๒๔. ควรพยายยามร่ำไป
วายเมเถว ปุริโส, น นิพฺพินฺเทยฺย ปณฺฑิโต;
ปุญฺญกฺริยวตฺถูสุ, ปสํสิเตสุ วิญฺญุภิ ฯ
„เกิดเป็นคนควรเพียรร่ำไป,
คนมีปัญญาไม่ควรเบื่อหน่าย;
ในการทำบุญสร้างกุศลต่างๆ,
อันวิญญูชนทั้งหลายสรรเสริญแล้ว.“
(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, ๒๔)
..
ศัพท์น่ารู้ :
วายเมเถว ตัวบทเป็น วายเมถ+เอว (พึงพยายยามนั่นเทียว)
วายเมถ (พยายยาม, ขยัน) √วายม+อ+เอถ ภูวาทิ. กัตตุ.
ปุริโส (บุรุษ, ผู้ชาย) ปูร-ทานปูรเณสุ+อิส วิ. ปูรตีติ ปุริโส, หรือ ปุร+สิ-สเย+อ วิ. ปุเร อุจฺเจ ฐาเน เสตีติ ปุริโส (รู ๖๘๓)
น (ไม่) นิบาตบอกปฏิเสธ
นิพฺพินฺเทยฺย (เบื่อหน่อย, ท้อถอย) นิ+√วิท+อ+เอยฺย+นิคคหิตอาคม รุธาทิ. กัตตุ.
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, นักปราชญ์, ผู้ปัญญา) ปณฺฑา+อิ-คติยํ+ต วิ. ปณฺฑาย อิโต คโต ปวตฺโตติ ปณฺฑิโต, หรือ ปฑิ-คติยํ+อิ+ต วิ. ปณฺฑติ ญาณคติยา คจฺฉตีติ ปณฺฑิโต. (สัททนีติ ธาตุมาลา)
ปุญฺญกฺริยวตฺถูสุ (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ในบุญกริยาวัตถุ ท.) ปุญฺญ (บุญ, กุศล, ความดี) +กฺริย (การทำ, การสร้าง) +วตฺถุ (ที่ตั้ง, เรื่อง) ปุญฺญกฺริยวตฺถุ+สุ, หมายถึงที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๑๐ ประการ คือ ๑) ทาน, ๒) ศีล, ๓) ภาวนา, ๔) อปจายนะ (อ่อนน้อม), ๕) เวยยาวัจจะ (ขวนขวายรับใช้), ๖) ปัตติทาน (แบ่งปันบุญ), ๗) ปัตตานุโมทนา (ยินดีในความดีของผู้อื่น, ในบุญ-), ๘) ธัมมัสสวนะ (ฟังธรรม), ๙) ธัมมเทสนา (สั่งสอนธรรม), ๑๐) ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำความเห็นให้ตรง).
ปสํสิเตสุ (อัน..สรรเสริญแล้ว) ป+√สํส+อิ+ต > ปสํสิต+สุ
วิญฺญุภิ (วิญญูชน, ผู้รู้แจ้ง ท.) วิญฺญู+หิ หลังศัพท์ทั้งปวงให้ แปลง สฺมา เป็น มฺหา, หิ เป็น ภิ, สฺมึ เป็น มฺหิ ได้บ้างด้วยสูตรว่า สฺมาหิสฺมึนํ มฺหาภิมฺหิ วา. (รู ๘๑)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen