Samstag, 25. Juli 2020

๕๗. ใจของสัตบุรุษดุจนำ้ทะเล


๕๗. ใจของสัตบุรุษดุจนำ้ทะเล

สตํ ผรุสวาจาหิ, ยาติ วิกตึ มโน;
ติณุกฺกาหิ สกฺกาว, ตาเปตุํ สาคเร ชลํ

ใจของสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ถึง
ความผิดปกติด้วยคำหยาบคายต่าง ได้;
ดุจนำ้ทะเลอันใคร ไม่อาจให้เหือดแห้ง
ด้วยคบเพลิงหญ้าทั้งหลายได้ ฉะนั้น.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๕๗ มหารหนีติ ๓๒)

..


ศัพท์น่ารู้ :

สตํ (ของสัตบุรุษ .)  สนฺต+นํ
ผรุสวาจาหิ (ด้วยผรุสวาจา, คำหยาบคาย .) ผรุส (หยาบคาย) +วาจา (คำพูด) > ผรุสวาจา+หิ, วิ. ผรุสา สา วาจา จาติ ผรุสวาจา (หยาบคายด้วย หยายคายนั้น เป็นวาจาด้วย เหตุนั้น ชื่อว่า ผรุสวาจา) เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส
(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
ยาติ (ย่อมถึง) √ยา++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
วิกตึ (ความแปรไป, กลายไป, เปลี่ยนไป, ผิดปกติ) วิกติ+อํ
มโน (ใจ, มน) มน+สิ
ติณุกฺกาหิ (ด้วยคบเพลิงหญ้า, คบไฟ .) ติณ (หญ้า) + อุกฺกา (คบเพลิง) > ติณุกฺกา+หิ, วิ. ติเณหิ กตา อุกฺกา ติณุกฺกา (คบเพลิง ที่เขาทำแล้ว จากหญ้า . ชื่อว่า ติณุกฺกา) เป็นมัชเฌโลป ตติยาตัปปุริสสมาส
สกฺกาว ตัดบทว่า สกฺกา+อิว (อาจ, สามารถ+เหมือน) สกฺกา เป็นนิบาตลงในอรรถปฐมาวิภัตติ (ปฐมายํ), อิว เป็นนิบาติใช้ในอรรถเปรียบเทียบ (ปฏิภาคตฺเถ) 
สกฺกา+อิว เพราะสระมีรูปไม่เหมือนกันให้ลบสระหลังได้บ้าง ด้วยสูตรว่า วา ปโร อสรูปา. (รู ๑๕) อุทาหรณ์ เช่น ฉายาว (ฉายา อิว), กถาว กา, (กถา เอว กา) เป็นตั้น
ตาเปตุํ (เพื่อให้เดือดร้อน, ให้เร่าร้อน, ให้เหือดแห้ง) √ตป+เณ+ตุํ
สาคเร (ในทะเล, สาคร) สาคร+สฺมึ
ชลํ (น้ำ, ชล) ชล+สิ

..

Keine Kommentare: