๑. ปณฺฑิตกณฺฑ
๓. ผู้รู้นีติศาสตร์ดีอย่างไร
นีติ สาโร มนุสฺสานํ, มิตฺโต อาจริโยปิ จ;
มาตา ปิตา จ นีติมา, สุตวา คนฺถการโกฯ
“นีติศาสตร์ เป็นแก่นสารของมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นประดุจมิตร ครูอาจารย์ และมารดาบิดา,
ผู้มีนีติศาตร์ นับเป็นนักปราชญ์ อาจรจนาคัมภีร์ได้.“
(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, ๓)
ศัพท์น่ารู้ :
นีติ (การนำไป, การแนะนำ, กฏ, ข้อบังคับ, ธรรมเนียม, ประเพณี) นีติ+สิ
สาโร (สาระ, แก่น) สาร+สิ
มนุสฺสานํ (ของมนุษย์ ท.) มนุสฺส+นํ
มิตฺโต (มิตร, เพื่อน) มิตฺต+สิ
อาจริโยปิ (แม้อาจารย์) อาจริโย+อปิ
จ (ด้วย, และ) นิบาตในอรรถสมุจจยะ (รวบรวมบท)
มาตา (แม่, มารดา) มาตุ+สิ
ปิตา (พ่อ, บิดา) ปิตุ+สิ
นีติมา (ผู้มีนีติ, ผู้รู้นีติศาสตร์) นีติวนฺตุ+สิ, วนฺตุ ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต.
สุตวา (ผู้มีสุตะ, ผู้มีความรู้, นักปราชญ์) สุตวนฺตุ+สิ
คนฺถการโก (ผู้กระทำคันถะ, เขียนหนังสือ, รจนาคัมภีร์) คนฺถ+การก > คนฺถการก+สิ
ว่าไปแล้วคาถาคล้ายกันกับคาถาที่ ๒ ในคัมภีร์โลกนีติ.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen