Freitag, 24. Juli 2020

๕๖. ประโยชน์เขา-ประโยชน์เรา


๕๖. ประโยชน์เขา-ประโยชน์เรา

สจฺจํ ปุนปิ สจฺจนฺติ, ภุชมุกฺขิปฺปมุจฺจเต;
สกตฺโถ นตฺถิ นตฺเถว, ปรสฺสตฺถ มกุพฺพโตฯ

ความจริงก็คือความจริง
แม้คนจะยักคิ้วหลิ่วตาพูดก็ตาม
เมื่อบุคคลไม่ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น
ประโยชน์ตนที่ยังไม่มี คงจะไม่มีแน่แท้.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๕๖)

..


ศัพท์น่ารู้ :

สจฺจํ (ความจริง, สัจจะ) สจฺจ+สิ
ปุนปิ (แม้อีก, ซ้ำ, แตกต่าง) ปุน+อปิ สมูหนิบาต
สจฺจนฺติ ตัดบทเป็น สจฺจํ+อิติ
ภุชมุกฺขิปฺปมุจฺจเต ตัดบทเป็น ภุชํ (ขนด, งวงช้าง) +อุกฺขิปฺปํ (ยกขึ้น, ขว้างทิ้ง, ยักคิ้ว) +อุจฺจเต (อันเขาย่อมพูด, ถูกกล่าว) วจ++เต ภูวาทิ. กัมม. แปลง เป็น อุ ในเพราะยปัจจัย ด้วยสูตรว่า วจวสวหาทีนมุกาโร วสฺส เย. (รู ๔๗๘) เอา กับที่สุดธาตุเป็น ด้วยสูตรว่า ตสฺส จวคฺคยการวการตฺตํ สธาตฺวนฺตสฺส. (รู ๔๔๗) ซ้อน จฺ รวมสำเร็จรูปเป็น อุจฺจเต (อันเขาย่อมกล่าว).
สกตฺโถ (ประโยชน์ของตนเอง) สก+อตฺถ > สกตฺถ+สิ
นตฺถิ (มีอยู่ หามิได้, ย่อมไม่มี) +อตฺถิ
นตฺเถว ตัดบทเป็น นตฺถิ+เอว
ปรสฺสตฺถมกุพฺพโต ตัดบทเป็น ปรสฺสตฺถํ (ซึ่งประโยชน์ของผู้อื่น)+อกุพฺพโต (ผู้ไม่กระทำอยู่) +กุพฺพนฺต (กร+โอ+อนฺต) > อกุพฺพนฺต+ = อกุพฺพโต

หมายเหตุ: คาถานี้ยอมรับว่าค่อนข้างเข้าใจยากอยู่  ขออนุญาตแปลเดา เอาแต่ใจความนะครับ :) 

..

Keine Kommentare: