๓๕. ใครเล่าตายแล้วจะไม่เกิด
สชาโต เยน ชาเตน, ยาติ วํโส สมุนฺนตึ;
ปริวตฺตินิสํสาเร, มโต โก วา น ชายเตฯ
„ ความเป็นญาติกันด้วยการเกิดอันใด
ด้วยการเกิดนั้นวงศ์ย่อมถึงการเฟื่องฟูขึ้น,
ใครเล่า? ตายแล้วจะไม่เกิด
ในสังสารวัฏฏ์ที่เวียนไปไม่มีที่สุดนี้.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๓๕)
..
ศัพท์น่ารู้ :
สชาโต (ผู้เกิดร่วมกัน, ญาติกัน) สชาต+สิ
เยน (..ใด) ย+นา สัพพนาม แปลง นา เป็น เอน, รวมเป็น เยน
ชาเตน (ด้วยการเกิด) ชาต+นา
ยาติ (ย่อมถึง, ไป) ยา+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
วํโส (วงศ์, โคตร, ตระกูล, เหล่ากอ) วํส+สิ
สมุนฺนตึ (การฟูขึ้น, การเงยขึ้น, การถือตัว) ส+อุ+นม+ติ
ปริวตฺตินิสํสาเร (?) ปริวตฺติ+นิสํสาร > ปริวติตินิสํสาร+สฺมึ
มโต (ผู้ตายแล้ว, รู้แล้ว)
โก (ใคร, อะไร) กึ+สิ สัพพนาม
วา (หรือ, หรือว่า) นิบาต
น (ไม่, หามิได้) นิบาต
ชายเต (ย่อมเกิด) ชน+ย+เต ทิวาทิ. กัตตุ. แปลงที่สุดธาตุเป็น อา ด้วยการแบ่งสูตร(โยควิภาค) ว่า ชนาทีนมา. ในสูตรนี้ว่า ชนาทีนมา ติมฺหิ จ. (รู ๖๑๙)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen