๒๗. ปรารถนาคนตามสถานการณ์
อุกฺกฏฺเฐ สูรมิจฺฉนฺติ, มนฺตีสุ อกุตูหลํ;
ปิยญฺจ อนฺนปานมฺหิ, อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิตํ ฯ
“ในยามฉุกเฉิน ปรารถนาคนกล้า,
ในยามปรึกษา ปรารถนาคนหนักแน่น;
ในยามเลี้ยงฉลอง ปรารถนาคนที่รัก,
ในยามคดีความเกิดขึ้น ปรารถนาบัณฑิต.“
(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, ๒๗, โลกนีติ ๕๔, สูรัสสตีนีติ ๓๕, ธัมมนีติ ๓๖๖)
..
ศัพท์น่ารู้ :
อุกฺกฏฺเฐ (อุกฤษฏ์, เลิศ, ประเสริฐ, สูงยิ่ง) อุกฺกฏฺฐ+สฺมึ ในโลกนีติ เป็น สงฺคาเม (ในยามสงคราม, การรบ)
สูรมิจฺฉนฺติ ตัดบทเป็น สูรํ+อิจฺฉนฺติ (ชน ท. ย่อมปรารถนา ซึ่งคนกล้าหาญ)
สูรํ (ซึ่งคนกล้า) สูร+อํ
อิจฺฉนฺติ (ย่อมปรารถนา, ต้องการ, ประสงค์, มุ่งมาย) √อิสุ+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ. แปลงที่สุดธาตุแห่ง อิสุ และ ยมุ ธาตุเป็น จฺฉ ด้วยสูตรว่า อิสุยมูนมนฺโต จฺโฉ วา. (รู ๔๗๖)
มนฺตีสุ (ในผู้มีความคิด ท., ที่ปรึกษา, อำมาตย์) มนฺตี+สุ (คำนี้น่าจะคุณนามมากว่า ในที่นี้แปลเป็นนาม เพื่อเอาความ)
อกุตูหลํ (ความไม่โกลาหล, ไม่อึกกะทึก, คนหนักแน่น, คนไม่ตื่นเต้น) อกุตูหล+อํ
ปิยญฺจ ตัดบทเป็น ปิยํ+จ (ซึ่งคนเป็นที่รัก)
อนฺนปานมฺหิ (ในเวลากินข้าวและดื่มน้ำ, ในงานเลี้ยงฉลอง) อนฺน+ปาน > อนฺนปาน+สฺมึ
อตฺเถ (อรรถ, ประโยชน์, เรื่อง, คดีความ) อตฺถ+สฺมี
ชาเต จ (เกิดแล้ว ด้วย) ชาต+สฺมึ
ปณฺฑิตํ (ซึ่งบัณฑิต, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+อํ
อนึ่งควรทราบอรรถแห่ง อตฺถ ศัพท์ ในอภิธานัปปทีปิกา คาถา ๗๘๕ กล่าวไว้ว่า
อตฺโถ ปโยชเน สทฺทา-, ภิเธยฺเย วุทฺธิยํ ธเน;
วตฺถุมฺหิ การเณ นาเส, หิเต ปจฺฉิมปพฺพเต.
อตฺถ ศัพท์ พึงมีในอรรถ ๙ อย่างคือ ปโยชเน -ในประโยชน์, สทฺทาภิเธยฺเย -ในอรรถที่ศัพท์กล่าวถึง, วุฑฺฒิยํ -ในความเจริญ, ธเน-ในทรัพย์, วตฺถุมฺหิ -ในเรื่อง, การเณ -ในเหตุ, นาเส - ในความพินาศ, หิเต ในประโยชน์เกื้อกูล, ปจฺฉิมปพฺพเต -ในภูเขาทิศตะวันตก. (ที่มาสุตตนิปาต อาลาวกสุตต อัฏฐกถา)
ถ้าเรียงประโยคใหม่ให้ชัด (สำหรักนักเรียนใหม่) ก็น่าจะเป็น ดังนี้.
๑. อุกฺกฏฺเฐ สูรํ อิจฺฉนฺติ
(ชน ท. ย่อมปรารถนา ซึงคนกล้า ในยามฉุกเฉิน),
๒. มนฺตีสุ อกุตูหลํ อิจฺฉนฺติ
(ชน ท. ย่อมปรารถนา ซึ่งคนหนักแน่น ในยามปรึกษาหารือ),
๓. อนฺนปานมฺหิ ปิยญฺจ อิจฺฉนฺติ
(ชน ท. ย่อมปรารถนา ซึ่งคนผู้เป็นที่รัก ในเวลากินข้าวและดื่มน้ำ),
๔. อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิตํ อิจฺฉนฺติ
(ชน ท. ย่อมปรารถนา ซึ่งคนมีปัญญา ในเวลามีเรื่องอันเกิดขึ้นแล้ว)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen