทเน
จม จมลง ดำลง. ก. มุชฺชติ. น. มุชฺชน (นปุ.) การจม, ฯลฯ.

มุฏฺ มทฺทเน
ย่ำ เหยียบ ย่ำยี เบียดเบียน.  ก. มุฏติ. น. มุฏน (นปุ.) การย่ำ, ฯลฯ.


มุฏฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. มุฏติ. น. มุฏน (นปุ.) การกล่าว, การพูด, คำ, ฯลฯ.

มุฏฺ สงฺขิปเน
ใส่เข้า สอดเข้า สอดลง ฯลฯ. ก. มุฏติ. น. มุฏน (นปุ.) การใส่เข้า, ฯลฯ, การวาง.

มุฑิ มณฺฑเน
โกน เกลี้ยง โล้น.  ก. มุณฺฑติ. น. มุณฺฑ มุณฺฑก (วิ.) โกน, เกลี้ยง, โล้น.

มุณฺ ปฏิญฺญาเณ
ให้คำมั่นสัญญา ปฏิญญาณ รับรอง. ก. มุณติ. น. มุณน (นปุ.) การให้คำมั่นสัญญา, ฯลฯ.

มุทฺ หาเส
เพลิน ร่าเริง รื่นเริง ยินดี เพลิน สรวล เสสรวล เฮฮา หัวเราะ. ก. มุทติ. น. มุทา (อิต.) ความเพลิน, ฯลฯ. สมฺมท (ปุ.) ความเพลิน ฯลฯ.

มุทฺ สํสคฺเค
เกี่ยวข้อง คลุกคลี ระคน.  ก. มุทติ. น. มุฏฺฐิ (อิต.) ทั่ง, ค้อน, พะเนิน.

มุนฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. มุนติ. น. มุนน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป, ความเป็นไป.

มุพฺพฺ พนฺธเน
ผูก พัน มัด รัด จำ. ก. มุพฺพติ. น. มุพฺพา (อิต.) คันทรง, ชะเอม, ผักโหมหลวง.

มุรฺ สํเวทเน
รู้สึกรวมกัน รู้สึกร่วมกัน.  ก. มุรติ. น. มุร (ปุ.) นกยูง (มีความรู้สึกร่วมกันว่าสวย).

มุสฺ เถยฺเย
ลัก ขโมย. ก. มุสติ. น. มุสน (นปุ.) โมส (ปุ.) การลัก, ฯลฯ. มุสิก มูสิก (ปุ.) หนู. โมส โมสก (ปุ.) โจร, ขโมย.

มุสฺ ขณฺฑเน
เป็นส่วน ตัด แบ่ง ปัน.  ก. มุสติ. น. มุสล (ปุ., นปุ.) สาก, ตะบอง, ไม้ตะบอง, ตะลุมพุก.

มุสฺ มุจฺฉายํ
เผลอ หลง ลืม หลงลืม ลืมเลือน.  ก. มุสติ มุสฺสติ. แปลง ส เป็น สฺส. น. มุฏฺฐ (วิ.) เผลอแล้ว, ฯลฯ. สมฺมุสฺสนตา (อิต.) ความเผลอ, ความเผลอเลอ, ฯลฯ.

มุสฺ โมกฺเข
หลุด หลุดไป หายไป พ้น.  ก. มุสติ มุสฺสติ. น. มุสน (นปุ.) การหลุด, ฯลฯ.

มุสฺ โมจเน
ปลด เปลื้อง ปล่อย แก้. ก. มุสติ มุสฺสติ. น. มุสน (นปุ.) การปลด, ฯลฯ.

มุหฺ เวจิตฺเต
หลง เขลา โง่. ก. มุหติ. น. โมห (วิ.) หลง, ฯลฯ. มุฬฺห มูฬฺห (วิ.) หลง, ฯลฯ. โมฆ (วิ.) เปล่า, ว่าง, ปราศจากประโยชน์, หาประโยชน์มิได้.

มุหฺ มุจฺฉายํ
วิงเวียน ระทวย งวยงง งงงวย แน่นิ่ง ฟุบลง สยบ สลบ. ก. มุหติ. น. มุหน (นปุ.) ความวิงเวียน,ฯลฯ.

มูลฺ ปติฏฺฐายํ
ตั้งอยู่ ตั้งไว้ แต่งตั้ง ตั้งมั่น มั่นคง ดำรงอยู่ ที่พึ่ง ที่อาศัย. ก. มูลติ. น. มูล (วิ.) เป็นที่ตั้ง, เป็นที่พึ่ง, เป็นที่อาศัย, เป็นต้น, เป็นเดิม, ใกล้, เป็นทุน, เป็นมูล, เป็นเหตุ, ใหญ่. (นปุ.) กก (ที่โคนของสิ่งนั้น ๆ), ก้น (ส่วนเบื้องล่างของสิ่งต่าง ๆ หรือส่วนท้ายของลำตัวหมายถึงบริเวณก้นด้วย), โคน, ต้น, (๒ คำนี้ หมายถึง ส่วนข้างต้นของสิ่งที่กลมยาว), ต้นเดิม, ทุน, ต้นทุน (๓ คำนี้ คือ ของเดิม หรือเงินที่มีไว้), ค่า (คุณประโยชน์ของสิ่งนั้น ๆ ) , ราคา (ค่าของสิ่งของต่าง ๆ ที่คิดเป็นเงินในการซื้อขาย), ราก, รากไม้, เหง้า, รากเหง้า, ปุ่ม, พันธุ์, เหตุ, ต้นเหตุ, ที่ใกล้, ที่ใกล้เคียง, ที่ดั้งเดิม, ควง (บริเวณ), บริเวณ , ขยะ, ขี้. มูล มูลก (ปุ.,นปุ.) มัน, เผือก.

มูลฺ โรหเณ
งอก งอกออก งอกขึ้น ปรากฏ. ก. มูลติ. น. มูล (วิ.) เป็นที่ตั้ง, ฯลฯ. (นปุ.) ขยะ,ขี้.

มูฬฺ สุเข
เป็นสุข สะดวก สบาย สำราญ เย็น.  ก. มูฬติ มูลติ. น. มูฬน (นปุ.) ความสุข, ฯลฯ.

เม อาทาเน
ถือเอา ยึด ยึดถือ. ก. เมติ มยติ. น. เมธา (อิต.) ความถือเอา, ความถือเอาเหตุและผลอันสุขุมพลัน, ความยึดถือเหตุและผล, ความรู้, ความฉลาด, ความฉลาดรอบคอบ, ปัญญา.

เมฏฺ อุมฺมาเท
เมา มัวเมา ประมาท เลินเล่อ คลั่ง บ้า. ก. เมฏติ. น. เมฏน (นปุ.) ความเมา, ฯลฯ.

เมฑิ อุมฺมเท
เมาขึ้น มึนเมา ฯลฯ. ก. เมณฺฑติ. น. เมณฺฑน (นปุ.) ความเมาขึ้น, ความมึนเมา, ฯลฯ.

เมฑิ เมณฺฑฺ โกฏิลฺเล
คด โค้ง โกง งอ บิด. ก. เมฑติ เมณฺฑติ. ก. เมณฺฑ เมณฺฑก (ปุ.) แพะ, แกะ.

เมทฺ ปฏิทานสหคเม
คืนให้ ไปด้วยกัน.  ก. เมทติ. น. เมทน (นปุ.) การคืนให้, การไปด้วยกัน.

เมทฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ เบียดเบียน.  ก. เมทติ. น. เมทน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

เมธฺ หึสาสงฺคเม
กำจัด ฯลฯ ไป ไปด้วยกัน ไปรวมกัน, ไปร่วมกัน.  ก. เมธติ. น. เมธา (อิต.) ธรรมชาติกำจัดกิเลส, ความกำจัดกิเลส, ธรรมาติไปด้วยความดี, ความรู้, ความฉลาด, ปัญญา. เมธ (ปุ.) ความกำจัด, ความกำจัดความชั่ว, คนมีปัญญา. เมธี เมธาวี (ปุ.) คนมีปัญญา, คนมีปรีชา, นักปราชญ์.

เมวุ เสวเน
คบ คบหา รับใช้ ปฏิบัติ. ก. เมวติ. น. เมวน (นปุ.) การคบ, ฯลฯ.

เมวุ เสจเน
รด ราด พรม ปะพรม โปรย สรง. ก. เมวติ. น. เมวน (นปุ.) การรด, ฯลฯ.

โมกฺขฺ มุจฺจเน
หลุด พ้น หลุดพ้น ปลด เปลื้อง ปลดเปลื้อง. ก. โมกฺขติ. น. โมกฺข (ปุ.) การปลด, ฯลฯ.

ย อักษร

ยชฺ ปูชายํ
เคารพ ฯลฯ. ก. ยชติ. น. ยญฺญ ยาค (ปุ.) การบูชา, การเซ่น, การเซ่นสรวง, การบวงสรวง. ยส (ปุ.) ชื่อเสียง, ความยิ่ง, ความเด่น, ความยกย่อง. ความนับถือ, ความยกย่องนับถือ, เกียรติ, ยศ. ยาชก (ปุ.) พราหมณ์ผู้บูชายัญ, คนบูชายัญ.

ยชฺ เสวนทาเนสุ
คบ คบหา ฯลฯ ให้ สละ ฯลฯ. ก. ยชติ. น. ยชน (นปุ.) การคบ, ฯลฯ, การให้, ฯลฯ, การประพฤติธรรม.

ยตฺ ปยตเน
เพียร พยายาม หมั่น ขยัน.  ก. ยตติ. น. ยกฺข (ปุ.) ยักขะ ชื่อกำเนิดเทวดาอย่าง ๑ ใน ๘ อย่าง, เทวะ, สัตว์โลก, ท้าวสักกะ, รากษส, ยักษ์ คือ อมุษย์พวก ๑. ยฏฺฐิ (อิต.) ไม้เท้า, ไม้สักเท้า, คัน, ด้าม, ลำ , ต้น.  ยติ (ปุ.) ความเพียร, ฯลฯ.

ยต ผรเณ
แผ่ แผ่ออกไป ขยาย กว้าง กว้างขวาง. ก. ยตติ. น. วิยตฺต (วิ.) แผ่, ฯลฯ, กว้างขวาง, ฉลาด, เฉียบแหลม. (ปุ.) คนฉลาด, คนเฉียบแหลม. วิยตฺติ (อิต.) การพูด, การกล่าว, การกล่าวชัด, การบอก, ความช่ำชอง, ความเฉียบแหลม, ความฉลาด.

ยตฺ ปฏิทาเน
คืนให้ มอบให้. ก. ยตติ. น. ยตน (นปุ.) การคืนให้, การมอบให้.

ยปฺ วตฺตเน
เป็นอยู่ เป็นไป ดำเนินไป ประพฤติ. ก. ยปติ. น. ยปนา (อิต.) ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, ความดำเนินไป, ความประพฤติ.

ยภฺ เมถุเน
เสพ เสพเมถุน.  ก. ยภติ. น. ยาภสฺส (นปุ.) เมถุน, การเสพเมถุน, เมถุนธรรม.

ยมฺ โปสเน
เลี้ยง เลี้ยงดู ปรนปรือ พอกเลี้ยง. ก. ยมติ. น. ยมน (นปุ.) การเลี้ยง, ฯลฯ.

ยมฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. ยมติ. น. ยม (ปุ.) ยม ยมก ยมล (นปุ.) คู่, แฝด,คู่แฝด. ยมก (วิ.) เป็นคู่ , เป็นคู่กัน.

ยมุ วิสุมฺปนวินาเสสุ
ปล้น ฉิบหาย หายสูญ พินาศ ยุบยับ ย่อยยับ. ก. ยมติ. น. ยมน (นปุ.) การปล้น, ความฉิบหาย ฯลฯ.

ยมุ วิรมเน
งด หยุด ละเว้น.  ก. ยมติ. น. ยม ยาม (ปุ.) การงด, ฯลฯ, การสำรวม, การระวัง, การจำศีล, การถือศีล, การรักษาศีล, ความสำรวม, ความระวัง, พรตที่ประพฤติประจำ. วิย (ปุ.) การงด, การหยุด, การเว้น.  วิ บทหน้าลบที่สุดธาตุ.

ยา ปาปุณเน
ถึง เข้าถึง ให้ถึง บรรลุ ได้ ประสบ. ก. ยาติ. น. ยาม (ปุ.) คราว, เวลา, ยาม ชื่อส่วนแห่งวัน ยาม ๑ เท่ากับ ๓ ช.ม. แต่ในทางศาสนา เท่ากับ ๔ ช.ม. ยาคุ (ปุ.) ข้าวต้ม, ข้าวยาคู ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยรวงข้าวที่ยังเป็นน้ำนม คั้นเอาแต่น้ำนมต้มไฟเคี่ยว ใส่น้ำตาล. ยาตฺรา (อิต.) การยังชีวิตให้เป็นไป, การเลี้ยงชีวิต, การไป, การเดิน, การเดินไป, การยกทัพออกไปรบ. ยาปน (นปุ.) การยังชีวิตให้เป็นไป, การเลี้ยงชีวิต, การยังชีวิตให้ดำเนินไป.

ยา คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ยาติ. น. ยส (ปุ.) ภาวะอันไปในที่ทั้งปวง, ชื่อเสียง, ความยิ่ง, ความเด่น.  ยศ. ยาน (นปุ.) การไป, การถึง, ฯลฯ, วัตถุเป็นเครื่องไป, วัตถุเป็นเครื่องถึง, วัตถุเป็นเครื่องนำไป, วัตถุสำหรับนำไป, เครื่องนำไป, ยาน, ยวดยาน เช่น รถ เรือ เป็นต้น.

ยาจฺ ยาจเน
ขอ ขอร้อง ร้องขอ วอน วิงวอน.  ก. ยาจติ. ยาจก (ปุ.) คนขอทาน.  ยาจ (ปุ.) ยาจน (นปุ.) ยาจนา (อิต.) การขอ, ฯลฯ.

ยามฺ อญฺเช
ชัก ฉุด ไป ยาว. ก. ยามติ. น. พฺยาม (ปุ.) วา (เท่ากับ ๔ ศอก หรือ ๒ เมตร).

ยุ มิสฺสเน
แซม คละ คละกัน เจือ เจือกัน ปน ปนกัน ระคน ระคนกัน คลุกเคล้า. ก. ยวติ โยติ. น. ยว (ปุ.) ข้าวเหนียว. ยวน (นปุ.) การแซม, ฯลฯ, การคลุกเคล้ากัน, การประสมกัน, การผสมกัน.  ยาวก (ปุ.) ครั่ง ชื่อแมลงชนิดหนึ่งเกาะอยู่ตามกิ่งไม้. ยวส (ปุ.) ไร่หญ้า, หญ้าสัตว์กิน.  โยนิ (ปุ.,อิต.) ปัสสาวมรรคของหญิง, ของลับของหญิง, กำเนิด, มดลูก.  โยนิ (อิต.) ความรู้, ความแยบคาย, ปรีชา, ปัญญา.

ยุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ยวติ โยติ. น. โยนิ (ปุ.,นปุ.) ปัสสาวมรรคของหญิง, เหตุ, กำเนิด, มดลูก (เป็นที่ไปของสัตว์เป็นที่เกิดของสัตว์).

ยุคิ เวรมเณ
งด หยุด ละ เว้น.  ก. ยุงฺคติ. น. ยุงฺคน (นปุ.) การงด, ฯลฯ, ความงด, ฯลฯ.

ยุชฺ โยเค
ทำ ประกอบ เสริม เพิ่มเติม เพ่ง เพียร หมั่น ขยัน ติด ข้อง. ก. ยุชติ โยชติ. น. ยุค (ปุ.) แอก, คราว, สมัย, กัป (ยุค). ยุค (นปุ.) แอก, คู่, สมบัติ, ยุคล ยุคฬ (นปุ.) คู่. วิโยค (ปุ.) การจากไป, การพลัดพราก, การห่างเหิน, การร้าง. สํยุค (นปุ.) การรบกัน, สงคราม. สํโยค (ปุ.) กิเลสเครื่องประกอบพร้อม, กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ, การประกอบกัน, การอยู่ร่วมกัน, การผูกรัด, สังโยค คือ พยญชนะตัวที่ซ้อนตามระเบียบของไวยากรณ์. สํโยชน (นปุ.) กิเลสชาตเครื่องประกอบพร้อม, กิเลสชาตเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ, เครื่องประกอบ, เครื่องผูกรัด, เครื่องร้อยรัด, การประกอบ, ฯลฯ, ความประกอบ, ฯลฯ, สังโยชน์, สัญโญชน์ ชื่อของกิเลสที่ผูกใจสัตว์หรือร้อยรัดใจสัตว์อยู่. ยุตฺต ยุตตก (วิ.) ประกอบ, ควร, สมควร, ชอบ,ถูก, ถูกต้อง. ยุตฺติ (อิต.) การประกอบ, ฯลฯ, ความประกอบ, ฯลฯ, การตกลง, การจบ, การเลิก.  โยคฺค (ปุ.) การประกอบ, ฯลฯ, ความประกอบ, ฯลฯ. (นปุ.) ยาน, ยวดยาน.  โยชนา (อิต.) การประกอบ, ฯลฯ.

ยุชฺ สมาธิมฺหิ
มั่น มั่นคง ตั้งมั่น.  ก. ยุชติ. น. โยค (วิ.) มั่นคง, แข็งแรง, ควร, สมควร, ถูก, ถูกต้อง. (ปุ.) ความมั่นคง, ฯลฯ. โยคฺค (ปุ.) โยชน (นปุ.) ความมั่นคง, ฯลฯ.

ยุชฺ ปวตฺติยํ
เป็นไป เป็นอยู่ ไหลไป ประพฤติ. ก. ยุชติ. น. โยชท (อิต.) ความเป็นไป, ความรวบรวม.

ยุคฺ ภาสเน
กล่าว บอก เปล่ง เปล่งเสียง พูด. ก. โยตติ. น. โยตน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

ยุธฺ สมฺปหาเร
ต่อสู้ ต่อสู้กัน รบ รบกัน รบพรุ่ง. ก. โยธติ. น. ยุทฺธ (นปุ.) การต่อสู้, ฯลฯ, สงคราม. ยุทฺธนา (อิต.) การต่อสู้, ฯลฯ.

ยุส หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ยุสติ. น. ยุสน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

ยุสฺ เยสุ ปยตเน
เพียร พยายาม หมั่น ขยัน.  ก. เยสติ. น. เยสน (นปุ.) ความเพียร, ฯลฯ. ปริเยสน (นปุ.) การค้นหา, การเสาะหา, การแสวงหา, การอยากได้, ความค้นหา, ฯลฯ. วิปริเยส (ปุ.) วิปริเยสน (นปุ.) การแสวงหาผิด, ฯลฯ.

โยฏฺ สมฺพนฺเธ
เกี่ยวกัน เกี่ยวเนื่อง เกี่ยวข้อง ติดต่อ ติดต่อกัน ผูกพัน.  ก. โยฏติ. น. โยฏน (นปุ.) การเกี่ยวกัน, ฯลฯ, ความเกี่ยวกัน, ฯลฯ.

ร อักษร

รกฺขฺ ปาลเน
ปกครอง ดูแล คุ้มครอง ระวัง ป้องกัน พิทักษ์ เลี้ยง รักษา. ก. รกฺขติ. น. รกฺขณ รกฺขน (นปุ.) การเลี้ยง, ฯลฯ. รกฺขนก (ปุ.) คนเฝ้ายาม, คนยาม. รกฺขส (ปุ.) ผีเสื้อ, ผีเสื้อยักษ์, ผีเสื้อน้ำ, ยักษ์ร้าย, ยักษ์เลว, รักขสะ, รากษส ชื่อกำเนิดเทวดาอย่าง ๑ ใน ๘ อย่าง.

รขฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. รขติ. น. รขน (นปุ.) การไป, การเดิน, การดำเนินไป, ฯลฯ.

รขิ คติยํ
ไป ฯลฯ ก. รงฺขติ. น. รงฺขน (นปุ.) การไป, การเดินไป, การดำเนินไป, ฯลฯ.

รคิ รงฺคฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. รงฺคติ. น. รงฺค (ปุ.) การเดินไป, การดำเนินไป การถึง, การเป็นไป (นปุ.) น้ำ.

รคิ กงฺขายํ
แคลง เคลือบแคลง แคลงใจ กินแหนง ลังเล สงสัย ไม่แน่ใจ. ก. รงฺคติ. น. รงฺคน (นปุ.) ความแคลง, ฯลฯ.

รฆิ คตฺยกฺเขเป
กระโดด โลด (กระโดดด้วยอารมณ์ร่าเริง). ก. รงฺฆติ. น. รงฺฆ (ปุ.) รงฺฆน (นปุ.) การกระโดด, ฯลฯ.

รชุ รญฺชฺ ราเค
ย้อม กำหนัด ยินดี. รชติ. ถ้าตั้ง รญฺชฺ พึง แปลง ญฺ เป็นนิคคหิต แล้วลบ หรือ ลบ ญฺ เลยก็ได้. น. ราคา (อิต.) รคา ชื่อธิดามาร ๑ ใน ๓ ที่มาผจญพระมหาบุรุษ. รงฺค (ปุ.) สี, เครื่องย้อม, การย้อม, ที่ฟ้อนรำ, ที่เต้นรำ, สถานที่เต้นรำ, สถานที่ฟ้อนรำ, โรงละคร, ลาน, มหรสพ, ความกำหนัด, ความยินดี. รช (ปุ.) ผง,ฝุ่น, ละออง, ธุลี, ดินปืน, เกสร. รชก (ปุ.) คนซัก, คนฟอก, คนย้อม, ช่างซัก, ฯลฯ. รชต (นปุ.) เงิน.  รชน รชฺชน (นปุ.) น้ำย้อม, การย้อม, ความกำหนัด, ความยินดี. รตฺติ (อิต.) ความกำหนัด, ความยินดี, กลางคืน, ราตรี. ราค (ปุ.) ความย้อม, ฯลฯ.

รชิ วิชฺฌเน
เจาะ แทง ไช ยิง ขวิด ผ่า. ก. รญฺชติ. น. รญฺชน (นปุ.) การเจาะ. ฯลฯ.

รฏฺ รฐฺ ปริภาสเน
ด่า ฯลฯ. ก. รฏติ รฐติ. น. รฏน รฐน (นปุ.) การด่า, คำด่า, ฯลฯ.

รฐฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. รฐติ. รฏฺฐ (นปุ.) แว่นแคว้น, บ้านเมือง. (ปุ.) คนอยู่ในแว่นแคว้น, ชาวเมือง, ราษฎร.

รณฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. รณติ. น. รณ (ปุ.) การร้อง, เสียง, เสียงร้อง, การรบ, สงคราม, กิเลส, ความชั่ว, ความเสียหาย, บาป. รนฺธ (นปุ.) รู, ช่อง, โพรง.

รณฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. รณติ. น. รณน (นปุ.) การไป, การเดินไป, การดำเนินไป, ฯลฯ.

รทฺ วิเลขเน
ทำให้เป็นรอย ขีด เขียน ขูด เสือกไป สาง เกา. ก. รทติ. น. รจฺฉา (อิต.) ถนน, ทาง, ทางเดิน, ตรอก, รอย, รอยขีด. รท รทน (ปุ.) ฟัน, งา.

รปฺ วจเน
กล่าว พูด. ก. รปติ. น. ริปุ (ปุ.ป ข้าศึก, ปรปักษ์, ศัตรู,คนโกง.

รพิ ลมฺพเน
หน่วง ยึด แขวน ห้อย. ก. รพติ. น. รพน (นปุ.) รพนา (อิต.) ความหน่วง, ฯลฯ.

รภฺ ทารุเณ
หยาบช้า ร้าย ร้ายกาจ ดุร้าย โหดร้าย. ก. รภติ. น. รภส (วิ.) หยาบช้า, ฯลฯ เบียดเบียน.

รภฺ ปารมฺเภ
เริ่ม เริ่มต้น เริ่มแรก เบื้องต้น ตั้งต้น.  ก. รภติ. น. ปารมฺภ (ปุ.) การเริ่ม, การเริ่มตเน, ฯลฯ, กาลเริ่มต้น, ฯลฯ, เบื้องต้น, ความรำพึง.

รภฺ วายาเม
พยายาม เพียร หมั่น ขยัน.  ก. รภติ. น. รภน (นปุ.) ความพยายาม, ฯลฯ.

รภฺ ตุฏฺฐิยํ
แช่มชื่น รื่นรมย์ ยินดี. ก. รภติ. น. สุรภิ (ไตรลิงค์) ของหอม. เครื่งหอม, พิมเสน, สารภี ชื่อต้นไม้ดอกหอม ใช้ทำยาไทยอยู่ในกลุ่มเกษรทั้ ๕.

รมฺ รมุ รมเน
ยินดี รื่นรมย์ รื่นเริง พึงใจ เพลิดเพลิน บันเทิง. ก. รมติ. น. รมณ รมน (นปุ.) ความยินดี, ฯลฯ, ความสุก.  รตน (นปุ.) แก้ว, เพชร, พลอย, มณี, รตนะ ชื่อของวิเศษ ของมีค่าตลอดถึงคนและสัตว์. รมฺภา (อิต.) กล้วย, ต้นกล้วย. รนฺธ (นปุ.) รู, ช่อง, โพรง.

รมุ อุปรเม
งด ละ เว้น.  ก. รมติ. น. เวรมณี (อิต.) เจตนาเป็นเครื่องงด, เจตนาเป็นเครื่องละ, ฯลฯ, เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น, ความงด, ฯลฯ, ความงดเว้น.

รยฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. รยติ. น. รยน (นปุ.) การไป, ฯลฯ.

รยฺ ลหุคติยํ
เร็ว เร่ง รีบ แล่น ไว ด่วน พลัน.  ก. รยติ. น. รย (ปุ.) ความเร็ว, ฯลฯ.

รสฺ หานิยํ
เสื่อม สิ้น สลาย. ก. รสติ. น. รส (ปุ.) ความเสื่อม, ฯลฯ.

รสฺ กนฺติทิตฺตีสุ
ยินดี พอใจ ชอบใจ รุ่งเรือง สวยงาม สว่าง ส่องสว่าง กระจ่าง. ก. รสติ. รสฺมิ (อิต.) ความยินดี, ฯลฯ, รัศมี. รํสิ (อิต.) แสง,แสงสว่าง, รัศมี.

รสฺ สิเนหเน
เยื่อใย อาลัย เกี่ยวพัน ติดพัน รัก รักใคร่ ชอบใจ พอใจ. ก. รสติ. รส (ปุ.) รสน (นปุ.) รสนา (อิต.) ความเยื่อใย, ฯลฯ.

รสฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ ก. รสติ. น. รสนา (อิต.) สายรัดเอว, เครื่องประดับเอว, เข็มขัดหญิง. รส (ปุ.) ปรอท ชื่อธาตุชนิดหนึ่งมีลักษณะเหลว. รสฺส (วิ.) ต่ำ , เตี้ย, สั้น.

รหฺ อุปาทาเน
ถือมั่น ยึดถือ ยึดมั่น ยึดไว้. ก. รหติ. น. รถ (ปุ.) ยานมีล้อ, รถ, รัถ , รัถา. ราหุ (ปุ.) การผูก,เครื่องผูก, บ่วง.

รหฺ จาเค
สละ ละ เว้น.  ก. รหติ. น. รห (ปุ.) ภาวะอันบุคคลพึงสละ, บาปธรรมอันบุคคลพึงสละ, ฯลฯ, การสละ, ฯลฯ. ราหุ (ปุ.) ราหู, พระราหู ชื่ออสูรตนหนึ่ง มีตัวขาดครึ่งท่อน.

รหิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. รหติ. น. รห (ปุ.) รหน (นปุ.) การไป, การเดินไป, การดำเนินไป, การถึง, การบรรลุ, การเป็นไป, ความเป็นไป.

รหทฺ อพฺยตฺตสฺเท
ร้องดัง ร้องอย่างเสียงสัตว์. ก. รหทติ. น. รหท (ปุ.) รหทน (นปุ.) การร้องดัง, เสียงดัง, ฯลฯ.

รา อาทาเน
ถือ ถือเอา ยึด. ก. ราติ. น. รตฺติ (อิต.) กลางคืน, ราตรี. รา (อิต.) การถือ, การถือเอา, การยึดถือ, ทอง, ทองคำ, ทรัพย์, สมบัติ. สาคร (ปุ.) แม่น้ำ, ทะเล

ราขฺ โสทปฏิเสเธสุ
โศก แห้ง เหี่ยว เศร้า ห้าม ปฏิเสธ. ก. ราขติ. น. ราขน (นปุ.) ความโศก, ฯลฯ.

ราฆฺ สมตฺถิยํ
อาจ องอาจ ยิ่ง ยิ่งใหญ่ สามารถ. ห.ราฆติ. น. ราฆว (ปุ.) คนผู้อาจ, ฯลฯ.

ราชฺ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. ราชติ. น. ราช (ปุ.) ขัตติยะ ชนผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน, พระราชา ในหลวง (พระเจ้าแผ่นดิน). ราช นี้ แปลว่าพญา หรือ พระยา ได้ อุ. นาคราช พญานาค, พระยานาค.

ราสฺ ราสุ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. ราสติ. น. ราส (ปุ.) ราสน (นปุ.) เสียง, การออกเสียง, การเปล่งเสียง.

ริ สนฺตาเน
ติดต่อ สืบต่อ. ก. เรติ รยติ. น. เรณุ (ป.,อิต.) ผง, ฝุ่น, ละออง, ธุลี, เกสร, ละอองเกสร, ดินปืน.

ริ ปสวคตีสุ
ไหล ไหลออก ไหลไป ไป ฯลฯ. ก. เรติ. น. เรณุ (ปุ.,อิต) ผง ฯลฯ ดินปืน.

ริ ลหุคติยํ
แล่น เร่ง รีบ เร็ว ไว ด่วน พลัน.  ก. เรติ. น. รย (วิ.) แล่น, ฯลฯ. (ปุ.) ความแล่น, ฯลฯ.

ริ รี คมเน
ไป ฯลฯ. ก. เรติ. น. ริรี รีรี (อิต.) ทองเหลือง.

ริขิ ริคิ คมเน
ไป ฯลฯ. ก. ริงฺขติ ริงฺคติ. น. ริงฺขน ริงฺคน (นปุ.) การไป, การเดินไป, การดำเนินไป, การถึง, การบรรลุ, การเป็นไป, ความเป็นไป.

ริจฺ วิโรจเน
จากไป ปราศไป พลัดพราก ห่างเหิน ว่าง เปล่า ร้าง. ก. ริจติ. น. ริตฺต ริตฺตก (วิ.) จากไป, ฯลฯ, หาแก่นมิได้.

ริจฺ หายเน
ทรุดโทรม เสื่อม สิ้น สูญ. ก. ริจติ. น. ริตฺต ริตฺตก (วิ.) ทรุดโทรม, ฯลฯ, ว่าง, เปล่า หาแก่นมิได้.

ริจฺ วิเรจเน
ถ่าย ระบาย. ก. ริจติ. น. วิเรก (ปุ.) การถ่าย, การระบาย. วิเรก วิเรกจก วิเรจน วิเรจนเภสชฺช (นปุ.) ยาถ่าย, ยาระบาย.

ริสฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ริสติ. เรสติ. น. ริสน เรสน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ. ปุริส (ปุ.) ชาย, บุรุษ, (ผู้กำจัดนรก).

ริสฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ริสติ เรสติ. น. ริฏฐ (นปุ.) บาป, ความไม่งาม , ความไม่ดี. ริส (ปุ.) คนผู้ไป, ฯลฯ. นิรีส (ปุ.,นปุ.) ไถ, คันไถ.

รุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. รวติ โรติ. น. รุรุ (ปุ.) สัตว์จำพวกเนื้อ, กวาง, ค่าง, กระต่าย.

รุ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. รวติ โรติ. น. รุรุ (ปุ.) สัตว์จำพวกเนื้อ, กวาง, ค่าง, กระต่าย. รว (วิ.) ร้อง, ร้องไห้. รว (ปุ.) การเปล่งเสียง, การร้อง, การโห่ร้อง, การตะโกน.

รุ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. รวติ โรติ. น. รวิ (ปุ.) ดวงอาทิตย์ , พระอาทิตย์ , รพี, รำไพ.

รุกฺขฺ สํวรเณ
ระวัง ฯลฯ. ก. รุขติ. น. รุกฺข (ปุ.) ต้น, ต้นไม้, พฤกษ์, เฌอ, รุกขะ, รุกขา, รุกขัง.

รุจฺ รุจิ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. รุจติ โรจติ. น. รุจน โรจน (นปุ.) รุจิ (อิต.) ความรุ่งเรือง, ฯลฯ.

รุชฺ ภงฺคหึสาสุ
แตก หัก ยับเยิน กำจัด ทำลาย สลาย. ก. รุชติ. น. รุช (ปุ.) รุชน (นปุ.) รุชา (อิต.) ความแตก, ฯลฯ, ความเสียดแทง, ความไม่สบาย, ความเจ็บ, ความไข้, ความป่วยไข้,โรค.

รุฏฺ ปฏิฆาเต
ฆ่า ประหาร สังหาร ตี เบียดเบียน ทำลาย. ก. โรฏติ. น. โรฏน (นปุ.) การฆ่า, ฯลฯ.

รุฏิ เถยฺเย
ลัก ขโมย. ก. รุณฺฏติ. น. รุณฺฏก (ปุ.) โจร, ขโมย. รุณฺฏน (นปุ.) การลัก, การขโมย.

รุฐฺ ปทุสฺสเน
ทำให้บาดเจ็บ ทำให้เสียหาย ประทุษร้าย เบียดเบียน.  ก. โรฐติ. น. โรฐน (นปุ.) การทำให้บาดเจ็บ, ฯลฯ.

รุทฺ อสฺสุวิโมจเน
หลั่งน้ำตา ร้องไห้ ก. รุทติ โรทติ. น. โรท (ปุ.) รุณฺณ โรทน โรทิต (นปุ.) การหลั่งน้ำตา, การร้องไห้.

รุทิ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. รุนฺทติ. น. รุทฺท (วิ) กำจัด, ขจัด, ทำร้าย, ประทุษร้าย, เบียดเบียน, ดุร้าย, หยาบช้า. (ปุ.) พราน, นายพราน.  ลุทฺท ลุทฺทก (ปุ.) พราน, นายพราน.

รุภิ นิวารเณ
กัน กั้น ป้องกัน ห้าม. ก. รุมฺภติ. น. รุมฺภน (นปุ.) รุมฺภนา (อิต.) การกัน ฯลฯ.

รุสฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. รุสติ โรสติ. น. โรสน (นปุ.) การกำจัด.ฯลฯ.

รุสฺ โกเป
กำเริบ โกรธ ขึ้งเคียด แค้นเคือง ดุร้าย โหดเหี้ยม โกรธขึ้ง จำนงภัย. ก. รุสติ โรสติ. น. รุทฺธ (นปุ.) โรส (ปุ.) ความกำเริบ, ฯลฯ, ความจำนงภัย.

รุสฺ เลปเน
ฉาบ ทา ไล้ ชโลม. ก. รุสติ. น. รุสน (นปุ.) การฉาบ , ฯลฯ, การชะโลม.

รุหฺ รูหฺ ปาตุภาเว
ปรากฏ เกิด งอก ขึ้น งอกขึ้น.  ก. รุหติ รูหติ. น. รุกข (ปุ.) ต้น, ต้นไม้, พฤกษ์, เฌอ, รุกขะ, รุกขา ,รุกขัง. โรหิต (ปุ.) แดง, สีแดง, เลือด, ปลาตะเพียน

เร สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. รายติ. แปลง เอ เป็น อาย. น. รา (อิต.) เสียง สำเนียง, การกล่าว,คำกล่าว, คำพูด, วาจา.

โรสฺ ภเย
หวาด สะดุ้ง กลัว. ก. โรสติ. น. โรสน (นปุ.) ดรสนา (อิต.) ความหวาด, ฯลฯ.

โรฬฺ อนาทเร
ไม่เอื้อ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เอาใจใส่ ไม่พะวง ไม่นำพา เฉยเมย คร้าน เกียจคร้าน, เบียดเบียน ฯลฯ. ก. โรฬติ. น. โรฬน (นปุ.) ความไม่เอื้อเฟื้อ ฯลฯ.

ล อักษร

ลกุฏิ วามเน
ต่ำ เตี่ย ค่อม สั้น.  ก. ลกุณฺฏติ. น. ลกุณฺฏก (ปุ.) คนต่ำ, คนเตี้ย, ฯลฯ.

ลขฺ ลขิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ลขติ ลงฺขติ. น. ลขน ลงฺขน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป, ความเป็นไป.

ลคฺ กงฺขายํ
เคลือบแคลง สงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ. ก. ลคติ. น. ลคน (นปุ.) ความเคลือบแคลง, ฯลฯ.

ลคฺ ลคฺคฺ สงฺเค
ข้อง เกี่ยวข้อง เกี่ยวพัน ขัด ติด ยึดเหนี่ยว แขวน.  ก. ลคติ ลคฺคติ. น. ลคน ลคฺคน (นปุ.) ความข้อง, ฯลฯ, ลคุล ลคุฬ ลคฺคุล ลคฺคุฬ (ปุ.) ค้อน, ไม้ค้อน, ไม้ตะบอง.

ลคฺ ลคฺคฺ สงฺกายํ
รังเกียจ ระแวง เคลือบแคลง สงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ. ก. ลคติ. ลคฺคติ. น. ลคน ลคฺคน (นปุ.) ความรังเกียจ, ฯลฯ, ความไม่แน่ใจ.

ลคิ ลงฺฆฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ลงฺคติ ลงฺฆติ. น. ลงฺคิ ลงฺคี (อิต.) กลอน, กลอนประตู, กลอนเหล็ก, ลิ่ม, เครื่องกีดขวาง.

ลฆิ ลงฺฆฺ คตฺยกฺเขเป
กระโดด โผน โลด. ก. ลงฺฆติ. น. ลงฺฆน (นปุ.) การกระโดด, ฯลฯ, การโลดโผน.

ลฆิ ลงฺฆฺ วจเณ
กล่าว บอก พูด. ก. ลงฺฆติ. น. ลงฺฆน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว,ฯลฯ,ถ้อยคำ.

ลฆิ ลงฺฆฺ โสสเน
ผาก แห้ง เหี่ยว โศก.  ก. ลงฺฆติ. น. ลงฺฆน (นปุ.) ความผาก, ฯลฯ.

ลฉิ ลญฺฉฺ ลกฺขเณ
หมาย เป็นเครื่องหมาย เจิม ประทับตรา พิมพ์. ก. ลญฺฉติ น. ลญฺจ ลญฺฉ (ปุ.,นปุ.) สินบน, สินจ้าง, ของกำนัล, รอย, ตรา, เครื่องหมาย. ลญฺจน ลญฺฉน (นปุ.) เครื่องหมาย, รอย, ตรา, ตราตั้ง, ตราประทับ, การพิมพ์.

ลชฺ ปตทิตฺติปจเนสุ
ตก หล่น ล้ม รุ่งเรือง ฯลฯ ทอด คั่ว ฯลฯ. ก. ลชติ. น. ลชน (นปุ.) การตก,ฯลฯ.

ลชิ วิคตภูสาปีฬเนสุ
เปลื่อย เปล่า เบียดเบียน บีบคั้น.  ก. ลญฺชติ. น. ลญฺชน (นปุ.) การเปลือย, ฯลฯ.

ลชฺชฺ ลชฺชเน
ละอาย ละอายใจ เกลียดบาป. ก. ลชฺชติ. น. ลชฺชน (นปุ.) ลชฺชา (อิต.) ความละอาย, ฯลฯ.

ลฏฺ ปริภาสพาเลยสุ
ด่า ฯลฯ อ่อน เขลา โง่. ก. ลฏติ. น. ลาฏ (ปุ.) การด่า, คำด่า, ความอ่อน, ความเขลา, ความโง่.

ลฏฺ ปริภาสเน
ด่า ฯลฯ. ก. ลฏติ. น. ลาฏ (ปุ.) การตัดพ้อ, การติเตียน, การกล่าวโทษ, การต่อว่า, การด่า, การด่าว่า, คำตัดพ้อ, ฯลฯ, คำบริภาษ.

ลฏฺ พาเลย
อ่อน เขลา โง่. ก. ลฏติ. น. ลาฏ (ปุ.) ความอ่อน, ความโง่, ความเขลา, ความดิบ.

ลฑิ ชิวฺหามถเน
บด บี้ (ด้วยลิ้น). ก. ลณฺฑติ. น. ลณฺฑน (นปุ.) การบดด้วยลิ้น, การบี้ด้วยลิ้น.

ลฑิ ชิคุจุฉเน
เกลียด รังเกลียด. ก. ลณฺฑติ. น. ลณฺฑน (ปุ.,นปุ.) คูก, ขี้, อุจจาระ.

ลปฺ วจเน
กล่าว พูด ทักทาย เจรจา ปราศรัย. ก. ลปติ. น. ลปก (ปุ.) คนพูด, คนพูดเพ้อ, คนบ่อเพ้อ. ลปน (นปุ.) ลปนา (อิต.) อันกล่าว, การกล่าว, ฯลฯ, การปราศรัย, การบ่น, การบ่นเพ้อ, การบ่นพึมพำ, ปาก, หน้า. ลาป (ปุ.) การออกเสียง, การร้องเรียก, การกล่าว, การพูด, การเจรจา. วิลาป (ปุ.) การกล่าวด้วยวิโยคเหลือเกิน, การกล่าวต่าง ๆ นานา, การพิไรรำพัน, การร่ำไรรำพัน, การโอดครวญ, การคร่ำครวญ, การบ่นเพ้อ, การร้องไห้ร่ำไร. อาลปน (นปุ.) อาลปนา (อิต.) การร้องเรียก, การบอกกล่าว, การกล่าว, การพูด, การสนทนา, คำทัก, คำร้องเรียก, คำกล่าวโดยทำต่อหน้า.

ลพิ ลมฺพฺ อาลมฺพเน
หน่วงไว้ ยึดหน่วง ห้อยย้อย ล้า ชักช้า ยืดยาด. ก. ลมฺพติ. น. ลมฺพ (วิ.) หน่วงไว้, ฯลฯ. ลาปุ ลาพุ ลาวุ (อิต.) ลาพุก (ปุ.) น้ำเต้า.

ลภฺ ปตฺติยํ
ไป ถึง บรรลุ. ก. ลภติ. น. ลทฺธ (วิ.) ไป, ฯลฯ. ลทฺธิ (อิต.) การไป, ฯลฯ, ความคิดเห็น, แบบแผน ที่เชื่อกันสืบ ๆ มา.

ลภฺ ลาเภ
ได้. ก. ลภติ. น. ลาภ (ปุ.) อันได้, การได้, การได้ของ (ทรัพย์) มาด้วยการทำงาน.  ลพฺภ (วิ.) ควรได้, พึงได้. ลภน (นปุ.) ลภนา (อิต.) การได้, ความได้.

ลมฺ นินฺทายํ
ติเตียน กล่าวร้าย ยกโทษ ชั่ว, ชั่วช้า, ต่ำ, ต่ำช้า, เลว, เลวทราม, สกปรก, โหด. ก. ลมติ.

ลย สามยคตีสุ
เสมอกัน เท่ากัน ไป ฯลฯ. ก. ลยติ. ลย (ปุ.) ความเสมอกัน, ความเท่ากัน, การไป, ฯลฯ, จังหวะ, ลยะ เสียงที่ประสานกันทั้งร้องทั้งดนตรี.

ลลฺ วิลาเส
เยื้องกราย กรีดกราย เดินอย่างมีท่างาม เดินอย่างงดงาม. ก. ลลติ. น. ลลนา (อิต.) หญิงน่าเอ็นดู, หญิงงาม, หญิง, ผู้หญิง, ผุ้หญิงพิเศษ. ลลิต (นปุ.) การเยื้องกราย, ฯลฯ. ลีลา (อิต.) การเยื้องกราย, ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, ลีลา กิริยาน่าเสน่หาของหญิง.

ลลฺ อิจฺฉายํ
ปรารถนา ยินดี เพลิดเพลิน ใส่ใจ อยากได้ ใคร่ หวัง ต้องการ. ก. ลลติ. น. ลลนา (อิต.) ความปรารถนา, ฯลฯ, หญิงที่น่าปรารถนา, ฯลฯ.

ลสฺ กนฺติยํ
ยินดี ชอบ ชอบใจ พอใจ รัก รักใคร่ น่ารัก.  ก. ลสติ. ลส (ปุ.) ลสน (นปุ.) ความยินดี, ฯลฯ. ลส (ปุ.) ความขยัน, คนขยัน.  ลสุณ (นปุ.) กระเทียม, หัวกระเทียม. ลาลสา (อิต.) ตัณหาอันแรงกล้า.

ลสฺ สิเลสเน
กอด กอดรัด ติดกัน ติดต่อ ติดต่อกัน ข้อง ข้องอยู่ เกี่ยวข้อง เป็นยาง เป็นยางเหนียว. ก. ลสติ. น. ลสิก (ปุ.) ลสิกา (อิต.) ไขข้อ. ลสี (อิต.) ไขข้อ, มันสมอง.

ลสฺ ลาสิยโยเค
เล่น เต้นรำ โห่ร้อง. ก. ลสติ. ลาส (ปุ.) ลาสน (นปุ.ป การเล่น, การรำ, การเต้นรำ, การฟ้อนรำ, การเล่นเต้นรำ, การโห่ร้อง, การเล่นโห่ร้อง.

ลสฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ลสติ. น. ลสน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป, ความเป็นไป.

ลฬฺ กนฺติกีฬเนสุ
ยินดี ชอบ ฯลฯ น่ารัก เล่น รื่นเริง ฯลฯ. ก. ลฬติ. ลฬน (นปุ.) ความยินดี, ฯลฯ, การเล่น, ฯลฯ.

ลา อาทาเน
จับ ถือ ถือเอา ยึด ยึดถือ. ก. ลาติ. น. ลาขา (อิต.) ครั่ง. ลาลา (อิต.) น้ำลาย. ลามก (วิ.) โฉด, ถ่อย, ชั่ว, ชั่วช้า, ต่ำ, ต่ำช้า, เลว, เลวทราม, สกปรก, โหด. (ปุ.) ความโฉด, ฯลฯ. พหุล (วิ.) เจริญ ,นักหนา, หนักหนา, มาก.  ราหุล (ปุ.) พระราหุล. สาล (ปุ.) ต้นไม้, รัง, ต้นรัง, ต้นสาละ. ลาขา (อิต.) ครั่ง.

ลา พนฺธเน
ผูก พัน มัด รัด. ก. ลาติ. น. ราหุล (ปุ.) พระราหุล. ลาน (นปุ.) การผูก, ฯลฯ, การรัด.

ลา เฉทเน
ตัด โกน ปัน แบ่ง ผ่า ทอน เฉือน เชือด แขวะ ควัก ขาด ทะลุ แตก ทำลาย สลาย. ก. ลาติ. น. พาล (วิ.) ผู้ตัดประโยชน์ทั้งสองคือประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น.

ลาขุ โสเก
แห้ง เหี่ยว ผาก เศร้า, โศก.  ก. ลาขติ. น.  ลาขา (อิต.ป ครั่ง.

ลาขฺ ปฏิเสเธ
ห้าม ปฏิเสธ. ก. ลาขติ. น. ลาขน (นปุ.) การห้าม, การปฏิเสธ, การไม่รับ, การไม่ยอมรับ.

ลาฆฺ สมตฺถิยํ
อาจ องอาจ สามารุ. ก. ลาฆติ. น. ลาฆน (นปุ.) ความอาจ, ความองอาจ, ความสามารถ.

ลาชฺ ภสฺสเน
ทอด คั่ว. ก. ลาชติ. น. ลาช (ปุ.) ลาชา (อิต.) ข้าวตอก.

ลาชฺ ปตนวจเนสุ
ตก หล่น ล้ม กล่าว พูด เจรจา. ก. ลาชติ. น. ลาชน (นปุ.) การตก, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

ลิขฺ เลขเน
ขีด เขียน ขูด. ก. ลิขติ ลิกฺขติ. ซ้อน กฺ. น. เลข (ปุ.) การขีด, การเขียน, แถว, แนว, แนวทาง, แนวไพร, ถ่องแถวป่า. เลขก (ปุ.) เสมียน.  เลขน (นปุ.)การขีด, การเขียน, รอยเขียน, ลายมือ, ลวดลาย, ตัวอักษร. เลขา (อิต.) การขีด, การเขียน , รอย, รอยเขียน, ลาย, ลายมือ,ลวดลาย, เส้นบรรทัด, หนังสือ, ตัวหนังสือ, อักษร, เลข, ไร่, ไร่ป่า, แถว, แนว, แนวทาง, ถ่องแถว, แนวไพร. ลิขิต (นปุ.) การขีด, การเขียน, รอยขีด, รอยเขียน, หนังสือ, จดหมาย.

ลิคิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ลิงฺคติ. น. ลิงฺค (นปุ.) อาการ, ลักษณะ, ชนิด. อย่าง, รูปพรรณ, รูปลักษณ์, นิมิต, นิมิตบุรุษ, นิมิตสตรี, ของลับ (องคชาต) , เพศ , ลิงค์ (ประเภทของคำในไวยากรณ์).

ลิคิ จิตฺตีกรเณ
ตระการ งาม งดงาม สวย สวยงาม วิจิตร. ก. ลิงฺคติ. น. ลิงฺค (นปุ.) อาการ, ฯลฯ.

ลิปฺ ลิปิ อุปเลปเน
เข้าไปทา ฉาบ ทา ไล้ ลูบไล้ โบก ติด ติดอยู่ เปื้อน.  ก. ลิปฺปติ เลปติ ลิมฺปติ. น. ลิปิ (อิต.) การเขียน, ตัวหนังสือ, อักษร. ลิมฺปก (ปุ.) คนผู้ฉาบ, ฯลฯ, ช่างฉาบ, ฯลฯ. ลิมฺปน (นปุ.) การฉาบ, ฯลฯ.

ลิหฺ ลีหฺ อสฺสาทเน
ยินดี พอใจ ชอบใจ เพลิน เพลิดเพลิน.  ก. ลิหติ ลีหติ เลหติ. น. ลิฬฺหา (อิต.) การยุรยาตร, การยูรยาตร (เดิน), การเยื้องกราย, ท่าทาง, ความสบาย, ความงาม. ฬปัจ. แปรไว้หน้า ห. เลห (นปุ.) ความยินดี, ฯลฯ.

ลิหฺ ลีหฺ นิลฺเลเห
เลีย ลิ้ม ชิม ขอด. ก. ลิหติ ลีหติ เลหติ. น. เลห (นปุ.) การเลีย, ฯลฯ.

ลุญฺจ อปนยเน
ถอน ทิ้ง ถอนทิ้ง. ก. ลุญฺจติ. น. ลุญฺจน (นปุ.) การถอน, ฯลฯ.

ลุฏฺ โลลกรหึสาสุ
ทำให้ปั่นป่วย คน กวน กำจัด ฯลฯ. ก. โลฏติ. น. โลฏน (นปุ.) การทำให้ปั่นป่วน, ฯลฯ.

ลุฏิ เถยฺเย
ลัก ขโมย. ก. ลุณฺฏติ. น. ลุณฺฏน (นปุ.) การลัก, การขโมย.

ลุฐฺ อุปฆาเต
เบียดเบียน ประทุษร้าย ฯลฯ. ก. โลฐติ. น. โลฐน (นปุ.) การเบียดเบียน, ฯลฯ.

ลุฐฺ สํกิเลเส
เปรอะเปื้อน เศร้าหมอง. ก. โลฐติ. ก. โลฐน (นปุ.) ความเปรอะเปื้อน, ฯลฯ.

ลุฐิ อลสเน
หยุด ชะงัก เกลียดคร้าน.  ก. ลุณฺฐติ. น. ลุณฺฐ (ปุ.) คนเกียจคร้าน.

ลุฐิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ลุณฺฐติ. น. ลุณฺฐน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป, ความเป็นไป.

ลุถิ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ลุนฺถติ. น. ลุนฺถน (นปุ.) การกำจัด ,ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ.

ลุถิ สํกิเลเส
เลอะ เปรอะ เปรอะเปื้อน เศร้าหมอง. ก. ลุนฺถติ. น. ลุนฺถน (นปุ.) ความเลอะ, ฯลฯ.

ลุทิ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ลุนฺทติ. น. ลุทฺท (วิ.) กำจัด, ฯลฯ, เบียดเบียน, ดุร้าย, ร้ายแรง, หยาบ, หยาบช้า, เหี้ยม โหด โหดเหี้ยม. ลุทฺท ลุทฺทก (ปุ.) คนร้าย, คนดุร้าย, พราน, นายพราน.

ลุธฺ อุปฆาเต
เข้าไปเบียดเบียน ประทุษร้าย ทำร้าย ฯลฯ ฆ่า ประหาร. ก. ลุธติ. น. ลุทฺท ลุทฺทก (ปุ.) คนร้าย, ฯลฯ, พราน , นายพราน.

ลุพิ อทฺทเน
ชื้น ชุ่ม เปียก แฉะ อาบ ซึม. ก. ลุมฺพติ. น. ลุมฺพน (นปุ.) ความชื้น, ฯลฯ.

ลุภฺ วิโมหเน
ลุ่มหลง หมกมุ่น มัวเมา. ก. โลภติ. น. โลภน ปโลภน (นปุ.) ความลุ่มหลง, ฯลฯ.

ลุภฺ ปโลภเน
ประโลม เล้าโลม ปลอบ เอาใจ ประเล้าประโลม. ก. โลภติ. น. ปโลภ (ปุ.) ปโลภน (นปุ.) การประโลม, ฯลฯ, ความประโลม, ฯลฯ

ลุลฺ ลุฬฺ มนฺถเน
กวน คน คลุกเคล้า ขุ่น มัว ขุ่นมัว. ก. ลุลติ ลุฬติ. น. วิโลลน วิโลฬน (นปุ.) การกวน, ฯลฯ.

เลฑฺฑฺ สงฺฆาเต
ติดต่อ ติดต่อกัน รวม รวมกัน ระคน ระคนกัน คละกัน ปนกัน รก รุงรัง เบียดเบียน ฆ่า ประหาร. ก. เลฑฺฑติ. น. เลฑฺฑุ (ปุ.) ก้อน, ก้อนดิน, ท่อน, เม็ด, การเบียดเบียน, ฯลฯ.

โลกฺ ทสฺสเน
เห็น ดู แล แลดู แลเห็น.  ก. โลกติ. น. โลก (ปุ.) โลก.  (นปุ.) แผ่นดิน.  โลกน (นปุ.) การเห็น, ฯลฯ.

ลุจฺ โลจฺ ทสฺสเน
เห็น ฯลฯ. ก. โลจติ. น. โลจน (นปุ.) การเห็น, ฯลฯ, ตา, ดวงตา, จักร, เนตร, นัยน์ (ตา) , นัยน์ตา.

โลลฺ โฬลฺ อุมฺมาเท
มัวเมา ประมาท เลินเล่อ ลุ่มหลง เป็นบ้า. ก. โลลติ โฬลติ. น. โลล โลฬ (วิ.) เหลวไหล. เหลาะแหละ, โลเล, ไม่แน่นอน.


ว อักษร

วกฺ อาทาเน
จับ จับเอา ถือ ถือเอา ยึด ยึดถือ. ก. วกติ. น. วก (ปุ.) หมาป่า, หมาใน.  วกุล (ปุ.) พิกุล, ต้นพิกุล, ไม้พิกุล. วกฺก (นปุ.) ไต. เมื่อก่อนแปลว่า ม้าม. วณิพฺพก (ปุ.) คนผู้พรรณาซึ่งผลของทานแล้วจึงถือเอา, วณิพพก.

วกฺ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. วกติ. น. วกน (นปุ.) ความรุ่งเรือง, ความสวยงาม, ฯลฯ.

วกฺ ปฏิฆาเต
ตี ฟัน ฆ่า ทำลาย ประหาร. ก. วกติ. น. วกน (นปุ.) การตี, การฟัน, ฯลฯ.

วกฺ ยาจเน
ขอ ร้องขอ ร่ำของ ร้องขอ วอน วิงวอน.  ก. วกติ. น. วกน (นปุ.) การขอ, ฯลฯ. วกฺกล (ปุ.,นปุ.) เปลือก, เปลือกไม้.

วกฺข อรเณ
ระวัง ป้องกัน.  ก. วกฺขติ. น. วกฺข (ปุ.) ต้นไม้. วกฺขน (นปุ.) การระวัง, ฯลฯ.

วกฺขฺ โกเธ
กำเริบ โกรธ เคือง ขึ้งเคียด ดุร้าย โหด เหี้ยม โหดเหี้ยม. วกฺขติ. น. วกฺขน (นปุ.) ความกำเริบ,ฯลฯ.

วกิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. วงฺกติ. น. วงฺกน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความเป็นไป.

วคฺค คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. วคฺคติ. น. วคฺค (ปุ.) หมู่ (คน สัตว์ และสิ่งของที่เสมอกันโดยชาติเป็นต้น), ฝูง, หมวด, พวก, ประชุม, กอง, คณะ, กลุ่ม, ตอน.  วคฺคติ (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความเป็นไป. วคฺคุ (วิ.) ไพเราะ, เสนาะ, งาม, ดี, ดีนัก, เป็นที่ชอบใจ.

วํกฺ วงฺกฺ โกฏิลฺเล
คด โค้ง โกง งอ บิด เป็นเกลียว. ก. วํกติ วงฺกติ. น. วํก วงฺก (วิ.) คด, ฯลฯ, เป็นเกลียว, คดโกง, คดเคี้ยว, ลดเลี้ยว, ไม่ซื่อตรง, เก.  (ปุ.) วงก์ ชื่อภูเขา, เขาวงก์. วงฺก (ปุ.) เบ็ด. (นปุ.) ไถ ชื่อเครื่องมือทำนา. สตวํก สตวงฺก สตฺตวํก สตฺตวงฺก (ป.) กุ้ง.

วคิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. วงฺคติ. น. วงฺค (ปุ.) วังคะ ชื่อชนบท ๑ ใน ๒๑ ของอินเดียโบราณ. (นปุ.) ถ้อยคำ.

วจฺ วิยตฺติยํ วาจายํ
กล่าว พูด บอก สอน.  ก. วจติ วตฺติ. แปลง จฺ เป็น ตฺ ลบ อ ปัจฺ วจ (ปุ.) วจน (นปุ.) คำ, ถ้อยคำ, คำพูด, คำกล่าว, การพูด, การกล่าว, ฯลฯ, วาจา.

วจฺ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. วจติ. น. วจน (นปุ.) วจนา (อิต.) ความรุ่งเรือง, ฯลฯ.

วจิ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. วญฺจติ. น. วญฺจน (นปุ.) วญฺจนา (อิต.) ความรุ่งเรือง, ฯลฯ.

วณิ อิจฺฉายํ
ปรารถนา ยินดี เพลิน เพลิดเพลิน อยาก อยากได้ ใคร่ หวัง มุ่งหวัง ใส่ใจ ต้องการ. ก. วญฺฉติ. น. วญฺฉน (นปุ.) ความปรารถนา, ฯลฯ.

วชฺชฺ วชฺชเน
ละ เว้น งด. ก. วชฺชติ. น. วชฺช (นปุ.) โทษอันบุคคลพึงละ, การละ, ฯลฯ.

วญฺจุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. วญฺจติ. น. วญฺจ (ปุ.) มะขาม, ต้นมะขาม. วญฺจน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความเป็นไป.

วญฺจฺ วญฺจุ ปลมฺภเน
กล่อม เกลี้ยกล่อม ประเล้าประโลม ลวง ล่อลวง หลอกลวง คด คดโกง พราง ปลอม. ก. วญฺจติ. น. วญฺจก (ปุ.) คนเกลี้ยกล่อน, ฯลฯ. วญฺจน (นปุ.) การกล่อม, ฯลฯ, การปลอม. วญฺจนิก (ปุ.) คนโกง, คนโกงคนอื่นซึ่งหน้า.

วชฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. วชติ. วช (ปุ.) คอก, คอกสัตว์, คอกโค. วชิร  (ไตรลิงค์) เครื่องมือเจียรไนแก้ว, สายฟ้า, อาวุธพระอินทร์. (ปุ.,นปุ.) แก้ว, เพชร ชื่อรตนะอย่าง ๑ ใน ๗ อย่าง เป็นแก้วแข็งที่สุดและมีน้ำแวววาวกว่าพลอยอื่น ๆ.

วฏฺ เวฐเน
พัน พัวพัน ผูก โพก.  ก. วฏติ. น. วฏ (ปุ.) ไทร, ต้นไทร. วฏก (ปุ.) ช่างทำสร้อย. พฺยาวฏ พฺยาวต (วิ.) ขวนขวาย, พยายาม, กระตือรือร้น.  วาฏ (ปุ.) การพัน, ฯลฯ, วง. วิวฏก (นปุ.) การเปิดเผย.

วฏิ ธารเณ
ทรง ทรงไว้ ตั้ง ตั้งอยู่ รับ รับไว้ วาง วางไว้. ก. วณฺฏติ. น. วณฺฏน (นปุ.) การทรง, ฯลฯ.

วฏิ พนฺธสนฺตาเนสุ
ผูก พัน ฯลฯ ติดต่อ ต่อเนื่อง สืบต่อ. ก. วณฺฏติ. น. วณฺฏ (นปุ.) ขั้ว, ก้าน, ก้านตาล, ทาง, ทางมะพร้าว.

วฏิ วิภาชเน
แบ่ง แจก จำแนก แยก.  ก. วณฺฏติ. วณฺฏ (นปุ.) ขั้ว, ก้าน, ทาง.

วฏฺฏฺ อาวฏฺฏเน
หมุน วน เวียน วนเวียน หมุนเวียน เวียนไป กรอ เป็นไป ควร สมควร ถูก ถูกต้อง. ก. วฏฺฏติ. น. วฏฺฏ (ปุ.,นปุ.) การหมุน, ฯลฯ, การวนเป็นวงกลม, การเวียนว่ายตายเกิด, การเวียนเกิดเวียนตาย. (นปุ.) วัตถุอันบุคคลถึงให้เป็นไป, วัตถุเป็นเครื่องเป็นไป. วฏฺฏ (วิ.) กลม, กลมกล่อม, วน, หมุน, ฯลฯ. (ปุ.) รายจ่าย, ค่าใช้สรอย, เสบียง.

วฐฺ ถูลิเย
อ้วน ใหญ่ ล่ำ. ก. วฐติ. น. วจร (วิ.) อ้วน, ใหญ่, อ้วนใหญ่, ล่ำ, ล่ำสัน.

วฐิ เอกจริยายํ
ประพฤติคนเดียว ประพฤติความเป็นคนเดียว โดดเดียว โดดเดี่ยว. ก. วณฺฐติ. น. วณฺฐน (นปุ.) การประพฤติความเป็นคนเดียว, ฯลฯ.

วฑิ เวฐเน
พัน พัวพัน เกี่ยวพัน ผูก ผูกพัน เกี่ยวโยง โพก.  ก. วณฺฑติ. น. วณฺฑ (ปุ.,นปุ.) ขั้ว, ก้าน, ทาง.

วฑฺฒฺ วฑฺฒเน
เจริญ จำเริญ เจริญขึ้น ทวี ทวีขึ้น งอกงาม เติบโต ก้าวหน้า. ก. วฑฺฒติ. น. วฑฺฒน (นปุ.) วุฑฺฒิ (อิต.) ความเจริญ, ฯลฯ.

วณฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. วณติ. น. พาณ วาณ (ปุ.) ลูกธนู, ลูกศร, ลูกปืน, เสียง. พาณิช วาณิช วาณิชก (ปุ.) คนค้าขาย, พ่อค้า (พูดเชิญให้ซื้อ). พาณิชฺช วาณิชฺช (นปุ.) การค้า, การค้าขาย.

วณฺณฺ ฐปเน
ตั้ง ตั้งไว้ ตั้งอยู่ ดำรง ดำรงอยู่. ก. วณฺณติ. น. วณฺณ (ปุ.) สัณฐาน, ทรวดทรง, ขนาด, ประมาณ, รูป, ชาติ, กำเนิด, ตระกูล, พวก, เพศ, ผิว, ฉวี, สี, แสง, รัศมี, ทอง, ทองคำ, ชนิด, อย่าง, มริยาทะ, วรรณะ ชื่อของชน ๔ ชาติ ซึ่งถือตัวไม่ยอมให้ระคนกันคือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร.

วณฺณฺ ปสํสายํ
ชม ชื่นชม ยินดี ชมเชย ยกย่อง สรรเสริญ เชิดชู เทิดทูล. ก. วณฺณติ. น. วณฺณ (ปุ.) คุณอัน. ..พึงชม, ความชม, ฯลฯ, ความดี, คุณ, ยศ. วณฺณนา (อิต.) การชม, ฯลฯ, คำชม, ฯลฯ.

วณฺณฺ ปกาสเน
ประกาศ ป่าวร้อง แจ้งให้ทราบ โฆษณา ปรากฏ แสดงออกให้เห็น แสดงออกมาให้เห็น.  ก. วณฺณติ. น. ปกาสก (ปุ.) คนผู้ประกาศ, คนผู้โฆษณา, คนโฆษณา, โฆสก.  ปกาสน (นปุ.) การประกาศ, ฯลฯ. วณฺณ (ปุ.) อักขระ, อักษร, ตัวหนังสือ.

วณฺณฺ วิตฺถาเร
แผ่ ขยาย กว้างขวาง แพร่หลาย ถี่ถ้วน ละเอียดละออก ยืดยาว พิสดาร. ก. วณฺณติ. น. วณฺณนา (อิต.) การแผ่, ฯลฯ.

วณฺณฺ วจเน
กล่าว บอก พูด พูดอย่างละเอียด พรรณนา. ก. วณฺณติ. น. วณฺณนา (อิต.) การพรณนา, วาจาเป็นเครื่องพรรณนา, วาจาเป็นเครื่องกล่าวพรรณนา, วาจาเป็นเครื่องพรรณนาซึ่งเนื้อความ, วาจาเป็นเครื่องอันท่านกล่าวพรรณนาซึ่งเนื้อความ, อรรถกถาเป็นเครื่องอันท่านกล่าวพรรณนาซึ่งเนื้อความ (แห่งพระบาลี), คำบอกเล่า, คำอธิบาย, คำชี้แจง, อัฏฐกถา, อัตถกถา, อรรถกถา. สํวณฺณนา (อิต.) วาจาเป็นเครื่องอันท่านพรรณนาพร้อมซึ่งเนื้อความ, วาจาเป็นเครื่องอันท่านพรรณนาซึ่งเนื้อความ.

วณฺณฺ วณฺณกริยายํ
ทำให้เป็นสี ย้อม ย้อมสี ลูบไล้. ก. วณฺณติ. วณฺณ (ปุ.) ผิว, สี, แสง, วัณณะ , วรรณะ สีของชนชาติ ๔ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร. วณฺณก (นปุ.) เครื่องทา, เครื่องลูบไล้.

วตฺ ยาจเน
ขอ ร้องขอ วอน วิงวอน ร่ำขอ อ้อนวอน.  ก. วตติ. น. วตน (นปุ.) การขอ, ฯลฯ.

วตุ วตฺตเน
เป็นไป เป็นอยู่ เลี้ยงชีวิต ประพฤติ ปฏิบัติ. ก. วตติ. น. วต (ปุ.,นปุ.) ความเป็นไป, ฯลฯ การเลี้ยงชีวิต ฯลฯ, ความเลี้ยงชีวิต, ฯลฯ, ข้อปฏิบัติ, ธรรมเนียม, ประเพณี.

วตุ วตฺตฺ วตฺตเน
เป็นไป ฯลฯ. ก. วตฺตติ. ถ้าตั้ง วตุ พึงซ้อน ตฺ. น. วตฺต วตฺร (นปุ.) การเป็นไป, ฯลฯ, ความเป็นไป, ฯลฯ, ศีลาจาร, ข้อประพฤติ, ข้อปฏิบัติ, ขนบ, ทำนอง, ธรรมเนียม, ประเพณี, แบบ, แบบอย่าง, มารยาทอันบุคคลถึงประพฤติโดยความเอื้อเฟื้อ, มารยาทอันดี, กิจอันบุคคลพึงกระทำ, กิจอันเป็นหน้าที่, อัธยาศัย, กรรมอันงาม, กรรมอันหมดจด, ฉันท์ชื่อคำประพันธ์ที่บังคับครุลหุ, วัตร, พัตร. วตฺตน (นปุ.) วตฺตนา (อิต.) การเป็นไป, ฯลฯ.

วตฺตฺ สมาทาเน
จำ ถือ ถือเอา รับเอา. ก. วตฺตติ. น. วตฺต วตฺร (นปุ.) การจำ, การถือ, การจำศีล, การถือศีล, ฯลฯ, ศีล, พรต.

วทฺ วิยตฺติยํ วาจายํ
กล่าว พูด. ก. วทติ. น. วตฺตุ วท (วิ.) ผู้กล่าว, ฯลฯ. วท (ปุ.) คำกล่าว, คำพูด, คนผู้กล่าว, คนผู้พูด. วทน (นปุ.) อวัยวะเป็นเครื่องพูด, อวัยวะสำหรับพูด, ปาก, หน้า. วชฺช (นปุ.) คำอันบุคคลพึงกล่าว, คำ, คำกล่าว, คำพูด, ถ้อยคำ, เครื่องดีดสีตีเป่า, ดนตรีที่ใช้ดีดสีตีเป่า, กลอง. วาท (ปุ.) วาทน (นปุ.) อันกล่าว, อันแสดง, การกล่าว, การแสดง, คำ, คำกล่าว, คำพูด, ถ้อยคำ.

วทฺ ปากฏ
แจ้ง แจ่มแจ้ง  โล่งแจ้ง เห็นชัด ปรากฏ. ก. วทติ. น. วชฺช (นปุ.) โทษ, ความผิด.

วทฺธฺ วุทฺธิยํ
เจริญ งอกงาม รุ่งเรือง เพิ่มขึ้น ทวีขึ้น มั่งมี ก้าวหน้า แก่เฒ่า. ก. วทฺธติ. น. วทฺธ (วิ.) เจริญ, ฯลฯ. วทฺธน (นปุ.) ความเจริญ, ฯลฯ.

วทฺธฺ เฉทเน
ตัด โกน บั่น แบ่ง ผ่า ทอน เฉือน เชือด ฯลฯ. ก. วทฺธติ. น. วทฺธกี (ปุ.) ช่างไม้.

วนฺ สมฺภตฺติยํ
คบ คบหา เข้ามารวมกัน สมาคม. ก. วนติ. น. วน (นปุ.) น้ำ, สวน, ป่า, ป่าไม้, หมู่ไม้, ดง, พง , ไพร, วนา, พนา, พนาสณฑ์, พนาสัณฑ์, วนัส, พนัส. วํส (ปุ.) วงศ์, ตระกูล, สาย, เชื้อสาย, สืบสาย, เหล่ากอ, สันดาน, แป้น.

วนฺ สทฺทหึสาสุ
ออกเสียง ฯลฯ กำจัด ฯลฯ เบียดเบียน.  ก. วนติ. น. วน (นปุ.) น้ำ, สวน, ฯลฯ.

วนฺทฺ วนฺทเน
ไหว้ กราบ กราบไหว้ เคารพ นบ นอบน้อม. ก. วนฺทติ. น. วนฺทน (นปุ.) วนฺทนา (อิต.) การไหว้. ฯลฯ. วนฺทก (ปุ.) คนผู้ไหว้, ฯลฯ. วนฺที (ปุ.) คนผู้จดหมายเหตุความชอบ.

วนฺทฺ ถุติยํ
ชม ชมเชย ยกย่อง สรรเสริญ. ก. วนฺทติ. น. วนฺทากา (อิต.) กาฝาก.  วนฺที (ปุ.) คนผู้จดหมายเหตุความชอบ.

วปฺ วปุ พีชนิกฺเขเป
หว่าน เพาะ ปลูก เพาะปลูก.  ก. วปติ. น. วปน (นปุ.) การหว่าน, ฯลฯ, การเพาะปลูก.  วุตฺต (นปุ.) การหว่าน, ฯลฯ.

วปฺ พีชสนฺตาเน
สืบต่อจากพืช หว่าน หว่านพืช. ก. วปติ. น. วปา (อิต.) เยื่อ, มัน, น้ำมัน, น้ำมันข้น.  วปฺป (ปุ.) การหว่าน, การหว่านพืช.

วปฺ สนฺตาเน
ต่อ ติดต่อ ต่อเนื่อง สืบสาย. ก. วปติ. น. วปุ (ปุ.) ร่าง, กาย, ร่างกาย, สรีระ, ตัว, ตน, ตัวตน, พบู.

วปฺปฺ วรเณ
กัน กั้น ระวัง ป้องกัน ห้าม. ก. วปฺปติ. น. วปฺป (ปุ.) ตลิ่ง, ท่า, ท่าน้ำ, ฝั่งน้ำ.

วปฺผฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. วปฺผติ. น. วปฺผน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป, ความเป็นไป.

วพฺพฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. วพฺพติ. น. วพฺพน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป,ความเป็นไป.

วพฺภฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. วพฺพติ. น. วพฺภน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป, ความเป็นไป.

วมฺ วมุ อุคฺคิรเณ
คาย คายออก อ้วก ไหล ไหลออก เรอะ อาเจียน.  ก. วมติ. น. วมถุ วมธุ (ปุ.) วมน (นปุ.) การคาย, ฯลฯ, การอาเจียน, การพลั่งออก.  พิมฺพ (ปุ.) รูป, รูปเปรียบ, แบบ, พรรณ (ชนิด). วนฺต (นปุ.) น้ำลาย, อาเจียน, เสมหะ.

วมฺภฺ โภชเน
กิน เคี้ยว เคี้ยวกิน ฉัน บริโภค. ก. วมฺภติ. น. วมฺภน (นปุ.) วมฺภนา (อิต.) การกิน, ฯลฯ.

วยฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. วยติ. น. วย (ปุ.) ภาวะไปสู่ความเสื่อม, ภาวะไปสู่ความสิ้น, ภาวะไปสู่ความเสื่อม, ฯลฯ, ความเสื่อม, ความสิ้น, ความเสื่อมไป, ความสิ้นไป, ความเสื่อมสิ้น, ความแปร , ความแปร, วัย. สรพฺย สรวฺย (นปุ.) ที่หมาย, เป้า. สร+วยฺ+อปัจ. ลบ อ ที่ ว.

วุยธฺ วิชฺฌเน
เจาะ แทง ไช ตี ทิ่ม เบียดเบียน ทำลาย ฆ่า ประหาร. ก. วฺยธติ. น. พฺยาธ วฺยาธ (ปุ.) พราน, นายพราน.  พฺยาธิ วฺยาธิ (ปุ.) ภาวะอันเสียดแทง, ภาวะที่เบียดเบียน, ภาวะอันบีบคั้นใจ, ภาวะอันทำลาย, ความเบียดเบียน, ความบีบคั้น, ความเจ็บไข้, โรค, พยาธิ. พฺยาธิ วฺยาธิ (ปุ.) โกฐ (ทำลายโรค) ชื่อสมุนไพรอย่างหนึ่ง มีหลายชนิด. วฺยธ พฺยธ (ปุ.) การเจาะ, ฯลฯ.

วฺยยฺ ขเย
เสื่อม สิ้น สิ้นไป หมดไป. ก. วฺยยติ. น. พฺยย (ปุ.) ความเสื่อม, ฯลฯ, ความหมดเปลือง.

วรฺ นิเสธเน
กัน กั้น กำบัง ห้าม ระวัง ป้องกัน คุ้มครอง รักษา. ก. วรติ. น. วร (ปุ.) การกัน, ฯลฯ. วรณ (ปุ.) การกัน, ฯลฯ, การรักษา, ที่ป้องกัน, กำแพง, ป้อม. วารก (ปุ.) หม้อน้ำ, กระถาง,ถัง, ถังน้ำ, ถังตักน้ำ, ขวด, กระบอก, กระติก, ข้าวฟ่าง. วารณ (ปุ.) ช้าง, ช้างพลาย (ห้ามกำลังของข้าศึก), นกหัสดีลิงค์ (มีรูปร่างเหมือนช้าง). วติ (อิต.) รั้ว, กำแพง, ป้อม. วจฺจ (ปุ.,นปุ.) อาหารเก่า, อุจจาระ, ขี้. วรตฺต วรตฺร (นปุ.) เชือก, เชือกหนัง, วรตฺตา (อิต.) เชือก, เชือกหนัง, เชือกรองเท้า, สายรองเท้า. วรถ (ปุ.) ไม้ค้ำ. วิวรณ (นปุ.) การเปิด, การเปิดเผย, การเผยแผ่, การเผยแพร่, การไขออก, การไขความ. วาริ (นปุ.) น้ำ (ห้ามความกระหาย).

วรฺ พนฺธเน
ผูก พัน มัด รัด. ก. วรติ. น. วรตฺต วรตฺร (นปุ.) เชือก, เชือกหนัง. วรตฺตา (อิต.) เชือก, เชือกหนัง, เชือกรองเท้า, สายรองเท้า.

วรฺ โรจเน
รุ่ง เรือง รุ่งเรือง สว่าง ส่องสว่าง งาม สวยงาม สุกใส จรูญ จำรูญ. ก. วรติ. น. วิวร (นปุ.) ความประทุษร้าย, ความเสียหาย, ความผิด (ไม่มีความรุ่งเรือง หมดความรุ่งเรือง), ปล่อง, ช่อง, โพรง, เหว (มีความสว่างน้อย ไม่มีความสว่าง).

วรฺ อิจฺฉายํ
ปรารถนา ยินดี เพลิน เพลิดเพลิน ใคร่ อยาก อยากได้ หวัง มุ่งหวัง ต้องการ ใส่ใจ. ก. วรติ วร (วิ.) ดี,เลิศ,อย่างดี, ประณีต, ประเสริฐ, สูงสุด, สำคัญ , ยอดเยี่ยม, อ้วน, พี, ล่ำ. (ปุ.) พร (ภาวะที่ใคร ๆ อยากได้ คำแสดงความปรารถนาดี สิ่งที่ขอเลือกเอาตามความประสงค์).

วรฺ คติยํ
ไป ฯลฯ.  ก. วรติ. น. วาริณี (อิต.) หญิงคนทรง,แม่มด, หญิงหมอผี.

วรหฺ ปธานิเย
เพียร หมั่น ขยัน.  ก. วรหติ. น. วราห (ปุ.) ช้าง, หมู, กุน, ปีกุน, ปีหมู. พริห (นปุ.) หาง เช่น หางนกยูง.

วรหฺ ปริภาเส
ตัดพ้อ ต่อว่า กล่าวโทษ ติเตียน ด่า ด่าว่า บริภาษ. ก. วรหติ. น. วรหณ วรหน (นปุ.) การตัดพ้อ, ฯลฯ, คำตัดพ้อ, ฯลฯ.

วรหฺ ปีฬนาทาเนสุ
รบกวน เบียดเบียน บีบคั้น ถือเอา ยึด ยึดถือ ถือมั่น.  ก. วรหติ. น. วรหน (นปุ.) การรบกวน, ฯลฯ, การถือเอา, ฯลฯ.

วลฺ สํวรเณ
สำรวม ฯลฯ. ก. วลติ. น. วลช (ปุ.) ปลาสวาย, ปลาหมอ. วลย (ปุ.) ทองกร, ทองปลายแขน, กำไรมือ. วลิร (ปุ.) คนตาเหล่า, คนตาหลิ่ว. พาล วาล (ปุ.) ผม, ขน, ขนสัตว์.

วลฺ กมฺปเน
ไหว สั่น.  ก. วลติ. น. วลย (ปุ.) ทองกร, ทองปลายแขน, กำไรมือ. พาล วาล (ปุ.) ผม, ขน, ขนสัตว์.

วลฺ จลเน
ไหว สั่น เล่น เต้นรำ. ก. วลติ. น. วลน (นปุ.) การเล่น, การรำ, การเต้นรำ.

วลฺ วิลาเส
เยื้องกราย กรีดกราย งาม สวย สวยงาม เปล่งปลั่ง น่ารัก.  ก. วลติ. น. วลน (นปุ.) การเยื้องกราย. ฯลฯ.

วลญฺชฺ วลญฺชิ บริโภเค
กิน จับจ่าย ใช้สอย. ก. วลญฺชติ. น. วลญฺช (ปุ.) วลญฺชน (นปุ.) การใช้สอย, ค่าใช้สอย, รายจ่ายประจำวัน.  วลญฺช (ปุ.) เครื่องหมาย, รอย, ทาง.

วลหฺ วายาเม
เพียร หมั่น ขยัน.  ก. วลหติ. น. วลหณ วลหน (นปุ.) ความเพียร, ฯลฯ.

วลหฺ อาทาเน
ถือเอา ยึด ยึดถือ ถือมั่น.  ก. วลหติ. วลหณ วลหน (นปุ.) การถือเอา, ฯลฯ, ความถือเอา, ฯลฯ.


วลฺลฺ สํวรเณ
สำรวม ฯลฯ. รักษา. ก. วลฺลติ. น. วลฺลกี (อิต.) พิณ. วลฺลภ (ปุ.) คนอังพึงใจ, คนน่าพึงใจ, คนน่าเอ็นดู, คนผู้เป็นที่รัก, คนผู้คุ้นเคย, คนผู้ชอบพอ, คนดูแลกิจการ, คนโปรด, คนสนิท, คนสนิธ. วลฺลี (อิต.) เครือ, เถา, เครือไม้, เถาไม้, เครือเขา, เครือเถา, ไม้เถา, เถาวัลย์. วลฺลูร (ไตรลิงค์) เนื้อแผ่น, เนื้อแห้ง. วคฺคุ (วิ.) ไพเราะ, เสนาะ, งาม, ดี, ดีนัก, เป็นที่ชอบใจ.

วลฺลฺ จลเน
ไหว สั่น กระดิก โยก โคลง โยกโคลง. ก. วลฺลติ. น. วลฺลิกา (อิต.) เครื่องประดับหู, ต่างหู, ตุ้มหู.

วสฺ อจฺฉาทเน
นุ่ง ห่ม บัง กำบัง ปิด ปกปิด. ก. วสติ. น. นิวาสน (นปุ.) การนุ่ง, ฯลฯ, ผ้าอันบุคคลพึงนุ่ง, ฯลฯ, ผ้านุ่ง, ผ้าห่ม, ผ้าสำหรับนุ่งห่ม, เครื่องนุ่ง, เครื่องห่ม, เครื่องนุ่งห่ม, ฯลฯ. วสน วาสน (นปุ.) ผ้า, เสื้อผ้า, เครื่องนุ่ง, เครื่องปกปิด, การนุ่ง, การห่ม , การนุ่งห่ม, ฯลฯ.

วสฺ นิวาเส
อยู่ อาศัย พัก พักพิง พักผ่อน.  ก. วสติ. น. นิวสถ (ปุ.) นิวสน (นปุ.) ที่อยู่, ที่อาศัย, ที่เป็นที่อยู่, ที่เป็นที่อาศัย, ที่เป็นที่อยู่อาศัย, ฯลฯ, บ้าน เรือน.  นิวสถ นิวาส (ปุ.) นิวสน นิวาสน (นปุ.) การอยู่, ฯลฯ, ที่อยู่ , ฯลฯ, ที่เป็นที่อยู่, ฯลฯ, บ้าน เรือน.  วํส (ปุ.) ขลุ่ย, ปี่, ไม้ไผ่, โรง, เรือน.  วจฺฉ วจฺฉก (ปุ.) ลูกคน , ลูกโค, ลูกวัว. วจฺฉร สํวจฺฉร (ปุ.,นปุ.) ปี (ระยะเวลาที่โลกโคจรรอบดวงพระอาทิตย์ ครั้ง ๑). วตฺถุ (ปุ.) ที่อยู่, ที่ตั้งบ้านเรือน.  วตฺถุ (นปุ.) ข้อ (ตอน เรื่อง), ความ (เรื่อง), ข้อความ (เนื้อความตอนหนึ่งๆ) เรื่อง (ข้อความ เนื้อความ), สิ่ง (ของต่าง ๆ), ของ (สิ่งต่าง ๆ), สิ่งของ, วัสดุ, พัสดุ, ทรัพย์, เหตุ, เรือน, ที่, ที่ปลูกบ้าน, พื้นที่, หมวดสามแห่งตนะ, สวน, ไร่, นา, ที่เป็นที่อยู่, ฯลฯ. วสติ (อิต.) กิริยา คืออันอยู่, กิริยาคือการอยู่, การอยู่, ฯลฯ, ที่อยู่, ฯลฯ, บ้านเรือน.  วสน (นปุ.) วาส (ปุ.) การอยู่, ฯลฯ, ที่อยู่, ฯลฯ, ที่เป็นที่อยู่, ฯลฯ, บ้าน,เรือน.  วส (วิ.) อยู่ในอำนาจ. (ปุ.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้อยู่ในอำนาจ. วสภ (ปุ.) โค,โคผู้.

วสฺ อธิวาสเน
อยู่ทับ รับพร้อม อบ อบรม ปรุง ปรุงแต่ง. ก. วสติ. น. วาส (ปุ.) วาสน (นปุ.) การอบ, เครื่องอบ, ฯลฯ, น้ำอบ, น้ำหอม. วาสนา (อิต.) ความอบรม, การปรุงแต่งของกุศลอกุศลและอัพยากฤต วาสนา (วาดสะหนา) คือบุญหรือบาปที่ตนสั่งสมมาแต่อดีต.

วสฺ สิเลสเน
เป็นยาง เป็นยางเหนียว เป็นน้ำมัน.  ก. วสติ. น. วสา (อิต.) มันเหลว, น้ำมันเหลา, น้ำมัน, ไข, ไขสัตว์.

วสฺ ปาคุเณย
แคล่วคล่อง, ว่องไว เชี่ยวชาญ ชำนาญ. ก. วสติ. วสี (ปุ.) บุคคลผู้ตัดกิเลสได้ดังใจ, คนผู้แคล่วคล่อง, ฯลฯ, วสี (อิต.) ความแคล่วคล่อง, ฯลฯ.

วสฺ กนฺติยํ
ปรารถนา อยากได้ รัก รักใคร่ ชอบใจ พอใจ ยินดี ต้องการ. ก. วสติ. น. วจฺฉ (ปุ.) วจฺฉา (อิต.) ความปรารถนา, ฯลฯ. วส (ปุ.) อำนาจ, ความเป็นใหญ่, ความสามารถ, ความปรารถนา, ฯลฯ. เวส (ปุ.) การแต่งให้งาม, เพศ.

วสฺ เสจเน
รด ราด ประพรม โปรย สรง ล้าง. ก. วสติ. น. วสล (วิ.) ชั่ว ต่ำ ต่ำช้า เลว ถ่อย. วสล (ปุ.) คนเพศต่ำ. คนเพศต่ำช้า, ฯลฯ.

วสฺ เฉทเน
ตัด โกน บั่น แบ่ง ผ่า ทอน เฉือน เชือด แขวะ ควัก แตก ทำลาย สลาย. ก. วสติ. น. วาสิ วาสี (อิต.) พร้า, ขวานเล็ก, มีด, มีดน้อย (มีดโกน).

วสฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. วสติ. น. วสน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ. วาส (ปุ.) การอบ, เครื่องอบ, เครื่องสำอาง, น้ำอบ, น้ำหอม (กำจัดกลิ่นไม่ดี).

วสฺสฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. วสฺสติ. น. วสฺสน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, คำพูด, ฯลฯ, คำ, ถ้อยคำ.

วสฺสฺ เสจเน
ตก รด ราด โปรย หลั่ง. ก. วสฺสติ. น. ปาวุส (ปุ.) ปาวุสา (อิต.) ฤดูฝน.  วสฺสาน (ปุ.) หน้าฝน, ฤดูฝน.  วุฏฺฐิ วุฏฺฐิกา (อิต.) ฝน, เม็ดฝน, น้ำฝน.

วหฺ ปาปุณเน
นำไป ให้ถึง เข้าถึง บรรลุ ได้ ประสบ. ก. วหติ. น. พาหา (อิต.) พาหุ (ปุ.,อิต.) แขน.  วลาหก (ปุ.) เมฆ, ห้วงน้ำ, แม่น้ำ, แม่น้ำใหญ่. วาห (ปุ.) เกวียน, ม้า. วาหน (นปุ.) วัตถุเป็นเครื่องนำไป, เครื่องนำไป, เครื่องขับขี่, ยาน, ยวดยาน, พานะ (มีรถและเรือเป็นต้น). หุตาวห (ปุ.) ไฟ, หุตาวหะ ชื่อไฟชื่อที่ ๑๗ ใน ๑๘ ชื่อ. วีหิ (ปุ.) ข้าว, ข้าวเจ้า, ข้าวเปลือก.  อาวห (ปุ.) อาวหน อาวห (นปุ.) การนำมา.

วหฺ วุทฺธิยํ
เจริญ จำเริญ งอกงาม ฯลฯ. ก. วหติ. น. วุทฺธ (วิ.) เจริญ จำเริญ, ฯลฯ, แก่, เฒ่า. วุทฺธ (ปุ.) เถระ, บัณฑิต, คนแก่, คนเฒ่า, คนชรา. วุทฺธิ (อิต.) ความเจริญ, ความจำเริญ, ฯลฯ.

วา คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. วาติ. น. นิล วาต วาย วายุ (ปุ.) ลม. วาน (นปุ.) ธรรมชาตไปสู่อารมณ์, ธรรมชาตไหลไปสู่อารมณ์, ความปรารถนา, ความอยาก, ตัณหา. วิ (ปุ.) สัตว์ผู้บินได้คือไปในอากาศได้, นก.  วาล (นปุ.) น้ำ.

วา คนฺเถ
รวบรวม เรียบเรียง แต่ง ร้อยกรอง. ก. วาติ. น. วานน (นปุ.) การรวบรวม, ฯลฯ.

วา สเม
เสมอ เสมอกัน ปานกัน เท่ากัน เหมือนกัน เช่นกัน เช่นกับ. ก. วาติ. น. วานน (นปุ.) ความเสมอ, ฯลฯ.

วา อาทาเน
ถือเอา ถือไว้ ยึด ยึดถือ. ก. วาติ. น. วาน (นปุ.) การถือเอา, ฯลฯ.

วา พนฺชเน
ผูก พัน มัด รัด. ก. วาติ. น. วาน (นปุ.) ธรรมชาตเป็นเครื่องผูก, ธรรมชาตเครื่องผูก, การผูก, ความผูก, ฯลฯ, ตัณหา.

วา ขจรคนฺเธสุ
กระจาย กระจายไป ปลิว ฟุ้ง ปลิวไป ฟุ้งไป ตลบ ตลบไป. ก. วาติ. น. วาล (นปุ.) เครือเขาหญ้านาง, เครือหญ้านาง.

วา อุปสเม
สงบ ระงับ ดับ เย็น.  ก. วาติ. น. อุปวาน (นปุ.) การเข้าไปสงบ, การเข้าไประงับ, การเข้าไปดับ. วาน (นปุ.) ความสงบ, ฯลฯ.

วา สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. วาติ. น. พาณี วาณี (ปุ.) คนพูดเสมอ, คนพูดเก่ง, คนช่างพูด. พาณี วาณี (อิต.) ถ้อยคำ ภาษา,เสียงง. พาณ วาณ (ปุ.) ลูกธนู, ลูกศร, ลูกปืน, เสียง

วา หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. วาติ. น. วาส (ปุ.) วาสน (นปุ.) เครื่องอบ, เครื่องสำอาง, น้ำอบ, น้ำหอม (กำจัดกลิ่นไม่ดี).

วายมฺ อุสฺสหเน
เพียร หมั่น ขยัน พยายาม. ก. วายมติ. น. วายาม (ปุ.) ความเพียร, ฯลฯ, ความลำบาก, ความยาก, ความเหน็ดเหนื่อย.

วายามฺ อุสฺสหเน
เพียร หมั่น ขยัน พยายาม. ก. วายามติ. น. วายาม (ปุ.) ความเพียร, ฯลฯ, ความลำบาก, ฯลฯ.

วส อุปเสวยํ
คบ คบหา ซ่องเสพ. ก. วาสติ. น. วาสนา (อิต.) บุญกุศลที่ติดมา, บุญกุศลที่อบรมมา, บุญหรือบาปที่อบรมมา, ความประพฤติที่ติดมาแต่อดีต, ความประพฤติที่ประพฤติมาจนชิน.

วาสิ อลงฺกาเร
ประดับ ตกแต่ง ตบแต่ง. ก. วาสติ. น. วาส (ปุ.) วาสน (นปุ.) การประดับ, ฯลฯ.

วาหฺ วาหุ ปยตเน
เพียร หมั่น ขยัน พยายาม. ก. วาหติ. น. วาหวาหน (ปุ.) ม้า, ม้าตัวผู้.

วาฬฺ อาลเป
กล่าว พูด ทัก เรียก ร้องเรียก.  ก. วาฬติ. น. วาฬน (นปุ.) คำกล่าว, คำพูด, คำทัก, ฯลฯ.

วิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. เวติ. น. วาย (ปุ.) ลม. วิห (ปุ.) อากาศ. เวณุ เวนุ (ปุ.) ไผ่, ไม้ไผ่, อ้อ, ไม้อ้อ, ต้นอ้อ, ขลุ่ย, ปี่.

วิ วิญฺชเน
ฉุด ชัก ชักมา ดึง เหนี่ยวมา ฉุดมา รั้งมา ดีด. ก. เวติ. น. วีณา (อิต.) พิณ.

วิ วี ตนฺตุสนฺตาเน
สืบต่อด้วยด้าย ทอ กรอ เย็บ. ก. เวติ. น. วีณา (อิต.) พิณ. เวม (ปุ.) กระสวยทอหูก, ฟืม, เครื่องทอผ้า.

วิ ชนเน
เกิด เป็นขึ้น มีขึ้น.  ก. เวติ. น. วีณา (อิต.) พิณ ชื่อเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งมีสายสำหรับดีด.

วิ ปฏิฆหึสาสุ
กระทบกระทั่ง ขัดเคือง ขึ้งเคียด คับแค้น ฯลฯ, กำจัด, ฯลฯ. ก. เวติ. น. เวณุ เวนุ (ปุ.) ไผ่, ฯลฯ, ต้นอ้อ. เวร (นปุ.) ความกระทบกระทั่ง, ฯลฯ, ความผูกโกรธ, ความผูกใจเจ็บ, ความร้าย, ความพยาบาท, ความเบียดเบียน, ฯลฯ.

วิ วี ปิยนอทนคตีสุ
รัก รักใคร่ ชอบ พอใจ กิน เคี้ยว เคี้ยวกิน ไป ฯลฯ. ก. เวติ. น. เวตน เวตฺตน (นปุ.) วัตถุเป็นเครื่องปลื้มใจ, บำเหน็จ, รางวัล, สินจ้าง, ค่าจ้าง, ค่าแรง, เบี้ยเลี้ยง. ค่ายา.

วิจฺ วิเวจเน
แยก แยกออก สงัด เงียบ อ้างว้าง เปล่าเปลี่ยว วังเวง. ก. วิจติ เวจติ. น. วิวิจฺจ วิวิตฺต (วิ.) แยก, แยกออก, ฯลฯ. วิวิตฺติ (อิต.) การแยก, การแยกออก, ความสงัด ฯลฯ. วิเวก วิเวจน (นปุ.) การแยก, การแยกออก, ความสงัด, ฯลฯ.

วิจฺฉฺ วิจฺฉิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. วิจฺฉติ. น. วิจฺฉิก (ปุ.) วิจฺฉิกา (อิต.) แมงป่อง, พฤศจิก (ราศีดาวรูปแมงป่อง).

วิฏฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. เวฏติ. น. เวฏ (วิ.) ผู้กล่าว, ผู้พูด. (ปุ.) คนผู้กล่าว, ฯลฯ.

วิถฺ ยาจเน
ขอ ร้องขอ ขอร้อง วิงวอน.  ก. เวถติ. น. เวถน (นปุ.) การขอ, ฯลฯ.

วิทฺ ญาเณ
รู้ รู้จริง รู้แจ้ง. ก. วิทติ. น. วิทิต เวที (ปุ.) บุคคลผู้รู้คนผู้แก่เรียน, คนมีปัญญา, นักปราชญ์, บัณฑิต. วิชฺชา วิทฺยา (อิต.) ความรู้, ความรู้แจ้ง, สิปปะ, ศิลปะ, วิชชา, วิชา, วิทยา. เวชฺช (ปุ.) หมอ, หมอยา, หมอรักษาโรค, แพทย์, นายแพทย์, อายุรเวช, อายุรแพทย์. เวทน (นปุ.) เวทนา (อิต.) ความรู้, ความรู้อารมณ์, ความรู้แจ้ง, ความรู้แจ้งอารมณ์.

วิทฺ อนุภวเน
เสวย เสพ ประสบ ได้ประสบ พบ ครอง. ก. วิทติ. น. เวทน (นปุ.) เวทนา (อิต.) ความเสวย, ความเสวยอารมณ์, ฯลฯ.

วิทฺ ลาเภ
ได้ ประสบ. ก. วิทติ. น. เวทน (นปุ.) เวทนา (อิต.) ความได้, ความได้อารมณ์. เวทิ เวที (อิต.) โต๊ะเครื่องบูชา, ภูมิที่บูชา, แท่น, แท่นบูชา, ที่บูชายัญ, ที่รอง, ที่รองรับ, ม้ารูปรี, บัลลังก์รูปรี, กระหนกบัวที่ยื่นออกมา, เวที, ไพที, ไพรที. เวทิกา (อิต.) โต๊ะเครื่องบูชา, ฯลฯ. ที่รองรับ, ชุกชี.

วิทฺ อาขฺยาเต
กล่าว บอก บอกกล่าว ท่อง. ก. วิทติ. น. นิเวทน (นปุ.) การกล่าว, การบอก, การบอกกล่าว, การบอกเล่า.

วิทิ ลาเภ
ได้ ประสบ. ก. วินฺทติ. น. วินฺทน (นปุ.) การได้, การประสบ, การพบ.

วิทิ ปีติยํ
เบิกบาน เบิกบานใจ ปลื้ม ปลื้มใจ ยินดี อิ่มใจ. ก. วินฺทติ. น. วิตฺต (นปุ.) วัตถุเป็นเครื่องเบิกบานใจ, ฯลฯ,ทรัพย์, สมบัติ. วิตฺติ (อิต.) ความเบิกบาน, ฯลฯ, ทรัพย์, สมบัติ.

วิทิ อวยเว
เป็นส่วน เป็นตอน เป็นส่วน ๆ เป็นตอน ๆ . ก. วินฺทติ. น. วินฺทน (นปุ.) การเป็นส่วน, ฯลฯ.

วิธฺ วิพาธายํ
กำจัด ขจัด เบียดเบียน ทำลาย ไม่เป็นสุข. ก. วิธติ เวธติ, น. พฺยาธิ (ปุ.) ภาวะอันกำจัด, ฯลฯ, ภาวะอันทำลาย, ความเจ็บไข้, โรค.

วิสฺ ปเวสเน
เข้าไป สอด สอดเข้า. ก. วิสติ. น. นิเวส นิเวสน (นปุ.) การเข้าไป, การเก็บ. วิส (นปุ.) พิษ คือสิ่งอันเป็นโทษแก่ร่างกายหรือจิตใจ, พิษงู, ยาพิษ. วิสร (ปุ.) หมวด, หมู่, ประชุม, กอง, คณะ, พวก, ฝูง. วิสาณ (นปุ.) นอ, เขา, เขนง, เขาสัตว์, งา, งาช้าง. วิสาล (วิ.) แผ่ไป, ใหญ่, กว้าง, กว้างขวาง, กว้างใหญ่, พิสาล, พิศาล, ไพศาล, งาม. (ปุ.) ความแผ่ไป, ฯลฯ.

วิสฺ วิสิ ผรเณ
แผ่ แผ่ไป คลี่ คลี่ออก ขยาย ขยายออก ซ่านไป. ก. วิสติ. น. ภิส ภึส ภึสร (นปุ.) ราก, รากบัว, เหง้า, เหง้าบัว. วิส (นปุ.) ดอกบัว (แผ่อยู่ที่น้ำ). เวส (ปุ.) การแผ่ไป, เพศ (รูปที่แสดงให้รู้ว่าหญิงหรือชาย ตัวผู้หรือตัวเมีย).

วิสฺ เสจเน
รด ราด เท. ก. เวสติ. น. เวสน (นปุ.) การรด, การราด, การเท.

วิสิฏฺ อนาทเร
ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เอาใจใส่ ไม่พะวง เป็นทุกข์เป็นร้อน ร้อนอกร้อนใจ. ก. เวเสฏติ. น. เวเสฏน (นปุ.) ความไม่เอื้อเฟื้อ, ฯลฯ.

วี คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. วีติ. น. วี (ปุ.) สัตว์ปู้ไปในอากาศ, นก.

วีชฺ วีชเน
พัด โบก กระพือ. ก. วีชติ. น. วีชน (นปุ.) การพัด, ฯลฯ, พัด (เครื่องพัดหรือกระพือให้เกิดลม). วิชนี วีชนี (อิต.) พัด ชื่อเครื่องพัดหรือโบกหรือกระพือลม.

เว สํวรเณ
สำรวม ฯลฯ. ก. เวติ. น. เวร (ปุ.) สรีระ, ร่างกาย, ตัวตน (ต้องระวังป้องกันรักษา).

วุ เว ตนฺตุสนฺตาเน
ทอ ทอผ้า. ก. วายติ. แปลง อุ, เอ เป็น อาย. น. วายต (วิ.) ทอ, ทอผ้า. วายน (นปุ.) การทอ, การทอผ้า.

เวกฺขฺ ตีรเณ
ตรวจตรา ตริตรอง ตรึกตรอง ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ สอบสวน พิจาร พิจารณา. ก. เวกฺขติ. น. เวกฺขณ เวกฺขน (นปุ.) การตรวจตรา, ฯลฯ, ความตรวจตรา, ฯลฯ.

เวฐฺ เวฐเน
พัน ผูก โพก.  ก. เวฐติ เวฏฺฐติ. ซ้อน ฏฺ. น. เวฐก (ปุ.) คอพิณ. เวฐน เวฏฺฐ (นปุ.) การพัน, ฯลฯ, ผ้าโพก, ผ้าโพกศรีษะ, อุณหีสะ (กรอบหน้า เทริดมงกุฏ).

เวณุ ญาณจินฺตนิสามเนสุ
รู้ คิด ดำริ ใคร่ครวญ เพ่ง พินิจ สังเกต แลดู สดับ ฟัง. ก. เวณติ. น. เวณน (นปุ.) ความรู้, ฯลฯ.

เวตฺ เวติ สุตฺติเย
ไหล ไหลไป หลั่ง. ก. เวตติ. น. เวตน (นปุ.) การไหล, ฯลฯ.

เวปุ กมฺปเน
ไหว หวั่น หวั่นไหว สั่น สะเทือน กระดิก.  ก. เวปติ เวปุติ. น. เวปถุ เวปธุ (ปุ.) การไหว, ฯลฯ, ความไหว, ฯลฯ. เวตฺต เวตฺร (นปุ.) หวาย.

เวลฺ เวลุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. เวลติ. น. เวลุ เวฬุ (ปุ.) ไผ่, ต้นไม้, ไม้ไผ่. เวลฺลิต (วิ.) คด, โค้ง, โกง, งอ, บิด.

เวลฺลฺ สํหรเณ
รวบรวม ยึดไว้ ถือไว้ ยึดถือ. ก. เวลฺลติ. น. สํเวลฺลิ สํเวลฺลิย (วิ.) โจงกระเบน, เหน็บชายกระเบน.

เวห อวฺหายเน
เรียก ร้องเรียก คร่ำครวญ. ก. เวหติ วฺหายติ. แปลง เอ เป็น อาย. น. อวฺหาณ อวฺหาน อวฺหายน (นปุ.) การเรียก, ฯลฯ, คำเรียก, คำร้องเรียก.

เวห พทฺธาสทฺเทสุ
หยิ่ง ยโส แข่งดี ตี ประหาร เบียดเบียน ออกเสียง ฯลฯ. ก. เวหติ วฺหายติ. น. อวฺหาณ อวฺหาน (ปุ.) ความหยิ่ง, ฯลฯ, การตี, ฯลฯ, คำ, ถ้อยคำ, คำพูด.

เวหุ ปยตเน
เพียร หมั่น ขยัน พยายาม. ก. เวหติ. น. เวหณ เวหน (นปุ.) ความเพียร, ฯลฯ.


ส อักษร

สกฺ สตฺติยํ
อาจ องอาจ กล้าหาญ ผึ่งผาย สง่า ยิ่ง ยิ่งใหญ่ สามารถ. ก. สกฺกติ. น. สก (วิ.) อาจ, ฯลฯ. สตฺติ (อิต.) ความอาจ, ฯลฯ. ติปัจ. แปลงเป็น ตฺติ ลบที่สุด ธาตุ. สกฏ (ปุ.) เกวียน (สามารถนำภาระไป).

สกฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. สกติ. น. สก (นปุ.) ยุค, ปี, สก, ศก ชื่อระบบที่ตั้งขึ้น เป็นเครื่องหมายเหตุการณ์สำคัญ เช่น พุทธสก พุทธศก เพิ่มเลขขึ้นตามระยะสิ้นขวบปี.

สกฺกฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. สกฺกติ. น. สกฺกน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป, ความเป็นไป.

สกิ สํกฺ สงฺกายํ
ระแวง สงสัย รังเกียจ. ก. สงฺกติ. น. สงฺกา (อิต.) การระแว, ฯลฯ, ความระแวง, ฯลฯ. สงฺกิณฺณ (วิ.) ไม่บริสุทธิ์. สงฺกุ (ปุ.) หอก, หลาว, ขวาน, ขวานเล็ก, ขอ, ขอเหล็ก, ศัตราวุธ.

สคฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. สคติ. น. สคฺค (ปุ.) นกแอ่นลม. ค ปัจ.

สคิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. สงฺคติ. น. สงฺคน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป, ความเป็นไป.

สงฺกเส สีทเน
นั่ง ยับยั้ง. ก. สงฺกสายติ. แปลง เอ เป็น อาย. น. สงฺกสายน (นปุ.) การนั่ง, ฯลฯ.

สํสฺ ถุติยํ
ชม ยกย่อง สรรเสริญ. ก. สํสติ. น. ปาสํส (ปุ.) การชม, ฯลฯ, ความชม, ฯลฯ, คำชม, ฯลฯ, ถ้อยคำชม, ฯลฯ. สํสก (ปุ.) เดือน, ดวงเดือน, ดวงจันทร์, พระจันทร์.

สํสฺ กถเน
กล่าว บอก พูด. ก. สํสติ. น. สํสน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

สจฺ วจเน
กล่าว บอก พูด. ก. สจติ. น. สจน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

สจฺ สมวาเย
ประชุม รวม รวบรวม พร้อมกัน พร้อมเพรียงกัน เป็นกลุ่ม เป็นหมวด เป็นหมู่. ก. สจติ. น. สจิว (ปุ.) ข้าราชการ, อำมาตย์, มนตรี. สตฺตุ (ปุ.) ข้าวสัตตุ, ข้าวตู, ขนมผง, ขนมแห้ง, ข้าวคั่วป่น.

สชฺ สมวาเย
ประชุม รวม ฯลฯ เป็นหมู่. ก. สชติ. น. สคฺค (ปุ.) ตอน, หมวด, ปริจเฉท.

สชฺ วิสชฺชเน
สละ ให้ แก้ไข ชี้แจง กล่าวแก้ ตอบ. ก. สชติ. น. ภิสก ภิสกฺก ภิสช (ปุ.) แพทย์, อายุรแพทย์, หมอ. เภสช เภสชฺช (นปุ.) ยา, ยาแก้โรค, ยารักษาโรค, เครื่องยา.

สชฺ สงฺเค
ติด ขัด ข้อง ขัดข้อง เกี่ยวข้อง เกี่ยวพัน ยึด ยึดเหนี่ยว ติดอยู่. ก. สชติ. น. สช (นปุ.) สชฺช (ปุ.) การติด, ฯลฯ, ความติด, ฯลฯ. สํสคฺค (ปุ.) ความติด, ฯลฯ, ความคลุกคลี, ความระคน, กิเลสเป็นเครื่องติด, กิเลสเป็นเครื่องข้อง, กิเลสเครื่องติด, ฯลฯ. สตฺต (ปุ.) ชน, คน, มนุษย์ , สัตว์ (ผู้ข้องอยู่ในสังสารวัฏ).

สชฺชฺ สชฺชุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. สชฺชติ. น. สชฺช (ปุ.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป, การดำเนินไป, ความดำเนินไป. สชฺช (ปุ.) ทหารสรวมเกราะ, คนผู้ไป, คนผู้ดำเนินไป. สตฺต (นปุ.) ทรัพย์ ,ชีวิตินทรีย์, กำลัง.

สชฺชฺ สชุชเน
ตระเตรียม จัดแจง แต่ง ตกแต่ง ตบแต่ง ประดับ. ก. สชฺชติ. น. สชฺช (ปุ.) สชฺชา (อิต.) สชฺชน (นปุ.) การตระเตรียม, ฯลฯ. สชฺช (ปุ.) คนผู้ตระเตรียม, ฯลฯ.

สชฺชฺ นิมฺมาเน
สร้าง ก่อสร้าง ปลูกสร้าง ทำ. ก. สชฺชติ. น. สคฺค (ปุ.) การสร้าง, การสร้างสรรค์, ฯลฯ, คนผู้สร้าง, ฯลฯ.

สญฺชฺ สงฺเค
ติด ขัด ติดขัด ข้อง ขัดข้อง ไม่คล่อง เกี่ยวข้อง เกี่ยวพัน ยึดเหนี่ยว. ก. สญฺชติ. น. สงฺค สชฺช (ปุ.) สชฺชน (นปุ.) สชฺชนา (อิต.) การติด, ฯลฯ, ความติด, ฯลฯ. สชฺฌ สชฺฌุ (นปุ.) เงิน.  สตฺถิ (ปุ.) ขา, ขาอ่อน, ต้นขา, โคนขา, ลำขา (ทำให้คนข้องอยู่).

สฏฺ อวยเว
เป็นส่วน เป็นตอน แยกเป็นส่วน แยกเป็นตอน เป็นส่วน ๆ เป็นตอน ๆ. ก. สฏติ. น. สฏน (นปุ.) ความเป็นส่วน, ฯลฯ.

สฏฺ คิลาเน
เจ็บ ไข้ เจ็บไข้ ไม่สบาย ไม่เป็นสุข. ก. สฏติ. น. สฏน (นปุ.) ความไม่สบาย, ฯลฯ.

สฏฺ วิสรเณ
ซ่าน ซ่านไป แผ่ แผ่ไป ขยาย ขยายออก แผ่กว้าง กระจาย. ก. สฏติ. น. สาฏ (ปุ.) สาฏิกา สาฏี (อิต.) ผ้า, ผ้าสาฏก.

สฏฺ คตฺยาวสาเน
สิ้นสุดการไป จบการไป หยุด อยู่กับที่. ก. สฏติ. น. สฏน (นปุ.) การสิ้นสุดการไป, ฯลฯ.

สฐฺ เกตเว
ฉ้อ โกง ล่อลวง ไม่ซื่อ ไม่ตรง คด ทุจริต ฉ้อโกง. ก. สฐติ. น. สฏฺฐ สฐ (วิ.) ฉ้อ, ฯลฯ. สฐฺย (นปุ.) การโกง, ฯลฯ.

สฐฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. สฐติ. น. สฏฺฐ สฐ (วิ.) กำจัด ขจัด ประทุษร้าย ทำร้าย, เบียดเบียน.

สฐฺ สํกิเลเส
เปรอะเปื้อน หม่นหมอง เศร้าหมอง. ก. สฐติ. น. สฏฺฐ (วิ.) เปรอะเปื้อน, ฯลฯ.

สฑิ รุชายํ
กำจัด ขจัด เบียดเบียน เสียดแทง เจ็บไข้ ป่วยไข้ ไม่สบาย. ก. สณฺฑติ. น. สณฺฑน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

สฑิ สณฺฑิ คุมฺพตฺเถ
เป็นกอง เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นพวก เป็นคณะ เป็นดง เป็นแถว เป็นแนว. ก. สณฺฑติ. น. สณฺฑ (ปุ.,นปุ.) กอง, หมวด, ฯลฯ, ที่รก, ที่ทึบ, ชัฏ.

สณฺ อพฺยตฺตสทฺเท
ร้อง ร้องดัง. ก. สณติ. น. สณ (ปุ.) การร้อง, การร้องดัง, เสียงร้อง, เสียงร้องดัง.

สณฺ ทาเน
ให้ สละ บริจาค ถวาย. ก. สณติ. น. สณ (ปุ.) การให้, ฯลฯ. สณฺฑ (ปุ.,นปุ.) กอง, หมวด, พวก, คณะ (ให้ความร่วมใจ).

สถฺ เสถิลฺเล
หย่อน ย่อหย่อน เบา เบาลง หลวม ไม่ตึง. ก. สถติ. น. สถล สิฐิล สิถิล (วิ.) หย่อน, ฯลฯ.

สทฺ อสฺสาทเน
ยินดี ชอบใจ พอใจ เพลิด เพลิดเพลิน สำราญ. ก. สทติ. น. สทน (นปุ.) ความยินดี, ฯลฯ. สาต สารท (วิ.) ยินดี, ฯลฯ, จืด, หวาน, อร่อย. สาต (นปุ.) สารท (ปุ.,นปุ.) สาทน (นปุ.) ความยินดี, ฯลฯ.

สทฺ วิสรเณ
แผ่ ซ่าน แผ่ไป ซ่านไป ขยาย ขยายออก แผ่กว้าง กระจาย. ก. สทติ. วิสท (วิ.) ขาว, เผือก, สะอาด, หมดจด, ผ่องใส, แจ่ม, แจ่มแจ้ง, ชัดเจน, ฉลาด, เฉียบแหลม, สละสลวย. สทุม (ปุ.,นปุ.) เรือน, เจดีย์.

สทฺ อาทาเน
ถือ ถือเอา ฉวยเอา ยึด ยึดถือ. ก. สทติ. น. สทุม (ปุ.,นปุ.) เรือน, เจดีย์.

สทฺ คตฺยาวสาเน
จบการไป สิ้นสุดการไป อยู่กับที่ หยุด. ก. สทติ. น. นิสชฺช (นปุ.) นิสชฺชา (อิต.) การนั่ง, การประชุม. สชฺชา (อิต.) การนั่ง.

สทฺทฺ สทฺทเน
ออกเสียง เปล่งเสียง กล่าว พูด. ก. สทฺทติ. น. สทฺท (ปุ.) การออกเสียง, ฯลฯ, เสียง, สำเนียง, คำ, คำกล่าว, ถ้อยคำ, คำพูด.

สทฺทฺ สทฺทุ หริเต
เขียว สด ใหม่. ก. สทฺทติ. สทฺทล (ไตรลิงค์) ประเทศอันหุ้มด้วยหญ้า, ที่อันชุ่มด้วยหญ้า, ที่สดเขียว. สทฺทว (วิ.) เขียว, สด, ใหม่. สทฺทูล (วิ.) ประเสริฐ, สูงสุด, อุดม.

สชฺ กุจฺฉิตสทฺเท
ออกเสียงน่าเกลียด ไม่น่าฟัง ไม่เป็นมงคล. ก. สชติ. น. สชน (นปุ.) เสียงน่าเกลียด, ฯลฯ.

สธฺ อุนฺเท
ชุ่ม ชื้น เปียก.  ก. สธติ. น. สธน (ปุ.) ความชุ่ม, ฯลฯ, ที่ชุ่มน้ำ, ฯลฯ.

สนฺ สมฺภตฺติยํ
คบ สมาคม รวมกัน ร่วมกัน ติดกัน.  ก. สนติ. น. ปาสาณ (ปุ.) หิน, แผ่นดิน, ศิลา. สน (ปุ.) บุคคลอัน. ..ควรคบ,บุคคลที่ควรคบ, สัตบุรุษ. สานุ (ปุ.,นปุ.) พื้นราบแห่งภูเขา, ภูเขามีพื้นเสมอ, ยอดเขา, เนินเขา, ไหล่เขา, ซอก, ข้าง.

สนฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. สนติ. น. นิสฺสน (ปุ.) เสียง, เสียงที่พูด, สำเนียง, คำ, ถ้อยคำ, คำกล่าว, คำพูด.

สฺนิหฺ ราเค
กำหนัด ยินดี ติดใจ พอใจ เพลิดเพลิน รัก รักใคร่ เยื่อใย ปรารถนา. ก. สฺนิหติ เสนติ. น. เสนห (ปุ.) ความกำหนัด, ฯลฯ.

สนฺทฺ ปสเว
ไหล ไหลออก ไหลไป. ก. สนฺทติ. น. นิสฺสนฺท (ปุ.) วิบากเป็นเครื่องไหลออก, วิบากเป็นเครื่องไหลออกจากเหตุ, วิบาก, ผล. สํสนฺทน (นปุ.) สํสนฺทนา (อิต.) การไหลไปพร้อม, การรวมกัน, การระคนกัน, การคลุกเคล้ากัน, การเปรียบเทียบกัน, การเทียบเคียงกัน, การสอบกัน, การอ้างอิง, การกล่าวถึง, ความไหลไปพร้อม, ฯลฯ. สนฺท (ปุ.) การไหล, ฯลฯ, การวิ่ง, การแล่นไป. สนฺทน (ปุ.) เกวียน, รถ, รถศึก, ปืน.  สนฺทน (นปุ.) การไหล, ฯลฯ. สินฺทูร (นปุ.) ชาด, เสน.

สปฺ สมวาเย
ประชุม รวม รวบรวม เป็นกลุ่ม เป็นหมู่. ก. สปติ. สทฺท (ปุ.) เสียง, เสียงที่พูด, ฯลฯ.

สปฺ อกฺโกเส
แช่ง ด่า ด่าว่า. ก. สปติ. น. สปถ (ปุ.) คำแช่ง, คำด่า, การแช่ง, การด่า, การด่าว่า, สาบาน (สบถโดยใช้คำปฏิญญา).

สปฺปฺ คติยํ
ไป ดำเนินไป ถึง บรรลุ ฯลฯ. ก. สปฺปติ น. สปฺป (ปุ.) สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์เสือกคลาน, งู. วิสปฺปน (นปุ.) การซ่านไป, การแผ่ไป, ความซ่านไป, ฯลฯ. สิปฺป (นปุ.) สิปปะ, ศิลปะ, วิชาความรู้ที่ได้มาจากการศึกษา ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการประกอบกิจเลี้ยงชีวิตในทางสุจริต เรียกว่า สิปปะ หรือศิลปะตามสันสกฤติ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าเป็นมงคล คือเหตุที่ทำให้ผู้ปฏิบัติตามถึงความเจริญ เป็นมงคล ที่ ๘ ในมงคล ๓๘. สปฺปิ (วิ.) ไป, เสือกไป, ไส่ไป, เลื้อยไป. สปฺปิ (นปุ.) เนยใส.

สพิ มณฺฑเล
ประดับ ฯลฯ. ก. สมฺพติ. สมฺพล (นปุ.) อาหาร, เสบียง (อาหารสำหรับเดินทางไกล), เสบียงทาง. สิมฺพลิ (ปุ.) สิมฺพลี (ปุ.,อิต.) ไม้งิ้ว, ไม้งิ้วบ้าน.

สพฺพฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. สพฺพติ. น. สพฺพ (วิ.) ทั้งปวง, ทั้งมวล, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทั้งผอง, ทั้งเพ, ทั้งนั้น, ทุก, ทุก ๆ,ทุกเมื่อ, ทุกชนิด, ทุกอย่าง, ล้วน, สารพัด, สารพัน.

สพฺพฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. สพฺพติ. น. สพฺพน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

สพฺพฺ ปูรเณ
เต็ม, ให้เต็ม ครบ ครบถ้วน สมบูรณ์. ก. สพฺพติ. น. สพฺพ (วิ.) ทั้งปวง, ฯลฯ.

สภฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. สภติ. น. สภน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ.

สมฺ อทสฺสเน
ไม่เห็น หาย สูญ. ก. สมติ. สม (ปุ.) สมน (นปุ.) ความหายจากทุกข์ , ความสุข.

สมฺ สมุ อุปสเม
สงบ ระงับ หยุด หยุดนิ่ง ไม่กำเริบ ราบคาบ เงียบ (สงบ). ก. สมติ. สม (ปุ.) สมณ (นปุ.) ความสงบ, ฯลฯ. สมณ (ปุ.) สมณะ, พระสมณะ (ผู้สงบกิเลส). สนฺต (นปุ.) สันตะ ชื่อของพระนิพพาน, พระนิพพาน.  สณฺฑ (ปุ.,นปุ.) หมวด, หมู่, พวก, กอง, คณะ (ต้องอยู่ด้วยกันด้วยความสงบ).

สมฺ เวลมฺเพ
อืดอาด ชักช้า ยืดยาว ห้อยย้อย หน่วงไว้ ยึดหน่วง. ก. สมติ. น. สม (วิ.) คล้าย, เหมือน, เหมือนกัน, เช่นกัน, เช่นกับ, เรียบ, เสมอ, เสมอกัน, รวมกัน, ร่วมกับ, ครบ, พร้อม, พอดี, เหมาะ, ควร, ชอบ.

สมฺ วิตกฺเก
ดำริ คิด นึก ตริตรอง ฯลฯ. ก. สมติ. น. สมา (อิต.) ปี (เวลาที่โลกโคจรรอบดวงพระอาทิตย์).

สมุ เขเท
ลำบาก เหน็ดเหนื่อย เป็นทุกข์. ก. สมติ. น. สนฺต (วิ.) ลำบาก, ฯลฯ, (นปุ.) ความลำบาก, ฯลฯ.

สมฺภฺ วจนวิสฺสาเส
กล่าว พูด คุ้นเคย สนิท ไว้ใจ. ก. สมฺภติ. น. สมฺภน (นปุ.) คำกล่าว, ฯลฯ, ความคุ้นเคย, ฯลฯ.

สมฺภุ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. สมฺภติ. น. สมฺภน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ.

สรฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. สรติ. น. วิสฏ (วิ.) กว้าง, ไม่แคบ, แผ่ออก, กว้างขวาง, ใหญ่โต, แพร่หลาย, กระจายไป. วิสฏา (อิต.) ความกว้าง, ฯลฯ. สกฺขรา (อิต.) น้ำตาลกรวด. สํสรณ (นปุ.) การท่องเที่ยวไป, ความท่องเที่ยว, สํสาร (ปุ.) การท่องเที่ยวไป, การวน, การวนเวียน, การเวียนเกิด, การเวียนว่ายตายเกิด, ความท่องเที่ยวไป, ฯลฯ. สตฺถ (ปุ.) เหล็ก, ฝูง, หมู่, พวก, กอง, คณะ, ชุมนุม (การมารวมกัน). สพฺพ (วิ.) ทั้งปวง, ทั้งมวล, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทั้งผอง, ทั้งเพ, ทุก, ทุกๆ (จำนวนทั้งหมด) ทุกเมื่อ, ทุกชนิด, ทุกอย่าง, ล้วน, สารพัด, สารพัน.  สทฺทูล (ปุ.) เสือโคร่ง, เสือเหลือง, ศารทูล (เสื้อโคร่ง). สสฺสต (วิ.) เที่ยง, เที่ยงแท้, แน่นอน, มั่นคง, ยั่งยืน, คงที่, เป็นไปติดต่อ, เป็นอยู่เป็นนิตย์. สโมสร สโมสรณ (นปุ.) การมารวมกัน, การมาร่วมกัน, การมาพร้อมกัน, การประชุมกัน, สโมสร (ที่สำหรับประชุมกัน ที่สำหรับประชุมคบค้ากัน). สร (ปุ.) สรณ (นปุ.) การไป, ฯลฯ, การท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวไป. สรพู (อิต.) จิ้งจก, ตุ๊กแก, ตุ๊ดตู่. สร (ปุ.,นปุ.) สระ, สระน้ำ, บึง, ทะเลสาป. สรก (ปุ.) ขัน, จอก, กระบวย. สสฺสต (วิ.) เที่ยง, ฯลฯ. ดู สสฺสฺ ธาตุ.

สรฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. สรติ. น. สร (ปุ.) เสียง, สระ (สะหระ) ชื่อตัวอักษรที่มิใช่พยัญชนะ.

สรฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. สรติ. น. วิสาลา (อิต.) แตงหนู, แตงกวา, ขี้กา, ลูกขี้กา. สกฺขรา (อิต.) กรวด, ก้อนกรวด, หินกรวด, สิลาขัณฑ์. สติ (อิต.) ธรรมชาติกำจัดความประมาท, ฯลฯ. สร (ปุ.) ศร,ลูกศร, ลูกธนู, แขม, ต้นแขม ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง มักขึ้นตามชายน้ำชายป่าชายเขา. สลฺล (ปุ.,นปุ.) หอก, หลาว, ขวาก (ไม้หรือเหล็กเป็นต้นมีปลายแหลม). สรณ (นปุ.) การกำจัดกิเลส, การกำจัดสิ่งชั่วร้าย, ฯลฯ, ความกำจัดกิเลส, ฯลฯ, ที่พึ่ง.

สรฺ จินฺตายํ
คิด นึก ระลึก ตริ ตริตรอง ไตร่ตรอง ดำริ. ก. สรติ. น. สต (ปุ.นปุ.) สติ (อิต.) ความระลึก, ความระลึกได้, ธรรมชาติเป็นเครื่องระลึก, ความรู้สึก, ความรู้สึกผิดชอบ, ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี. สรณ (นปุ.) การระลึก, ความระลึก, วัตถุเป็นที่ระลึก, วัตถุคือพระรัตนตรัยเป็นที่ระลึก.

สรฺ สํวรเณ
ระวัง ฯลฯ. ก. สรติ. น. สรณ (นปุ.) การระวัง, การป้องกัน, การรักษา, ความป้องกัน, ความรักษา, วัตถุ คือพระรัตนตรัยเป็นเครื่องป้องกันสิ่งชั่วร้าย ฯลฯ.

สลฺ คมเน
ไป ฯลฯ. ก. สลติ. น. วิสาล (วิ.) แผ่ไป, ใหญ่, กว้าง, กว้างขวาง, กว้างใหญ่, พิสาล, พิศาล, ไพศาล, งาม. (ปุ.) ความแผ่ไป, ฯลฯ. สลฺล (ปุ.) ผักปลาบ, ไม้มีหนาม. สลากา (อิต.) ซี่,ซี่ไม้, ติ้ว, ตั๋ว, สลาก ฉลาก คือสิ่งที่ทำไว้สำหรับจับเสี่ยงทาย โดยมีเครื่องหมายกำกับไว้. สลฺย สลฺล (นปุ.) แผล, ขวาก, หนาม, ลูกศร, ลูกปืน.  สาลว สาฬว (ปุ.) โลท, ต้นโลท. เสลุ (ปุ.) มะกอก, มะซาง, มะคำไก่, สลิล (นปุ.) น้ำ. สลฺยาณ สลฺลาณ (ปุ.,นปุ.) การไป, ฯลฯ.

สลฺ อาลุคติยํ
ไปเร็ว ไปคล่อง ไปไว วิ่ง แล่น แล่นไป ไหล ไหลไป ปราด (แล่นอย่างฉับไว). ก. สลติ. น. สลาก สลฺล (ปุ.,นปุ.) หอก, หลาว, ขวากเหล็ก.  สล (ปุ.) กระต่าย. สล สลฺล (นปุ.) สลฺลี (อิต.) ขนเม่น.

สลฺ จลเน
ไหว สั่น เล่น เต้นรำ. ก. สลติ. น. สลฺล สลฺย (นปุ.) การไหว, การสั่น, การเล่น, การเต้นรำ.

สลฺ สํวรเณ
ระวัง ป้องกัน รักษา. ก. สลติ. น. สลน (นปุ.) การระวัง, ฯลฯ.

สลฺล อาลุคติยํ
ไปเร็ว ไปคล่อง ไปไว แล่น ฯลฯ. ก. สลฺลติ. น. สลฺล สลฺลก (ปุ.) เม่น.  สลฺล (ปุ.,นปุ.) หอก, หลาว, ขวากเหล็ก.

สลาฏฺ พาเลย
อ่อน ดิบ โง่ เขลา เซ่อ เซอะ. ก. สลาฏติ. น. สลาฏุ (วิ.) อ่อน, ฯลฯ. (นปุ.) ผลอ่อน, ฯลฯ, ความโง่, ฯลฯ.

สวฺ สุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. สวติ. น. สพล (วิ.) หลายสี, หลากสี, ด่าง, พร้อม, ด่างพร้อย, ดำ, ดำมอ, ดำ ๆ มอ ๆ . (ปุ.) สีด่าง, สีด่างพร้อย, ฯลฯ. สพฺย สวฺย (วิ.) ซ้าย. (นปุ.) ข้างซ้าย, เบื้องซ้าย, ทางซ้าย.

สสฺ ปาณเน
เป็นอยู่ หายใจอยู่ มีชีพอยู่. ก. สสติ. น. สสน (นปุ.) การเป็นอยู่, ฯลฯ, ความเป็นอยู่, ฯลฯ. สุสุ (วิ.) หนุ่ม, รุ่น.  สุสุก (ปุ.) เด็ก, ปลาโลมา.

สสฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. สสติ. น. สุสิ (อิต.) รู, ช่อง, โพรง. สุสิร (วิ.) มีรู, ฯลฯ. รปัจ. ตทัสฯ.

สสฺ ปฺลุตคติยํ
ลอยไป ปลิวไป. ก. สสติ. น. สส (ปุ.) กระต่าย.

สสฺ สุสฺสเน
เป็นอยู่ดี สบาย. ก. สสติ. น. สส (ปุ.) กระต่าย, สิสิร (วิ.) มีรู, ฯลฯ. รปัจ. ตทัสฯ.

สสฺ สสุ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. สสติ. น. ผรสุ (ปุ.) พร้ามีด้าม, ผึ่ง, ขวาน.  ขวานถาก, สตฺติ (อิต.) ศร,ลูกศร, ฉมวก, หอก, หลาว, แหลน, มีด, เครื่องประหาร. สตฺตุ (ปุ.) ข้าศึก, ศัตรู, ปรปักษ์, ราชปรปักษ์. สุสวี (อิต.) ผักโหม. สาสน (นปุ.) คำสั่งสอนอันกำจัดกิเลส.

สสฺสฺ สาตจฺเจ
เป็นไปติดต่อ เป็นไปติดต่อกัน เป็นไปไม่ว่างเว้น เป็นไปไม่ขาดสาย เป็นไปเป็นนิตย์ เป็นไปเสมอ. ก. สสฺสติ. น. สสฺสต (วิ.) เที่ยง, เที่ยงแท้, แน่นอน, มั่นคง, ยั่งยืน, คงที่, เป็นอยู่ติดต่อ, เป็นไปทุกเมื่อ, เป็นไปติดต่อ, ฯลฯ. เป็นไปเสมอ.

สหฺ สตฺติยํ
อาจ องอาจ กล้าหาญ ผึ่งผาย สามารถ. ก. สหติ. น. วิสยฺห (วิ.) อาจ, ฯลฯ, สามารถ, ครอบงำ (บังคับให้เป็นไปตาม). สห (ปุ.) มะม่วงหอม. (นปุ.) ความอาจ, ฯลฯ ความสามารถ, ความข่มขี่, ความครอบงำ, กำลัง, แรง. สหณ สหน (นปุ.) ความอาจ, ฯลฯ. ปสหณ ปสหน (นปุ.) ปสยฺห (ปุ.) การกุมเหง, การข่มเหง, การข่มขี่, การคุมเหง, ความกุมเหง, ฯลฯ.

สหฺ ปริสหเน
ทน อดทน กลั้น อดกลั้น.  ก. สหติ. น. สข (ปุ.) เพื่อน, มิตร, สหาย. สห (ปุ.) สหณ สหน (นปุ.) ความทน, ฯลฯ, ความอดกลั้น.

สหฺ ปวตฺตเน
เป็นไป. ก. สหติ. น. สห (วิ.) เป็นไป, เป็นไปกับด้วยความยินดี, เป็นไปกับด้วยความร่าเริง. (ปุ.) ความเป็นไป, ความเป็นไปกับด้วยความยินดี, ฯลฯ.

สฬฺ อพฺยตฺตสทฺเท
ร้อง ร้องดัง ส่งเสียง เปล่งเสียง. ก. สฬติ. น. สาฬิก (ปุ.) นกสาฬิกา นกสาฬิกาตัวผู้. สาฬิกา (อิต.) นกสาฬิกาตัวเมีย.

สา ปาเก
หุง ต้ม นึ่ง ปิ้ง ย่าง ทอด สุก.  ก. สาติ. น. สาก (ปุ.,นปุ.) ผัก (สำหรับทำกับข้าว).

สา สตฺติยํ
อาจ ฯลฯ สามารถ. ก. สาติ. น. สมตฺถ (วิ.) อาจ องอาจ กล้าหาญ ผึ่งผาย, สามารถ. (ปุ.) ความอาจ, ฯลฯ. สาม (วิ.) ผู้อาจ, ฯลฯ. (ปุ.) คนผู้อาจ, ฯลฯ.

สา ตนุกรเณ
ละเอียด สุขุม. ก. สาติ. น. สาณ สาน (นปุ.) หินฝนทอง. สาติ (อิต.) สาติ ชื่อดาวฤกษ์ กลุ่มที่ ๑๕ ใน ๒๗ กลุ่ม มี ๕ ดาว, ดาวช้างพัง. สาม (วิ.) ดำ, ดำคล้ำ, เขียว, เขียวคราม, เหลือง (ปุ.) ดำ, สีดำ, ฯลฯ, สีเขียวคราม.


สาขฺ พฺยาปเน
ซ่าน ซ่านไป ซาบซ่าน ซึมซาบ อาบไป เอิบอาบ แทรกซึม แผ่ไป แพร่ แพร่หลาย กระจายออกไป. ก. สาขติ. น. สาขา (อิต.) กิ่ง, กิ่งไม้, ก้าน, สิ่งย่อย, ส่วนย่อย, ห้วย (ทางน้ำที่ไหลจากเขา).

สาฐฺ พลกฺกาเร
กุมเหง ข่มเหง กดขี่ ข่มขี่ รังแก เอาแต่ใจ. ก. สาฐติ. น. สาฐ (ปุ.) การกุมเหง, ฯลฯ.

สานฺ นิสาเน
ทำให้คม ลับ อาน.  ก. สานติ. น. นิสาน (วิ.) ลับ, อาน (ทำให้คม), แหลม. (ปุ.) การลับ, การอาน (ทำให้คม), การทำให้คม, การเสี้ยม.

สาลฺ วิตกฺเก
นึก คิด ตริ ตริตรอง ตรึก ดำริ. ก. สาลติ. น. สาล (ปุ.) พี่ชายของภรรยา, น้องชายของภรรยา, พี่ชาย น้องชายของภรรยา, พี่น้องชายของภรรยา.

สาสฺ อนุสิฏฺฐิยํ
สั่ง สั่งสอน พร่ำสอน สอนบ่อย ๆ แนะนำพร่ำสอนอบรม. ก. สาสติ. น. สาสน (นปุ.) คำสั่ง, คำสอน, คำสั่งสอน, การสั่งสอน, ศาสนา, สาสนา (คำสั่งสอนของพระศาสดา). สตฺถ (นปุ.) หนังสือ, คัมภีร์, ตำรา, ศาสตร์ (วิชาตำรา).

สิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. เสติ. น. วิสย (ปุ.) อารมณ์, โคจร (อารมณ์). สีฆ (วิ.) คล่อง, พลัน, ฉับพลัน, เร็ว, ไว, ฉับไว, ว่องไว, ด่วน, เชี่ยว. เสตุ (ปุ.) ทำนบ, เขื่อน, สะพาน, ถนน, ทาง, หนทาง.

สิ พนฺธเน
ผูก พัน มัด รัด. ก. เสติ. น. วิสย (นปุ.) อารมณ์, โคจร (อารมณ์). สิขา (อิต.) จุก, ผมจุก, มวยผม, ปลาย, ยอด, ประธาน.  เสตุ (ปุ.) ทำนบ, เขื่อน, สะพาน, ถนน, ทาง, หนทาง. สิรา (อิต.) เอ็น.

สิ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. เสติ. น. สิขา (อิต.) เปลวไฟ.

สิ นิสาเน
ลับ อาน (ทำให้คม). ก. เสติ. น. สิขา (อิต.) เปลวไฟ.

สิ เสวายํ
เสพ คบ คบหา รับใช้ ปฏิบัติ ก. เสวติ. น. วิสย (ปุ.) ประเทศ, แว่นแคว้น, ชนบท, ภูมิ, ขอบ, เขต, ขอบเขต, แดน, ถิ่น, บริเวณ, พื้นเพ, ลักษณะ, ชั้น, ที่อยู่, ที่เป็นอยู่, หมวด, หมู่, ประชุม, กอง, คณะ, พวก, ฝูง. วิสิขา (อิต.) ถนน, ทาง, หนทาง, ทางเดิน, ตรอก, ตรอกมืด, ตรอกใหญ่, ตรอกน้อย, ซอย. สิขา (อิต.) จุก, ผมจุก, มวยผม, ปลาย, ยอด, หงอน, ประธาน.  สิงฺค (นปุ.) เขา, เขาสัตว์, นอ, งา, งาช้าง. สิปฺป (นปุ.) สิปปะ, ศิลปะ, วิชาความรู้ที่ได้มาจากการศึกษา ที่นำมาประกอบอาชีพสุจริต. สิร (ปุ.) หัว, ยอด, ปลาย, ที่สุด, จอม, หงอน, สิรี (อิต.) ความเจริญ, ความรุ่งเรือง, ความงาม, ความดี, มิ่ง (สิ่งอันเป็นสิริมงคล), มิ่งขวัญ, สมบัติ, ศรี. เสณิ (ปุ.) หมู่คนที่มีศิลปะมีชาติเสมอกัน.  เสตุ (ปุ.) ทำนบ, เขื่อน, สะพาน, ถนน, ทาง, หนทาง.

สิ นิสฺสเย
เป็นที่พึ่ง เป็นที่พักพิง เป็นที่อาศัย. ก. เสติ เสวติ. เอา อิ เป็น เอ วฺ อาคม. สิรี (อิต.) ความเจริญ, ความรุ่งเรือง, ความงาม, ความดี, มิ่ง, มิ่งขวัญ, สมบัติ, ศรี.

สิ วุฑฺฒิยํ
เจริญ ฯลฯ. ก. เสติ. น. สิริ (อิต.) ความเจริญ, ฯลฯ, ความงาม, ความดี, มิ่ง, มิ่งขวัญ, สมบัติ, สิริ, ศรี. ลง ริ ปัจ.

สิ สี สเย
นอน.  ก. สยติ เสติ. น. สํสย (ปุ.) ความเคลือบแคลง, ความไม่แน่ใจ, ความระแวง, ความสงสัย, ความลังเล, ความสองจิตสองใจ, ความฉงน, ความสนเท่ห์. สิขร (ปุ.,นปุ.) จอม, ยอด, ปลาย , หงอน.  สุสาน (นปุ.) ที่เป็นที่นอนแห่งศพ, ป่าช้า. เสน (นปุ.) การนอน, ที่นอน.

สิกฺขฺ วิชฺโชปาทาเน
ศึกษา เล่าเรียน ฝึกฝน อบรม. ก. สิกฺขติ. น. สิกฺขก (ปุ.) คนผู้ศึกษา, ฯลฯ. สิกฺขน (นปุ.) การศึกษา, ฯลฯ. สิกฺขา (อิต.) ปฏิทาอันบุคคลพึงศึกษา, ฯลฯ, ทางดำเนินอันบุคคลพึงศึกษา, ฯลฯ, ข้อที่ควรศึกษา, ฯลฯ, ข้อปฏิบัติที่ควรศึกษา, ฯลฯ, หัวข้อที่ควรศึกษา, ฯลฯ, วิชชาอันบุคคลพึงศึกษา, ฯลฯ. สิปฺป (นปุ.) สิปปะ, ศิลปะ ได้แก่ ความรู้ที่ใช้ประกอบสัมมาอาชีวะทุกอย่าง. เสขิย (วิ.) อัน. ..พึงศึกษา, อัน. ..ควรศึกษา, อัน. ..พึงใส่ใจ, อัน. ..ควรใส่ใจ.

สิขฺ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. สิขาติ. น. สิขา (อิต.) เปลวไฟ, หงอน, หงอนนกยูง.

สึฆฺ ปสเว
ไหล ไหลไป. ก. สึฆติ สิงฺฆติ. น. สึฆานิกา สิงฺฆานิกา (อิต.) น้ำมูก.

สิฆิ สึฆิ ฆายเน
ดม สูด สูดดม ดมกลิ่น.  ก. สิงฺฆติ. น. สึฆาฏ สิงฺฆาฏ (ปุ.) โคกกระสุน, กระจับ. สึฆาน สิงฺฆาน (นปุ.) จมูก.

สึฆฺ ฆฏเน
เพียร หมั่น ขยัน พยายาม. ก. สึฆติ สิงฺฆติ. น. สิงฺฆาฏก (นปุ.) ทางมารวมกัน, ตะแลงแกง (ทางสี่แพร่ง), ทางสามแยก, ทางสี่แยก, ทางสามแจง (แยกออกเป็น ๓ สาย) , ทางสี่แจง, ทางสามแพร่ง (แยกออกเป็น ๓ สาย), ทางสี่แพร่ง, ตรอกสามแจง, ฯลฯ, ชุมทางสามแยก, ฯลฯ.

สิจฺ ปคฺฆรเณ
ไหลออก หลั่งออก คายออก รด ราด โปรย พรม ประพรม. ก. เสจติ. สิกตา (อิต.) ทราย. เสก (ปุ.) เสจน (นปุ.) การไหลออก, ฯลฯ.

สิตฺ วณฺเณ
สะอาด ขาว เผือก.  ก. เสตติ. น. เสต เสตก (ปุ.) สะอาด ฯลฯ. เสต (นปุ.) ผ้าสะอาด, ผ้าขาว. สิต (วิ.) สะอาด, ฯลฯ. (ปุ.) ขาว, สีขาว, เผือก, สีเผือก.

สิทฺ โมจเน
ปลด เปลื้อง หลุด หลุดไป พ้น พ้นไป. ก. สิทติ. น. สินฺทิ (อิต.) อินทผลัม, เป้ง.

สิทฺ เสทเน
สง่า เป็นสง่า งาม น่ารัก สวย. ก. สิทติ. เสทน (นปุ.) ความสง่า, ฯลฯ.

สิทิ สีติเย
เย็น.  ก. สินฺทติ. น. สินฺท (ปุ.) ความเย็น, ความสบาย, ความสำราญ.

สิธุ คติสตฺถมงฺคเลยสุ
ไป ฯลฯ สั่ง สั่งสอน เป็นมงคล เป็นความดี เจริญ. ก. เสธติ. น. เสธน (นปุ.) การไป, ฯลฯ.

สินา โสเจยฺเย
กวาด เช็ด ถู ชำระ ชะล้าง. ก. สินาติ. น. สินาน (นปุ.) การกวาด, ฯลฯ, การอาบ, การอาบน้ำ, เครื่องสนาน.  เครื่องอาบน้ำ, เครื่องสำอาง.

สิภฺ กตฺถเน
ชม ชมเชย ยกย่อง สรรเสริญ. ก. สิภติ. น. สิภน เสภน (นปุ.) การชม, ฯลฯ.

สิลฺ อุญฺเฉ
ค้น ค้นหา เสาะหา แสวงหา. ก. สิลติ. น. สิลา (อิต.) หิน, หินก้อน, ผา (หิน หินที่เขา), สิลา, ศิลา, ไศล (สะไหล), เขาหิน.

สิลฺ อุจฺเจ
เขิน (สูง). สูง ก. สิลติ. น. สิลา (อิต.) หิน, ฯลฯ, เสาหิน, เขาหิน.

สิลาฆฺ กตฺถเน
ชม ชมเชย ยกย่อง สรรเสริญ. ก. สิลาฆติ. น. สิลาฆ (วิ.) ชม, ฯลฯ. สิลาฆา (อิต.) ความชม, ฯลฯ, พรรณนา.

สิลิสฺ อุปทาเห
แผดเผา เผาผลาญ เร่าร้อน กระวนกระวาย เบียดเบียน.  ก. สิเลสติ. น. สิเลสน (นปุ.) ความแผดเผา, ฯลฯ.

สิลิสฺ สิเลสฺ สงฺฆาเต
เบียดกัน ติดต่อกัน รวมกัน ระคน คละกัน ปนกัน.  ก. สิเลสติ. น. สิเลสุม (ปุ.) เสลด,เสมหะ.

สิโลกฺ สงฺฆาเต
ติดต่อกัน แต่ง ร้อยกรอง ประพันธ์. ก. สิโลกติ. น. สิโลก (ปุ.) เกียรติ, ยศ, ชื่อเสียง, คำสรรเสริญ, คำยกย่อง, เกียรติยศ, สิโลก โศลก (สะโหลก) ชื่อของคำขับร้องสรรเสริญที่เป็นบทกลอน.

สิโลณฺ สงฺฆฏนหึสาสุ
รวมกัน ติดต่อกัน กำจัด ฯลฯ. ก. สิโลณติ. น. สิโลณนา (อิต.) การรวมกัน, ฯลฯ.

สิสฺ อิจฺฉายํ
ยินดี เพลิน เพลิดเพลิน ใคร่ หวัง มุ่งหวัง ใส่ใจ ต้องการ อยาก อยากได้ ปรารถนา. ก. สิสติ. เสฏฺฐ (นปุ.) วัตถุอันบุคคลยินดี, สิ่งที่บุคคลยินดี, ฯลฯ., ทรัพย์. สิสฺส (ปุ.) นักเรียน, ศิษย์ (ผู้ยินดีฟัง, ฯลฯ).

สิสฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. สิสติ. น. วิสาสน (นปุ.) ผ้า, ผ้านุ่ง, ผ้านุ่งห่ม (กำจัดความอาย).

สี เฉทเน
ตัด บั่น แบ่ง ทอน เฉือน เชือด ฯลฯ. ก. สยติ. น. สยนา (อิต.) การตัด, ฯลฯ.

สีท วิสรเณ
ซ่าน ซ่านไป แผ่ แผ่ไป กระจาย ฯลฯ. ก. สีทติ. บางตำราเป็น สิทฺ ธาตุ ทีฆะต้นธาตุ. น. สีทน (นปุ.) ความซ่าน,ฯลฯ.

สีทฺ คตฺยาวสาเน
หยุด จบ จม ฯลฯ. ก. สีทติ. บางตำราเป็น สิทฺธาตุ ทีฆะ ต้นธาตุ. น. นิสีทน (นปุ.) การนั่ง, ที่เป็นที่นั่งที่สำหรับรองนั่ง, นิสีทนะ คือผ้าสำหรับปูนั่ง ผ้าสำหรับรองนั่ง.

สีลฺ สมาธิมฺหิ
ตั้งมั่น มั่นคง แน่วแน่ ปกติ ปรกติ. ก. สีลติ. น. สีล (วิ.) ตั้งมั่น, ฯลฯ, ปกติ, ปรกติ (ของกายและวาจา). (นปุ.) ความตั้งมั่น, ฯลฯ, ความปรกติ, ธรรมชาต (สิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมดา).

สีลฺ อุปธารเณ
ทรง รองรับ. ก. สีลติ. น. สีล (นปุ.) จิตที่ทรงความดีทางกายและวาจาไว้, จิตที่รองรับความดีทางกายและวาจาไว้.

สีลฺ สมาทาเน
ถือเอา รับเอา ถือเอาด้วยดี รับเอาด้วยดี. ก. สีลติ. น. สีล (นปุ.) การถือเอาซึ่งข้อปฏิบัติ, ฯลฯ, การถือเอาด้วยดีซึ่งข้อปฏิบัติ, ฯลฯ, การถือเอาซึ่งข้อสำหรับปฏิบัติ, ฯลฯ.

สุ เปรเณ
บด ขยี้ ย่ำ ป่น ละเอียด, ก. สุติ. น. สุต (วิ.) บด, ฯลฯ, (ปุ.) การบด, ฯลฯ, ความป่น, ฯลฯ.

สุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. สุติ. สวติ. แปลง อุ เป็น อว. น. สุต (ปุ.) การไป, ฯลฯ, ด้าย, เชือก. สูต (ปุ.) คนขับรถ, สารถี. โสต (วิ.) ผู้ถึงพระนิพพาน.

สุ วุทฺธิยํ
เจริญ ฯลฯ. ก. สวติ. น. สวน (นปุ.) ความเจริญ, ฯลฯ. สิว (วิ.) งาม, ดี, เกษม, สำราญ, สุขสำราญ, ดีงาม, เป็นศรีสวัสดี, เจริญ, ฯลฯ. (นปุ.) ความงาม, ฯลฯ. สุต (ปุ.) ความเจริญ, ฯลฯ, การขวนขวาย, ความขวนขวาย, การแสวงหา, ความแสวงหา, การศึกษา, ความปรากฏ, ชื่อเสียง. โสต โสผ (วิ.) บวม. (ปุ.) ความบวม. สฺยาม (ปุ.) ประเทศสยาม. ปัจจุบันคือประเทศไทย.

สุ พฺยนฺตีกรเณ
หุง ต้ม แกง (ทำกับข้าวที่เป็นน้ำให้สุก). ก. สวติ. น. สูท (ปุ.) คนผู้ยังขาทนิยะและโภชนียะให้สุก, คนผู้ยังอาหารให้สุก, คนครัว, พ่อครัว.

สุ สู ปสเว
หลั่ง หลั่งออก ไหล ไหลออก ไหลไป คลอด. ก. สวติ. น. สวณ สวน (นปุ.) การหลั่ง, ฯลฯ, การประสูติ. สวณ (ปุ.) สวณะ ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มที่ ๒๒ ใน ๒๗ กลุ่ม มี ๓ ดวง, ดาวหลักชัย. สวนฺตี (อิต.) แม่น้ำ. สุต (วิ.) หลั่ง, ฯลฯ (ปุ.) การหลั่ง, ฯลฯ. สุตฺต สุตฺร (นปุ.) พระสูตร ชื่อหมวด ๑ ในพระไตรปิฎก คำเต็มว่า พระสุตตันตะ (หลั่งอรรถ). สูต (อิต.) การคลอด, การเกิด, กำเนิด, ประสูติ. โสต (นปุ.) ความสืบต่อ, ความสืบต่อแห่งจิต, กระแส, กระแสลม, กระแสน้ำ, สายน้ำ, กระแสตัณหา, กิเลศ, อริยมรรค. สูร (ปุ.) สูระ ชื่อดาวนพเคราะห์ดวงที่ ๑, พระอาทิตย์.

สุกฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. โสกติ. น. สุก (ปุ.) นกแก้ว, นกแขกเต้า. สุกี (อิต.) นางนกแก้ว, นางนกแขกเต้า.

สุกฺขฺ โสสเน
ผาก แห้ง เหี่ยว. ก. สุกฺขติ. น. สุกฺข (วิ.) ผาก, ฯลฯ, เหี่ยว, แล้ง.

สุกฺขฺ อนาทเร
ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เอาใจใส่ ไม่สนใจ ไม่ตั้งใจ. ก. สุกฺขติ. น. สุกฺข (วิ.) ไม่เอื้อเฟื้อ, ฯลฯ.

สุขฺ สุขกิริยายํ
เป็นสุข สบาย สำราญ. ก. สุขติ. น. สุข (วิ.) สะดวก, สบาย, สำราญ, เย็น, ง่าย. (ปุ.) ความสะดวก, ฯลฯ.

สุกฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. สุกติ สุงฺกติ. น. สุงฺก (ปุ.,นปุ.) ภาษี, อากร, ส่วย. สุงฺกิย (นปุ.) สินสอด.

สุจฺ สุทฺเธ
สะอาด หมดจด ขาว เผือก ผ่อง ผ่องใส สุกใส บริสุทธิ์. ก. สุจติ. น. สุกฺก (วิ.) สะอาด, ฯลฯ. (ปุ.) ความสะอาด, ฯลฯ, ศุกร์ ชื่อดาวนพเคราะห์ดวงที่ ๖ ชื่อวันที่ ๖ ของสัปดาห์. โสจิ (นปุ.) การอบ, การชำระ, ความสะอาด, ฯลฯ. สุจิ (วิ.) สะอาด, ฯลฯ. (นปุ.) ความสะอาด, ฯลฯ.

สุจฺ ปกาสเน
ประกาศ แสดง สำแดง ปรากฏ. ก. สุจติ. น. สุจิ (อิต.) เข็ม.

สุจฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. สุจติ. น. สุตฺต (นปุ.) ใย (เช่นใยบัว), ด้าย, เส้น, เส้นด้าย, สาย, สายบรรทัด.

สุจฺ โสจเน
แห้ง ผาก เหี่ยว เหี่ยวแห้ง โศก (แห้ง). ก. โสจติ. น. โสจ โสจน (นปุ.) โสจนา (อิต.) ความแห้ง, ฯลฯ.

สุฏฺ ปริภาสเน
กล่าวโทษ ตัดพ้อ ติเตียน ต่อว่า ด่า ด่าว่า. ก. สุฏติ. น. สุฏน (นปุ.) การกล่าวโทษ, ฯลฯ, คำกล่าวโทษ, ฯลฯ, ถ้อยคำกล่าวโทษ, ฯลฯ.

สุฐฺ คติปฏิฆาเต
กำจัด การไป ช้า หยุด. ก. โสฐติ. น. โสฐน (นปุ.) ความช้า, การหยุด.

สุฐิ โสสเน
ผาก เหี่ยว แห้ง. ก. สุณฺฐติ. น. สุณฺฐน (นปุ.) ความผาก, ฯลฯ.

สุถฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. โสถติ. น. โสถน (นปุ.) การกำจัด, การขจัด, การเบียดเบียน, การทำร้าย, การประทุษร้าย.

สุนฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. สุนติ. น. สุน (ปุ.) เสียง, การเปล่งเสียง, การกล่าว, การพูด, ถ้อยคำ. สุณ สุณข สุน สุนข สุวาณ สุวาน สูณ สูน (ปุ.) สุนัข, หมา.

สุนฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. สุนติ. น. สุน (ปุ.) การไป, การดำเนินไป, การเดินไป, การถึง, ความเป็นไป. สุณ สุณข สุน สุนข สุวาณ สุวาน สูณ สูน (ปุ.) สุนัข, หมา. สูนา (อิต.) เขียง.

สุปฺ สยเน
หลับ นอนหลับ. ก. สุปติ. น. สุป สุปน (นปุ.) การหลับ, การนอนหลับ, ความหลับ. สุตฺต (นปุ.) การหลับ, ความหลับ, ความฝัน.  สุปิน (ปุ.,นปุ.) การหลับ, การนอนหลับ, การฝัน, ความหลับ, ฯลฯ. สุปฺป (นปุ.) กระด้ง (ถ้าวางแบไว้ สุนัขเป็นต้นจะเข้าไปนอน).

สุปฺปฺ หนเน
กระทบ. ก. สุปฺปติ. น. สุปฺป (นปุ.) กระด้ง ชื่อภาชนะที่สานด้วยตอกไม้ไผ่ที่เอาผิวไว้ตอกเส้นใหญ่ และหนาหน่อย เป็นภาชนะแบนกลมใหญ่มีขอบหนากลมใหญ่ มือจับถือได้สบายสำหรับผัดข้าวโบกลม.

สุกฺ ทิตฺติยํ
เจริญ ฯลฯ. ก. โสภติ. น. สุภ โสภ โสภณ โสภน (วิ.) เจริญ, รุ่งเรือง, ไพโรจน์, งาม, ดี, ดีงาม, จรูญ, จำรูญ, ชอบใจ เป็นที่พอใจ. สุภ (นปุ.) โสภณ โสภน (ปุ.) ความเจริญ, ฯลฯ.

สุมฺภฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. สุมฺภติ. น. สุมฺภ (ปุ.) บ่อ, หลุม. สุมฺภน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

สุมฺภฺ ภาสเน
กล่าว พูด เจรจา. ก. สุมฺภติ. น. สุมฺภน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

สุรฺ อิสฺสริเย
ยิ่งใหญ่ เป็นเจ้า เป็นใหญ่. ก. สุรติ. น. สุร สูร (วิ.) ยิ่งใหญ่, ฯลฯ กล้า, กล้าหาญ, เข้มแข็ง, องอาจ. สุร (ปุ.) พระอาทิตย์, ดวงอาทิตย์.

สุรฺ ทิตฺติยํ
เจริญ ฯลฯ. ก. สุรติ. น. สุร (วิ.) เจริญ, รุ่งเรือง, สว่าง, ส่องสว่าง. (ปุ.) พระอาทิตย์.

สุสฺ โสสเน
ผาก แห้ง เหี่ยว. ก. โสสติ. น. สุสิ (อิต.) ช่อง, รู, โพรง.

สุทฺ สูทฺ ปคฺฆรเณ
หลั่ง หลั่งออก ไหล ไหลออก ไหลไป รด ราด รั่วรด โปรย ขยาย แสดง. ก. สูทติ. น. สูท (ปุ.) คนผู้ยังรสให้หลั่งออก, คนผู้หลั่งออกซึ่งรส, คนครัว, พ่อครัว. สูทก (ปุ.) คนครัว, พ่อครัว. สูทน (ปุ.,นปุ.) การหลั่ง, ฯลฯ. สุตฺต สุตฺร (นปุ.) พระสูตร (หลั่งอรรถ) ชื่อหมวดที่ ๒ ของพระไตรปิฎก.

สูท ขรเณ
เสื่อม สิ้น สูญ ฉิบหาย. ก. สูทติ. น. สูทน (นปุ.) ความเสื่อม, ฯลฯ.

สูลฺ รุชายํ
แทง ทิ่มแทง เสียดแทง เบียดเบียน กำจัด ทำลาย. ก. สูลติ. น. สูล (ปุ.,นปุ.) ความจุกเสียด, ความทิ่มแทง, ความเสียดแทง, ฯลฯ, เครื่องแทง, เครื่องทิ่มแทง, หอก, หลาว, ขวากเหล็ก.  สุลา (อิต.) สุลา ชื่อโรคหัวเดือนที่ขึ้นปลายนิ้ว, โรคจุกเสียด. สูลา (อิต.) โรคจุกเสียด, โรคลมแทง, ตะคิว.

เส ขเย
สิ้น สิ้นไป เสื่อม เสื่อมไป. ก. สายติ. น. สาย (ปุ.) เย็น (เวลาสิ้นวัน), เวลาเย็น.

เส ปาเก
หุง ต้ม ปิ้ง ย่าง ทอด คั่ว สุก.  ก. เสติ. น. เสท (ปุ.) พ่อครัว, เหงื่อ. เหื่อ,ไคล, ขี้ไคล.

เส คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. เสติ สยติ. น. สาว (วิ.) ดำเหลือง, ดำแดง,น้ำตาลแก่. (ปุ.) ดำเหลือง, ฯลฯ, สีดำเหลือง, ฯลฯ. เหสา (อิต.) เหสา (ฮี้) เสียงร้องของม้า.

เสกฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. เสกติ. น. เสก (ปุ.) การไป, การดำเนินไป, การเดินไป, การถึง, ความเป็นไป.

เสจฺ เสจเน
รด ราด พรม ประพรม โปรย. ก. เสจติ. น. เสก (ปุ.) การรด, ฯลฯ.

เสลุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. เสลติ. น. เสลน (นปุ.) การไป, ฯลฯ.

เสวฺ เสวุ เสวเน
เสพ คบ คบหา รับใช้ ปฏิบัติ เล่าเรียน ศึกษา. ก. เสวติ. น. เสวก (ปุ.) ข้าเฝ้า, อำมาตย์, เสวก (ข้าราชการในพระราชสำนัก). เสว (ปุ.) เสวนา เสวา (อิต.) การเสพ, การคบ, ฯลฯ.

โสฏ คพฺเพ
หยิ่ง จองหอง ไว้ตัว ถือตัว. ก. โสฏติ. น. โสฏน (นปุ.) การหยิ่ง, ฯลฯ, ความหยิ่ง, ฯลฯ.

โสณฺ ฆาตเน
ฆ่า ประหาร เบียดเบียน.  ก. โสณติ. น. โสณน (นปุ.) การฆ่า, ฯลฯ.

โสณฺ สงฺฆาเต
ติดต่อ ติดต่อกัน รวมกัน เบียดกัน คละ คละกัน ระคน ปนกัน.  ก. โสณติ. น. โสณน (นปุ.) การติดต่อ, ฯลฯ.

โสณฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. โสณติ. โสณน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความเป็นไป.

โสณฺ วณฺเณ
เป็นสี ย้อมสี. ก. โสณติ. น. โสณ (ปุ.) แดง, สีแดง,สีเลือดหมู.

ห อักษร

หํสฺ หสเน
ร่าเริง รื่นเริง หัวเราะ. ก. หํสติ. น. หํส (ปุ.) หํสน (นปุ.) ความร่าเริง, ฯลฯ, การหัวเราะ.

หํสฺ ปีติยํ
ชื่มชม ยินดี อิ่มใจ ปลื้มใจ เบิกบาน เบิกบานใจ. ก. หํสติ. น. หํส (ปุ.) หํสน (นปุ.) ความชื่นชม, ฯลฯ.

หฏฺ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. หฏติ. น. หฏก หาฏก (นปุ.) ทอง, ทองคำ.

หฐฺ พลกฺกาเร
กุมเหง ฯลฯ. ก. หฐติ. น. หฐ (วิ.) กุมเหง, ข่มเหง, รังแก (ทำความเดือนร้อนให้ผู้อื่น), ทำตามอำเภอใจ (ทำโดยเอาแต่ใจตัวไม่ยอมรับฟังผู้อื่น).

หทฺ กรีสุสฺสคฺเค
ถ่าย ถ่ายอุจจาระ. ก. หทติ. น. หทน (นปุ.) การถ่าย, การถ่ายอุจจาระ.

หทฺ จินฺตายํ
คิด นึก ดำริ. ก. หทติ. น. หทย (นปุ.) ใจ, หัวใจ.

หนฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. หนติ หนฺติ. กิริยาหลังลบ อ ปัจ. น. หณน หนน (นปุ.) การกำจัด, การขจัด, การกระทบ, การเบียดเบียน.  หณุ หนุ หนุกา (อิต.) คาง. วชฺฌ (วิ.) อัน. ..ควรฆ่า. วชฺฌา (อิต.) การเบียดเบียน.  การตี,การฆ่า, การสำเร็จโทษ, การประหาร, การประหารชีวิต. วญฺฌ (วิ.) หมัน, ไม่มีลูก, ไม่มีผล. (ไตรลิงค์) ไม้ไม่มีลูก, ไม้ไม่มีผล. วญฺฌา วญฺฌาคาวี (อิต.) แม่โคหมัน.  วญฺฌา (อิต.)  หญิงมีบุตร อันฉิบหายแล้ว, หญิงหมัน.  วธู (อิต.) หญิงสะใภ้, ลูกสะใภ้. สงฺฆ (ปุ.) พระสงฆ์ผู้ฆ่ากิเลสด้วยดี คือ ละกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน มี ๔ ชั้น คือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และ พระอรหันต์.

หนฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. หนติ. น. ปฆณ ปฆน (ปุ.) ระเบียง, เฉลียง, เลบแล (เครื่องตั้งหรือบังที่ย้ายได้). ปฆาณ (ปุ.) ระเบียง. สงฺฆ (ปุ.) ขีต้น (พระสงฆ์), ภิกษุตั้งแต่สี่รูปขึ้นไปประชุมกัน, การประชุม, กอง, หมวด, หมู่, คณะ. หตฺถ (ปุ.) กำ, หมวด, หมู่, การประชุม, มวยผม.

หนฺ ปฏิปาทเน
เป็นตัวอย่าง เป็นอุทาหรณ์. ก. หนติ. ก. หนน (นปุ.) ตัวอย่าง, อุทาหรณ์.

หนฺ พนฺชเน
ผูก พัน มัด รัด. ก. หนติ. น. หนน (นปุ.) การผูก, ฯลฯ.

หนุ อปนยเน
นำปราศ นำไปปราศ นำหลีกไป นำพ้นไป ถอน เลิก ยกเลิก ไม่พูดถึง. ก. หโนติ. พฤทธิ อุ เป็น โอ. น. หนูน (นปุ.) การนำไปปราศ,ฯลฯ.

หนุ เถยฺเย
ลัก ขโมย. ก. หโนติ. น. หโนน (นปุ.) การลัก, การขโมย.

หมฺมฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. หมฺมติ. น. หมฺมน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความเป็นไป.

หยฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. หยติ. น. หย (ปุ.) ม้า, ม้าตัวผู้. หยน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความเป็นไป. เวหาส (ปุ.) กลางหาว, อากาศ, ฟ้า, ท้องฟ้า.

หรฺ หรเณ
เป็นไป เป็นอยู่ อยู่ อาศัย อาศัยอยู่ นำ นำไป. ก. หรติ. น. วิหาร (ปุ.) ที่เป็นที่อยู่, ที่อยู่, ที่อยู่ของภิกษุ, ที่อยู่ของพระสงฆ์, กุฏิ, พระวิหาร ชื่อสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป. สํโวหาร (ปุ.) การแลกเปลี่ยน, การซื้อขาย, การซื้อขายด้วยเงินทอง. หตฺถ (ปุ.) มือ, งวง, งวงช้าง. หทย (นปุ.) อก (อวัยวะด้านหน้าถัดคอลงมาถัดท้องขึ้นไป). หาร (ปุ.) การนำ, การนำไป. หาริ หารี (วิ.) งาม, งดงาม, น่าดู, น่ารัก, ดีนัก, เป็นที่ชอบใจ.

หรฺ อาทาเน
จับ ถือ ถือเอา ฉวยเอา คว้าเอา ยึด ยึดเอา ยึดไว้ ยึดถือ. ก. หรติ. น. หร (ปุ.) หรณ (นปุ.) การจับ, ฯลฯ.

หรฺ นยเน
นำ นำไป. ก. หรติ. น. หร (ปุ.) การนำ, การนำไป, พระอิศวร, พระศิวะ (ผู้นำสรรพสิ่ง). หริ (ปุ.) พระนารายณ์, พระวิษณุ (ผู้นำสรรพสิ่ง). หริ (ปุ.) เขียว, สีเขียว, เขียวใบไม้, สีเขียวใบไม้, ทอง, ทองคำ. วิหรณ (นปุ.) การนำไปเสีย. หริ (นปุ.) เขียว, สีเขียวใบไม้, ของเขียว, ของสดเขียว, ผัก, หญ้า.

หรฺ อปนยเน
น้ำออก.  ก. หรติ. น. วิหณ วิหน (นปุ.) คะแนน, เครื่องหมาย, ลักษณะ, รอย. หรีตกี (อิต.) สมอ, สมอไทย (นำออกซึ่งโรค นำโรคออก).

หรฺ ปสยฺหกรเณ
กดขี่ ข่มขี่ กุมเหง ข่มเหง คุมเหง เบียดเบียน.  ก. หรติ. น. สมฺปหาร (ปุ.) การรบกัน, การสู้รบกัน, การต่อสู้กัน, การทำยุทธ์กัน, สถานที่รบ, สนามรบ, สงคราม, สัมปหาร.

หริยฺ เคลญฺเญ
เจ็บ ไข้ เจ็บไข้ ป่วยไข้ ไม่สบาย. ก. หริยติ. น. หริยน หรียน (นปุ.) ความเจ็บ, ความไข้, ฯลฯ.

หริยฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. หริยติ. น. หริยน หรียน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความเป็นไป.

หเร ลชฺชายํ
กระดาก ขวยใจ ตะขิดตะขวง ละอาย ละอายใจ. ก. หรายติ. แปลง เอ เป็น อาย. น. หรายน (นปุ.) ความกระดาก, ฯลฯ.

หลฺ กมฺปเน
ไหว หวั่นไหว กระดิก สั่น สะเทือน เคลื่อนไหว. ก. หลติ. น. หลน (นปุ.) ความไหว, ฯลฯ.

หลฺ หฬฺ วิเลขเน
ขีด เขียน ไส่ไป เสือกไป.ก. หลติ หฬติ. น. หล หฬ (ปุ.) คนพาล คือคนอ่อนอายุยังน้อยอยู่ ไม่ใช่คนเกเร, เด็ก.  หล หฬ (นปุ.) ไถ ชื่อเครื่องมือทำไร่ทำนา.

หฺว อวฺหาเน
เรียก ร้องเรียก.  ก. หฺวติ. น. หว (ปุ.) การเรียก, การร้องเรียก, เสียงเรียก, เสียงร้องเรียก.  อวฺหาณ อวฺหาน อวฺหายน (นปุ.) การเรียก, ฯลฯ, คำเรียก, ฯลฯ.

หวฺ ทาเน
ให้ สละ บริจาค บำเพ็ญทาน.  ก. หวติ. น. หวน (นปุ.) การให้, ฯลฯ.

หสฺ หสเน
ยินดี ร่าเริง รื่นเริง หัวเราะ สรวล สรวลเส เสสรวล เฮฮา. ก. หสติ. น. หสน (นปุ.) หาส (ปุ.) ความยินดี, ฯลฯ.

หสฺ สทฺเท
ออกเสียง ส่งเสียง ร้อง. ก. หสติ. หสน (นปุ.) การส่งเสียง, ฯลฯ.

หฬฺ สิลาฆายํ
ชม ชมเชย ยกย่อง สรรเสริญ. ก. หฬติ หลติ. น. หฬ (ปุ.) การชม, ฯลฯ, ความชม, ฯลฯ.

หา จาเค
สละ ละ ให้ ให้ปัน วาง ปล่อย. ก. หาติ ชหาติ. น. หาน (นปุ.) การสละ, ฯลฯ, ความสละ, ฯลฯ. อห (ปุ.,นปุ.) วัน, กลางวัน.  วิชหน (นปุ.) การสละ, ฯลฯ. หีน (วี.) สละ, ฯลฯ, ปล่อย, ถอน, เลิก, บอกเลิก.

หาสฺ หาสุ อาลิงฺคเน
อิงแอบ สวมกอด กอดรัด เคล้าคลึง. ก. หสฺสติ. รัสสะ อา เป็น อ ซ้อน สฺ. น. หสฺสน (นปุ.) การอิงแอบ, ฯลฯ.

หิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. หยติ. เอา อิ เป็น เอ แปลง เอ เป็น อย. น. เวหายส (ปุ.) กลางหาว, อากาศ, ฟ้า, ท้องฟ้า. หย (ปุ.) ม้า, ม้าตัวผู้.

หิกฺกฺ อพฺยตฺสทฺเท
ร้อง บันลือ ส่งเสียง แผดเสียง อึกอัก สะอึก.  ก. หิกฺกติ. น. หิกฺการ (ปุ.) หิกฺกา (อิต.) การสะอึก.

หิฑิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. หิณฺฑติ. น. หิณฺฑน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความเป็นไป.

หิลฺ ภาวกรเณ
จัดทำ จัดทำขึ้น สร้างขึ้น ประดิษฐ์. ก. เหลติ. เอา อิ เป็น เอ. น. เหลน (นปุ.) การจัด, ฯลฯ.

หิลฺ หาวกรเณ
ย่างเยื้อง เยื้องกราย กรายกร ฟ้อนรำ. ก. เหลติ. น. เหลา (อิต.) การย่างเยื้อง, ฯลฯ, เหลา ชื่อ กิริยาท่าทางน่าเสน่หาของหญิง.

หิลาทิ อพฺยตฺตสทฺเท
ร้อง บันลือ ฯลฯ. ก. หิลาทติ. น. หิลาทน (นปุ.) การร้อง, ฯลฯ, เสียงร้อง, ฯลฯ.

หิลาทิ สุเข
เป็นสุข สบาย สำราญ. ก. หิลาทติ. น. หิลาท (วิ.) เป็นสุข, ฯลฯ. หิลาทน (นปุ.) ความเป็นสุข, ความสบาย, ฯลฯ.

หิสฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. หิสติ. น. หิสน เหสน (นปุ.) การกล่าว, คำพูด, คำกล่าว, คำพูด.

หิสิ หึสฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. หึสติ. น. หิม (นปุ.) ความหนาว, ความเย็น, ฤดูหนาว, น้ำค้าง. หึสก (วิ.) ผู้เบียดเบียน, ผู้ทำร้าย, ผู้ประทุษร้าย. (ปุ.) คนผู้เบียดเบียน, ฯลฯ. หึสน (นปุ.) หึสนา หึสา (อิต.) การกำจัด, ฯลฯ, การเบียดเบียน, การทำร้าย, การประทุษร้าย, ความกำจัด, ฯลฯ, ความประทุษร้าย. วิหึสา วิเหสา (อิต.) การกำจัด, ฯลฯ, ความประทุษร้าย, ความกำจัด, ฯลฯ. สีห (ปุ.) สิงห์, สิงโต, ราชสีห์.

หิฬฺ อนาทเร
ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เอาใจใส่ ไม่สนใจ ไม่พะวง ไม่นำพา. ก. หิฬติ. น. หิฬน (นปุ.) ความไม่เอื้อเฟื้อ, ฯลฯ.

หุ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. หวติ. น. หวน (นปุ.) การกล่าว. การพูด, คำ, ถ้อยคำ, คำกล่าว, ฯลฯ.

หุ ปูชายํ
เคารพ ยกย่อง นับถือ บูชา. ก. หวติ. น. อวหน (นปุ.) การเคารพ, ฯลฯ. หวิ (นปุ.) การเคารพ, ฯลฯ.

หุ หู อวฺหาเณ
เรียก ร้องเรียก.  ก. หวติ. น. หว (ปุ.) การเรียก, การร้องเรียก, คำเรียก, คำร้องเรียก.

หุ หู สตฺตายํ
มี เป็น มีอยู่ เป็นอยู่. ก. โหติ. น. สมฺปหุล สมฺพหุล (วิ.) เจริญ, นักหนา, หนักหนา, มาก, มากพร้อม, มากมาย, มากด้วยกัน.  หวน (นปุ.) การเป็นอยู่, ความเป็นอยู่. หาว (ปุ.) การเยื้องกราย (การเดินอย่างมีท่างาม เป็นกิริยาน่าเสน่หาของหญิง) ทำให้ผู้เห็นเกิดราคะเป็นต้น.

หุ หู ทาเน
ให้ สละ ละ วาง ปล่อย บริจาค. ก. หวติ. น. หวิ (นปุ.) การให้, ฯลฯ. หุต (นปุ.) เชื้ออันบุคคลให้, วัตถุอันบุคคลให้. หุติ หุตฺติ (อิต.) การให้, ฯลฯ. หพฺย หวฺย (นปุ.) ข้าวเพื่อเทวดาอันบุคคลบวงสรวง, เครื่องเซ่นสรวง, เครื่องสังเวย, เครื่องบูชาเทพ.

หุ หู หพฺยปฺปทาเน
บวงสรวง เซ่น เซ่นสรวง สังเวย เซ่นสังเวย บูชาเทพ. ก. หวติ. น. หวน หวิ (นปุ.) การบวงสรวง, ฯลฯ. หุต (นปุ.) หุติ หุตฺติ (อิต.) การบวงสรวง ฯลฯ.

หุ หู อทเน
กิน เคี้ยว บริโภค. ก. หวติ. น. หวน (นปุ.) การกิน, ฯลฯ, ของสำหรับกิน, ของกิน.

หุจฺฉฺ โกฏิลฺเล
คด โค้ง โกง งอ บิด. ก. หุจฺฉติ. น. มุหุตฺต (ปุ.) กาลขณะหนึ่ง, กาลครู่หนึ่ง, เวลาขณะหนึ่ง, เวลาครู่หนึ่ง, ครู่ (ประเดี๋ยวเดียว), ครู่หนึ่ง. หุจฺฉน (วิ.) คด, ฯลฯ. (นปุ.) ความคด, ฯลฯ.

หุฑิ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. หุณฺฑติ. น. หุณฺฑน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, การเบียดเบียน, การฆ่า.

หุฑิ สงฺฆาเต
รวมกัน ติดกัน ติดต่อกัน เบียดกัน ฯลฯ. ก. หุณฺฑติ. น. หุณฺฑน (นปุ.) การรวมกัน, ฯลฯ.

หุรฺ โกฏิลฺเล
คด โค้ง โกง งอ บิด. ก. หุรติ. น. หุร (นปุ.) โลกอื่น, ภพอื่น.

หุลฺ จลเน
ไหว หวั่นไหว กระดิก เคลื่อน เคลื่อนไหว สั่น โยก โยกโคลง. ก. หุลติ. น. หุลน (นปุ.) ความไหว, ฯลฯ.

หุลฺ คติขิปเนสุ
ไป ฯลฯ ซัดไป ขว้างไป เหวี่ยงไป พุ่งไป ยิง ยิงไป. ก. หุลติ. น. หุลฺล หุลฺย (นปุ.) หนาม, หอก, ลูกศร, ลูกปืน, ลูกธนู.

หุฬฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. หุฬติ. น. หุฬฺย (นปุ.) หนาม, หอก, ลูกศร, ลูกปืน, ลูกธนู.

เหฐฺ วิพาธายํ
กำจัด ขจัด เบียดเบียน รบกวน.  ก. เหฐติ. น. วิเหฐน (นปุ.) การทำให้ลำบาก, การกำจัด, ฯลฯ.

เหสฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. เหสติ. น. เหสน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความเป็นไป.

เหสฺ อพฺยตฺตสทฺเท
ส่งเสียง ร้อง ร้องดัง. ก. เหสติ. น. เหสา (อิต.) เหสา (ฮี้) เสียงร้องของม้า. เหสน (นปุ.) การส่งเสียง, การร้อง.

เหฬฺ เวฐเน
พัน ผูก โพก.  ก. เหฬติ. น. เหฬน (นปุ.) การพัน, ฯลฯ, ผ้าพัน, ฯลฯ.

เหฬฺ อนาทเร
ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เอาใจใส่ ฯลฯ. ก. เหฬติ. น. เหฬน (นปุ.) การไม่เอื้อเฟื้อ, ฯลฯ.

โหฬฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. โหฬติ. น. โหฬน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, ความเป็นไป.

โหฬฺ อนาทเร
ไม่เอื้อเฟื้อ ฯลฯ. ก. โหฬติ. น. โหฬน (นปุ.) การไม่เอื้อเฟื้อ, ฯลฯ.

ฬ อักษร

ฬี เวหาสคมเน
บิน บินไป เหาะ เหาะไป. ก. ฬีติ. น. ฬีนน (นปุ.) ฬีนนา (อิต.) การบินไป.




๒ หมวด รุธฺ ธาตุ.


กัตตุวาจก ลง อ เอ ปัจ. และนิคคหิตอาคมต้นธาตุ.


ฉ อักษร

ฉิทฺ เฉทเน
ตัด โกน บั่น แบ่ง ผ่า ทอน เฉือน เชือด แขวะ ควัก ขาด ทะลุ. ก. ฉินฺทติ. น. เฉท (ปุ.) เฉทน (นปุ.) เฉทนา (อิต.) การตัด, ฯลฯ. ฉินฺนก (วิ.) อัน. ..ตัดแล้ว. (นปุ.) ผ้าอัน. ..ตัดแล้ว.

ภ อักษร

ภชฺ วินิกฺขิปเน
สอด สอดเข้า. ก. ภญฺชติ. น. ภญฺชน (นปุ.) การสอด, ฯลฯ.

ภิทฺ วิทารณเภเทสุ
ฉีก ตัด บั่น แบ่ง ผ่า ทอน แยก ต่อย ทำลาย. ก. ภินฺทติ. น. ภินฺทน (นปุ.) การฉีก, ฯลฯ. เภตฺตุ (วิ.) ผู้ฉีก, ฯลฯ. เภท (ปุ.) การฉีก, ฯลฯ.

ภุชฺ อชฺโฌหรเณ
กิน กลืนกิน.  ก. ภุญฺชติ. น. ภุช (ปุ.) มือ, ข้อมือ, งวง, งวงช้าง. โภค (วิ.) ผู้กิน, เป็นที่กิน, เป็นที่บริโภค. โภค (ปุ.) คนผู้กิน, ฯลฯ, การกิน, ฯลฯ, การบริโภค, ทรัพย์, ทรัพย์สิน, สมบัติ, คุณอัน. ..พึงบริโภค, โภคะ (ของกินของใช้ทั้งปวง), โภคฺค (ปุ.) อำมาตย์. โภชก (ปุ.) นายบ้าน, ผู้ใหญ่บ้าน, พ่อบ้าน (ผู้เป็นหัวหน้าของหมู่บ้าน). โภชน (นปุ.) วัตถุอัน. ..พึงกิน, สิ่งอัน. ..พึงกิน, การกิน, การบริโภค, การฉัน, ฯลฯ, ของกิน, ของบริโภค, เครื่องบริโภค. สมฺโภค (ปุ.) การกินด้วยกัน, การบริโภคด้วยกัน, การกินร่วม, การกินร่วมกัน, การร่วมบริโภค.

ม อักษร

มชฺ โสจกรณมชฺเชสุ
ทำให้สะอาด ทำให้หมดจด กวาด เช็ด ถู. ก. มชฺชติ. แปลงนิคคหิตเป็น ชฺ. น. มชฺชน (นปุ.) การทำให้สะอาด, ฯลฯ. สมฺมชฺชนี (อิต.) การทำให้สะอาด, ฯลฯ, ไม้กวาด, ไม้กราด.

มชี สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. มญฺชติ. น. มญฺชีร (ปุ.) เครื่องประดับเท้า, กำไลเท้า.

มุจฺ โมจเน
ปลด ปล่อย เปลื้อง แก้. ก. มุญฺจติ. ท.โมจน (นปุ.) การปลด, ฯลฯ.

ย อักษร

ยุฉฺ ปมาเท
มัวเมา เลินเล่อ หลงลืม เผลอ เผลอไผล ลืมสติ. ก. ยุญฺฉติ. น. ยุญฺฉน (นปุ.) ความมัวเมา, ฯลฯ.

ยุชฺ โยเค
ติด ข้อง ประกอบ ร่วม เพ่ง เพียร หมั่น ขยัน พยายาม. ก. ยุญฺชติ.โยค (ปุ.) ความติด, ฯลฯ. โยคี (วิ.) ผู้เพ่ง, ฯลฯ. (ปุ.) บุคคลผู้มีความเพ่ง, ฯลฯ, ฤาษี, ฤษี, โยคี ผู้ปฏิบัติตามลัทธิโยคะ. โยคฺค (วิ.) อัน. ..พึงประกอบ, ฯลฯ. (ปุ.) ความประกอบ, ฯลฯ. โยชน (นปุ.) การติด, ฯลฯ, ความติด, ฯลฯ. โยชนา (อิต.) การประกอบ, การผูก, การแต่ง, การประสม, การรวบรวม, โยชนา ชื่อหนังสือที่ท่านแต่งรวบรวมอรรถบอกวิเคราะห์ บอกสัมพันธ์เป็นต้น.  สํโยค (ปุ.) กิเลสเครื่องประกอบพร้อม, กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ, การประกอบ, การประกอบกัน, การอยู่ร่วมกัน, การผูกรัด, สังโยค ชื่อตัวพยัญชนะที่ซ้อนกันตามระเบียบของไวยากรณ์. สํโยชน (นปุ.) กิเลสเครื่องประกอบพร้อม, กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ, กิเลสเครื่องผูกรัด, กิเลสเครื่องร้อยรัด, เครื่องประกอบ, เครื่องผูกรัด, เครื่องร้อยรัด. การประกอบ,ฯลฯ, ความประกอบ, ฯลฯ, สังโยชน์, สัญโญชน์ คือ กิเลสที่ผูกใจสัตว์หรือร้อยรัดใจสัตว์อยู่.


ร อักษร

รชฺ วิชฺฌเน
เจาะ แทง ไช ขวิด ผ่า.ก. รญฺชติ. น. รญฺชน (นปุ.) การเจาะ, ฯลฯ.

รธฺ หึสายํ
กำจัด ขจัด เบียดเบียน รังควาญ รบกวน ทำร้าย ประทุษร้าย. ก. รนฺธติ. น. รนฺธ (นปุ.) ความผิด, ความบกพร่อง, ความเสื่อม, ความเสียหาย.

ริจฺ วิเรจเน
ถ่าย ระบาย ล้าง. ก. ริญฺจติ. น. วิเรจน (นปุ.) การถ่าย, ฯลฯ, การล้าง, การล้างให้หมดมลทิน, ยาถ่าย, ยาระบาย.

รุธฺ อาวรเณ
กัน กั้น บัง กำบัง ระวัง ป้องกัน ขัดขวาง ห้าม ปิด. ก. รุนฺธติ รุนฺเธติ รุนฺธิติ รุนฺธีติ รุนฺโธติ. ลง อิ อี โอ ปัจ. พิเศษ. รูป ฯ ๔๙๓. โรธ (ปุ.) ความกั้น, ความปิด, พระนิพพาน (กั้น ปิด กิเลส). (นปุ.) ฝั่ง, ตลิ่ง. โรธน (นปุ.) การกัน, ฯลฯ.

ล อักษร

ลิปฺ ลิมฺปเน
ฉาบ ทา โบก ไล้. ก. ลิมฺปติ. น. ลิมฺปก (ปุ.) คนผู้ฉาบ, ฯลฯ, ช่างฉาบ, ฯลฯ. ลิมฺปน (นปุ.) การฉาบ, ฯลฯ.

ลุปฺ เฉทเน
ตัด ตัดออก บั่น แบ่ง ผ่า ทอน เฉือน เชือด แขวะ ควัก ขาด ทะลุ. ก. ลุมฺปติ. น. โลป (ปุ.) การตัด, ฯลฯ. วิโลป (ปุ.) การริบ, การปล้น, การชิง, การแย่งชิง.

ลุปฺ วินาเส
เสื่อม สลาย หายไป ฉิบหลาย พินาศ. ก. ลุมฺปติ. โลป (ปุ.) ความเสื่อม, ฯลฯ.

ว อักษร

วิทฺ ตุฏฺฐิยํ
ชื่นชม แช่มชื่น ยินดี พอใจ ปลาบปลื้ม เบิกบาน ร่าเริง รื่นเริง สุขใจ โสมนัส. ก. วินฺทติ. น. เวท (ปุ.) ความชื่นชม, ฯลฯ.

วิทฺ ลาเภ
ได้ ประสบ พบ เสพ เสวย. ก. วินฺทติ. น. เวท (ปุ.) เวทน (นปุ.) เวทนา (อิต.) การได้, ฯลฯ, ความได้, ฯลฯ.

ส อักษร

สิจฺ สิจุ ปคฺฆรเณ
ไหลออก หลั่งออก คายออก รด ราด เท วิด วิดออก.  ก. สิญฺจติ. น.  อภิเษก (ปุ.) การรดด้วยคุณอันยิ่ง, การรดด้วยใจอันยิ่งด้วยความดี, การรดด้วยใจอันเป็นสมาธิ, การรดน้ำ, การได้บรรลุ. สิญฺจ สิญฺจน (นปุ.) การรด, การราด, การรดด้วยใจ, การรดด้วยน้ำใจ, การวิดความชั่วออกด้วยใจ, การวิดความชั่วออกด้วยใจที่เป็นสมาธิ, การไหลออก, ฯลฯ, การไหลออกจากความชั่ว, ฯลฯ. สิกตา (อิต.) ทราย. สิกร (ปุ.) ฝนตกประปราย.

สิทฺ โมจเน
ปลด เปลื้อง แก้ หลุด พ้น.  ก. สินฺทติ. น. สินฺทน (นปุ.) การปลด, ฯลฯ.

สิทฺ เสนหเน
เยื่อใย รัก รักใคร่ อาลัย ติดพัน เป็นยาง. ก. สินฺทติ. สินฺทิ (อิต.) อินทผลัม, เป้ง.

สิสฺ ปตฺถายํ
หวัง มุ่งหวัง มุ่งหมาย อยากได้ ต้องการ ปรารถนา. ก. สึสติ. น. สึส (นปุ.) รวง เช่น รวงข้าว. สึสปา (อิต.) ประดู่ลาย.

สุภฺ ปหาเร
เฆี่ยน ตี ฟัน ทำอันตราย เบียดเบียน ทำร้าย ทำลาย ผลาญ ล้างผลาญ ฆ่า ประหาร. ก. สุมฺภติ. น. สุมฺภ (ปุ.) บ่อ, หลุม.

โสฑฺ คพฺเภ
เป็นชั้น ๆ. ก. โสณฺฑติ. น. โสณฺฑ (ปุ.,นปุ.) โสณฺฑา (อิต.) งวง, งวงช้าง.

ห อักษร

หสฺ หสเน
ยินดี ร่าเริง รื่นเริง หัวเราะ สรวล สรวลเส. ก. หํสติ. น. หํส (ปุ.) หํสน (นปุ.) หํสนา (อิต.) ความยินดี, ฯลฯ.

หิสิ หึสายํ
เบียดเบียน ประทุษร้าย ทำร้าย ทำให้บาดเจ็บ ทำให้เสียหาย. ก. หึสติ. น. หึสก (วิ.) ผู้เบียดเบียน.  ฯลฯ. (ปุ.) คนผู้เบียดเบียน, ฯลฯ. หึสน (นปุ.) หึสา นึสนา (อิต.) การเบียดเบียน, ฯลฯ, ความเบียดเบียน, ฯลฯ.



๓ หมวด ทิวฺ ธาตุ กัตตุวาจก ลง ย ปัจ.


อ อักษร

อสฺ อสุ ขิปเน
ขว้าง ขว้างไป ซัด ซัดไป เหวี่ยง เหวี่ยงไป พุ่ง พุ่งไป ยิง. ก. อสฺสติ. น. อสฺส (ปุ.) ม้า, ม้าตัวผู้. วินฺยาส (ปุ.) กระบวนกองทัพ, วิปริยาส (ปุ.) การแปรปรวน, การปรวนแปร, การตรงกันข้าม, การเปลี่ยน, ความแปรปรวน, ฯลฯ. วิปลฺลาส (วิ.) แปรปรวน, ปรวนแปล, กลับกลาย, คลาดเคลื่อน, ผันแปร, ตรงกันข้าม, เข้าใจผิด. (ปุ.) การแปรปรวน, ฯลฯ, ความแปรปรวน, ฯลฯ. สมตฺต (วิ.) ทั้งปวง, ทั้งมวล, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทั้งผอง, ทั้งเพ, ฯลฯ, จบ.

อิธฺ วุทฺธิยํ
เจริญ งอกงาม รุ่งเรือง ทวีขึ้น เพิ่มขึ้น มั่งคั่ง สมบูรณ์. ก. อิชฺฌติ. น. อิชฺฌ (ปุ.) อิชฺฌน (นปุ.) ความเจริญ, ฯลฯ. สมิชฺฌน (นปุ.) ความเจริญ,ฯลฯ, ความสำเร็จ.

อุจฺ สมวาเย
รวม รวบรวม เป็นหมู่ เป็นกลุ่ม ประชุม. ก. อุจฺจติ น. โอก (ปุ.,นปุ.) ที่อยู่, ที่อาศัย, ที่อยู่อาศัย, ที่เป็นที่อยู่อาศัย, บ้าน, เรือน, บ้านเรือน, อาลัย (ที่อยู่ที่อาศัย).

ก อักษร
กา กุ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. กายติ. ถ้าตั้ง กุ ธาตุ พึงแปลง อุ เป็น อา. น. กา (อิต.) การออกเสียง, การร้อง, เสียง, เสียงร้อง, กา (เสียงของนกกา). กาก (ปุ.) กา. นกกา. อีกา (ภาษาพูด) คำ กา นกกา นี้ เดิมเขียน กาก์ นกกาก์ ตามมูลศัพท์ของ มคธ ปัจจุบันเขียนกา ตาม พจนาฯ.

กิลิทฺ เกลฺทเน
ซึม เยิ้ม ชื้น ชุ่ม เปียก.  ก. กิลิทฺยติ กิลิชฺชติ. น. กิเลทน เกลทน (นปุ.) ความซึม, ฯลฯ.

กิลิสฺ อุปตาเป
ให้เร่าร้อน แผดเผา. ก. กิลิสฺสติ. น. กิเลส เกลส (ปุ.) ภาวะอันเกิดในจิตและยังจิตให้เร่าร้อน, ภาวะอันเผาจิต, ภาวะอันแผดเผาจิต.

กิลิสฺ วิพาธนกิเลเสส
กำจัด ขจัด เบียดเบียน เปรอะเปื้อน เศร้าหมอง. ก. กิลิสฺสติ. น. กิเลส เกลส (ปุ.) ความกำจัด (ความดี), ฯลฯ. ความเปรอะเปื้อน (จิต), ฯลฯ, ภาวะอันกำจัดความดี, ฯลฯ, ภาวะอันยังจิตให้เปรอะเปื้อน, ฯลฯ, ความเปรอะเปื้อนของจิต, ฯลฯ.

กุธฺ โกเป
กำเริบ เคือง โกรธ โกรธเคือง ขึ้งเคียด. ก. กุชฺฌติ. น. กุชฺฌน (นปุ.) กุชฺฌา (อิต.) ความกำเริบ, ฯลฯ.

กุปฺ โกเป
กำเริบ ฯลฯ. ก. กุปฺปติ. น. โกป (วิ.) กำเริบ, ฯลฯ. (ปุ.) ความกำเริบ, ฯลฯ. (ปุ.) ความกำเริบ, ฯลฯ.

กุสฺ กุสุ หรณทิตฺตีสุ
นำ นำไป เจริญ ฯลฯ. กุสฺยติ กุสฺสติ. น. กุสฺยน กุสฺสน (นปุ.) การนำ, ฯลฯ, ความเจริญ ,ฯลฯ.

ข อักษร

ขา ปกาสเน
กล่าว ประกาศ แสดง ชี้แจง อธิบาย. ก. ขายติ. น. ขายน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ. สงฺขา (อิต.) การกล่าวด้วยดี, การกล่าว, การนับ, การคำนวณ, การประมาณ.

ขิ ขี นิวาเส
อยู่ อาศัย. ก. ขิยติ ขียติ ขิยฺยติ. กิริยาหลัง ขี ธาตุ แปลง อี เป็น อิย+ย ปัจ. น. ขย (ปุ.) ขยน (นปุ.) ที่อยู่, ที่อาศัย, ที่อาศัยอยู่, เรือน, แผ่นดิน.

ขิ ขี ขเย
สิ้น สิ้นไป เสีย เสียไป เสื่อม เสื่อมไป. ก. ขิยติ ขียติ. น. ขย (ปุ.) ขยน (นปุ.) ความสิ้น, ฯลฯ, ความฉิบหาย.

ขิทิ ทีนิเย
ลำบาก ตกยาก ยากจน เข็ญใจ ไร้ทรัพย์ เหน็ดเหนื่อย ไม่สบาย เป็นทุกข์. ก. ขิชฺชติ. น. ขิทิร (ปุ.) คนลำบาก, ฯลฯ, เขท (ปุ.) ความลำบาก, ฯลฯ.

ขิปฺ เปรเณ
บด ป่น ละเอียด. ก. ขิปฺปติ. น. ขิปฺป (วิ.) รีบ, เร็ว, พลัน, ด่วน.

ขิวุ อุทาหรเณ
อ้าง อ้างอิง เป็นตัวอย่าง. ก. ขิพฺพติ. น. ขิพฺพน (นปุ.) การอ้าง, ฯลฯ.

ขุภฺ สญฺจลเน
กำเริบ ปั่นป่วน.  ก. ขุพฺภติ. น. โขภ (ปุ.) โขภน (นปุ.) ความกำเริบ, ความปั่นป่วน.

ค อักษร

คา คิ สทฺทคิรายํ
ออกเสียง เปล่งเสียง ขับ ขับกล่อม ขับร้อง ร้องเพลง. ก. คายติ คิยติ. น. คายก (ปุ.) คนขับ, คนขับร้อง, ฯลฯ. คายน (นปุ.) คายตฺติ (อิต.) การขับ, ฯลฯ.

คิธฺ อภิกงฺขายํ
อยากจัด กำหนัด ยินดี รักใคร่. ก. คิชฺฌติ. น. คิชฺฌ (ปุ.) แร้ง ชื่อนกชนิดหนึ่ง. คิทฺธ (วิ.) กำหนัด ยินดี รัก รักใคร่ ชอบใจ ถูกใจ พอใจ โลภ.

คุธฺ เวฐเน
ผูก พัน โพก.  ก. คุชฺฌติ. น. คุชฺฌน (นปุ.) การผูก, ฯลฯ, ผ้าผูก, ฯลฯ.

ฆ อักษร

ฆา คนฺโธปาทาเน
ดม สูดดม สูดกลิ่น จูบ. ก. ฆายติ. น. ฆาน (นปุ.) ฆายน (นปุ.) การดม, ฯลฯ.

จ อักษร

จตฺ ยาจเน
ขอ ขอร้อง ร้องขอ อ้อนวอน วิงวอน.  ก. จตฺยติ. น. จตน (นปุ.) การขอ, ฯลฯ.

ฉ อักษร

ฉิ เฉ เฉทเน
ตัด บั่น แบ่ง ผ่า ทอน.  ก. ฉิยติ. ตั้ง เฉ ธาตุ พึงแปลง เอ เป็น อิ. น. ฉิยน (นปุ.) การตัด, ฯลฯ.

ฉิทฺ ฉิทิ ฉิชฺชเน
ขาด ทะลุ แตก สลาย เสียหาย. ก. ฉิชฺชติ. น. ฉิชฺชน (นปุ.) การขาด, ฯลฯ. ฉิทฺท (วิ.) ขาด, ฯลฯ. (นปุ.) รู, ช่อง, โพรง.

ช อักษร

ชนฺ ปาตุภาเว
เกิด เป็นขึ้น มีขึ้น.  ก. ชญฺญติ ชายติ. กิริยาหลัง แปลง ชนฺ เป็น ชา. น. ชน (ปุ.) ชน, คน, สัตว์. ชนก (ปุ.) ชายผู้ยังลูกให้เกิด, พ่อ, พ่อบังเกิดเกล้า. สูร (ปุ.) สูระ ชื่อดาวนพเคราะห์ดวงที่ ๑ , พระอาทิตย์ (ยังความกล้าให้เกิดแก่ชาวโลก).

ฐ อักษร

ฐา คตินิวตฺติยํ
ตั้งอยู่ คงอยู่ ดำรงอยู่. ก. ฐายติ. น. ฐาน (วิ.) เป็นที่ตั้ง, เป็นที่อันเขาตั้ง, เป็นที่ยืน, เป็นที่อันเขายืน.  (นปุ.) อันยืน, อันหยุด, การยืน, การหยุด, การหยุดอยู่, การตั้ง, การตั้งอยู่, ฯลฯ, หน้าที่, ตำแหน่ง, ที่, ที่ทาง, ที่เป็นที่ตั้ง, ที่ตั้ง, ที่เป็นที่เกิด, ที่เกิด, ที่ยืน, ที่รอง, แท่น, เหตุ, มูลเหตุ, มูลเค้า, หลักแหล่ง, อิสสระ (ความเป็นใหญ่คือตำแหน่ง), โอกาส, ขณะ , ครู่เดียว, ครู่หนึ่ง, ประการ, อย่าง, ความเป็นไปได้. ฐายิ (วิ.) ตั้งอยู่, ฯลฯ, ยืนอยู่. ฐิติ (อิต.) การตั้งอยู่, ฯลฯ, การหยุดอยู่, การหยุดไว้, ความทน, ความอดทน, ความทนทาน, ความมั่นคง, ความแน่นอน, ความเป็นไป, ความมีชีวิต, ความมีชีวิตอยู่, ตำแหน่ง, ฐานะ, ที่อยู่, ข้อบังคับ, ข้อบัญญัติ, ประธานกิริยา.


ฑ อักษร

ฑิ ฑี คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ฑิยติ ฑียติ. น. ฑิยน ฑียน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป, ความเป็นไป.

ต อักษร

ตปฺ ปีณเน
อิ่ม อิ่มหนำ อิ่มเอม. ก. ตปฺปติ. น. ตปฺปน (นปุ.) ความอิ่ม, ฯลฯ.

ตปฺ ฑาเห
เผา แผดเผา ร้อน เร่าร้อน.  ก. ตปฺปติ. น. ตปฺปน (นปุ.) ความเผา, ฯลฯ, ความเดือดร้อน.

ตสฺ ปิปาสายํ
กระหาย ระหาย อยาก ทะยานอยาก.  ก. ตสฺสติ. น. ตสิณา ตสินา (อิต.) ความกระหาย, ฯลฯ, ความปรารถนา, ตัณหา.

ตา เต ปาลเน
ต่อต้าน ต้านทาน ระวัง ป้องกัน เลี้ยง รักษา. ก. ตายติ. น. ตายน (นปุ.) การต่อต้าน, ฯลฯ.

ติ เฉทเน
ตัด บั่น แบ่ง ทอน ผ่า เฉือน เชือด แขวะ ควัก ขาด ทะลุ แตก ทำลาย. ติยฺยติ ตียติ. ซ้อน ยฺ กิริยาหลังทีฆะ. น. รตฺติ (อิต.) กลางคืน, ค่ำคืน, ราตรี (ตัดเสียง).

ตุสฺ ตุฏฺฐิยํ
ชื่นชม แช่มชื่น ปลาบปลื้ม ยินดี เบิกบาน พอใจ ร่าเริง รื่นเริง สุขใจ โสมนัส. ก. ตุสฺสติ. น. ตุส (ปุ.) ทรัพย์, สมบัติ, ทรัพย์สมบัติ. ตุสน (นปุ.) ความชื่นชม, ฯลฯ.

ท อักษร

ทปฺ หสเน
ร่าเริง รื่นเริง หัวเราะ สรวล สรวลเส เสสรวล. ก. ทปฺปติ. น. ทปฺปน (นปุ.) ความร่าเริง, ฯลฯ.

ทผฺ ทผิ คติยํ
ไป เดิน เดินไป ดำเนิน ดำเนินไป ถึง บรรลุ เป็นไป. ก. ทปฺผติ. แปลง ย เป็น ป แปรไว้ หน้า ผ. น. ทปฺผน (นปุ.) การไป, ฯลฯ.

ทมฺ ทมเน
ข่ม ข่มขี่ ฝึก ฝึกฝน ฝึกหัด ทรมาน ปราบ. ก. ทมยติ. น. ทมถ (ปุ.) ทมน (นปุ.) การข่ม, ฯลฯ.

ทา เฉทเน
ตัด บั่น ฯลฯ. ก. ทิยติ. แปลง อา เป็น อิ. น. ทาน (นปุ.) การตัด, การบั่น, การทอน, การเฉือน, ฯลฯ.

ทา ทาเน
ให้ ยกให้ สละ ถวาย. ก. ทายติ ทิยติ ทิยฺยติ. กิริยาหลัง แปลง อา เป็น อิ ซ้อน ยฺ. น. ทาน (นปุ.) การให้, ฯลฯ, การบริจาค, วัตถุอันพึงบุคคลพึงให้, ที่เป็นที่ให้แห่งทายกทายิกา, เจตนาเป็นเครื่องอันเขาให้, เจตนาเป็นเครื่องให้.

ทา อวขณฺฑเน
เป็นท่อน เป็นตอน ขาดเป็นท่อน ขาดเป็นตอน.  ก. ทิยติ. น. ทาน (นปุ.) ความขาด, ความทะลุ, ความเป็นท่อน, ฯลฯ.

ทา โสธเน
ชำระ ล้าง สะอาด หมดจด บริสุทธิ์. ก. ทายติ. น. ทาน (นปุ.) การชำระ, การล้าง, ความสะอาด, ฯลฯ. โวทาน (นปุ.) การชำระ, การล้าง, การทำให้สะอาด, การทำให้หมดจด, การทำให้บริสุทธิ์, ความสะอาด, ฯลฯ, ความผ่องแผ้ว, ความผ่องใส.

ทา สุปเน
นอน หลับ นอนหลับ. ก. ทายติ. น. นินฺทา (อิต.) การนอน, ฯลฯ, ความหลับ.

ทิธฺ ทิตฺติยํ
เจริญ ฯลฯ สว่าง, กระจ่าง, ขาว. ก. ทิธฺยติ ทิชฺฌติ. น. ทิชฺฌน (นปุ.) ความเจริญ, ฯลฯ.

ทิปฺ ทีปฺ ทิตฺติยํ
เจริญ ฯลฯ. ก. ทิปฺปติ. น. ทิปิ ทีปิ (ปุ.) เสือเหลือง, เสือดาว.

ทิวฺ ทิวุ ชุติยํ
รุ่งเรือง สว่าง สว่างไสว โชติช่วง. ก. ทิพฺพติ. น. ทิพฺพ (วิ.) รุ่งเรือง, ฯลฯ, อันเป็นทิพย์, เลิศ. ทิพฺย (นปุ.) ความเป็นทิพย์, ความเป็นเลิศ. เทว (ปุ.) พระองค์ผู้สมมติเทพ, พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน.  เทวน (นปุ.) ความรุ่งเรือง, ฯลฯ.

ทิวฺ ทิวุ กีฬายํ
เล่น สนุก เพลิน เพลิดเพลิน รื่นเริง. ก. ทิพฺพติ. น. เทว (ปุ.) เทวะ ชื่อของอุปัตติเทพและสมมติเทพ (ผู้เพลิดเพลินด้วยกามคุณทั้ง ๕). ทิพฺพ (ปุ.) ทิพพะชื่อของเทวดาชื่อ ๑ ใน ๑๑ ชื่อ, เทวดา. เทวน (นปุ.) การเล่น, ความสนุก, ฯลฯ, การกรีฑา, การเล่นสกา, การพนัน.

ทิวฺ ทิวุ พฺยวหาเร
แลกเปลี่ยน ค้า ขาย ค้าขาย. ก. ทิพฺพติ. น. เทวน (นปุ.) การแลกเปลี่ยน, ฯลฯ.

ทิวฺ ทิวุ ถุติยํ
ชม ชมเชย ยกย่อง สรรเสริญ. ก. ทิพฺพติ. น. เทวน (นปุ.) ความชม, ฯลฯ.

ทิวฺ ทิวุ กนฺติยํ
รัก รักใคร่ ชอบใจ พอใจ ยินดี อยากได้ ต้องการ ปรารถนา. ก. ทิพฺพติ. น. เทวน (นปุ.) ความรัก, ฯลฯ.

ทิวฺ ทิวุ สตติยํ
อาจ องอาจ สามารถ. ก. ทิพฺพติ. น. เทวน (นปุ.) ความอาจ, ฯลฯ.

ทิวฺ ทิวุ ปริกูชเน
ครวญ กังวาน ก้องกังวาน กระหึม กระหึ่ม. ก. ทิพฺพติ. น. เทว (ปุ.) เมฆ, ฝน.  เทวน (นปุ.) ความครวญ ฯลฯ.

ทิวฺ ทิวุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ทิพฺพติ. น. เทวน (นปุ.) การไป, การเดิน, การเดินไป, การดำเนินไป, การถึง, การบรรลุ, การเป็นไป, ความเป็นไป. เทว (ปุ.) กลางหาว, ฟ้า, ท้องฟ้า, อากาศ, มัจจุ, ความตาย.

ที ขเย
เสื่อม สิ้น เสื่อมไป สิ้นไป. ก. ทียติ. น. ทีน (วิ.) จน, ยากจน, เข็ญใจ, ยากไร้, ไร้ทรัพย์, ตกยาก, ทุกข์. (ปุ.) คนจน, ฯลฯ, คนเป็นทุกข์, คนมีทุกข์.

ทุ ตาเป
เผา แผดเผา ร้อน เร่าร้อน.  ก. ทุยติ. น. ทุยน (นปุ.) ความเผา, ฯลฯ, ความเร่าร้อน, ความเดือดร้อน.

ทุสฺ อปฺปีติยํ
ชัง ไม่ชอบ ไม่พอใจ เกลียดชัง ไม่แช่มชื่น.  ทุสฺสติ. น. โทส (วิ.) ชัง, ฯลฯ, ไม่แช่มชื่น, หมดความพอใจ, หมดความแช่มชื่น.  (ปุ.) ความชัง, ฯลฯ, ความผิด, ความไม่ดี.

ทุสฺ โทสเน
โกรธ เคือง ขึ้งเคียด ฉุนเฉียว ทำร้าย ประทุษร้าย. ก. ทุสฺสติ. น. โทส (วิ.) โกรธ, โกรธขึ้ง, เคือง, ฯลฯ, ประทุษร้าย, เป็นเครื่องประทุษร้าย. (ปุ.) ความโกรธ, ฯลฯ, ความประทุษร้าย, กิเลสเป็นเครื่องประทุษร้าย.

ธ อักษร

ธนุ ยาจนอิจฺฉาสุ
ขอ ร้องขอ วอน อ้อนวอน วิงวอน ปรารถนา อยากได้. ก. ธนิยฺยติ ธนียติ. กิริยาแรกแปลง อุ เป็น อิ ซ้อน ยฺ กิริยาหลัง แปลง อุ เป็น อี. น. ธนียนา (อิต.) การขอ, ฯลฯ.

ธา สนฺธิมฺหิ
ต่อ ต่อกัน เชื่อม ทำให้ติดกัน.  ก. ธิยติ. แปลง อา เป็น อิ. น. สนฺธ (ปุ.) สนฺธาน (นปุ.) สนฺธิ (อิต.) การต่อ, ฯลฯ, การสืบต่อ, การเกี่ยวพัน, การเกี่ยวข้อง, การรวมกัน, ที่ต่อ, ชุมทาง. สนฺธิ (อิต.) สนธิ ชื่อของจิตที่ไปเกิดใหม่ต่อจากจุติ (ตาย).

ธิ ธี อนาทเร
ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เอาใจใส่ ไม่พะวง ไม่นำพา เฉยเมย เกียจคร้าน.  ก. ธิยติ ธียติ น. ธิยน ธียน (นปุ.) ความไม่เอื้อเฟื้อ, ฯลฯ.

ธิวุ นิทสฺสเน
แสดงออก แสดงอ้าง เป็นตัวอย่าง. ก. ธิพฺพติ. น. ธิพฺพน (นปุ.) การแสดงออก, ฯลฯ.

น อักษร

นตฺ คตฺตวินาเม
เต้น รำ ฟ้อน.  ก. นจฺจติ. น. นจฺจ (นปุ.) การเต้น, ฯลฯ, การเต้นรำ, การฟ้อนรำ, การรำแพน (ใช้กับนกยูง) อีกอย่างหนึ่ง การรำแพน เป็นชื่อของการไต่ลวดในงานหลวง มือถือหางนกยูงสองมือ. นตฺตน (นปุ.) การเต้น, ฯลฯ, การฟ้อนรำ.

นสฺ อทสฺสเน
ไม่เห็น หาย สูญ ฉิบหาย พินาศ. ก. นสฺสติ. น. นฏฺฐ (วิ.) ไม่เห็น, ฯลฯ, พินาศ, ไม่เห็นแล้ว, ฯลฯ.

นหฺ พนฺธเน
ผูก พัน มัด รัด. ก. นยฺหติ. แปร ตัวปัจ. ไว้หน้า หฺ แปรเฉพาะพยัญชนะ หฺ บวก อ จึงเป็น ห. น. นยฺห (นปุ.) การผูก, ฯลฯ. นาห (ปุ.) การผูก, ฯลฯ, เครื่องผูก, เครื่องดักสัตว์, แร้ว. สนฺนาห (ปุ.) เครื่องผูกสอด, เกราะ.

นฺหา นหา โสเจยฺเย
ชำระ อาบ อาบน้ำ. ก. นฺหายติ นหายติ. คัมภีร์เก่ามี นฺหา ธาตุตัวเดียว. น. นฺหาน (นปุ.) การชำระ, ฯลฯ, น้ำเป็นเครื่องอาบ, น้ำสำหรับอาบ.

ป อักษร

ปจฺ พฺยนฺตีกรเณ
เสร็จ สำเร็จ ให้ผล อำนวยผล. ก. ปจฺจติ. น. ปจฺจน (นปุ.) การเสร็จ, ความสำเร็จ, ฯลฯ.

ปจฺ สมฺปาเก
หุง ต้ม ปิ้ง ย่าง ทอด เจียว. ก. ปจฺจติ. ปจน (นปุ.) ปาก (ปุ.) การหุง, ฯลฯ, การหุงต้ม, การทำให้สุก.

ปทฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ปชฺชติ. น. ปตฺติ (อิต.) การไป, การถึง, การบรรจุ, ส่วนอันบุคคลพึงถึง, ส่วนบุญ. วิปตฺติ (อิต.) การถึงความเสื่อม, ความเป็นไปต่าง, ความคลาดเคลื่อน, ความบังเอิญเป็น, ความฉิบหาย, ความพินาศ, ความวิบัติ. สมฺปตฺติ (อิต.) คุณชาติอันพึงถึงพร้อม, คุณชาติอัน. ..ถึงพร้อม, การถึงพร้อม, ความถึงพร้อม, ความดี, ความดีเด่น, ความดีเด่นของสิ่งนั้น, คุณภาพ, ความมีคุณภาพ, สมบัติ.

ปสุ ปสวเว
เคลื่อนออก คลอด ประสูติ. ก. ปสูยติ. น. ปสูติ (อิต.) การคลอด, การคลอดลูก, การเกิด, ประสูติ.

ปหุ สตฺติยํ
อาจ องอาจ สามารถ. ก. ปหุยติ. ปหูยติ. น. ปหุก ปหุต ปหูต ปโหนก (วิ.) เจริญ, ยาว, หนักหนา, นักหนา, มาก, มากมาย, อาจ, องอาจ, สามารถ, พอ, เพียงพอ.


ผ อักษร

ผิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ผิยติ. น. ผิต ผีต (วิ.) แผ่ไป, เผล็ด, บาน, แพร่หลาย, มั่งคั่ง, ผึ่งผาย. ผิตก ผีตก (วิ.) แผ่ไป, ฯลฯ. ผิล (ปุ.) พาย, แจว, กรรเชียง (เครื่องทุ่มน้ำให้เรือเดิน).

ผิ อุจฺจภาเว
สูง นูน นูนขึ้น.  ก. ผิยติ. น. ผิต ผีต ผิตก ผีตก (วิ.) สูง, ฯลฯ. ผิย (ปุ.) ความนูน, ฯลฯ.

พ อักษร

พฺยธฺ
เฆี่ยน ตี ฟัน ฆ่า ประหาร. ก. พฺยชฺฌติ. น. พฺยาธ (ปุ.) พราน, นายพราน.

พุธฺ ญาเณ
รู้ บรรลุ รู้แจ้ง ตรัสรู้. ก. พุชฺฌติ. น. พุธ (วิ.) ผู้รู้, ผู้มีปรีชา, ผู้มีปัญญา. (ปุ.) คนผู้รู้, ฯลฯ. พุทฺธ (วิ.) ผู้รู้ ฯลฯ.

พุธฺ นิทฺทกฺขเย
ตื่น (ตื่นจากกิเลสนิทรา). ก. พุชฺฌติ. น. พุทฺธ (วิ.) ผู้ตื่น, ผู้ตื่นจากหลับคือกิเลส, ผู้ไม่มีกิเลส.

พุธฺ วิกสเน
บาน คลี่ออก ขยายออก เบิกบาน แช่มชื่น สดใส. ก. พุชฺฌติ. น. พุทฺธ (วิ.) ผู้เบิกบานเพราะไม่มีกิเลส.

ภ อักษร

ภิทฺ ภิทิ ภิชฺชเน
แตก หัก พัง สลาย ละลาย. ก. ภิชฺฌติ. น. ภิชฺชน (นปุ.) อันแตก ฯลฯ, การแตก ฯลฯ. ปเภท (ปุ.) การแตก, การแตกออกเป็นส่วน, การแตกออกเป็นส่วน ๆ, การแยกออก, การแยกออกเป็นส่วน, การแยกออกเป็นส่วน ๆ, ความแตกต่าง, ความต่างกัน, ชนิด, อย่าง, แผนก, ส่วน.

ภูสฺ ภุสฺสเน
เห่า หอน.  ก. ภุสฺสติ. น. ภุสฺสน (นปุ.) การเห่า, การหอน.

ภูสฺ อลงฺกาเร
ประดับ แต่ง ตกแต่ง ตบแต่ง. ก. ภูสายติ. น. ภูสน (นปุ.) อันประดับ, การประดับ, เครื่องประดับ, เครื่องแต่งตัว, เครื่องอาภรณ์. ภูสา (อิต.) เครื่องประดับ,เครื่องแต่งตัว, เครื่องอาภรณ์, เครื่องนุ่งห่ม, ผ้านุ่ง, ผ้าห่ม, ผ้าทรง.


ม อักษร

มทฺ อุมฺมาเท
เมา มัวเมา เลินเล่อ ประมาท. ก. มชฺชติ. น. ปมชฺชน (นปุ.) ความมัวเมา, ความเลินเล่อ, ความเผลอ, ความเผลอเลอ ,ความหลงลืม, ความลืมสติ, ความลืมตน, ความไม่เอาใจใส่, ความประมาท. มชฺช (นปุ.) น้ำยังผู้ดื่มให้เมา, น้ำเมา, เหล้า, สุรา, น้ำจัณฑ์ ของเมา. มชฺชน (นปุ.) ความเมา, ฯลฯ. มตฺต (ปุ.) ช้างซับมัน.  มจฺฉา (อิต.) ความเมา, ฯลฯ.

มนฺ ญาเณ
รู้ แจ้ง เข้าใจ ทราบ. ก. มญฺญติ. น. มญฺญนา (อิต.) ความรู้, ฯลฯ, ความหยิ่ง, ความเย่อหยิ่ง, ความถือตัว, กิริยาที่ถือตัว.

มสฺ กิญฺจิภาวขนฺตีสุ
เป็นของนิดหน่อย อด อดทน อดกลั้น.  ก. มสฺสติ. น. มสฺสน (นปุ.) สิ่งเล็กน้อย, ของเบ็ดเตล็ด, ความข่มใจ, ความอดทน, ฯลฯ.

มิทฺ สิเนหเน
รัก รักใคร่ ชอบใจ พอใจ เยื่อใย อาลัย ติดพัน.  ก. เมชฺชติ. น. มิตฺต (ปุ.) คนรักกัน, คนชอบพอกัน, ฯลฯ, เพื่อน, มิตร. มิชฺชน (นปุ.) ความรัก, ฯลฯ, ความสนิท, ความสนิธ.

มุจฺ โมจเน
เปลื้อง ปลด หลุด พ้น.  ก. มุจฺจติ. น. มุกุล มุกุฬ (วิ.) ตูม, เพิ่งจะผลิ. (นปุ.) ดอกไม้ตูม, ผลไม้ตูม. มุญฺจน (นปุ.) การเปลื้อง, ฯลฯ, การปล่อย, การสละ, การละ.

มุสฺ สมฺโมสมุจฺเฉสุ
เผลอ เผลอเลอ ลืม หลงลืม ลืมเลือน เลินเล่อ หายไป หลุดไป. ก. มุสฺสติ. น. มุฏฺฐ (วิ.) เผลอแล้ว, ฯลฯ. มุสฺสย (ปุ.) การเป็นลม, การวิงเวียน, ความวิงเวียน, ความสยบ, ความสลบ. มุจฉา (อิต.) ความวิงเวียน, ฯลฯ.

มุหฺ เวจิตฺเต
กวัดแกว่ง หลง หลงใหล เขลา โง่. ก. มุยฺหติ โมมุยฺหติ. น. มุจฺฉา (อิต.) ความกวัดแกว่ง, ความหลง, ฯลฯ.

ย อักษร

ยสุ ปยตเน
หมั่น ขยัน เพียร พยายาม. ก. ยสฺสติ. น. ยสฺสน (นปุ.) ยสฺสนา (อิต.) ความหมั่น, ฯลฯ.ล

ยา คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ยายติ. น. ยาน (นปุ.) การไป, การถึง, วัตถุเป็นเครื่องไป, ฯลฯ, ยาน.

ยา ปาปุเณ
ถึง ให้ถึง เข้าถึง บรรลุ ได้ ประสบ. ก. ยายติ. ยาน (นปุ.) การถึง, ฯลฯ.

ยุชฺ สมาธิมฺหิ
มั่น มั่นคง แข็งแรง ชอบ ควร สมควร ถูก ถูกต้อง ใช้ได้. ก. มุชฺชติ. น. โยค (วิ.) มั่น, ฯลฯ, โยคฺค (ปุ.) โยชน (นปุ.) ความมั่น, ฯลฯ. โยคี (วิ.) ผู้มั่นคง, ฯลฯ.

ยุชฺ โยเค
ผูก ติด ข้อง ประกอบ ประสม รวม รวบรวม ทำ หมั่น ขยัน เพียร พยายาม. ก. ยุชฺชติ. น. โยค (วิ.) ผูก, ฯลฯ. โยคฺค (ปุ.) โยชน (นปุ.) การผูก, ฯลฯ.

ยุธฺ สมฺปหาเร
ต่อสู้ ต่อสู้กัน รบ รบกัน.  ก. ยุชฺฌติ. น. ยุชฺฌน (นปุ.) การต่อสู้, ฯลฯ, โยธ (ปุ.) คนรบ, พลรบ, นักรบ, ทหาร.

ร อักษร

รชฺ รญฺชฺ ราเค
ย้อม กำหนัด ยินดี. ก. รชฺชติ. น. รช (ปุ.) ผง,ฝุ่ย, ละออง, ธุลี, ดินปืน, เกสร. รชก (ปุ.) คนฟอก, คนซัก, คนย้อม, คนฟอกผ้า, ฯลฯ, ช่างฟอก, ฯลฯ. รชน รชฺชน (นปุ.) การย้อม, น้ำย้อม, ความกำหนัด, ความยินดี. รชนี รชฺชนี (อิต.) ค่ำ, เวลาค่ำ, เวลามืด, กลางคืน, ค่ำคืน, รัชนี. รญฺชน (นปุ.) การย้อม, ความย้อน, ฯลฯ.

รธฺ วิพาชายํ
กำจัด ขจัด เบียดเบียน ทำร้าย ประทุษร้าย. ก. รชฺฌติ. น. รชฺฌน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ.

ราธฺ สํสิทฺชิยํ
บรรลุ บรรลุผล สำเร็จ สำเร็จผล สมปรารถนา สัมฤทธิ์ ชื่นชม ยินดี เชิญ เชื้อเชิญ. ก. ราธยติ. น. อาราธน (นปุ.) การยัง...ให้ยินดี, การยัง...ให้โปรดปราน, การอ้อนวอน, การให้สำเร็จ, การบรรลุ, ฯลฯ. การขอเชิญ, การเชื้อเชิญ, การอาราธนา.

ริ วสเน
อยู่ อาศัย อาศัยอยู่ พักพิง. ก. ริยติ. น. ริยน (นปุ.) ริยนา (อิต.) การอยู่, ฯลฯ.

รุจฺ รุจเน
ชอบใจ พอใจ ถูกใจ ยินดี เพลิดเพลิน.  ก. รุจฺจติ. รุจิ (วิ.) ชอบใจ, ฯลฯ. (อิต.) ความชอบใจ, ฯลฯ. รุจน (นปุ.) ความชอบใจ, ฯลฯ.

รุชฺ อวมทฺทเน
เสียดแทง เบียดเบียน ย่ำยี กำจัด ทำลาย. ก. รุชฺชติ. น. โรค (ปุ.) สภาพผู้เสียดแทงอวัยวะใหญ่น้อย ฯลฯ, สภาพผู้เสียดแทง, ฯลฯ, ความเจ็บ, ความไข้, ความป่วย, ความป่วยไข้, ความไม่สบาย, โรค.

รุธฺ ปฏิฆาเต
ขึ้งเคียด หงุดหงิด เคือง โกรธ จำนงภัย กำจัด ขจัด เบียดเบียน ทำร้าย ทำลาย ตี ฆ่า ประหาร. ก. รุชฺฌติ. น. วิโรธ (วิ.) ขึ้งเคียด, ฯลฯ. วิโรธ (ปุ.) วิโรธน (นปุ.) ความขึ้งเคียด, ฯลฯ.

รุธฺ รุธิ อาวรเณ
กั้น ปิด ล้อม ขัดขวาง ห้าม. ก. รุชฺฌติ. วิรุชฺฌติ. น. รชฺชุ (อิต.) รชฺชุก (ปุ.) เชือก, สาย, สายเชือก.

รุธฺ รุธิ กนฺติยํ
รัก รักใคร่ ชอบ ชอบใจ ชอบพอ ถูกใจ พอใจ ยินดี. ก. รุชฺฌติ. น. รุชฺฌน (นปุ.) ความรัก, ฯลฯ.

รุปฺ ปกาสเน
ป่าวร้อง แจ้งให้ทราบ ประกาศ แสดง ชี้แจง อธิบาย. ก. รุปฺปติ. น. รูป (นปุ.) การป่าวร้อง, ฯลฯ.

รุปฺ เภเท
แตก แยก แตกแยก  หัก พัง สลาย ละลาย. ก. รุปฺปติ. น. รุปฺปน (นปุ.) อันแตก, ฯลฯ, การแตก, ฯลฯ ความแตก, ฯลฯ.


ล อักษร

ลํกฺ ลกฺขเณ
กำหนด หมาย หมายไว้ ตราไว้ เป็นเครื่องหมาย. ก. ลํกยติ ลงฺกยติ. น. ลงฺกย (ปุ.) ลงฺกยน (นปุ.) การกำหนด, ฯลฯ.

ลิปฺ ลิปิ เลเป
ฉาบ ทา โบก ไล้ ติด เปื้อน.  ก. ลิปฺปติ. น. ลิปิ (อิต.) ตัวหนังสือ, อักขระ, อักษร. ลิมฺปก (ปุ.) คนผู้ฉาบ, ฯลฯ, ช่างฉาบ, ฯลฯ. ลิมฺปน (นปุ.) การฉาบ, ฯลฯ.

ลิสฺ อปฺปีภาเว
น้อย เล็ก เล็กน้อย นิดหน่อย. ก. ลิสฺสติ. น. เลส (วิ.) น้อย, ฯลฯ.

ลิสฺ เลสเน
แกล้ง แกล้งทำ แสร้ง แสร้งทำ ล่อลวง. ก. ลิสฺสติ. น. เลส (วิ.) แกล้ง, ฯลฯ. (ปุ.) การแกล้ง, ฯลฯ, เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม, ชั้นเชิง, ท่วงที, อุบาย, เลส, เลศ.

ลุชฺ วินาเส
ชำรุด ยุบยับ ย่อยยับ ฉิบหาย สลาย วินาศ พินาศ. ก. ลุชฺชติ. น. โลก (ปุ.) แผ่นดิน, โลก.

ลุปฺ อทสฺสเน
ไม่เห็น ไม่ปรากฏ หาย หายไป ลบ. ก. ลุปฺปติ. น. ลุตฺต (วิ.) ไม่เห็น, ฯลฯ. ลุตติ (อิต.) โลก (ปุ.) การไม่เห็น, ฯลฯ.

ลุปฺ โลเป
ลบ ลบออก ลบเสีย ลบทิ้ง. ก. ลุปฺปติ. น. โลป (ปุ.) การลบ, ฯลฯ.

ลุปฺ เฉทวินาเสสุ
ตัด บั่น แบ่ง ผ่า ฯลฯ ชำรุด ยุบยับ ย่อยยับ ฯลฯ. ก. ลุปฺปติ. น. โลป (ปุ.) การตัด, ฯลฯ.

ลุภฺ คิทฺธิยํ
ปรารถนา ต้องการ มุ่ง หวัง มุ่งหวัง อยากได้ กำหนัด ยินดี รัก รักใคร่. ก. ลุพฺภติ. น. ลุทฺธ (วิ.) ปรารถนา, ฯลฯ. (ปุ.) คนผู้ปรารถนา, ฯลฯ.

ว อักษร

วตฺ โภชเน
กิน ฉัน บริโภค. ก. วตฺยติ. น. มธุพฺพต (ปุ.) สัตว์ผู้กินน้ำหวาน, ผึ้ง, แมลงภู่.

วสฺ เสจเน
รด ราด พรม ประพรม โปรย สรง อาบ ล้าง. ก. วสฺสติ. น. วสล (วิ.) ต่ำ, เลว, ชั่ว, ถ่อย. (ปุ.) คนเพศต่ำ, คนเพศต่ำช้า, คนชั้นต่ำ. สุททชน,ศูทร.

วสฺ สทฺเท
ออกเสียง ร้อง ขัน เห่า. ก. วสฺสติ. น. วสฺส (ปุ.) เสียงร้อง, เสียงขัน, เสียงเห่า.

วา คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. วายติ. น. วาต วาย วายุ (ปุ.) ลม (เป็นธาตุ ๑ ใน ๔ มีการเคลื่อนไหว.

วา เฉทคนฺเธสุ
ตัด แทง ฯลฯ ปลิว ฟุ้ง ปลิวไป ฟุ้งไป ตลบไป. ก. วายติ. น. วาต วาย วายุ (ปุ.) ลม.

วิจฺ วิเวจเน
สงัด เงียบ. ก. วิจยติ. วิจฺจติ วิวิจฺจติ. น. วิวิจฺจ วิวิตฺต (วิ.) สงัด, เงียบ. วิวิตฺติ (อิต.) ความสงัด, ความเงียบ.

วิชิ วิชี ภเย
หวาด สะดุ้ง หวั่น ตกใจ กลัว. ก. วิชฺชติ พิชฺชติ น. สํเวช (ปุ.) สํเวชน (นปุ.) ความหวาด, ฯลฯ.

วิชิ วิชี จลเน
ไหว เคลื่อน เคลื่อนไหว โยก โคลง โยกโคลง กระดิก สั่น รัว. ก. วิชฺชติ พิชฺชติ. น. สํวิคฺค สํเวค (ปุ.) ความสลด, ความสลดใจ, ความเศร้าสลด, ความสังเวช.

วิทฺ สตฺตายํ
มี เป็น มีอยู่ เป็นอยู่. ก. วิชฺชติ พิชฺชติ. น. พิชฺชน วิชฺชน (นปุ.) ความมี, ความเป็น, ฯลฯ.

วิธฺ วิชฺฌเน
เจาะ แทง ไช ขวิด ผ่า ยิง. ก. วิชฺฌติ. วิชฺฌน (นปุ.) การเจาะ, ฯลฯ. เวชฺฌ (นปุ.) ที่หมาย, เป้า.

วิลิ วิลีนภาเว
ย่อยยับ คว้าง (ละลายเหลวอย่างน้ำ) ละลาย เหลว. ก. วิลิยติ วิลียติ. น. วิลิน วิลีน (วิ.) ย่อยยับ, ฯลฯ.

ส อักษร

สชฺ สงฺเค
ติด ติดอยู่ ขัด ข้อง ข้องอยู่ ไม่คล่อง. ก. สชฺชติ. น. สชฺช (ปุ.) สชฺชน (นปุ.) การติด, ฯลฯ, ความติด, ฯลฯ.

สตฺ สาตจฺเจ
เป็นไปติดต่อ เป็นไปติดต่อกัน เป็นไปไม่ขาดสาย เป็นไปไม่ว่างเว้น เป็นไปเป็นนิตย์. ก. สจฺจติ. น. สจฺจ (วิ.) จริง, แท้, เที่ยง, แน่, สัจ, สัตย์. (นปุ.) ความจริง, ความแท้, คำจริง, คำแท้.


สมฺ สมุ เขเท
ลำบาก เหน็กเหนื่อย อ่อนเพลีย. ก. สมฺมติ. น. สม (ปุ.) ความลำบาก, ฯลฯ.

สมฺ สมุ อุปสเม
สงบ ระงับ รำงับ ดับ เย็น เงียบ. ก. สมฺมติ. น. สม (นปุ.) ความสงบ, ฯลฯ, ความราบคาบ.

สหฺ สตฺติยํ
อาจ องอาจ สามารถ ครอบงำ. ก. สยฺหติ. น. สยฺห (ปุ.) สห (นปุ.) ความอาจ, ฯลฯ. ปสหณ (นปุ.) ปสยฺห (ปุ.) การกุมเหง, การเข่มเหง, การข่มขี่, การรังแก.

สา อสฺสาทเน
ชอบใจ พอใจ เพลิน เพลิดเพลิน ยินดี ลิ้ม จิบ. ก. สายติ. น. สายน (นปุ.) ความชอบใจ, ฯลฯ, การลิ้ม, การจิบ.

สา ตนุกรเณ
ทำให้บาง ถาก ไส. ก. สายติ. น. สายก (ปุ.) ลูกธนู, ลูกศร, กระบี่, พระขรรค์, ดาบ.

สา อวสาเน
จบ สิ้น สุด หมด. ก. สายติ สียติ. แปลง อา เป็น อี. น. มาส (ปุ.,นปุ.) เดือน (ระยะเวลา ๓๐ วัน). โวสาน (นปุ.) การจบ, การจบลง, ที่สุด, ที่สุดลง. สาย (ปุ.) เย็น (เวลาใกล้ค่ำ), เวลาเย็น.

สาธฺ สํสิทฺธิยํ
สำเร็จ สำเร็จด้วยดี สัมฤทธิ์ สัมฤทธิ์ด้วยดี. น. สาธน (นปุ.) ความสำเร็จ, สาธนะ ชื่อของศัพท์ที่ท่านให้สำเร็จมาแต่รูปวิเคราะห์ ศัพท์ที่ท่านให้สำเร็จมาแต่วิเคราะห์มี ๗ สาธนะ. สาธุ (วิ.) ยังประโยชน์ให้สำเร็จ, เป็นความดี, เป็นที่พอใจ, ดี, ชอบ, งาม, งามดี, อันดี, ดีนัก, ถูกต้อง, เหมาะ, ควร, สมควร, ประเสริฐ, เลิศ. (ปุ.) ดีละ เป็น สัมปฏิจฉนะ (คำตอบรับ) เช่น สาธุ อันว่าดีละ, ความดี, ความยินดี, คนดี, คนมีตระกูล (มีศีลธรรม มีสมบัติผู้ดี), คนผู้ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จ.

สิทฺ ปาเก
หุง ต้ม ฯลฯ. ก. สิชฺชติ. น. สิชฺชน (นปุ.) สิชชนา (อิต.) การหุง, การต้ม, ฯลฯ, การนึ่ง.


สิธฺ สิธุ สํราธเย
บรรลุ เสร็จ สำเร็จ สัมฤทธิ์. ก. สิชฺฌติ. น. สิทฺธ (วิ.) บรรลุ, เสร็จ, ฯลฯ. สิทฺธี (อิต.) ความสมปรารถนา, ความสำเร็จ, ฯลฯ.

สินิหฺ ปีติกนฺตีสุ
อิ่ม อิ่มใจ รัก รักใคร่ ชอบใจ พอใจ อาลัย ห่วงใย. ก. สินิยฺหติ. น. สิเนห (ปุ.) สิเนหนก (ปุ.) ความอิ่มใจ, ฯลฯ, ความติดพัน, ยาง (ยางของความรัก), ใยยาง, ความมีเยื่อใย, สิเนหะ, สิเนหา, สิเน่หา.

สิลิสฺ อาลิงฺคเน
กอด กอดรัด สวมกอด เคล้าคลึง อิงแอบ รวมกัน ติดต่อ ติดต่อกัน.  ก. สิลิสฺสติ. น. สิเลส (ปุ.) สิเลสน (นปุ.) การกอด, ฯลฯ, ยาง, ยางไม้, ยางเหนียว, ตัง (ยางไม้ที่ผสมกับสิ่งอื่นทำให้เหนียว ใช้สำหรับดักนก เป็นต้น).

สิวฺ สิวุ ตนฺตุสนฺตาเน
เย็บ ร้อย ร้อยรัด รัดรึง ผูกแน่น.  ก. สิพฺพติ. น. สิพฺพก (ปุ.) ช่างเย็บ. สิพฺพน สํสิพฺพน (นปุ.) การเย็บ, ฯลฯ. สิพฺพนี สิพฺพินี (อิต.) ธรรมชาติร้อยรัด, ตัณหา.

สิวฺ สิวุ คติโสจเนสุ
ไป ฯลฯ แห้ง เหี่ยว โศก.  ก. สิพฺพติ. น. สิพฺพน (นปุ.) ธรรมชาตยังสัตว์ให้ดำเนินไป, ฯลฯ, ธรรมชาตยังสัตว์ให้เศร้า, ฯลฯ.

สุธฺ โสเจยฺเย
สะอาด หมดจด บริสุทธิ์ ผุดผ่อง. ก. สุชฺฌติ. วิสุชฺฌติ. น. สุชฺฌน (นปุ.) สุทฺธิ (อิต.) ความสะอาด, ฯลฯ.

สุสฺ โสสเน
ผาก แห้ง เหี่ยว. ก. สุสฺสติ. น. สุกฺข (วิ.) ผาก, ฯลฯ, แล้ง, สุสฺสน (นปุ.) ความผาก, ฯลฯ.

สุหฺ สตฺติยํ
อาจ องอาจ สามารถ. ก. สุยฺหติ สุยฺหเต. น. สุยฺหน (นปุ.) สุยฺหนา (อิต.) ความอาจ, ฯลฯ.

ห อักษร

หนฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. หญฺญติ วิหญฺญติ วิหียติ. น. หณน หนน (นปุ.) การกำจัด, การขจัด, ฯลฯ, การกระทบ, การตี, การเบียดเบียน, ฯลฯ. หณุ หนุ หนุกา (อิต.) คาง. หนฺตุ (วิ.) ผู้กำจัด, ฯลฯ.

หา ปริหานิเย
เสื่อม สิ้น ทรุดโทรม ชั่ว เลว ทราม ต่ำช้า. ก. หายติ หิยฺยติ หียติ. น. หาน (นปุ.) หานิ (นปุ.,อิต.) ความเสื่อม, ฯลฯ. หายน (นปุ.) ความเสื่อม, ฯลฯ, ความฉิบหาย. หิ (นปุ.) ทุกข์ ความทุกข์, ความยากลำบาก, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ. หีน (วิ.) ชั่ว, ชั่วช้า, ต่ำ, ต่ำช้า, ต่ำต้อย, ชั้นต่ำ, เลว, เลวทราม.

หิริ ลชฺชิยํ
ละอาย. ก. หิริยติ หิรียติ. น. หิริ (อิต.) ความละอาย, ความละอายในความชั่วที่จะทำ, ความละอายบาป, ความเกลียด, ความเกลียดบาป, ความละอายใจ, ความละอายแก่ใจ.



๔ หมวด สุ ธาตุ กัต. ลง ณุ ณา และอุณา ปัจ.


อ อักษร

อปฺ ปาปุณเน
ถึง เข้าถึง บรรลุ ได้ ประสบ. ก. ปาปิณาติ ปาปุณาติ ปาปุโณติ. น. ปาปน ปาปุณ ปาปุณน (นปุ.) การถึง, ฯลฯ, ความถึง, ฯลฯ.

อสฺ เขเป
สละ ละ ทิ้ง ขว้างไป โยนไป. ก. อสุณาติ. น. นิรส (นปุ.) การสละ, ฯลฯ, การสละตัณหา, นิรสะ ชื่อพระนิพพาน.

อสฺ อสุ พฺยาปเน
ไหลไป เอิบอาบ ซ่าน ซ่านไป ซึม ซาบ ซึมซาบ ซาบซ่าน.  ก. อสุณาติ. น. พฺยาส (ปุ.) การไหลไป, ความไหลไป, ฯลฯ.

อาปฺ พฺยาปเน
ไหลไป เอิบอาบ ซ่าน ซ่านไป ซึม ฯลฯ. ก. อาปุณาติ. น. พฺยาป (วิ.) ไหลไป, ฯลฯ, แทรก, แทรกซึม, แผ่, แผ่ไป, แพร่, แพร่หลาย. พฺยาปน (นปุ.) ความไหลไป, ฯลฯ.


ก อักษร

กิวิ หึสายํ
กำจัด, ฯลฯ. ก. กิวุณาติ. น. กิวน เกวน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ.

กี หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. กีโณติ กีณาติ. น. กีมิ (ปุ.) หนอน, แมลง, แมลงต่าง ๆ.

ข อักษร


ขิปฺ เขเป
ทิ้ง ขว้าง โยน ทิ้งไป ขว้างไป โยนไป. ก. ขิปุณาติ. น. เขป เขปน (นปุ.) การทิ้ง, ฯลฯ. เขปก (ปุ.) คนแผลงศร, คนยิงธนู.

ขี ขเย
เสื่อม สิ้น เสื่อมไป สิ้นไป. ก. ขีโณติ ขีณาติ. น. ขย (ปุ.) ความเสื่อม, ฯลฯ, ขัย กษัย ชื่อโรค.

ค อักษร

คา สทฺเท
ออกเสียง เปล่งเสียง ขับ ขับกล่อม. ก. คาณาติ. น. คาน (นปุ.) การขับ, การขับกล่อม, การขับร้อง, การร้องเพลง.

คิ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. คิณาติ. น. เคนน (นปุ.) การออกเสียง, ฯลฯ, การขับกล่อม, ฯลฯ.

คุ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. คุณาติ. น. โคณก (ปุ.) คนขับกล่อม, คนขับร้อง, คนร้องเพลง.

จ อักษร

จิ จี จเย
ก่อ สร้าง ก่อสร้าง สั่งสม สะสม รวบรวม. ก. จิโนติ จีโนติ. น. จิน (ปุ.) การก่อ, ฯลฯ. วิจย (ปุ.) การก่อ, ฯลฯ, การค้นหา, การค้นคว้า, การเลือกฟั้น, การเลือกเฟ้น, การตรวจตรา, การไตร่สวน, การสอบสวน, ความค้นหา, ฯลฯ, วิจัย พิจัย. จิร (นปุ.) เปลือก.

จิริ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. จิรุณาติ. น. จิรณ (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.


ช อักษร

ชิริ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ชิรุณาติ. น. ชิร ชีร (วิ.) แก่, คร่ำคร่า, ชำรุด, ทรุด, ทรุดโทรม, ยุ่ย, ย่อย.

ต อักษร


ติกฺ ติคฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ติกุณาติ ติคุณาติ. น. เตกุณน เตคุณน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

ท อักษร

ทาสฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ทาสุณาติ. ทาส (ปุ.) การกำจัดความดี, ฯลฯ.

ทิกฺขฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ทิกฺขุณาติ. น. ทิกฺขน (นปุ.) การกำจัดความมืด, ความสว่าง.

ทุ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ทุณาติ ทุโณติ ทุนาติ. น. ทวน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ

ทุ คมนุปตาเนสุ
กำจัด ฯลฯ แผดเผา. ก. ทุณาติ ทุโณติ ทุนาติ. น. วิทฺทุม (ปุ.) แก้วประพาส, หินกะรัง, หินปะการัง.

ธ อักษร

ธุ สํวรเณ
สังวร ระวัง ป้องกัน รักษา. ก. ธุโรณติ ธุณาติ. น. ธวล (วิ.) ขาวเผือก.  (ปุ.) สีขาว, สีเผือก.

ป อักษร

ปิ ปีติกนฺตีสุ
อิ่ม อิ่มใจ แช่มชื่น ปลาบปลื้ม เบิกบาน ยินดี ชอบ ต้องการ พอใจ ชอบใจ รัก รักใคร่ ปรารถนา. ก. ปิโณติ ปิณาติ ปินาติ. น. ปิต ปีต (วิ.) อิ่ม,ฯลฯ. ปิติ ปีติ (อิต.) ความอิ่ม (เบิกบาน), ความอิ่มใจ, ฯลฯ.


ม อักษร

มิ ปกฺขุเปกฺขเณ
ใส่ สอด สอดเข้า สอดลง วาง ไว้วาง วางใจ เชื่อใจ. ก. มิโณติ มิโนติ มิณาติ. น. มิลา (อิต.) การใส่, การสอด. การใส่เข้า, ฯลฯ. มิตฺต (ปุ.) ความมีใจสอดเข้ากัน, คนรักกัน, คนไว้วางใจกัน, คนมีความไว้วางใจกัน, คนมีความเยื่อใยกัน, คนเชื่อใจกัน, เพื่อน, มิตร.

ร อักษร

ราธฺ สํสิทฺชิยํ
เสร็จ สำเร็จ ถึง บรรลุ จบ สัมฤทธิ์ ชื่นชม ยินดี เชื้อเชิญ. ก. ราธุณาติ ราธุนาติ. น. ราธน (นปุ.) ความชื่นชม, ความยินดี, การเชิญ, การเชื้อเชิญ.

ว อักษร

วุ สุตฺตขิปนสํวรเณสุ
ร้อย สอด ทอ ระวัง ป้องกัน รักษา. ก. วุณาติ. น. วุณานน (นปุ.) การร้อย, ฯลฯ.

วุสฺ ปาคพฺภิเย
คึก คะนอง ลำพอง ฮึกห้าว. ก. วุสุณาติ. น. วุสานน (นปุ.) ความคึก, ฯลฯ.

ส อักษร

สกฺ สกฺกฺ สตฺติยํ
อาจ องอาจ อำนาจ สามารถ ยิ่ง ยิ่งใหญ่. ก. สกฺกุณาติ สกฺกุโณติ. น. สกฺก (วิ.) อาจ, ฯลฯ, ควร, สมควร, ชอบ, เหมาะ, เหมาะสม.

สฆฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. สฆุณาติ สฆุโณติ. น. สํฆ สงฺฆ (ปุ.) ประชุม, กอง, หมวด, หมู่, คณะ (กำจัด การแยกกำจัดการแตกแยก).

สมฺภฺ ปตฺติยํ
ถึง บรรลุ สำเร็จ. ก. สมฺภุณาติ สมฺภุโณติ. น. สมฺภน (นปุ.) การถึง, ฯลฯ.

สาธฺ สาธุ สํสิทฺธิยํ
เสร็จ สำเร็จ ถึง บรรลุ จบ สัมฤทธิ์. ก. สาธุณาติ สาธุนาติ. น. สาธน (นปุ.) ความสำเร็จ, ฯลฯ. สาธุ (วิ.) ยังประโยชน์ให้สำเร็จ, เป็นความดี, เป็นที่ชอบใจ, ดี, งาม, งามดี, อันดี, ดีนัก, ถูกต้อง, เหมาะ, ควร, สมควร, ชอบ, ประเสริฐ, เลิศ. (ปุ.) ดีละ, ความดี, ความยินดี, คนดี, คนมีตระกูล, คนผู้ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้เสร็จ.

สิ พนฺธเน
ผูก พัน มัด รัด. ก. สิโณติ สิณาติ สิโนติ. น. สิขา (อิต.) ผมจุก, มวยผม.

สิ นิสาเน
ลับ อาน ทำให้คม คม. ก. สิโณติ สิโนติ สินาติ. น. สิขา (อิต.) เปลวไฟ.

สุ สวเน
ฟัง สดับ. ก. สุณาติ สุโณติ สุณติ. น. สวน (นปุ.) การฟัง, ฯลฯ, สัททชาต. ..อันบุคคลฟัง, อวัยวะสำหรับฟัง, หู. วิสฺสุต (วิ.) ปรากฏ, แจ่มแจ้ง, มีชื่อเสียง. สิสฺส (ปุ.) นักเรียน , ศิษย์ (ผู้ฟังคำสั่งสอนของครู). สุณ สูณ สูน โสณ (ปุ.) สุนัข, หมา (ฟังเสียงเจ้าของและเสียงอื่น ๆ). สุณฺหา (อิต.) หญิงสะใภ้, ลูกสะใภ้. สุติ (วิ.) ฟัง, สดับ, ได้ยิน, ได้ฟัง. สุติ (อิต.) โสต (นปุ.) หู (อวัยวะสำหรับฟัง).

สุ สทฺเท
ออกเสียง กล่าว เปล่งเสียง พูด ร้องเรียก ท่อง สาธยาย. ก. สุโณติ สุณาติ. น. สุติ (อิต.) เสียง.

สุ สนฺธาเน
สืบ สืบต่อ. ก. สุโณติ สุณาติ. น. สุต (ปุ.) บุตร, ลูก, ลูกชาย. สุตา (อิต.) บุตรี, ลูกสาว, หญิงสาว, สุดา. สุนุ สูนุ (ปุ.) บุตร, ลูก, ลูกชาย.

สุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. สุโณติ สุณาติ. น. สูต (ปุ.) ทูต (คนผู้ไปสู่ที่อันท่านส่งไป). สุริย (ปุ.) พระอาทิตย์.

สุ ปิวเน
ดื่ม กิน.  ก. สุโณติ สุณาติ. น. สุรา (อิต.) สุรา ชื่อน้ำเมาที่กลั่นแล้ว.

สุ อภิสเว
เบียน รบกวน ทำให้เดือดร้อน เบียดเบียน ผูก จำ ติดต่อ ละเอียด ป่น.  ก. สุโณติ สุณาติ. น. สุต (วิ.) เบียน, ฯลฯ. (ปุ.) การเบียน, ฯลฯ. สุรา (อิต.) สุรา (น้ำเมาที่กลั่นแล้ว). สูต (ปุ.) สูตชน คือคนที่เกิดแต่กษัตริย์กับนางพราหมณีชื่อสูตะ.

สุ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. สุณาติ สุโณติ. น. สฺยาม (ปุ.) ประเทศสยาม (กำจัดฆ่าศึกได้) ชื่อเดิมของประเทศไทย เปลี่ยนเป็นประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓. สุริย (ปุ.) พระอาทิตย์.

สุ วุทฺธิยํ
เจริญ งอกงาม รุ่งเรือง สว่างไสว. ก. สุณาติ สุโณติ. น. สฺยาม (ปุ.) ประเทศสยาม (เจริญด้วยความดี, ฯลฯ).

ห อักษร

หิ ปวตฺตเน
เป็นไป. ก. หิณาติ. หิโณติ หิโนติ. น. หิต (นปุ.) หิตา (อิต.) ความเกื้อกูล, ประโยชน์เกื้อกูล, ประโยชน์. หิม (นปุ.) หิมะ ชื่อละอองน้ำที่เข็งรัดตัว มีลักษณะ เหมือนปุย. เหม (นปุ.) ทอง, ทองคำ. เหตุ (ปุ.) มูลเค้า, เค้ามูล, ข้อความ, เรื่องราว.

หิ วุทฺชิยํ
เจริญ งอกงาม ฯลฯ. ก. หิณาติ หิโณติ หิโนติ. น. หิต (นปุ.) หิตา (อิต.) ความเกื้อกูล, ฯลฯ.

หิ ตาเป
ร้อน เร่าร้อน ร้อนใจ. ก. หิณาติ หิโณติ หิโนติ. น. หิณน หินน (นปุ.) ความเร่าร้อน, ฯลฯ.

หิ ปติฏฺฐายํ
ตั้งอยู่ ดำรง ดำรงอยู่. ก. หิณาติ หิโณติ หิโนติ. น. เหตุ (ปุ.) มูลเค้า, เค้ามูล ข้อความ, เรื่องราว, เหตุ สิ่งหรือเรื่องที่ทำให้เกิดผล.




๕ หมวด กี ธาตุ กัต. ลง นา ปัจ.


อ อักษร

อสฺ โภชเน
กิน เคี้ยว เคี้ยวกิน บริโภค. ก. อสฺนาติ. น. มาส (ปุ.) อาหารอัน. ..พึงกิน, (นปุ.) ภัตอัน. ..พึงกิน.  สุธาสี (อิต.) เทวดา (ผู้กินอาหารทิพย์). สุธาสินี (อิต.) เทพธิดา (ผู้กินอาหารทิพย์).

อิสฺ อภิกฺขเณ
เป็นไปเนือง ๆ เป็นไปบ่อย ๆ เป็นไปเป็นนิตย์. ก. อิสฺนาติ. น. อิสนา (อิต.) ความเป็นไปเนือง ๆ ฯลฯ.

อุทฺธสฺ อุญฺเฉ
แสวงหา เสาะหา ฯลฯ. ก. อุทฺธสฺนาติ. น. อุทฺธสน (นปุ.) การแสวงหา, ฯลฯ.

ก อักษร

กิ หึสาอุจฺจคตีสุ
กำจัด ฯลฯ, ไปสูง, ฯลฯ. ก. กิณาติ กินาติ. น. กิณาน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

กิลิสฺ วิพาธเน
กำจัด ขจัด ทำร้าย ประทุษร้าย ทำลาย เบียดเบียน.  ก. กิลิสฺนาติ. น. กิเลส เกลส (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องกำจัดความดี, ฯลฯ, ภาวะที่เกิดขึ้นในใจกำจัดความดีของใจ, ภาวะอันกำจัดความดี, ฯลฯ.

กี ทพฺพวินิมเย
แลกเปลี่ยนด้วยทรัพย์ ซื้อ ขาย ซื้อขาย. ก. กีณาติ กีนาติ กินาติ กีณติ. น. กย (ปุ.) กยน (นปุ.) การซื้อ. กยวิกย กยวิกฺกย (ปุ.) การซื้อและการขาย, การซื้อขาย, การแลกเปลี่ยน.  วิกย วิกฺกย (ปุ.) การขาย. กยวิกฺกยิก (ปุ.) บุคคลผู้เป็นอยู่ด้วยการซื้อและการขาย, พ่อค้า. กยวิกฺกยิกา (อิต.) หญิง ผู้เป็นอยู่ด้วยการซื้อและการขาย, แม่ค้า.


ข อักษร

ขิ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ขินาติ. น. ขานน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป, ความเป็นไป.

ค อักษร

คา สทฺเท
ออกเสียง เปล่งเสีง ขับ ขับกล่อม ขับร้อง ร้องเพลง. ก. คานาติ. น. คาน (นปุ.) การออกเสียง, ฯลฯ. คาร (ปุ.) ข่าว.

คิ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. คินาติ. น. คายก (ปุ.) คนขับร้อง, คนร้องเพลง. คายน (นปุ.) การออกเสียง, การเปล่งเสียง, การขับ, ฯลฯ.

จ อักษร

จิ จี จเย
ก่อ สะสม สั่งสม. ก. จินาติ จีนาติ. น. จย (ปุ.) การก่อ, ฯลฯ, การรวม, การรวบรวม, ความสะสม, ฯลฯ, ฝูง, หมู่, พวก, ประชุม, กอง, คณะ, ดินที่ถม, คัน.  นิจย (ปุ.) การสะสม, การสั่งสม, การรวบรวม, ความสะสม, ความรวบรวม, ฝูง, หมู่, พวก, ประชุม, กอง, คณะ. วิจย (ปุ.) การก่อ, ฯลฯ, การเลือกเก็บ, การรวบรวม, การค้นคว้า, การค้นหา การเลือกฟั้น การเลือกเฟ้น, การตรวจตรา, การไต่สวน, การสอบสวน, ความค้นคว้า, ฯลฯ. วิจิน (วิ.) คัด, เลือก, คัดเลือก, เก็บ, เลือกเก็บ, ตรวจ, ค้นหา, เที่ยวหา , สืบเสาะ.

ฉ อักษร

ฉิ เฉทเน
ตัด บั่น แบ่ง ผ่า ทอน.  ก. ฉินาติ. น. ฉยน (นปุ.) ฉยนา (อิต.) การตัด, ฯลฯ.


ช อักษร

ชิ ชเย
ชนะ มีชัย. ก. ชินาติ. น. ชย (วิ.) ผู้ชนะ, ผู้มีชัย. ชบ (ปุ.,นปุ.) ชยน (นปุ.) ความชนะ, ความมีชัย.

ชิ ชานิยํ
เสื่อม สิ้น เสื่อมสิ้น, ย่อยยับ, พ่ายแพ้. ก. ชินาติ. น. ชานิ (อิต.) ความเสื่อม, ฯลฯ, ชิน (นปุ.) ความเสื่อม, ฯลฯ.

ญ อักษร

ญา ญาเน
รู้. ก. ญายติ ชานาติ นายติ. น. ญ (วิ.) รู้, ทราบ. (ปุ.) ความรู้, คนผู้รู้. ชาน ชานน (นปุ.) ญา (อิต.) อันรู้, ความรู้. ญาติ ญาติก (ปุ.) พี่น้อง, ญาติ (รู้ว่าพวกของเรา).

ถ อักษร

ถุ อภิตฺถเว
ชม ชมเชย ยกย่อง สรรเสริญ. ก. ถุนาติ. น. ถว (วิ.) ชม, ฯลฯ. ถวน (นปุ.) ถวนา (อิต.) ถุติ (อิต.) ความชม, ฯลฯ, ความชอบ.

ถุ นิตฺถุนเน
ทอดถอน ถอนใจ. ก. ถุนาติ. น. นิตฺถุนน (นปุ.) การทอดถอน, การถอนใจ, การหายใจแรง.

ท อักษร

ทุ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ทุนาติ. น. ทุม ทุมฺม (ปุ.) ต้นไม้ (กำจัดอากาศเสีย, กำจัดความร้อน).

ธ อักษร

ธุ ธู กมฺปเน
ไหว หวั่น หวั่นไหว กระเทือน กระดิก สลัก สั่น รัว. ก. ธุนาติ ธูนาติ. น. ธุต ธูต (วิ.) ไหว, ฯลฯ. ธุตฺต ธุตฺตก (ปุ.) นักเลงสกา, นักเลงพนัน.

ธุ ธู วิธุนเน
กำจัด ขจัด ขัดเกลา. ก. ธุนาติ ธูนาติ. น. ธุต ธูต (วิ.) กำจัด, ฯลฯ. ธูต  (ปุ.) ภาวะอันกำจัดซึ่งธรรมอันเป็นอกุศล, ฯลฯ, การกำจัดความชั่ว, ฯลฯ. วิธุปน วิธูปน (นปุ.) การพัดวี, พัด, พัดสี่เหลี่ยม, พักโบก (จำกัดความร้อน). วิธุม วิธูม (ปุ.) ความกำจัด, ฯลฯ.

ป อักษร

ปิ ปี ตปฺปนกนฺตีสุ
อิ่ม อิ่มใจ ปลื้มใจ พึงใจ พอใจ ชอบใจ ชื่นชม ยินดี ชอย รัก รักใคร่. ก. ปินาติ ปิณาติ ปีนาติ ปีณาติ. น. ปิต ปีต (วิ.) อิ่ม, อิ่มใจ, ฯลฯ. ปิติ ปีติ  (อิต.) ความอิ่มใจ, ฯลฯ. ปิย (วิ.) น่าพึงใจ, ฯลฯ. (ปุ.) ความพึงใจ, ฯลฯ.

ปุ ปวเน
ชำระ ซัก ล้าง ฟอก ซักฟอก กรอง ฝัด. ก. ปุนาติ ปุณาติ. น. ปวน (นปุ.) การทำให้สะอาด, การชำระ, ฯลฯ. เตา, เตาหุงข้าว, เตาไฟ, เชิงกราน.  ปายุ (ปุ.) รูสำหรับถ่ายกากอาหารรูก้น, รูทวารหนัก, วัจมรรค, วจมรรค. ปุตฺต ปุตฺร (ปุ.) โอรส, ลูก, บุตร (ผู้ชำระสกุลให้บริสุทธิ์ ความเชื่อของลัทธิพราหมณ์).

ปุสฺ โปสเน
เลี้ยง เลี้ยงดู ปรนปรือ. ก. ปุสฺนาติ. น. โปส (ปุ.) สัตว์, มนุษย์, บุคคล, บุทคล, คน, ชาย, ผู้ชาย, บุรุษ. โปสน (นปุ.) การเลี้ยง, ฯลฯ.

ปุสฺ ปูรเณ
เต็ม ให้เต็ม. ก. ปุสฺนาติ. น. ปุริส (ปุ.) คน, ชาย, ผู้ชาย, บุรุษ (ผู้ยังหทัยของมารดาบิดาให้เต็ม). โปส (ปุ.) มนุษย์ (ผู้เต็มด้วยความดี).

ผ อักษร

ผุ อุนฺนตปวเนสุ
สูง นูน ชำระ ล้าง ฯลฯ ฝัด โปรย โรย. ก. ผุนาติ. น. ผุฏ (วิ.) สูง, นูน, นูนขึ้น, ฯลฯ.


ม อักษร

มา มาเณ
นับ ตวง วัด. ก. มานาติ. มินาติ. น. มาณ (นปุ.) การนับ, ฯลฯ, ทะนาน, ปริมาณ (ปุ.) การนับ, การกำหนด, การกำหนดนับ, เครื่องกำหนดนับ, การตวง, การวัด, เครื่องวัด, ประมาณ, ปริมาณ (ความมาก ความน้อย). มตฺต (วิ.) เล็ก, น้อย, เล็กน้อย, ประมาณ, พอประมาณ ,เพียง, เพียงแต่, ชั้น, รุ่น, เท่านั้นเอง, ต่าง, มาตรว่า, สักว่า. (นปุ.) อันนับ, การนับ, การประมาณ. มน (ปุ.,นปุ.) สภาพผู้นับอารมณ์, สภาพผู้กำหนดอารมณ์, ธรรมชาตผู้นับอารมณ์, ฯลฯ. มาปก (ปุ.) คนผู้ตวง, คนผู้ชั่ง.

มิ มี หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. มินาติ มีนาติ. น. มิค (ปุ.) เนื้อ ชื่อของสัตว์ป่ามีกวางเป็นต้น, ปศุสัตว์ของเลี้ยง. มีน (ปุ.) ปลา (ปลาทั่วไป).

มุ พนฺธเน
พัน ผูก มัด รัด. ก. มุนาติ. น. มุข (นปุ.) ปาก, หน้า, ช่อง, ทาง, อุบาย, เหตุ, ทีแรก, เบื้องต้น, หัวข้อ. มุฏฺฐิ (ปุ.,อิต.) กำ,กำมือ.

มุน ญาเณ
รู้. ก. มุนาติ. น. มุนิ (ปุ.) พระมุนี (ผู้รู้สรรพธรรม) เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าทั้งปวง พระนาม ๑ ใน ๓๒ พระนาม, พระพุทธเจ้า. โมน (นปุ.) ความรู้, ญาณ, ปัญญา.

มุสฺ เถยฺเย
ลัก ขโมย. ก. มุสฺนาติ. น. มุสน (นปุ.) การลัก, การขโมย. มุสล (ปุ.,นปุ.) สาก, ตะบอง, ไม้ตะบอง, ตะลุมพุก.

ร อักษร

ริ รี คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. รินาติ รีนาติ. น. ริรี รีรี (อิต.) ทองเหลือง. เรณุ (ปุ.,อิต.) ผง, ฝุ่น, ละออง, ธุลี, เกสร.

ริ รี เทสเน
แสดง ชี้แจง อธิบาย บรรยาย. ก. รินาติ รีนาติ ริณาติ รีณาติ. น. รินน รีนน (นปุ.) รินนา รีนนา (อิต.) การแสดง, ฯลฯ.


ล อักษร

ลิ ลี สิเลสเน
กอด กอดรัด สวมกอด ติด ติดพัน แนบ ติด ติดกัน ข้อง ข้องอยู่ เกี่ยวข้อง, เป็นยาง เป็นยางเหนียว. ก. ลินาติ ลีนาติ. น. ลย (ปุ.) ลยน (นปุ.) การกอดรัด, ฯลฯ.

ลิ ลี นาเส
สิ้น เสื่อม ฉิบหาย พินาศ ป่นปี้ ย่อยยับ. ก. ลินาติ ลีนาติ. น. ลย (ปุ.) ลยน (นปุ.) วิลย (นปุ.) ความสิ้น, ฯลฯ.

ลิ ลี สิเลเส
แอบ เร้น ซ่อน ซ่อนเร้น ลี้ลับ ไม่ปรากฏ. ก. ลินาติ ลีนาติ. น. ลิน ลีน (วิ.) แอบ, ฯลฯ.

ลุ ลู เฉทเน
ตัด เกี่ยว เก็บ แบ่ง บั่น ผ่า ทอน เฉือน เชือด แขวะ ควัก ขาด ทะลุ. ก. ลุนาติ ลูนาติ. น. ลาป (ปุ.) นกมูลไถ. ลว (วิ.) ตัด, ฯลฯ. ลว (ปุ.) ลวน (นปุ.) การตัด, ฯลฯ. โลณ (นปุ.) เกลือ (ตัดรสอื่น). ลุทฺท ลุทฺทก (ปุ.) พราน, นายพราน (ตัดชีวิตสัตว์).

ว อักษร

วิ วี ตนฺตุสนฺตาเน
ร้อย ชุน ทอ ทอผ้า เย็บ เย็บผ้า. ก. วินาติ วีนาติ. น. วาน (นปุ.) การร้อย, ฯลฯ, เครื่องเย็บ, เครื่องชุน, เครื่องร้อยรัด, ธรรมชาตเครื่องร้อยรัด, อารมณ์อันร้อยสัตว์ไว้ในภพ, อารมณ์อันร้อยรัดสัตว์ไว้ในภพ, อารมณ์อันผูกสัตว์ไว้ในภพ, ตัณหา. เวม (ปุ.) กระสวนทอผูก, ฟืม, เครื่องทอผ้า.

วิ ปฏิฆหึสาสุ
แค้น เคือง ขัดเคือง ขึ้งเคียด เกลียดชัง จำนงภัย ปองร้าย พยาบาท กำจัด ฯลฯ เบียดเบียน.  ก. วินติ วินาติ. น. เวร (นปุ.) ความแค้น, ฯลฯ, ความเบียดเบียน.

วิ วี หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. วินติ วินาติ วีนาติ. น. เวณุ เวนุ (ปุ.) ไผ่, ไม้ไผ่, อ้อ, ไม้อ้อ, ต้นอ้อ, ขลุ่ย, ปี่ (กำจัดความโศก).


วิลิ วิลี นาเส
สิ้น เสื่อม ฯลฯ ย่อยยับ. ก. วิลินาติ วิลีนาติ. น. วิลิน วิลีน (วิ.) สิ้น, ฯลฯ. (นปุ.) ความสิ้น, ฯลฯ.

วิสฺ วิปฺปโยเค
แยก พราก จากกัน.  ก. วิสฺนาติ. วิส (นปุ.) พิษ สิ่งเป็นโทษแก่กายและใจ คือ แยกใจออกจากกาย (ตาย), พิษงู, ยาพิษ.

วุสฺ ปาคพฺภิเย
คึก คะนอง ลำพอง ฮึกห้าว. ก. วุสฺนาติ. น. เวสน (นปุ.) ความคึก, ฯลฯ.

ส อักษร

สา ปาเก
หุง ต้ม ฯลฯ. ก. สินาติ. แปลง อา เป็น อิ. น. สาน (นปุ.) การหุง, ฯลฯ.

สิ สี พนฺธเน
ผูก พัน มัด รัด. ก. สินาติ สีนาติ. น. เสณ เสน (ปุ.) เหยี่ยว, นกเหยี่ยว, เล็บเหยี่ยว ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง. สีล (นปุ.) การสำรวม, ความสำรวม, วัตรอันงาม, สีล, ศีล. สีมา (อิต.) เขต, แดน, เขตแดน (ที่ที่ผูกเป็นเขตของสงฆ์ด้วยกัมมวาจา). เสนา (อิต.) กองทหาร, กองทัพ. เสลุ (ปุ.) มะกอก, มะซาง, มะคำไก่. สิขา (อิต.) จุก, ผมจุก, มวยผม. สิรา (อิต.) เอ็น (ผูกพันร่างกาย). เสวาล (ปุ.) สังวาล ชื่อเครื่องประดับชนิดหนึ่งใช้สวมสะพานแล่ง.

สุ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. สุนาติ. น. สุต (วิ.) กำจัด, ขจัด, ฯลฯ, เบียดเบียน.  (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ. สุร สุริย สูร สูริย (ปุ.) พระอาทิตย์ (กำจัดความมืด). โสต (วิ.) กำจัดกิเลส, ฯลฯ.



๖ หมวด คหฺ ธาตุ กัต. ลง ณฺหา และ ปฺป ปัจ.


ค อักษร

คหฺ คนเณ
จับ ถือ ยึด กุม. ก. คณฺหติ คณฺหาติ เฆปฺปติ. กิริยาแรกรัสสะ อา เป็น อ. น. คหณ คหน (วิ.) จับ, ยึด, ถือ, ถือเอา, กุม, เรียน, ชิด, ชัฎ, รก, รกชัฏ, รกเรี้ยว (รกมาก), ฟั่นเฝือ. (นปุ.) การจับ, ฯลฯ, ป่า, หมู่ไม้, ชัฏ (ป่ารก ป่าทึบ).

ต อักษร

ติชฺ นิสาเน
ลับ อาน.  ก. ติชณฺหาติ. น. ติชิล (ปุ.) ดวงจันทร์, พระจันทร์.

ส อักษร


สา ตนุกรเณ
ทำให้บาง ถาก ไส เล็ก น้อย เล็กน้อย ละเอียด. ก. สเณหติ โอสณฺหติ โอสเณหิ. น. นิสาน สาน (ปุ.) การทำให้คม, การลับ.



๗ หมวด ตนฺ ธาตุ กัต. ลง โอ และ ยิร ปัจ.


อ อักษร

อปฺ ปาปุณเน
ถึง เข้าถึง บรรลุ ได้ ประสบ. ก. อโปติ. น. สมฺปาปน (นปุ.) การยัง...ให้ถึงพร้อม, การยัง...ให้ถึงด้วยดี. อปฺปนา (อิต.) ความแนบแน่น.  มนาป (วิ.) อันยังใจให้เอิบอาบ, เป็นที่เอิบอาบแห่งใจ, เป็นที่พึงใจ, เป็นที่พอใจ, เป็นที่ชอบใจ, เจริญใจ, พึงใจ.

อปฺปฺ ปาปุณเน
ถึง เข้าถึง ฯลฯ. ก. อปฺโปติ. น. อปฺปนา (อิต.) ความแนบแน่น.  มนาป (วิ.) อันยังใจให้เอิบอาบ, ฯลฯ (ปุ.) ภาวะอันยังใจให้เอิบอาบ, ฯลฯ, การยังใจให้เอิบอาบ, ฯลฯ.

อิณฺ อิณุ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. อิโณติ. น. อิณ (นปุ.) เงินค้าง, การให้ยืม, หนี้ (ถึงการเพิ่มขึ้น).

อิณฺ ทิตฺติยํ
เจริญ ฯลฯ. ก. อิโณติ. น. โสณฺณ (นปุ.) ทอง, ทองคำ. อิณ (นปุ.) เงินค้าง, ฯลฯ.

ก อักษร

กรฺ กรเณ
ทำ กระทำ. ก. กโรติ กยิรติ. น. กร (ปุ.) บุคคลผู้ทำ, แขน, มือ, งวง, กาย. กรณ (วิ.) (วัตถุ) เป็นเครื่องทำ, (อวัยวะ) เป็นเครื่องทำเสียงให้เกิด. (นปุ.) การทำ, ความทำ. สงฺกร (ปุ.) การระคนกัน, การปนกัน, การปะปน, การระคน, การคละกัน, การคาบเกี่ยว, ฯลฯ, หยากเยื่อ,มูลฝอย. สงฺขาร (ปุ.) สภาพอันปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งอันปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง, สภาพอันปรุงแต่ง, การปรุงแต่ง, การตกแต่ง, การตบแต่ง, การจัดแจง, ความปรุงแต่ง, ฯลฯ, ความอบรม, ความพยายาม, ร่างกาย, ร่างกายและจิตใจ, ตัวตน, สังขาร ได้แก่สิ่งที่ปัจจัยหรือธรรมชาติปรุงแต่ง สิ่งที่มีวิญญาณครองและสิ่งที่ไม่มีวิญญาณครอง สิ่งที่มนุษย์ทำขึ้นสร้างขึ้น เฉพาะในขันธ์ ๕ แปลว่าความคิด.

กรฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. กโรติ. น. กร (นปุ.) น้ำ (กำจัดความแห้งกำจัดร้อน).

ข อักษร

ขิณฺ ขิณุ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ขิโณติ. น. ขิณน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, การเบียดเบียน, ความกำจัด, ฯลฯ.

ขุณฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ขุโณติ. น. ขุณน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, การเบียดเบียน, ความจำกัด, ฯลฯ.


ฆ อักษร

ฆิณฺ ทิตฺติยํ
เจริญ ฯลฯ. ก. ฆิโณติ. น. ฆิณฺณ (ปุ.,นปุ.) ความเจริญ, ฯลฯ.

ช อักษร

ชาครฺ นิทฺทกฺขเย
สิ้นความหลับ ตื่น ตื่นนอน.  ก. ชาคโรติ. น. ชาคร (วิ.) ตื่น, ขยัน, หมั่น, เพียร. ชาคร (ปุ.) ความตื่น (จากหลับ), ความตื่นอยู่, ความขยัน, ฯลฯ.

ต อักษร

ตนฺ ตนุ วิตฺถาเร
แผ่ แผ่ไป ขยาย กว้างขวาง แพร่หลาย พิสดาร. ก. ตโนติ. น. ตนุ (อิต.) กาย, ร่างกาย, ตน, หนัง. รตน (นปุ.) แก้ว, เพชร, พลอย, มณี, รตนะ ชื่อของวิเศษ ของมีค่า. วิตฺถต (วิ.) แผ่ไป, กว้าง, กว้างขวาง, แพร่หลาย. สตต (วิ.) แผ่ไปโดยรอบ, ขยายไปโดยรอบ, ฯลฯ. สนฺตต (วิ.) ทุกเมื่อ, เที่ยง, เนือง ๆ , เสมอ, เสมอ ๆ, เป็นนิตย์, สะดวก.  สนฺตาน (ปุ.) การสืบต่อ, การสืบสาย, ความสืบต่อแห่งจิตและเจตสิก, เชื้อสาย, เผ่า, เผ่าพันธุ์, วงศ์, วงศ์ตระกูล, สันดาน (อุปนิสัยที่ติดมาแต่กำเนิดจิตที่ได้รับอบรมมาหลายภพหลายชาติ). สนฺตานก (นปุ.) การสืบต่อ, ฯลฯ, หยากเยื่อ.

ติณฺ อทเน
กิน เคี้ยว เคี้ยวกิน บริโภค. ก. ติโณติ ติโนติ. น. ติณ (นปุ.) หญ้า, ตฤณ.

ป อักษร

ปนุ ทาเน
ให้ สละ ถวาย บริจาค. ก. ปโนติ. น. ปนน (นปุ.) ปนนา (อิต.) การให้, ฯลฯ.


ม อักษร

มนฺ ญาเณ
รู้ ฯลฯ. ก. มโนติ. น. มญฺชุ (วิ.) อ่อน, อ่อนหวาน, เป็นที่ชอบใจ, ไพเราะ, กลมเกลี้ยง, งาม, สวย, ดีนัก.  มํส (นปุ.) เนื้อ (เนื้อของคนและสัตว์ต่างๆ), มังสะ, มางสะ. มต (ปุ.) ญาติ (รู้ว่าเป็นเชื้อสาย) มติ (อิต.) ความรู้, ความคิด, ปรีชา , ปัญญา. มนฺตา (อิต.) ปัญญา, ปรีชา, วิชา. สมฺมต (ปุ.) คำอันบุคคลพึงรู้ตาม, ถ้อยคำอันบุคคลพึงรู้ตาม, การรู้ตาม, โวหาร, ถ้อยคำ. สมฺมติ (อิต.) การรู้ตาม, โวหาร, ถ้อยคำ.

ว อักษร

วนฺ ยาจเน
ขอ ร้องขอ อ้อนวอน วิงวอน.  ก. วโนติ วนุติ. น. วิชฺฌ วิญฺฌ (ปุ.) วิชฌะ, วิญฌะ ชื่อภูเขาลูก ๑ ใน ๗ ลูก.

ส อักษร

สกฺ สกฺกฺ สตฺติยํ
อาจ องอาจ สามารถ. ก. สกฺโกติ. น. สกฺก (วิ.) อาจ, ฯลฯ, ควร, ชอบ, สมควร, เหมาะ, เหมาะสม.(ปุ.) สักกะ, ศักยะ, ศากยะ พระนามของพระพุทธเจ้า, สักกะ ท้าวสักกะ ชื่อของพระอินทร์ชื่อ ๑ ใน ๒๑ ชื่อ, เจ้าศากะ, พระเจ้าศากยะ สักกะ ศากยะ ชื่อวงศ์กษัตริย์, สักกะ ชื่อแคว้น ชื่อชนบท.

สนฺ สนุ ทาเน
ให้ สละ ถวาย บริจาค. ก. สโนติ. น. สานุ (ปุ.,นปุ.) พื้นราบแห่งภูเขา, ภูเขามีพื้นเสมอ, ยอดเขา, เนินเขา, ไหล่เขา, ซอก, ข้าง. โสณฺฑา (อิต.) โรงสุรา, ร้านสุรา.

ห อักษร

หนฺ อปนยเน
นำไปปราศ หลีกไป ถอน ยกเลิก ไม่พูดถึง ลัก ขโมย. ก. หโนติ. น. หหน (นปุ.) การนำไปปราศ, ฯลฯ.




๘ หมวด จุรฺ ธาตุ กัต. ลง เณ ณย ปัจ.


อ อักษร

อกิ อํกฺ องฺกฺ ลกฺขเณ
กำหนด หมาย เป็นเครื่องหมาย. ก. องฺเกติ องฺกยติ. น. อํก องฺก (ปุ.) เครื่องหมาย, รอย, สาย, แถว, แนว, รายเรื่อง, ส่วน (สิ่งที่แยกกล่าวเป็นราย ๆ), องก์ (ตอนหนึ่ง ๆ หรือชุดหนึ่ง ๆ ฉากหนึ่ง ๆ), ตัก, พก, เอว, สะเอว, ข้าง, สีข้าง, บั้น ,บั้นเอว, แขน, ไหล่, คบไม้, ที่, ตรา, หน้า (หน้าหนึ่ง ๆ ของหนังสือ). องฺกน (นปุ.) การกำหนด, หมาย (หนังสือเกณฑ์ หรือหนังสือเกาะกุมตัว), เครื่องหมาย, การทำเครื่องหมาย, การประทับตรา. องฺกย (ปุ.) ชื่อกลองพิเศษชนิดหนึ่ง, ตะโพน, กลอง,โทนเล็ก.  องฺกา (อิต.) ตัก, พก, เอว, สะเอว, บั้นเอว, ข้าง, สีข้าง. องฺกิต (นปุ.) หมาย, เครื่องหมาย.

อกฺกฺ ถวเน
ชม ชมเชย ยกย่อง เชิดชู ยกย่องเชิดชู เทิดทูน สรรเสริญ. ก. อกฺเกติ อกฺกยติ. อกฺก (ปุ.) ดวงอาทิตย์, พระอาทิตย์.

อฆฺ ปาปกรเณ
ชั่ว ชั่วช้า เลว ทราม. ก. อเฆติ อฆยติ. น. อฆ (นปุ.) ความชั่ว, ฯลฯ, ความทุกข์, ความวิบัติ, ความฉิบหาย.

อฆฺ คิลาเน
ลำบาก เจ็บ ไข้ เจ็บไข้ ไม่สบาย. ก. อเฆติ อฆยติ. น. อฆน (นปุ.) ความลำบาก, ฯลฯ.

อํสฺ หึสาสํฆาเตสุ
กำจัด ฯลฯ รวมกัน ติดต่อกัน ฯลฯ. ก. อํเสติ อํสยติ. น. อํส (ปุ.) บ่า, ไหล่, ส่วน, แผนก, คอต่อ, มุม, องสา, องศา, ขันธ์.

อจฺจฺ ปูชายํ
เคารพ ยกย่อง นับถือ บูชา. ก. อจฺเจติ อจฺจยติ. น. อจฺจน (นปุ.) อจฺจนา (อิต.) การถวาย, การเซ่นสรวง, การเคารพ, ฯลฯ.

อชฺชฺ ปติสชฺชเน
ตระเตรียม จัดแจ้ง ตกแต่ง ตบแต่ง. ก. อชฺเชติ น. อชฺชน (นปุ.) การตระเตรียม, ฯลฯ.

อญฺจุ วิเสสเน
แปลก แปลกกัน ต่าง ต่างกัน แตกต่างกัน.  ก. อญฺเจติ อญฺจยติ. น. อญฺจน (นปุ.) ความแปลกกัน, ฯลฯ.

อฏฺฏฺ หึสานาทเรสุ
กำจัด ฯลฯ ไม่เอื้อเฟื้อ ฯลฯ. ก. อฏเฏติ อฏฺฏยติ. น. อฏฺฏ (ปุ.) ความบีบคั้น, ความเบียดเบียน, ความลำบาก, ความวิบัติ, อันตราย, ความไม่เอื้อเฟื้อ, ฯลฯ, ความ (เรื่อง เนื้อเรื่อง คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล), คดี, คดีความ, อรรถคดี, ร้าน, ป้อม, หอรบ, แม่แคร่. อฏฺฏก (ปุ.) ร้าน, นั่งร้าน, ห้าง.

อตฺถฺ ยาจเน
ขอ ขอร้อง ร้องขอ วิงวอน.  ก. อตฺเถติ อตฺถยติ. น. อตฺถ (ปุ.) การขอ, ฯลฯ.

อตฺถฺ อิจฺฉายํ
อยาก อยากได้ ใคร่ หวัง มุ่งหวัง มุ่งหมาย ประสงค์ ใส่ใจ ต้องการ ยินดี เพลิดเพลิน ปรารถนา. ก. อตฺเถติ อตฺถยติ. น. อตฺถ (ปุ.) ความอยาก, ฯลฯ, การณะ, เหตุ, เหตุการณ์, ทรัพย์, สมบัติ, ประโยชน์, เรื่อง, เรื่องราว, เนื้อเรื่อง, เนื้อความ, เนื้อความแห่งศัพท์, อัตถะแห่งศัพท์, อรรถแห่งศัพท์, ข้อความ, ผล, กิจการ, คำแปล, อธิบาย, คำอธิบาย, วัตถุ, พัสดุ, สิ่งของ.

อทฺ ภกฺขเณ
กิน เคี้ยว เคี้ยวกิน กัดกิน บริโภค. ก. อเทติ อทยติ. น. อทน (นปุ.) การกิน, ฯลฯ, ของกิน, ของบริโภค, เครื่องกิน, เครื่องบริโภค. อทฺทุ (ปุ.) เรือนจำ, คุก (กินนักโทษ)

อทฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. อเทติ อทยติ. น. อทน (นปุ.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป, ความเป็นไป.

อทฺ ยาจเน
ขอ ขอร้อง ร้องขอ วิงวอน.  ก. อเทติ อทยติ. น. อทน (นปุ.) การขอ, ฯลฯ.

อทฺทฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. อทฺเทติ อทฺทยติ. น. อทฺทก (ปุ.) หมาป่า, หมาขี้เรื้อน.  อทฺทน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, การทำร้าย, การทำอันตราย, การเบียดเบียน.  อทฺทา (อิต.) อัททา ชื่อดาวฤกษ์ กลุ่มที่ ๖, เสาไม้ตะลุง.


อนฺธฺ ทสฺสนุปสํหาเร
สังหารการเห็น บอด มืด. ก. อนฺเธติ อนฺชยติ. น. อนุธ (วิ.) บอด, มืด, มืดมน, โง่, ทึบ, เป็นโรค,เสีย (เสื่อมคุณภาพ ใช้ไม่ได้). (ปุ.) ความบอด, ความมืด, คนตาบอด.

อมฺ รุชเน
แทง ทิ่มแทง เสียดแทง กำจัด ทำลาย เบียดเบียน.  ก. อเมติ อมยติ. น. อมน (นปุ.) อมนา (อิต.) ความแทง, ฯลฯ, ความเจ็บไข้, ความป่วยไข้, ความไม่สบาย.

อรหฺ อรหปูชาสุ
ควร สมควร เคารพ ฯลฯ. ก. อรเหติ อรหยติ. น. อรห (วิ.) ควร, ฯลฯ.

อลฺ อลิ พนฺชเน
ผูก พัน มัด รัด. ก. อเลติ อลยติ. น. อลน (นปุ.) อลนา (อิต.) การผูก, ฯลฯ. อลส (ปุ.) คนเกลียดคร้าน.  ความเกลียดคร้าน.  อลฺล (นปุ.) ความพัวพัน.

อลฺลฺ เกลทเน
เยิ้ม ซึม ชื้น ชุ่ม เปียก.  ก. อลฺเลติ อลฺลยติ. น. อลฺย อลฺล (วิ.) เยิ้ม, ฯลฯ.

อาปฺ อาปุ พฺยาปเน
เอิบอาบ ซึม ซาบซ่าน ไหลไป. ก. อาเปติ อาปยติ. น. อาปน (นปุ.) ความเอิบอาบ, ฯลฯ.

อิลฺ มทฺทเน
บด ขยี้ ย่ำ นวด. ก. อิเลติ อิลยติ. น. อิลน (นปุ.) การบด, ฯลฯ.

อิฬฺ ถวเน
ชม ชมเชย ยกย่อง เชิดชู เทิดทูน สรรเสริญ. ก. อิเฬติ อิฬยติ. น. อิฬน (นปุ.) การชม, ฯลฯ, ความชม, ฯลฯ.

อิทิ อีที ภเย
กลัว เกรงกลัว ขยาด หวาด สะดุ้ง. ก. อีเทติ อีทิยติ อีทียติ. น. อีทิยน อีทียน (นปุ.) ความกลัว, ฯลฯ.

อีรฺ เขปเน
ทิ้ง ขว้าง ขว้างไป เหวี่ยงไป โยน โยนไป. ก. อีเรติ อีรยติ. น. อีรณ (นปุ.) การทิ้ง, ฯลฯ อีริต (วิ.) ทิ้ง, ฯลฯ. สงฺกฏีร (นปุ.) ที่เทหยากเยื่อ, กองแห่งหยากเยื่อ, กองแห่งมูลฝอย, กองแห่งกุมฝอย.

อุปฺ ปาปุณเน
ถึง เข้าถึง ลุ บรรลุ ได้ ประสบ. ก. อุเปติ อุปยติ. น. อุปยน (นปุ.) การถึง, ฯลฯ.

อูน ปริหาเน
หย่อน พร่อง ไม่เต็ม เสื่อม เสื่อมสิ้น.  ก. อูเนติ อูนยติ. น. อูน อูนก (วิ.) หย่อน, ฯลฯ, เสื่อมสิ้น.

โอปฺ สนฺนิจเย
เก็บไว้. ก. โอเปติ โอปยติ. น. โอปน (นปุ.) โอปนา (อิต.) การเก็บไว้.

ก อักษร

กจฺ ทิตติยํ
รุ่งเรือง ฯลฯ. ก. กจฺเจติ กจฺจยติ. ซ้อน จฺ. น. กจฺจ (ปุ.) คนสวย, คนงาม, คนสวยงาม. กจฺฉา (อิต.) ความรุ่งเรือง, ฯลฯ.

กจฺฉฺ กจฺฉุ อวกฺเขเป
กว้างลง ขว้างลงไป ซัดลง ซัดลงไป โยนลง โยนลงไป. ก. กจฺเฉติ กจฺฉยติ. น. กจฺฉน (นปุ.) การขว้างลง, ฯลฯ.

กฐิ โสเก
เศร้า สลด ระทม หมอง ไม่แจ่มใส แห้งใจ เหี่ยวแห้งใจ เกรียมใจ. ก. กณฺเฐติ กณฺฐยติ. น. กณฺฐน (นปุ.) ความเศร้า, ฯลฯ.

กฑิ กณฺฑฺ เภทเน
แตก หัก พัง ทำลาย. ก. กณฺเฑติ กณฺฑยติ. น. กณฺฑ (ปุ.) ลูกศร, ลูกธนู, ลูกปืน.  กณฺฑุ กณฺฑุติ กณฺฑู กณฺฑูยา (อิต.) ความคัน, โรคคัน, ต่อมเล็ก ๆ, ฝี, ลำลายเพลิง, หิด, หิดด้าน, หิดเปลือย. กณฺฑุวน กณฺฑูวน (นปุ.) ความคัน, โรคคัน, กลาก, โรคกลาก.  กณฺฑรา (อิต.) เอ็นใหญ่.

กฑิ กณฺฑฺ ปริจฺเฉเท
เป็นวรรค เป็นตอน กำหนด ตัด แบ่ง. ก. กณฺเฑติ กณฺฑยติ. น. กณฺฑ (ปุ.) ก้าน, ราก, ลำต้น, ท่อน, ท่อนไม้, ไม้เท้า, วรรค, ตอน, หมวด, อวกาศ, โอกาส.

กณฺ นิมีลเน
กระพริบตา หลับตา บอด มืด มองไม่เห็น.  ก. กาเณติ กาณยติ. น. กาณ (วิ.) บอด, มืด. (ปุ.) คนตาบอด.

กณฺณฺ สวเน
สดับ ฟัง. ก. กณฺเณติ กณฺณยติ. น. กณฺณ (ปุ.) อวัยวะเป็นเครื่องฟัง, อวัยวะสำหรับฟัง, หู.


กตฺตรฺ เสถิลฺเล
หย่อน หย่อนยาน เทิบทาบ. ก. กตฺตเรติ กตฺตรยติ. น. กตฺตร (วิ.) หย่อน, ฯลฯ.

กตฺตรฺ ชรายํ
แก่ เฒ่า. กตฺตเรติ กตฺตรยติ. น. กตฺตร (วิ.) แก่, เฒ่า. (ปุ.) คนแก่, คนเฒ่า.

กถฺ วจนคนฺเถสุ
กล่าว บอก แสดง ชี้แจง อธิบาย แต่ง เรียบเรียง ร้องกรอง ประพันธ์. ก. กเถติ กถยติ. น. กถา (อิต.) วาจาเป็นเครื่องกล่าว, ฯลฯ, คำพูด, คำกล่าว, คำอธิบาย, ถ้อยคำ, ข้อประพันธ์, เรื่อง.

กนฺทฺ สาตจฺเจ
ติดต่อกัน เป็นไปติดต่อ เป็นไปติดต่อกัน เป็นไปไม่ว่างเว้น เป็นไปไม่ขาดสาย เป็นไปเป็นนิตย์. ก. กนฺเทติ กนฺทยติ. น. กนฺทน (นปุ.) การติดต่อกัน, ฯลฯ.

กฺปฺ อวกมฺปเน
อนุเคราะห์ เกื้อกูล อุดหนุน ช่วยเหลือ เจือจาน.  ก. กเปติ กปยติ กปฺปยติ. น. กปณ (ปุ.) การอนุเคราะห์, ฯลฯ, คนผู้ควรสงสาร, คนเข็ญใจ, คนยากไร้, คนกำพร้า.

กปฺปฺ วิตกฺเก
ตรึก ดำริ คิด นึก.  ก. กปฺเปติ กปฺปยติ. น. กปฺป (ปุ.) กปฺปน (นปุ.) กปฺปนา (อิต.) ความตรึก, ฯลฯ.

กปฺปฺ เฉทเน
ตัด ขาด กัน โกน.  ก. กปฺเปติ กปฺปยติ. น. กปฺป (ปุ.) กปฺปน (นปุ.) การตัด, ฯลฯ. กปฺปก (ปุ.) ช่างตัดผม, ฯลฯ.

กปฺปฺ วิธิมฺหิ
ทำ จัดทำ เสร็จ สำเร็จ. ก. กปฺเปติ กปฺปยติ. น. กปฺป (ปุ.) กปฺปน (นปุ.) การประดับ, การตกแต่ง, การตบแต่ง, การตระเตรียม, การจัดแจง.

กปฺปฺ ปริจฺเฉเท
กำหนด หมาย กะ. ก. กปฺเปติ กปฺปยติ. น. กปฺป (ปุ.) กปฺปน (นปุ.) การกำนด, ฯลฯ.

กปฺปฺ สชฺชเน
ตระเตรียม จัดแจง แต่ง ตกแต่ง ตบแต่ง ประดับ. ก. กปฺเปติ กปฺปยติ. น. กปฺป (ปุ.) กปฺปน (นปุ.) การตระเตรียม, ฯลฯ.

กมฺ กมุ อิจฺฉายํ
ยินดี เพลิดเพลิน อยาก อยากได้ หวัง มุ่งหวัง มุ่งหมาย ใส่ใจ ต้องการ ปรารถนา. กเมติ กมยติ. น. กมุก (ปุ.) ไม้หมาก, ต้นหมาก.  กาม (วิ.) ยินดี, ฯลฯ. (ปุ.) ความยินดี, ฯลฯ, กามะ ชื่อของกาม ชื่อของมาร ชื่อของตัณหา ชื่อของเมถุน.

กมฺ กมุ กนฺติยํ
กำหนัด ชอบ ชอบใจ พอใจ พึงใจ ถูกใจ ชื่นชม อยากได้ ต้องการ ใคร่ รัก รักใคร่ ปรารถนา. ก. กเมติ กมยติ. น. กาม (วิ.) กำหนัด, ฯลฯ. (ปุ.) ความกำหนัด, ฯลฯ.

กลฺ ขยเน
สิ้น สิ้นไป เสื่อม เสื่อมไป. ก. กเลติ กลยติ กาเลติ กาลยติ. น. กาล (ปุ.) สภาพผู้ยังชีวิตของสัตว์ให้สิ้นไป, ความตาย, กาล, เวลา.

กลฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. กาเลติ กาลยติ. น. กาล (ปุ.) สภาพอันกำจัดชีวิตสัตว์, ฯลฯ, สภาพอันเบียดเบียนชีวิตสัตว์.

กลฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. กาเลติ กาลยติ. น. กาล (ปุ.) ภาวะอันดำเนินไป, กาล, เวลา.

กลฺ สงฺขยาเณ
คำนวณ นับ. ก. กาเลติ กาลยติ. น. กาล (ปุ.) อายุ, ยุค, กาล, เวลา, สมัย, ครั้ง, คราว, ฤดู, หน, การคำนวณ, การนับ.

กิจิ จิตฺตพนฺธเน
กังวล พะวง ห่วงใย. ก. กิญฺเจติ กิญฺจยติ. น. กิญฺจน (นปุ.) กิเลสชาตเครื่องกังวล, ความกังวล, ฯลฯ.

กิจิ มทฺทเน
บีบ นวด ขยำ ย่ำ เหยียบ เบียดเบียน ย่ำยี ทำลาย. ก. กิญฺเจติ กิญฺจยติ. น. กิญฺจน (นปุ.) การบีบ, ฯลฯ, กิเลสชาต เครื่องเบียดเบียนสัตว์, ฯลฯ.

กิฏฺ กีฏฺ พนฺธเน
ผูก พัน มัด รัด. ก. กิเฏติ กิฏยติ กีเฏติ กีฏยติ. น. กีฏ (ปุ.) หนอน, แมลง, แมลงต่าง ๆ , แมลงสาป, บุ้ง, ตั๊กแตน.

กิตฺ กิตฺตฺ สํสนฺทเน
เทียบเคียง เปรียบเทียบ กำหนด สนทนา สั่งสนทนา ทัก.  ก. กิตฺเตติ กิตฺตยติ. น. กิตฺตน (นปุ.) กิตฺตนา (อิต.) การเปรียบเทียบ, ฯลฯ. กิตฺตปตฺต (นปุ.) สารบาญ. นิมิตฺตกิตฺตน (นปุ.) การทักนิมิต.

กิตฺ กิตฺตฺ ถุติยํ
ชม ชมเชย ยกย่อง นิยม นับถือ สรรเสริญ. ก. กิตฺเตติ กิตฺตยติ. น. กิตฺติ (อิต.) ความชม, ฯลฯ, ความสรรเสริญ, เกียรติ.

กิปฺ ทุพเลย
ทุรพล อ่อนแอ อ่อนเพลีย. ก. กิเปติ กิปยติ. น. กิปน (นปุ.) ความทุรพล, ฯลฯ.

กุสิ วจเน
กล่าว บอก พูด เจรจา. ก. กุเสติ กุสยติ. น. กุสน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ.

กุจฺฉฺ อวกฺเขเป
ขว้างลง ขว้างลงไป คว่ำลง คว่ำลงไป ซัดลง ซัดลงไป. ก. กุจฺเฉติ กุจฺฉยติ. น. กุจฺฉา (อิต.) การขว้างลง, ฯลฯ, การโยนลง, การโยนลงไป.

กุฏฺ เฉทเน
ตัด เกี่ยว ปัน แบ่ง ผ่า ทอน เฉือน เชือด แขวะ ควัก.  ก. กุเฏติ กุฏยติ. โกเฏติ โกฏยติ. กุฏ กุฏก (วิ.) ตัด ,ฯลฯ. กุฏช (ปุ.) ไม้มวก, ไม้มวกเหล็ก, อัญชันเขียว, ทุมแมง, มูกมัน, มูกหลวง (ตัดโรค). กุฏิ กุฏี (อิต.) เรือน, เรือนพระ, กระท่อม, กุฏิ, กุฏี. กุฏฺฐ (นปุ.) โกฐ ชื่อเครื่องยาจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด (ตัดโรค), โรคเรื้อน (เฉือนอวัยวะ).

กุฏฺ อนิกฏเน
ตี ทุบ เคาะ อัด ตอก.  ก. กุเฏติ กุฏยติ โกเฏติ โกฏยติ. น. อาโกฏน อาโกฏฺฏน (นปุ.) การตี, ฯลฯ. โกฏ โกฏก (วิ.) ตี, ฯลฯ.

กุฏฺ ปีฬเน
กำจัด ขจัด เบียดเบียน บีบคั้น.  ก. กุเฏติ กุฏยติ. น. กุฏน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

กุฏฺ คเวสเน
ค้นหา เสาะหา แสวงหา. ก. อุกฺโกเฏติ อุกฺโกฏยติ. ย่อมรื้อฟื้น.  น. อุกฺกุฏน อุกฺโกฏน (นปุ.) การยกขึ้น, การเผยขึ้น, การเลิกขึ้น, การรื้อขึ้น, ความรื้อฟื้น.  อุกฺกุฏิก  (วิ.) กระหย่ง, กระโหย่ง. อุกฺกุฏิกา (อิต.) การกระหย่ง, การกระโหย่ง.

กุฏฺฏฺ เฉทเน
ตัด เกี่ยว ปัน ฯลฯ. ก. กุฏฺเฏติ กุฏฏยติ. น. กุฏฏฺฐ กุฏฺฏฏฺฐ (วิ.) เสมอกัน, เท่ากัน, เนืองนิตย์, นิรันดร.

กุฑิ วิชานเน
รู้ แจ้ง รู้ชัด รู้ทัน แทงทะลุ. ก. กุณฺเฑติ กุณฺฑยติ. น. กุณฺฑน (นปุ.) ความรู้แจ้ง, ฯลฯ.

กุณฺ อวฺหาเณ
เรียก ร้องเรียก.  ก. กุเณติ กุณยติ. น. กุณาล (ปุ.) กุณาละ ชื่อสระใหญ่สระ ๑ ใน ๗ สระ.

กุทิ อนฺโตวจเน
กล่าวซึ่งที่สุด. ก. กุนฺเทติ กุนฺทยติ. น. กุนฺทน (นปุ.) คำที่สุด, คำสุดท้าย.

กุพิ นิวาสเน
นุ่งห่ม ปกปิด แต่งตัว. ก. กุมฺเพติ กุมฺพยติ. น. กุมฺพน (นปุ.) การนุ่งห่ม, ฯลฯ.

กุมารฺ กีฬเน
เล่น สนุก เพลิน เพลิดเพลิน ร่าเริง รื่นเริง. ก. กุมาเรติ กุมารยติ. น. กุมาร (ปุ.) ลูก, ลูกน้อย, เด็ก, เด็กชาย, กุมาร.

กุหฺ วิมฺหาปเน
ให้พิศวง ลวง หลอก หลอกลวง  โกง. ก. กุเหติ กุหยติ. น. กุห กุหณ กุหน (วิ.) ลวง, ฯลน.  (นปุ.) การลวง, ฯลฯ. กุหก (ปุ.) คนผู้ยังคนให้พิศวง, คนที่ทำคนให้พิศวง, คนผู้ยังชาวโลกให้พิศวง, คนผู้ยังโลกให้พิศวง, คนหลอกลวง, คนโกหก.

กูฏ อปฺปสาทเน
ไม่ทำให้เลื่อมใส เลว โกง ปลอม เท็จ หลอก หลอกลวง. ก. กูเฏติ กูฏยติ. น. กูฏ (วิ.) เลว, ฯลฯ. (นปุ.) ความเลว, ฯลฯ, มายา, มารยา.

เกตฺ สงฺเกตเน
เรียก ร้องเรียก กำหนด หมาย. ก. เกเตติ. เกตยติ. น. เกตก (ปุ.) บุคคลผู้เรียก, ฯลฯ.

โกฏฺฏฺ เฉทเน
ตัด เกี่ยว ปัน ฯลฯ. ก. โกฏฺเฏติ โกฏฺฏติ. น. โกฏฺฏ (ปุ.) ที่มั่น, ป้อม.

ข อักษร

ขชิ ขญฺช กิจฺฉชีวเน
เป็นอยู่ลำบาก ขัดสน ยากจน ฝืดเคือง. ก. ขญฺเชติ ขญฺชยติ. น. ขญฺช (วิ.) เป็นอยู่ลำบาก, ฯลฯ. ขญฺชน (นปุ.) ความขัดสน, ฯลฯ.

ขฏฺฏฺ สํวรเณ
สำรวม ระวัง ป้องกัน รักษา. ก. ขฏฺเฏติ ขฏฺฏยติ. น. ขฏฺฏน (นปุ.) การสำรวม, ฯลฯ.

ขฑิ เฉทเน
ตัด แบ่ง ปัน ทอน ฯลฯ. ก. ขณฺเฑติ ขณฺฑยติ. น. ขณฺฑ (วิ.) ตัด, ฯลฯ, หัก, ท่อน, ขาด. (ปุ,นปุ.) กึ่ง, ครึ่ง, ส่วน, ก้อน, ท่อน, ตอน, ภาค, หมวด, หมู่, ชิ้น, กระทง, ขัณฑ์ ชื่อส่วนหนึ่งของจีวร. ขณฺฑน (นปุ.) การตัด, ฯลฯ.

ขปิ ขนฺติยํ
ทน อดทน อดกลั้น.  ก. ขมฺเปติ ขมฺปยติ. น. ขมฺปน (นปุ.) ความทน, ฯลฯ.

ขลฺ โสเจยฺเย
ชำระ ล้าง สะอาด บ้วนปาก.  ก. ขาเลติ ขาลยติ. น. ขล (ปุ.) ลาน, ลานนวดข้าว, ลานข้าว.

ขฬฺ เภทเน
แตก แยก แตกแยก หัก พัง ทลาย ทำลาย. ก. ขเฬติ ขฬยติ. น. ขฬน (นปุ.) การแตก, ฯลฯ.

ขิปฺ เขปฺ เปรเณ
บด ขยี่ ย่ำ ป่น ละเอียด. ก. เขเปติ เขปยติ. น. เขป (ปุ.) การติเตียน, การนินทา, ความติเตียน.

ขุสิ ปริภาสเน
กล่าวโทษ ว่า ต่อว่า ด่า ด่าว่า. ก. ขุเสติ ขุสยติ. น. ขุสนา (อิต.) คำด่า, คำว่า.

เขฏฺ ปริโภเค
กิน บริโภค. ก. เขเฏติ เขฏยติ. น. เขฏก (นปุ.) โล่, ดั้ง, เขน, แพน ชื่อสิ่งที่มีลักษณะเป็นแผ่น สำหรับคัดท้ายแพและซุง เป็นต้น.

โขฏฺ เขปนหาเนสุ
ขว้าง ทิ้ง โยน เสื่อม สิ้นไป. ก. โขเฏติ โขฏยติ. น. โขฏ (วิ.) กระจอก, เขยก.

ค อักษร

คชฺ คชฺชเน
ออกเสียง กระหึม กระหึ่ม ก้องกังวาน.  ก. คเชติ คชยติ. น.  คช (ปุ.) ช้าง.

คชฺ มทฺทเน
ย่ำ เหยียบ ย่ำเหยียบ ขยำ ทำลาย. ก. คเชติ คชยติ. น. คช (ปุ.) ช้าง.

คณฺ สงฺขฺยาเณ
คำนวณ นับ. ก. คเณติ คณยติ. น. คณ (ปุ.) การนับ, หมวด, หมู่, ฝูง, พวก, ประชุม, หมู่แห่งภิกษุ, คณะ (กลุ่มชนกลุ่มหนึ่ง ๆ หรือคณะหนึ่ง). คณก (ปุ.) นักคำนวณ,นักพยากรณ์, หมอดู, โหร. คณน (นปุ.) การนับ, การคำนวณ, จำนวน.

คทฺ คชฺชเน
กระหึม กระหึ่ม คำรน คำราม กึกก้อง. ก. คเทติ คทยติ. น. คเทร (ปุ.) เมฆ.

คทฺธฺ อภิคิทฺธิยํ
อยากจัด กินไม่เลือก ตะกละ ตะกลาม ละโมบ. ก. คทฺเธติ คทฺธยติ. น. คทฺธ (ปุ.) คนละโมบ.

คนฺถฺ สนฺถมฺเภ
แต่ง เรียบเรียง ร้อยกรอง. ก. คนฺเถติ คนฺถยติ. น. คนฺถ (วิ.) แต่ง, ฯลฯ (ปุ.) การแต่ง, ฯลฯ, หนังสือที่แต่งขึ้น, หนังสือที่ร้อยกรอง, ตำรับ, ตำรา, คัมภีร์.

คนฺถฺ โกฏิลฺเล
คด โค้ง โกง งอ บิด. ก. คนฺเถติ คนฺถยติ. น. คณฺฐิ (อิต.) ข้อ, ปล้อง, เกลียวสาน, ปม, ขอด, หัวข้อ, หัวต่อ, ที่ต่อ.

คนฺธฺ ปกาสเน
ประกาศ แสดง ชี้แจง. ก. คนฺเธติ คนฺธยติ. น. คนฺธน (นปุ.) การประกาศ, ฯลฯ.

คนฺธ ปริปเลว
ปลิว ปลิวไป ฟุ้ง ฟุ้งไป ตระหลบ. ก. คนฺเธติ คนฺธยติ. น. คนฺธ (วิ.) หอม, ปลิว, ฯลฯ. (ปุ.) กลิ่น (ใช้ได้ทั้งกลิ่นหอม กลิ่นเหม็น), กลิ่นหอม, (นปุ.) เครื่องหอม, ของหอม.

คพฺพ อหํกาเร
ถือตัว ไว้ตัว ไว้ยศ ทะนง ทะนงตัว หยิ่ง เย่อหยิ่ง จองหอง. ก. คพฺเพติ คพฺพยติ. น. คพฺพ (ปุ.) คพฺพน (นปุ.) ความถือตัว, ฯลฯ.

คมฺ อธิวาสเน
อดทน อดกลั้น ยับยั้ง รอท่า คอยท่า. ก. อาคเมติ อาคมยติ. น. อาคมน (นปุ.) ความอดทน, ฯลฯ.

ครฺ เสจนุคฺคเมสุ
รด ราย โรย โปรย ไปในเบื้องบน.  ก. คเรติ ครยติ. น. ครน (นปุ.) การรด, ฯลฯ.

ครหิ กุจฺฉเน
เกลียด ชัง เกลียดชัง. ก. ครเหติ ครหยติ. น. ครห (ปุ.) ครหา (อิต.) ความเกลียด, ฯลฯ.

ครหฺ นินทายํ
ติเตียน นินทา. ก. ครเหติ ครหยติ. น. ครห (ปุ.) ครหา (อิต.) การติเตียน, การนินทา, ความติเตียน, ฯลฯ, การยกโทษขึ้นพูด, การกล่าวร้าย, การติเตียนลับหลัง.

คเวสฺ มคฺคเน
ค้นหา เสาะหา ตามหา แสวงหา. ก. คเวเสติ คเวสยติ. น. คเวฏฺฐิ คเวสนา (อิต.) คเวสน (นปุ.) การค้นหา, ฯลฯ. คเวสก (วิ.) ผู้ค้นหา, ฯลฯ. (ปุ.) คนผู้ค้นหา, ฯลฯ.

คุฑิ เวฐเน
พัน ผูก โพก หุ้ม. ก. คุเฑติ คุฑยติ. น. คุฑน (นปุ.) การพัน, ฯลฯ.

คุณฺ ปกาสเน
ประกาศ แสดง ปรากฏ. ก. คุเณติ คุณยติ. น. คุณนาม (ปุ.) นามอันแสดงซึ่งลักษณะของนามนาม.

คุณฺ สนฺนิจเย
สะสม สั่งสม รวบรวม. ก. คุเณติ คุณยติ. น. คุณ (ปุ.) ธรรมอันบุคคลพึงสะสม, ฯลฯ, การสะสม, ฯลฯ, การเพิ่มขึ้น, การทวีขึ้น, ความสะสม, ฯลฯ, ความเพิ่มขึ้น, ความทวีขึ้น, กอง, หมวด, ชั้น.

คุณฺ อพฺภาเส
ซ้ำ ซ้ำกัน ซ้อน ซ้อนกัน.  ก. คุเณติ คุณยติ. น. คุณ (ปุ.) ความซ้ำ, ความซ้ำกัน, การซ้อน, การซ้อนกัน, คำซ้ำ, ฯลฯ คำซ้อน, ถ้อยคำซ้ำ, ฯลฯ ถ้อยคำซ้อน, ฯลฯ. ชั้น.

คุณฺ พนฺธเน
ผูก พัน มัด รัด. ก. คุเณติ คุณยติ. น. คุณ (ปุ.) ความผูก, เครื่องผูก, ฯลฯ.

คุณฺ วณฺเณ
ดี งาม ชอบ เป็นสี ย้อมสี. ก. คุเณติ คุณยติ. น. คุณ (ปุ.) ความดี, ฯลฯ.

คุณฺ อามนฺตเน
เรียก ร้องเรียก เชิญ เชื้อเชิญ. ก. คุเณติ คุณยติ. น. คุณ (ปุ.) การเรียก, ฯลฯ, คำเรียก.  ฯลฯ.

คุณฺฐฺ เวฐเน
พัน โพก หุ้ม ฯลฯ. ก. คณฺเฐติ คณฺฐยติ. น. คุณฺฐน (นปุ.) การพัน, ฯลฯ, การคลุม, การปกปิด.

คุปฺ วจเน
เจรจากัน ประชุมกัน.  ก. โคเปติ โคปยติ. น. โคปน (นปุ.) การเจรจากัน, ฯลฯ.

โคมฺ อุปเลปเน
ฉาบ ทา ไล้. ก. โคเมติ โคมยติ. น. โคมย (ปุ.) การฉาบ, ฯลฯ. (นปุ.) วัตถุสำหรับฉาบ, ฯลฯ.

ฆ อักษร

ฆฏฺ วายาเม
หมั่น ขยัน เพียร พยายาม อุตส่าห์. ก. ฆเฏติ ฆฏยติ. น. ฆฏน (นปุ.) ฆฏนา (อิต.) ความหมั่น, ฯลฯ.

ฆฏฺ สงฺฆาเต
รวมกัน ตืดต่อ ติดต่อกัน เบียดกัน เบียดเสียด เบียดเสียดกัน อัด อัดแน่น แออัด คละ คละกัน ปน ปนกัน.  ก. ฆฏฺเฏติ ฆฏฺฏยติ ฆาเฏติ ฆาเฏยติ. น. ฆาฏ (ปุ.) การรวมกัน, ฯลฯ, ต้นคอ, ท้ายทอย. ฆฏา (อิต.) การรวมกัน, ฝูง, หมู่, พวก, กอง, คณะ.

ฆฏฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ฆฏฺเฏติ ฆฏฺฏยติ. ฆาเฏติ ฆาฏยติ. กิริยาแรก ซ้อน ฏฺ. น. ฆาฏ (ปุ.) การกำจัด, การตี, การทำร้าย, การฆ่า, การฆ่าฟัน, ฯลฯ, การเบียดเบียน.  ฆฏฺฏน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, การเบียดเบียน, การเคาะ, การแคะ, การงัด, การกระทบ.

ฆฏฺ จลเน
กระดิก ไหว หวั่นไหว กระดิก เคลื่อน เคลื่อนไหว โคลง โยก โยกโคลง สั่น รัว. ก. ฆฏฺเฏติ ฆฏฺฏยติ. น. ฆฏฺฏน (นปุ.) การกระดิก, ฯลฯ.

ฆฏิ ฆณฺฏ วจเน
กล่าว พูด เจรจา. ก. ฆณฺเฏติ ฆณฺฏยติ. น. ฆณฺฏน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ. ฆณฺฏิก (ปุ.) คนลาดตระเวน, คนผู้เที่ยวสดุดีเป็นหมู่.

หฏิ ฆณฺฏ หนเน
ตี เคาะ กระทบ. ก. ฆณฺเฏติ ฆณฺฏยติ. น. ฆณฺฏ (ปุ.) ฆณฺฏา ฆณฺฏี (อิต.) ฆ้อง, ระฆัง, กระดิ่ง.

ฆุสฺ ฆุสิ ปกาสเน
ประกาศ ป่าวร้อง แจ้งให้ทราบ. ก. โฆเสติ โฆสยติ. น. โฆสก (ปุ.) คนผู้ประกาศ, ฯลฯ. โฆสน (นปุ.) โฆสนา (อิต.) การประกาศ, ฯลฯ.

ฆุสฺ ฆุสิ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. โฆเสติ โฆสยติ. น. โฆส (ปุ.) โฆสา (อิต.) เสียง, เสียงกึกก้อง, เสียงป่าวร้อง, ความกึกก้อง.

จ อักษร

จกฺกฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. จกฺเกติ จกฺกยติ. น. จกฺก (นปุ.) จักร ชื่อเครื่องประหารอย่างหนึ่งมีรูปกลม มีแฉกโค้งโดยรอบ.

จจฺจฺ สิกฺขายํ
เล่าเรียน ศึกษา อบรม. ก. จจฺเจติ จจฺจยติ. น. จจฺจน (นปุ.) การเล่าเรียน, ฯลฯ.

จฏฺ เภทเน
แตก สลาย ทำลาย. ก. จเฏติ จฏยติ. น. จฏก (ปุ.) นกกระจอก.

จปฺ กกฺกเน
ถู ขัด สี ขัดสี. ก. จเปติ จปยติ. น. จเปฏ (ปุ.) ไม้กวาด, แปรง , แปรงสีฟัน.

จมฺ โสธเน
ชำระ ล้าง บ้วนปาก.  ก. จเมติ จมยติ. น. จมน (นปุ.) การชำระ, ฯลฯ.

จรฺ สญฺจเย
สะสม สั่งสม รวม รวบรวม. ก. จเรติ ลรยติ. น. จร (วิ.) สะสม, ฯลฯ. วิจาร (ปุ.) วิจารณ (นปุ.) วิจารณา (อิต.) การค้นคว้า, การค้นหา, การเลือกฟั้น, การเลือกเฟ้น. การตรอง, การตริตรอง, การตรวจค้น, การตรวจตรา, การไตร่สวน, การใคร่ครวญ, การพินิจ, การพิจารณา, ความค้นคว้า, ฯลฯ.

จรฺ นิสํสเย
ไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัย แน่นอน แน่แท้. ก. จเรติ จรยติ. น. จรณ (นปุ.) ความไม่เคลือบแคลง, ฯลฯ.

จหฺ ปริกตฺถเน
สรรเสริญ เยินยอ ยกย่อง. ก. จเหติ จหยติ. น. จห (ปุ.) จหน (นปุ.) ความสรรเสริญ, ฯลฯ.

จิกฺ อามสเน
จับต้อง ถูกต้อง ลูบคลำ. ก. จิเกติ จิกยติ. น. จิกน (นปุ.) การจับต้อง, ฯลฯ.

จิงฺคุลฺ ปริพฺภมเน
หมุนรอบ หมุนเวียน หันเวียน.  ก. จิงฺคุเลติ จิงฺคุลยติ. น. จิงฺคุลก (ปุ.) กังหัน, ไม้กังหัน.

จิตฺ สํเจตเน
คิด รู้ จงใจ ตั้งใจ. ก. จิเตติ จิตยติ เจเตติ เจตยติ. น. เจต (วิ.) คิด, ฯลฯ, จงใจ, ตั้งใจ. (ปุ.) ใจ, เจตนา (อิต.) ธรรมชาติผู้คิด, ความคิด, ความคิดอ่าน, ความตริ, ความดำริ, ความนึก, ความจงใจ, ความตั้งใจ, ความมุ่งหมาย.

จิตฺตฺ จิตฺติกรเณ
ตระการ งาม งดงาม สวยงาม งามหยดย้อย วิจิตร. ก. จิตฺเตติ จิตฺตยติ. น. จิตฺต จิตฺร (วิ.) ตระการ, ฯลฯ, วิจิตร, รุ่งเรือง, เรืองรอง, สุกสว่าง, ประหลาด, แปลก, หลากสี, หลายสี, ดำมอ ๆ , ด่าง, พร้อย (ปะไปทั่ว), ด่างพร้อย, ไพเราะ. จิตฺต (นปุ.) ความตระการ, ฯลฯ, ความวิจิตร, ความไพเราะ.

จินฺตฺ จินฺตายํ
คิด นึก ตริ ดำริ รู้. ก. จินฺเตติ จินฺตยติ. น. จิตฺต จิตฺร (นปุ.) ธรรมชาตคิดอารมณ์, ฯลฯ, ธรรมชาตรู้อารมณ์, ความคิดอารมณ์, ฯลฯ, ความรู้อารมณ์, วิญญาณ, จิต, จิตร.

จิวฺ จีวฺ วจเน
กล่าว พูด เจรจา. ก. จิเวติ จิวยติ จีเวติ จีวยติ. น. จิวน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

จุ จวเน
เคลื่อน เคลื่อนไป. ก. จาเวติ จาวยติ. น. จาวน (นปุ.) การเคลื่อน, การเคลื่อนไป, ความเคลื่อน, ฯลฯ.

จุกฺกฺ หึสายํ
ทำอันตราย ทำร้าย. ก. จุกฺเกติ จุกฺกยติ. น. จกฺก (นปุ.) วัตถุเป็นเครื่องทำอันตราย, ฯลฯ. แปลง อุ เป็น อ.

จุฏฺ เฉทนเภเทสุ
ตัด ขาด แตก ทำลาย. ก. จุเฏติ จุฏยติ. น. จุฏน (นปุ.) การตัด, ฯลฯ.

จุฏฺฏฺ ตนุกรเณ
น้อยลง ลดลง ต่ำลง. ก. จุฏฺเฏติ จุฏฺฏยติ. น. จุฏฺฏน (นปุ.) ความน้อยลง, ฯลฯ.

จุฏิ เฉทเน
ตัด ขาด ฯลฯ. ก. จุณฺเฏติ จุณฺฏยติ. น. จุณฺฏน (นปุ.) การตัด, ฯลฯ.

จุณฺ สงฺโกจเน
หดเข้า สั้นเข้า แคบเข้า หดหู่ ท้อแท้. ก. จุเณติ จุณยติ. น. จุณน (นปุ.) การหดเข้า, ฯลฯ.

จุณฺณฺ เปรเณ
ละเอียด ป่น แหลก.  ก. จุณฺเณติ จุณฺณยติ. น. จุณฺณ (วิ.) ละเอียด, ฯลฯ, แหลก, เล็ก.  (ปุ.,นปุ.) ผง, ละออง, ของที่ละเอียด, ของที่ป่น, ดินปืน, จุณเครื่องอบ, เครื่องโบก, เครื่องทา.

จุทฺ สญฺโจทเน
ท้วง ทักท้วง ฟ้อง ตักเตือน แนะนำ บังคับ สั่ง. ก. โจเทติ โจทยติ. น. โจทก (ปุ.) อาจารย์ผู้โจทก์ , คนผู้ท้วง, ฯลฯ, ชนผู้กล่าวหา, คนผู้ฟ้อง, คนผู้ถาม, โจทก์. โจทน (นปุ.) โจทนา (อิต.) การท้วง, ฯลฯ, คำท้วง, ฯลฯ.

จุรฺ เถยฺเย
ลัก ขโมย. ก. โจเรติ โจรยติ. น. โจร (ปุ.) ขโมย (ผู้ลักสิ่งของ), โจร (ผู้ร้ายลักปล้น).

จุฬฺ เปรเณ
ละเอียด ป่น แหลก.  ก. โจเฬติ โจฬยติ. น. จุฬ จุล จุลฺลฺ (วิ.) ละเอียด, ฯลฯ, แหลก, เล็ก, น้อย. ศัพท์ที่ ๒  แปลง ฬ เป็น ล ศัพท์ที่ ๓ แปลง ล เป็น ลฺล.

ฉ อักษร

ฉฏฺฏฺ ฉฑฺฑเน
ทิ้ง ขว้างทิ้ง ละ ละทิ้ง. ก. ฉฏฺเฏติ ฉฏฺฏยติ. ฉฏฺฏก (ปุ.) คนผู้ทิ้ง, ฯลฯ, ฉฏฺฏน (นปุ.) การทิ้ง, ฯลฯ.

ฉฑฺฑฺ ฉฑฺฑเน
ทิ้ง ขว้างทิ้ง ละ ละทิ้ง. ก. ฉฑฺเฑติ ฉฑฺฑยติ. น. ฉฑฺฑก ฉฑฺฑนก (ปุ.) คนผู้ทิ้ง, ฯลฯ. น. ฉฑฺฑน (นปุ.) การทิ้ง, ฯลฯ.

ฉทฺ วรเณ
มุง บัง ปิด ปิดบัง กั้น ปิดกั้น คลุม ปกคลุม ระวัง คลุ้มครอง ป้องกัน รักษา. ก. ฉาเทติ ฉาทยติ. น. ฉาทน (นปุ.) การมุง, ฯลฯ, วัตถุเป็นเครื่องบัง, ฯลฯ, หนัง, ผ้า.

ฉทฺ อปวารเณ
ปกคลุม ปกป้อง ปกปักรักษา คุ้มครองป้องกัน ดูแลรักษา. ก. ฉาเทติ ฉาทยติ. น. ฉาทน (นปุ.) การปกคลุม, ฯลฯ, วัตถุเป็นเครื่องปกคลุม, ฯลฯ.

ฉทฺ ฉที อิจฺฉายํ
ใคร่ หวัง อยาก อยากได้ ต้องการ หวัง มุ่งหวัง มุ่งหมาย ตั้งใจ พอใจ ใส่ใจ เพลิน เพลิดเพลิน ปรารถนา. น. ฉาเทติ ฉาทยติ. น. ฉาทน (นปุ.) ความใคร่, ฯลฯ.

ฉนฺทฺ อิจฺฉายํ
ใคร่ ฯลฯ ปรารถนา. ก. ฉนฺเทติ ฉนฺทยติ. น. ฉนฺท (ปุ.) ฉนฺทน (นปุ.) ความใคร่, ความรัก, ความรักใคร่, ความหวัง, ฯลฯ.

ฉิทฺทฺ เทวธากรเณ
เป็นรู เป็นช่อง เป็นโพรง. ก. นิทฺเทติ ฉิทฺทยติ. น. ฉิทฺท (นปุ.) รู, ช่อง,โพรง.

ฉิทฺทฺ กณฺณเภเท
เจาะ เจาะหู. ก. ฉิทฺเทติ ฉิทฺฑยติ. น. ฉิทฺท (วิ.) เจาะ, ขาด, ทะลุ.

ฉุฏฺ เภทเน
ตัด ขาด บั่น ทอน ฯลฯ. ก. ฉุเฏติ ฉุฏยติ. น. ฉุฏน (นปุ.) การตัด, ฯลฯ.

เฉทฺ เฉทเน
ตัด ขาด บั่น ทอน ฯลฯ. ก. เฉเทติ เฉทยติ. น. เฉท เฉทน (วิ.) ตัด, ฯลฯ. เฉท (ปุ.) เฉทน (นปุ.) การตัด, ฯลฯ.

ช อักษร

ชภิ นาสเน
เสื่อม ฉิบหาย พินาศ ย่อยยับ ป่นปี่ ทำลาย. ก. ชมฺเภติ ชมฺภยติ. น. ชมฺภาริ (ปุ.,อิต.) อาวุธพระอินทร์, ไฟ, แสงไฟ (ทำลายความมืด).

ชรฺ วโยหานิโรเคสุ
แก่ คร่ำคร่า ชำรุด ทรุดโทรม ไข้ เจ็บ เจ็บไข้ เป็นโรค. ก. ชเรติ ชรยติ. น. ชร (วิ.) แก่, ฯลฯ (ปุ.) ความแก่, ฯลฯ, โรค, โรคผอม, โรคชรา, ไข้เชื่อม, ไข้ซึม.

ชลฺ อปวารเณ
ปก คลุม ปกคลุม หุ้ม. ก. ชาเลติ ชาเลยติ. น. ชาล (นปุ.) ข่าย, แห, อวน.  ชาลิกา (อิต.) เกราะ (เครื่องสวมใส่ สำหรับป้องกันอาวุธหรืออันตราย).

ชสฺ ปหรเณ
ตี เคาะ ทุบ โขลก ซ้อม ฟัน ฆ่า ประหาร. ก. ชาเสติ ชาสยติ. น. ชาสน (นปุ.) การตี, ฯลฯ.

ชสิ สํวรเณ
ระวัง รักษา สงวน หวงแหน.  ก. ชํเสติ ชํสยติ. น. ชํสยน (นปุ.) ชํสยนา (อิต.) ความระวัง, ฯลฯ.

ชุสฺ วิจารเณ
ตริตรอง ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ค้นคว้า พินิจ พิจาร ฯลฯ. ก. โชเสติ โชสยติ. น. โชสน (นปุ.) การตริตรอง, ฯลฯ, ความตริตรอง.

ชุฬฺ เปรเณ
ป่น ละเอียด เป็นผง. ก. โชเฬติ โชฬยติ. น. โชฬน (นปุ.) ผง ละออง, ฯลฯ.

เชฏฺ ภกฺขเณ
กิน เคี้ยว เคี้ยวกิน กัดกิน บริโภค. ก. เชเฏติ เชฏยติ. น. เชฏน (นปุ.) การกิน, ฯลฯ, ของกิน, ฯลฯ.

ฌ อักษร

ฌปฺ ฌาปฺ ทาเห
เผา ไหม้. ก. ฌเปติ ฌปยติ. ฌาเปติ ฌาปยติ. น. ฌปน ฌาปน (นปุ.) การเผา, การเผาศพ, การปลงศพ. ฌาม (ปุ.) การเผา, การเผาศพ.

ญ อักษร

ญปฺ โตสเน
ยินดี พอใจ แช่มชื่น.  ก. ญาเปติ ญาปยติ. น. ญปน ญาปน (นปุ.) ความยินดี, ฯลฯ.

ญปฺ นิสาเน
ลับ อาน (ทำให้คม). ก. ญาเปติ ญาปยติ. น. ญปน ญาปน (นปุ.) การลับมีด.

ฑ อักษร

ฑปฺ ฑิปฺ ปหรเณ
ตี ฆ่า ประหาร เบียดเบียน.  ก. ฑาเปติ ฑาปยติ เฑเปติ เฑปยติ. น. ฑปน ฑาปน เฑปน (นปุ.) การตี, ฯลฯ.

ฑปฺ ฑิป สงฺฆาเต
เบียดกัน ติดต่อกัน ติดกัน รวม รวมกัน คละกัน ปนกัน ระคนกัน.  ก. ฑาเปติ ฑาปยติ เฑเปติ เฑปยติ. น. ฑปน ฑาปน เทปน (นปุ.) การเบียดกัน, ฯลฯ.


ณ อักษร

ณปฺ เปสเน
ส่งไป ใช้ไป บังคับ. ก. ณาเปติ ณาปยติ. น. ณปน ณาปน (นปุ.) การส่งไป, ฯลฯ.

ต อักษร

ตกิ พนฺธเน
ผูก พัน มัด รัด จำนอง. ก. ตงฺเกติ ตงฺกยติ. น. ตงฺก (ปุ.) ขวาน.

ตกฺกฺ รุกฺขลิเลเส
เป็นไปในยางไม้ เป็นยาง เป็นยางเหนียว. ก. ตกฺเกติ ตกฺก ยติ. น. ตกฺก (ปุ.) อินทผลัม, อินทผาลัม. (นปุ.) ผลทผาลัม, ยาง, ยางไม้, น้ำมันยาง. ตกฺกล (นปุ.) หมาก, กระวาน, ข่า, ยาง, ยางไม้, ยางรัก.

ตกฺกฺ วิตกฺเก
ตรึก ตรึกตรอง ตริ ตริตรอง ดำริ คิด นึก.  ก. ตกฺเกติ ตกฺกยติ. น. ตกฺก (วิ.) ตกฺก (ปุ.) ความตรึก, ฯลฯ.

ตกฺกฺ ภาสายํ
กล่าว พูด. ก. ตกฺเกติ ตกฺกยติ. น. ตกฺกน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำ, ถ้อยคำ.

ตชฺชฺ หึสาตชฺชเนสุ
เบียดเบียน ขู่ ข่มขู่ คุกคาม. ก. ตชฺเชติ ตชฺชยติ. น. ตชฺชน (นปุ.) การเบียดเบียน, ฯลฯ, ความเบียดเบียน, ฯลฯ. ตชฺชนี (อิต.) นิ้วชี้, ดัชนี, ดรรชนี.

ตนฺต ธนสมฺปตฺติยํ
มั่งคั่ง มั่งมี. ก. ตนฺเตติ ตนตยติ. น. ตนฺตน (นปุ.) ความมั่งคั่ง, ความมั่งมี, ความร่ำรวย.

ตทิ หึสานาทเรสุ
กำจัด ฯลฯ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เอาใจใส่ ไม่สนใจ. ก. ตนฺเทติ ตนฺทยติ. น. ตนฺทน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ, ความไม่เอื้อเฟื้อ, ฯลฯ.

ตทิ ตนฺทฺ อาลสิเย
เกียจคร้าน ขี้เกียจ. ก. ตนฺเทติ ตนฺทยติ. น. ตนฺทน (นปุ.) ความคร้าน, ความเกียจคร้าน, ความขี้เกียจ, ความง่วง, ความง่วงเหงา, ความโงกง่วง, ความหลับ, ความประมาท. ตนฺทิ ตนฺที (อิต.) ความคร้าน, ฯลฯ.

ตนฺ สทฺทปหรเณสุ
ออกเสียง ฯลฯ ตี ฟัน โขลก ซ้อม ประหาร เบียดเบียน.  ก. ตาเนติ ตานยติ. น. ตานน (นปุ.) การออกเสียง, การเปล่งเสียง, การพูด, คำพูด, การตี, ฯลฯ.

ตปฺ ปีณเน
อิ่ม อิ่มหนำ อิ่มเอม อิ่มเอิบ ชุ่มชื่น.  ก. ตเปติ ตปยติ. น. ตปน (นปุ.) ความอิ่ม, ฯลฯ.

ตปฺ ทาเห
เผา แผดเผา ร้อน ไหม้. ก. ตเปติ ตปยติ. น. ตป (ปุ.) คุณธรรมอันเผากิเลส, ฯลฯ, ความเพียรเครื่องเผากิเลส, ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส, ฯลฯ, การเผา, ฯลฯ, ความเผา, ฯลฯ. ตปน (นปุ.) การเผา, ฯลฯ, ความเผา, ฯลฯ.

ตปฺ ขเย
เสื่อม สิ้น สิ้นไป. ก. ตเปติ ตปยติ. น. ตป (ปุ.) คุณธรรมอันยังกิเลสให้เสื่อม, ฯลฯ.

ตลฺ ปติฏฺฐายํ
ตั้งมั่น มั่นคง ทรงไว้ ตั้งไว้ เป็นที่ตั้ง เป็นที่อาศัย. ก. ตาเลติ ตาลยติ. น. ตาล (ปุ.) ตาล ต้นตาล โตนด ต้นโตนด, สมอพิเภก, กำมะถันเหลือง, ต้นปาล์ม, ตาละ ชื่อผักชนิดหนึ่ง, ดาล ชื่อกลอนประตู, กลอน, กุญแจ, สลัก, เข้มขัด, หมุด, ฉิ่ง, ฉาบ , ดินหอม, ง้วนดิน, ที่นั่งของทุรคา.

ตสฺส ตชฺชเน
ขู่ ข่มขู่ คุกคาม. ก. ตสฺเสติ ตสฺสยติ. น. ตสฺสน (นปุ.) การขู่, ฯลฯ, การทำให้กลัว, การทำให้เสียขวัญ.

ตฬฺ ปหรเณ
ตี เคาะ ประโคม. ก. ตาเฬติ ตาฬยติ. น. ตาฬ (ปุ.,นปุ.) การตี, ฯลฯ, ฉาบ, กังสดาฬ, ม้าล่อ ชื่อเครื่องดนตรีของจีน.

ตฬฺ ปติฏฺฐายํ
ตั้งมั่น มั่นคง ฯลฯ. ก. ตาเฬติ ตาฬยติ. น. ตาฬ (ปุ.) ดาฬ, ลูกดาฬ, กุญแจ, ลูกกุญแจ, สลัก, กลอน, กลอนประตู.

ตาสฺ นิวรเณ
ห้าม กัน กั้น ป้องกัน.  ก. ตาเสติ ตาสยติ. น. ตาสน (นปุ.) การห้าม, ฯลฯ.

ติชฺ นิสาเน
ลับ อาน คม เสี้ยม เหลา. ก. เตเชติ เตชยติ. น. เตช (นปุ.) การลับ, ฯลฯ, ความคม, เตชน (ปุ.) แขม, หญ้าแขม. (นปุ.) ลูกธนู, ลูกศร, ลูกปืน, หญ้าเจ้าชู้.

ติมฺ กํขายํ
แคลง คลางแคลง กินแหนง แคลงใจ เคลือบแคลง ระแวง สงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ สนเท่ห์. ก. เตเมติ เตมยติ. น. เตมน (นปุ.) ความแคลง, ฯลฯ. ติมิ (ปุ.) ติมิ ปลาติมิ ชื่อปลาใหญ่.

ติมฺ ติมุ อทฺทภาเว
อาบ ซึม ชุ่มชื้น เยิ้ม เปียก แฉะ. ก. เตเมติ เตมยติ. น. เตมน (วิ.) อาบ, ฯลฯ. (นปุ.) ความอาบ, ฯลฯ.

ตีรฺ กมฺมสามตฺถิยํ
อาจในการทำ สามารถในการทำ คิดทบทวน ใคร่ครวญ ตรวจตรา ตริตรอง ไตร่ตรอง ไตร่สวน สอบสวน เทียบทาน หาเหตุผล วิจาร พิจาร พิจารณา ตัดสิน.  ก. ตีเรติ ตีรยติ. น. ตีรณ ตีรน (นปุ.) การอาจ, ฯลฯ.

ตุชิ สมตฺถินิวาเสสุ
อาจ องอาจ สามารถ อยู่ อาศัย ฯลฯ. ก. ตุญฺเชติ ตุญฺชยติ. น. ตุญฺชน (นปุ.) ความอาจ,ฯลฯ.

ตุชิ หึสาวจเนสุ
กำจัด ฯลฯ กล่าว พูด เจรจา. ก. ตุญฺเชติ ตุญฺชยติ. น. ตุญฺชน (นปุ.) การกำจัด ฯลฯ, ความกำจัด, ฯลฯ, การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

ตุชฺชฺ พลปาลเนสุ
อาจ สามารถ ครอบงำ เลี้ยง ปกครอง ดูแล พิทักษ์ รักษา. ก. ตุชฺเชติ ตุชฺชยติ. น. ตุชชน (นปุ.) ความอาจ, ฯลฯ.

ตุณฺ ตูณฺ ปูรเณ
เต็ม ไม่พร่อง บริบูรณ์. ก. ตุเณติ ตุณยติ ตูเณติ ตูณยติ. น. ตุณ ตุณีร ตูณ ตูณีร (ปุ.) ตุณี ตูณี (อิต.) แล่งธนู, แล่งศร, แล่งปืน.

ถ อักษร

ถกฺ สํวรเณ
กั้น ปิด บัง จุก (อุด) อุด ระวัง ป้องกัน รักษา. ก. ถเกติ ถกยติ. น. ถก (ปุ.) ถกน (นปุ.) การกัน, ฯลฯ. ถกฺก (ปุ.) พระเจ้า.

ถกฺ ปฏิฆาเต
กำจัด ขจัด บรรเทา. ก. ถเกติ ถกยติ. น. ถกน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

ถนฺ เทวสทฺเท
กระหึม กระหึ่ม คำรน คำราม. ก. ถเนติ ถนยติ. น. ถน (ปุ.) นม (อวัยวะ ๒ เต้าที่หน้าอก สัตว์ดิรัฐฉานบางชนิดมีหลายเต้า). ถนิต (นปุ.) ฟ้าร้อง.

ถปฺ ฐปเน
ตั้ง ตั้งไว้ วาง วางไว้ เก็บ เก็บไว้. ก. ถเปติ ถปยติ. น. ถปน (นปุ.) การตั้งไว้, ฯลฯ.

ถูปฺ สมุจฺจเย
ก่อขึ้น ก่อตั้ง ก่อสร้าง. ก. ถูเปติ ถูปยติ. น. ถูป (ปุ.) เจดีย์, สตูป, สถูป.

ถูลฺ ปริพฺรูหเณ
เจริญงอกงาม รุ่งเรือง พอกพูนขึ้น อ้วน อ้วนใหญ่. ก. ถูเลติ ถูลยติ. น. ถูล (วิ.) พี, อ้วน, อ้วนใหญ่.

เถนฺ โจริเย
ลัก ขโมย. ก. เถเนติ เถนยติ. น. เถน เถยฺย (ปุ.) โจร, ขโมย.

โถมฺ ถุติยํ
ชม ชมเชย ยกย่อง สรรเสริญ. ก. โถเมติ โถมยติ. ก. โถม (ปุ.) โถมน (นปุ.) โถมนา (อิต.) การชม, ฯลฯ, ความชม, ฯลฯ.

ท อักษร

ทกฺ ตุฏฺฐิยํ
ชื่นชม แช่มชื่น ยินดี พอใจ เบิกบาน.  ก. ทเกติ ทกยติ. น. ทกน (นปุ.) ความชื่นชม, ฯลฯ.

ทํส ทสิ ทํสเน
กัด ขบ เคี้ยว ตอด. ก. ทํเสติ ทํสยติ. น. ทํสน (นปุ.) การกัด, ฯลฯ, ฟัน (กระดูกเป็นซี่ ๆ อยู่ในปาก).

ทฑิ อาณานิปาตเน
ลงอาญา ลงอาชญา ลงโทษ ทำโทษ. ก. ทณฺเฑติ ทณฺฑยติ. น. ทณฺฑ (ปุ.) การลงอาญา, ฯลฯ, โทษ, อาชญา, สินไหม, ไม้, ไม้ค้อน, พลอง, ไม้พลอง, ตะบอง, ไม้ตะบอง, ไม้ตระบอง, ไม้กระบอง, ความทรมาน, ความดุร้าย, การเฆี่ยน, การตี.

ทภี ภเย
กลัว ขยาด หวาด สะดุ้ง. ก. ทเภติ ทภยติ. น. ทภน (นปุ.) ความกลัว, ฯลฯ.

ทลฺ วิทารเณ
ฉีก ตัด ทอน แตก แยก ทำลาย สลาย. ก. ทาเลติ ทาลยติ. น. ทาล ทาฬ (วิ.) ฉีก, ฯลฯ, การฉีก, ฯลฯ.

ทิวุ ปริกูชเน
กระหึม กระหึ่ม ครวญ กังวาน ก้องกังวาน.  ก. เทเวติ เทวยติ. น. เทว (ปุ.) เมฆ, ฝน.

ทิสฺ ทิสิ ทิสี อุจฺจารเณ
เปล่งเสียง ออกเสียง แสดง ชี้แจง แถลง บรรยาย สวด. ก. เทเสติ เทสยติ. น. เทสนา (อิต.) การเปล่งเสียง, ฯลฯ, การสวด, การสอน, เทสนา เทศนา (การแสดงธรรมคำสั่งสอนในทางศาสนา).

ทินฺ ทีนฺ กิจฺเฉ
ตกยก ทุกข์ยาก ลำบาก ฝืดเคือง ยากจน ยากไร้ ไร้ทรัพย์ เข็ญใจ. ก. ทิเนติ ทินยติ ทีเนติ ทีนยติ. น. ทิน ทีน (ปุ.) คนตกยาก, ฯลฯ.

ทีปฺ ทิตฺติยํ
รุ่งเรือง สวยงาม สว่าง กระจ่าง สุกใส ขาว. ก. ทีเปติ ทีปยติ. น. ทีป (ปุ.) ไฟ, แสงไฟ, โคม, โคมไฟ, ตะเกียง, ประทีป (ไฟที่มีแสงสว่างเช่นตะเกียงเป็นต้น). ทีปก (ปุ.) แสงสว่าง, ประทีป, ตะเกียง.

ทุพิ ปหาเร
ทำอันตราย ทำร้าย. ก. ทุมฺเพติ ทุมฺพยติ. น. ทุมฺพน (นปุ.) การทำอันตราย, ฯลฯ.

ทุภิ ปหาเร
ทำอันตราย ทำร้าย. ก. ทุมฺเภติ ทุมฺภยติ. น. ทุมภน (นปุ.) การทำอันตราย, ฯลฯ.

ทุลฺ อุกฺเขเป
ยกขึ้น โยนขึ้น ทิ้ง ซัดไป. ก. โทเลติ โทลยติ. น. โทลา โทลี (อิต.) ชิงช้า, คานหาม, เปล.

ทูภฺ อุปถมฺเภ
พยุง ประคอง ค้ำ ค้ำจุน จุนไว้ อุดหนุน ช่วยเหลือ. ก. ทูเภติ ทูภยติ. น. ทูภน (นปุ.) การพยุง, ฯลฯ.


ธ อักษร

ธนฺ สทฺเท
ออกเสียง ฯลฯ. ก. ธเนติ ธนยติ. น. ธน (นปุ.) เงิน, ทรัพย์, สิน (เงินทรัพย์), ทรัพย์สิน, สินทรัพย์, สมบัติ, ทรัพย์สมบัติ.

ธรฺ ธารฺ ธารเณ
ทรง ทรงไว้ รับ รับไว้ ตั้ง ตั้งอยู่ รองรับ รับไว้ จำ. ก. ธาเรติ ธารยติ. น. ธาร (ปุ.) การทรง, ฯลฯ, การจำ, คม (ส่วนบางจนสามารถบาดได้), ความคม. สาธารณ (วิ.) ทั่วไป, สามัญ, ปรกติ, ธรรมดา. ธรณี ธรา (อิต.) ดิน, แผ่นดิน, โลก.

ธสฺ อุญฺเฉ
ค้น ค้นหา แสวง แสวงหา เสาะ เสาะหา ขวนขวาย. ก. ธาเสติ ธาสยติ. น. ธาสน (นปุ.) การค้น, ฯลฯ.

ธสฺ หสเน
ร่าเริง รื่นเริง บันเทิง. ก. ธเสติ ธสยติ. น. ธสน (นปุ.) ความร่าเริง, ฯลฯ.

ธุ ธู กมฺปณ
กระดิก ไหว หวั่นไหว กระเทือน สั่น สลัด สะบัด. ก. ธาเวติ ธาวยติ. น. ธาวน (นปุ.) การกระดิก, ฯลฯ.

ธูปฺ ภาสาสโมสรเณสุ
กล่าว พูด เจรจา ประชุม ประชุมกัน.  ก. ธูเปติ ธูปยติ. น. ธูปน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ, การประชุม, ฯลฯ.

ธูสฺ กนฺติกรเณ
ทำความรัก รัก รักใคร่ ชอบใจ ยินดี. ก. ธูเสติ ธูสยติ. น. ธูสน (นปุ.) การทำความรัก, ฯลฯ.


น อักษร

นกฺกฺ นาสเน
เสื่อม ทำลาย พินาศ ป่นปี้. ก. นกฺเกติ นกฺกยติ. น. นกฺก (ปุ.) จระเข้. นกฺกน (นปุ.) ความเสื่อม, ฯลฯ.

นกฺขฺ สมฺพนฺเธ
ผูกพัน ติดต่อ ติดต่อกัน เกี่ยวเนื่อง เกี่ยวเนื่องกัน.  ก. นกฺเขติ นกฺขยตื. น. นกฺข (ปุ.) นกฺขน (นปุ.) การผูกพัน, ฯลฯ, ความผูกพัน, ฯลฯ.

นฏฺ นตฺติยํ
เต้น รำ เต้นรำ ฟ้อน ฟ้อนรำ. ก. นเฏติ นฏยติ. น. นฏ นฏก นฏฺฏก (ปุ.) คนเต้น, ฯลฯ, ลิเก, ตัวลิเก, ตัวละคร. นฏน นฏฺฏ นตฺตน (นปุ.) การเต้น, ฯลฯ.

นทฺ อพฺยตฺตสทฺเท
ร้อง บันลือ เลื่องลือ เปล่งเสียงดังก้อง แผดเสียง, ก. นาเทติ นาทยติ. น. นท (ปุ.) บุคคลผู้นับถือ, ฯลฯ, การบันลือ, ฯลฯ, แม่น้ำ, ลำน้ำ. นที (อิต.) แม่น้ำ, ลำน้ำ, นัทรี.

นิกฺกฺ คณเน
นับ คำนวณ. ก. นิกฺเกติ นิกฺกฺยติ. น. นิกฺกน (นปุ.) การนับ, การคำนวณ.

นิวาสฺ อจฺฉาทเน
กำบัง ปกปิด นุ่งห่ม แต่งตัว. ก. นิวาเสติ นิวาสยติ. น. นิวาสน (นปุ.) การกำบัง, ฯลฯ, การแต่งตัว, การนุ่ง, การห่ม, การนุ่งห่ม, ผ้านุ่ง, ผ้าห่ม, ผ้านุ่งห่ม.

ป อักษร

ปจิ ผรเณ
แผ่ แผ่ไป ขยาย ขยายไป ซ่าน ซ่านไป ซาบซ่าน กว้าง กว้างขวาง พิสดาร แพร่หลาย. ก. ปญฺเจติ ปญฺจยติ. น. ปจ (วิ.) แผ่, ฯลฯ, กว้าง, กว้างขวาง. ปจน (นปุ.) การแผ่, ฯลฯ.

ปจฺจฺ สํยมเน
สำรวม ระวัง เคร่ง เคร่งครัด. ก. ปจฺเจติ ปจฺจยติ. น. ปจฺจน (นปุ.) ความสำรวม, ฯลฯ.

ปฏฺ ปฏุ คนฺเธ
ปลิว ฟุ้ง ตลบ (ย้อนกลับไปกลับมา) หอม. ก. ปเฏติ ปฏยติ. น. ปฏน (นปุ.) การปลิว (ของมีกลิ่น), ฯลฯ.

ปฏฺ ภาสเน
กล่าว พูด เจรจา. ก. ปาเฏติ ปาฏยติ. น. ปาฏน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

ปฑิ ปริภาสเน
ตัดพ้อ ต่อว่า ติเตียน กล่าวโทษ เสียดสี ด่าว่า บริภาษ. ก. ปณฺเฑติ ปณฺฑยติ. น. ปณฺฑ (วิ.) ตัดพ้อ, ฯลฯ. ปณฺฑน (นปุ.) การตัดพ้อ, ฯลฯ.

ปณฺ สทฺทปญฺญตฺตีสุ
ออกเสียง ฯลฯ บัญญัติ แต่งตั้ง. ก. ปเณติ ปณยติ. น. ปณน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ.

ปณฺณฺ หริเต
สด เขียว. ก. ปณฺเณติ ปณฺณยติ. น. ปณฺณ (นปุ.) ใบ, ใบไม้, ใบลาน, หนังสือ, สมุด, จดหมาย, ผัก, ความนสด, ความเขียว.

ปตฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ปเตติ ปตยติ. น. ปตตฺต (นปุ.) ปีก, ปีกนก.  ปตกา (อิต.) ธง, ธงผืนผ้า, ธงแผ่นผ้า, ธงผ้า, ธงปตาก.  ปตฺต (ปุ.) บาตร. ปตฺต (นปุ.) แผ่นผ้า, ขน.  ปตฺติ (ปุ.) ทหารเดินเท้า, พลเดินเท้า, ทหารราบ, กองพลราบ. (อิต.) การไป, การถึง, การบรรลุ, ฯลฯ. ปติ (ปุ.) เท้า, การไปข้างหน้า, ข้าศึก.  (อิต.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป, ความไป,ฯลฯ, ความเป็นไป.

ปตฺ ปตเน
ตก ตกไป พลัด หล่น เคลื่อน ล้ม. ก. ปเตติ ปตยติ. น. ปต (ปุ.,นปุ.) การตก, ฯลฯ. ปตฺต (วิ.) ตก, ฯลฯ. (นปุ.) ภาชนะ, แผ่น, ใบ, ใบบัว, ใบไม้, กลีบ, กลีบบัว, การตก, ฯลฯ.

ปตฺถฺ ปตฺถนายํ
หวัง มุ่งหวัง มุ่งหมาย ต้องการ อยากได้ ปรารถนา. ก. ปตฺเถติ ปตฺถยติ. น. ปตฺถนา (อิต.) ความหวัง, ฯลฯ.

ปตฺถฺ ยาจนายํ
ขอ ขอร้อง วิงวอน.  ก. ปตฺเถติ ปตฺถยติ. น. ปตฺถนา (อิต.) การขอ, ฯลฯ.ล

ปถิ ปนฺถฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ปนฺเถติ ปนฺถยติ. น. ปนฺถ (ปุ.) ทาง, หนทาง, ทางเปลี่ยว, ถนน.

ปทฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ปเทติ ปทยติ ปาเทติ ปาทยติ อุปาเทติ อุปฺปาเทติ. น. ปท (ปุ.) เท้า, ร้อยเท้า, ทาง, หน (ทาง), หนทาง. (นปุ.) มูล, เหตุ, มูลเค้า, ต้นเงื่อน, ภาค, ส่วนต, ส่วนเป็นเครื่องถึง, เครื่องป้องกัน, เครื่องรักษา, ความต้านทาน, ข้อ, ท่อน, ตอน, รอย, เท้า, รอยเท้า, ทาง, หน, หนทาง, ฐานะ, สถานะ, คำ, ศัพท์, วัตถุ, พัสดุ, สิ่ง, สิ่งของ, โอกาส, ข้อความ. ปตฺต (อิต.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป, ความเป็นไป, ส่วนอันบุคคลพึงถึง, ส่วนบุญ, ธรรมชาติอันบุคคลพึงถึง ได้แก่ทานศีลและภาวนา. วิปตฺติ (อิต.) การถึงความคลาดเคลื่อน, การถึงความเคลื่อนคลาด, การถึงความเสื่อม, การถึงความฉิบหาย, การถึงความบังเอิญเป็น, การถึงความวิบัติ, ความเป็นไปต่าง, ความคลาดเคลื่อน, ความเคลื่อนคลาด, ฯลฯ.

ปรฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. ปเรติ ปรยติ. น. ปรณ (นปุ.) การไป, ฯลฯ, การเป็นไป, ความเป็นไป.

ปลฺ คติยํ
ไป ลอยไป บินไป. ก. ปเลติ ปลยติ. ปิลก ปิลฺลก (ปุ.) ลูก, ลูกน้อย. ปลว (ปุ.) การไป, การแล่นไป, การลอยไป, การบินไป. ปลว (ปุ.) ปลวา (อิต.) เรือ, แพ. ปลาล ปลาลก (นปุ.) ฟาง, ใบ, ใบไม้. ปลาป (ปุ.) ข้าวลีบ, แกลบ.

ปลฺ สวนปวเนสุ
ไหล ไหลไป คลอด ชำระ ล้าง ซัก ฟอก ฝัด. ก. ปาเลติ ปาลยติ. น. ปาลน (นปุ.) การไหล, ฯลฯ.

ปสฺ พนฺธเน
ผูก พัน มัด รัด. ก. ปเสติ ปสยติ. น. ปสน (นปุ.) การผูก, ฯลฯ.

ปสิ นาสเน
เสื่อม เสียหาย ฉิบหาย ทำลาย พินาศ. ก. ปํเสติ ปํสยติ. น. ปํสุ (ปุ.) ฝุ่น, ผง, ละออง, ธุลี, ดินร่วน, ดินปุ๋ย, ดินปืน.

ปารฺ สามตฺถิเย
อาจ องอาจ สามารถ เสร็จ สำเร็จ. ก. ปาเรติ ปารยติ. น. ปาร (นปุ.) ความอาจ, ฯลฯ.

ปาลฺ รกฺขเณ
เลี้ยง ปกครอง ดูแล ระวัง ป้องกัน พิทักษ์ รักษา. ก. ปาเลติ ปาลยติ. น. ปาล (ปุ.) ปาลน (นปุ.) การเลี้ยง, ฯลฯ. ปาลก (วิ.) ผู้เลี้ยง, ฯลฯ.

ปาฬฺ รกฺขเณ
เลี้ยง ฯลฯ. ก. ปาเฬติ ปาฬยติ. น. ปาฬ (ปุ.) ปาฬน (นปุ.) การเลี้ยง, ฯลฯ.

ปิชิ วจเน
กล่าว พูด เจรจา. ก. ปิญฺเชติ ปิญฺชยติ. น. ปิญชน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

ปิชิ สมตฺถพลนิวาเสสุ
อาจ องอาจ ฯลฯ มีกำลัง อยู่ อยู่อาศัย. ก. ปิญฺเชติ ปิญฺชยติ. น. ปิญฺชน (นปุ.) ความอาจ, ฯลฯ.

ปิฑิ ปิณฺฑฺ สงฺฆาเต
รวบ รวบรวม รวมกัน ประมวล ติดต่อ ติดต่อกัน คละ คละกัน ระคน ปน ปนกัน.  ก. ปิณฺเฑติ ปิณฺฑยติ. น. ปิณฺฑ (ปุ.) เครื่องเลี้ยงชีพ, ของเลี้ยงชีพ, อาหาร, ก้อน, ก้อนข้าว, คำข้าว, ดิน, ก้อนดิน, ลูกกลม ๆ, มัด, ฟ่อน, ร่างกาย, กลุ่ม, ฝูง, หมวด, หมู่, พวก, ประชุม, กอง, คณะ. ปิณฺฑา (อิต.) ก้อนข้าว. ปิณฺฑน (นปุ.) การรวม, ฯลฯ.

ปิลิ ขเย
สิ้น เสื่อม สิ้นไป เสื่อมไป หมด หมดไป. ก. ปิเลติ ปิลยติ. น. ปิลน (นปุ.) ความสิ้น, ฯลฯ.

ปิสฺ สมตฺถสสเนสุ
อาจ ฯลฯ เป็นอยู่ หายใจ. ก. ปิเสติ ปิสยติ. น. ปิสน (นปุ.) ความอาจ, ฯลฯ.

ปิสฺ เปสฺ เปสเน
ส่งไป ใช้ไป บังคับ. ก. เปเสติ เปสยติ. น. เปส (ปุ.) เปสน (นปุ.) การส่งไป, ฯลฯ.

ปิสิ ภาสายํ
กล่าว พูด เจรจา. ก. ปิเสติ ปิสยติ ปึเสติ ปึสยติ. น. ปิสน ปึสน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

ปิหฺ อิจฺฉายํ
อยาก อยากได้ ใคร่ ปอง หมาย หวัง มุ่งหวัง ตั้งใจ พอใจ เพลิดเพลิน ปรารถนา. ก. ปิเหติ ปิหยติ. น. ปิหนา ปิหา (อิต.) ความอยาก, ฯลฯ, ความปรารถนา, ความใฝ่ฝัน, ความทะเยอทะยาน, ตัณหา.

ปิฬฺ ปีฬฺ วิพาธายํ
กำจัด ขจัด เบียดเบียน บีบคั้น.  ก. ปิเฬติ ปิฬยติ ปีเฬติ ปีฬยติ. น. ปิฬก ปีฬก (ไตรลิงค์) พุพอง, ต่อม, ตุ่ม, หูด, ไฝ, หิด, ฝี ฝีหัวขาด, ขี้แมลงวัน, ต้อ. ปิฬน ปีฬน (นปุ.) ปิฬา ปีฬา (อิต.) ความกำจัด, ฯลฯ.

ปุงสฺ ปุนฺสฺ อภิมทฺทเน
กุมเหง ข่มเหง รังแก ย่ำยี เหยียบย่ำ. ก. ปุงเสติ ปุงสยติ. ถ้าตั้ง ปุนฺสฺ พึงแปลง นฺ เป็น นิคคหิต. น. ปุงสน (นปุ.) การกุมเหง, ฯลฯ.

ปุฏฺ เภทเน
ต่อย แตก แยก แตกแยก หักพัง ทลาย ทำลาย สลาย กระจาย กระจัดกระจาย. ก. โปเฏติ โปฏยติ. น. โปฏน (นปุ.) การต่อย, ฯลฯ.

ปุฏฺ วจเน
กล่าว พูด เจราจา. ก. โปเฏติ โปฏยติ. น. โปฏน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

ปุฏฺฏฺ อปฺปภาเว
ลดลง น้อย นิดหน่อย. ก. ปุฏฺเฏติ ปุฏฺฏยติ. น. ปุฏฺฏน (นปุ.) ความลดลง ,ฯลฯ.

ปุณฺ หึสาสงฺฆาเตสุ
กำจัด ฯลฯ เบียดเบียน รวม รวมกัน ติดต่อ ฯลฯ ปนกัน.  ปุเณติ ปุณยติ. น. ปุณน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

ปุตฺถฺ อาทรานาทเรสุ
เอื้อเฟื้อ ฯลฯ ไม่เอื้อเฟื้อ ฯลฯ. ก. ปุเถติ ปุถยติ. น. ปุถน (นปุ.) ความเอื้อเฟื้อ, ฯลฯ.

ปุถฺ ภาสายํ
กล่าว พูด เจรจา. ก. ปุเถติ ปุถยติ. น. ปุถน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ.

ปุถฺ ปหาเร
กระทบ เฆี่ยน ตี โบย ฆ่า ประหาร. ก. โปเถติ โปถยติ โปเฐติ โปฐยติ. แปลง ถ เป็น ฐ. น. โปถน (นปุ.) การกระทบ, ฯลฯ.

ปุพฺพฺ นิเกตเน
อยู่ อาศัย อาศัยอยู่. ก. ปุพฺเพติ ปุพฺพยติ. น. ปุพฺพ (วิ.) อยู่, ฯลฯ, ก่อน, แรก, ต้น, เบื้องต้น, สุด, หลัง, เสร็จ, อดีต, ส่วนอดีต.

ปุสฺ โปสเน
เลี้ยง เลี้ยงดู ปรนปรือ. ก. โปเสติ โปสยติ. น. โปส (ปุ.) สัตว์, มนุษย์, บุคคล, บุทคล, คน, บุรุษ, ชาย, ผู้ชาย. โปสน (นปุ.) การเลี้ยง, ฯลฯ.

ปุสฺ ธารเณ
ทรง ทรงไว้ รับไว้. ก. โปเสติ โปสยติ. น. โปฏฺฐก (ปุ.,นปุ.) โปฏฺฐิล (นปุ.) ใบลาน.

ปุสฺ มณฺฑเน
แต่ง ตกแต่ง ตบแต่ง ประดับ. ก. โปเสติ โปสยติ. น. โปสน (นปุ.) การแต่ง, ฯลฯ.

ปูชฺ ปูชายํ
เคารพ นับถือ ยกย่อง บูชา. ก. ปูเชติ ปูชยติ. น. ปูชก (วิ.) ผู้บูชา. ปูชนา ปูชา (อิต.) การเคารพ, ฯลฯ.

ปูรฺ สินิทฺเธ
ชิด ใกล้ชิด แนบ แอบชิด สนิท. ก. ปูเรติ ปูรยติ. น. ปูรณ (นปุ.) ความชิด, ฯลฯ.

โปถฺ ปริยาปปหาเรสุ
บด ขยี้ กระทบ เฆี่ยน ทุบ ตี โบย. ก. โปเถติ โปถยติ. น. โปถน (นปุ.) การบด, ฯลฯ.

โปถฺ วจเน
กล่าว พูด เจรจา. ก. โปเถติ โปถยติ. น. โปถน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

ผ อักษร

ผฑิ ปริหาเส
รื่นเริง เสสรวล เฮฮา หัวเราะ. ก. ผณฺเฑติ ผณฺฑยติ. น. ผณฺฑน (นปุ.) ความรื่นเริง, ฯลฯ.

ผฬฺ เภทเน
ต่อย แตก ฯลฯ กระจัดกระจาย. ก. ผเฬติ ผฬยติ. น. ผฬน (นปุ.) การต่อย, ฯลฯ.

ผุฏฺ เภทเน
ต่อย แตก ฯลฯ กระจัดกระจาย. ก. โผเฏติ โผฏยติ. น. โผฏ (ปุ.) การต่อย, ฯลฯ.

พ อักษร

พธฺ พนฺธเน
ผูก พัน มัด รัด. ก. พาเธติ พาธยติ พชฺฌติ. พธฺ + ณย ปัจ. ลบ ณ ธฺ+ย แปลงเป็น ชฺฌ. น. พธก (วิ.) ผู้ผูก, ฯลฯ.

พฺยยฺ ขเย
สิ้น เสื่อม สิ้นไป เสื่อมไป ฉิบหาย. ก. พฺยเยติ พฺยยติ. กิริยาหลัง พฺยยฺ+ณย ปัจ. ลบ ณฺ เหลิอ อ จีงเป็น พฺยย+ย ปัจ. ที่ลบ ณฺ แล้ว จึงเป็น พฺยยย ย เรียงกัน ๓ ตัว ลบ เสียตัว ๑ ตามหลักสนธิ จึงเป็น พฺยย+ติ เป็น พฺยยติ. น. พฺยย (วิ.) สิ้น, ฯลฯ, ฉิบหาย,พินาศ,หมดไป. (ปุ.) ความสิ้น, ฯลฯ, ความหมดไป, ความหมดไปแห่งทรัพย์, ความเปลี่ยนแปลง.

พฺยยฺ ปริจาเค
ให้ ให้ปัน สละ เสียสละ บริจาค. ก. พฺยเยติ พฺยยติ. น. พฺยย (นปุ.) การให้, ฯลฯ.

พฺยสฺ ปหาเณ
สละ ละ ทิ้ง ละทิ้ง ปล่อย วาง ปล่อยวาง. ก. โพยเสติ โพยสยติ. ลงโอ อาคมหน้าธาตุ. น. โพยสน (นปุ.ป การสละ, ฯลฯ.

พฺยุสฺ โรสเน
แค้น เคือง ขึ้งเคียด โกรธ จำนงภัย. ก. โพยเสติ โพยสยติ. แปลง อุ เป็น โอ. น. โพยสน (นปุ.) ความแค้น, ฯลฯ.

พาธฺ วิโลลเน
กวน คน ขุ่น มัว ขุ่นมัว รบกวน เบียดเบียน.  ก. พาเธติ พาธยติ. น. พาธ พาธิ (นปุ.) พาธน (ปุ.) พาธา (อิต.) ความขุ่นมัว, ความรบกวน, ความเบียดเบียน, ความยาก, ความลำบาก, ความทุกข์.

พุกฺกฺ ภสฺสเน
เห่า หอน ร้อง. ก. พุกฺเกติ พุกฺกยติ. น. พุกฺกน (นปุ.) การเห่า, ฯลฯ, การร้อง.

พุธิ พาธเน
เบียดเบียน รบกวน เดือดร้อน.  ก. พุนฺเธติ พุนฺธยติ. น. พุนฺธน (นปุ.) การเบียดเบียน, ฯลฯ.

 ภ อักษร

ภกฺขฺ โภชเน
กิน.  ก. ภกฺเขติ ภกฺขยติ. น. ภกฺข (ปุ.,นปุ.) ภกฺขา (อิต.) การกิน, การเลี้ยง, ของกิน, ของบริโภค, อาหาร, ภักษ์, ภักษา.

ภชฺ เสวายํ
คบ สมาคม รับใช้ ปฏิบัติ. ก. ภเชติ ภชยติ. น. ภชน (นปุ.) การคบ, ฯลฯ.

ภชฺ วิสฺสาเส
คุ้น คุ้นเคย สนิท ชิดชม. ก. ภเชติ ภชยติ. น. ภชก (ปุ.) คนผู้คุ้น, คนคุ้นเคย, ฯลฯ.

ภชฺ ปติฏฺฐายํ
ตั้ง ตั้งอยู่. ก. ภเชติ ภชยติ. น. ภาชน (นปุ.) ของใช้, เครื่องใช้, เครื่องใช้สำหรับใส่ของ.

ภชฺ ภาชเน
แจก จำแนก แบ่ง ให้ ปัน ให้ปัน.  ก. ภาเชติ ภาชยติ. น. ภาชน (นปุ.) การแจก, ฯลฯ. ภาค (วิ.) อัน. ..แบ่ง, อันเขาแบ่ง, ฯลฯ (ปุ.) การแจก, ฯลฯ, ส่วน, ส่วนแบ่ง, ข้าง, ฝ่าย, คราว, ฝั่ง.

ภชิ วจเน
กล่าว พูด เจรจา. ก. ภญฺเชติ ภญฺชยติ. น. ภญฺชน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ.

ภฑิ กลฺยาเณ
ดี งาม สง่า สวย เป็นของดี เป็นของงาม. ก. ภณฺเฑติ ภณฺฑยติ. น. ภณฺฑ (นปุ.) ราคาทรัพย์, ต้นทุน, ทรัพย์อันเป็นต้นทุน, ทรัพย์ , สมบัติ, ทรัพย์สมบัติ, ของ, สิ่งของ, ข้าวของ, เครื่อง (สิ่งของ), ของใช้, เครื่องใช้, สิ่งของเครื่องใช้, เครื่องใช้สอย , เครื่องทัพสัมภาระ, เครื่องประดับ, เครื่องแต่งตัว, ลอม, ทรัพย์อันบุคคลพึงห่อ, สินค้า.

ภสฺ อุปาทาเน
จับ ถือ ยึด ยึดถือ. ก. ภาเสติ ภาสยติ. น. ภาสน (นปุ.) การจับ, ฯลฯ.

ภาชฺ ปุถกรเณ
แบ่ง แจก จำแนก.  ก. ภาเชติ ภาชยติ. ภาค (วิ.) อันเขาแบ่ง, ฯลฯ, (ปุ.) การแบ่ง, ฯลฯ, ข้าง, ฝ่าย, คราว, ฝั่ง, บุญ, โชค ,โชคดี, โชคร้าย, เคราะห์กรรม. ภาชน (นปุ.) การแบ่ง, ฯลฯ. ภาชี (วิ.) ผู้แบ่ง, ผู้แบ่งเป็นปกติ, ฯลฯ.

ภาชฺ ทาเน
ให้ ปัน ให้ปัน.  ก. ภาเชติ ภาชยติ. น. ภาค ภาช (ปุ.) คนผู้ให้, ฯลฯ.

ภามฺ โกเธ
โกรธ เคือง ขึ้ง แค้น เคียด แค้นเคือง ขึ้งเคียด โกรธขึ้ง. ก. ภาเมติ ภามยติ. น. ภามน (นปุ.) ความโกรธ, ฯลฯ.

ภู ปตฺติกรุณาสุ
ถึง บรรลุ ได้ ประสบ อนุเคราะห์ เอ็นดู สงสาร. ก. ภาเวติ ภาวยติ. น. ภูต (วิ.) ถึง, ฯลฯ. (ปุ.,นปุ.) ความถึง, ฯลฯ. ภว (ปุ.) การถึง, ฯลฯ.

ภู สตฺตายํ
มี เป็น มีอยู่ เป็นอยู่. ก. ภาเวติ ภาวยติ. น. ภว (ปุ.) ความมี, ฯลฯ, การเกิด, ประเทศที่เกิด, ภพ, สังสาระ, สังสาร, สัสสตทิฏฐิ. ภาว (วิ.) มี, ฯลฯ. (ปุ.) ความ, ความมี, ฯลฯ, ความสรรเสริญ, ความมุ่งหมาย, การเยื้องกราย, ความเจริญ, ส่วน, ชั้น, คุณ, ธรรมชาต, ภาพ คือรูปที่ปรากฏเห็น สิ่งที่วาดเขียนขึ้นเป็นรูป,ภาวะ, สภาวะ, สภาพผู้อาศัยจิตนอนอยู่. ภาวน (นปุ.) ความมี, ฯลฯ, คุณชาตเป็นเครื่องยังกุศลให้เกิด, คุณชาตเป็นเครื่องยังกุศลให้มี, ฯลฯ. ภาวนา (อิต.) คุณชาติเป็นเครื่องยังกุศลให้เกิด, คุณชาติเป็นเครื่องยังกุศลให้มี, ฯลฯ. ความมี, ฯลฯ. ภู (อิต.) ดิน, แผ่นดิน, นา, ที่นา, เขา, ภูเขา. ภูต (วิ.) มีอยู่, ฯลฯ, เสมอกัน, เท่ากัน, จริง, แท้. ภูต (ปุ.) ภาวะที่เป็นอยู่, ร่างกาย, คน, เทวดา, อมนุษย์.

ภู วุฑฺฒิยํ
เจริญ งอกงาม. ก. ภาเวติ ภาวยติ. น. ภว (ปุ.) ความเจริญ, ความงดงาม, ความเติบโต. ภาว (วิ.) เจริญ, งอกงาม, เติบโต. (ปุ.) ความเจริญ, ฯลฯ, ความสรรเสริญ. ภาวน (นปุ.) คุณชาตเป็นเครื่องยังกุศลให้เจริญ, ฯลฯ, การยังจิตให้เจริญ. ภาวนา (อิต.) คุณชาติเป็นเครื่องยังกุศลให้เจริญ, ฯลฯ, การยังจิตให้เจริญ. ภู (อิต.) ความเจริญ, ฯลฯ. ภูติ (วิ.) เจริญ, งอกงาม, เติบโต, รุ่งเรือง, มั่งคั่ง.

ภูณฺ วจเน
กล่าว พูด เจรจา. ก. ภูเณติ ภูณยติ. น. ภูณน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

ภูสฺ มณฺฑเน
ประดับ แต่ง ตกแต่ง ตบแต่ง. ก. ภูเสติ ภูสยติ. น. ภูสน (นปุ.) อันประดับ, ฯลฯ, การประดับ, ฯลฯ, เครื่องประดับ, เครื่องอาภรณ์, เครื่องแต่งตัว. ภูสา (อิต.) การประดับ, ฯลฯ, เครื่องประดับ, ฯลฯ, เครื่องนุ่งห่ม, ผ้านุ่ง, ผ้าห่ม, ผ้าทรง.


ม อักษร

มกฺขฺ อุปเลปเน
ทา เปื้อน.  ก. มกฺเขติ มกฺขยติ. น. มกฺขน (นปุ.) การทา, การทำให้เปื้อน.

มกฺขฺ มกฺขเน
ลบหลู่ ดูหมิ่น เหยียดหยาม. ก. มกฺเขติ มกฺขยติ. น. มกฺข (ปุ.) ความลบหลู่, ความลบหลู่คุณท่าน, ความดูหมิ่น, ความดูถูก, ความเหยียดหยาม, ความกลบเกลื่อน, ความกลบเกลื่อนคุณท่าน.  มกฺขี (วิ.) ผู้ลบหลู่, ฯลฯ.

มคฺ คเวสเน
ค้น ค้นหา ตามหา เสาะหา สืบ สืบหา แสวงหา. ก. มเคติ มคยติ. น. มค (ปุ.) เนื้อ, กวาง, จามจุรี. มิค (ปุ.) เนื้อ ชื่อของสัตว์ป่ามีกวาง, อีเก้ง, เป็นต้น, ปศุ ชื่อสัตว์เลี้ยง สัตว์ของเลี้ยง, จามจุรี จามรี สองคำนี้เป็นชื่อของเนื้อทราย มีขนละเอียด หางยาวเป็นพู่.

มคฺคฺ คมเน
ไป เดิน ดำเนิน ดำเนินไป. ก. มคฺเคติ มคฺคยติ. มคฺค (ปุ.) ถนน, หน (ทาง), ทาง, หนทาง, ช่อง, อุบาย, เหตุ (ใช้คู่กับคำว่าผล), มรคา, มรรคา, มรรค, อุบายเป็นเครื่องดำเนินไปสู่พระนิพพาน, อุบายอันบุคคลผู้ต้องการพระนิพพานพึงดำเนินไป.

มคฺคฺ อเนวสเน
ค้น ค้นหา แสวง แสวงหา เสาะหา. ก. มคฺเคติ มคฺคยติ. น. มคฺค (ปุ.) อุบายอันบุคคลผู้ต้องการพระนิพพานย่อมแสวงหา, ฯลฯ.

มชฺชฺ สมฺมชฺชเณ
ชำระ ล้าง กวาด เช็ด ถู. ก. มชฺเชติ มชฺชยติ. น. มชฺชน (นปุ.) การทำให้สะอาด, การชำระ, ฯลฯ. สมฺมชฺชน (นปุ.) สมฺมชฺชา (อิต.) การทำให้สะอาด, การทำความสะอาด, การชำระ, ฯลฯ. สมฺมชฺชนี (อิต.) ไม้กวาด, ไม้กราด.

มชฺชฺ อลงฺกาเร
ประดับ แต่ง ตกแต่ง ตบแต่ง. ก. มชฺเชติ มชฺชยติ. น. มชฺชน (นปุ.) การประดับ, ฯลฯ.

มฑิ ภูสายํ
ประดับ แต่ง ตกแต่ง ตบแต่ง. ก. มณฺเฑติ มณฺฑยติ. น. มณฺฑ (ปุ.) มณฺฑน (นปุ.) การประดับ, การแต่ง, ฯลฯ, เครื่องประดับ, ฯลฯ.

มทฺ วิตฺติยํ
แช่มชื่น ปลื้มใจ ชื่นชม ยินดี เบิกบาน สำราญ ร่าเริง บันเทิง. ก. มเทติ มทยติ. น. มท โมท (ปุ.) มทน โมทน (นปุ.) ความแช่มชื่น, ฯลฯ. มทน (ปุ.) กามเทพ, มาร, มทนะ ชื่อของกามเทพ ชื่อของมาร. มตฺต (วิ.) แช่มชื่น, ฯลฯ. (ปุ.) ข้าราชการ (ผู้ยินดีในการทำงานให้บ้านเมือง), อำมาตย์.

มนฺ สุรุปถมฺเภสุ
แข็ง กล้า ไม่กลัว ไม่ครั่นคร้าม แข็งกล้า ค้ำ ค้ำจุน อุดหนุน จุนเจือ ช่วยเหลือ. ก. มเนติ มนยติ. น. มนน (นปุ.) มนนา (อิต.) ความแข็ง, ความกล้า, ฯลฯ, การค้ำ, ฯลฯ.

มนฺตฺ คุตฺตภาสเน
พูดกระซิบ ปรึกษา หารือ ขอความเห็น.  ก. มนฺเตติ มนฺตยติ. น. มนฺต (นปุ.) มนฺตน (นปุ.) การปรึกษา, การกระซิบ, การพูดกระซิบ, ความลับ.

มนฺตฺ ญาเณ
รู้ ทราบ เข้าใจ. ก. มนฺเตติ มนฺตยติ. น. มนฺต (ปุ.) มนฺตน (นปุ.) ความรู้, ฯลฯ.

มนฺตฺ ภาสเน
กล่าว. ก. มนฺเตติ มนฺตยติ. น. มนฺต (ปุ.) การท่อง, การท่องบน, ข้อที่ท่อง, ข้อที่ท่องบ่น, การสวด, คำสำหรับสวด, มนต์, มนตร์ (คำสำหรับสวด คำสำหรับเสกเป่า).

มริสฺ สหเณ
อดทน อดกลั้น ทนทาน บึกบึน.  ก. มริเสติ มริสยติ. น. มริสน (นปุ.) ความทน, ความอดทน, ฯลฯ.

มหฺ ปูชายํ
เคารพ นับถือ ยกย่อง บูชา, ก. มเหติ มหยติ. มห (ปุ.) มหน (นปุ.) การเคารพ, ฯลฯ, การฉลอง, การสมโภช.

มานฺ ปูชายํ
เคารพ นับถือ ยกย่อง บูชา. ก. มาเนติ มานยติ. น. มาน มานน (นปุ.) มานนา (อิต.) การเคารพ, ฯลฯ, ความเคารพ, ฯลฯ. มาตุ (อิต.) แม่ (ยกย่องลูก). วิมาน (นปุ.) เรือนเจ็ดชั้น (ที่อยู่ของเทวดาพระมหากษัตริย์).

มานฺ วีมํสายํ
ทดรอง ไตร่สวน สอบสวน พิจารณา เลือกฟั้น เลือกเฟ้น.  ก. มาเนติ มานยติ. น. วิมํสน (นปุ.) วีมํสา (อิต.) การทดลอง, ฯลฯ, ความทดลอง, ฯลฯ.

มาปฺ มาปเน
ก่อ สร้าง ก่อสร้าง. น. มาเปติ มาปยติ. น. มาปก (ปุ.) คนผู้สร้าง, ช่างก่อสร้าง. มาปน (นปุ.) การก่อ, ฯลฯ.

มิทฺ สิเนหเน
เป็นน้ำมัน เยื่อใย อาลัย ติดพัน ชอบใจ พอใจ รัก รักใคร่. ก. เมเทติ เมทยติ. น. เมตฺตา เมตฺติ (อิต.) ความเยื่อใย, ฯลฯ, ความรัก, ความรักกัน, ความหวังดีต่อกัน, ความหวังดีแก่กัน, ความปรารถนาดี, ความปรารถนาดีแก่กัน.

มิลฺ นิมฺมิลเน
กระพริบตา หลับตา. ก. มิเลติ มิลยติ. น. มิลน (นปุ.) การกระพริบตา, การหลับตา.

มิเลฉฺ อพฺยตฺตวาจายํ
พูดไม่ชัด. ก. มิเลเฉติ มิลิจฺฉยติ มิเลจฺเฉติ มิเลจฺฉยติ. น. มิเลฉน (นปุ.) การพูดไม่ชัด, การกล่าวไม่ชัด, การเจรจาไม่ชัด, คำพูดไม่ชัด, ฯลฯ.

มิสฺ สชฺชเน
เตรียม ตระเตรียม กระเกรียม จัดแจง. ก. เมเสติ เมสยติ. น. เมสน (นปุ.) การเตรียม, ฯลฯ.

มิสฺ มิสฺสฺ สมฺมิสฺเส
เจือ ปน เจือปน ปนกัน แซม คละ คละกัน คลุกเคล้า คลุกเคล้ากัน ระคน ระคนกัน.  ก. มิสฺเสติ มิสฺสยติ. ถ้าตั้ง มิสฺ ธาตุ พึงซ้อน สฺ. น. มิสฺส มิสฺสก (วิ.) เจือ, ฯลฯ, ระคนกัน.

มุฏฺ เปรเณ
บด ขยี้ ย่ำ ป่น.  ก. โมเฏติ โมฏยติ. น. โมฏน (นปุ.) การบด, ฯลฯ, การป่น.

มุตฺตฺ ปสเว
ไหล ไหลออก.  ก. มุตฺเตติ มุตฺตยติ. น. มุตฺต (นปุ.) เยี่ยว , น้ำเยี่ยว, น้ำเบา, น้ำปัสสาวะ, มูตร, น้ำมูตร.

มุตฺถฺ หึสาสงฺฆาเตสุ
กำจัด ฯลฯ ฆ่า ประหาร รวม รวมกัน ติดต่อ ติดต่อกัน ฯลฯ. ก. มุตฺเถติ มุตฺถยติ. น. มุตฺถน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

มุทฺ สํสคฺเค
รวมกัน คละ คละกัน ปนกัน ระคน ระคนกัน.  ก. โมเทติ โมทยติ. น. มุฏฺฐิ (อิต.) ทั่ง, ค้อน, พะเนิน (ค้อนเหล็ก).

มูลฺ โรปนรุหเนสุ
หว่าน เพาะ ปลูก ผลิออก งอก ขึ้น.  ก. มูเลติ มูลยติ. น. มูลน (นปุ.) การหว่าน, ฯลฯ.

มูลฺ เฉทนโสธเนสุ
ตัด โค่น ชำระ ล้าง สะอาด หมดจด. ก. มูเลติ มูลยติ. น. มูลน (นปุ.) การตัด, ฯลฯ.

โมกฺขฺ อาสเน
นั่ง (หย่อนก้นลงให้ติดกับสิ่งที่รองรับ). ก. โมกฺเขติ โมกฺขยติ. น. โมกฺขน (นปุ.) การนั่ง.

ย อักษร

ยกฺขฺ ปูชายํ
เคารพ ยกย่อง นับถือ บูชา เซ่น สังเวย. ก. ยกฺเขติ ยกฺขยติ. น. ยกฺข (ปุ.) ยักขะ ชื่อกำเนิดเทวดา อย่าง ๑ ใน ๘ อย่าง, เทวะ, สัคว์โลก, ท้าวสักกะ (ผู้อันมนุษย์และเทพบูชา), รากษส (ยักษร้าย ผีเสื้อน้ำ).

ยตฺ อาสจฺจหีเนสุ
ไม่ซื่อตรง เลวทราม ต่ำช้า. ก. ยเตติ ยตยติ. น. ยตน (นปุ.) ความไม่ซื่อตรง, ฯลฯ.

ยตฺ อุปถมฺเภ
เกื้อกูล อุดหนุน ช่วยเหลือ เจือจุน.  ก. ยเตติ ยตยติ. น. ยตน (นปุ.) ความเกื้อกูล, ฯลฯ.

ยนฺต สงฺขิปเน
หดเข้า สั้นเข้า ย่อเข้า. ก. ยนฺเตติ ยนฺตยติ. น. ยนฺต (วิ.) หดเข้า, ฯลฯ, คล่อง, เร็ว, สะดวก, ง่าย. ยนฺต ยนฺตฺร (นปุ.) เครื่องยนต์, เครื่องยนต์, เครื่องกลไก, เครื่องจักร (ช่วยหดเวลาเข้า ฯลฯ).

ยปฺ วตฺตเน
เป็นไป เป็นอยู่. ก. ยาเปติ ยาปยติ. น. ยาปน (นปุ.) การยังชีวิตให้เป็นไป, ฯลฯ, ความเป็นไป, ฯลฯ. ยปนา (อิต.) ความเป็นไป, ความเป็นอยู่.

ยมฺ ปริเวสเน
ปรนปรือ เลี้ยงดู. ก. ยเมติ ยมยติ. น. ยม (ปุ.) ท้าวยม, พระยายม, พญายม, ยมราช ชื่อเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ประจำโลกของสัตว์นรก.

ยุ นิสฺสเน
คละ คละกัน ปน ปนกัน ระคน ระคนกัน คลุกเคล้า เจือปน.  ก. ยาเวติ ยาวยติ. น. ยาวก (ปุ.) ครั่ง.

ยุชฺ สํวรเณ
สำรวม ระวัง ป้องกัน รักษา. ก. โยเชติ โยชยติ. น. โยชน (นปุ.) ความสำรวม, ฯลฯ.

ยุฏฺ มิสฺสเน
คละ คละกัน ฯลฯ มั่วสุม. ก. โยเฏติ โยฏยติ. น. โยฏน (นปุ.) การคละ, ฯลฯ.

ร อักษร

รจฺ คนฺเถ
แต่ง ร้อยกรอง ประพันธ์ เรียบเรียง. ก. รเจติ รจยติ. น. รจน (วิ.) งาม. รจนา (อิต.) การแต่ง, ฯลฯ.

รนฺธฺ ปาเก
หุง ต้ม คั่ว ปิ้ง ย่าง ทอด. ก. รนฺเธติ รนฺธยติ. น. รนฺธ (นปุ.) การหุง, ฯลฯ. รนฺธก (ปุ.) พ่อครัว.

รพิ วิลมฺพเน
หน่วง ยึด แขวน ห้อย. ก. รมฺเพติ รมฺพยติ. น. รมฺพน (นปุ.) การหน่วง, ฯลฯ.

รภฺ โกเธ
ดุร้าย ร้ายกาจ ร้ายแรง. ก. รเภติ รภยติ. น. รภส (วิ.) ร้าย, ดุร้าย, ฯลฯ.

รสฺ อสฺสาทนสิเนเหสุ
ยินดี ชอบใจ พอใจ เพลิน เพลิดเพลิน เกี่ยวพัน เยื่อใย รัก รักใคร่. ก. รเสติ รสยติ. รสน (นปุ.) รสนา (อิต.) ความยินดี, ฯลฯ.

รหฺ จาเค
สละ ละ เว้น.  ก. รเหติ รหยติ. น. รห (วิ.) สละ, ฯลฯ (ปุ.) การสละ, ฯลฯ, ภาวะอันบุคคลพึงสละ, ฯลฯ, ปาปธรรมมีราคะเป็นต้นอันบุคคลพึงสละ, ฯลฯ.

รหฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. รเหติ รหยติ. น. รห (วิ.) ไป ดำเนินไป ถึง บรรลุ เป็นไป. (ปุ.) การไป, ฯลฯ, ความไป, ฯลฯ, ความเป็นไป.


ริจฺ ปริหานิเย
เสื่อม สิ้น สูญ. ก. ริเจติ ริจยติ. น. ริจน (นปุ.) ความเสื่อม, ฯลฯ.

ริจฺ วิกิรเณ
แยก แยกออก กระจาย กระจายออก เกลื่อนกล่น.  ก. เรเจติ เรจยติ. น. เรจน (นปุ.) การแยก, ฯลฯ.

รุกฺขฺ กกฺขเฬ
หยาบ หยาบคาย หยาบช้า ต่ำช้า ไม่สุภาพ ไม่เรียบร้อย เลวทราม. ก. รุกฺเขติ รุกฺขยติ. น. รุกฺข (วิ.) หยาบ, ฯลฯ. รุกฺขน (นปุ.) ความหยาบ, ฯลฯ.

รุจฺ ทิตฺติยํ
รุ่ง เรือง รุ่งเรือง สว่าง กระจ่าง ขาว ส่องสว่าง สุกใส สวย งาม สวยงาม จรูญ จำรูญ. ก. โรเจติ โรจยติ. น. โรจ (วิ.) รุ่ง, ฯลฯ. โรจน (นปุ.) ความรุ่ง, ฯลฯ, ความจำรูญ, นัยน์ตา, ลูกตา.

รุชฺ รุจฺฉายํ
กำจัด เบียดเบียน เสียดแทง. ก. โรเชติ โรชยติ. น. รุช (ปุ.) รุชน (นปุ.) รุชา (อิต.) ความกำจัด, ฯลฯ, โรค.

รุธฺ รุธิ อาวรเณ
กัน กั้น ปิด ล้อม ห้าม. ก. โรเธติ โรธยติ. น. โรธ (ปุ.) การกัน, ฯลฯ, ความกัน, ฯลฯ, กิเลส (กั้นความดี กั้นนิพพาน).

รุปฺ โรปเน
เพาะ ปลูก หว่าน ปัก ดำ. ก. โรเปติ โรปยติ. น. โรปน (นปุ.) โรปนา (อิต.) การเพาะ, ฯลฯ.

รุสฺ โกเป
โกรธ ขึ้ง ขึ้งเคียด แค้น เคือง. ก. โรเสติ โรสยติ. น. โรส (ปุ.) โรสน (นปุ.) ความโกรธ ฯลฯ.

รูป ปกาสเน
ประกาศ แสดง สำแดง ปรากฏ. ก. รูเปติ รูปยติ. น. รูป (นปุ.) สัณฐาน ทรวดทรง ร่าง ร่างกาย เค้า เค้าโครง,รูป คือสิ่งที่มิใช่จิตหรือกิริยาของจิต.


ล อักษร

ลกฺ ตุฏฺฐิยํ
ชอบใจ พอใจ ยินดี เพลิน เพลิดเพลิน สำราญ. ก. ลเกติ ลกยติ. น. ลกน (นปุ.) ความชอบใจ, ฯลฯ.

ลกฺขฺ ทสฺสนงฺเกสุ
ดู เห็น กำหนด หมาย เป็นเครื่องหมาย. ก. ลกฺเขติ ลกฺขยติ. น. ลกฺขณ (วิ.) ดู, ฯลฯ. (นปุ.) เครื่องหมาย, เครื่องหมายรู้, รอย, ชนิด, ประเภท, ลักษณะ. ลกฺข (นปุ.) เครื่องหมาย, รอย, ที่หมาย, เป้า, คะแนน.

ลฆิ ลงฺฆฺ ลงฺฆเน
กระโดด โผน โลด. ก. ลงฺเฆติ ลงฺฆยติ. น. ลงฺฆ (วิ.) กระโดด, ฯลฯ. ลงฺฆี (ปุ.) ลิงลม.

ลฆิ ลงฺฆฺ วจเน
กล่าว พูด เจรจา. ก. ลงฺเฆติ ลงฺฆยติ. น. ลงฺฆ (วิ.) กล่าว, ฯลฯ. ลงฆน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ.

ลชฺ ปกาสเน
ประกาศ ป่าวร้อง แจ้งให้ทราบ. ก. ลเชติ ลชยติ. น. ลชน (นปุ.) การประกาศ ,ฯลฯ.

ลฑิ อุปฺเขเป
ยกขึ้น โยนขึ้น.  ก. ลณฺเฑติ ลณฺฑยติ. น. ลณฺฑน (นปุ.) การยกขึ้น, ฯลฯ.

ลปฺ วาเกย
กล่าว พูด ทักทาย ปราศรัย เจรจา. ก. ลเปติ ลปยติ อาลเปติ อาลปยติ. น. ลปนา (อิต.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ, การบ่นพึมพำ, การพูดเลียบเคียง, การพูดประจบ. อาลปน (นปุ.) การร้องเรียก, การบอกเล่า, การกล่าว, การกล่าวโดยทำต่อหน้า, การพูด, การสนทนา,คำทัก, คำร้องเรียก, คำกล่าวโดยทำต่อหน้า.

ลภฺ ลาภฺ อาณาปเน
ส่งไป ใช้ไป. ก. ลาเภติ ลาภยติ. น. ลาภน (นปุ.) การส่งไป, ฯลฯ.

ลภฺ อาฆาเต
โกรธขึ้ง ขึ้งเคียด จำนงภัย ป้องร้าย อาฆาต. ก. ลาเภติ ลภยติ. ลภน (นปุ.) ความโกรธขึ้ง, ฯลฯ.

ลลฺ อิจฺฉายํ
พอใจ หวัง ต้องการ อยาก อยากได้ ปรารถนา. ก. ลาเลติ ลาลยติ. น. ลลน (นปุ.) ลลนา (อิต.) ความพอใจ, ฯลฯ. ลลนา (อิต.) หญิงที่ต้องการ, หญิงที่ปรารถนา.

ลลฺ วิลาเส
งาม สวย สวยงาม เปล่งปลั่ง ผุดผ่อง. ก. ลาเลติ ลาลยติ. น. ลีลา (อิต.) การเยื้องกาย, ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, กิริยาน่าเสน่หา (ของผู้หญิง), กิริยาของหญิง, ลีลา.

ลสฺ ลาสิยโยเค
เต้นรำ ฟ้อนรำ ลีลา ลีลาศ ท่าทางอันงาม. ก. ลาเสติ ลาสยติ. น. ลาส (ปุ.) ลาสน (นปุ.) การเต้นรำ, ฯลฯ.

ลฬฺ สมาคเม
เข้ารวมกัน เข้าไปรวมกัน ประชุม สมาคม. ก. ลาเฬติ ลาฬยติ. น. ลาฬน (นปุ.) การเข้ารวมกัน, ฯลฯ.

ลิงฺคฺ จิตฺตีกรเณ
ตระการ จิตร งาม งดงาม หลาก ต่าง ๆ. ก. ลิงฺเคติ ลิงฺคยติ. น. ลิงฺค (นปุ.) อาการ, ลักษณะ, ชนิด, อย่าง, รูปพรรณ, รูปลักษณ์, เครื่องหมาย, นิมิต, นิมิตบุรุษ, นิมิตสตรี, ของลับ, องคชาต, เพศ, ลิงค์ (ประเภทของคำในไวยากรณ์).

ลุชิ ภาสายํ
กล่าว พูด เจรจา. ก. ลุญฺเชติ ลุญฺชยติ. น. ลุงฺค (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, มันสมอง (สิ่งเป็นเครื่องกล่าว ซึ่งอยู่ในกระโหลกศีรษะ).

ลุฏฺ โลฏฺ ภาสายํ
กล่าว พูด เจรจา. ก. โลเฏติ โลฏยติ. น. โลฏน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

ลุฏิ เถยฺเย
ลัก ขโมย. ก. ลุณฺเฏติ ลุณฺฏยติ. น. ลุณฺฏน (นปุ.) การลัก, การขโมย.

ลุพิ หึสายํ
เบียดเบียน ทำอันตราย ทำร้าย ประทุษร้าย. ก. ลุมฺเพติ ลุมฺพยติ. น. ลุมฺพน (นปุ.) การเบียดเบียน, ฯลฯ, ความเบียดเบียน, ฯลฯ.

โลกฺ ทสฺสเน
ดู เห็น แล แลดู แลเห็น.  ก. โลเกติ โลกยติ. น. โลก (ปุ.) โลก มีความหมายหลายประการ คือ หมายถึง สังขาร ร่างกาย ตัวตน เรียก สังขารโลก หมายถึง สัตว์ หมู่สัตว์ เรียกสัตว์โลก หมายถึงที่อยู่ของสัตว์ เรียกภพ มีกามภพเป็นต้น และหมายถึงแผ่นดิน อันเป็นส่วนหนึ่งของสุริยจักรวาฬ คือ แผ่นดินที่มนุษย์และสัตว์เป็นต้นอาศัยอยู่นี้. โลกน (นปุ.) การดู, ฯลฯ.

โลกฺ ภาสายํ
กล่าว พูด เจรจา. ก. โลเกติ โลกยติ. น. โลกน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.


โลจฺ ทสฺสนวจเนสุ
ดู เห็น แล แลดู แลเห็น กล่าว พูด เจรจา. ก. โลเจติ โลจยติ. น. โลจน (นปุ.) ตา, ดวงตา, จักษุ, เนตร, นัยน์ (ตา), นัยน์ตา, การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

ว อักษร

วกฺกฺ ภาสานาเสสุ
กล่าว พูด เจรจา หาย สูญ สลาย ทำลาย พินาศ ฉิบหาย ย่อยยับ ป่นปี้. ก. วกฺเกติ วกฺกยติ. น. วกฺกน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, การหาย, ฯลฯ.

วจฺวจเน
กล่าว พูด เจรจา. ก. วเจติ วจยติ. น. วจ (ปุ.) วจน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำ, ถ้อยคำ, ดำรัส, พระดำรัส, คำกล่าว, ฯลฯ.

วจฺจฺ อชฺฌายเน
เรียน เล่าเรียน เพาะความรู้ หาความรู้ ศึกษา. ก. วจฺเจติ วจฺจยติ. น. วจฺจน (นปุ.) การเรียน, ฯลฯ.

วชฺ คเวสเน
ค้นหา เสาะหา แสวงหา. ก. วเชติ วชยติ. น. วชน (นปุ.) การค้นหา, ฯลฯ, ความค้นหา, ฯลฯ.

วชฺ สงฺขาเร
ปรุง แต่ง ทำ กระทำ. ก. วเชติ วชยติ. น. วชน (นปุ.) การปรุง, ฯลฯ.

วชฺชฺ เวรมณิยํ
ละ งด เว้น.  ก. วชฺเชติ วชฺชยติ วชฺช (นปุ.) การละ, ฯลฯ, โทษอันบัณฑิตพึงละ.

วญฺจุ ปลมฺภเน
เกลี้ยกล่อม ลวง หลอกลวง ล่อลวง. ก. วญฺเจติ วญฺจยติ. น. วญฺจ วญฺจก (วิ.) เกลี้ยกล่อม, ฯลฯ. วญฺจน (นปุ.) การเกลี้ยกล่อม, ฯลฯ, ความเกลี้ยกล่อม, ฯลฯ. วญฺจก (ปุ.) คนเกลี้ยกล่อม, ฯลฯ.

วฏฺ วิภาเค
แบ่ง แจก จำแนก.  ก. วเฏติ วฏยติ. น. วฏน (นปุ.) การแบ่ง, ฯลฯ.

วฏฺ คนฺธวาสเน
อบกลิ่น หอม. ก. วเฏติ วฏยติ. น. วฏน (นปุ.) การอบกลิ่น, ความหอม.

วฑฺฒฺ เฉทเน
ตัด แบ่ง บั่น ผ่า ทอน เฉือน.  ก. วฑฺเฒติ วฑฺฒยติ. น. วฑฺฒกี (ปุ.) ช่างไม้.

วณฺ คตฺตวิจุณฺณเน
แผล บาดแผล เป็นแผล. ก. วเณติ วณยติ. น. วณ (ปุ.,นปุ.) แผล, บาดแผล, ฝี. วณโรค (ปุ.) โรคแผล, โรคฝี, วัณโรค ชื่อโรคชนิดหนึ่งเกิดที่ปอดเป็นต้น โบราณเรียกว่าโรคฝีในท้อง.

วณฺณฺ ฐปเน
ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ ปรากฏ. ก. วณฺเณติ วณฺณยติ. น. วณฺณ (ปุ.,นปุ.) สัณฐาน, ทรวดทรง, ขนาด, ประมาณ, รูป, ชาติ, กำเนิด, ตระกูล, พวก, เพศ, ชนิด, อย่าง, มริยาทะ (กิริยาเรียบร้อย).

วณฺณฺ ปสํสาวิตฺถารวจเน
ชม ชมเชย ยกย่อง สรรเสริญ พรรณนา. ก. วณฺเณติ วณฺณยติ. น. วณฺณนา (อิต.) การชม, ฯลฯ, คำชม, ฯลฯ, วาจาเป็นเครื่องกล่าวชม, ฯลฯ, วาจาเป็นเครื่องพรรณนาซึ่งเนื้อความ, วาจาเป็นเครื่องอันท่านพรรณนาซึ่งเนื้อความ, อัฏฐกถาเป็นเครื่องพรรณนาซึ่งเนื้อความ, อรรถกถาเป็นเครื่องพรรณนา ซึ่งเนื้อความ, คำบอกเล่า, คำอธิบาย, อัฏฐกถา, อัตถกถา, อรรถกถา.

วตฺ วตฺตฺ วจเน
กล่าว พูด เจรจา. ก. วตฺเตติ วตฺตยติ. น. วตฺต (วิ.) กล่าว, ฯลฯ. วตฺตน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

วตฺถฺ ปริทาเห
รบกวน เดือดร้อน เร่าร้อน.  ก. วตฺเถติ วตฺถยติ. น. วตฺถน (นปุ.) การรบกวน, ฯลฯ.

วทฺ วจเน
กล่าว พูด เจรจา. ก. วาเทติ วาทยติ. น. วาท (วิ.) ผู้กล่าว, ฯลฯ. (ปุ.) คนผู้กล่าว, ฯลฯ. วทน (นปุ.) วัตถุเป็นเครื่องพูด, วัตถุสำหรับพูด, ปาก, หน้า, การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ. วาท (ปุ.) วาทน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำ, คำกล่าว, ฯลฯ, ถ้อยคำ.

วที อภิวาทเน
กราบ กราบไหว้ อภิวาทน์. ก. วาเทติ วาทยติ. น. วาทน (นปุ.) การกราบ, ฯลฯ.

วที ถุติยํ
ชม ชมเชย ยกย่อง สรรเสริญ สดุดี. ก. วาเทติ วาทยติ. น. วาทน (นปุ.) การชม, ฯลฯ, ความชม,ฯลฯ.

วทฺธฺ วจเน
กล่าว พูด เจรจา. ก. วทฺเธติ วทฺธยติ. น. วทฺธน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

วทฺธฺ เฉทเน
ตัด แบ่ง บั่น ผ่า ทอน เฉือน.  ก. วทฺเธติ วทฺธยติ. น. วทฺธกี (ปุ.) ช่างไม้.

วธฺ สํวรเณ
สำรวม ระวัง ป้องกัน รักษา. ก. วเธติ วธยติ. น. วธน (นปุ.) ความสำรวม, ฯลฯ.

วนฺ สมฺภตฺติยํ
คบ คบหา มารวมกัน.  ก. วเนติ วนยติ. น. วน (นปุ.) น้ำ (ไหลมารวมกัน), สวน, ป่า, ป่าไม้, หมู่ไม้, ดง, พง, ไพร, วนา, พนา, พนาสณฑ์, พนาสัณฑ์, วนัส, พนัส.

วภฺ วภี ครหสปเนสุ
ติ ติเตียน นินทา เกลียด เกลียดชัง แช่ง ด่า. ก. วเภติ วภยติ. น. วภน (นปุ.) การติ, ฯลฯ.

วมฺภฺ วิทฺธํสเน
กำจัด ขจัด ติเตียน ปราบ (ทำให้สิ้นไป). ก. วมฺเภติ วมฺภยติ. น. วมฺภน (นปุ.) วมฺภนา (อิต.) การกำจัด, ฯลฯ, การสบประมาท, คำสบประมาท.

วรฺ อิจฺฉายํ
ยินดี อยาก อยากได้ ใคร่ หวัง มุ่งหวัง มุ่งหมาย ต้องการ ใส่ใจ พอใจ เพลิดเพลิน ปรารถนา. ก. วเรติ วรยติ. น. วร (ปุ.) ความยินดี, ฯลฯ, ความปรารถนา, พร (ภาวะที่ใคร ๆ อยากได้คำแสดงความปรารถนาดี สิ่งที่ขอเลือกเอาตามความประสงค์).

วรฺ อาวรเณ
ห้าม กัน กั้น คั่น ล้อม บัง กำบัง ปิด ปกปิด ปกป้อง ป้องกัน.  ก. วาเรติ วารยติ. น. วารณ (วิ.) ห้าม, ฯลฯ. (นปุ.) การห้าม, ฯลฯ. (ปุ.) ช้าง, ช้างพลาย, ช้างประเสริฐ (ห้ามกำลังของศัตรู). วาริ (นปุ.) น้ำ (ห้ามความกระหาย). วร (ปุ.) การห้าม, ฯลฯ.

วรหฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. วรเหติ วรหยติ. น. วราห (ปุ.) ช้าง, หมู, กุน, ปีกุน, ปีหมู.

วลฺ สํวรเณ
ระวัง ป้องกัน เลี้ยง รักษา. ก. วเลติ วาลยติ. น. วาล (ปุ.) ผม, ขน.

วสฺ สิเนหเน
เป็นน้ำมัน ชอบใจ พอใจ เยื่อใย อาลัย ติดพัน รัก รักใคร่ เสน่หา. ก. วาเสติ วาสยติ. น. วสา (อิต.) ไข, ไขสัตว์, มันเหลว, น้ำมัน, น้ำมันเหลว.

วสฺ คนฺธกรเณ
อบ อบกลิ่น.  ก. วาเสติ วาสยติ. น. วาส (ปุ.) การอบ, เครื่องอบ, เครื่องสำอาง, น้ำหอม. วาสน (นปุ.) การอบ, เครื่องอบ, น้ำหอม.

วสฺ อจฺฉาทเน
บัง กำบัง ปกปิด นุ่งห่ม แต่งตัว. ก. วาเสติ วาสยติ. น. วาส (ปุ.) ผ้า, เสื้อผ้า, ผ้านุ่งห่ม, เครื่องนุ่งห่ม. วาสน (นปุ.) ผ้า, เสื้อผ้า, ผ้านุ่งห่ม, การบัง, ฯลฯ, การแต่งตัว.

วสฺสฺ สตฺถิพนฺธเนสุ
อาจ องอาจ สามารถ ผูก พัน มัด รัด. ก. วสฺเสติ วสฺสยติ. น. วสฺสน (นปุ.) ความอาจ, ฯลฯ, การผูก, ฯลฯ.

วาตฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. วาเตติ วาตยติ. น. วาต (ปุ.) ลม.

วาสฺ คนฺธกรเณ
อบ อบกลิ่น อบรม. ก. วาเสติ วาสยติ. น. วาส (ปุ.) วาสน (นปุ.) การอบ, เครื่องอบ, เครื่องสำอาง, น้ำหอม.

วิจฺฉฺ ภาสายํ
กล่าว พูด เจรจา. ก. วิจฺเฉติ วิจฉยติ. น. วิจฺฉน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ, คำ, ถ้อยคำ.

วิทฺ ลาเภ
ได้. ก. เวเทติ เวทยติ. น. เวทิ เวที เวทิกา (อิต.) โต๊ะเครื่องบูชา, ภูมิที่บูชา, แท่น, แท่นบูชา, ที่บูชายัญ, ที่รอง, ที่รองรับ.

วิทฺ เจตนายํ
จงใจ ตั้งใจ มุ่งหมาย รู้ รู้ชัด. ก. เวเทติ เวทยติ. น. เวที (ปุ.) บุคคลผู้รู้, นักปราชญ์, บัณฑิต.

วิทฺ ขฺยาเน
กล่าว พูด เจรจา. ก. เวเทติ เวทยติ. น. เวท (ปุ.) เวทคือถ้อยคำที่ผูกขึ้นเป็นคาถา.

วิทฺ อนุภวเน
ได้ ประสบ พบ ครอง เสพ เสวย. ก. เวเทติ เวทยติ. น. เวทน (นปุ.) เวทนา (อิต.) การได้, ฯลฯ.

วิทฺ นิวาเส
อยู่ อาศัย. ก. เวเทติ เวทยติ. น. เวทน (นปุ.) การอยู่, การอาศัย.

วิธฺ กมฺปเน
ไหว สั่น หวั่น หวั่นไหว. ก. เวเธติ เวธยติ. น. เวธน (นปุ.) การไหว, ฯลฯ, ความไหว, ฯลฯ.

วิธฺ กรเณ
ทำ กระทำ. ก. เวเธติ เวธยติ. น. เวธน (นปุ.) การทำ, การกระทำ.

วีรฺ วิกฺกนฺติยํ
ไม่ครั่นคร้าม กล้า หาญ กล้าหาญ. ก. วีเรติ วีรยติ. น. วีร (วิ.) ไม่ครั่นคร้าม, ฯลฯ, กล้าหาญ, แกล้วกล้า, เพียร, พากเพียร, หมั่น, ขยัน, พยายาม (ปุ.) ความไม่ครั่นคร้าม, ฯลฯ, คนกล้า, ฯลฯ, คนพยายาม, นักรบ.

วุลฺ นิมฺมชฺชเน
ย่ำ ขยี้ บี้ บด. ก. โวเลติ โวลยติ. น. โวลน (นปุ.) การย่ำ, ฯลฯ.

เวฐฺ พนฺธเน
ผูก พัน มัด รัด โพก.  ก. เวเฐติ เวฐยติ. น. เวฐน เวฏฺฐน (นปุ.) การผูก, ฯลฯ, ผ้าผูก, ฯลฯ, ผ้าโพก, ผ้าโพกศีรษะ. เวฐิต (นปุ.) การพัน, ฯลฯ, การโพก.

เวลฺ กาโลปเทเส
บอกกาล บอกเวลา กำหนด. ก. เวเลติ เวลยติ. น. เวลา (อิต.) ครั้ง, คราว, หน, สมัย, โอกาส, แดน, เขตแดน, ขอบเขต.

ส อักษร

สกฺกฺ ภาสเน
กล่าว บอก พูด เจรจา. ก. สกฺเกติ สกฺกยติ. น. สกฺกน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ.

สงฺคามฺ ยุทฺเธ
รบ รบกัน ต่อสู้ ต่อสู้กัน.  ก. สงฺคาเมติ สงฺคามยติ. น. สงฺคาม (ปุ.) การรบ, การรบกัน, ฯลฯ.

สชฺชฺ สชฺชเน
ตระเตรียม เตรียมการ จัดแจง แต่ง ตกแต่ง ตบแต่ง ประดับ. ก. สชฺเชติ สชฺชยติ. น. สชฺช (ปุ.) สชฺชน (นปุ.) สชฺชา (อิต.) การตระเตรียม, ฯลฯ, การประดับ.

สฏฺฏฺ สตฺถิหึสาสุ
อาจ องอาจ สามารถ มีกำลัง กำจัด ฯลฯ. สฏฺเฏติ สฏฺฏยติ. น. สฏฺฏน (นปุ.) ความอาจ, ฯลฯ.

สฏฺฏฺ ทานวาสเนสุ
ละ สละ ให้ บริจาค อยู่ อาศัย. ก. สฏฺเฏติ สุฏฺฏยติ. น. สฏฺฏน (นปุ.) การละ, ฯลฯ, การอยู่, การอาศัย.

สฐฺ สงฺขารคตีสุ
ปรุง แต่ง ปรุงแต่ง ทำ กระทำ ไป ฯลฯ. ก. สเฐติ สฐยติ. น. สฐน (นปุ.) การปรุง, ฯลฯ.

สฐฺ เกตเว
ฉ้อ โกง ฉ้อโกง หลอก ลวง ล่อลวง เลวทราม. ก. สเฐติ สฐยติ. น. สฐ (วิ.) ฉ้อ, ฯลฯ, เลวทราม, ไม่ซื่อ, ไม่ตรง, ไม่ซื่อตรง, คด, ทุจริต, เล่ห์เหลี่ยม, โอ้อวด, เย่อหยิ่ง, เบียดเบียน, เศร้าหมอง, เปรอะเปื้อน.  สฐน (นปุ.) การฉ้อ, ฯลฯ.

สณฺ ทาเน
สละ ให้ ให้ทาน บริจาค. ก. สเณติ สณยติ. น. สณ (ปุ.) การสละ, ฯลฯ.

สตฺตฺ คติยํ
ไป ฯลฯ. ก. สตฺเตติ สตฺตยติ. น. สตฺต (นปุ.) ทรัพย์, สรีระ, ชีวิตินทรีย์, กำลัง. สตฺติ (ปุ.) นก, ปักษี.

สตฺตฺ สนฺตาเน
ติดต่อ สืบต่อ สืบสาย สืบต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย. ก. สตฺเตติ สตฺตยติ. น. สตฺต (วิ.) ติดต่อ, ฯลฯ. (ปุ.) คน, ชน, มนุษย์, สัตว์.

สถฺ พนฺธเน
ผูก พัน มัด จำจอง รัด. ก. สเถติ สถยติ. น. สถ (วิ.) ผูก, ฯลฯ. (นปุ.) กลีบม้า.

สถฺ เสถิลฺเล
หย่อน ย่อหย่อน ไม่ตึง เบา หลวม. ก. สเถติ สถยติ. น. สถล (วิ.) หย่อน, ฯลฯ. (นปุ.) ความหย่อน, ฯลฯ.

สถฺ ทุพฺพเลย
ทุรพล อ่อนเพลีย. ก. สเถติ สถยติ. น. สถล (วิ.) ทรุพล, ฯลฯ. (นปุ.) ความทุรพล, ฯลฯ.

สทฺ อสฺสาทเน
ยินดี ชอบใจ พอใจ เพลิน เพลิดเพลิน สำราญ. ก. สาเทติ สาทยติ. น. สทน (วิ.) ยินดี, ฯลฯ. (นปุ.) ความยินดี, ฯลฯ.

สทฺ วิสรเณ
แผ่ ซ่าน แผ่ไป ซ่านไป. ก. สาเทติ สาทยติ. น. นิสาท (ปุ.) นิสาทะ ชื่อเสียงดนตรีอย่าง ๑ ใน ๗ อย่าง (เสียงเหมือนช้างร้อง). คนต่ำช้า, นายพราน, พรานป่า, นายพรานป่า.

สทฺทฺ สทฺทเน
ออกเสียง เปล่งเสียง ร้องเรียก กล่าว พูด. ก. สทฺเทติ สทฺทยติ. น. สทฺท (ปุ.) สทฺทน (นปุ.) การออกเสียง, ฯลฯ, เสียง, สำเนียง, คำ, ถ้อยคำ, คำกล่าว, คำพูด, ศัพท์.

สธุ หสเน
ยินดี ร่าเริง รื่นเริง สรวล สรวลเส เสสรวล ร่าเริง หัวเราะ เฮฮา. ก. สเธติ สธยติ. น. สธน (นปุ.) ความยินดี, ฯลฯ.

สนฺตฺ สนฺตาเน
ติดต่อ สืบต่อ ต่อเนื่อง สืบสาย ไม่ขาดสาย. ก. สนฺเตติ สนฺตยติ. น. สนฺต (ปุ.) การติดต่อ, ฯลฯ, ความติดต่อ, ฯลฯ.

สนฺตฺ อามปฺปโยเค
เกลี้ยกล่อม ปลอบโยน เล้าโลม. ก. สนฺเตติ สนฺตยติ. น. สานฺตฺว (วิ.) เกลี้ยกล่อม, ฯลฯ. (นปุ.) การเกลี้ยกล่อม, ฯลฯ, ความเกลี้ยกล่อม, ฯลฯ.

สนฺตฺ วิตฺถาเร
แผ่ ขยาย ซึมซาบ กว้าง กว้างขวาง แพร่หลาย พิสดาร ถี่ถ้วน ละเอียดลออ มากเกิน มาก หนาแน่น มากเกินไป ขึง ดาด แปลก.  ก. สนฺเตติ สนฺตยติ. น. สนฺตน (นปุ.) การแผ่, ฯลฯ.

สนฺถฺ รจนายํ
แต่ง เรียบร้อง ร้อยกรอง. ก. สนฺเถติ สนฺถยติ. น. สนฺถน (นปุ.) การแต่ง, ฯลฯ.

สพิ มณฺฑเล
กลม เป็นมณฑล. ก. สมฺเพติ สมฺพยติ. น. สมฺพุก (ปุ.) หอยกาบ. สมฺพล (นปุ.) อาหาร, เสบียง, เสบียงทาง.

สภาชฺ สีตเสจเนสุ
เย็น หนาว รด ราด พรม ประพรม โปรย สรง อาบ ล้าง. ก. สภาเชติ สภาชยติ. น. สภาช (นปุ.) ความเย็น, ฯลฯ, การรด, ฯลฯ.

สภาชฺ ปีติทสฺสเนสุ
อิ่ม อิ่มใจ ดีใจ เบิกบาน เบิกบานใจ ชื่นชม ยินดี ดู เห็น.  ก. สภาเชติ สภาชยติ. น. สภาชน (นปุ.) ความอิ่มใจ, ฯลฯ ความพอใจ, ความมีอัธยาศัย, การดู, การเห็น, ความสมควร, ความถูกต้อง, ความสมเหตุผล.

สภาชฺ วจเน
กล่าว พูด เจรจา. ก. สภาเชติ สภาชยติ. น. สภาชน (นปุ.) การกล่าว, ฯลฯ, คำกล่าว, ฯลฯ, คำแนะนำ.

สมฺ วิตกฺกอาโลลเนสุ
ตริ ตรึก ดำริ คิด ใคร่ครวญ เห็น ดู แลดู เพ่ง พิศ. ก. สาเมติ สามยติ. น. สามน (นปุ.) ความตริ, ฯลฯ.

สมุ เสวทสฺสเนสุ
ฟัง สดับ คบ เสพ ดู เห็น.  ก. สเมติ สมยติ. น. สมน (นปุ.) การฟัง, ฯลฯ.

สมตฺถฺ สตฺติยํ
อาจ องอาจ สามารถ. ก. สมตฺเถติ สมตฺถยติ. น. สมตฺถ (ปุ.) ความอาจ, ฯลฯ.

สมฺพฺ สมฺพิ สมฺพนฺเธ
ผูกพัน ติดต่อ ติดต่อกัน เกี่ยวเนื่องกัน ติดแน่น ผูกแน่น.  ก. สมฺเพติ สมฺพยติ. น. สมฺพน (นปุ.) การผูกพัน, ฯลฯ.

สรฺ สทฺทกฺเขเป
ออกเสียง เปล่งเสียง. ก. สเรติ สรยติ. น. สร (ปุ.) เสียง, สระ (สะหระ) ชื่อตัวอักษรที่มิใช่พยัญชนะ ทำพยัญชนะให้มีเสียง.

สหฺ ปริสหเณ
อดทน อดกลั้น.  ก. สเหติ สหยติ. น. สข (ปุ.) เพื่อน, มิตร, สหาย.

สมฺ อามนฺตเน
เรียก ร้องเรียก เชิญ เชื้อเชิญ. ก. สาเมติ สามยติ. น. สามน (นปุ.) การเชิญ, ฯลฯ.

สารฺ ทุพฺพเลย
ทุรพล เพลีย อ่อนเพลีย. ก. สาเรติ สารยติ. น. สารท (ปุ.) ความอ่อนเพลีย, ความไม่แกล้วกล้า.

สิกฺ อามสเน
จับต้อง ถูกต้อง ลูบคลำ. ก. สิเกติ สิกยติ. น. สิกน (นปุ.) การจับต้อง, ฯลฯ.

สิจฺจฺ กุฏฺฏเน
ตัด แบ่ง ปัน บด ย่ำ ย่ำยี. ก. สิจฺเจติ สิจฺจยติ. น. สิจฺจน (นปุ.) การตัด, ฯลฯ.

สิเนหฺ เสนเห
เยื่อใย รัก รักใคร่ ชอบใจ พอใจ อาลัย ติดพัน ห่วงใย. ก. สิเนเหติ สิเนหยติ. น. สิเนห เสนห (ปุ.) สิเนหน (นปุ.) ความเยื่อใย, ฯลฯ.

สิลฺ เสลเน
ส่งเสียง ส่งเสียงยินดี ร้องแสดงความยินดี อวย อำนวย. ก. เสเลติ เสลยติ. น. เสลน (นปุ.) การส่งเสียง, ฯลฯ.

สิลิสฺ สิเลสฺ สิเลสเน
กอด กอดรัด สวมกอด รวมกัน ร่วมกัน ติดต่อ ติดต่อกัน.  ก. สิเลเสติ สิเลสยติ. น. สิเลส (ปุ.) สิเลสน (นปุ.) การกอด, ฯลฯ.

สิสฺ เสสฺ วิเสสเน
เหลือ เกิน กระเด็นจากพวก แตกต่างกัน แปลก แปลกกัน.  ก. เสเสติ เสสยติ. น. เสส (วิ.) เหลือ, ฯลฯ. เสส (นปุ.) เศษ คือส่วนที่เหลือหรือสิ่งที่เกิน.

สีลฺ อุปธารเณ
รองรับ รับไว้ รับความดี. ก. สีเลติ สีลยติ. น. สีล (นปุ.) การสำรวม, ความสำรวม, วัตรอันงาม, ความประพฤติอันงาม (รับความดี).

สุจฺ สูจฺ เปสุญฺเญ
ส่อเสียด  เสียดแทง ทิ่มแทง. ก. สูเจติ สูจยติ. น. สุจก (วิ.) ส่อเสียด, ฯลฯ, ผู้ส่อเสียด. สูจน (นปุ.) การส่อเสียด, ฯลฯ, คำส่อเสียด, ฯลฯ, การยุยงให้เขาแตกกัน, คำยุยงให้เขาแตกกัน.

สุฏฺฏฺ อนาทเร
ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เอาใจใส่ ไม่สนใจ ไม่ตั้งใจ. ก. สุฏฺเฏติ สุฏฺฏยติ. น. สุฏฺฏน (นปุ.) ความไม่เอื้อเฟื้อ, ฯลฯ.

สุฐฺ อาลสิเย
คร้าน เกียจคร้าน ขี้เกียจ. ก. โสเฐติ โสฐยติ. น. โสฐน (นปุ.) ความคร้าน, ฯลฯ.

สุฐิ โสสเน
ผาก แห้ง เหี่ยว. ก. สุณฺเฐติ สุณฺฐยติ. น. สุณฺฐ (ปุ.) สุณฺฐน (นปุ.) ความผาก, ฯลฯ.

สุตฺตฺ อวโมจเน
แก้ ปลด เปลื้อง ปล่อย. ก. สุตฺเตติ สุตฺตยติ. น. สุตฺตน (นปุ.) การแก้, ฯลฯ.

สุธฺ โสเจยฺเย
สะอาด หมดจด ผ่องใส. ก. โสเธติ โสธยติ. น. โสธน (นปุ.) การชำระ, การล้าง, การทำความสะอาด, ความสะอาด, ฯลฯ.

สุลฺลฺ สชฺชเน
เตรียม ตระเตรียม จัดแจง. ก. สุลเลติ สุลฺลยติ. น. สุลฺลน (นปุ.) การเตรียม, ฯลฯ.

สูจฺ คนฺถนปกาสเนสุ
แต่ง เรียบเรียง ร้อยกรอง สอดผูก ชี้แจง ประกาศ. ก. สูเจติ สูจยติ. น. สูจก (วิ.) ผู้แต่ง, ฯลฯ. สูจน (นปุ.) การแต่ง, ฯลฯ, คำประกาศ, คำแสดง, คำบ่ง, คำระบุ. สูจิ (อิต.) การแต่ง, ฯลฯ, การประกาศ, คำแต่ง, ฯลฯ, คำประกาศ, คำแสดง, คำบ่ง, คำระบุ, เครื่องชี้, รายการสารบัญ, ดาล, กลอน, ลิ่ม. สูต (ปุ.) คนผู้กล่าวสดุดีคุณ, คนผู้ประกาศสดุดีคุณ.

สูทฺ ปคฺฆรเณ
หลั่งออก ไหลออก.  ก. สูเทติ สูทยติ. สูท สูทก (ปุ.) คนผู้หลั่งออกซึ่งรส, คนผู้ยังรสให้หลั่งออก, คนครัว, พ่อครัว.

สูปฺ มาเน
นับ วัด ชั่ง ตวง. ก. สูเปติ สูปยติ. น. สูปน (นปุ.) การนับ, ฯลฯ.

สูรฺ วิกนฺติยํ
กล้า แข็ง หาญ กล้าหาญ องอาจ อาจหาญ. ก. สูเรติ สูรยติ. น. สูร (วิ.) กล้า, ฯลฯ. ผู้กล้า, ฯลฯ (ปุ.) สูระ ชื่อดาวนพเคราะห์ดวงที่ ๑, พระอาทิตย์, ดวงอาทิตย์.

ห อักษร

หฏฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. ฆาเฏติ ฆาฏยติ. แปลง ห เป็น ฆ ทีฆะ. น. ฆาฏ (ปุ.) การกำจัด, การขจัด, การตี, การฆ่า, การประหาร, การทำลาย, การล้างผลาญ, การเบียดเบียน, การทำร้าย, การประทุษร้าย, การป้องร้าย.

หทฺ กรีสุสฺสคฺเค
ถ่าย ถ่ายอุจจาระ. ก. หเทติ หทยติ. น. หทน (นปุ.) การถ่าย, การถ่ายอุจจาระ, การขี้.

หนฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. หเนติ หนยติ ฆาเตติ ฆาตยติ. แปลง ปน เป็น ฆาตฺ น. ฆณน หนน (นปุ.) ฆาต (ปุ.) ฆาตน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

หลฺ กมฺปเน
กระดิก ไหว สั่น กระเทือน หวั่นไหว สลัด สะบัด. ก. หเลติ หลยติ. น. หลน (นปุ.) การกระดิก, ฯลฯ.

หิกฺกฺ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. หิกฺเกติ หิกฺกยติ. น. หิกฺกน (นปุ.) การกำจัด, ฯลฯ.

หึส หิสิ หึสายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. หึเสติ หึสยติ. น. หึสก (วิ.) ผู้กำจัด, ฯลฯ. หึสน (นปุ.) หึสานา หึสา (อิต.) การกำจัด, ฯลฯ.

หีฬฺ นินฺทายํ
ติเตียน นินทา กล่าวร้าย ยกโทษขึ้นพูด. ก. หีเฬติ หีฬยติ. น. หีลิต หีฬิต (วิ.) ติเตียน, ฯลฯ.

หีฬฺ ลชฺชเน
อาย ละอาย. ก. หีเฬติ หีฬยติ. น. หีลิต หีฬิต (วิ.) อาย, ละอาย.

หุล ขิปเน
ขว้างไป ซัดไป เหวี่ยงไป พุ่งไป ยิงไป. ก. โหเลติ โหลยติ. น. โหลน (นปุ.) การขว้างไป, ฯลฯ.

เหฐฺ วิพาธายํ
กำจัด ฯลฯ. ก. เหเฐติ เหฐยติ. น. วิเหฐน (นปุ.) การทำให้ลำบาก, การรบกวน, การกำจัด, ฯลฯ.



______________________________
บทส่งท้าย

พจนานุกรมกริยาอาขยาตฉบับนี้เป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าเคยพบมา เดิมพจนานานุกรมฉบับนี้ชื่อว่า “พจนานุกรมกริยาอาขยาต ฉบับธรรมเจดีย์” ซึ่งข้าพเจ้าได้ดาวน์โหลดมาจาก เว็บไซต์ http://www.watmahathatu.in.th/ ของสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ ของเดิมเป็นไฟล์ .xls ที่เป็นระเบียบเรียบร้อยดีมาก ค้นหาง่าย หาศัพท์ได้เร็ว แต่ว่าไม่สามารถสำเร็จประโยชน์ได้เต็มที่ประสงค์ ดังนั้น ข้าพเจ้าเลยแปลงมาเป็นไฟล์ธรรมดาแล้วก็เอาใส่ไว้ในเว็บไซต์แห่งนี้เพื่อให้เป็นธรรมทานแก่นักศึกษาผู้ใฝ่ใคร่รู้ภาษาบาลีต่อไป
กราบขออนุญาตเจ้าของผู้เขียนผู้เรียบเรียงมา ณ ที่นี้ หากมีข้อผิดพลาดประการไดกรุณาแจ้งมาให้ทราบ จักเป็นความกรุณาอย่างสูงสุด  เรียนมาด้วยไมตรีจิตและเคารพยิ่ง  สว.

Keine Kommentare: