๒๙. ปัญญาบริสุทธิ์ดุจกระจกใส
วุตฺยํ วิสทญาณสฺส, ญาโต อตฺโถ ตรสฺส น;
สูรปฺปภาย อาทาโส, ฉายํ ทิสฺเสน มา กเรฯ
„เมื่อญาณที่บริสุทธิ์เป็นไปอยู่
บุคคลย่อมรู้เนื้อความได้ไม่ยาก
เหมือนกระจกมีแสงสว่างเพียงพอ
บุคคลจึงไม่จำเป็นต้องเพ่งดูเงา.“
(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, ๒๙, มหารหนีติ ๖)
..
ศัพท์น่ารู้ :
วุตฺยํ (ความประพฤติ, ความเป็นไป, การเลี้ยงชีพ) วุตฺติ+สฺมึ, แปลง สฺมึ เป็น อํ ด้วยสูตรว่า อมา ปโต สฺมีสฺมานํ วา. (รู ๑๘๔) = วุตฺติ+อํ, แปลง อิ เป็น ย ด้วยสูตรว่า ปสญฺญสฺส จ. (รู ๑๘๕) วุตฺตฺย+อํ, ลบ ตฺ ตัวหนึ่งด้วย จ ศัพท์ในสูตรว่า พฺยญฺชโน จ วิสญฺโญโค. (รู ๕๖)
วิสทญาณสฺส (ญาณที่บริสุทธิ์, ปัญญาที่หมดจด) วิสาท (บริสุทธิ์, ฉลาด)+ญาณ (ญาณ, ปัญญา, ความรู้) > วิสทญาณ+ส
ญาโต (รู้แล้ว, ทราบแล้ว) ญา+ต > ญาต+สิ
อตฺโถ (เนื้อความ, อรรถ, ประโยชน์) อตฺถ+สิ
ตรสฺส น (?) ศัพท์ไม่แน่ใจครับ อาจจะเป็น อิตรสฺส น (หมายถึง ไม่อาจรู้ได้ด้วยสภาวะอย่างอื่น).
สูรปฺปภาย (แสงสว่างที่กล้า) สูร+ปภา > สูรปฺปภา+นา
อาทาโส (กระจก, แว่น, คันส่อง)
ฉายํ (เงา, ฉายา) ฉาย+อํ
ทิสฺเสน (ปรากฏ, เห็น, ดู) ทิสฺส+นา
มา (อย่า) นิบาตบอกปฏิเสธ
กเร (พึงทำ) √กร+โอ+เอยฺย ตนาทิ. กัตตุ.
หมายเหตุ : คาถานี้แปลเอาพอได้ใจความ หากผิดพลาด ต้องขออภัยท่านผู้รู้ด้วยครับ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen