Samstag, 6. Juni 2020

๙. ความรู้ดีกว่าทรัพย์



. ความรู้ดีกว่าทรัพย์

สิปฺปสมํ ธนํ นตฺถิ, สิปฺปํ โจรา คณฺหเร;
อิธ โลเก สิปฺปํ มิตฺตํ, ปรโลเก สุขาวหํฯ

ทรัพย์ที่เสมอด้วยวิชาความรู้ ย่อมไม่มี, 
วิชาความรู้โจรปล้นเอาไปไม่ได้,
วิชาความรู้เป็นกัลยามิตรในโลกนี้, 
และเป็นเหตุนำสุขมาให้ในโลกหน้า.“

(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, โลกนีติ , ธัมมนีติ ๑๗)

..


ศัพท์น่ารู้ :

สิปฺปสมํ (ที่เสมอด้วยศิลป์, -วิชา, -ความรู้) สิปฺป+สม > สิปฺปสม+สิ, ในโลกนีติ เป็น สิปฺปา สมํ ธนํ นตฺถิ , ในธัมมนีติเป็น สิปฺปํ สมํ ธนํ นตฺถิ. 
ธนํ (ทรัพย์, สมบัติ) ธน+สิ
นตฺถิ (ย่อมไม่มี) = +อตฺถิ แปลรวมกันว่า ย่อมไม่มี, แปลแยกว่า ย่อมมี/มีอยู่ หามิได้
อตฺถิ เป็นอุปสัคบทก็ได้ เป็นอาขยาตบทก็ได้ ที่เป็นอาขยาตบท มาจากอส++ติ ลบ ปัจจัย, แปลง ติ เป็น ตฺถิ และ ลบอักษรที่สุดธาตุ ด้วยสูตรว่า ติสฺส ตฺถิตฺตํ (รู. ๔๙๕) รวมเป็น  อตฺถิ เป็นปฐมบุรุษ เอกวจนะ วัตตมานาวิภัตติ (ปัจจุบันกาล) นิยมท่องเป็นชุดว่า อตฺถิ สนฺติ, อสิ อตฺถ, อมฺหิ อสฺมิ อมฺห อสฺม (โส อตฺถิ, เต สนฺติ, ตฺวํ อสิ, ตุมฺเห อตฺถ, อหํ อมฺหิ/อสฺมิ, มยํ อมฺห/อสฺม), ส่วน นตฺถิ ที่เป็นอุปสัค เป็นนิบาตทำบทให้เต็ม (อตฺถปูรณเนปาติก) เป็นประเภทประกอบด้วยวิภัตติ (วิภตฺติยุตฺต) ลงในอรรถ ปฐมาวิภัตติ  (รู. ๒๘๒)
สิปฺปํ (ซึ่งศิลปะ, ความรู้, วิชา) สิปฺป+อํ
โจรา (โจร .) โจร+โย . แปลง โย เป็น อา ด้วยสูตรว่า สพฺพโยนีนมาเอ. (รู ๖๙)
คณฺหเร = คณฺหนฺติ (ย่อมถือเอา หามิได้, ขโมยเอาไม่ได้, ปล้น, แย่งชิง), เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ, คณฺหเร มาจากคห+ณฺหา+อนฺติ คหาทิ. กัตตุ. ในเพราะ ณฺหา ลบ ที่สุดธาตุ, รัสสะ, แปลง อนฺติ เป็น เร ได้บ้าง.
อิธ โลเก (ในโลกนี้) อิธ (นี้) อิม+ ปัจจัย เป็นสัพพนาม. โลก+สฺมึ = โลเก (ในโลก)
สิปฺปํ (ศิลปะ) สิปฺป+สิ นป.
มิตฺตํ (มิตร, เพื่อน) มิตฺต+สิ 
ปรโลเก  (ในโลกอื่น, โลกหน้า) ปร+โลก > ปรโลก+สฺมึ
สุขาวหํ (เป็นเหตุนำมาซึ่งความสุข, นำสุขมาให้) สุข+อาวห > สุขาวห+สิ

..

Keine Kommentare: