Dienstag, 9. Juni 2020

๑๒. เคล็ดลับการเรียนพระบาฬี


๑๒. เคล็ดลับการเรียนพระบาฬี

อจินฺติเย สาฏฺฐกเถ, ปณฺฑิโต ชินภาสิเต;
อุปเทสํ สทา คณฺเห, ครุํ สมฺมา อุปฏฺฐหํฯ
ตสฺมา สาฏฺฐกเถ ธีโร, คมฺภีเร ชินภาสิเต;
อุปเทสํ สทา คณฺเห, ครุํ สมฺมา อุปฏฺฐหํฯ

เมื่อพระบาฬีและอรรถกถาอันตนคิดไม่ออก
ผู้มีปัญญาพึงปรนนิบัติครูโดยเคารพและถือเอา
คำแนะนำในกาลทุกเมื่อ. เพราะเหตุนั้น
นักปราชญ์เมื่อรับใช้ครูโดยเคารพ พึงรับเอา
คำสั่งสอนในพระดำรัสของพระชินเจ้าที่ลึกซึ้ง
พร้อมกับอรรถกถา ทุกเมื่อเทอญ.“

(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, ๑๒)

..


ศัพท์น่ารู้ :

อจินฺติเย (ที่ไม่ควรคิด, ที่ตนคิดไม่ออก) อจินฺติย+สฺมึ
สาฏฺฐกเถ (อันเป็นไปกับอรรถกถา, พร้อมอรรถกถา) สห+อฏฺฐกถา > สาฏฺฐกถ+สฺมึ
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ
ชินภาสิเต (ภาษิตของพระชินเจ้า, พระพุทธพจน์, พระบาฬี) ชิน+ภาสิต > ชินภาสิต+สฺมึ
อุปเทสํ (คำแนะนำ, คำชีแจ้ง, คำสั่งสอน, เคล็ดลับ, เทคนิค) อุปเทส+อํ
สทา (ทุกเมื่อ, ทุกเวลา) สพฺพ+ทา ปัจจัย
คณฺเห (ถือ, รับ, ยึด, เรียน) คห+ณฺหา+เอยฺย คหาทิ. กัตตุ.
ครุํ (ครู, อาจารย์) ครุ+อํ
สมฺมา (โดยชอบ, ด้วยดี, โดยเคารพ) นิบาต
อุปฏฺฐหํ (อุปฐากอยู่, ปรนนิบัติ, รับใช้อยู่) อุป+ฐา++อนฺต ลง อาคมและรัสสะ, ซ้อน ฏฺ > อุปฏฺฐหนฺต+สิ  แจกเหมือน คจฺฉนฺต ศัพท์.
ตสฺมา (เพราะเหตุนั้น) +สฺมา สัพพนาม, หรือนิบาตก็ได้.
คมฺภีเร (ที่ลึกซึ้ง) คมฺภีร+สฺมึ
ธีโร (ธีรชน, นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา) ธีร+สิ

..

Keine Kommentare: