๓๓. ลูกที่ชั่วดุจดวงตาที่พิการ
โกตฺโถ ปุตฺเตน ชาเตน, โย น วิทู น ธมฺมิโก;
กาเณน จกฺขุนา กึ วา, จกฺขุ ปีเฬว เกวลํ ฯ
“จะมีประโยชน์อะไรด้วยบุตรที่เกิดแล้ว,
ผู้ซึ่งไร้ปัญญาและไม่ประพฤติธรรมะ;
จะมีประโยชน์อะไรด้วยดวงตามืดบอด,
เพราะรังแต่จะทำให้ตาปวดทรมานเท่านั้น.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๓๓)
..
ศัพท์น่ารู้ :
โกตฺโถ ตัดบทเป็น โก+อตฺโถ (อะไร+ประโยชน์) หรืออาจสนธิเป็น กฺวตฺโถ ก็ได้, โก มาจาก กึ+สิ แปลง กึ เป็น ก ด้วยสูตรว่า เสเสสุ จ. (รู ๒๒๖), แปลง สิ เป็น โอ ด้วยสูตรว่า โส. (รู ๖๖) แยก ลบ รวมสำเร็จรูปเป็น โก แปลว่า อะไร?
อตฺโถ (ประโยชน์, ความต้องการ, อรรถ, เนื้อความ) อตฺถ+สิ,
ปุตฺเตน (ด้วยบุตร) ปุตฺต+นา
ชาเตน (ผู้เกิดแล้ว) ชาต+นา
โย (..ใด) โย+สิ
น (ไม่) เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ
วิทู (ที่ฉลาด, ที่มีปัญญา) วิทู+สิ
ธมฺมิโก (ที่มีธรรม, ประกอบด้วยธรรม, ตั้งอยู่ในธรรม, เลื่อมใสในธรรม) ธมฺมิก+สิ, วิ. ธมฺโม อสฺส อตฺถิ, ตสฺมี วา วิชฺชตีติ ธมฺมิโก, แปลว่า “ธรรมมีอยู่แก่เขา, หรือว่า ธรรมย่อมมีในเขา เหตุนั้น เขา ชื่อว่า ธมฺมิก” (ธมฺม+อิก) เป็นตทัสสัตถิตัทธิต, ลง อิก ปัจจัยด้วยสูตรว่า ทณฺฑาทิโต อิกอี. (รู ๔๐๐), หรือถ้าเป็นสังสัฏฐาทิตัทธิต ควรตั้งวิเคราะห์ว่า ธมฺเมน ยุตฺโต, ธมฺเม วา ติฏฺฐติ, ธมฺเม วา ปสนฺโนติ ธมฺมิโก (ธมฺมิก+ณิก) แปลว่า “เขาประกอบแล้วด้วยธรรม, หรือ เขาย่อมดำรงอยู่ในธรรม, หรือว่า เขาเลื่อมใสแล้วในพระธรรม เหตุนั้น เขา ชื่อว่า ธมฺมิโก, ลง ณิก ปัจจัยด้วยสูตรว่า เยน วา สํสฏฺฐํ จรติ ตรติ วหติ ณิโก. (รู ๓๗๓)
กาเณน (ที่บอดข้างเดียว) กาณ+นา, คนตาที่บอดสองข้างเรียกว่า อนฺธ, อนฺธจกฺขุ (ตาบอดสองข้าง) กาณจุกฺขุ (ตาบอดข้างเดียว).
จกฺขุนา (ด้วยดวงตา) จกฺขุ+นา
กึ (อะไร) กึ ปโยชนํ (ประโยชน์อะไร)
วา (เหมือน, ดุจ, หรือ, อนึ่ง) เป็นนิบาตบอกอุปมา
จกฺขุ (ตา) จกฺขุ+สิ, เป็นอุการันต์ นปุงสกลิงค์ ลง สิ ลบ สิ วิภัตติด้วยสูตรว่า เสสโต โลปํ คสิปิ. (รู ๗๔)
ปีเฬว ตัดบทเป็น ปีเฬ+เอว (ในเพราะความเบียดเบียน, พึงเบียดเบียน+นั่นเทียว) ปีฬ+สฺมึ, หรือ ปีฬ+เณ+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ. ปีฬ-วธโลฬเน ธาตุในความเบียดเบียนและกวน.
เกวลํ (ล้วน ๆ, อย่างเดียวเท่านั้น) เกวล+อํ ทุติยาวิเสสนะ
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen