๕๘. บัณฑิตย่อมมั่นคงดุจภูผา
เสโล ยถา เอกฆโน, วาเตน น สมีรติ;
เอวํ นินฺทาปสํสาสุ, น สมิญฺชนฺติ ปณฺฑิตา ฯ
“ภูเขาหินแท่งทึบย่อมไม่หวั่นไหว
สั่นคลอนเพราะแรงลม ฉันใด;
บัณฑิตทั้งหลายย่อมหวั่นไหวสั่นคลอน
ในเพราะถูกนินทาและสรรเสริญ ฉันนั้น.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๕๘ จตุรารักขทีปนี เมตตานิทเทส ๑๓, ขุ. ธ. ๒๕/๑๖)
..
ศัพท์น่ารู้ :
เสโล (ภูเขา) เสล+สิ วิ. สิลานํ ราสิ เสโล, (กองแห่งหิน ท. ชื่อ เสล-ภูเขา), สิลา ปจุรา สนฺตฺยสฺมึ วา เสโล (หรือ หินจำนวนมากมีอยู่ในที่ใด ที่นั้น ชื่อว่า เสล-ภูเขา)
ยถา (ฉันใด, ประการใด) นิบาตบอกอุปมา (สิ่งมีนำมาเปรียบเทียบ)
เอกฆโน (เป็นก้อนอันเดียว, แท่งทึบ, แน่นหนา, ไม่มีช่อง) เอก+ฆน > เอกฆน+สิ
วาเตน (ลม) วาต+นา หลัง อการันต์ ให้แปลง นา เป็น เอน ด้วยสูตรว่า อโต เนน. (รู ๗๙), ศัพท์หมายถึง „ลม“ มี ๑๐ ศัพท์ คือ มาลุต, ปวน, วายุ, วาต, อนิร, สมีรณ, คนฺธวาห, วาย, สมีร, สทาคติ.
น (ไม่, หามิได้) นิบาติบอกปฏิเสธ
สมีรติ (หวั่นไหว, สั่นคลอน) สํ+√อีร+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. อีร-กมฺปเน ธาตุในความหวั่นไหว
เอวํ (ฉันนั้น) นิบาตบอกอุปไมย (สิ่งที่ควรเปรียบเทียบ)
นินฺทาปสํสาสุ (ในเพราะนินทาและสรรเสริญ, คำด่าและคำตำหนิ ท.) นินฺทา+ปสํสา > นินฺทาปสํสา+สุ,
สมิญฺชนฺติ (ไม่หวั่นไหว) สํ+√อิญฺช+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ. อิญฺช-กมฺปเน ธาตุในความหวั่นไหว, หรือถ้าเป็น อิชิ ธาตุ ก็ควรเป็น รุธาทิคณะ.
ปณฺฑิตา (บัณฑิต, คนมีปัญญา ท.) ปณฺฑิต+โย หลัง อ การันต์ ให้แปลง โย เป็น อา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สพฺพโยนีนมาเอ. (รู ๖๙)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen