๒๓.๒ ความเพียรอยู่ที่ไหน..
..ความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกล!
อาสีเสเถว ปุริโส, น นิพฺพินฺเทยฺย ปณฺฑิโต;
ปสฺสามิ โวหํ อตฺตานํ, ยถา อิจฺฉึ ตถา อหุ ฯ
“เป็นคนควรหวั่งร่ำไปจนกว่าจะสำเร็จ,
คนมีปัญญาไม่ควรเบื่อหน่ายท้อถอย;
เราย่อมเห็นตนแลว่า (ดูเราเป็นตัวอย่าง),
เราได้เป็นแล้ว(ลุถึงรัชสมบัติ)อย่างที่เราปรารถนา.“
(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, ๒๓.๒, นรทักขทีปนี ๓๖, ขุ. ชา ๒๗/๕๑ มหาสีลวชาดก, ๑๘๕๔ สรภชาดก, ๒๘/๔๕๐ มหาชนกชาดก)
..
ศัพท์น่ารู้ :
อาสีเสเถว ปุริโส, แปลว่า อ. บุรุษ พึงหวังนั่นเทียว (เป็นคนควรหวังร่ำไป), พระบาฬีฉบับของไทย เป็น อาสึเสเถว.
น นิพฺพินฺเทยฺย ปณฺฑิโต แปลว่า อ. บัณฑิต ไม่พึงเบื่อหน่าย (บัณฑิตไม่ควรท้อถอย)
ปสฺสามิ โวหํ อตฺตานํ แปลว่า อ. เรา ย่อมเห็น ซึ่งตนแล (เราย่อมเห็นตนแลว่า, ดุเราเป็นตัวอย่าง)
ปสฺสามิ (ย่อมเห็น) √ทิส+อ+มิ, แปลง ทิส เป็น ปสฺส ได้บ้างด้วยสูตรว่า ทิสสฺส ปสฺสทิสฺสทกฺขา วา. (รู ๔๘๓) = ปสฺส-เปกฺขเณ+อ+มิ, ในเพราะ หิ, มิ, ม วิภัตติ ให้ทีฆะ อ เป็น อา ด้วยสูตรว่า อกาโร ทีฆํ หิมิเมสุ. (รู ๔๓๘)
โวหํ ตัดบทเป็น โว+อหํ, โว เป็นนิบาติทำบทให้เต็ม (ปทปูรณะ), อหํ มาจาก อมฺห+สิ แปลง อมฺห กับ สิ วิภัตติเป็น อหํ ด้วยสูตรว่า ตฺวมหํ สิมฺหิ จ. (รู ๒๓๒)
ยถา อิจฺฉึ ตถา อหุ แปลว่า อหํ อ. เรา อิจฺฉึ ปรารถนาแล้ว ยถา โดยประการใด, อตฺตา อ. ตน อหุ ได้มีแล้ว (เม แก่เรา) ตถา โดยประการนั้น, (หรือ อหํ อ. เรา อหุํ ได้เป็นแล้ว ตถา โดยประการนั้น). (แปลล้มประโยคว่า เราได้เป็นแล้ว อย่างที่เราปรารถนา)
ยถา (โดยประการใด), ตถา (โดยประการนั้น) เป็นนิบาติบอกอุปมา, การเปรียเทียบ (ปฏิภาคะ)
อิจฺฉึ (ปรารถนาแล้ว, ต้องการแล้ว) √อิสุ+อี, ภูวาทิ. กัตตุ. อิสุ-อิจฺฉากนฺตีสุ+อึ, แปลงที่สุดธาตุเป็น จฺฉ ได้บ้างด้วยสูตรว่า อิสุยมูนมนฺโต จฺโฉ วา. (รู ๔๗๖) = อิ จฺฉ+อึ แยก ลบ รวมสำเร็จเป็น อิจฺฉึ
อหุ (ได้เป็นแล้ว) √อ+หู+อี ภูวาทิ. กัตตุ. เป็นปฐมบุรุษ เอกพจน์, หลัง หู ธาตุ ลบ อี วิภัตติด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (๔๘๘) = อ+หู, ให้รัสสะ เป็น อ+หุ รวมเป็น อหุ (ดูรู ๔๘๘ เป็นต้นไป), ถ้าเป็นอุดมบุรุษ เอกพจน์ มีรูปเป็น อหุํ, อโหสึ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen