Samstag, 18. Juli 2020

๕๐. เหนือฟ้ายังมีฟ้า


๕๐. เหนือฟ้ายังมีฟ้า

วิทฺวตฺตญฺจ ราชตฺตญฺจ, เนว ตุลฺยํ กทาจิปิ;
สเทเส ปูชิโต ราชา, วิทฺวา สพฺพตฺถ ปูชิโต

ความเป็นนักปราชญ์ กับความเป็นพระราชา,
จะมีความเสมอกันในกาลบางคราว หามิได้;
พระราชา ย่อมได้รับการบูชาเฉพาะในแว่นแคว้น,
ส่วนนักปราชญ์ ย่อมได้รับการบูชาในทุกทั้งปวง.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๕๐ มหารหนีติ ๑๘, ธัมมนีติ ๓๔)

..


ศัพท์น่ารู้ :

วิทฺวตฺตญฺจ ตัดบทเป็น วิทฺวตฺตํ+ (ความเป็นนักปราชญ์+ด้วย) วิ. วิทติ ชานาตีติ วิทฺวา (ชื่อว่า วิทฺว เพราะอรรถว่า ผู้รู้) มาจาก วิท-ญาเณ+, แปลง สิ เป็น อา (อภิธาน-ฏีกา ๒๒๗-), วิทฺวสฺส ภาโว วิทฺวตฺตํ  (ความเป็นแห่งผู้รู้ ชื่อว่า วิทฺวตฺต) มาจาก วิทฺว+ตฺต ปัจจัยในภาวตัทธิต, ลง ตฺต ปัจจัยด้วยสูตรว่า ณฺยตฺตตา ภาเว ตุ. (รู ๓๘๗), ภาวตัทธิตที่ลง ณฺย, ตฺต, ตฺตน ปัจจัยรูปสำเร็จเป็นนปุงสกลิงค์แน่นอน. 
ราชตฺตญฺจ ตัดบทเป็น ราชตฺตํ+ (ความเป็นพระราชา+ด้วย) วิ. รญฺโญ ภาโว
ราชตฺตํ (ความเป็นแห่งพระราชา ชื่อว่า ราชตฺต) มาจาก ราช+ตฺต ปัจจัยในภาวตัทธิตเหมือนกัน.
เนว แยกบทเป็น +เอว (หามิได้นั่นเทียว, เป็นไปไม่ได้เลย)
ตุลฺยํ (ความเสมอกัน, ความสมดุล, ความตรง, ตุล เป็นว่า ตาชั่ง) วิ. ตุลสฺส ภาโว ตุลฺยํ (ความเป็นแห่งความเสมอกัน ชือว่า ตุลฺย) มาจาก ตุล+ณฺย เป็นภาวตัทธิต 
กทาจิปิ ตัดบทว่า กทาจิ+อปิ (แม้ในกาลบางคราว, ในกาลไหนๆ)
สเทเส (ในประประเทศ, ในแว่นแคว้นของตน) สก+เทส > สเทส+สฺมึ
ปูชิโต (ถูกบูชาแล้ว) √ปูช+อิ+ > ปูชิต+สิ กิริยากิตก์ กัมมรูป
ราชา (พระราชา) ราช+สิ
วิทฺวา (ผู้รู้, นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา) วิทฺว+สิ
สพฺพตฺถ (ในที่ทั้งปวง, ทุกหนทุกแห่ง) สพฺพ+ ปัจจัย ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ (วิภัตติปปัจจัย การใช้ปัจจัยแทนวิภัตติ)  

..

Keine Kommentare: