๕๓. ผู้ที่มหาชนพึงอาศัยได้
อตฺตาว ยทิ วินีโต, นิชสฺสิตา มหาชนา;
วินีตํ ยนฺติ สพฺเพปิ, โก ตํ นาเสยฺย ปณฺฑิโตฯ
„ผิว่าตนเองแลได้รับการฝึกหัดดีแล้วไซร์
มหาชนผู้เนื่องด้วยกายของตนแม้ทั้งปวง
ย่อมถึงบุคคลผู้ฝึกตนเองได้แล้วนั้น
นักปราชญคนไหนพึงทำลายเขาได้!“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๕๓)
..
ศัพท์น่ารู้ :
อตฺตาว (ตนนั่นเทียว, ตนเองเท่านั้น) อตฺตา+เอว
ยทิ (ผิว่า, หากว่า) นิบาต
วินีโต (ถูกแนะนำ, ถูกฝึกฝนแล้ว) วิ+√นี+ต > วินีต+สิ
นิชสฺสิตา (ผู้เนื่องด้วยตนเอง) นิช+สิต > นิชสฺสิต+โย ศัพท์ที่หมายถึง „ตัวของตน“ มี ๓ ศัพท์ คือ นิช, สก, อตฺตนิย. (อภิธาน. ๗๓๖), ศัพท์ที่แปลว่า „ผูก, มัด, เกี่ยวเนื่อง“ มี ๕ ศัพท์ คือ สนฺทานิต, สิต, พทฺธ, กิลีต, สํยต. (อภิธาน. ๗๔๗).
มหาชนา (คนส่วนใหญ่, คนจำนวนมาก, มหาชน ท.) มหนฺต (มหา)+ชน > มหาชน+โย
วินีตํ (ซึ่งผู้ฝึกตนได้แล้ว, ผู้ได้รับการแนะนำแล้ว) วินีต+อํ
ยนฺติ (ย่อมถึง, บรรลุ, อาศัย) √ยา+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.
สพฺเพปิ (แม้ทั้งปวง, แม้ทั้งหมด) สพฺเพ+อปิ
โก (ใคร, คนไหน) กึ > ก+สิ สัพพนาม
ตํ (นั้น..ผู้นั้น) ต+อํ สัพพนาม
นาเสยฺย (ให้ฉิบหาย, ให้เสียหาย) √นส+เณ+เอยฺย ทิวาทิ. เหตุกัตตุ.
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์) ปณฺฑิต+สิ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen