ปัญหาและเฉลยวิชาเบญจศีล-เบญจธรรม
ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี
ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๕๐
เวลา
๑๕.๐๐
น.
คำสั่ง
:
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ
ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐
คะแนน)
----------------
๑.
สิกขาบทที่ปรากฏในเบญจศีล
หมายถึงอะไร ?
ก.
องค์แห่งศีล ข.
ข้อห้ามแห่งศีล
ค.
ขอบเขตแห่งศีล ง.
การสมาทานศีล
๒.
ศีล
๕ บัญญัติไว้สำหรับบุคคลประเภทใด
?
ก.
ภิกษุ ข.
ภิกษุณี
ค.
สามเณร ง.
คนทั่วไป
๓.
เพราะเหตุใด
ผู้แรกเริ่มประพฤติความดี
จึงต้องถือศีล ?
ก.
เป็นบรรทัดของศาสนาทุกศาสนา
ข.
เป็นบรรทัดให้คนอื่นมีสุขทั่วหน้า
ค.
เป็นบรรทัดให้คนประพฤติความดี
ง.
เป็นบรรทัดให้เลี้ยงชีวิตแต่พอเพียง
๔.
ศีลที่บัญญัติขึ้นเพื่อปลูกเมตตาจิตนั้น
ควรปลูกเมตตาจิตในใคร ?
ก.
สัตว์เล็ก ข.
สัตว์ใหญ่
ค.
สัตว์มีคุณ ง.
สัตว์ทั้งปวง
๕.
ศีลข้อใด
บัญญัติขึ้นด้วยเพ่งเมตตาจิตเป็นใหญ่
?
ก.
ปาณาติบาต ข.
อทินนาทาน
ค.
กาเมสุมิจฉาจาร ง.
มุสาวาท
๖.
ฆ่ากันโดยบันดาลโทสะ
เป็นการผิดศีลลักษณะใด ?
ก.
โดยจงใจ ข.
โดยไม่จงใจ
ค.
โดยไตร่ตรอง ง.
โดยใคร่ครวญ
๗.
การกระทำใด
มุ่งเฉพาะสัตว์เดียรฉาน ?
ก.
ทรกรรม ข.
ทำร้ายร่างกาย
ค.
ฆ่าตัดคอ ง.
ทำลายทรัพย์สิน
๘.
การชนโค
ชนไก่ กัดจิ้งหรีด
จัดเป็นการกระทำประเภทใด
?
ก.
กักขัง ข.
นำไป
ค.
เล่นสนุก ง.
ผจญสัตว์
๙.
ใช้งานสัตว์เกินกำลัง
ไม่ปรานี ปล่อยให้อดอยากซูบผอม
ไม่ให้หยุดพักผ่อนตามกาล
จัดเป็นการกระทำประเภทใด
?
ก.
ใช้การ ข.
กักขัง
ค.
เล่นสนุก ง.
นำไป
๑๐.
การทำให้พิการ
จัดเข้าในการกระทำประเภทใด
?
ก.
การฆ่า ข.
การโจรกรรม
ค.
การทำร้ายร่างกาย ง.
การทรกรรม
๑๑.
อทินนาทานา
เวรมณี บัญญัติขึ้นเพื่ออะไร
?
ก.
ให้มีสติยับยั้ง ข.
ให้มีเมตตาต่อกัน
ค.
ให้ปรองดองกัน ง.
ให้เลี้ยงชีวิตถูกทาง
๑๒.
คบเพื่อนด้วยอาการไม่ซื่อสัตย์
เอาเปรียบ มุ่งแต่จะได้ฝ่ายเดียวตรงกับข้อใด
?
ก.
ปอกลอก ข.
ลักลอบ
ค.
สมโจร ง.
ยักยอก
๑๓.
การถือเอาสิ่งของที่ดีของผู้อื่น
เอาสิ่งของที่เลวของตนเข้าไว้แทนจัดเป็นการกระทำประเภทใด
?
ก.
ลักลอบ ข.
เบียดบัง
ค.
สับเปลี่ยน ง.
ยักยอก
๑๔.
แม้ทรัพย์ของตนเองก็ทำให้ผิดศีลข้อที่
๒ ได้ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ลักลอบ ข.
เบียดบัง
ค.
ตระบัด ง.
กรรโชก
๑๕.
การขู่ให้เจ้าของตกใจกลัวและถือเอาสิ่งของไป
เรียกว่าอะไร ?
ก.
ปล้น ข.
ฉ้อ
ค.
ฉก ง.
กรรโชก
๑๖.
การทำลายทรัพย์สินผู้อื่นให้เกิดความเสียหาย
เช่น เผาโรงเรียน ฟันโค
ฟันกระบือ เป็นต้น
จัดเป็นการกระทำประเภทใด
?
ก.
ทำร้าย ข.
ทรกรรม
ค.
ผลาญ ง.
กรรโชก
๑๗.
กิริยาที่ทำในเวลาสงัด
แอบเข้าไปในเรือนของผู้อื่นและหยิบฉวย
สิ่งของเขาไป
เรียกว่าอะไร ?
ก.
ตัดช่อง ข.
ย่องเบา
ค.
ลักลอบ ง.
เบียดบัง
๑๘.
กาเมสุมิจฉาจารา
เวรมณี บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันตนจากความเสียหายในเรื่องใด
?
ก.
โหดร้าย ข.
มือไว
ค.
ใจง่าย ง.
ขาดสติ
๑๙.
เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
คำว่า กาม ได้แก่กิริยาเช่นใด
?
ก.
รักใคร่กันฉันญาติ ข.
รักใคร่กันฉันเพื่อน
ค.
รักใคร่กันฉันพี่น้อง ง.
รักใคร่กันทางประเวณี
๒๐.
ผู้เป็นเทือกเถาของตน
ตรงกับข้อใด ?
ก.
แม่ ข.
ลูก
ค.
หลาน ง.
เหลน
๒๑.
หญิงที่จารีตห้าม
ยกเว้นข้อใด ?
ก.
ภิกษุณี ข.
สิกขมานา
ค.
หญิงหม้าย ง.
สามเณรี
๒๒.
ของของใคร
ใครก็รักก็หวง มีความหมายตรงกับศีลข้อใด
?
ก.
ข้อ
๑ ข.
ข้อ
๓
ค.
ข้อ
๔ ง.
ข้อ
๕
๒๓.
ชายที่มีรักเดียวใจเดียว
ไม่นอกใจภรรยาตน ตรงกับข้อใด
?
ก.
ปติวัตร ข.
สทารสันโดษ
ค.
มัตตัญญุตา
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๔.
มุสาวาท
แสดงออกได้ทางใด ?
ก.
ทางกาย ข.
ทางวาจา
ค.
ทางใจ ง.
ทางกาย
วาจา
๒๕.
การกล่าววาจาที่ไพเราะมีประโยชน์
ตรงกับศีล ๕ ข้อใด ?
ก.
ข้อ
๑ ข.
ข้อ
๒
ค.
ข้อ
๔ ง.
ข้อ
๕
๒๖.
ข้าราชการถวายสัตย์แล้ว
ภายหลังไม่ปฏิบัติตาม
เรียกว่าอะไร ?
ก.
ผิดสัญญา ข.
คืนคำ
ค.
เสียสัตย์ ง.
หลอกลวง
๒๗.
ให้การเท็จในชั้นศาล
ชื่อว่าประพฤติผิดลักษณะใด
?
ก.
พูดปด ข.
พูดคำหยาบ
ค.
พูดเพ้อเจ้อ ง.
พูดส่อเสียด
๒๘.
รู้วิชาคงกระพัน
ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก
เพื่อหลอกให้คนหลงเชื่อและนิยมตน
จัดเป็นมุสาประเภทใด ?
ก.
มารยา ข.
ทำเลศ
ค.
เสริมความ ง.
ทำเล่ห์กระเท่ห์
๒๙.
พูดประชดให้คนอื่นเจ็บใจ
ตรงกับข้อใด ?
ก.
สับปลับ ข.
ทำเลศ
ค.
เพ้อเจ้อ ง.
เสียดแทง
๓๐.
ตั้งใจจะพูดอย่างหนึ่ง
แต่ปากไพล่ไปพูดเสียอีกอย่างหนึ่ง
เช่นนี้เรียกว่าอะไร ?
ก.
โวหาร ข.
นิยาย
ค.
สำคัญผิด ง.
พลั้ง
๓๑.
พูดตัดข้อความที่ไม่ต้องการจะให้รู้ออก
เพื่อปกปิดความผิดตนให้เขาเข้าใจเป็นอย่างอื่น
ตรงกับข้อใด
?
ก.
เสริมความ ข.
ทำเลศ
ค.
อำความ ง.
มายา
๓๒.
พูดด้วยความคะนองปาก
ไม่ได้ตั้งใจให้เข้าใจผิด
ตรงกับข้อใด ?
ก.
เสียดแทง ข.
สับปลับ
ค.
ส่อเสียด ง.
ถูกทุกข้อ
๓๓.
ทั้งๆ
ที่ไม่ได้เคารพนับถืออะไร
แต่ลงท้ายจดหมายมีข้อความว่า
ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
ไม่จัดเป็นมุสาเพราะอะไร
?
ก.
ไม่ได้ตั้งใจ ข.
เป็นโวหาร
ค.
เข้าใจผิด ง.
สำคัญผิด
๓๔.
ข้อใด
เป็นมูลเหตุของความประมาทขาดสติ
?
ก.
ความยากจน ข.
ความฟุ้งซ่าน
ค.
ความเครียด ง.
ความมึนเมา
๓๕.
การเสพสิ่งเสพติด
ถือว่าผิดศีล เพราะสาเหตุใด
?
ก.
ให้ผู้เสพมีโอกาสถึงตายได้
ข.
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ค.
เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์
ง.
รัฐบาลห้ามและปราบปราม
๓๖.
การละเว้นจากข้อห้ามในสิกขาบททั้ง
๕ เรียกว่าอะไร ?
ก.
วิรัติ ข.
เจตนา
ค.
สมาทาน ง.
กัลยาณธรรม
๓๗.
ตั้งใจจะรักษาศีล
๕ มิให้ขาด มิให้ด่าง มิให้พร้อย
ตรงกับข้อใด ?
ก.
สัมปัตตวิรัติ ข.
สมาทานวิรัติ
ค.
สมุจเฉทวิรัติ ง.
ถูกทุกข้อ
๓๘.
กำลังจะทำจะทำร้ายเขา
แต่ไม่ทำ เพราะเห็นว่าไม่ควร
ตรงกับข้อใด ?
ก.
สัมปัตตวิรัติ ข.
สมาทานวิรัติ
ค.
สมุจเฉทวิรัติ ง.
ถูกทุกข้อ
๓๙.
ใจจืดใจดำ
เป็นอาการของคนขาดกัลยาณธรรมข้อใด
?
ก.
เที่ยงธรรม ข.
ซื่อตรง
ค.
สวามิภักดิ์ ง.
เมตตา
กรุณา
๔๐.
เลี้ยงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ไม่หลอกลวงผู้อื่นเลี้ยงชีวิต
ชื่อว่าปฏิบัติตามข้อใด
?
ก.
สัมมาสังกัปปะ ข.
สัมมาอาชีวะ
ค.
สัมมาวายามะ ง.
สัมมาสมาธิ
๔๑.
การขายสินค้าที่มีคุณภาพ
ตามราคาที่กำหนด ไม่เอาเปรียบลูกค้า
ชื่อว่าประพฤติเป็นธรรมในอะไร
?
ก.
กิจการ ข.
บุคคล
ค.
วัตถุ ง.
ถูกทุกข้อ
๔๒.
เรามีเวลาน้อย
ต้องรีบทำงานที่คั่งค้างให้สำเร็จ
ชื่อว่าประพฤติ
เป็นธรรมในอะไร
?
ก.
กิจการ ข.
บุคคล
ค.
วัตถุ ง.
ถูกทุกข้อ
๔๓.
ข้อใด
ส่งเสริมผู้ปฏิบัติให้รู้จักมีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ
?
ก.
ความมีสัตย์ ข.
ความสำรวมในศีล
ค.
ความสำรวมในกาม ง.
ความมีสติรอบคอบ
๔๔.
คนตรง
หมายถึงบุคคลมีความประพฤติเช่นไร
?
ก.
กตัญญู ข.
อ่อนน้อม
ค.
มีสัตย์ ง.
จงรักภักดี
๔๕.
ฉันจำใจต้องทำความผิด
เพราะรักเธอมาก ชื่อว่าขาดความ
เที่ยงธรรมข้อใด
?
ก.
ฉันทาคติ ข.
โทสาคติ
ค.
โมหาคติ ง.
ภยาคติ
๔๖.
ความมีสติรอบคอบ
ส่งเสริมการรักษาศีลข้อใด
?
ก.
ข้อ
๒ ข.
ข้อ
๓
ค.
ข้อ
๔ ง.
ข้อ
๕
๔๗.
ไม่ควรซื้อ
อย่าไปพิไรซื้อ มีความหมายตรงกับข้อใด
?
ก.
สัมมากัมมันตะ ข.
สัมมาอาชีวะ
ค.
ความมีสัตย์ ง.
สติรอบคอบ
๔๘.
ข้อใด
ไม่ใช่อาการของความมีสติรอบคอบ
?
ก.
ทำงานให้อากูล ข.
ทำงานที่ไม่มีโทษ
ค.
ทำงานอย่างตั้งใจ ง.
ทำงานระมัดระวัง
๔๙.
การปฏิบัติตามหลักเบญจศีลเบญจธรรม
คู่ใดไม่สัมพันธ์กัน ?
ก.
ไม่แย่งชิงของรัก-มีเมตตากรุณา
ข.
ไม่ลักทรัพย์-ประกอบสัมมาชีพ
ค.
ไม่พูดเท็จ-พูดแต่ความจริง
ง.
ไม่ดื่มสุรา-มีสติสัมปชัญญะ
๕๐.
เบญจศีลกับเบญจธรรม
ต่างกันอย่างไร ?
ก.
เบญจศีลควรรู้-เบญจธรรมควรละ
ข.
เบญจศีลควรละ-เบญจธรรมควรรู้
ค.
เบญจศีลควรเว้น-เบญจธรรมควรปฏิบัติ
ง.
เบญจศีลควรปฏิบัติ-เบญจธรรมควรเว้น
***
*** ***
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen