Samstag, 11. Mai 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาวินัยบัญญัติ) นักธรรมชั้นโท ปี 2550



ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๐
------------------
. อภิสมาจาร มีรูปเป็น ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเป็นข้ออนุญาต อีกอย่างหนึ่งคืออะไร ? และปรับอาบัติอะไรได้บ้าง ?
ตอบ:
. อีกอย่างหนึ่งคือ ข้อห้าม ฯ
ปรับอาบัติถุลลัจจัยและอาบัติทุกกฏ ฯ

. ภิกษุใช้เครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์ปกปิดกายแทนจีวร จะผิดหรือไม่ อย่างไร ?
ตอบ:
. อาจจะผิดหรือไม่ผิดแล้วแต่กรณี ในกรณีที่ไม่มีจีวร เช่นจีวรถูกไฟไหม้ ถูกโจรชิงไปหมด นุ่งห่มผ้าของคฤหัสถ์ได้ ห้ามมิให้เปลือยกาย ถ้าไม่ปกปิด ต้องอาบัติทุกกฏ แต่ถ้าไม่มีเหตุแล้วนุ่งห่มต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

. วิธีใช้วิธีรักษาบาตรที่ถูกต้อง คืออย่างไร ?
ตอบ:
. คือ ห้ามไม่ให้ใช้บาตรต่างกระโถน คือทิ้งก้างปลา กระดูก เนื้อ หรืออื่น ๆ อันเป็นเดนลงในบาตร ห้ามไม่ให้ล้างมือหรือบ้วนปากลงในบาตร จะเอามือเปื้อนจับบาตรก็ไม่ควร ฉันแล้วให้ล้างบาตร ห้ามไม่ให้เก็บไว้ทั้งยังเปียก ให้ผึ่งแดดก่อน ห้ามไม่ให้ผึ่งทั้งยังเปียก ให้เช็ดจนหมดน้ำก่อนจึงผึ่ง ห้ามไม่ให้ผึ่งไว้นาน ให้ผึ่งสักครู่หนึ่ง ฯ

. สัทธิวิหาริก คือใคร ? อุปัชฌาย์ควรมีใจเอื้อเฟื้อสัทธิวิหาริกของตนอย่างไรบ้าง ?
ตอบ:

. คือ ภิกษุผู้พึ่งพิง ในการอุปสมบท ภิกษุถือภิกษุรูปใดเป็นอุปัชฌาย์ ก็เป็นสัทธิวิหาริกของภิกษุรูปนั้น ฯ
อุปัชฌาย์ควรมีใจเอื้อเฟื้อสัทธิวิหาริกของตนอย่างนี้ คือ
. เอาใจใส่ในการศึกษาของสัทธิวิหาริก
. สงเคราะห์ด้วยบาตร จีวร และบริขารอื่น ๆ
ถ้าของตนไม่มีก็ขวนขวายให้
. ขวนขวายป้องกันหรือระงับความเสื่อมเสียอันจักเกิดมีหรือได้มีแล้ว
แก่สัทธิวิหาริก
. เมื่อสัทธิวิหาริกอาพาธ ทำการพยาบาล ฯ

. ภิกษุอยู่จำพรรษาแล้ว มีเหตุให้ไปที่อื่น คิดว่าจะกลับมาทันภายใน วันนั้น มิได้ผูกใจสัตตาหะไว้ แต่มีเหตุขัดข้องให้กลับถึงเมื่ออรุณขึ้นเสียแล้ว เช่นนี้ พรรษาขาดหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?
ตอบ:
. ถ้าไปด้วยธุระที่ทรงอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะ พรรษาไม่ขาด ฯ
เพราะยังอยู่ในพระพุทธานุญาตนั้นเอง ทั้งจิตคิดจะกลับก็มีอยู่ ถ้าไปด้วยมิใช่ธุระที่เป็นสัตตาหกรณียะ พรรษาขาด ฯ

. ในการทำอุโบสถสวดปาติโมกข์นั้น มีบุพพกิจอะไรบ้าง ? และภิกษุอาจต้องอาบัติถุลลัจจัยด้วยเรื่องอะไรได้บ้าง ?
ตอบ:
. มีดังนี้ นำปาริสุทธิของภิกษุผู้อาพาธมา นำฉันทะของเธอมาด้วย บอกฤดู นับภิกษุ สั่งสอนนางภิกษุณี ฯ
ในเรื่องที่ว่า รู้อยู่ว่าจะมีภิกษุอื่นมาร่วมทำอุโบสถด้วยอีก แต่นึกเสียว่า ช่างเป็นไร แล้วสวด ปรับอาบัติถุลลัจจัย ฯ

. ปวารณา คืออะไร ? มีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุเช่นไรทำปวารณาได้ ? และทำในวันไหน ?
ตอบ:
. คือ การบอกให้โอกาสแก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อปรารถนาตักเตือนว่ากล่าวตนได้ ฯ
มีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสทำปวารณาแทนอุโบสถ ฯ
ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันเต็ม ๓ เดือนแต่วันจำพรรษา ฯ

. ดิรัจฉานวิชาไม่ดีอย่างไร พระศาสดาจึงตรัสห้ามไว้ ไม่ให้บอกไม่ให้เรียน ?
ตอบ:
. เป็นความรู้ที่เขาสงสัยว่าลวงหรือหลง ไม่ใช่ความรู้จริงจัง ผู้บอกเป็นผู้ลวง ผู้เรียนก็เป็นผู้หัดเพื่อจะลวงหรือเป็นผู้หลงงมงาย ฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสห้ามไว้ไม่ให้บอก ไม่ให้เรียน ฯ

. ยาวกาลิก กับ ยาวชีวิก ต่างกันอย่างไร ?
ตอบ:
. ยาวกาลิก คือ ของที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร บริโภคได้ชั่วคราว คือตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ โภชนะ ๕ นมสด นมส้ม ของขบเคี้ยว เป็นต้น
ส่วนยาวชีวิก เป็นของที่ให้ประกอบเป็นยา บริโภคได้เสมอไป ไม่มีจำกัดเวลา แต่เมื่อมีเหตุจึงบริโภคได้ ได้แก่ รากไม้ น้ำฝาด ใบไม้ ผลไม้ ยางไม้ เกลือ เป็นต้น ฯ

๑๐. อโคจร คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
ตอบ:
๑๐. คือ บุคคลก็ดี สถานที่ก็ดี อันภิกษุไม่ควรไปสู่ ฯ
มีหญิงแพศยา ๑ หญิงหม้าย ๑ สาวเทื้อ ๑ ภิกษุณี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ร้านสุรา ๑ ฯ
***********
Cr. ภาพจาก : http://www.mahamodo.com/

Keine Kommentare: