Mittwoch, 24. Juni 2020

๒๖. คนรู้จริงแม้เทวตาก็ยังชม


๒๖. คนรู้จริงแม้เทวตาก็ยังชม

กึ กุเลน วิสาเลน, คุณหีโน ตุ โย นโร;
อกุลิโนปิ สตฺถญฺโญ, เทวตาหิปิ ปุชฺชเต

ประโยชน์อะไรด้วยตระกูลใหญ่,
เพราะว่า คนที่ขาดคุณสมบัติ;
แต่เป็นผู้รู้แจ้งในศาสตร์ แม้ไม่มีวงศ์สกุล,
เหล่าเทวดาและมนุษย์ย่อมบูชาสรรเสริญ.“

(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, ๒๖, จาณักยนีติ )

..


ศัพท์น่ารู้ :

กึ (อะไร?)  กึ+สิ
กุเลน (ด้วยตระกูล, สกุล) กุล+นา
วิสาเลน (ที่ไพศาล, ใหญ่, สูง) วิสาล+นา
คุณหีโน (ผู้ต่ำด้วยคุณ, มีคุณเลว, ขาดคุณสมบัติ) คุณ+หีน > คุณหีน+สิ
ตุ (ส่วน, แท้จริง, เพราะว่า) เป็นนิบาตแสดงความพิเศษ (วิเสสนตฺเถ)
โย (ใด) +สิ สัพพนาม
นโร (ชน, นรชน) นร+สิ
อกุลิโนปิ อกุลิโน+อปิ (แม้ไม่มีตระกูล, ไม่ได้เกิดในสกุล) +กุลิน > อกุลิน+สิ 
สตฺถญฺโญ (ผู้รู้แจ้งในศาสตร์, ผู้มีความรู้, คนมีการศึกษาดี) สตฺถ (ตำรา, หนังสือ,​ ศาสตร์) +อญฺญา (ความรู้แจ้ง) > สตฺถญฺญู+สิ อีกศัพท์หนึ่งที่ง่ายและคล้ายกัน คือ สตฺถญฺญู (ผู้รู้ศาสตร์,​ ผู้รู้ตำรา).
เทวตาหิปิ ตัดบทเป็น เทวตาหิ+อปิ (แม้เทวดา .) เทวตา+หิ 
ปุชฺชเต (อัน..ย่อมบูชา, ย่อมถูกบูชา) √ปูช-ปูชายํ++เต จุราทิ. กัมมวาจก ลง ปัจจัยในภาว-กัมมวาจกด้วยสูตรว่า ภาวกมฺเมสุ โย. (รู ๔๔๕), แปลง ชฺย เป็น ด้วยสูตรว่า ตสฺส จวคฺคยการวการตฺตํ สธาตฺวนฺตสฺส. (รู ๔๔๗) = ปู++เต,  ซ้อน (เทฺวภาวะ) ชฺ ด้วยสูตรว่า ปร เทฺวภาโว ฐาเน. (รู ๔๐) = ปู+ชฺช+เต, รัสสะสระต้นธาตุ ด้วยสูตรว่า รสฺสํ. (รู ๓๘) = ปุ+ชฺช+เต รวมเป็น ปุชฺชเต

..

Keine Kommentare: