๓๑. รู้เขาเราได้เปรียบ
ธีโร จ วิวิธานญฺญู, ปเรสํ วิวรานุคู;
สพฺพามิตฺเต วสีกตฺวา, โกสิโยว สุขี สิยาฯ
„ผู้ฉลาด รู้วิธีการบริหารหลากหลาย,
เป็นผู้เข้าถึงช่องทาง(จุดอ่อน)ของผู้อื่น;
อาจทำศัตรูทั้งปวงให้อยู่ในอำนาจได้,
พึงมีความสุขดุจท้าวโกสีย์จอมเทพฉะนั้น.“
(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, ๓๑)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ธีโร (ผู้มีปัญญา, ผู้ฉลาด, นักปราชญ์) ธีร+สิ
จ (และ, ด้วย)
วิวิธานญฺญู (ผู้รู้การจัดแจง, -กฏ, พิธี, ธรรมเนียมต่างๆ) วิวิธาน (วิธีต่าง ๆ) +ญู (ผู้รู้) > วิวิธานญฺญู+สิ
ปเรสํ (ของชนเหล่าอื่น ท.) ปร+นํ
วิวรานุคู (ผู้คล้อยตามช่องทาง) วิวร (ช่อง, ปล่อง, โพรง, รู) +อนุคู (ผู้คล้ายตาม) > วิวรานุคู+สิ,
สพฺพามิตฺเต (อมิตรทั้งปวง, ศัตรูทั้งหมด) สพฺพ+อมิตฺต+โย
วสีกตฺวา (กระทำให้คล่องแล้ว, กระทำไว้ในอำนาจ) วสี (วส)+กตฺวา (กร+ตฺวา) > วสีกตฺวา+สิ ลบ สิ.
โกสิโยว (เหมือนท้าวโกสีย์, -พระอินทร์) โกสิย+อิว
อิว (เพียงดัง, เหมือน, ประหนึ่งว่า) เป็นนิบาตบอกอุปมา
สุขี (ผู้มีความสุข) วิ. สุขํ อสฺส อตฺถีติ สุขี (ความมีอยู่แก่เขา เหตุนั้น เขา ชือว่า ผู้มีความสุข) เป็นตทัสสัตถิตัทธิต, ลง อี ปัจจัยด้วยสูตรว่า ทณฺฑาทิโต อิกอี. (รู ๔๐๐)
สิยา (พึงเป็น, พึงมี) √อส+อ+เอยฺย, ลบ อักษรต้นธาตุได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สพฺพตฺถาสสฺสาทิโลโป จ. (รู ๔๙๖), หลัง อส ธาตุให้แปลง เอยฺย เป็น อิย, เอยฺยุํ เป็น อิยุํ ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen