Sonntag, 19. Juli 2020

๕๑ เหตุแห่งสุขและทุกข์


๕๑ เหตุแห่งสุขและทุกข์

สตํ ทีฆายุกํ สพฺพ-, สตฺตานํ สุขการณํ;
อสตํ ปน สพฺเพสํ, ทุกฺขเหตุ สํสโยฯ

การมีอายุยืนของเหล่าสัตบุรุษ, 
เป็นเหตุให้เกิดสุขแก่สรรพสัตว์;
แต่การมีอายุยืนของพวกอสัตบุรุษ,
เป็นเหตุให้เกิดทุกข์แก่สรรพสัตว์,
โดยไม่ต้องสงสัย.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๕๑ มหารหนีติ ๒๒, ธัมมนีติ ๓๓๖)

..


ศัพท์น่ารู้ :

สตํ (สัตบุรุษ, สัปบุรุษ, คนดี .) สนฺต+นํ แปลง นฺต เป็น นฺตุ ด้วยสูตรว่า เสเสสุ นฺตุว. (รู ๑๐๘) = สนฺตุ+นํ, แปลง นฺตุ กับ นํ วิภัตติเป็น ตํ ด้วยสูตรว่า นํมฺหิ ตํ วา. (รู ๑๐๔) สำเร็จเป็น สตํ.
ทีฆายุกํ (อายุยาว, อายุยืน) ทีฆ+อายุ, อายุก > ทีฆายุก+สิ
สพฺพสตฺตานํ (สัตว์ทั้งปวง ., เหล่าสัตว์ทั้งปวง) สพฺพ+สตฺต > สพฺพสตฺต+นํ
สุขการณํ (เป็นเหตุให้เกิดสุข, เหตุแห่งสุข) สุข+การณ > สุขการณ+สิ, วิ. สุขสฺส การณํ สุขการณํ (เหตุแห่งความสุข ชื่อว่า สุขการณะ) เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส
อสตํ (อสัตบุรุษ, อสัปบุรุษ, คนชั่ว .) +สนฺต > อสนฺต+นํ, ทำตัวเหมือน สตํ, วิ. สนฺโต อสนฺโต, เป็นสัตบุรุษ หามิได้ จึงชื่อว่า อสัตบุรุษ (อสนฺต) เป็นนนิปาตปุพพปท-กัมมธารยสมาส, แปลง เป็น ในตัปปุริสสมาส (กัมมธารยสมาส) ด้วยสูตรว่า อตฺตํ นสฺส ตปฺปุริเส. (รู ๓๔๔) 
ปน (แต่, แต่ว่า, ส่วน) เป็นนิบาตบอกความต่าง 
สพฺเพสํ, โยก สตฺตานํ (สัตว์ . ทั้งปวง) สพฺพ+นํ, สัพพนาม
ทุกฺขเหตุ (เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, เหตุแห่งทุกข์) ทุกขเหตุ+สิ วิ. ทุกฺขสฺส เหตุ ทุกขเหตุ (เหตุแห่งความทุกข์ ชื่อว่า ทุกฺขเหตุ) เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส
(ไม่, หามิได้) เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ
สํสโย (ความสังสัย, ความแครงใจ) สํสย+สิ

..

Keine Kommentare: