Sonntag, 7. Juni 2020

๑๐. บัณฑิตไม่ควรพูดเหลวไหล

๑๐. บัณฑิตไม่ควรพูดเหลวไหล

ภุญฺชนตฺถํ กถนตฺถํ, มุขํ โหตีติ โน วเท;
ยํ วา ตํ วา มุขารุฬฺหํ, วจนํ ปณฺฑิโต นโรฯ

ชนผู้เป็นบัณฑิต จะไม่พูดคำเหลวไหล
ที่งอกจากปาก ด้วยคิดว่า 
มีปากเอาไว้สำหรับกิน
และมีเอาไว้สำหรับพูด.“

(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, ๑๐, นรทักขทีปนี ๙๐)

..


ศัพท์น่ารู้ :

ภุญฺชนตฺถํ (เพื่อประโยชน์แก่การกิน, เพื่อรับประทาน)
กถนตฺถํ (เพื่อประโยขน์แก่การกล่าว, เพื่อการพูด)
มุขํ (ปาก, หน้า, มุข) มุข+สิ
โหตีติ ตัดบทเป็น โหติ+อิติ (ย่อมมี+ว่า..ดังนี้)
โน (ไม่, หามิได้, โน) นิบาตบอกปฏิเสธ
วเท (พึงกล่าว, พูด) วท++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
ยํ วา ตํ วา (อย่างใดอย่างหนึ่ง, สักแต่ว่า, พล่อยๆ, อะไรก็ได้) +สิ, +สิ สัพพนาม, วา สองศัพท์เป็นนิบาต. (คำนี้ ท่านอาจารย์สมภพ สงวนพานิช ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนดีแล้ว ที่: http://dhammapalisikkha.blogspot.de/2016/06/blog-post_3.html)
มุขารุฬฺหํ (ที่งอกขึ้นจากปาก ที่งอกเงยในปาก) มุข (ปาก) + อารุฬฺห (งอกขึ้น) > มุขรุฬฺห+อํ
วจนํ (คำ, ถ้อยคำ, พจน์) วจน+อํ
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์) ปณฺฑิต+สิ
นโร (นรชน, คน, มนุษย์) นร+สิ

..

Keine Kommentare: