Freitag, 5. Juni 2020

๘. วิธีทำใจเมื่อศึกษาและปฏิบัติ


. วิธีทำใจเมื่อศึกษาและปฏิบัติ

อชรามรํว ปญฺโญ, วิชฺชมตฺถญฺจ จินฺตเย;
คหิโต อิว เกเสสุ, มจฺจุนา ธมฺมมาจเรฯ

ผู้ปัญญาเมื่อศึกษาหาความรู้
พึงทำตัวเสมือนว่าไม่รู้จักแก่จักตาย
แต่ถ้าประพฤติปฏิบัติธรรมละก็
พึงเป็นดุจพญามัจจุราชจับที่มวยผมเถิด.’

(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, , นีติมัญชรี ๑๓)

..


ศัพท์น่ารู้ :

อชรามรํว ตัดบทเป็น อชรามรํ+อิว (เป็นดุจไม่แก่และไม่ตาย) ในนีติมัญชรี เป็น อชรามโรว แยกเป็น อชรา (ไม่แก่, ไม่เฒ่า) +อมร (ไม่ตาย, อมร, เป็นอมตะ)  > อชรามร+สิ = อชรามโร+อิว
ปญฺโญ, (ผู้มีปัญญา) ปญฺญ+สิ 
วิชฺชมตฺถญฺจ ตัดบทเป็น วิชฺชํ+อตฺถํ+ (ซึ่งวิชาและประโยชน์, ซึ่งประโยชน์คือวิชา)
จินฺตเย (พึงคิด, คำนึง, จินตนาการ) √จินฺต+ณย+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ.
คหิโต อิว (ดุจถูกจับ, เหมือนถูกยึด) √คห+อิ+ > คหิต+สิ, อิว (เพียงดัง, ราวกะ, ดุจ) นิบาตบอกอุปมา.
เกเสสุ (ที่ผม .) เกส+สุ
มจฺจุนา (อันมัจจุราช, อันความตาย) มจฺจุ+นา
ธมฺมมาจเร ตัดบทเป็น ธมฺมํ+อาจเร (พึงประพฤติ ซึ่งธรรม) ธมฺม+อํ = ธมฺมํ, อา+√จร++เอยฺย = อาจเร ภูวาทิ. กัตตุ.

..

Keine Kommentare: