ปัญหาและเฉลยวิชาเบญจศีล-เบญจธรรม
ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
พ.ศ.
๒๕๔๓
วันเสาร์
ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๔๓
----------------------------------------
๑.
ข้อใดเป็นประโยชน์สูงสุด
ในการศึกษาเบญจศีล-เบญจธรรม
?
ก.
เพื่อให้รอบรู้วิทยาการแขนงต่าง
ๆ
ข.
เพื่อส่งเสริมสติปัญญา
ให้เฉลียวฉลาด
ค.
เพื่อแก้ไขกรณีพิพาท
ทางศาสนาที่เกิดขึ้นในสังคม
ง.
เพื่อรู้หลักธรรม
และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
๒.
ข้อใดไม่ใช่ความหมายที่โยงใยกับคำว่า
“ ศีล
” ?
ก.
อาบัติ
ข.
วินัย
ค.
วิรัติ
๓.
ศีลแต่ละข้อ
มีส่วนประกอบเป็นเครื่องตัดสินว่า
ผิด หรือ ไม่ผิด ส่วนประกอบแต่ละข้อ
เรียกว่าอะไร ?
ก.
สิกขาบท
ข.
วิรัติ
ค.
ข้อ
ง.
องค์
๔.
ข้อใด
กล่าวถูกต้อง ?
ก.
วิรัติ
คือเจตนางดเว้นจากความชั่ว
ข.
กัลยาณธรรม
คือ การละเว้นข้อห้าม
ค.
เบญจศีล
มีวิรัติเป็นธรรมคู่กัน
ง.
ผู้มีศีล
๕ ได้ชื่อว่ามีกัลยาณธรรม
๕.
ข้อปฏิบัติที่เรียกว่า
“ สิกขาบท
”
หมายถึงอะไร ?
ก.
องค์ประกอบของศีล
ข.
ข้อยกเว้นของศีล
ค.
ศีลข้อหนึ่ง
ๆ
ง.
เครื่องอุดหนุนให้ศีลผ่องใส
๖.
ศีล ๕
และธรรม ๕ มีความสำคัญอย่างไร
?
ก.
ช่วยสงวนพันธุ์สัตว์
ข.
ช่วยลดคดีหมิ่นประมาท
ค.
ทำให้การเบียดเบียนกันลดลง
ง.
ทำให้เศรษฐกิจมีความมั่นคงขึ้น
๗.
โจรกรรมโดยใช้กุญแจผีเปิดประตูบ้าน
และนำของมีค่าไป จัดเป็น…?
ก.
ขโมย
ข.
ตัดช่อง
ค.
ลักลอบ
ง.
ปลอม
๘.
ความแตกร้าวในหมู่มนุษย์
ความไม่ไว้วางใจกัน
ป้องกันได้ด้วยศีลข้อใด ?
ก.
กาเมสุ
มิจฉาจารา เวรมณี
ข.
มุสาวาทา
เวรมณี
ค.
ปาณาติปาตา
เวรมณี
ง.
อทินนาทานา
เวรมณี
๙.
คำว่า
“ สีเลนะ
สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
”
กล่าวถึงอะไร ?
ก.
อาราธนาศีล
ข.
อานิสงส์ศีล
ค.
สมาทานศีล
ง.
นิจศีล
๑๐.
เบญจศีล
กับกัลยาณธรรม ข้อใดไม่มีความสัมพันธ์ต่อกัน
?
ก.
ไม่ดื่มน้ำเมา
-
มีสติรอบคอบ
ข.
ไม่แย่งชิงของรัก
-
เมตตากรุณา
ค.
ไม่พูดเท็จ
- ความสัตย์
ง.
ไม่ลักทรัพย์
-
มีอาชีพสุจริต
๑๑.
เท็จจริงเพียงไรกับข้อที่ว่า
ทรัพย์ที่ได้มาด้วยโจรกรรม
ไม่นำความสุขมาให้ ?
ก.
เห็นด้วย
เพราะสักวันหนึ่งกรรมจะตามทัน
ข.
เห็นด้วย
เพราะสุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี
ค.
ไม่เห็นด้วย
เพราะคนทุจริตร่ำรวย
และอยู่เป็นสุข
ง.
ไม่เห็นด้วย
เพราะไม่มีเงิน ก็ไม่มีความสุข
๑๒.
โจรปล้นแล้วฆ่าเจ้าของทรัพย์ตายโดยจงใจ
ตกอยู่ในฐานอะไร ?
ก.
ฐานแห่งโลภะ
ข.
ฐานแห่งโทสะ
ค.
ฐานแห่งโมหะ
ง.
ฐานแห่งพยาบาท
๑๓.
ยืมหนังสือห้องสมุดไปแล้ว
ไม่ส่งคืน เก็บเอาไว้เป็นของตน
จัดเป็นโจรกรรมประเภทไหน
?
ก.
กรรโชก
ข.
ฉก
ค.
ปล้น
ง.
ตระบัด
๑๔.
การชนวัว
ตีไก่ เป็นลักษณะของการทรมานแบบใด
?
ก.
การใช้งาน
ข.
การเล่นสนุก
ค.
การผจญสัตว์
ง.
การเล่นกีฬา
๑๕.
ในศีลข้อที่
๓ ข้อใดไม่ใช่หญิงที่จารีตห้าม
?
ก.
ลูกหลานตนเอง
ข.
แม่ชี
ค.
ภิกษุณี
สามเณรี
ง.
หญิงที่เป็นใหญ่ด้วยตนเอง
๑๖.
เพราะเหตุไรศีลข้อที่
๓ จึงจัดให้อยู่ในกลุ่มเบญจศีลด้วย
?
ก.
เพราะมนุษย์มีราคะ
ข.
เพราะมนุษย์มีโทสะ
ค.
เพราะมนุษย์มีโมหะ
ง.
เพราะมนุษย์ต้องอยู่เป็นคู่
๑๗.
ประเทศไทยเป็นเมืองพระพุทธศาสนา
เหตุไฉนข่าวการละเมิดศีลข้อที่
๓ จึงมีอยู่มาก ?
ก.
มีการเรียนรู้
แต่ไม่นำมาปฏิบัติ
ข.
กระแสวัตถุนิยมรุนแรง
ค.
ไม่มีการยกย่องคนดีให้ปรากฏ
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๘.
กิริยาอาการแห่งมุสาวาท
ได้แก่ ?
ก.
มุสาทางกาย
ข.
มุสาทางวาจา
ค.
มุสาทางกาย
วาจา
ง.
มุสาทางกาย
วาจา ใจ
๑๙.
ผู้ใดแสดงอาการมุสา
ประเภททำเลศ ?
ก.
นาย
ก.
ยุให้เขาแตกกัน
ข.
นาย
ข.
อวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่จริง
ค.
นาย
ค.
พูดโกหกเกินความจริง
ง.
นาย
ง.
พูดโกหกเล่นสำนวนต่าง
ๆ
๒๐.
การวิวาทกัน
บันดาลโทสะแล้วฆ่ากันตาย
เป็นการผิดศีลโดยอาการอย่างไร
?
ก.
โดยเจตนา
ข.
โดยไม่เจตนา
ค.
โดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ง.
โดยฐานพยาบาท
๒๑.
ข้อใด
หมายถึง ปฏิสสวะ…?
ก.
ผิดสัญญา
เสียสัตย์ คืนคำ
ข.
ผิดสัญญา
พลั้งเผลอ
ค.
เสียสัตย์
คืนคำ สำคัญผิด
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๒.
พระสงฆ์เทศน์เกี่ยวกับสัตว์พูดได้
ถือว่าขาดศีลข้อที่ ๔ หรือไม่
?
ก.
ขาดศีล
เพราะสัตว์พูดไม่ได้
ข.
ไม่ขาดศีล
เพราะใคร ๆ ก็รู้ว่าสัตว์พูดไม่ได้
ค.
ไม่ขาดศีล
เพราะเป็นโวหารของผู้เทศน์
ง.
ไม่ขาดศีล
เพราะเป็นนิทานชาดกในคัมภีร์
๒๓.
ข้อใด
ไม่จัดเป็นองค์ประกอบของศีลข้อที่
๔ ?
ก.
ตั้งใจพูดให้ผิด
ข.
พยายามพูดให้เท็จ
ค.
ข้อความที่ไม่เป็นเท็จ
ง.
มีผู้ฟังเข้าใจตามที่พูด
๒๔.
พุทธภาษิตว่า
“ คนพูดไม่จริง ย่อมตกนรก
”
หมายความว่า…?
ก.
พูดดี
เป็นศรีแก่ปาก
ข.
ปากเป็นเอก
เลขเป็นโท
ค.
ปลาหมอ
ตายเพราะปาก
ง.
ผิดทุกข้อ
๒๕.
นิทานอีสป
เรื่องเด็กเลี้ยงแกะ
เป็นอาการของผู้ทำผิดในลักษณะใด
?
ก.
มุสา
ข.
เสริมความ
ค.
สัปปลับ
ง.
อำความ
๒๖.
นักเขียนบางคนต้องดื่มสุรา
จึงเขียนผลงานได้ดี
ไม่ขัดกับศีลข้อที่ ๕ หรือ
?
ก.
ขัดกัน
แต่อนุโลมเป็นข้อยกเว้นได้
ข.
ไม่ขัดกัน
เพราะระดับความเมาของคนต่างกัน
ค.
ไม่ขัดกัน
เพราะมีการพักบางขณะ
ง.
ขัดกัน
เพราะไม่มีข้อยกเว้น
๒๗.
ข้อใด
ไม่จัดเป็นโทษของน้ำเมา ?
ก.
เกิดโรคมาลาเรีย
ข.
ก่อเหตุทะเลาะวิวาท
ค.
เสียทรัพย์สมบัติ
ง.
พ่อแม่
พลอยเสียชื่อเสียงด้วย
๒๘.
สิ่งที่เรียกว่า
“ เมรัย
”
มีลักษณะอย่างไร ?
ก.
น้ำเมาที่กลั่นเพื่อให้เข้มข้น
ข.
น้ำเมาที่เกิดจากการหมัก
หรือดอง
ค.
ฝิ่น
กัญชา เฮโรอีน
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๙.
ในศีลทั้ง
๕ ข้อ ข้อใดที่ล่วงแล้วสามารถทำผิดข้ออื่นได้อีก
?
ก.
ข้อที่
๕
ข.
ข้อที่
๔
ค.
ข้อที่
๓
ง.
ข้อที่
๒
๓๐.
การสูบฝิ่น
สูบกัญชา เสพยาบ้า ยาอี
จัดว่าผิดศีลข้อ ๕ หรือไม่
?
ก.
ไม่ผิดศีล
เพราะการค้าขายทำให้เศรษฐกิจขยายตัว
ข.
ไม่ผิดศีล
เพราะไม่มีข้อห้ามในพุทธบัญญัติ
ค.
ผิดศีล
เพราะจัดเป็นเมรัย
ง.
ผิดศีล
เพราะจัดเป็นยาเสพติดให้โทษ
๓๑.
ข้อใด
มิใช่เป็นเหตุแห่งการบัญญัติศีลข้อที่
๕ ?
ก.
เพื่อป้องกันมิให้ละเมิดศีลข้อที่
๑ - ๔
ข.
เพื่อให้มีสติสัมปชัญญะครบถ้วน
ในแต่ละวัน
ค.
เพื่อป้องกันการทะเลาะวิวาท
ง.
เพื่อให้มีบุคลิกภาพดี
เหมาะสมกับการดำรงตำแหน่งสำคัญ
๓๒.
สุกรนอนอยู่ในเล้า
ไม่ละเมิดศีลทั้ง ๕ ข้อ
ถือว่าสุกรมีศีล หรือไม่ ?
ก.
ไม่มีศีล
เพราะเป็นธรรมชาติของสัตว์
ข.
ไม่มีศีล
เพราะไม่มีวิรัติคือเจตนางดเว้น
ค.
ไม่มีศีล
เพราะสัตว์รับศีลไม่ได้
ง.
มีศีล
เพราะสัตว์รักษาศีลได้
๓๓.
เมื่อเราไปร่วมงานเลี้ยง
เราปฏิเสธสุราที่เขานำมาให้
จัดเป็นวิรัติข้อใด ?
ก.
สมุจเฉทวิรัติ
ข.
สัมปัตตวิรัติ
ค.
สมาทานวิรัติ
ง.
เจตนาวิรัติ
๓๔.
พระอรหันต์ท่านมีศีลบริบูรณ์
เพราะมีวิรัติข้อใด ?
ก.
สมุจเฉทวิรัติ
ข.
สัมปัตตวิรัติ
ค.
สมาทานวิรัติ
ง.
เจตนาวิรัติ
๓๕.
กัลยาณชนมีศีลอย่างเดียวไม่เพียงพอหรือ
เหตุใดต้องมีกัลยาณธรรมด้วย
?
ก.
เพื่อปฏิบัติคุณพิเศษให้ยิ่งขึ้นไปกว่าศีล
ข.
เพื่อระมัดระวังความชั่วต่าง
ๆ
ค.
เพื่อป้องกันความชั่วรุกราน
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๖.
ข้อใด
ไม่ใช่อาการของสติสัมปชัญญะ
?
ก.
ความรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร
ข.
ความไม่เลินเล่อในการทำงาน
ค.
ความประพฤติธรรมในกิจอันเป็นหน้าที่
ง.
ความรู้จักประมาณในการสร้างตน
๓๗.
ข้อใด
กล่าวได้ถูกต้อง ?
ก.
เมตตากำจัดวิหิงสา
ข.
กรุณากำจัดพยาบาท
ค.
เมตตากำจัดพยาบาท
ง.
กรุณากำจัดวิหิงสา
๓๘.
นักเรียนพบแมวถูกรถชน
ได้เข้าช่วยเหลือพยาบาล
จัดเป็นผู้มี…?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๙.
ขณะนี้
มีผู้ผลิตสินค้าบางรายปลอมแปลงสินค้า
แสดงว่า…?
ก.
ไม่ประพฤติเป็นธรรมในกิจการ
ข.
ไม่ประพฤติเป็นธรรมในบุคคล
ค.
ไม่ประพฤติเป็นธรรมในวัตถุ
ง.
ไม่ประพฤติเป็นธรรมในอาชีพ
๔๐.
ข้อใด
กล่าวไม่ถูกต้อง ?
ก.
สทารสันโดษ
ยินดีพอใจในภรรยาของตน
ข.
ปติวัตร
ถือสามีเสมือนบิดา
ค.
ชายหญิงมักมากในกาม
ไม่มีสง่าราศรี ไม่พ้นข้อครหา
ง.
ความสำรวมในกาม
เป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตคู่
๔๑.
ข้อใด
ไม่ได้หมายถึงเบญจธรรม
ข้อที่ ๔ ?
ก.
ความกตัญญู
ข.
ความซื่อตรง
ค.
ความเที่ยงธรรม
ง.
ความรับผิดชอบ
๔๒.
ผู้พิพากษา
จัดว่ามีความสัตย์ประเภทไหน
?
ก.
ความกตัญญู
ข.
ความซื่อตรง
ค.
ความเที่ยงธรรม
ง.
ความรับผิดชอบ
๔๓
ความไม่เลินเล่อในการงาน
เป็นอาการของเบญจธรรมข้อใด
?
ก.
ความมีสัตย์
ข.
เมตตา
- กรุณา
ค.
สัมมาอาชีวะ
ง.
ความมีสติรอบคอบ
๔๔.
ข้อใด
ไม่ใช่ความหมายของคำว่า “
อุโบสถ ”
?
ก.
เป็นชื่อของวันจำศีล
ข.
วันพระ
ค.
เป็นชื่อของศีลที่รักษาในวันจำศีล
ง.
โรงอุโบสถสำหรับพระสวดปาฏิโมกข์
๔๕.
คฤหัสถ์เมื่อต้องการบำเพ็ญกุศลให้เป็นส่วนพิเศษ
พึงรักษา…?
ก.
ศีล ๕
ข.
ศีล
๑๐
ค.
ศีล
๒๒๗
ง.
อุโบสถศีล
๔๖.
ข้อใด
ไม่จัดอยู่ในอุโบสถศีล ?
ก.
ไม่จับเงินทอง
ข.
ไม่ลักของผู้อื่น
ค.
ไม่ฟ้อนรำขับร้อง
ง.
ไม่พูดปด
๔๗.
ผู้รักษาอุโบสถศีลบางคน
พูดนินทาคนโน้น คนนี้
จัดเป็นผู้ถืออุโบสถศีลประเภทไหน
?
ก.
โคปาลอุโบสถ
ข.
นิคคัณฐอุโบสถ
ค.
อริยอุโบสถ
ง.
นินทาอุโบสถ
๔๘.
คำว่า
“ อุโบสถ
” แปลว่าอะไร
?
ก.
การเข้าจำ
ข.
การละเว้น
ค.
การรักษา
ง.
การเข้มงวด
๔๙.
อุโบสถศีล
ที่รักษาเฉพาะวันหนึ่งคืนหนึ่ง
เรียกว่าอะไร ?
ก.
ปกติอุโบสถ
ข.
โคปาลอุโบสถ
ค.
ปฏิชาครอุโบสถ
ง.
ปาฏิหาริกอุโบสถ
๕๐.
การรักษาศีลด้วยการระลึกถึงพระรัตนตรัย
ฟังธรรม และสนทนาธรรม เป็นอุโบสถ
ชนิดใด ?
ก.
นิคคัณฐอุโบสถ
ข.
ปกติอุโบสถ
ค.
โคปาลอุโบสถ
ง.
อริยอุโบสถ
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen