Montag, 8. Juni 2020

๑๑. คำติที่ดีกว่าคำชม


๑๑. คำติที่ดีกว่าคำชม

ทุมฺเมเธหิ ปสํสา , วิญฺญูหิ ครหา ยา;
ครหาว เสยฺโย วิญฺญูหิ, ยญฺเจ พาลปฺปสํสนาฯ

การสรรเสริฐจากคนพาลกับ
การติเตียนจากนักปราชญ์ 
การติเตียนจากนักปราชญ์ประเสริฐกว่า 
การสรรเสริญจากคนพาลระประเสริฐอะไร.“

(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, ๑๑, ขุ. เถร. ๒๖/๓๘๒)

..


ศัพท์น่ารู้ :

ทุมฺเมเธหิ (จากคนไม่มีปัญญา, จากคนพาล .) ทุมฺเมธ+หิ 
ปสํสา , (การสรรเสริญ ด้วย) ปสํสา+สิ
วิญฺญูหิ  (จากวิญญูชน, จากนักปราชญ์ .) 
ครหา ยา; (การครหา,​ การติเตียน อันใด ด้วย) ครหา+สิ
ครหาว ตัดบทเป็น ครหา+เอว (การติเตียน+นั้นเทียว) 
เสยฺโย (ประเสริฐกว่า) มาจาก ปสตฺถ+อิย ปัจจัยในวิเสสตัทธิต แปลง ปสตฺถ เป็น ด้วยสูตรว่า ปสตฺถสฺส โส . (รู ๓๙๒) = +อิย, ลบสระหน้าปกติสระหลัง, พฤทธิ์ อิ เป็น เอ, ซ้อน ยฺ.
วิญฺญูหิ (จากวิญญูชน .) วิญฺญู+หิ
ยญฺเจ ตัดบทเป็น ยํ+เจ, ในพระบาฬีฉัฏฐสังคายนานิยมเขียนกัน เป็น ยํ เจ, แต่ในอรรถกถานิยมเขียนเป็น ยญฺเจ.  คำว่า ยญฺเจ ในอรรถกถาให้ความหมายเท่ากับ เสยฺโย แปลว่า ไม่ประเสริฐ. สำนวนไทยนิยมแปลว่า จะประเสริฐอะไร, มันจะดีที่ตรงไหน เป็นต้น.
พาลปฺปสํสนา (การสรรเสริญของคนพาล) พาล+ปสํสนา > พาลปฺปสํสนา+สิ, หรืออาจเป็น พาลปฺปสํสน+สฺมา (กว่าการสรรเสริญของคนพาล).

..

ลำดับนี้ จะได้นำพระบาฬีเถรคาถา จุททสกนิบาต อันเป็นคำกล่าวของพระโคทัตตเถระ พร้อมคำแปลที่ไพเราะลึกซึ้งมาเสนอไว้ เพื่อความเจริญแห่งศรัทธาและปัญญาของท่านสาธุชนทั้งหลาย ดังนี้.


() ยถาปิ ภทฺโท อาชญฺโญ   ธุเร ยุตฺโต ธุรสฺสโห
          มถิโต อติภาเรน          สํยุตฺตํ - นาติวตฺตติ
           เอวํ ปญฺญาย เย ติตฺตา     สมุทฺโท วารินา ยถา
           ปเร อติมญฺญนฺติ         อริยธมฺโมว ปาณินํ

() โคอาชาไนยที่ดี อันเขาเทียมแล้วที่แอกเกวียน 
ย่อมอาจนำแอกเกวียนไปได้ ไม่ย่อท้อต่อภาระอันหนัก 
ไม่ทอดทิ้งเกวียนอันเขาเทียมแล้วแม้ฉันใด 
บุคคลเหล่าใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา 
เหมือนมหาสมุทรอันเต็มด้วยน้ำ 
บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ฉันนั้น 
ย่อมเป็นดังอริยธรรมของสัตว์ทั้งหลาย. 


       ()    กาเล กาลวสมฺปตฺตา       ภวาภววสํ คตา
           นรา ทุกฺขํ นิคจฺฉนฺติ        เต - โสจนฺติ มาณวา

() นรชนผู้ตกอยู่ในอำนาจของเวลา ตกอยู่ในอำนาจของ
ภพน้อยภพใหญ่ ย่อมเข้าถึงความทุกข์และต้องเศร้าโศก.


        ()   อุนฺนตา สุขธมฺเมน         ทุกฺขธมฺเมน โวนตา
           ทฺวเยน พาลา หญฺญนฺติ      ยถาภูตํ อทสฺสิโน

() คนพาลไม่พิจารณาเห็นตามความเป็นจริง 
ย่อมเดือดร้อนด้วยเหตุ อย่าง คือ
มีใจฟูขึ้นเพราะเหตุแห่งสุข  
มีใจฟุบลงเพราะเหตุแห่งทุกข์ .

       ()    เย ทุกฺเข สุขมฺหิ       มชฺเฌ สิพฺพนิมจฺจคู -
           ฐิตา เต อินฺทขีโลว        เต อุนฺนตโอนตา

() ชนเหล่าใดก้าวล่วงตัณหาเครื่องร้อยรัดในทุกขเวทนา 
ในสุขเวทนา และในอทุกขมสุขเวทนา 
ชนเหล่านั้นเป็นผู้ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเหมือนเสาเขื่อน
เป็นผู้ไม่ฟูขึ้นและไม่ฟุบลง.

      ()     เหว ลาเภ นาลาเภ     ยเส กิตฺติยา
           นินฺทาย ปสํสาย         เต ทุกฺเข สุขมฺหิ
           สพฺพตฺถ เต ลิปฺปนฺติ      อุทพินฺทุว โปกฺขเร
           สพฺพตฺถ สุขิตา ธีรา -     สพฺพตฺถ อปราชิตา

() ชนเหล่านั้นย่อมไม่ติดอยู่ในลาภ
ความเสื่อมลาภ ยศ ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และ
ทุกข์ทั้งหมด ดังหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว ฉะนั้น 
นักปราชญ์ทั้งหลายมีความสุขและได้ชัยชนะในที่ทุกแห่งไป.
          
 () ธมฺเมน อลาโภ โย      โย ลาโภ อธมฺมิโก
       อลาโภ ธมฺมิโก เสยฺโย     ยญฺเจ ลาโภ อธมฺมิโก
() 
การไม่ได้ลาภโดยชอบธรรมกับการได้ลาภ
โดยไม่ชอบธรรมทั้งสองอย่างนี้ 
การไม่ได้ลาภอันชอบธรรมประเสริฐกว่า 
การได้ลาภอันไม่ชอบธรรมจะประเสริฐอะไร
      
()     ยโส อปฺปพุทฺธีนํ         วิญฺญูนํ อยโส โย
           อยโส - เสยฺโย วิญฺญูนํ  ยโส อปฺปพุทฺธินํ
() 
คนไม่มีความรู้ มียศ กับคนมีความรู้แต่ไม่มียศ 
คนมีความรู้ไม่มียศประเสริฐกว่า 
คนไม่มีความรู้มียศจะประเสริฐอะไร 


()      ทุมฺเมเธหิ ปสํสา         วิญฺญูหิ ครหา ยา
           ครหาว เสยฺโย วิญฺญูหิ      ยญฺเจ พาลปฺปสํสนา

() การสรรเสริฐจากคนพาลกับการติเตียนจากนักปราชญ์ 
การติเตียนจากนักปราชญ์ประเสริฐกว่า 
การสรรเสริญจากคนพาลระประเสริฐอะไร

()      สุขญฺจ กามมยิกํ           ทุกฺขญฺจ ปวิเวกิยํ
           ปวิเวกิยํ ทุกฺขํ เสยฺโย      ยญฺเจ กามมยํ สุขํ

() ความสุขอันเกิดจากกามคุณกับความทุกข์อันเกิดจากวิเวก 
ความทุกข์อันเกิดจากวิเวกประเสริฐกว่า
ความสุขอันเกิดจากกามคุณจะประเสริฐอะไร 


(๑๐)    ชีวิตญฺจ อธมฺเมน          ธมฺเมน มรณญฺจ ยํ
           มรณํ ธมฺมิกํ เสยฺโย        ยญฺเจ ชีเว อธมฺมิกํ

(๑๐) ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรมกับความตายโดยธรรม 
ความตายโดยธรรมประเสริฐกว่า 
ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรมจะประเสริฐอะไร

(๑๑)     กามโกธปฺปหีนา - เย     สนฺตจิตฺตา ภวาภเว
           จรนฺติ โลเก อสิตา        นตฺถิ เตสํ ปิยาปิยํ

(๑๑) ชนเหล่าใดละกามและความโกรธได้แล้ว 
มีจิตสงบระงับเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ไม่ติดอยู่ในโลก 
ชนเหล่านั้นไม่มีความรักความชัง.

(๑๒)   ภาวยิตฺวาน โพชฺฌงฺเค      อินฺทฺริยานิ พลานิ
           ปปฺปุยฺย - ปรมํ สนฺตึ      ปรินิพฺพนฺติ อนาสวาติ
                      โคทตฺโต เถโร

(๑๒) บุคคลเจริญโพชฌงค์ อินทรีย์
และพละ แล้วบรรลุถึงความสงบอันยอดเยี่ยม
หาอาสวะมิได้ ย่อมปรินิพพาน.


..

Keine Kommentare: