Mittwoch, 3. Juni 2020

เปรียบกวีดุจช่างทอง


.  เปรียบกวีดุจช่างทอง

กวิเหรญฺญกา กตฺวา, อุตฺตตฺตํ สตฺถกญฺจนํ;
ภูสนํ คชฺชปชฺชาทึ, กโรนฺติ มโนหรํฯ

ช่างทองคือนักกวีทั้งหลาย
หลอมทองคือหนังสือให้แวววับดีแล้ว
กระทำเครื่องประดับ คือร้อยแก้ว
และร้อยกรองเป็นต้น ให้เป็นที่น่าประทับใจ.“

(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, , มหารหนีติ )

..


ศัพท์น่ารู้ :

กวิเหรญฺญกา (ช่างเงิน(ทอง)คือนักกวี .) กวิ+เหรญฺญก > กวิเหรญฺญก+โย
กตฺวา (กระทำแล้ว, หลอม)  กร+ตฺวา > กตฺวา+สิ ลบ สิ วิภัตติ.
อุตฺตตฺตํ, (เนื้อตากแห้ง, ร้อนแล้ว, ละลายแล้ว, ส่องแสงแล้ว) อุตฺตตฺต+อํ, แต่ในมหารหนีติ เป็น สุตฺตตฺตํ 
สตฺถกญฺจนํ (ทองคือคัมภีร์, -หนังสือ, -ตำรา, -เกวียน, -มีด, -หอก) สตฺถ+กญฺจน > สตฺถกญฺจน+อํ
ภูสนํ (การประดับ, เครื่องประดับ) ภูสน+อํ
คชฺชปชฺชาทึ (มีร้อยแก้วและร้อยกรองเป็นต้น) คชฺช+ปชฺช+อาทิ > คชฺชปชฺชาทิ+อํ, คชฺช คือ ร้อยแก้ว, เรียงความ, จุณณิยะ ก็เรียก เช่นสามัญญสูตร เป็นพระสูตรที่ไม่มีคาถา  ส่วน ปชฺช  คือ ร้อยกรอง, คาถา เช่น มงคลสูตร เป็นพระสูตรที่มีคาถาล้วน. ส่วนในมหารหนีติ เป็น คชฺชปชฺชาทฺยาลงฺการํ.
กโรนฺติ (ย่อมกระทำ, สร้าง, แต่ง, ประพันธ์) กร+โอ+อนฺติ ตนาทิ. กัตตุ. มหารหนีติ เป็น กโรนฺตีธ.
(และ, ด้วย) เป็นนิบาต 
มโนหรํ (เป็นที่พอใจ, งดงาม) มโนหร+อํ, มหารหนีติ เป็น มโนรมฺมํ.

..

Keine Kommentare: