Samstag, 20. Juni 2020

๒๓.๑ เกิดเป็นคนควรหวังร่ำไป


๒๓. เกิดเป็นคนควรหวังร่ำไป

อาสีเสเถว ปุริโส, นิพฺพินฺเทยฺย ปณฺฑิโต;
อนวชฺเชสุ กมฺเมสุ, ปสํสิเตสุ สาธุภิ

เกิดเป็นคนควรหวังร่ำไป,
เป็นบัณฑิตไม่ควรถ้อถอย;
ควรพยายามในกรรมอันไม่มีโทษ,
ที่คนดีทั้งหลายสรรเสริญแล้ว.“

(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, ๒๓.)

..


ศัพท์น่ารู้ :

อาสีเสเถว ตัดบทเป็น อาสีเสถ+เอว (พึงหวังนั่นเทียว)
อาสีเสถ (หวัง, มุ่งหมาย, ปรารถนา) อา+√สีส-ปตฺถนายํ++เอถ สัตตมีวิภัตติ อัตตโนบท ปฐมบุรุษ เอกวจนะ, ลง เอถ วิภัตติหมวดสัตตมีวิภัตติ ด้วยสูตรว่า สตฺตมี เอยฺย เอยฺยุํ, เอยฺยาสิ เอยฺยาถ, เอยฺยามิ เอยฺยาม, เอถ เอรํ, เอโถ เอยฺยาวฺโห, เอยฺยํ เอยฺยามฺเห. (รู ๔๕๓), ลงสัตตมีวิภัตติในปัจจุบันกาล ด้วยสูตรว่า อนุมติปริกปฺปตฺเถสุ สตฺตมี. (รู ๔๕๔),  ในธาตวัตถสังคหะ มีแต่ สิส ธาตุ. ส่วนในนิรุตติทีปนี แสดงไว้ชัดเจนว่า สีส ธาตุ มี อา เป็นบทหน้า เป็นไปในอรรถปรารถนา.
เอว (นั้นเทียว, เท่านั้น) เป็นนิบาติบอกการตัดสิน (อวธารณ), ในบาลีน้อยว่าเป็นนิบาตบอกปฏิเสธ
ปุริโส (บุรุษ, ชาย, คน) ปุริส+สิ
(ไม่) เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ 
นิพฺพินฺเทยฺย (เบื่อหน่าย) นิ+√วิทิ++เอยฺย รุธาทิ. กัตตุ.
ปณฺฑิโต (บัณฑิต) ปณฺฑิต+สิ
อนวชฺเชสุ (ที่มีโทษ .) อนวชฺช+สุ 
กมฺเมสุ (ในกรรม .) กมฺม+สุ
ปสํสิเตสุ (ถูกสรรเสริญ, ถูกยกย่องแล้ว) ปสํสิต+สุ 
สาธุภิ (อันสาธุชน, อันคนดี .) สาธุ+หิ แปลง หิ เป็น ภิ ด้วยสูตรว่า สฺมา-หิ-สฺมึนํ มฺหา-ภิ-มฺหิ วา. (รู ๘๑)

..

Keine Kommentare: