Donnerstag, 25. August 2016

ปัญหาและเฉลย (วิชาเบญจศีล-เบญจธรรม) ธรรมศึกษาชั้นตรี ปี ๒๕๔๔

ปัญหาและเฉลยวิชาเบญจศีล-เบญจธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๔
คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว โดยกากบาทในช่องของข้อ
ที่ต้องการ ลงในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
....................................................... 
. คุณธรรมอะไร ทำคนให้เป็นคน และทำโลกให้ปราศจากภัยเวร ?
. ศีล
. สมาธิ
. ปัญญา
. เมตตา


. ข้อใด คือประโยชน์แห่งการบัญญัติศีล ?
. เพื่อละกิเลสได้ทั้งหมด
. เพื่อทำใจให้สงบ
. เพื่อฝึกหัดกาย วาจาให้เรียบร้อย
. ถูกทุกข้อ

. ศีลข้อใด ทำผู้รักษาให้มีสติสมบูรณ์ ?
. งดฆ่าสัตว์
. งดลักทรัพย์
. งดพูดเท็จ
. งดดื่มสุราเมรัย

. ผู้รักษาศีลดีแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ข้อใด ?
. โภคสมบัติ
. สวรรคสมบัติ
. นิพพานสมบัติ
. ถูกทุกข้อ

. เบญจศีล ได้แก่ศีลประเภทใด ?
. ศีล ๕
. ศีล ๘
. ศีล ๑๐
. ศีล ๒๒๗

. เบญจศีลข้อใด จัดเป็นมโนกรรม ?
. ข้อ ๑ กับข้อ ๒
. ข้อ ๒ กับข้อ ๔
. ข้อ ๓ กับข้อ ๕
. ไม่มีข้อถูก


. การห้ามฆ่าสัตว์นั้น สัตว์ในข้อใดถูกต้องที่สุด ?
. สัตว์เดรัจฉาน
. สัตว์มนุษย์
. สัตว์โลก
. สัตว์มีชีวิต

. ข้อใด มิใช่ปาณาติบาต ?
. ฆ่าความเป็นคนอกตัญญู
. ทำแท้ง
. ประหารชีวิตนักโทษ
. ฆ่าตัวเอง

. ศีลข้ออทินนาทาน บัญญัติขึ้นเพื่อประสงค์อะไร ?
. ให้มีเมตตาต่อกัน
. ให้มีสติรอบคอบ
. ให้เคารพสิทธิส่วนบุคคล
. ให้เลี้ยงชีพในทางที่ชอบ

๑๐. ยืมเงินเพื่อนแล้ว ไม่ใช้คืน จัดเข้าในโจรกรรมข้อใด ?
. ตู่
. กรรโชก
. เบียดบัง
. ตระบัด

๑๑. ข้อใด ไม่นับเข้าในโจรกรรม ?
. ตู่
. ฉ้อ
. ยักยอก
. นำไป

๑๒. ซ่อนของที่ต้องเสียภาษี ไม่ยอมเสียภาษี เป็นโจรกรรมประเภทใด ?
. ลักลอบ
. เบียดบัง
. ยักยอก
. ฉ้อโกง

๑๓. ช้าง ม้า วัว ควาย จัดเข้าในทรัพย์ประเภทใด ?
. สวิญญาณกทรัพย์
. อวิญญาณกทรัพย์
. สังหาริมทรัพย์
. อสังหาริมทรัพย์

๑๔. ศีลข้อมุสาวาท บัญญัติขึ้นเพื่อประสงค์อะไร ?
. ให้เป็นคนขยัน
. ให้เป็นคนซื่อสัตย์
. ให้เป็นคนประหยัด
. ให้เป็นคนกตัญญู

๑๕. การพูดให้คนแตกแยกกัน เรียกว่าอะไร ?
. พูดส่อเสียด
. พูดคำหยาบ
. พูดเพ้อเจ้อ
. พูดอำความ

๑๖. อย่างไรจึงได้ชื่อว่าเมาไม่ขับ ตามหลักของเบญจศีล ?
. งดเที่ยวคาราโอเกะ
. งดเที่ยวกลางคืน
. งดมั่วสุมทางเพศ
. งดดื่มสุรา

๑๗. ข้อใด จัดเข้าในเมรัย ?
. สุรา
. ฝิ่น
. เบียร์
. ยาบ้า

๑๘. ข้อใด แนะนำมิให้นักศึกษาขายตัว ตามหลักของเบญจศีล ?
. ให้ห่างไกลจากยาเสพย์ติด
. มิให้ประพฤติล่วงประเวณี
. ให้ใช้จ่ายอย่างประหยัด
. มิให้คบคนชั่วเป็นมิตร

๑๙. " ปลาหมอตายเพราะปาก " เป็นอาการของผู้ทำผิดศีลข้อใด ?
. งดบริโภคในเวลาวิกาล
. งดดื่มน้ำเมา
. งดพูดเท็จ
. งดฟ้อนรำ ขับร้อง

๒๐. กิริยาที่ละเว้นจากข้อห้ามนั้น เรียกว่าอะไร ?
. สัมปัตตวิรัติ
. สมาทานวิรัติ
. สมุจเฉทวิรัติ
. วิรัติ

๒๑. ตั้งใจจะไปฆ่าเขา ไปแล้วไม่พบ เลยต้องงดไป จัดเป็นวิรัติหรือไม่ ?
. เป็น เพราะตั้งใจไว้แล้ว
. เป็น เพราะละเว้นโดยธรรมดา
. ไม่เป็น เพราะไม่ได้ตั้งใจละเว้น
. ไม่เป็น เพราะยังไม่ได้สมาทาน

๒๒. ตั้งใจจะไปลักทรัพย์ แต่เปลี่ยนใจ เพราะคิดว่าไม่ควร จัดเป็นวิรัติข้อใด ?
. สัมปัตตวิรัติ
. สมาทานวิรัติ
. สมุจเฉทวิรัติ
. ไม่จัดเป็นวิรัติ

๒๓. คนทุศีล จะบำเพ็ญกัลยาณธรรมให้บริบูรณ์ได้หรือไม่ ?
. ได้ เพราะเป็นคนละส่วนกัน
. ไม่ได้ เพราะศีลเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้น
. ได้ เพราะเป็นส่วนเดียวกัน
. ไม่ได้ เพราะศีลเป็นข้อปฏิบัติที่ยิ่งกว่า

๒๔. กัลยาณธรรมนั้นกล่าวโดยความ ตรงกับข้อใด ?
. ข้อปฏิบัติต่ำกว่าศีล
. ข้อปฏิบัติเสมอศีล
. ข้อปฏิบัติยิ่งกว่าศีล
. ไม่มีข้อถูก

๒๕. ข้อใด มีอยู่ในเบญจธรรม ?
. สัมมาวาจา
. สัมมากัมมันตะ
. สัมมาอาชีวะ
. สัมมาวายามะ

๒๖. ข้อใด จัดเป็นกรุณา ?
. ช่วยดูแลทรัพย์สินของเพื่อนบ้าน
. ให้ความช่วยเหลือผู้ประสพภัยน้ำท่วม
. สร้างบ้านพักให้คนชรา
. สร้างศาลาถวายวัด

๒๗. ข้อใด จัดเป็นเมตตา ?
. ปรารถนาช่วยคนตกน้ำ
. ปรารถนาให้เขาเป็นสุข
. ปรารถนาช่วยโจรบาดเจ็บ
. ปรารถนาช่วยนักโทษประหาร

๒๘. " วันนี้ อย่าเพิ่งทำงานเลย พรุ่งนี้ก็ทันถมเถไป " ตรงกับข้อใด ?
. พูดเพ้อเจ้อ
. ชอบอ้างแล้วไม่ทำงาน
. เลินเล่อในการทำงาน
. หนักไม่เอา เบาไม่สู้

๒๙. การลักลอบผลิตเทปผี ซีดีเถื่อน ชื่อว่าประพฤติไม่เป็นธรรมในอะไร ?
. กิจการ
. บุคคล
. วัตถุ
. ไม่มีข้อถูก

๓๐. ลูกจ้างทำงานด้วยความตั้งใจ ตรงเวลา ชื่อว่าประพฤติธรรมในอะไร ?
. กิจการ
. บุคคล
. วัตถุ
. บุคคล และ กิจการ

๓๑. ข้อใด เป็นลักษณะของทรัพย์ที่ได้จากการเล่นการพนัน ?
. มีความเสียดายน้อย
. เป็นของได้มาง่าย
. เป็นของได้มาไม่ง่าย
. ข้อ ก. และ ข. ถูก

๓๒. ข้อใด ไม่มีอยู่ในโทษของการเล่นการพนัน ?
. เมื่อชนะย่อมก่อเวร
. ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคำ
. เสียชื่อเสียง
. เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน

๓๓. สทารสันโดษ เป็นคุณสำหรับประดับใคร ?
. ผู้ชาย
. ผู้ใหญ่
. ผู้หญิง
. ผู้เยาว์

๓๔. ปติวัตร ตรงกับข้อใด ?
. บุตรซื่อสัตย์ต่อบิดา มารดา
. ศิษย์ซื่อสัตย์ต่อครู อาจารย์
. ภรรยาซื่อสัตย์ต่อสามี
. สามีซื่อสัตย์ต่อภรรยา

๓๕. การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตึกถล่มที่อเมริกาให้พ้นจากความตาย ตรงกับเบญจธรรมข้อใด ?
. เมตตา
. ความมีสติสัมปชัญญะ
. กรุณา
. ความมีน้ำใจงาม

๓๖. คนใจดีมีเมตตา ย่อมได้รับอานิสงส์อย่างไร ?
. นอนหลับเป็นสุข
. ตื่นเป็นสุข
. เป็นที่รักของอมนุษย์
. ถูกทุกข้อ

๓๗. เยาวชนจะห่างไกลจากยาเสพย์ติดได้ ควรตั้งอยู่ในกัลยาณธรรมข้อไหน ?
. มีความสัตย์
. มีสติรอบคอบ
. สำรวมในกาม
. ขยันเรียน

๓๘. ข้อใด ไม่ใช่อาการของความมีสัตย์ ?
. ความเที่ยงธรรม
. ความเที่ยงของสังขาร
. ความซื่อตรง
. ความกตัญญู

๓๙. การไม่ชักชวนเพื่อนไปในทางเสียหาย เช่นเสพยาบ้า จัดเข้าในข้อใด ?
. ความเที่ยงธรรม
. ความสวามิภักดิ์
. ความซื่อตรง
. ความกตัญญู

๔๐. ผู้มีความประพฤติไม่ลุอำนาจอคติ ๔ ข้อใดถูกต้อง ?
. มีความเที่ยงธรรม
. มีความจงรักภักดี
. มีความสัตย์ซื่อ
. ถือคุณธรรม

๔๑. " ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ " หมายถึงคนเช่นไร ?
. คนเห็นแก่ได้
. คนดีแต่พูด
. คนประจบสอพลอ
. คนเอาแต่ใจ

๔๒. ข้อใด ควบคุมการทำ พูด คิด ไม่ให้ผิดพลาด ?
. มีสติตั้งมั่น
. รู้สึกตัวตลอดเวลา
. มีสติสัมปชัญญะ
. ไม่ประมาทพลาดพลั้ง

๔๓. คนที่ตั้งใจไหว้พระสวดมนต์มิได้ขาด ตักบาตรทุกเช้า ชื่อว่าประพฤติเบญจธรรมข้อใด ?
. ความไม่ประมาทในธรรม
. ความไม่เลินเล่อในการงาน
. ความเที่ยงธรรม
. ความซื่อสัตย์

๔๔. การพิจารณาเห็นสภาพของสังขารตามความเป็นจริงว่า เรื่องแก่ เจ็บ ตาย เป็นของธรรมดา ดังนี้ เรียกว่าอะไร ?
. ความไม่ประมาทในสังขาร
. ความไม่ประมาทในธรรม
. ความมีสติสัมปชัญญะในสังขาร
. ความมีสติสัมปชัญญะในธรรม

๔๕. อุโบสถศีล มีกี่ข้อ ?
. ๕ ข้อ
. ๘ ข้อ
. ๒๒๗ ข้อ
. ๓๑๑ ข้อ

๔๖. ข้อใด ไม่จัดอยู่ในอุโบสถศีล ?
. ไม่จับเงินทอง
. ไม่ลักของผู้อื่น
. ไม่ฟ้อนรำขับร้อง
. ไม่พูดปด

๔๗. การสมาทานอุโบสถศีลนั้น จะสมาทานที่ไหน ?
. ที่วัด
. ที่บ้าน
. ที่เจดีย์
. ที่ไหนก็ได้

๔๘. อุโบสถศีลนั้น ให้สมาทานกับใคร ?
. พระภิกษุ
. ภิกษุณี
. อุบาสกอุบาสิกาผู้รู้ลักษณะศีล
. ถูกทุกข้อ

๔๙. ข้อใด เป็นประโยชน์ของอุโบสถศีลข้องดบริโภคในเวลาวิกาล ?
. เพื่อทรมานกิเลส
. เพื่อความประหยัด
. เพื่อตัดความกังวล
. เพื่อฝึกฝนตัวเอง

๕๐. คำว่า " เวลาวิกาล " ในอุโบสถศีลข้อที่ ๖ ได้แก่เวลาใด ?
. หลังเที่ยงวันเป็นต้นไป
. เวลาบ่าย
. เวลากลางคืน
. ข้อ ก. ข้อ ค. ถูก
___________
ผู้ออกข้อสอบ :
. พระเทพปริยัติโมลี วัดพระพุทธบาท จ. สระบุรี
. พระมหานายก วัดบวรนิเวศวิหาร
. พระปิฏกโกศล วัดพระพิเรนทร์
. พระศรีวิสุทธิเมธี วัดสุวรรณภูมิ จ. สุพรรณบุรี
ตรวจ/ปรับปรุง :
โดยสนามหลวงแผนกธรรม



Keine Kommentare: