๕๒. สังคมจะดีเพราะมีบัณฑิต
ปณฺฑิเต สุชเน สนฺเต, สพฺเพปิ สุชนา ชนา;
ชาเตกสฺมึ สารคนฺเธ, สพฺเพ คนฺธมยา ทุมาฯ
“เมื่อบัณฑิตคนดีมีศีลธรรมมีอยู่,
คนแม้ทั้งหมดก็พลอยเป็นคนดีด้วย;
เมื่อไม้แก่นมีกลิ่นหอมต้นเดียวในป่ามีอยู่,
ต้นไม้ทั้งป่าก็พลอยมีกลิ่นหอมไปด้วย.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๕๒ มหารหนีติ ๒๓)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ปณฺฑิเต (บัณฑิต) ปณฺฑิต+สฺมึ ในมหารหนีติ เป็น ปาโมกฺเข (ผู้นำ, หัวหน้า)
สุชเน (คนดี) สุชน+สฺมี
สนฺเต (มีอยู่, สัตบุรุษ) สนฺต+สฺมึ
สพฺเพปิ ตัดบทว่า สพฺเพ+อปิ (แม้ทั้งหมด) สัพพนาม.
สพฺเพ มาจาก สพฺพ+โย หลังสัพพนามอการันต์ให้แปลง โย เป็น เอ ด้วยสูตรว่า สพฺพนามการเต ปฐโม. (รู ๒๐๐)
สุชนา (คนดี) สุชน+โย หลังอการันต์ในปุงลิงค์ให้แปลง โย เป็น อา ด้วยสูตรว่า สพฺพโยนีนมาเอ. (รู ๖๙)
ชนา (ชน, คน, มนุษย์ ท.) ชน+โย
ชาเตกสฺมึ ตัดบทว่า ชาเต (เกิดแล้ว) ชาต+สฺมึ +เอกสฺมึ (อันหนึ่ง) เอก+สฺมึ
สารคนฺเธ (ที่มีแก่นและกลิ่น, ไม้แก่นจันทน์) สารคนฺธ+สฺมึ,
คนฺธมยา (สำเร็จเป็นกลิ่นหอม, กลายเป็น-) คนฺธ+มย ปัจจัยในตัทธิต > คนฺธมย+โย
ทุมา (ต้นไม้ ท.) ทุม+โย
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen